สังคมพหุวัฒนธรรมคืออะไร ตัวอย่าง

พหุวัฒนธรรม (MULTICULTURAL) คือ การอยู่รวมกลุ่มของคนที่มีความหลากหลายทางด้านต่างๆ เช่น ภาษา ศาสนา การแต่งกาย หรือสิ่งที่มีความหลาหลายมาผสมกลมกลืนกัน แต่อาจจะไม่กลมกลืนกันสักทีเดียว ซึ่งพหุวัฒนธรรมถูกนำมาเปรียบเทียบเป็นสิ่งต่างๆเพื่อให้เกิดภาพอย่างชัดเจน เช่น มีการเปรียบเทียบว่าเป็น พิซซ่า ที่มีการผสมโดยใช้ส่วนผสมต่างๆ และทำให้เกิดความรู้สึกว่าสิ่งนี้ คือ พิซซ่า หรือในแคนาดา มีการเปรียบเทียบว่าคือ สลัด ที่มีการผสมกันของผัก ที่หลากสีหลากรสชาติ และถูกมองว่าสิ่งนี้คือสลัด หากลองพิจารณาอย่างประเทศไทย พื้นที่ภาคใต้มีการเรียกชุมชนบางชุมชนว่า “ชุมชนไข่แดง” ซึ่งผู้เขียนคิดว่าการเปรียบเทียบลักษณะนี้มีความคล้ายคลึงกับการเปรียบเทียบของชาติตะวันตก 

สังคมพหุวัฒนธรรมคืออะไร ตัวอย่าง

ชุมชนไข่แดง ในที่นี้คือ พื้นที่ภาคใต้บางหมู่บ้านมีชาวมุสลิมเป็นส่วนใหญ่เปรียบเสมือนไข่ขาวที่มีมากกว่าไข่แดง ส่วนไข่แดงนั้นเปรียบเสมือน ชาวพุทธ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างกลมกลืม หากไม่มองในประเด็นความรุนแรงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในคำเปรียบเทียบดังกล่าวนี้คือ ทั้งไข่แดงและไข่ขาวมีการรวมกันและถูกมองอย่างกลมกลืมว่า คือ ไข่ แต่หากมองในความรุนแรงนั้น การที่มีการผลิตซ้ำ ว่า ภาคใต้ทะเลาะกันทางศาสนา ผู้เขียนเห็นว่าประเด็นนี้เป็นปัจจัยที่น้อยมาก และสื่อที่นำเสนอก็อาจจะไม่เสนอข้อมูลในพื้นที่ที่เป็นความจริงแต่ต้องเชื่อฟังคำสั่งรัฐบาลหรือทหารมากกว่า ทำให้คนนอกพื้นที่เกิดภาพลบกับพื้นที่ภาคใต้ และปัจจุบันพูดถึงภาคใต้คนก็นึกถึงระเบิด ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วความเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้และคนท้องถิ่นมีความแตกต่างจากสื่อมากจากการได้ลงพื้นที่ไปสัมผัสจริง แท้จริงแล้วความหลากหลายทางวัฒนธรรมสามารถที่จะรวมกันได้เป็นหนึ่งเดียวแม้ว่าจะไม่กลมกลืนแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการยอมรับ รับฟัง เคารพ และไม่ตัดสินว่าใครแตกต่าง หรือไม่ดูถูกเหยียดหยามว่าคนนั้นต่ำ ด้อยกว่าตน 

