ข่าวปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ

ช่วงนี้ผมได้ยินการถามหา “จริยธรรม” ค่อนข้างบ่อย หรือแม้แต่ช่วงก่อนหน้าที่แพลตฟอร์มออนไลน์เจ้าดังถูกถามหา “ความรับผิดชอบต่อสังคม” จนถึงขั้นที่ลูกค้ารวมหัวกันแบนไม่ซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม

ในการทำธุรกิจ จริยธรรม ศีลธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม คือ เรื่องราวเดียวกันครับ

เรามาทำความเข้าใจความสัมพันธ์กันสักหน่อย เริ่มต้นจากจริยธรรม ซึ่งหมายถึง วิถีประพฤติ ปฏิบัติ ที่ดีงาม ถ้าถามว่าดีงามอย่างไร ก็คงแล้วแต่สังคมนั้นๆ กำหนดครับ สังคมก็มักใช้มาตรฐานทางวัฒนธรรม ประเพณี บทบัญญัติทางศาสนา ค่านิยม เอามารวมๆ กัน แล้วสร้างข้อกำหนดแบบไม่มีลายลักษณ์อักษรขึ้นมา

ข่าวปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ

เมื่อทุกคนในกลุ่มสังคมนั้นรับรู้ผ่านการถ่ายทอดแบบรุ่นสู่รุ่น สมาชิกของสังคมก็ยึดถือปฏิบัติ นั่นคือ “จริยธรรม” วิถีปฏิบัติที่ทุกคนในสังคมคาดหวังจากสมาชิกที่อยู่ร่วมกันว่าจะทำตาม โดยไม่ต้องมีใครไปคอยจ้องจับผิด คอยบังคับ ข่มขู่

ถ้าทำได้…โลกก็สงบสุขไปอีกนาน

ปัญหาคือ มักจะมีคนที่ปลิ้นออกนอกลู่เสมอ “ปัญหาในโลกนี้ เกิดจากคนห่วยๆ เพียงไม่กี่คน”

เมื่อมีคนไม่ปฏิบัติตาม ก็เริ่มต้องหามาตรการที่เข้มข้นรุนแรงขึ้น จนอาจต้องถึงขั้นกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร กำหนดบทลงโทษที่ชัดเจน “กฎหมาย” ก็อุบัติขึ้นในโลก เหตุจากพวกไร้จริยธรรมนำพาไปสู่จุดนั้น

ดังนั้น สรุปได้ง่ายๆ ว่า จริยธรรม ด้านหนึ่ง คือ วิถีปฏิบัติที่ดีงามที่คนในสังคมยอมรับ และอีกด้านหนึ่ง ก็คือความคาดหวังจากผู้คนในสังคม หวังให้สมาชิกของสังคมทำตามวิถีนั้น

จริยธรรม ไม่ใช่กฎหมาย โดยปกติจึงไม่มีบทลงโทษ แต่เป็นเรื่องไม่ดีไม่งาม ไม่ถูกไม่ควร เสียมากกว่า

 

บางทีเราก็ได้ยินคำว่า ศีลธรรม จริยธรรม พูดควบคู่กันไป ศีลธรรมก็จะเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับแนวคิดหรือบทบัญญัติทางศาสนา ซึ่งส่วนหนึ่งมักถูกหยิบยกเอามาร่วมเป็นข้อกำหนดของจริยธรรม

เวลานักธุรกิจ นักการเมือง ทำบางเรื่องบางราวที่สังคมรู้สึกว่า “มันไม่ใช่”

เรามักได้ยินคนพวกนี้ชอบออกมาปฏิเสธว่า “ไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมาย” …แต่ผิดจริยธรรมไง

จริยธรรม ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย แต่ผิดความคาดหวังของสังคม ที่มีต่อคุณไงล่ะครับ

ข่าวปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ

การทำธุรกิจ บ่อยครั้ง มักเกิดปัญหา เอาเปรียบผู้บริโภคบ้างล่ะ หลอกลวงบ้างล่ะ ให้ข้อมูลไม่ชัดเจน เพื่อหวังการตีความผิดแต่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจบ้างล่ะ…ฯลฯ รวมๆ เรียกว่า “ธุรกิจเอาเปรียบผู้บริโภค”

