ขอบเขตของการดำเนินงานอาชีวอนามัยเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพต้องทำอย่างไร

พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง  หากป้องกันไม่รัดกุมไม่เพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน เครื่องจักร อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อเช่นกัน

ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลงตามไปด้วย

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ

การเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากสาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. สภาพการณ์ หรือเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ ไม่ปลอดภัย (hard ware) เช่น เครื่องจักรหรืออุปกรณ์มีการชำรุด มีพื้นที่หรือบริเวณทำงานที่เป็นอันตราย

2. วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (soft ware) เช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน ไม่มี WI

3. ตัวบุคคลประมาท (human ware) พนักงานไม่มีความระมัดระวัง ทำงานด้วยความประมาท ชอบเสี่ยง ไม่ทำตามกฎระเบียบ เป็นต้น

จากข้อ 3. อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

– การทำงานข้ามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอน
– ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
– การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
– ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน
– ปฏิบัติงานโดยไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคค PPE
– ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท , ดัดแปลงหรือแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
– การทำงานโดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ ไม่พร้อมปฏิบัติงาน
– ทำงานด้วยความรีบร้อน เร่งรีบ เป็นต้น

การป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธีคือ

  1. การป้องกันหรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตราย source เป็นแก้ไขแก้ที่ดีที่สุด ตามหลักวิศวกรรม Engineering เพราะได้ทำการจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาด้วยการออกแบบให้เครื่องจักรหรือสถานที่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้มักใช้งบประมาณและต้นทุนมาก เสียเวลา และ ทรัพยากรค่าใช้จ่ายสูง หรือ การแก้ไขทำได้ยาก จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก ส่วนใหญ่เราจะเห็นบริษัทหรือโรงงานใหญ่ๆที่ให้ความสำคัญด้าน safety จริงๆจึงจะยอมลงทุนแก้ไขด้วยวิธีการนี้
  2. การป้องกันที่ทางผ่าน Path เป็นการตัดแยกให้แหล่งอันตรายกับคนทำงานแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น การทำงานกับเครื่องจักรที่มีจุดหนีบ การแก้ไขคือให้ทำการเอาเครื่องกำบังมาครอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มือของพนักงานสามารถเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น
  3. การแก้ไขที่ตัวบุคคล Receivers เป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้โดยง่ายและรวดเร็วประหยัด ทำให้ส่วนใหญ่จะจบด้วยการที่ให้พนักงานทำงานอย่างระมัดระวัง หรือ สวมใส่ PPE แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้ข้อเสียคือมีความปลอดภัยน้อยที่สุดใน 3 วิธีที่กล่าวมาและบ่อยครั้งอุบัติเหตุก็ยังคงเกิดอยู่ซ้ำตามเดิม

การป้องกันอุบัติเหตุและทำงานให้เกิดความปลอดภัยนั้นยังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นเข้ามาช่วย เช่น

  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
  • ติดตั้งการ์ดเครื่องจักร                                                                          
  • สวมใส่เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ไม่ใส่เครื่องประดับ หรือ ปล่อยผมยาวขณะทำงานกับเครื่องจักร
  • จัดให้มีแสงสว่างภายในโรงงานที่เพียงพอตามมาตรฐานพิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า เพื่อให้ความเข้มส่องสว่างบนโต๊ะทำงานที่เพียงพอและไม่เกิดเงาหรือแสงสะท้อน รวมทั้งการเลือกชนิดของหลอดไฟที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน
  • พื้นที่ทำวานมีการระบายอากาศ พิจารณาของการไหลเวียนอากาศเข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย อาทิ ความชื้นสัมพัทธ์อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง กลิ่นควันพิษที่มีอยู่ในอากาศนั้น
  • การจัดสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ หรือทำ 5ส ในบริษัทอย่างจริงจัง เป็นต้น

สรุป: ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้เกิดความปลอดภัยในองค์กรของเราโดยไม่โยนให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่งเพื่อให้เรานั้นทำงานและกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

แหล่งที่มา: [1]

ความหมายของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ขอบเขตของการดำเนินงานอาชีวอนามัยเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพต้องทำอย่างไร

