คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใด

การชำระภาษีถือเป็นเรื่องที่บุคคลธรรมดาหรือผู้ที่มีหน้าที่ต้องจ่ายนั้นเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ยังมีหลายคนสงสัยว่า ผู้ที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน

ลักษณะคนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ

คนไร้ความสามารถ

บุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

• เป็นบุคคลที่ขาดความรู้สึกและขาดความรับผิดชอบอย่างรุนแรง เช่น โรคสมองฝ่อ สมองเสื่อมขั้นรุนแรง วิกลจริต เจ็บป่วยไม่สามารถรักษาให้หายขาด ทำภารกิจส่วนตัวไม่ได้

• ต้องอยู่ในความดูแลของผู้อนุบาล

• ผู้อนุบาลจะเป็นผู้กระทำการต่างๆ แทนทั้งหมด

• ผู้อนุบาล คือ พ่อ แม่ ลูก หรือคู่สมรส ซึ่งดูแลให้การรักษาคนไร้ความสามารถ ถ้าไม่ได้เป็นผู้ดูแลศาลก็มักจะไม่แต่งตั้งให้เป็นผู้อนุบาล

คนเสมือนไร้ความสามารถ

ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

• เป็นบุคคลมีกายพิการ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

• มีประพฤติกรรมสุรุ่ยสุร่าย ใช้จ่ายเงินเกินกว่าฐานะ ทำให้ทรัพย์สินร่อยหรอจนหมดตัว

• ติดสุรา เมาตลอดเวลา ติดฝิ่น เฮโรอีน จนไม่สามารถทำงานได้เอง

• ต้องอยู่ในความดูแลของผู้พิทักษ์

• คนเสมือนไร้ความสามารถจะกระทำการใดต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ หากไม่ได้รับความยินยอมนิติกรรมต่างที่ทำถือเป็นโมฆียะ

• ผู้พิทักษ์ไม่สามารถกระทำการแทนคนเสมือนไร้ความสามารถได้

• ผู้พิทักษ์ คือบุคคลต่อไปนี้ คู่สมรส บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ผู้สืบสันดาน ลูก หลานเหลน ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ ผู้ที่ปกครองดูแล พนักงานอัยการ

 

ภาษีคืออะไร ใครมีหน้าที่เสียภาษี?

ภาษี คือ สิ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนผู้มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศในด้านต่างๆ โดยการจ่ายภาษีนี้จะไม่ใช่การบริจาค หรือการเลือกจ่ายยอดตามอัธยาศัย

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี คือ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา ได้แก่

1) บุคคลธรรมดา (รวมถึงผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ)

2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

5) วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

 

คนไร้ความสามารถ-คนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องเสียภาษีหรือไม่?

มาตรา 57 ถ้าผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง เป็นผู้เยาว์ ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นผู้อยู่ในต่างประเทศ ให้เป็นหน้าที่ของผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ หรือผู้จัดการกิจการอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินนั้น แล้วแต่กรณี ต้องปฏิบัติตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง และเป็นตัวแทนในการชำระภาษี

ดังนั้น ตาม มาตรา 57 บุคคลที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ไม่สามารถใช้สิทธิ์ดังกล่าวเพื่อเลี่ยงการจ่ายภาษีได้ แม้ไม่สามารถกระทำการใดๆ ได้ด้วยตนเอง หรือทำแล้วเป็นโมฆะ แต่ก็ยังมีผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ คอยดูแล ตรวจสอบ และดำเนินการจ่ายภาษีให้กับบุคคลทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้

 

อ้างอิงข้อมูล
กรมสรรพากร

tag

Tags

COVID-19 Dharmniti ditc HR PDPA กฎหมาย กฎหมายภาษี กฎหมายแรงงาน กฏหมาย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร กลุ่มบริษัท ธรรมนิติ จำกัด (มหาชน) กลุ่มธรรมนิติ การประชุมคณะรัฐมนตรี การเงิน ข้อมูลส่วนบุคคล ครม. ที่ดิน ธรรมนิติ ธุรกิจ นักบัญชี นายจ้าง บริษัท ดีไอทีซี จำกัด บริษัท ตรวจสอบภายในธรรมนิติ จำกัด บริษัท ธรรมนิติการบัญชีและภาษีอากร จำกัด บริษัท ธรรมนิติ จำกัด (มหาชน) บัญชี ประกันสังคม ประชุม ครม. ประชุมผู้ถือหุ้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ประกอบการ ผู้ประกันตน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม มติ ครม. ลดหย่อนภาษี ลูกจ้าง ลูกหนี้ วารสาร CPD & Account วารสาร HR Society magazine วารสารเอกสารภาษีอากร เงินสมทบ โควิด-19

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ❯ มาตรา 28

มาตรา 28  บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้
บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล การแต่งตั้งผู้อนุบาล อำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาล และการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาล ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้
คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

การยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

คนไร้ความสามารถ คือ บุคคลวิกลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ขาดความรู้สึกและขาดความรับผิดชอบอย่างรุนแรง เช่น โรคสมองฝ่อ สมองเสื่อมขั้นรุนแรง สมองพิการ จิตไม่ปกติ โรคเส้นเลือดในสมองตีบ โรคพาร์กินสัน โรคชรา  อัมพาต เจ็บป่วยไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ไม่สามารถประกอบกิจการงาน และทำภารกิจส่วนตัวหรือช่วยเหลือตัวเองได้อย่างบุคคลทั่วไป ต้องมีคนคอยดูแลตลอดเวลาซึ่งต้องจัดให้อยู่ในความดูแลของผู้อนุบาล ตามมาตรา 28 

    ไม่สามารถทำการได้ด้วยตนเอง ผู้อนุบาลเป็นผู้ทำการแทนทั้งหมด แต่บางนิติกรรมต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามมาตรา 1574

    ส่วนมากจะเป็นพ่อ แม่ ลูก หรือคู่สมรส ผู้ซึ่งดูแลให้การักษาคนไร้ความสามารถ ถ้าไม่ได้เป็นผู้ดูแล ศาลก็มักจะไม่แต่งตั้งให้เป็นผู้อนุบาล

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 74/2511
คนอายุ 92 ปี ไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้สึกตัว พูดรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง ถือเป็นคนวิกลจริตแล้ว

คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ ผู้ที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
2.1 เป็นบุคคลมีกายพิการ เช่น หูหนวก ตาบอด เป็นใบ้ แขนขาด ขาขาด  อัมพาต ซึ่งอาจเป็นมาโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง เช่น จากอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ ชราภาพ เป็นต้น
2.2 มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เช่น จิตผิดปกติ สมองพิการ แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกลจริต
2.3 ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ ใช้จ่ายเงินเกินกว่าฐานะอยู่เป็นประจำ ซึ่งทำให้ทรัพย์สมบัติร่อยหรอลงไปทุกวัน จนในที่สุดต้องหมดตัว
2.4 ติดสุรา เมาตลอดเวลา ติดฝิ่น เฮโรอีน จนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว    แต่ไม่ถึงกับวิกลจริต ต้องจัดอยู่ในความดูแลของผู้พิทักษ์ ตามมาตรา 32 

    ถ้าคนเสมือนไร้ความสามารถกระทำการไป โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ มีผลทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ แต่ผู้พิทักษ์ไม่สามารถกระทำการแทนได้ ตามมาตรา 34 

    ถ้าไม่มีคู่สมรส ให้พ่อแม่เป็นผู้พิทักษ์ ถ้ามีคู่สมรสให้คู่สมรสเป็นผู้พิทักษ์

จำนวนคนดู 8,859

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่

คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใด

Facebook

0
คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใด

Pinterest

0
คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใด

Twitter

คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใด

Linkedin

  • หมวดหมู่
    • ข่าวสาร
    • ไม่มีหมวดหมู่
  • บทความล่าสุด

    • คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใด

      5 ตุลาคม 2022

      การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ คืออะไร? มีขั้นตอนอย่างไร?

    • คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใด

      25 กรกฎาคม 2022

      3. ข้อเสีย หากปล่อยให้ธนาคารฟ้องคดีและยึดทรัพย์ขายทอดตลาด

    • คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใด

      7 สิงหาคม 2021

      สิทธิของคู่สมรสในการรับมรดก

    • คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใด

      13 กรกฎาคม 2021

      2 สัญญาทางสื่อออนไลน์ ที่ท่านควรจะหลีกเลี่ยง

    • คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใด

      19 มิถุนายน 2021

      คดีจำนองที่ดิน

  • ป้ายกำกับ

    คดีล้มละลาย ทนายความ ทนายความคือ ทนายความ มีคุณสมบัติอย่างไร ทนายความเรียนคณะอะไร ผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดก มีอายุกี่ปี ผู้จัดการมรดก ไม่แบ่งมรดก ผู้จัดการมรดก ไม่แ่บ่งมรดก หน้าที่ผู้จัดการมรดก แต่งตั้งผู้จัดการมรดก ทำอย่างไร

    คนไร้ความสามารถอยู่ในความดูแลของใคร

    1.บุคคลใดจะบรรลุนิติภาวะหรือไม่ก็ตาม ถ้ายังมิได้สมรสและศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ให้ผู้ใช้อำนาจปกครอง คือ บิดามารดาทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีที่อีกฝ่ายไม่มีอำนาจปกครองแล้ว หรือผู้ปกครอง เป็นผู้อนุบาลคนไร้ความสามารถผู้นั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอื่น

    ผู้ไร้ความสามารถคืออะไร

    คำว่า "บุคคลวิกลจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา 28 ใหม่) นั้นมิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติหรือตามที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไปว่าเป็นบ้า เท่านั้น แต่หมายรวมถึงบุคคลผู้มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรับผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ ...

    ผู้อนุบาลเกี่ยวข้องกับบุคคลในข้อใด

    ผู้อนุบาล (อังกฤษ: curator) หมายถึง บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถ

    ผู้ไร้ความสามารถ มีกี่ประเภท

    บทบัญญัติมาตรา ๒๘ นี้อาจแยกองค์ประกอบของการเป็นคนไร้ความสามารถได้๒ ประการคือ ๑. เป็นคนวิกลจริต ๒. ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