บางเรื่องผิดกฎหมาย ก็สามารถไปจัดการดำเนินคดีกันได้ แต่บางเรื่อง “ผิดจริยธรรม” เอาผิดไม่ได้ ได้แต่ “เจ็บใจ”

แต่ผู้บริโภคยุคปัจจุบัน เขามีเครือข่าย เขาสื่อสารกันได้รวดเร็ว เขารักษาสิทธิ์ของเขา ความเจ็บใจของผู้บริโภค พร้อมถูกแสดงออกด้วยการ “ไม่สนับสนุน” ธุรกิจนั้น

หลายธุรกิจ หลายอาชีพ เข้าใจผลกระทบนี้มานานแล้ว จึงสร้างข้อกำหนดด้านจริยธรรมให้วิชาชีพของตัวเอง ที่เราเรียกว่า “จรรยาบรรณ” ซึ่งหมายถึง จริยธรรมของวิชาชีพนั้นๆ กำหนดกันเองในกลุ่มวิชาชีพ หาทางดูแลลงโทษกันในหมู่สมาชิกอาชีพเดียวกัน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค

กระทั่งราว 20 กว่าปีที่ผ่านมา แนวคิดเรื่อง “ธุรกิจควรรับผิดชอบต่อสังคม” ก็กระจ่างชัดขึ้นในโลก เพราะการแข่งขันที่นับวันรุนแรงขึ้น ทำให้หลายธุรกิจเริ่มห่างไกลจาก “จริยธรรม”

CSR (Corporate Social Responsibility) แนวคิดเรื่อง “ความรับผิดชอบต่อสังคม” จึงถือกำเนิดขึ้นมา แล้วแพร่ไปสู่ธุรกิจต่างๆ ให้ตระหนักว่า ทุกย่างก้าวของธุรกิจที่คุณกำลังดำเนินงาน “ต้องรับผิดชอบต่อสังคม”

รับผิดชอบอย่างไร…ง่ายสุด ก็แค่ ทำตัวดีมีจริยธรรม

แต่…องค์กรธุรกิจ เป็นเพียงแค่ นิติบุคคล บุคคลตามกฎหมาย ที่สมมติว่าเป็นองค์กรนี้เสมือนคนหนึ่งคน ทว่า…ในความเป็นจริง องค์กรใดจะมีชีวิตจิตใจ มีจริตไปในทางใด ขึ้นอยู่กับ “บุคคลในองค์กร”

เพราะคนในองค์กร คือ ผู้ขับเคลื่อนองค์กร

องค์กรนี้ดี ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ก็เพราะ…คนในองค์กรนั้นเป็นคนดี ได้คนดีมาบริหาร

องค์กรนี้เลวได้ใจ เผลอไม่ได้ไล่ไม่ทัน มันโกง มันเอาเปรียบสารพัด ก็เพราะ…องค์กรนั้น ได้รวมคนเลวเอาไว้

ข่าวปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ

ลองคิดดูว่า ถ้าเราเจอองค์กรที่มีแต่คนดี คนที่มีจริยธรรม เป็นผู้บริหาร เป็นพนักงาน ไม่ต้องถามหาเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมให้เปลืองน้ำลาย เพราะเชื่อมั่นได้เลยว่า องค์กรนั้น คนดีๆ เหล่านั้น พวกเขาจะรับผิดชอบต่อสังคม โดยไม่ต้องให้ใครมาบอก มาเตือน

ตรงข้าม องค์กรที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคม หลับตาฟันธงได้เลยครับ ว่าทั้งผู้บริหาร พนักงาน คงเลวเสมอกัน

ความไม่รับผิดชอบต่อสังคมของหลายองค์กร ถูกตอบโต้จากผู้บริโภคยุคนี้ ด้วยการแปรเปลี่ยนความเจ็บใจเป็นพลังการต่อต้าน การแบนสินค้าและบริการ การส่งต่อเรื่องราวเชิงลบ

บางทีธุรกิจ ไม่ต้องคิดโครงการ CSR อะไรให้ซับซ้อนมากมาย เพียงแค่ธุรกิจของเรา สรรหาแต่คนดี คนที่มีจริยธรรม เข้ามาบริหาร เข้ามาเป็นพนักงาน คนที่มีจริยธรรมเหล่านั้น เขามีพื้นฐานรับผิดชอบต่อความคาดหวังของสังคมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงมั่นใจได้ว่า…