ทั้งนี้อัตลักษณ์จึงมีความสำคัญในการที่ปัจเจกมีความสำคัญกับสังคม กำหนดบทบาทหน้าที่และคุณค่า ซึ่งมีการใช้สัญลักษณ์(Symbols) โดยการแสดงออกซึ่งความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องในมิติภายใน มีการแบ่ง อัตลักษณ์ทางสังคมออกเป็นสองระดับ คือ อัตลักษณ์บุคคล(Personal identity) และอัตลักษณ์ทางสังคม(Social identity) ทั้งนี้อัตลักษณ์ สามารถแสดงออกมา ทั้งสิ่งที่เป็นตัวเองและสิ่งที่ถูกคนอื่นมอง อธิบายง่ายๆ คือสิ่งนี้ คือตัวเรา แบบของเรา ส่วนสิ่งที่คนอื่นมองหรือตัดสินเรามาอาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้ถือเป็นลักษณะส่วนบุคคล (Personality) เช่นเดียวกัน อัตลักษณ์ทางสังคมของแต่พื้นที่มีความแตกต่างกัน

สังคมพหุวัฒนธรรมคืออะไร ตัวอย่าง

ประเด็นที่น่าสนใจนอกจากการที่ทุกสังคมมีความหลากหลายวัฒนธรรม สิ่งที่ในสื่อตะวันตกได้จัดทำนั้นบางอย่างที่เกินจริงในอดีต กลายเป็นจริงแล้วในปัจจุบัน และจะสมจริงมากกกว่านี้ในอนาคต โดยเฉพาะหุ่นยนต์สมัยใหม่ที่ความเสมือนจริงมากยิ่งขึ้น และเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในนามของ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) คือการสร้างสิ่งไม่มีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นจากวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรม และศาสตร์อื่นๆให้เหมือนสิ่งมีชีวิตจริงๆ ที่ปัจจุบันปี 2018 มีความก้าวหน้าจนรู้สึกว่า ล้ำหน้าและน่ากลัวในขณะเดียวกัน อาทิ Sophia the Robot ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ถูกออกแบบให้มีการแสดงหน้าตาได้หลายอารมณ์และโต้ตอบได้ ทั้งนี้ยังเป็นหุ่นยนต์ที่ได้รับสัญชาติ ซาอุดิอาระเบีย และได้รับสัมภาษณ์ ผ่านรายการโทรทัศน์ แต่แน่นอนว่า ถูกนิยามว่าเป็นหุ่นยนต์ ไม่ใช่คน ซึ่งตรงนี้เป็นการสะท้อนสังคมเช่นกัน ขนาดมนุษย์ด้วยกันเองยังคงมีการเหยียด และดูถูกกัน และเลือกที่จะไม่ยอมรับในคนบางกลุ่มเช่นกัน หากอนาคต มีหุ่นยนต์มากขึ้นจริงๆ สังคมจะเป็นเช่นไร

นอกจากนี้มีเรื่องของ การพ้นความเป็นมนุษย์ (Transhumanism) หากใช้คำว่าพ้นมนุษย์อาจจะดูรุนแรงไป transhumanism มีความน่าสนใจและหวาดเสียวในขณะเดียวกัน คือ มีการคิดค้นการฝังบางสิ่งที่ล้ำหน้า ลงในร่างกายเพื่อใช้ควบคุมสิ่งต่างในชีวิตประจำวันเพื่อความสะดวกรวดเร็วและแก้ปัญหา เช่นฝังอุปกรณ์ลงในร่างกาย(Cybernatics) เพื่อแก้ไขปัญหาการลืมกุญแจ ซึ่งเกิดขึ้นจริงแล้ว ส่วนตัวมองว่าในความเป็นจริงต้องขนาดนี้หรือไม่ แต่หากมองอีกมุมมันสะท้อนให้เห็นว่า วิทยาศาสตร์และสมองของมนุษย์ถูกพัฒนาให้ก้าวหน้ามากขึ้น จากสิ่งที่เคยเป็นจินตนาการอาจเป็นไปไม่ได้แต่ก็เป็นไปได้แล้ว ถือว่ามนุษย์ประสบความสำเร็จอีกขั้นหนึ่ง 

ความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม

  1. 1. ความหลากหลาย ในสังคมพหุวัฒนธรรม โดย อาจารย์ชนากานต์ โสจะยะพันธ์
  2. 2. เรื่องของวัฒนธรรมเป็นเรื่องของวิถีชีวิตของมนุษย์ในแต่ละแห่งหรือแต่ละ ชุมชนหรือแต่ละสังคมที่มีการปฏิบัติ เลือกสรร ปรับเปลี่ยน ประยุกต์ และถ่ายทอดสืบๆ ต่อๆ กันมา ดังนั้นในแต่ละกลุ่มหรือแต่ละสังคมจึงมี วัฒนธรรมย่อย สังคมพหุวัฒนธรรม
  3. 3. สังคมพหุวัฒนธรรม หมายถึง กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ วิถีชีวิต ความเชื่อ ศาสนา และประเพณีปฏิบัติที่มีความแตกต่าง กัน เนื่องมาจากกระบวนการคิดและสัญลักษณ์ที่เกิดจากการสร้างของ วัฒนธรรม ปัจจัยทางศาสนา เชื้อชาติ อายุ เพศ ชนชั้นทางสังคม และ การศึกษาซึ่งเป็นตัวกาหนดให้บุคคลมีความคิดความเชื่อ ความรู้สึก และ การกระทาในลักษณะที่แตกต่างกัน ความหมายของสังคมพหุวัฒนธรรม
  4. 4. โลกปัจจุบันอยู่ในศตวรรษที่ 21 ที่มีประชากรหลายพันล้านคนอาศัยอยู่ใน หลายร้อยประเทศ จึงมีความหลากหลาย (พหุ)ทางเชื้อชาติและความ หลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่บนโลกนี้มี ทั้งความแตกต่างและคล้ายคลึงกัน เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศจีน ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ประเทศต่างๆ ที่มีประชากรจานวนมากนี้ มีประชากรที่มีเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างมาก ความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม
  5. 5. สาหรับในประเทศไทยนั้น เรามีวัฒนธรรมไทยเป็นหลักของประเทศ แต่ ในวัฒนธรรมไทยนั้น ก็อยู่บนความหลากหลายและความแตกต่างของ วัฒนธรรม เนื่องจากประเทศไทยมีประชากรทั่วราชอาณาจักร จานวน 63,878,267 คน (สารวจเมื่อเดือนธันวาคม 2553 สานักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) ประกอบด้วยกลุ่มคนไทยเชื้อสาย ไทย จีน ญวน ลาว เขมร ไทยทรงดา ไทยพวน มลายู ฯลฯ ความความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม
  6. 6. ภาพชาวไทยทรงดา
  7. 7. ภาพชาวไทยพวน
  8. 8. ภาพชาวไทยเชื้อสายจีน
  9. 9. ประชากรไทยจึงประกอบด้วยกลุ่มคนที่มีความหลากหลายวัฒนธรรม หลากหลายภาษา หลากหลายขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งมีปัญหา เรื่องผลประโยชน์และเป้ าหมายต่างๆ กันไป ส่งผลให้ประเทศไทยเป็น ประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมประเทศหนึ่งของโลก แต่ทุก วัฒนธรรมของกลุ่มต่างๆ ย่อมมี อัตลักษณ์ ของแต่ละวัฒนธรรม ความความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม
  10. 10. ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า สังคมไทยมีสภาพความเป็นพหุวัฒนธรรมตลอด มา ผู้คนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมไทยอย่างมีความสุขนั้น มีความ หลากหลายหรือมีความเป็นพหุ ทั้งในด้านชาติพันธุ์ ศาสนา และ วัฒนธรรม การเข้าใจถึงวัฒนธรรมที่หลากหลายจึงเป็นสิ่งจาเป็นของการ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ความความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม
  11. 11. บุคคลแต่ละคนจะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มซึ่งมีลักษณะวัฒนธรรมที่เป็นของ ตนเอง หรือที่เรียกว่า อัตลักษณ์ และหลาย ๆ กลุ่มจะรวมตัวกันเป็น สังคมใหญ่ การอยู่รอดของกลุ่มเกิดจากการเห็นคุณค่าและการยอมรับ ในอัตลักษณ์ของวัฒนธรรม ปัจจัยทางศาสนา เชื้อชาติ อายุ เพศ ชนชั้น ทางสังคม และการศึกษา จะเป็นตัวสาคัญที่กาหนดเกี่ยวกับความเชื่อ ความรู้สึก และการกระทาของบุคคล ในลักษณะของการรวมกลุ่มต่าง ๆ ของสังคมใหญ่ ความความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม
  12. 12. พิธีแต่งงานแบบไทย
  13. 13. พิธีแต่งงานแบบคริสต์
  14. 14. คาว่า “อัตลักษณ์” ไม่มีบันทึกไว้ในพจนานุกรม แต่มีตาราหลายเล่มให้ ความหมายคาว่า “อัตลักษณ์” ไว้ว่า คุณลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเป็นตัว บ่งชี้ของลักษณะเฉพาะของตัวบุ คล สังคม ชุมชน หรือประเทศนั้นๆ เช่น เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่น และศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่ ทั่วไปหรือสากลกับสังคม อื่นๆ กล่าวคือ ลักษณะที่ไม่เหมือนกับของคน อื่นๆ ซึ่งคาว่า “อัตลักษณ์” มาจากภาษาบาลีว่า อตฺต + ลักษณ โดยที่ “อัตตะ” มีความหมายว่า ตัวตน, ของตน ความหมายของอัตลักษณ์
  15. 15. การไหว้เป็นอัตลักษณ์ของชาวไทย
  16. 16. การใช้ตะเกียบเป็นอัตลักษณ์ของชาวจีน
  17. 17. ชุดกิโมโนเป็นอัตลักษณ์ของชาวญี่ปุ่น

