จริยธรรมกับสังคมดิจิทัลประกอบด้วยอะไรบ้าง

จริยธรรม (Ethics) หมายถึง ความถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง ที่เป็นตัวแทนศีลธรรมที่เป็นอิสระในการเลือกที่จะชักนำพฤติกรรมบุคคล เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศทำให้เกิดปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล และสังคม เพราะทั้ง 2 สิ่งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมประเด็นด้านจริยธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

สารบัญ Show

  • What you can read next
  • คุณธรรมจริยธรรมในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล มีอะไรบ้าง
  • ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม คืออะไร
  • เหตุใดจึงต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การกระทำเช่นใดบ้างที่เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีคุณธรรมจริยธรรม

  • ความเป็นส่วนตัว (Privacy) : มองในส่วนของสิทธิส่วนบุคคลที่พึงมี ซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถเข้าไปใช้หรืออ่านข้อมูลที่เป็นส่วนตัวได้
  • ความถูกต้อง (Accuracy) : มองในส่วนการจัดเก็บข้อมูลฐานข้อมูลต้องถูกต้อง ถ้าข้อมูลที่ได้ไม่ถูกต้องแล้วนั้น จะทำให้เมื่อนำไปประมวลผลมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ จะส่งผลต่อการตัดสินใจด้วย
  • ความเป็นเจ้าของ (Property) : มองในส่วนสิทธิความเป็นเจ้าของในซอฟต์แวร์ (ลิขสิทธิ์)
  • การเข้าใช้ข้อมูล (Access) : มองในส่วนสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลในองค์กร ใครบ้างที่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล และใครบ้างที่สามารถอ่าน เขียนข้อมูลได้

กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน (กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญมาตรา 78) (National Information Infrastructure Law)

  • เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคมเทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่นๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78
  • เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเอง
  • พัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้
  • ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสนเทศ
  • ปัญหาเด็กติดเกมส์
  • ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์
  • ปัญหาสังคมเสื่อมโทรมจากการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด
  • ปัญหาอาชญากรรมต่อชีวิตที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ปัญหาอาชญากรรมต่อข้อมูล
  • ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น คุกกี้ การนำภาพบุคคลมาตกแต่งดัดแปลงเพื่อให้เกิดการเข้าใจผิด ฯลฯ

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม
    • ระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น
    • ตั้งใจทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ
    • ทำการศึกษาหาความรู้ว่ากิจกรรมประเภทใดเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และกิจกรรมประเภทใดสามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นได้
  2. สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
    • พึงรำลึกอยู่เสมอว่า ในสังคมของเราทุกวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควร
    • หากผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในทางที่ไม่ดี เทคโนโลยีก็ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ดี ไม่เป็นที่พึงปรารถนาให้รุนแรงขึ้นได้
    • ไม่ลุ่มหลงต่อกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดจนมากเกินไป
  3. ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี
    • วัฒนธรรมที่ดีสามารถควบคุมและแก้ปัญหาสังคมได้ เช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น
    • ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้อื่นพึงให้เกียรติแหล่งข้อมูล ด้วยการอ้างอิงถึง (citation) เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์
  4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน พึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และหาทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านั้น เช่น
    • การติดตั้งระบบเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน
    • การให้ความรู้เรื่องภัยอันตรายจากอินเทอร์เน็ตต่อสังคม
    • การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภัยอันตรายที่มากับ เทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
  5. ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้เช่น มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ISO/IEC 17799) มีการกำหนดเรื่องความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับ
    • บุคลากร
    • ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านกายภาพ
    • สิ่งแวดล้อมขององค์กร
    • การควบคุมการเข้าถึง
    • การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย ฯลฯ
  6. ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย
    • การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางลิขสิทธิ์ (Copyright) ในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา
    • การป้องกันข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เป็นต้น

บัญญัติ 10 ประการเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้ เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ

  1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
  2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
  3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
  4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
  5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
  6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
  7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
  8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
  9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำของท่าน
  10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท


Monday, 24 August 2020 / Published in บทเรียน

จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต

        คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดีและความถูกต้องซึ่งบุคคลควรยึดมั่นไว้เป็นหลักการในการปฏิบัติตนจนเป็นนิสัยความประพฤติดีงาม เพื่อประโยชน์แก่ตนและสังคม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี หลักกฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพ  การรู้จักไตร่ตรอง
ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ และอาจกล่าวได้ว่าคุณธรรม คือ จริยธรรมที่นำมาปฏิบัติจนเป็นนิสัย เช่น การเป็นคนซื่อสัตย์ เสียสละ และ มีความรับผิดชอบ
จริยธรรม หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุม
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งเมื่อพิจารณาจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถสรุปได้ 4 ประเด็น ได้แก่

