เรียนโลจิสติกส์มีสาขาอะไรบ้าง

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) เป็นหลักสูตรเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ด้านเทคโนโลยี และด้านการบริหาร เพื่อผลิตบุคลากรสำหรับสายงานการจัดการโลจิสติกส์ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความเข้าใจในธุรกิจมีความสามารถทางการวิเคราะห์การประยุกต์ใช้องค์ความรู้แบบบูรณาการ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น การเรียนการสอนเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์เพื่อการจัดการและการวิเคราะห์งานทางโลจิสติกส์ การใช้กรณีศึกษา และการศึกษาหน่วยปฏิบัติงานจริงเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานของผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรได้รับการพัฒนาสำหรับผู้บริหารทุกระดับ นักวิเคราะห์ และบุคลากรในสายงานการจัดการโลจิสติกส์ รวมถึงผู้ที่มีความสนใจในอาชีพทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ ที่ต้องการมุมมองเชิงลึกในการวิเคราะห์และการจัดการระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กรธุรกิจอย่างบูรณาการ

Show

แนวอาชีพผู้สำเร็จการศึกษาจะเป็นตำแหน่งงานทางด้านการปฏิบัติการโลจิสติกส์ ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจและปรากฏอยู่ในทุกองค์กรภายใต้ชื่อหน่วยงานที่แตกต่างกันไป นอกเหนือจากตำแหน่งผู้บริหาร นักวิเคราะห์และวางแผนในหน่วยงานโลจิสติกส์/โซ่อุปทาน (Supply Chain) ในธุรกิจการผลิต ธุรกิจค้าปลีกและกระจายสินค้า รวมถึงธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์และที่ปรึกษาแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษายังมีความเหมาะสมสำหรับตำแหน่งผู้บริหารและนักวิเคราะห์/วางแผนในฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายขนส่ง ฝ่ายบริการลูกค้า ฝ่ายวางแผนและควบคุมสินค้าคงคลัง ฝ่ายกระจายสินค้า ฯลฯ อีกด้วย
Link to E-Brochure

โครงสร้างหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ นิด้า

นักศึกษาที่จะได้รับปริญญาทางสาขาการโลจิสติกส์ จะต้องเรียนไม่น้อยกว่า 37 หน่วยกิต โดยเลือกแผนใดแผนหนึ่งดังนี้

  • แผน ก. (ทำวิทยานิพนธ์)
  • แผน ข. (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)

โดยระยะเวลาในการเรียนตลอดหลักสูตรคือ 2 ปี และไม่เกิน 5 ปีการศึกษา โดยเปิดสอนภาคปกติในเวลาราชการ (เรียนวันจันทร์-ศุกร์) และภาคพิเศษ นอกเวลาราชการ (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์) วิชาการโลจิสติกส์มีรายวิชาที่เปิดสอน ดังนี้

หมวดวิชาแผน ก. ทำวิทยานิพนธ์แผน ข. ไม่ทำวิทยานิพนธ์หมวดวิชาเสริมพื้นฐานไม่นับหน่วยกิตไม่นับหน่วยกิตหมวดวิชาพื้นฐาน12 หน่วยกิต12 หน่วยกิตหมวดวิชาหลัก12 หน่วยกิต12 หน่วยกิตหมวดวิชาเลือก—9 หน่วยกิตสัมมนานานาชาติ1 หน่วยกิต1 หน่วยกิตหมวดวิชาค้นคว้าอิสระ—3 หน่วยกิตสอบประมวลความรู้สอบสอบสอบปากเปล่า—สอบหมวดวิทยานิพนธ์12 หน่วยกิต—รวมไม่น้อยกว่า37 หน่วยกิต37 หน่วยกิต

รายวิชาหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ นิด้า

วิชาเสริมพื้นฐาน (6-9 หน่วยกิต)

หมายถึงวิชาที่มุ่งปรับความรู้ในระดับต่ำกว่าขั้นบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาเพื่อให้พร้อมที่จะศึกษาในชั้นปริญญาโท

  • ภาษาอังกฤษ (ภาคปกติ 6 หน่วยกิต ภาคพิเศษ 3 หน่วยกิต)
  • คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับการจัดการโลจิสติกส์

วิชาพื้นฐาน (12 หน่วยกิต)

