คำให้การ กับ คำ เบิกความ ต่าง กัน อย่างไร

บันทึกคําเบิกความแทนการซักถามมายื่นต่อศาล และส่งให้อีก ฝ่ายก่อน วันสืบพยานภายในระยะเวลาตามกฎหมาย อันเป็นการสืบพยานหลักฐาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 120/1 วรรคหนึ่ง แต่ตามบทบัญญัติของกฎหมาย เมื่อมีการยื่นบันทึกถ้อยคําต่อศาลแล้ว คู่ความที่ยื่นไม่ อาจขอถอนบันทึก ถ้อยคํานั้น บันทึกถ้อยคํานั้นเมื่อพยานเบิกความรับรองแล้วให้ถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของ คําเบิกความตอบคําซักถามเท่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 120/1 วรรคสอง

บริการ ติดโพย (PopThai) เป็นบริการเปิดพจนานุกรมอัตโนมัติ โดยผู้ใช้สามารถป้อนข้อความ ทีละประโยค หรือ เป็นหน้าเลยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทีละคำสองคำ ระบบจะทำการแนบความหมายของคำหรือวลีภาษาต่างประเทศ (ปัจจุบันสนับสนุน ภาษาอังกฤษ, ญี่ปุ่นและเยอรมัน) ติดกับเนื้อหานั้นๆ และจะแสดงผลความหมายเมื่อเอาเมาส์ไปวางเหนือคำหนึ่งๆ ช่วยให้สามารถเข้าใจเนื้อหาของเวบภาษาต่างประเทศได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ความหมายของคำจะปรากฏขึ้นมาเมื่อท่านเอาเมาส์ไปวางบนคำหรือวลีที่มีอยู่ในพจนานุกรม โดยไม่จำเป็นต้องกดปุ่มใดๆ ดังตัวอย่างในรูปข้างล่างนี้

คำให้การ กับ คำ เบิกความ ต่าง กัน อย่างไร

คุณสมบัติ / Features

  • แสดงความหมายของคำโดยอัตโนมัติ เพียงวางเมาส์ไว้บนคำที่ต้องการทราบความหมาย
  • สนับสนุนเวบหลากภาษา (ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น และเยอรมัน)
  • ค้นหาความหมายจากพจนานุกรมหลายชุดพร้อมๆกัน ในฐานข้อมูลของ Longdo ได้แก่ Lexitron2, Hope, Nontri, Longdo อังกฤษ-ไทย, Longdo เยอรมัน-ไทย เป็นต้น
  • แสดงได้ทั้งความหมายของคำเดี่ยว และคำผสม ได้อย่างถูกต้อง เช่น Secretary of State=รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ (ในภาพตัวอย่าง), High school=โรงเรียนมัธยมปลาย
  • แสดงความหมายของคำที่แปรรูปจากคำในพจนานุกรมได้ เช่น เมื่อวางเมาส์ไว้บนคำว่า executed/abusing ซึ่งไม่มีในพจนานุกรม เครื่องจะแสดงความหมายของคำว่า execute/abuse ให้โดยอัตโนมัติ
  • เรียกใช้งานได้ง่ายเพียงกดปุ่ม PopThai บน Longdo Toolbar เพื่อแนบความหมายหน้าจอที่เปิดชมอยู่ในขณะนั้น
  • แก้ไข Link ในหน้าที่แสดง เพื่อให้สามารถเปิดชม Link เหล่านั้นผ่านบริการ PopThai ได้ทันทีเช่นเดียวกัน
  • สนับสนุนบราวเซอร์ชั้นนำทั่วไป เช่น Internet Explorer, Firefox, Chrome, Safari, Konqueror, etc.
  • แสดง Link ให้ผู้ใช้ช่วยป้อนความหมายสำหรับคำที่ยังไม่มีอยู่ในพจนานุกรม
  • ใหม่: บริการ Vocabulary แสดงสรุปรายการคำศัพท์พร้อมความหมาย สำหรับพิมพ์ออกมาอ่านได้สะดวก วิธีใช้งาน ให้เลือกตรงตัวเลือกบริการด้านบน ให้เป็น Vocabulary แทน PopThai. (PopThai ในโหมดปกติ จะเหมาะกับการใช้งาน on-line หน้าจอคอมพิวเตอร็ ส่วนบริการ Vocabulary เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการพิมพ์รายการคำศัพท์และความหมายออกมาบนกระดาษไว้อ่าน off-line)
  • ใหม่: บริการ Pronunciation Guide แสดงคำอ่านของคำใน เว็บ หรือ text ที่ป้อนให้ ข้างบนคำนั้นๆ, นอกเหนือไป จากการแสดง pop-up ความหมาย. วิธีใช้งาน ให้เลือกตรงตัวเลือกบริการด้านบน ให้เป็น Pronunciation. ขณะนี้ใช้ได้กับภาษาอังกฤษ (แสดงคำอ่านภาษาอังกฤษ) และภาษาญี่ปุ่น (แสดง hiragana เหนือคันจิ). บริการนี้ ใช้ extension ของ browser ที่ชื่อ Ruby ปัจจุบันมีแค่ IE browser ที่สนับสนุน ถ้าเป็น browser อื่นๆ จะเห็นคำอ่านปรากฎในวงเล็บแทน