‘อาชีวอนามัย’ จัดอยู่ในวิชาวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง  ซึ่งเป็นกระบวนเรียนรู้ทางด้านการดูแลสุขภาพอนามัย ในผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ รวมทั้งยังจัดการดูแลผลกระทบอันเกิดมาจากการทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อทำให้การดำเนินงานของผู้ประกอบอาชีพ ได้รับความปลอดภัยสูงสุด นอกจากนี้ยังต้องได้รับการคุ้มครองตลอดจนได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย

ความหมายของ ‘อาชีวอนามัย’

  • อาชีวะ หมายถึง เลี้ยงตัวด้วยการประกอบอาชีพต่างๆ
  • อนามัย หมายถึง สุขภาพอนามัย ความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
  • อาชีวอนามัย หมายถึง ส่งเสริม, ควบคุม, ดูแล ป้องกันจากโรคร้ายต่างๆ รวมทั้งอุบัติเหตุ พร้อมดำรงรักษาสุขภาพอนามัยผู้ประกอบอาชีพให้มีความปลอดภัย ทั้งทางร่างกาย และทางจิตใจ
ขอบเขตของการดำเนินงานอาชีวอนามัยเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพต้องทำอย่างไร

ลักษณะของงานอาชีวอนามัย 5 ประการสำคัญ ได้แก่

  1. ส่งเสริม งานที่เกี่ยวกับการส่งเสริม – รักษาไว้ ทั้งสุขภาพกาย – จิตใจ ให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์
  2. ป้องกัน การป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบอาชีพ มีสุขภาพทรุดโทรม อันเนื่องมาจากสภาพการทำงานที่ผิดปกติไป
  3. ปกป้องคุ้มครอง  การปกป้องคุ้มครองผู้ประกอบอาชีพ ไม่ให้มีการทำงานที่เสี่ยงต่ออันตรายทั้งปวง
  4. จัดการทำงาน จัดการสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ให้มีความเหมาะสมกับสภาพร่างกาย และจิตใจ ของผู้ประกอบอาชีพ
  5. ปรับงานและคนให้มีความเหมาะสมกัน ให้สภาพของงานและบุคคลที่ทำงานมีประสิทธิภาพร่วมกัน โดยคำนึงถึงสภาพทางสรีรวิทยา รวมทั้งพื้นฐานที่มีความแตกต่างทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจให้มีความสอดคล้องมากสุดเพื่อสร้างประสิทธิผลของงานนั้นให้เติบโตถึงขีดสุด

ศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้วยการใช้หลักวิเคราะห์ทาง อาชีวสุขศาสตร์ แบ่งออกเป็น 3 หลักการใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่

1. สืบค้น

เริ่มจากการศึกษาสภาพอันแท้จริงของงาน เพื่อค้นหาปัญหาอย่างเจาะลึกว่า ในงานนั้นๆ มีสิ่งใดบ้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ประกอบงาน เช่น อันตรายจากสภาพแวดล้อม,  อันตรายจากสารเคมี, อันตรายทางด้านชีวภาพ เป็นต้น betflix บาคาร่า

2. ประเมินอันตราย

ต่อมาเมื่อรับทราบถึงปัญหาแล้ว คราวนี้ก็จะต้องมีการประเมินระดับอันตราย ที่สามารถเกิดขึ้นว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพของคนงานหรือไม่ รวมทั้งมีมากน้อยเพียงใด โดยสามารถกระทำได้ด้วยการตรวจสอบ, ตรวจวัด ตลอดจนการวิเคราะห์ปัญหา ด้วยการนำค่าที่ได้นั้นมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน

3. ควบคุม

เป็นงานที่สืบเนื่องติดต่อกันมา เมื่อทราบแล้วว่างานนั้นมีสิ่งใดที่เป็นอันตราย ตลอดจนเข้าใจถึงความรุนแรงแล้ว ก็จะนำมาสู่การดำเนินควบคุม รวมทั้งป้องกันอันตราย ด้วยการใช้มาตรการ ตลอดจนวิธีที่เหมาะสม อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการควบคุมอันตรายอย่างเต็มรูปแบบ เพราะฉะนั้นเพื่ออำนวยประโยชน์ทั้งหลายให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างจำต้องมีความใส่ใจรวมทั้งคำนึงถึงการดำเนินการทางด้าน ‘อาชีวอนามัย’ เป็นหลักดำเนินงานรวมทั้งกิจกรรมต่างๆ

Post navigation