หมายถึงวิชาที่มุ่งให้นักศึกษามีพื้นฐานสำหรับการศึกษาวิชาในหลักสูตร ได้แก่

  • LM5001 การวิเคราะห์ข้อมูลและตัวแบบการตัดสินใจ
  • LM5002 การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน
  • LM5003 พื้นฐานทางการจัดการสำหรับบุคลากรในสายงานโลจิสติกส์
  • LM5004 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์ (2558) / เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโซ่อุปทานดิจิทัล (ปรับปรุงปี 2563)

วิชาหลักการจัดการโลจิสติกส์ (12 หน่วยกิต)

หมายถึงกลุ่มวิชาที่มุ่งให้นักศึกษามีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านประกอบด้วยวิชาต่อไปนี้

  • LM6001 การจัดการสินค้าคงคลัง
  • LM6002 การจัดการคลังสินค้า (2558) / สมาร์ทโลจิสติกส์ (ปรับปรุงปี 2563)
  • LM6003 การจัดการการขนส่งและเครือข่ายการกระจายสินค้า
  • LM6004 การจัดการโซ่อุปทาน

สัมมนานานาชาติทางการจัดการโลจิสติกส์ (1 หน่วยกิต)

วิชาเลือกในหลักสูตร (9 หน่วยกิต)

นักศึกษาสามารถลงทะเบียนวิชาเลือก (LM7XXX) ได้ตามความสนใจของนักศึกษา ทั้งนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา

  • การจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า
  • การบริหารความเสี่ยงในโซ่อุปทาน
  • การบริหารโครงการ
  • การจำลองสำหรับโลจิสติกส์
  • การวางแผนและการจัดตารางการผลิต
  • การจัดการรายได้
  • การพยากรณ์เชิงธุรกิจ
  • การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่-เวลา
  • การวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูลเบื้องต้น
  • การเรียนรู้ด้วยเครื่องจักรประยุกต์
  • เทคนิคการวิเคราะห์เชิงโอบล้อมข้อมูลในการจัดการโลจิสติกส์
  • บัญชีต้นทุนกิจกรรมในการจัดการโลจิสติกส์
  • การเจรจาต่อรองและการบริหารจัดการความขัดแย้ง

แผน ก. วิทยานิพนธ์ (12 หน่วยกิต)

แผน ข. ต้องเรียนวิชาเลือก (9 หน่วยกิต) และการค้นคว้าอิสระ (3 หน่วยกิต)

รวมหน่วยกิตทั้งหมดในหลักสูตร 37 หน่วยกิต
นักศึกษาต้องเรียนวิชาเสริมพื้นฐานเพิ่มเติมตามที่กำหนดโดยสถาบันฯ หรือหลักสูตรในกรณีที่มีพื้นฐานความรู้ไม่เพียงพอ.

การยกเว้นการเรียนวิชาเสริมพื้นฐาน

วิชา จล.4001 คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับการจัดการโลจิสติกส์
นักศึกษาที่สามารถเข้ารับการสอบเทียบความรู้เพื่อยกเว้นการลงทะเบียนเรียนวิชา จล.4001 คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับการจัดการโลจิสติกส์  ต้องยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานอย่างน้อย 1 หัวข้อ   ดังนี้

(1) ผลการสอบเข้าสถาบันในวิชาเฉพาะ 2 (คณิตศาสตร์สำหรับสถิติประยุกต์) โดยได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 675 คะแนน  หรือ
(2) ผลการเรียนวิชาในระดับปริญญาตรี  โดยได้ผลการเรียนแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 2.0 ในวิชาดังต่อไปนี้

  1. แคลคูลัส 1 และ 2 หรือวิชาที่ครอบคลุมเนื้อหาต่อไปนี้: อนุพันธ์ (Differentiation), ปริพันธ์ (Integration), ลิมิต (Limit), ลำดับและอนุกรม (Sequence and Series)
  2. ความน่าจะเป็น และสถิติเบื้องต้น

วิชา จล.4002 ภาษาอังกฤษสำหรับการจัดการโลจิสติกส์
นักศึกษาที่มีผลการสอบเข้าสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในวิชาภาษาอังกฤษด้วยคะแนนไม่ต่ำกว่า 660 (NIDA TEAP) หรือ มีผลการสอบ TOEFL Paper (สอบปกติ) ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน หรือ มีผลการสอบ TOEFL CBT (สอบผ่านคอมพิวเตอร์) ไม่ต่ำกว่า 213 คะแนน หรือ มีผลการสอบ TOEFL IBT (สอบผ่าน Internet) ไม่ต่ำกว่า 79 คะแนน หรือ มีผลการสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0 คะแนน หรือ จบการศึกษาจากหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในการสอน ให้ได้รับการยกเว้นการเรียนวิชานี้ โดยต้องแสดงผลการสอบที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี หรือ หลักฐานการสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในการสอนพร้อมกับการยื่นคำร้องตามกรอบเวลาที่คณะกำหนด