วิธีใช้

ท่านสามารถป้อนเนื้อหาหรือ URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการให้แนบความหมายนี้ ในช่องใส่ข้อความค้นหาปกติ

หลังจากนั้นเลือกบริการที่ต้องการ (เช่น ถ้าป้อนข้อความ ให้เลือก PopThai (text) ถ้าป้อน URL ให้เลือก PopThai (URL)) ถ้าท่านไม่เลือกบริการ ระบบจะเดาบริการที่ท่านต้องการ จากข้อความที่ท่านใส่เข้ามา (ว่าเป็นข้อความหรือเป็น URL) โดยอัตโนมัติ, จากนั้นกด Submit เป็นอันเสร็จ

ในกรณีที่ท่านใส่ URL ระบบจะไปทำการดาวน์โหลดเนื้อหาของหน้านั้นๆ มาและแนบความหมาย พร้อมแก้ไขลิงค์ต่างๆ ให้เป็นผ่านบริการ PopThai เ พื่อที่ว่าเมื่อท่านกดที่ลิงค์ใดๆ ต่อไปจากเพจนั้นๆ ก็จะมีการแนบความหมายมาให้ด้วยในทันที

เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้ท่านสามารถใช้ PopThai ผ่าน Longdo Toolbar โดยเมื่อท่านเปิดดูเว็บไซต์ใดๆ อยู่ตามปกติ และต้องการใช้บริการ PopThai สำหรับ หน้านั้นๆ สามารถทำได้ทันที โดยคลิกที่ปุ่ม PopThai บน Toolbar รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดอ่านที่ Longdo Toolbar

คำเตือน ในกรณีของ URL นี้ ถึงแม้ทางผู้ดูแลระบบลองดูจะได้ทำการทดสอบกับหลายเว็บไซต์ แล้วก็ตาม ยังมีบางเว็บไซต์ที่ข้อมูลเวลาที่ระบบไปโหลดมาจะแตกต่างจากที่ท่านเปิดดูโดยใช้ browser โดยตรง โปรดระวังด้วย และไม่ควรใช้กับหน้าเว็บไซต์ที่ ต้องการความถูกต้องสูง)

การซักถามพยาน เป็นงานที่ทนายความที่ขึ้นว่าความในชั้นศาลทุกคนจะต้องได้ทำ เพราะเป็นพื้นฐานของงานทนายความ   

โดยวัตถุประสงค์ของการซักถามพยาน ก็เพื่อให้พยานเล่าข้อเท็จจริงที่ตนเองรู้เห็นรับทราบมา ให้กับศาลบันทึกไว้ในคำเบิกความ

ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่รูปคดีของตน หรือเพื่อหักล้างข้อต่อสู้ของฝ่ายตรงข้าม

การอ้างพยานบุคคลเพื่อนำสืบในชั้นศาล ผู้อ้างต้องยื่นบัญชีระบุพยานตามกฎหมาย และก่อนพยานเบิกความ พยานก็ต้องสาบานตัวตามศาสนา ปวิพ. ม.112 

จากนั้นศาลก็จะถามพยาน ถึงชื่อนามสกุล ที่อยู่ อาชีพ ความเกี่ยวข้องกันคู่ความ ปวิพ. ม.116

หลังจากนั้น ธรรมดาแล้ว ศาลก็จะให้ทนายความผู้อ้างพยานซักถามพยานปากนั้น เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามที่ต้องการ

การซักถามพยานที่เราอ้างขึ้นมาเองนั้น ดูเผินๆหมือนจะเป็นงานที่ง่ายที่สุดในการซักถามพยานทั้ง 3 ประเภท คือ ซักถาม ถามค้าน ถามติง 

แต่ความจริงแล้ว การซักถามพยาน ถือเป็นทั้งศาสตร์และศิลปขั้นสูง ที่ต้องอาศัยประสบการณ์ การศึกษาค้นคว้าทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ จึงจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

ทนายความที่เก่งในการซักถามพยาน จะทำให้พยานสามารถเบิกความได้สิ้นกระบวนความ สอดคล้องเป็นเหตุเป็นผล มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ จูงใจให้ศาลเชื่อและคล้อยตามรูปคดีของตนเองได้ ฝ่ายตรงข้ามยากต่อการถามค้าน และหากเกิดปัญหาเฉพาะหน้าก็จะสามารถแก้ไขได้ทันที 