เมื่อวันที่ 3 กรกฏาคม ที่ผ่านมา มีข่าวที่ทำให้วงการด้านเภสัชกรรมของโลกสั่นสะเทือนขึ้นมาทีเดียว เมื่อแกล็กโซสมิธไคลน์ บริษัทเภสัชกรรมรายใหญ่ของโลก ให้การรับสารภาพผิดและยอมจ่ายเงิน 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 94,000 ล้านบาท

 

กระทรวงยุติธรรม สหรัฐฯ ออกประกาศเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ว่า บริษัทด้านการดูแลสุขภาพ แกล็กโซสมิธไคลน์ แอลแอลซี (จีเอสเค) ตกลงให้การรับสารภาพผิด และยินยอมจ่ายเงิน 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อยุติคดีความรับผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง อันเกิดจากการที่บริษัทส่งเสริมการขายยาตามใบสั่งบางตัวไม่ชอบด้วยกฎหมาย การไม่ยอมส่งข้อมูลรายงานด้านความปลอดภัย รวมทั้งความรับผิดทางแพ่งตามข้อกล่าวหาว่า มีพฤติกรรมการรายงานราคาอันเป็นเท็จด้วย นับเป็นการตกลงยุติคดีฉ้อโกงด้านการดูแลสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ สหรัฐฯ และเป็นการจ่ายเงินเพื่อยุติคดีจำนวนมหาศาลที่สุดเท่าที่บริษัทยาแห่งหนึ่งเคยจ่ายมา

 

ข่าวปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ

รายงานข่าวระบุว่า ทั้งนี้จีเอสเคให้การรับสารภาพต่อคำฟ้องคดีอาญา 3 กระทง ได้แก่ ข้อกล่าวหา 2 กระทง ว่าด้วยการติดฉลากที่ให้ข้อมูลไม่เพียงพอ หรือ จงใจให้ข้อมูลผิดของยาที่ใช้ชื่อในการค้าว่า แพ็กซิล (Paxil) และเวลล์บูทริน (Wellbutrin) ที่วางขายในตลาดระหว่างมลรัฐ กับอีกกระทง ว่าด้วยการไม่ยอมส่งข้อมูลรายงานด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับยาอาแวนเดีย (Avandia) ให้แก่คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (เอฟดีเอ)

 

และตามข้อตกลงยอมรับสารภาพผิดครั้งนี้ จีเอสเคจะต้องจ่ายเงินทั้งสิ้น 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับเสียค่าปรับทางอาญา ซึ่งข้อตกลงการรับสารภาพผิดทางอาญานี้ ยังรวมไปถึงข้อผูกมัดบางประการที่ต้องปฏิบัติตาม และคำรับรองจากประธานและคณะกรรมการบริษัทจีเอสเคแห่งสหรัฐฯด้วย การยอมรับสารภาพผิดของจีเอสเค และคำตัดสินลงโทษดังกล่าว ยังไม่ถือเป็นที่สิ้นสุดจนกว่าจะได้รับการรับรองจากศาลแขวงสหรัฐฯ ก่อน

 

 

จ่ายอีก 2 พันล้านดอลลาร์ยุติรับผิดทางแพ่ง

 

 

นอกจากนี้จีเอสเคยังจะต้องจ่ายเงินอีก 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อยุติความรับผิดทางแพ่งกับทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐต่างๆ ตามกฎหมายการต่อต้านการฉ้อโกงรัฐ ข้อตกลงทางแพ่งนี้เป็นการยุติข้อเรียกร้องที่เกี่ยวกับยาแพ็กซิล เวลล์บูทรินและอาแวนเดีย รวมทั้งยาเพิ่มเติมตัวอื่นๆ อีกหลายตัว  อีกทั้งยังเป็นการยุติข้อกล่าวหา เรื่องการตั้งราคาแบบฉ้อโกงไปด้วย

 

การทำข้อตกลงครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างมหาศาล ในการสืบสวนอย่างต่อเนื่องของสายสืบพิเศษจากสำนักผู้ตรวจการสูงสุด (Office of Inspector General—OIG) ของกระทรวงสาธารณสุข (HHS-OIG) เอฟดีเอและเอฟบีไอ ร่วมกับองค์กรต่างๆ ของรัฐบาล ซึ่งมีหน้าที่ร่วมมือกันในการบังคับใช้กฎหมาย