แผนการศึกษา (เสาร์และอาทิตย์)

Semester1
Aug-Dec2
Jan-May3 (Summer)
Jun-Aug

2/XX

Intake

term1term2500150044001English5002term3term4term550036003Elective26001600460028001Elective1term6Elective3ISSemester1
Aug-Dec2
Jan-May3 (Summer)
Jun-Aug

1/XX

Intake

term0Englishterm1term2term340015002500450036003Elective150016004term4term56001Elective36002ISElective28001

สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์

องค์กรธุรกิจต่างยอมรับว่าการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน ดึงเอาการจัดการ โลจิสติกส์ มาเป็น กลยุทธ์สำคัญ ทั้งนี้ เพราะการจัดการโลจิสติกส์ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มคุณค่าในการให้บริการลูกค้า และยังเป็นกิจกรรมทางธุรกิจที่มีต้นทุนสูง ในแต่ละปีธุรกิจในประเทศไทยโดยรวมมีการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์ประมาณ 19 % ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านล้านบาท การจัดการ โลจิสติกส์ อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นหัวใจของความสำเร็จทางธุรกิจ
ผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

ด้วยสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้อนุมัติแผนพัฒนาระยะยาวของสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ.2551-2565) ซึ่งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ต่าง ๆ จำนวน 8 ยุทธศาสตร์ โดยยุทธศาสตร์ที่ 6 คือการรักษาความเป็นเลิศทางวิชาการด้านหลักสูตร งานวิจัยและการบริหารวิชาการที่มีความโดดเด่นและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม และได้กำหนดไว้ในกลยุทธ์ที่ 6.3 เรื่องการพัฒนา สาชาวิชาและหลักสูตรที่สามารถตอบสนองตรงตามความต้องการของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ภายใต้แรงกดดันของปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อให้มีสาขาวิชาครบถ้วนในด้านพัฒนบริหารศาสตร์ แนวทางหนึ่งคือการเปิดสอนหลักสูตรทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพและเน้นขีดความสามารถในการแข่งขัน

ปรัชญา หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์

เป็นหลักสูตรเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ด้านเทคโนโลยี และด้านการบริหาร เพื่อผลิตบุคลากรที่มีศักยภาพสำหรับสายงานการจัดการโลจิสติกส์

วัตถุประสงค์ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเข้าใจในธุรกิจ ความสามารถทางการวิเคราะห์ การประยุกต์ใช้ องค์ความรู้แบบบูรณาการ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรม

สาขาโลจิสติกเรียนเกี่ยวกับอะไร

สำหรับคนที่เข้ามาเรียนในสาขาทางด้านโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นคณะหรือสาขาของมหาวิทยาลัยไหนก็ตาม ในเรื่องหลักสูตร จะได้เจอวิชาหลักคล้ายกัน อย่างพื้นฐานวิชาทั่วไปที่น้องปี 1 จะได้เรียนคือ ธุรกิจ การบริหารจัดการ การตลาด การเงิน ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส สถิติ มนุษยศาสตร์ เป็นต้น

คณะโลจิสติกส์ สาขาไหนดี

มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ (วิทยาเขตสะพานใหม่ , วิทยาเขตรังสิต) สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โครงการพิเศษบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ วิชาเอกการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

โล จิ สติ ก ส์ มี มหา ลัย อะไร บ้าง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะ : วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเซน ... .
มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ คณะ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ... .
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะ : บริหารธุรกิจ ... .
มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ คณะ : บริหารธุรกิจ ... .
มหาวิทยาลัยเกริก คณะ : บริหารธุรกิจ ... .
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ... .
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ... .
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โลจิสติกส์ มีงานอะไรบ้าง

จบที่นี่ทำงานอะไร – ระดับบริหาร เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน นักวางแผนวัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า และนักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ – ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก, ทางทะเล หรือ ทางอากาศ