ในทางกลับกัน ทนายความที่ไม่ได้ศึกษาด้านการถามความทั้งจากตำราและจากอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ คิดว่าเมื่อสอบใบอนุญาตว่าความได้แล้ว ก็ขึ้นซักพยานเลย ส่วนมากมักจะถามพยานไม่เป็น ถามไม่ครบกระบวนความ ขาดความสอดคล้อง ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ฝ่ายตรงข้ามสามารถหาช่องในการถามค้านทำลายน้ำหนักได้โดยง่าย และเมื่อเกิดปัญหาเฉพาะหน้าก็แก้ไขไม่เป็น 

ถึงแม้ปัจจุบันนี้ในการสืบพยานคดีแพ่งในหลายคดีจะนิยมใช้บันทึกคำเบิกความ แทนการซักถามพยานแบบสดๆเหมือนสมัยก่อน 

แต่หลักพื้นฐานในการซักถามพยานก็ยังเป็นสิ่งสำคัญสามารถนำไปปรับใช้ได้กับการทำคำเบิกความได้

อีกทั้งหากเป็นคดีอาญาหรือคดีแพ่งที่ศาลไม่ให้ทำคำเบิกความ ทนายความก็จะต้องมีความสามารถพร้อมในการซักถามพยาน

วันนี้ผมจึงได้นำเทคนิคและข้อควรรู้ ที่ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆทนายความในการซักถามพยานในชั้นศาลมาแบ่งปันกัน รวมทั้งสิ้น 13 ข้อครับ


ห้ามใช้คำถามนำ แต่ไม่ได้ห้ามเด็ดขาด 

ธรรมดาแล้วในการซักถามพยานที่เราอ้างมานั้น กฎหมายห้ามไม่ให้ทนายความใช้ คำถามนำ ในการซักถามพยานของฝ่ายตนเอง 

คำถามนำ หมายความว่าเป็นคำถามที่แนะนำคำตอบให้กับพยานอยู่ในตัว หรือเป็นคำถามที่ให้พยานเลือกตอบข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลักษณะการชี้นำ ไม่ใช่เป็นคำถามเพื่อให้พยานเราได้เล่าข้อเท็จจริงแต่เป็นคำถามที่แนะนำคำตอบให้กับพยานอยู่ในตัว 

ตัวอย่างเช่น 

  • วันเกิดเหตุพยานเห็นเหตุการณ์ใช่ไหม
  • จำเลยเป็นคนใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายใช่หรือไม่ 
  • จำเลยขี่มอเตอร์ไซค์หลบหนีไปใช่หรือไม่ 

สาเหตุที่กฎหมายห้ามไม่ให้ใช้คำถามนำ เพราะกฎหมายถือว่าต้องการให้พยานเล่าเรื่องข้อเท็จจริงที่พยานได้ประสบรู้เห็นมาโดยตรง ไม่ใช่ให้พยานตอบตามที่ทนายความต้องการนำทางไป 

มิฉะนั้นคนที่ไม่รู้เห็นเรื่องราวใดๆเลยก็ยอมมาเบิกความเป็นพยานในชั้นศาลได้ เพียงแค่ตอบคำถามตามที่ทนายความนำไปว่าใช่ๆๆ อย่างเดียว 

อย่างไรก็ตามกฎหมายในเรื่องการห้ามถามนำนั้น ไม่ใช่กฎหมายต้องห้ามเด็ดขาด

หากศาลอนุญาตให้ใช้คำถามนำหรือฝ่ายตรงข้ามไม่คัดค้านในการใช้คำถามนำ ทนายความฝ่ายผู้อ้างพยานก็สามารถใช้คำถามนำได้ ทั้งนี้ตาม ปวิพ ม.118

ในบางครั้งบางสถานการณ์ เราอาจจะเจอพยานที่ไม่เข้าใจคำถาม ไม่เข้าใจประเด็นที่เราต้องการจะซักถาม ถามกี่ครั้งพยานก็ยังไม่เข้าใจ อีกทั้งประเด็นที่เราจะถามก็ไม่ใช่ประเด็นข้อสำคัญในคดี 

ตัวอย่างเช่น

เราจะถามถึงวันเวลาเกิดเหตุ วันเดือนปีเกิด อายุของพยาน สถานที่เกิดเหตุอยู่ตำบลอะไรจังหวัดอะไร  ซึ่งไม่ได้เป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีนั้นเพียงแต่ต้องการให้พยานเบิกความเพื่อความสมบูรณ์ในการซักถามเท่านั้น 

เช่นนี้เราอาจจะขออนุญาตศาลถามนำก็ได้

  • โดยการขออนุญาตศาลว่า ท่านครับคำถามนี้ผมขออนุญาตใช้คำถามนำว่า ….. เพราะพยานไม่เข้าใจคำถามและไม่ได้เป็นประเด็นข้อได้เปรียบเสียเปรียบในคดีครับ 