 

 

ข่าวปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ

คุณสมบัติของยาต้องใช้เท่าที่แจ้ง ถ้าอ้างใช้อย่างอื่นถือว่าผิด

 

 

ตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอาหาร ยาและเครื่องสำอาง (Food, Drug and Cosmetic Act) ของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อบริษัทหนึ่งบริษัทใด ยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนยาต่อเอฟดีเอ บริษัทดังกล่าวจะต้องระบุให้ชัดถึงการใช้ประโยชน์แต่ละอย่าง ที่กำหนดไว้ของยาตัวนั้น หลังจากที่เอฟดีเออนุมัติว่าผลิตภัณฑ์ยาดังกล่าว มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพตามการใช้ประโยชน์ที่ระบุไว้ การทำกิจกรรมส่งเสริมการขายยาดังกล่าวของบริษัท จะต้องจำกัดอยู่ในขอบเขตเท่าที่ได้รับการอนุมัติจากเอฟดีเอเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง การที่ผู้ผลิตไปส่งเสริมการขายโดยอ้างการใช้อื่นๆ ที่เรียกกันว่า “การใช้ประโยชน์นอกฉลาก (off-label uses)” ถือว่าผลิตภัณฑ์นั้น “misbranded” หรือ จงใจให้ข้อมูลผิด

 

ทั้งนี้ มียา 3 ชนิด ที่จีเอสเค จงใจให้ข้อมูลผิดคือ  1.ยาแพ็กซิล ในสำนวนคำฟ้องคดีอาญา รัฐบาลกล่าวหาว่า ตั้งแต่เดือนเมษายน 2541 ถึงเดือนสิงหาคม 2546 จีเอสเคได้ส่งเสริมการขายยาแพ็กซิลที่ใช้รักษาอาการซึมเศร้าในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทั้งๆ ที่เอฟดีเอไม่เคยอนุมัติให้ใช้ยานี้กับเด็ก ทางการสหรัฐฯ กล่าวหาว่า นอกจากการกระทำอื่นๆ อีกหลายอย่างแล้ว จีเอสเคยังมีส่วนร่วมในการตระเตรียมจัดพิมพ์และแจกจ่ายบทความ ซึ่งมีเนื้อหาชวนให้เข้าใจผิด ในวารสารทางการแพทย์ โดยรายงานคลาดเคลื่อนว่า ผลการทดลองทางคลินิก แสดงให้เห็นว่ายาแพ็กซิลมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้า ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในขณะที่ผลการศึกษาไม่ได้แสดงให้เห็นว่า มีประสิทธิภาพดังที่ว่าแต่อย่างใด

 

 

จัดปาร์ตี้-สปาให้หมอหวังให้ใช้ยาที่ผลิต

 

 

ขณะเดียวกัน ทางการสหรัฐฯกล่าวหาอีกว่า จีเอสเคไม่ยอมเปิดเผยรายงานผลการศึกษาอื่นอีกสองชุด ซึ่งยาแพ็กซิลก็ไม่สามารถแสดงให้เห็นว่า มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้าในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีได้เหมือนกัน ทางการสหรัฐฯกล่าวหาต่อว่า จีเอสเคออกเงินจัดรายการเลี้ยงอาหารค่ำและอาหารกลางวัน นำไปใช้บริการในสปา และกิจกรรมแบบเดียวกันนี้อีกหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมให้มีการนำยาแพ็กซิลไปใช้กับผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น จีเอสเคยังจ่ายเงินจ้างวิทยากรไปพูดเรื่องยาตัวนี้ให้บรรดาหมอทั้งหลายฟัง ทั้งยังจ่ายเงินค่าอาหารหรือค่าใช้บริการในสปาให้แก่หมอที่มาฟังอีกด้วย

 

ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา แพ็กซิลได้ใส่ “คำเตือนในกรอบดำ (black box warning)” เช่นเดียวกับยารักษาอาการซึมเศร้าตัวอื่นๆ โดยระบุว่า การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 18 ปี อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการคิด หรือมีพฤติกรรมการฆ่าตัวตายได้ จีเอสเคยอมรับผิดตามข้อกล่าวหาว่า แม้มีคำเตือนในกรอบดำ แต่ก็ยังการกระทำอันเป็นเท็จ และชวนให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ยาแพ็กซิลกับผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 18 ปี

