หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงาน อาชีว อนามัยและความ ปลอดภัย

ความเป็นมาของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงานมีความสัมพันธ์กันกับทั้งลูกจ้าง นายจ้าง เพื่อน ร่วมงาน และสังคมส่วนรวมของประเทศชาติ ซึ่งอาจเกี่ยวพันไปถึงบุคคลอื่น ๆ ที่อาจได้รับอันตรายจากความไม่ปลอดภัยจากการทำงานได้เช่นกัน ดังนั้น การควบคุม คุ้มครอง ความปลอดภัย จะต้องมีตัวบทกฎหมาย เพื่อบังคับใช้เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับอาชวีอนามัยสอดแทรกอยู่ใน กฎหมายหลายฉบับและมีหน่วยงาน องค์กรราชการเป็นผู้รับผิดชอบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัยนั้น เริ่มตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 โดย ประเทศอังกฤษเริ่มใช้กฎหมายเกี่ยวกับโรงงาน ในการคุ้มครองผู้ประกอบอาชีพมาจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 21 กฎหมายก็ยังคงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยมา เนื่องจากยังมี การใช้สารที่มีอันตรายในขั้นตอนกระบวนการผลิตกันอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะมี หน่วยงานกำหนดมาตรฐาน การใช้สารอันตรายต่าง ๆ มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเพื่อ เพิ่มความปลอดภัยแล้วก็ตาม ก็ยังคงมีอยู่ให้เห็นได้อีกจำนวนไม่น้อยการที่จะทำให้สถาน ประกอบการหรือเจ้าของกิจการเห็นความสำคัญของความปลอดภัยของสุขภาพทั้งคนงาน และผู้อื่นนั้นจะต้องเกิดจากความร่วมมือของฝ่ายต่าง ๆ ในการทำความเข้าใจ และบังคับให้เกิดการตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยและการป้องกันอันตรายและสิ่งคุกคามที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมของการทำงานให้มากยิ่งขึ้น

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงาน อาชีว อนามัยและความ ปลอดภัย

สำหรับประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความปลอดภัย และอาชีวอนามัย เริ่มขึ้นดังนี้
1. พระราชบัญญัติแร่ พุทธศักราช 2510
2. ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 เรื่องการคุ้มครองแรงงาน พุทธศักราช 2515
3. พระราชบัญญัติประกันสังคม พุทธศักราช 2533
4. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พุทธศักราช 2535
5. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พุทธศักราช 2535
6. พระราชบัญญัติเงินทดแทน พุทธศักราช 2537
7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานทั้งหมด 17 ฉบับ5. พระราชบัญญัติโรงงาน พุทธศักราช 2535
ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย อยู่หลายฉบับดังต่อไปนี้

1. กฎหมายคุ้มครองแรงงานทั่วไป ประกอบด้วย
1.1 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
1.2 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพ อนามัยสำหรับลูกจ้าง
1.3 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดงานและสถานที่ในการทำงาน ของเด็ก

2. กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน ประกอบด้วย
2.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร
2.2 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับ ภาวะแวดล้อม
2.3 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับ สภาวะแวดล้อม (สารเคมี)
2.4 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
2.5 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม (ประดาน้ำ)
2.6 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของ ลูกจ้าง
2.7 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานใน สถานที่อับอากาศ
2.8 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับ สารเคมีอันตราย
2.9 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยเขตก่อสร้าง
2.10 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องปั้นจั่น
2.11 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานการตอกเสาเข็ม
2.12 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
2.13 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ว่าด้วยนั่งร้าน
2.14 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานใน สถานที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงวัสดุกระเด็นตกหล่น และการพังทลาย
2.15 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับ หม้อน้ำ
2.16 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถาน ประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงาน อาชีว อนามัยและความ ปลอดภัย

3. กฎหมายวัตถุอันตรายและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
3.1 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535
3.2 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535

4. กฎหมายโรงงานและการสาธารณสุข ประกอบด้วย
4.1 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535
4.2 กฎกระทรวง (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 บัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ.2535)
4.3 กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2535
4.4 กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2535
4.5 กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2535
4.6 กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2535
4.7 กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2535
4.8 กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2535
4.9 กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2535
4.10 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัย

หน่วยงานใดเกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยอำนาจหน้าที่หนึ่งของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ คือ การพัฒนาและสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มาตรฐานที่จัดทำขึ้นนั้นได้ผ่าน ...

หน่วยงานราชการที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยมีหน่วยงานใดบ้าง

หน่วยราชการในประเทศที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุอันตรายและความปลอดภัยในการทำงานมีอยู่หลายหน่วยงาน ซึ่งเน้นหนักไปคนละด้าน ได้แก่.
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กฎหมายหลัก คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541. ... .
กระทรวงอุตสาหกรรม ... .
กระทรวงสาธารณสุข ... .
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

หน่วยงานที่คอยกำกับเรื่อง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย คือ หน่วยงานใดบ้าง

พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและความมั่นคงได้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐบาลกลางสองแห่งคือ OSHA และ National Institute for Safety and Health Safety (NIOSH) OSHA ถูกสร้างขึ้นเพื่อดูแลและบังคับใช้พระราชบัญญัติ NIOSH เป็นองค์กรวิจัย ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและเสนอแนะถึง OSHA.

หน่วยงานความปลอดภัย คืออะไร

หน่วยงานความปลอดภัย” หมายความว่า หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานซึ่งนายจ้างให้ดูแลและปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