ดังนั้นแล้วในการซักถามพยานนั้นโดยหลักแล้วเราห้ามใช้คำถามนำ เว้นแต่พยานไม่เข้าใจคำถามจริงๆและไม่ใช่ประเด็นข้อสำคัญในคดีเราอาจจะขออนุญาตศาลใช้คำถามนำได้ หากศาลอนุญาตเราก็สามารถถามนำได้

ในทำนองกลับกันหากเราเป็นทนายความฝั่งตรงข้าม หากทนายความฝ่ายตรงข้ามใช้คำถามนำในการซักถามพยานและเป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีเราก็ควรลุกขึ้นคัดค้าน 

แต่หากทนายฝ่ายตรงข้ามถามนำเพียงเล็กน้อยเพราะพยานไม่เข้าใจคำถาม แล้วไม่ใช่ประเด็นข้อสำคัญในคดีเราก็สามารถปล่อยผ่านไปก็ได้ครับ 


ใช้คำถามที่สั้น กระชับ ถามทีละคำถาม 

หลักการตั้งคำถามที่ถูกต้องในการซักถามพยาน ก็คือ การตั้งคำถามให้สั้น กระชับที่สุด คำถามยิ่งสั้นยิ่งดี 

เพราะคำถามยิ่งยาวยิ่งทำให้พยานเข้าใจยากขึ้น ว่าเราต้องการสอบถามว่าอะไร แล้วจะทำให้ศาลไม่เข้าใจเช่นเดียวกันว่าเราต้องการถามพยานว่าอะไร

และการตั้งคำถามนั้นควรจะตั้งคำถามทีละคำถาม อย่าตั้งคำถามหลายคำถามในครั้งเดียว จะทำให้พยานมึนงงสับสน และตอบไม่ครบถ้วน 

ตัวอย่างการตั้งคำถามหลายคำถามรวดเดียวเช่น 

  • บิดาพยานเสียชีวิตเมื่อไหร่ เพราะสาเหตุอะไร ด้วยโรคอะไร เสียที่ไหน ? 

ซึ่งความจริงแล้วเราควรจะแยกคำถามดังกล่าวออกมาเป็นทีละข้อ จะทำให้พยานตอบได้ชัดเจนไม่ตกหล่นและไม่มึนงงกับคำถาม 

ตัวอย่างเช่น

  • บิดาพยานเสียชีวิตเมื่อไหร่
  • เสียเพราะสาเหตุอะไร
  • เสียที่ไหน
  • ก่อนเสียมีภูมิลำเนาอยู่ที่ไหน

ดังนั้นจงจำไว้ว่าทนายความที่เก่งจะใช้คำถามในการถามพยานที่สั้นกระชับเข้าใจง่าย ทำให้ทั้งพยานและศาลสามารถเข้าใจได้ทันทีว่าเราต้องการให้พยานตอบว่าอะไร 

ทนายคนไหนที่ใช้คำถามยาว คนฟังหรือศาลฟังแล้วไม่สามารถเข้าใจได้เลยว่าคำถามนั้นหมายถึงอะไร คือทนายที่ไม่มีความสามารถในการตั้งคำถามครับ


ใช้น้ำเสียงที่สุภาพ นุ่มนวล คอยปลอบเมื่อพยานไม่เข้าใจคำถาม หรือตอบผิดพลาด

การใช้น้ำเสียงในการซักถามพยานนั้นเป็นหนึ่งในศิลปะที่ทนายความที่มีความสามารถห้ามมองข้ามโดยเด็ดขาด 

ธรรมดาแล้วบุคคลที่จะมาเบิกความเป็นพยานในชั้นศาลนั้น ย่อมมีความประหม่า ตื่นเต้น และเกรงกลัวอยู่ไม่น้อย 

แม้กระทั่งตัวผมเอง ถึงแม้จะเป็นทนายความและมีประสบการณ์ในการว่าความแต่เมื่อถึงคราวต้องเบิกความในชั้นศาลบางครั้งก็ตื่นเต้นเกิดความผิดพลาดได้ 

เมื่อเราเป็นทนายความฝั่งที่อ้างตัวเขามาเป็นพยาน เราก็ควรจะเข้าใจถึงความเป็นจริงข้อนี้ว่า คนที่จะมาเบิกความเป็นพยานในชั้นศาลเขาก็มีความตื่นเต้น ประหม่า และกลัวความผิดพลาดอยู่แล้ว 

ดังนั้นเราจึงควรที่จะพูดจากับเขาด้วยความสุภาพ อ่อนโยน หากเขาเบิกความผิดพลาดหลงลืมหรือตกหล่นก็ควรค่อยๆบอกเขาด้วยน้ำเสียงเป็นมิตร และคอยปลอบโยนเขา ซึ่งจะทำให้เขาได้สติ 

แต่หากเราอารมณ์เสีย ใส่อารมณ์หรือดุด่าว่ากล่าวพยานที่เบิกความผิดพลาดหรือไม่ตรงกับที่เราต้องการจะถาม ยิ่งจะทำให้พยานหวาดกลัวแตกตื่นจนอาจเบิกความเสียรูปคดีไปเลย 