 

 

ข่าวปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ

เพิ่มคุณสมบัติยาเกินกว่าที่ขออนุญาตใช้

 

 

2.กรณียาเวลล์บูทริน ทางการสหรัฐฯ กล่าวหาว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2542 ถึงเดือนธันวาคม 2546 บริษัทจีเอสเคได้ส่งเสริมการขายยาเวลล์บูทริน เพื่อการใช้ประโยชน์อื่นๆ ที่อยู่นอกฉลากหลายอย่าง รวมทั้งใช้เพื่อลดน้ำหนัก รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ รักษาการติดสารเสพติด และโรคสมาธิสั้น ทั้งๆ ที่ตอนที่เอฟดีเออนุมัติให้ขึ้นทะเบียนยาตัวนี้ เพื่อรักษาโรคซึมเศร้าเท่านั้น

 

ทางการสหรัฐฯ ยังระบุอีกว่า จีเอสเค จ่ายเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อจ้างหมอไปพูดและเข้าร่วมการประชุมที่บางครั้งไปจัดกันที่รีสอร์ตหรูๆ เพื่อให้โฆษณาส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ที่อยู่นอกฉลากของยาเวลล์บูทรินอยู่เป็นประจำ รวมทั้งใช้ผู้แทนยา คณะกรรมการที่ปรึกษากำมะลอ และโครงการการศึกษาต่อเนื่องทางการแพทย์ (Continuing Medical Education – CME) ที่ผู้คนเชื่อกันว่าเป็นโครงการอิสระ ช่วยทำการโฆษณาการใช้ประโยชน์เหล่านี้ของยาเวลล์บูทริน ที่ไม่ได้ผ่านการอนุมัติจากเอฟดีเอแต่อย่างใด จีเอสเคยยอมรับผิดว่า ได้ติดฉลากยาเวลล์บูทรินแสดงข้อความเท็จ โดยที่ฉลากดังกล่าวมิได้มีคำแนะนำวิธีใช้ตามสมควร เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่อยู่นอกฉลากของยาเวลล์บูทรินเหล่านี้ สำหรับความผิดฐานติดฉลากยาแพ็กซิลและเวลล์บูทรินแสดงข้อความเท็จ

 

3.กรณียาอาแวนเดีย ทางการสหรัฐฯ กล่าวหาว่า ตั้งแต่ปี 2544 ถึงปี 2550 จีเอสเคไม่ได้ให้ข้อมูลความปลอดภัยบางอย่างเกี่ยวกับยาอาแวนเดีย ที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน ในรายงานซึ่งส่งให้เอฟดีเอ เพื่อช่วยให้เอฟดีเอสามารถตัดสินได้ว่า ยาตัวนี้มีความปลอดภัยตามข้อบ่งใช้ที่ได้รับอนุมัติอยู่หรือไม่ รวมทั้งสามารถมองเห็นแนวโน้มความปลอดภัยของยา ข้อมูลที่ขาดหายไปได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาความปลอดภัยของยาภาย หลังการนำออกวางตลาดแล้วบางชุด รวมไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาสองชุดซึ่งเป็นการให้คำตอบแก่ผู้ควบคุมกฎระเบียบของทางยุโรป ที่มีข้อห่วงใยเรื่องความปลอดภัยด้านระบบหัวใจและหลอดเลือดของยาอาแวนเดีย นับตั้งแต่ปี 2550 เอฟดีเอได้เติมคำเตือนในกรอบดำลงไปในฉลากของยาอาแวนเดียสองกรอบ เพื่อเตือนแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่น่าจะมีมากขึ้นในเรื่อง 1) หัวใจทำงานล้มเหลว  และ 2) กล้ามเนื้อหัวใจตาย [หัวใจวาย] จีเอสเคยอมรับผิดว่า ไม่ได้ส่งรายงานข้อมูลให้แก่เอฟดีเอและยินยอมจ่ายค่าปรับทางอาญา

 

 

 

ลงนามสัญญาคุณธรรมเปลี่ยนวิธีดำเนินธุรกิจ

 

 

รายงาข่าวระบุอีกว่า นอกเหนือจากการรับผิดด้านอาญาและแพ่งแล้ว จีเอสเคต้องทำสัญญาว่าด้วยคุณธรรมความสุจริตใจขององค์กร หรือ Corporate Integrity Agreemant – CIA กับกระทรวงสาธารณสุขและสำนักผู้ตรวจการ ทั้งนี้ข้อตกลงและสัญญาว่าด้วยคุณธรรมความสุจริตใจขององค์กร มีกฏหมายเพิ่มเติม ให้จีเอสเคต้องเปลี่ยนแปลงวิธีดำเนินธุรกิจ อันรวมไปถึงการยกเลิกระบบที่ฝ่ายขายได้รับค่าตอบแทนจากทำสถิติการขายในแต่ละภาคส่วน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ภายใต้สัญญา CIA ทางจีเอสเคจะต้องเรียกคืนเงินค่าโบนัสประจำปี จากทางผู้บริหารหรือผู้ที่อยู่ใต้การบังคับบัญชา หากพบความเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ประพฤติผิด โดยทางจีเอสเคสามารถเรียกเงินคืนจากทั้งผู้บริหารที่ยังคงอยู่ในตำแหน่งหรือผู้บริหาร ที่ออกจากบริษัทแล้ว ข้อตกลง CIA นี้ยังรวมไปถึงการที่จีเอสเคจะต้องไปสร้างความโปร่งใส ในการทำวิจัยและนโยบายการโฆษณา อีกทั้งจะต้องปฏิบัติต่อบุคลากรทางการแพทย์ตามข้อตกลงที่มีการกำหนดไว้ในสัญญาด้วย

 

ข่าวปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ

 

 

 

 

 

 

 

 

ค่าปรับแค่ 1 ใน 3 ของกำไร ประนีประนอม-ไม่มีผู้รับโทษ

 

 

จากคดีประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านสิทธิของผู้บริโภค ในด้านต่างๆ รวมถึงเรื่องยาที่เกี่ยวเนื่องไปถึงบริษัทยา  ได้จัดวงเสวนาเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ในหัวข้อ “ความจริงอันน่าสะพรึงกลัวจากคดีฉ้อโกงด้านสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน เมื่อบริษัทยายักษ์ใหญ่ถูกปรับเกือบแสนล้านบาท”

 

รศ.ดร.ภญ.จิราพร  ลิ้มปานนท์ สมาชิสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า คดีนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงพฤติกรรมของบริษัทยา และบุคลากรทางการแพทย์ ที่ร่วมกันหาประโยชน์บนชีวิตของผู้ป่วยอย่างไร้จริยธรรม ซึ่งผลก็คือถูกปรับเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทจะถูกปรับเป็นเงินถึง 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบแสนล้านบาท ในขณะที่ยอดขายของจีเอสเค เมื่อปีที่แล้วเพียงปีเดียว มียอดขาย 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นกำไรสุทธิ 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งค่าปรับที่ต้องจ่ายเป็นเพียง 1 ใน 3 ของกำไรสุทธิบริษัท และจากคำพิพากษามีการประนีประนอม ทั้งทางแพ่งและอาญาไม่มีการลงโทษผู้กระทำผิด ไม่ว่าจะเป็นบริษัทยาที่ทำผิดกฎหมาย หรือแพทย์ผู้สั่งจ่ายยาที่ความปลอดภัยไม่ชัดเจน เนื่องจากมีการติดสินบน หรือแม้แต่มีการปกปิดงานวิจัยของบริษัทถึง 3 ชิ้น ที่ไม่สนับสนุนประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา รวมถึงการตีพิมพ์งานวิจัยที่เป็นเท็จด้วย

 

                   “ยาต่างๆ ที่มีปัญหาในคดีนี้ ทำการตลาดในลักษณะนี้มาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ดังนั้น หากยังไม่มีกลไกที่ดีกว่านี้ เชื่อว่าบริษัทยายักษ์ใหญ่เหล่านี้จะมีพฤติกรรมเหมือนเดิม แต่อาจจะปรับวิธีการให้เนียนกว่านี้ เพราะมีบทเรียนมาแล้ว”

 

 

จี้รัฐบาลเร่งออกพ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ พร้อมมาตรการส่งเสริมจริยธรรม

 

 

สำหรับการส่งเสริมการขายยาในประเทศไทย ก็มีรูปแบบไม่แตกต่างกันและยังมีปัญหามากมายด้วย ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา กล่าวว่า สถานการณ์ของประเทศไทยน่าเป็นกังวลมากกว่า เนื่องจากกลไกกฎหมายฉบับเดิมยังล้าหลัง จนถึงขณะนี้ พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 และกฎระเบียบต่างๆ ของไทย ยังไม่สามารถเข้าไปเอาผิดกับการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมเหล่านี้ได้ ซึ่งเคยมีผู้ให้ข้อมูลว่า เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว มีอาจารย์แพทย์โรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่จ่ายยาเบาหวานในปริมาณสูงสุด และถูกให้ออก เพราะมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ผิดจริยธรรม แม้จะถูกตักเตือนมาเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามระบบการควบคุมกันเองนี้ ยังไม่เข้มข้นมากพอ ทั้งนี้วิธีการที่จะแก้ปัญหาคือ รัฐบาลควรเร่งออก พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ และออกกฏเกณฑ์จริยธรรมควบคุมการส่งเสริมการขายยาที่ขาดคุณธรรม

 

ข่าวปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ

 

 

 

 

โดย ดร.ภญ.นิยดาขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลงนามในร่างแก้ไขร่างพ.ร.บ.ยา พ.ศ....ที่ภาคประชาชนนำเสนอเพื่อเข้าสู่การพิจารณา และขอให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งนำร่างพ.ร.บ.ยา พ.ศ....ที่ผ่านการพิจารณาของกฤษฎีกาเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทั้ง 2 ฉบับ มีเนื้อหาควบคุมการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม จัดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพและตัวแทนขายยาอย่างเหมาะสม  ไม่เช่นนั้นปัญหาเหล่านี้ จะยิ่งทวีความรุนแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งชีวิตประชาชน และงบประมาณของประเทศอย่างรุนแรง

 

“อยากให้นายกรัฐมนตรีลงนามในร่างแก้ไขพ.ร.บ.ยา พ.ศ....ที่ภาคประชาชนนำเสนอ เพื่อจะได้นำเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ และเชิญชวนทุกสภาวิชาชีพต่างๆ โรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาล มาร่วมลงสัตยาบรรณรับรองเกณฑ์จริยธรรมควบคุมการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม ที่กำหนดกลไกการกำกับกันเอง ให้มีประสิทธิภาพที่สุด รวมทั้งเปิดให้กลไกการเฝ้าระวังและตรวจสอบ ที่เป็นทางการเพิ่มเติมขึ้น”

 

 

ระบุกฎหมายฉบับปัจจุบันไม่สอดคล้องกับธุรกิจยา

 

 

สำหรับ พ.ร.บ.ยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ คือ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับธุรกิจของบริษัทยาในปัจจุบัน ภาคประชาชนจึงรวบรวมรายชื่อและเสนอ ร่างพ.ร.บ.ยา ภาคประชาชนโดยเสนอเมื่อต้นปี 2555 ที่ผ่านมา เนื่องจากร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมีส่วนของงบประมาณอยู่ด้วย จึงต้องให้นายกรัฐมนตรีลงนาม ก่อนจะเสนอสู่สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนอยู่ที่รอนายกรัฐมนตรีลงนาม

 

นอกจากนี้ยังมีร่างพ.ร.บ.ยาที่เสนอโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งขณะนี้ผ่านการพิจารณาของกฤษฎีกาแล้ว ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ทั้งส่วนของภาคประชาชนและกระทรวงสาธารณสุข จะเพิ่มเนื้อหาหมวดการควบคุมยา และหมวดการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ซึ่ง พ.ร.บ.เดิมไม่มี

 

ข่าวปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ

เชิญชวนเภสัชกรร่วมตรวจสอบพฤติกรรม-จริยธรรมธุรกิจยา

 

 

ทั้งนี้ ภ.ก.ภาณุ โชติทองยัง รองผู้อำนวยการวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม ระบุว่า กฎหมายเรื่องยาของไทยเก่ามาก ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ธุรกิจยาในสังคมโลกไปไกลมากแล้ว พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มีการควบคุมการโฆษณา แต่ไม่ได้มีการพูดถึงการส่งเสริมการขาย จึงเป็นช่องโหว่ที่อาจทำให้บริษัทยาส่งเสริมการขายอย่างไร้จริยธรรมได้ จึงจำเป็นจะต้องปรับแก้ระบบยาให้โปร่งใส รวมทั้งให้บริษัทยาเปิดเผยโครงสร้างราคายาของตน เพื่อให้สังคมสามารถติดตามตรวจสอบได้