พหุวัฒนธรรมคืออะไร ตัวอย่าง

พหุวัฒนธรรม (MULTICULTURAL) คือ การอยู่รวมกลุ่มของคนที่มีความหลากหลายทางด้านต่างๆ เช่น ภาษา ศาสนา การแต่งกาย หรือสิ่งที่มีความหลาหลายมาผสมกลมกลืนกัน แต่อาจจะไม่กลมกลืนกันสักทีเดียว ซึ่งพหุวัฒนธรรมถูกนำมาเปรียบเทียบเป็นสิ่งต่างๆเพื่อให้เกิดภาพอย่างชัดเจน เช่น มีการเปรียบเทียบว่าเป็น พิซซ่า ที่มีการผสมโดยใช้ส่วนผสมต่างๆ ...

สังคมแบบพหุวัฒนธรรมคืออะไร

สังคมพหุวัฒนธรรม หมายถึง สังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติศาสนา วิถีชีวิต ความคิดและวิถีปฏิบัติของกลุ่มชนในสังคมนั้นๆ เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขสามัคคี และการเปิดรับ การไหลบ่าทางวัฒนธรรม

การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมมีอะไรบ้าง

หลักการที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม คือการร่วมกันของชุมชนชาวพุทธ คือการให้ทาน พูดจาที่ไพเราะ ทำตนให้เป็นประโยชน์ ชุมชนชาวอิสลามส่งเสริมให้มีการพัฒนาเปิดกว้างแต่ละชุมชนสู่สังคมอย่างเท่าเทียมกัน ให้ทุกคนในสังคมหันมาเข้าใจความแตกต่าง และสนใจเรียนรู้ความแตกต่างกับความรู้ที่มีอยู่ 3. การอยู่ร่วมกัน ...

พหุวัฒนธรรมในสังคมไทย มีอะไรบ้าง

พหุวัฒนธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน 1) ความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์/สีผิว 2) ความหลากหลายทางด้านศาสนา/ความเชื่อ 3) ความหลากหลายทางด้านรูปแบบการด าเนินชีวิต 4) ความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม (ภาษา การแต่งกาย อาหาร ดนตรี เป็นต้น)