ดังนั้นการใช้น้ำเสียง และวิธีการถามของพยานในการซักถามพยาน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในการถามพยานครับ 


ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับพยาน

การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับความรู้ สติปัญญา ของพยานก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ทนายความจะต้องรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสม

ถ้าหาพยานเป็นชาวบ้าน จบการศึกษาชั้นม.3 เช่นนี้การใช้คำถาม ก็ควรใช้คำถามง่ายๆ หลีกเลี่ยงการใช้คำทับศัพท์ ภาษาต่างประเทศ ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาเฉพาะทาง แต่ควรใช้ภาษาแบบง่ายๆที่ชาวบ้านทั่วไปฟังแล้วเข้าใจ 

หากพยานเป็นคนภาคเหนือ ภาคอีสาน หรือภาคใต้ ที่อาจจะไม่เข้าใจบริบทหรือภาษากลางอย่างชัดเจน หากถามแล้วไม่เข้าใจก็อาจจะขออนุญาตศาลถามเป็นภาษาท้องถิ่นหรืออธิบายคำถามให้พยานเข้าใจได้โดยง่าย

แต่หากพยานเป็นผู้มีการศึกษา เป็นนักวิชาการเฉพาะทาง ที่สามารถเข้าใจคำศัพท์เฉพาะ ภาษากฎหมาย ภาษาทางการ ได้เป็นอย่างดีทนายความก็สามารถใช้คำถามที่เป็นศัพท์เฉพาะ ภาษากฎหมาย หรือภาษาทางการได้เลย

การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับระดับสติปัญญาของพยาน จะทำให้การสื่อสารระหว่างเราและพยานไม่คลาดเคลื่อน การซักถามพยานเป็นไปโดยราบรื่นไม่มีข้อผิดพลาดหรือตกหล่น 


ซักถามเพื่อให้เหตุผลเชิงลึก

ในการซักถามพยานเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องหรือคำให้การ ไม่ใช่เพียงแต่การซักถามให้พยานเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงตามคำฟ้องหรือคำให้การเท่านั้น 

แต่จะต้องซักถามข้อเท็จจริงเชิงลึกถึงเหตุผล ที่มา รายละเอียด และข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องมาประกอบเพื่อให้การเบิกความนั้นสมเหตุสมผลด้วย 

ทนายความหลายคนเวลาทำคำเบิกความหรือเวลาจะซักถามพยาน ก็จะซักถามไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องเท่านั้น 

ถ้าพยานเบิกความแค่ว่า พบเห็นสิ่งนี้ รู้เห็นสิ่งนี้ อย่างเดียวอาจไม่มีน้ำหนัก หรือที่เรียกว่าเบิกความลอยๆ

เราต้องซักถามให้เห็นถึงเหตุผล และข้อเท็จจริงประกอบด้วย

ตัวอย่างเช่น

พยานเบิกความว่าให้จำเลยกู้ยืมเงิน ก็ต้องถามถึงเหตุผลว่าทำไมถึงให้จำเลยกู้รู้จักกันมานานแค่ไหน จำเลยบอกว่าเหตุผลอะไรในการกู้ยืมเงิน มอบเงินด้วยวิธีไหน ชำระเงินให้จำเลยอย่างไร เป็นต้น 

หรือตัวอย่างเช่น

หากพยานเบิกความว่า ไปพบเห็นจำเลยวิ่งราวทรัพย์ เราก็ต้องถามให้ละเอียดว่า เหตุใดจึงไปพบจำเลย เหตุการณ์ขณะพบเป็นอย่างไร จำเลยแต่งตัวอย่างไร เหตุการณ์หลังเกิดเหตุเป็นอย่างไร 

การซักถามถึงเหตุผลเชิงลึกและรายละเอียดในคำเบิกความ จะทำให้คำเบิกความของพยานของเรา มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ มีเหตุผลสอดคล้องกับความจริง มากกว่าให้พยานเบิกความลอยๆโดยไม่ให้รายละเอียด 


ซักถามเพื่อปิดคำถามค้าน

เทคนิคนี้ผมได้มาจากหนังสือของ อ.ไพศาล พืชมงคล ที่ชื่อคู่มือการสืบพยาน 

โดยเทคนิคนี้มีหัวใจอยู่ที่ว่า ให้เราคิดไว้ล่วงหน้าเลยว่าหากเราเป็นทนายความฝั่งตรงข้าม เราจะถามค้านพยานปากเหล่านี้อย่างไร 

เมื่อคิดไว้แล้วว่า ฝ่ายตรงข้ามจะถามว่าอย่างไรเราไม่ต้องรอให้ฝ่ายตรงข้ามถาม แต่ให้เราซักถามพยานให้อธิบายในประเด็นนั้นให้ชัดเจนไปเลย 