  1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
    หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพังและเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเอง
    ในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น การละเมิดความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกต ดังนี้
    – การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์
    รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
            – การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน
     – การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
            – การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าใหม่ขึ้นมาแล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
  2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
            ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูล คุณลักษณะที่สำคัญ
    คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูลจะน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ดังนั้น การพิจารณาให้ความสำคัญกับบุคคลที่จะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ย่อมมีความสำคัญ
  3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
            ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศมักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อเราซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าเราจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงเครื่องเดียว ในขณะที่บางโปรแกรมอนุญาตให้ใช้ได้หลายเครื่อง ตราบใดที่เรายังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา
    การคัดลอกโปรแกรมให้กับบุคคลอื่น เป็นการกระทำที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าท่านมีสิทธิในโปรแกรมนั้นในระดับใด
  4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
            คือ การป้องกันการเข้าไปดำเนินการกับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบเช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกัน หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น
    บัญญัติ 10 ประการ คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์
    ความหมายจรรยาบรรณ
    ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบการอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษา
    และส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม้ก็ได้ จรรยาบรรณจึงเป็นหลักความประพฤติของบุคคลในแต่ละกลุ่มอาชีพ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรม

จรรยาบรรณผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ควรยึดถือไว้

เป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเตอร์เน็ตเป็นระเบียบเกิดความรับผิดชอบต่อสังคม
                1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
                2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
                3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
          4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
                5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
                6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
                7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
                8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
                9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
                10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ  กติกามารยาท


อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา 6 ประเภท

1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม
อี-คอมเมิร์ซ (หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
  2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและ
อินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม ที่เรียกว่าการโจรกรรมทางออนไลน์ หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
  3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้
รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ) 
  4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างความหวาดกลัว การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน 

5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ ถือเป็นการกระทำ
ที่ขัดต่อกฎหมาย
  6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัย และมีความรับผิดชอบ โดยนักเรียน
ควรได้มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด


พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2
มีสาระสำคัญจำง่ายๆ ดังนี้

  1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้น
    ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่าย
    ความผิด มาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
  5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิด
    ตาม พ.ร.บ.คอมฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
  6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง
    สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิด
    ตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่า
    การแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบ
    เว็บไซต์จะไม่มีความผิด
  7. สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมฯ เมื่อลบออก
    จากพื้นที่ ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
  8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
  9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
  10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง
    ญาติ สามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
  11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา
    เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
  13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล มีอะไรบ้าง

จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ในลักษณะตัวย่อว่า PAPA. •1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy) •2.ความถูกต้อง (Accuracy) •3.ความเป็นเจ้าของ (Property) •4.การเข้าถึงข้อมูล (Data accessibility)

ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม คืออะไร

1.ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ 2.ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไปได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง 3.ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต 4.ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล มีอะไรบ้าง

จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ในลักษณะตัวย่อว่า PAPA. •1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy) •2.ความถูกต้อง (Accuracy) •3.ความเป็นเจ้าของ (Property) •4.การเข้าถึงข้อมูล (Data accessibility)

ประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุคสารสนเทศมี 4 ด้าน คืออะไรบ้าง

กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม R.O. Mason และคณะ ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O'Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)

จริยธรรมที่ผู้ทำธุรกิจดิจิทัลต้องมี คืออะไรบ้าง ตอบ 5 ข้อ

1) ขายของดีมีคุณภาพ ในราคายุติธรรม ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้ 2) ขายของที่ถูกกฎหมาย ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์นำเข้าอย่างถูกต้อง ไม่ปลอมแปลง หรือ คัดลอกสินค้าของผู้อื่นมาเป็นของตัวเอง 3) ไม่โฆษณาเกินจริง บิดเบือนคุณภาพ สรรพคุณของสินค้า 4) ระบุรายละเอียดที่มา ขนาด ราคา วันหมดอายุของสินค้าให้ชัดเจน 5) ไม่กลั่นแกล้ง ...

จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร

ดังนั้น จริยธรรมของนักสารสนเทศ จึงสรุปความหมายได้ว่า การที่ บุคคลนั้นมีการประพฤติปฏิบัติที่ดี คิดดี ท าดีต่อการน าสารสนเทศไปใช้ รวมถึง การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลได้