ทิศ 6 เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครอบครัวอย่างไร

ทิศทั้ง 6 คืออะไร มีอะไร และสำคัญต่อชีวิตของทุกคนอย่างไร …เป็นหนึ่งในเรื่องที่ลูกควรรู้ในฐานะพุทธศาสนิกชน ทั้งนี้ ทิศทั้ง 6 หมายถึงบุคคลสำคัญทั้ง 6 ด้านของลูกน้อยซึ่งต่างมีหน้าที่พึงปฏิบัติต่อกัน

เมื่อพูดถึงหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา อาจเป็นเรื่องน่าเบื่อของหลายๆ คน แต่คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่าการสอนให้รู้ลูกจักหลักธรรมต่างๆนี้เป็นตัวช่วยหนึ่งที่ช่วยขัดเกลาจิตใจ เป็นคนดี รู้จักหน้าที่ตน มีเมตตา มีความกตัญญู และเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ต่อไปได้ในที่สุด

การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ทุกคนย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานภาพและบทบาทที่ตนดำรงอยู่  คนเป็นพ่อแม่มีหน้าที่เลี้ยงดูลูกให้เจริญเติบโต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ คนเป็นครูอาจารย์มีหน้าที่สอนและอบรมศีลธรรมจรรยาให้ศิษย์มีความรู้และประพฤติตนเป็นคนดี คนเป็นนักเรียนมีหน้าที่เรียนหนังสือ เชื่อฟังพ่อแม่และครูอาจารย์ สรุปคือเรามีหน้าที่และความรับผิดชอบอะไรในสังคมก็พยายามปฏิบัติหน้าที่นั้น ๆ ให้ดีที่สุด

ซึ่งในพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในลักษณะเช่นนี้ไว้เหมือนกัน  โดยพระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ในหลัก  ทิศ 6 ในสิงคาลกสูตร ซึ่งเป็นหมวดหนึ่่งในพระสุตตันตปิฎก โดยกำหนดการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบตามหลักทิศ 6 เอาไว้หากใครสามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้องจะได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธที่ดี

เรามารู้จักความหมายกันก่อน ทิศทั้ง 6  หมายถึง  บุคคลประเภทต่าง ๆ  ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทางสังคม การดำเนินชีวิต มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงปฏิบัติต่อกัน  ดังนี้

  1. ปุรัตถิมทิส หมายถึง ทิศเบื้องหน้า คือ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย และผู้มีอุปการะอื่นๆที่เลี้ยงดูเรามาในเบื้องหน้า
  2. ทักขิณทิส หมายถึง ทิศเบื้องขวา คือ ครูบาอาจารย์ที่พร่ำสอนวิชาในเบื้องขวา
  3. ปัจฉิมทิส หมายถึง ทิศเบื้องหลัง คือ บุตร ผู้เป็นทายาท ภรรยา และสามี ผู้เป็นคู่ชีวิต ที่คอยให้กำลังใจในเบื้องขวา
  4. อุตตรทิส หมายถึง ทิศเบื้องซ้าย คือ มิตรสหายที่คอยช่วยเหลือครั้นเมื่อตกทุกข์ได้ยากในเบื้องซ้าย
  5. อุปริมทิส หมายถึง ทิศเบื้องล่าง คือ บริวารหรือผู้รับใช้ที่คอยปรนนิบัติในเบื้องล่าง
  6. เหฏฐิมทิส หมายถึง ทิศเบื้องบน คือ สามเณร ภิกษุ ภิกษุณีผู้มีศีลอันสูงกว่าที่คอยพร่ำสอนธรรมในเบื้องบน

ความสำคัญ และแนวทางปฏิบัติต่อทิศทั้ง6

ทิศ 6 เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครอบครัวอย่างไร

หน้าที่สำคัญของ ทิศทั้ง 6  ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้โดยย่อมีอยู่ 3  เรื่องใหญ่  ๆ ได้แก่

1. เป็นแหล่งกำเนิดและปลูกฝังนิสัยใจคอของลูกน้อย

นิสัยของคนเรานั้นได้มาจาก ทิศทั้ง 6 ซึ่งเมื่อสรุปแล้วจะเหลือแค่บ้าน วัด โรงเรียนไม่ใช่ตกลงมาจากสวรรค์ ไม่ใช่หลั่งไหลมาเองเหมือนอย่างกับน้ำฝนบนท้องฟ้า คือ ตอนเล็ก ๆ ลูกจะได้คุณพ่อคุณแม่ ครูบาอาจารย์ ลุงป้าน้าอา คอยช่วยกันอบรม จนกระทั่งกลายมาเป็นนิสัยติดตัวลูกไป ส่วนว่าท่านจะอบรมได้ดีขนาดไหน ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล  เพราะไม่มีใครจะอบรมบ่มนิสัยใจคอหรือคุณงามความดี ให้กับผู้อื่นได้มากกว่าที่ตัวเองมีอยู่ เพราะฉะนั้นท่านมีสติปัญญาเท่าไร ท่านก็อบรมให้เราได้เท่านั้น

เช่น เวลาลูกกินข้าวแล้วไม่ล้างจาน คุณแม่ก็บอกว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวจะให้คนรับใช้เอาไปล้าง นั่นเริ่มเพาะนิสัยไม่มีความรับผิดชอบต่อตัวเองให้ลูกแล้ว เด็กคนนี้พอโตขึ้นมาก็เลยรับผิดชอบอะไรไม่เป็น แล้วอย่างนี้จะหวังให้มารับผิดชอบวงศ์ตระกูล หวังจะให้รับผิดชอบต่อทรัพย์สมบัติ เขาจะไปรับผิดชอบได้อย่างไร ในเมื่อแค่จานข้าวที่ตัวเองกินก็ยังไม่ล้างเลย

อ่านต่อ >> “ความสำคัญและแนวทางปฏิบัติต่อทิศทั้ง 6 ที่พ่อแม่ควรสอนลูก” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

คุณพ่อคุณแม่ทุกคนย่อมรักลูกของตัวเอง อยากให้ลูกมีความสุข มีความเจริญ มีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต ทิศทั้ง 6 จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้และสอนลูก ว่าแต่ทิศ 6 คืออะไร วันนี้เราจะไขข้อข้องใจกันค่ะ

  • ทิศ 6 คืออะไร?
  • ทิศ 6 มีอะไรบ้าง พร้อมหน้าที่ที่ลูกพึงปฏิบัติ
    • ปุรัตถิมทิส
    • ทักขิณทิส
    • ปัจฉิมทิส
    • อุตตรทิส
    • อุปริเมทิส
    • เหฏฐิมทิส
  • ทิศ 6 มีความสำคัญอย่างไร พร้อมแนวทางปฏิบัติต่อทิศทั้ง 6
    • ทิศเบื้องหน้า (พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย)
    • ทิศเบื้องขวา (ครูบาอาจารย์)
    • ทิศเบื้องหลัง (บุตร ภรรยา และสามี)
    • ทิศเบื้องซ้าย (มิตรสหาย)
    • ทิศเบื้องล่าง (บริวารหรือผู้รับใช้)
    • ทิศเบื้องบน (สามเณร ภิกษุ ภิกษุณี)

ทิศ 6 คืออะไร?

ทิศ 6 เป็นหลักในการใช้ชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งทิศ 6 หมายถึง บุคคลสำคัญทั้ง 6 ด้านซึ่งลูกน้อยก็จะมีหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อกัน

เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ดังนั้น จึงหนีไม่พ้นที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับผู้อื่น ซึ่งแต่ละคนก็จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต่างกันไป ในความเป็นลูกก็ต้องทำหน้าที่ลูก ทั้งนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบไว้ในหมวดหนึ่งของพระสุตตันปิฎกที่ทุกคนควรพึงปฏิบัติตามหลักทิศ 6 ซึ่งถ้าใครสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องก็จะได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี

ทิศ 6 มีอะไรบ้าง พร้อมหน้าที่ที่ลูกพึงปฏิบัติ

ก่อนที่เราจะพูดถึงว่าทิศ 6 มีอะไรบ้างนั้น แม่โน้ตขอพูดถึงความหมายของทิศ 6 กันก่อนนะคะ ทิศ 6 หมายถึง บุคคลต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทางสังคม การดำเนินชีวิตในทุก ๆ วัน ซึ่งแต่ละคนก็จะมีหน้าที่ ความรับผิดชอบที่พึงปฏิบัติต่อกัน ดังนี้

ปุรัตถิมทิส

คือ ทิศเบื้องหน้า หมายถึง บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย และผู้ที่มีอุปะการคุณท่านอื่น ๆ ที่เลี้ยงเรามา

ทักขิณทิส

คือ ทิศเบื้องขวา หมายถึง ครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้กับเรา

ปัจฉิมทิส

คือ ทิศเบื้องหลัง หมายถึง บุตร ผู้เป็นทายาท ภรรยา และสามี รวมถึงเป็นคู่ชีวิต ที่คอยร่วมทุกข์ร่วมสุข ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

อุตตรทิส

คือ ทิศเบื้องซ้าย หมายถึง มิตรสหายที่คอยช่วยเหลือ ในยามที่เราตกทุกข์ได้ยาก

อุปริเมทิส

คือ ทิศเบื้องล่าง หมายถึง บริวารหรือผู้รับใช้เรา คอยปรนนิบัติเรา

เหฏฐิมทิส

คือ ทิศเบื้องบน หมายถึง สามเณร ภิกษุ ภิกษุณี ผู้มีศีลอันสูงกว่า ผู้ที่คอยพร่ำสอนและเผยแผ่พระธรรมให้กับเรา

ทิศ 6 มีความสำคัญอย่างไร พร้อมแนวทางปฏิบัติต่อทิศทั้ง 6

ทิศเบื้องหน้า (พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย)

ทิศ 6 เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครอบครัวอย่างไร

ในสมัยก่อนทิศเบื้องหน้าหมายถึงผู้ที่เลี้ยงดูเรามาคือ พ่อแม่ อย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงและมีหลายครอบครัวมีคนที่อุปการะเรา เลี้ยงดูเราไม่ใช่แค่พ่อแม่อย่างเดียว ยังมีปู่ย่า ตายาย รวมไปถึงคนอื่น ๆ ที่เลี้ยงดูส่งเสียเราด้วย ซึ่งก็จัดอยู่ในทิศเบื้องหน้าเช่นกัน

ทิศเบื้องหน้า มีอุปการะต่อเรา

  • เลี้ยงดูให้เติบใหญ่
  • อบรมสั่งสอนไม่ให้ประพฤติชั่ว
  • อบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี พูดดี
  • ให้ความรู้ ให้ปัญญา
  • อุปการะทรัพย์สิน เงินทอง
  • อุปการะเรื่องการเรียน การศึกษา
  • ฯลฯ

แนวทางการปฏิบัติต่อทิศเบื้องหน้า

  • ให้การอุปการะท่านเมื่อทานแก่เฒ่า
  • ดำเนินในกุศลธรรม และอุทิศส่วนบุญให้แก่ท่านเหล่านั้น เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว
  • ช่วยเหลือกิจการงานของท่านด้วยความขยันหมั่นเพียร
  • ประพฤติตน และยึดหลักศีลธรรมอันดีงาม ไม่ทำสิ่งที่เสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล
  • รู้จักใช้ทรัพย์สินของท่านที่มอบให้อย่างรู้คุณค่า
  • ฯลฯ

ทิศเบื้องขวา (ครูบาอาจารย์)

ทิศ 6 เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครอบครัวอย่างไร

ทิศเบื้องขวา นอกจากจะหมายถึงครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้กับเราแล้ว ยังหมายรวมถึงบุคคลท่านอื่น ๆ ที่คอยสอน และอบรม ให้ความรู้กับเราด้วย

ทิศเบื้องขวา มีอุปการะต่อเรา

  • ประสิทธิ์ประสาท อบรม สั่งสอนให้มีวิชาความรู้
  • ฝึกฝนให้เป็นคนดี ไม่หลงผิด ประพฤติผิดในทางชั่ว
  • แนะแนวในการเลือกวิชาชีพ เพื่อดำรงตนได้ในภายภาคหน้า
  • ยกย่องเมื่อเป็นเลิศในวิชาแก่หมู่ชน
  • ฯลฯ

แนวทางการปฏิบัติต่อทิศเบื้องขวา

  • ให้ความเคารพต่อครูบาอาจารย์
  • เชื่อฟังในคำสอน และคำอบรม
  • คอยช่วยเหลือกิจการงานสอน
  • บำรุงครูบาอาจารย์ และสถานศึกษาตามโอกาส
  • ฯลฯ

ทิศเบื้องหลัง (บุตร ภรรยา และสามี)

ทิศ 6 เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครอบครัวอย่างไร

คือ บุตร ผู้เป็นทายาทสืบสายโลหิต ภรรยา และสามี ผู้เป็นคู่ชีวิต บุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลที่คอยให้กำลังใจ คอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง นอกจากนี้ยังหมายถึงผู้ที่อยู่ในทิศอื่น ๆ แต่ก็ทำหน้าที่เหมือนทิศเบื้องหลังด้วยเช่นกัน

ทิศเบื้องหลัง ผู้เป็นภรรยามีอุปการะต่อเรา

  • ไม่ประพฤตินอกกาย นอกใจ
  • ไม่ดูหมิ่น หรือพูดส่อเสียดในวงศ์ตะกูลของสามี
  • ดูแลจัดการงานบ้านงานเรือนให้ถึงพร้อม
  • ต้อนรับขับสู้แขกเหรื่อและญาติมิตร
  • ช่วยรักษาทรัพย์ของสามีให้คงอยู่
  • ช่วยแบ่งเบาภาระในการงาน
  • ฯลฯ

ทิศเบื้องหลัง ผู้เป็นสามีมีอุปการะต่อเรา

  • ไม่ประพฤตินอกกาย นอกใจ
  • ไม่ดูหมิ่น หรือพูดส่อเสียดในวงศ์ตะกูลของภรรยา
  • เป็นผู้นำ และเสาหลักของครอบครัว ทั้งในเรื่องของการหาทรัพย์ และการเลี้ยงดูครอบครัว
  • ดูแลปกป้องเมื่อยามมีภัย
  • คอยเป็นกำลังใจ และส่งเสริมในกิจการงาน
  • มอบความรัก และมอบเครื่องอาภรตามวาระ
  • ฯลฯ

แนวทางการปฏิบัติต่อทิศเบื้องหลัง

  • สืบทอดสายเลือด และดำรงค์วงศ์ตระกูลสืบต่อไป
  • ดูแลกันในยามแก่เฒ่า
  • ส่งเสริม สนับสนุน และแบ่งเบากิจการงานให้เจริญรุ่งเรือง
  • ช่วยแบ่งเบาในงานเรือน
  • เป็นดวงใจอันสำคัญคอยประสานแก่บิดามารดา
  • ฯลฯ

ทิศเบื้องซ้าย (มิตรสหาย)

ทิศ 6 เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครอบครัวอย่างไร

คือ เพื่อน ๆ และมิตรสหายที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา รวมถึงมิตรสหายจากการทำงาน มิตรสหายผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือแก่เราในยามที่เราประสบปัญหา มีอุปสรรค ต่าง ๆ ดึงรั้งเพื่อนให้สร้างแต่คุณงามความดี

ทิศเบื้องซ้าย มีอุปการะต่อเรา

  • เป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือเรา
  • เป็นผู้ช่วยเหลือเราให้พ้นจากความทุกข์
  • เป็นผู้ที่ให้คำปรึกษา และแนะนำในทุก ๆ ด้าน
  • ฯลฯ

แนวทางการปฏิบัติต่อทิศเบื้องซ้าย

  • ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
  • คอยให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
  • วางตนเสมอกัน ไม่ข่มเหงกัน
  • ให้ความเป็นมิตร จริงใจ ทั้งกาย วาจา และใจ
  • ฯลฯ

ทิศเบื้องล่าง (บริวารหรือผู้รับใช้)

ทิศ 6 เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครอบครัวอย่างไร

คือ ผู้ที่เป็นบริวารคอยรับใช้หรือทำกิจต่าง ๆ ให้เรา รวมถึงผู้ใต้บังคับบัญชาของเราด้วย บริวารที่กล่าวมา ได้แก่ คนงาน ผู้รับใช้ หรือผู้ที่มีตำแหน่งต่ำกว่า
ทิศเบื้องล่าง มีอุปการะต่อเรา

  • เป็นผู้แสวงหาทรัพย์และลาภมาสู่ตน
  • เป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือกิจการงานของเรา
  • ปกป้อง คุ้มภัยให้แก่เรา
  • คอยดูแลทรัพย์สินให้แก่เรา
  • ฯลฯ

แนวทางการปฏิบัติต่อทิศเบื้องล่าง

  • จัดการงานให้เหมาะสมแก่คน แลแก่งาน
  • ให้ความเป็นธรรมแก่บริวาร
  • มอบค่าตอบแทนด้วยความเป็นธรรม
  • ดูแลและมอบอาหาร น้ำอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ
  • มีรางวัลให้ เพื่อเป็นกำลังใจเป็นนิจ
  • ไม่เอารัดเอาเปรียบในทุกด้าน
  • ดูแลรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บไข้
  • ฯลฯ

ทิศเบื้องบน (สามเณร ภิกษุ ภิกษุณี)

ทิศ 6 เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครอบครัวอย่างไร

คือ ผู้ที่มีศีล และรักษาศีลมากกว่าเรา ซึ่ง “เรา” ในที่นี้หมายถึง ฆราวาสที่ไม่ใช่นักบวช ผู้ที่รักษาศีลสูงกว่าเรา ได้แก่ สามเณร ภิกษุ ภิกษุณี (ภิกษุณีสำหรับในปัจจุบันไม่มีการบวชให้แล้วค่ะ) บุคคลดังกล่าวนี้จึงควรแก่การสักการะให้เหนือกว่าฆราวาส

ทิศเบื้องบน มีอุปการะต่อเรา

  • เป็นผู้ที่สั่งสอนธรรมให้รู้แจ้ง
  • เป็นผู้ยังกุศลธรรมให้เกิดแก่เรา ให้เกิดแก่ครอบครัวเรา ญาติมิตรเรา รวมถึงให้เกิดแก่ผู้มีพระคุณของเราที่ล่วงลับไป
  • เป็นผู้แนะนำในแนวทางที่จะนำไปสุ่ความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
  • ช่วยชี้นำเราให้ดำรงตนอยู่ในธรรม ไม่หลงไปกับอบายมุข สิ่งมัวเมาต่าง ๆ
  • ฯลฯ

แนวทางการปฏิบัติต่อทิศเบื้องบน

  • ให้ทานทรัพย์สิน อาหาร และปัจจัยอื่น ๆ แก่ท่าน
  • ช่วยเผยแผ่ และทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ดำรงสืบต่อไป
  • ก่อสร้าง และบำรุงอาคารศาสนสถานให้พอเพียง
  • น้อมนำพระธรรมคำสั่งสอนมาปฏิบัติอยู่เป็นนิจ
  • ฯลฯ

การปลูกฝังในด้านต่าง ๆ กับทิศ 6 นี้ แน่นอนคงต้องใช้เวลาค่ะ ค่อย ๆ สอน ค่อยปฏิบัติให้ลูกเห็น ซึ่งลูกจะเลียนแบบพฤติกรรม และซึมซับคำสอนของพ่อแม่ได้ในที่สุด