การที่ให้พยานอธิบายในประเด็นที่คิดว่าจะถูกถามค้าน อย่างสมเหตุสมผล ชัดเจน ตั้งแต่ตอนเบิกความเลยจะทำให้  ฝ่ายตรงข้ามจะถามค้านยาก 

ตัวอย่างเช่นคดีอาญา สมมุติว่า เป็นคดีฆาตกรรม เรารู้อยู่แล้วว่าฝ่ายตรงข้ามจะต่อสู้ประเด็นว่าพยานจำตัวจำเลยไม่ได้ ก็ต้องถามให้ละเอียดเลยว่า 

  • แสงไฟที่เกิดเหตุเป็นอย่างไร
  • มีเวลาพบเห็นจำเลยนานแค่ไหน
  • รูปร่างหน้าตาของจำเลยเป็นอย่างไรมีจุดเด่นอย่างไร 
  • ทำไมจึงจดจำจำเลยได้

การซักถามเพื่อปิดคำถามค้านนี้ เป็นเทคนิคที่ผมนำไปลองใช้แล้วปรากฏว่า ได้ผลดีเป็นอย่างมาก เพราะทำให้พยานได้เบิกความอธิบายข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วนกระบวนความ ฝ่ายตรงข้ามถามค้านให้เสียน้ำหนักยาก จึงแนะนำให้เพื่อนๆนำไปปรับใช้กันครับ 


ซักถามเผื่อพยานปากหลัง

ในกรณีที่พยานบุคคลที่เรานำสืบนั้นเป็นพยานคู่ หรือมีพยานคนอื่นที่รับรู้เห็นข้อเท็จจริงเดียวกันนั้นด้วยและเราประสงค์จะนำสืบพยานอื่นในภายหลัง 

เราก็ต้องถามพยานปากแรกไว้ด้วยว่า ขณะเกิดเหตุมีใครรู้เห็นเหตุการณ์อีกนอกจากตัวพยานเอง 

เพื่อให้พยานยืนยันว่ายังมีพยานอื่นรู้เห็นเหตุการณ์เดียวกันอีก 

ถ้าเราไม่ถามไว้ และเอาพยานปากอื่นมาเบิกความภายหลัง น้ำหนักความน่าเชื่อถือก็จะลดลงไป 

ตัวอย่างเช่น ถามว่า ขณะเห็นเหตุการณ์มีใครอยู่ด้วย เพื่อให้พยานตอบว่า นาย ข. อยู่ในเหตุการณ์ด้วย

เวลาที่นำนาย ข. พยานปากต่อไปมาเบิกความก็จะมีน้ำหนักน่าเชื่อถือขึ้น 


การนำพยานเอกสาร พยานวัตถุ คลิปเสียง คลิปวีดีโอ มาประกอบการซักถาม

การให้พยานเบิกความแสดงข้อเท็จจริงต่อศาลนั้น นอกจากการจะให้พยานเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามที่ตนเองรู้เห็นแล้ว ยังสามารถให้พยานเบิกความยืนยันถึง พยานเอกสาร พยานวัตถุ 

เช่น สัญญา ประกาศ หลักฐานการสนทนาผ่านโปรแกรม LINE หรือ facebook คลิปวีดีโอ หรือคลิปเสียงต่างๆ 

เพื่อแสดงประกอบหรือยืนยันให้เห็นถึงข้อเท็จจริงตามที่ตนเองได้เบิกความหรือประสบรู้เห็นมา  

ซึ่งในการที่จะนำพยานเอกสารพยานวัตถุให้พยานเบิกความรับรองนั้น  ไม่ใช่เพียงแต่เอาเอกสารมาให้พยานรับรองเฉยๆ

แต่เราควรจะให้พยานเบิกความอธิบายถึงข้อเท็จจริงรายละเอียดโดยสังเขปที่ ปรากฏในคลิปเสียง คลิปวีดีโอ พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุนั้นด้วย

โดยการเบิกความอธิบายถึงรายละเอียด ไม่จำเป็นต้องเบิกความถึงเนื้อหาในพยานเอกสารหรือพยานวัตถุทั้งหมด แต่ให้เบิกความในประเด็นสำคัญ เพื่อให้ศาลสามารถเข้าใจเนื้อหาที่เราต้องการสื่อได้โดยง่าย 

ตัวอย่างเช่น

หากเรานำสัญญาขึ้นสอบถามพยาน เราไม่จำเป็นต้องสอบถามถึงเนื้อหาในสัญญาทุกข้อ แต่อาจจะสอบถามเฉพาะเนื้อหาสัญญาโดยคร่าวๆ ว่าเป็นสัญญาระหว่างใครกับใคร เป็นสัญญาเรื่องอะไร และเน้นสอบถามในประเด็นข้อสัญญา ที่เป็นประเด็นข้อพิพาท