 

“ในนามของสถาบันฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริม เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมมีจริยธรรม ความรู้ และความเชี่ยวชาญ ในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ ขอเรียกร้องเภสัชกร ตลอดจนผู้บริโภค เข้ามาร่วมกันเป็นเครือข่ายในการตรวจสอบและเฝ้าระวัง พฤติกรรมการขายยาที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมด้วย หากพบการกระทำที่ไม่เหมาะสม ขอให้แจ้งยังสภาเภสัชกรรม ซึ่งเป็นองค์กรที่ควบคุมจรรยาบรรณของวิชาชีพ และหากพบผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ เกี่ยวข้องด้วย ก็ขอให้แจ้งยังสภาวิชาชีพนั้นๆ เช่นกัน”

 

ระบุกรรมการ 3 กองทุนต้องตรวจสอบราคายาอย่าให้เกินจริง

 

ด้านนายนิมิตร์ เทียนอุดม กรรมการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า จากคดีจีเอสเคยังพบว่า มีการขายยาเกินราคาให้กับโครงการประกันสุขภาพของรัฐ ที่ให้การรักษาคนชราในสหรัฐฯ จนถูกสั่งปรับ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  หรือเกือบแสนล้านบาท กรณีแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากเรามีระบบหลักประกันสุขภาพ ที่ครอบคลุมประชาชนทั้งประเทศ ระบบสวัสดิการข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจประมาณ 5 ล้านคน ที่ใช้งบประมาณจากภาษีอากร ปี 2553 ประมาณ 70,000 ล้านบาท ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดูแลประชาชน 47 ล้านคน ใช้งบประมาณประมาณ 100,000 ล้านบาท ซึ่งสัดส่วนงบประมาณที่ใหญ่ที่สุดคือ ค่ายา ดังนั้นกรมบัญชีกลางและคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นมา เพื่อให้ 3 ระบบหลักประกันมีความเท่าเทียมนั้น ต้องมีการตรวจสอบราคายา ควบคุมราคายา ให้มีความเหมาะสม อย่าปล่อยให้บริษัทยาเอาเปรียบได้

 

ข่าวปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ

 

“ต้องทำให้คนไทยได้รู้ข้อเท็จจริงว่า ยาจากต่างประเทศ ที่มีราคาแพง ไม่ได้เป็นยาที่ดีเสมอไป ซึ่งยาราคาแพงมาจากการปั่นราคายาของบริษัทยา ทำให้ราคายาสูงเกินจริง”

 

 

น.ส.สารี อ่องสมหวัง  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  กล่าวว่า ยาเวลบูทรินซึ่งเป็นหนึ่งในยาที่จีเอสเคจงใจให้ข้อมูลผิดนั้น มีขายในประเทศไทยด้วย และข้อบ่งใช้ต่างกัน ซึ่งเป็นยาสามัญชื่อเดียวกัน บริษัทเดียวกัน แต่เอกสารกำกับยาในประเทศไทย สำหรับเลิกบุหรี่เท่านั้น ในขณะที่สหรัฐอเมริกาไม่ใช้สำหรับเลิกบุหรี่ แต่ใช้สำหรับอาการซึมเศร้า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะมีการตรวจสอบและดำเนินการเรื่องนี้ ซึ่งกรณีแบบนี้เกิดขึ้นได้มากในประเทศไทย เนื่องจากไม่มีระบบการเก็บข้อมูลข้อบ่งใช้ของยา อย่างเป็นระบบที่ดี และยามีจำนวนมาก ไม่สามารถบอกว่าได้ว่าตัวไหนซ้ำกับตัวไหน

 

ทั้งนี้พ.ร.บ.ยาเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งผลักดันให้ออกมา เนื่องจากการส่งเสริมการขายยาเป็นการดำเนินการในการประกอบวิชาชีพ ประชาชนมีโอกาสในการเลือกใช้ยาน้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับยาที่ใช้มานาน