หรือตัวอย่างเช่น

  หากเราต้องการนำคลิปวีดีโอมาใช้สอบถามพยาน เราก็ต้องสอบถามพยานว่าคลิปวิดีโอดังกล่าวใครเป็นคนถ่ายเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร มีใครอยู่ในเหตุการณ์บ้าง จากนั้นให้เราเน้นถามเฉพาะเหตุการณ์ที่เป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีไม่จำเป็นต้องนั่งไล่ถามเนื้อหาทั้งคลิปวีดีโอ 


ซักซ้อมพยานทำความเข้าใจกับพยานก่อน

การซักซ้อมทำความเข้าใจกับพยานก่อนถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับทนายความ ก่อนขึ้นซักความในชั้นศาล

ธรรมดาแล้วคนที่จะขึ้นเป็นพยานย่อมมีความประหม่าและอยากจะรู้ว่าตนเองจะต้องถูกถามเรื่องอะไรบ้าง  และหากได้รู้ว่าตนเองจะต้องตอบคำถามเรื่องอะไรบ้าง พยานก็จะคลายความกังวลและผ่อนคลายมากขึ้น 

ดังนั้นทนายความจึงควรจะซักซ้อมกับพยานก่อนว่าตนเองจะถามอะไรกับพยานบ้าง และควรแนะนำให้พยานเบิกความไปตามความจริงที่ตนเองรู้เห็น 

หากพยานไม่เข้าใจคำถามหรือวิธีการตอบ ก็ควรซักซ้อมทำความเข้าใจให้ถูกต้อง 

ทนายความไม่พึงควรแนะนำคำตอบให้กับพยานว่า หากทนายถามแบบนี้ให้ตอบแบบนี้หรือแนะนำให้พยานเบิกความเท็จ หรือบ่ายเบี่ยงไปจากความเป็นจริงเพราะเมื่อถูกฝ่ายตรงข้ามถามค้านก็จะมีโอกาส ความเท็จปรากฏในชั้นศาล 

การซักซ้อมพยานคือการทำความเข้าใจว่าพยานจะถูกถามเรื่องอะไร และควรตอบอย่างไร การซ้อมพยานไม่ใช่การให้พยานท่องจำบท แต่เน้นให้พยานทำความเข้าใจ

การซักซ้อมพยานแบบให้พยานท่องจำบทคำถามคำตอบนั้นมีข้อเสียหลายประการ เพราะถ้าเกิดผิดหมดไปเล็กน้อยพยานก็จะตอบไม่ถูกหรือหากเกิดเหตุแทรกซ้อนอะไรขึ้นมาหรือศาลถามขึ้นมากลางจังหวะก็จะเสียรังวัดไปทั้งหมด 

ดังนั้นจึงควรซักซ้อมพยานแบบให้พยายามทำความเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดโดยรวม จะเป็นประโยชน์มากที่สุด 

และควรจะแนะนำซักซ้อมถึงการตอบคำถามค้านของทนายความฝ่ายตรงข้ามให้กับพยานทราบด้วย อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความด้านล่าง 

เป็นพยานศาล ต้องอ่าน ! 4 เคล็ดลับในการตอบคำถามฝ่ายตรงข้ามในชั้นศาล


เตรียมคดีทำความเข้าใจรูปคดีให้ละเอียด 

ก่อนขึ้นซักถามพยาน เราจะต้องทำความเข้าใจกับรูปคดีนั้นให้ละเอียด 

หากเป็นคดีแพ่งก็ต้องอ่านคำฟ้องคำให้การและเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องจนสามารถจับประเด็นข้อพิพาทในคดีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้ได้ ต้องเข้าใจว่าคดีนี้จะแพ้ชนะกันด้วยข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงเรื่องใด 

ถ้าเป็นคดีอาญาก็จะต้องตั้งประเด็นต่อสู้คดีให้ชัดเจนว่าคดีนี้ จำเลยตั้งประเด็นข้อต่อสู้ว่าอย่างไร คดีจะแพ้ชนะกันด้วยข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานส่วนไหน แล้วจะต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆในคดีให้ละเอียดก่อนเช่นเดียวกัน 

นอกจากนี้จะต้องสอบข้อเท็จจริงจากพยานที่จะขึ้นเบิกความให้ละเอียด  เพื่อที่จะทราบว่าพยานที่เราจะขึ้นซักถามนั้นรู้เห็นข้อเท็จจริงในประเด็นไหนบ้าง 

การเตรียมคดีให้ละเอียดจะทำให้เราถามพยานได้ดี ตรงประเด็น  เพราะเข้าใจเรื่องทั้งหมด เข้าใจประเด็นข้อพิพาททั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ว่าควรจะต้องนำสืบพยานอย่างไรจึงจะชนะคดีได้ เข้าใจว่าพยานปากที่ขึ้นเบิกความ รู้เห็นข้อเท็จจริงอย่างไร


ถ้าพยานตอบเบาไปศาลไม่ได้ยิน คนอื่นๆไม่ได้ยิน 

เนื่องจากในสถานการณ์ covid เช่นนี้ตอนที่พยานเบิกความก็จะต้องใส่แมสหน้ากากปิดหน้าไว้ด้วยตลอดเวลา แล้วบางครั้งในคอกพยานก็จะมีกระจกหรือพลาสติกกั้นอีกชั้นหนึ่ง

ซึ่งธรรมดาแล้วศาลที่นั่งพิจารณาก็จะอยู่ห่างไกลจากพยานมากกว่าตัวทนายความ หลายครั้งพยานเบิกความตอบคำถามของทนาย แล้วมักจะพบเจออยู่เสมอว่า พยานเบิกความแล้วศาลไม่ได้ยินหรือได้ยินไม่ชัดเจน

ศาลจึงจดบันทึกถ้อยคำผิดไปจากที่พยานเบิกความ หรือบางครั้งก็ไม่ได้บันทึกคำเบิกความของพยานเลย ทำให้เราได้รับความเสียหาย

ดังนั้นหากพยานตอบเบาหรือตอบค่อยไป ศาลไม่ได้ยินเราก็ต้องคอยกำชับและบอกพยานด้วยความสุภาพและใช้น้ำเสียงว่า รบกวนช่วยพูดให้ดังขึ้นนิดนึงครับศาลจะได้ยินได้ถนัด

โดยจะต้องพยายามกำชับแจ้งกับพยานว่าพยานมีหน้าที่เบิกความให้กับศาลฟังไม่ใช่เบิกความให้กับทนายความฟังคนเดียว 


ถ้าพยานตอบนอกเรื่อง เกินกว่าที่ถามไปมาก ต้องดึงกลับและตัดตอน

ธรรมดาแล้วพยานที่จะมาเบิกความในชั้นศาลส่วนใหญ่ก็มักจะตอบคำถามเฉพาะเท่าที่เราถามไม่เบิกความขยายความมากไปกว่าที่เราถาม

แต่อย่างไรก็ตามมีพยานบางประเภทที่มักจะนิยมตอบคำถามแบบเรื่อยเปื่อย ตอบไปเรื่อย หรือบางครั้งพยานอาจจะไม่เข้าใจประเด็นที่เราถามจึงตอบผิดประเด็น นอกประเด็น

หากพบเจอเหตุการณ์ที่พยานตอบนอกคำถาม ตอบหลงประเด็น เบิกความนอกเรื่องหรือนอกสิ่งที่เราต้องการจะให้พยายามตอบเราจะต้องตัดบท แล้วแจ้งพยานว่าให้ช่วยตอบเฉพาะเท่าที่เราถาม 

หากปล่อยให้พยานเบิกความเรื่อยเปื่อยไปเรื่อยๆ นอกจากทำให้คดีล่าช้าโดยไม่จำเป็นและอาจจะทำให้พยานเบิกความนอกประเด็นจนเสียรูปคดีก็ได้ 


ต้องเว้นวรรครอศาลบันทึกคำเบิกความ พร้อมทั้งคอยฟังด้วยว่าศาลบันทึกถูกต้องหรือไม่ 

สำหรับเทคนิคข้อนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่ทนายความใหม่ๆหลายคนยังไม่รู้ ก็คือเมื่อเราถามพยานแล้วเราจะต้อง เว้นวรรคให้ศาลจดบันทึกคำเบิกความด้วย 

สมัยแต่ก่อนศาลจะจดบันทึกคำเบิกความด้วยการเขียน (ผมเองก็ไม่ทันสมัยนั้นเหมือนกัน) แต่ปัจจุบันนี้แทบทุกศาลใช้วิธีการบันทึกคำเบิกความด้วยเครื่องบันทึกเสียง แล้วให้เสมียนหน้าบัลลังก์เป็นคนพิมพ์หมดแล้ว

ดังนั้นเวลาเราถามพยานเสร็จแล้ว เราต้องคอยเว้นวรรคให้ศาลบันทึกคำเบิกความของพยานด้วย 

นอกจากนี้ในจังหวะที่ศาลกำลังบันทึกคำเบิกความอยู่นั้น ศาลส่วนใหญ่ก็จะพูดเสียงดังเพียงพอที่จะทำให้เราได้ยินว่าศาลบันทึกคำเบิกความว่าอย่างไร 

ถ้าหากศาลบันทึกคลาดเคลื่อนไปจากที่พยานเบิกความ เราก็สามารถขออนุญาตชี้แจงศาลและขอให้ศาลแก้ไขได้ทันทีเลย 

ซึ่งการขอแก้ไขเสียทันทีตั้งแต่เนิ่นๆ จะป้องกันการโต้แย้งได้ดีกว่าการไปตรวจสอบคำเบิกความทีเดียวหลังจากที่พิมพ์คำเบิกความเสร็จแล้วครับ