ความดันตัวบน ตัวล่าง ห่างกัน

การอ่านค่าความดันโลหิต-เกณฑ์ความดันโลหิต

การอ่านค่าความดันโลหิต-เกณฑ์ความดันโลหิต   ความดันโลหิตมี 2 ค่า คือ

Show

ความดันตัวบน(Systolic) คือ เป็นความดันช่วงที่หัวใจบีบตัว

ความดันตัวล่าง (Diastolic) คือ เป็นความดันช่วงหัวใจคลายตัว

โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่ความดันโลหิตค่าใดค่าหนึ่งหรือทั้งสองค่าสูงกว่าค่า   ปกติต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์

วิธีการประเมินว่าความดันโลหิตของคุณสูงหรือไม่ 

ให้วัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตทันทีหลังจากติ่นนนอน และก่อนนอน โดยวัดช่วงละ 2 ครั้ง ห้างกันประมาณ 2-3 นาที วัดอย่างน้อย 7 วันต่อเดือน

วิธีการคำนวณค่าความดันโลหิตเฉลี่ย นำค่าความดันโลหิตดตัวบนของครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 ของทั้ง 7 วันมาบวกกันและ หารด้วย 24 และทำแบบเดียวกันสำหรับความดันโลหิตตัวล่าง

หากค่าความดันโลหิตเฉลี่ยที่สูงกว่า 135 มม. ปรอท (ความดันโลหิตตัวบน) และ/หรือ 85 มม. ปรอท (ความดันโลหิตตัวล่าง) คุณอาจมีภาวะความดันโลหิตสูง ควรรีบปรึกษาแพทย์

ความดันตัวบน ตัวล่าง ห่างกัน

เกณฑ์ความดันโลหิต (หน่วยวัดความดันเป็น มม.ปรอท)

องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดค่ามาตรฐานของความดันโลหิต ไว้ดังนี้

  • ค่าความดันโลหิตที่เหมาะสม    

ความดันตัวบน      ต่ำกว่า 120 มม. ปรอท

ความดันตัวล่าง     ต่ำกว่า 80 มม. ปรอท

  • ค่าความดันโลหิตปกติ    

ความดันตัวบน      120 – 129 มม. ปรอท

ความดันตัวล่าง     80 – 84 มม. ปรอท

  • เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง

ความดันตัวบน      130 – 139 มม. ปรอท

ความดันตัวล่าง     85 – 89 มม. ปรอท

  • ค่าความดันโลหิตสูงขั้นที่ 1

ความดันตัวบน      140 – 159 มม. ปรอท

ความดันตัวล่าง     90 – 99 มม. ปรอท

  • ค่าความดันโลหิตสูงขั้นที่ 2

ความดันตัวบน      160 – 179 มม. ปรอท

ความดันตัวล่าง     100 – 109 มม. ปรอท

ตารางอ่านค่าอัตราการเต้นของหัวใจ

ประเภท                  จำนวนครั้งต่อนาที

ดีเยี่ยม                   40 – 60   ครั้งต่อนาที

ดี                              61 – 70    ครั้งต่อนาที

พอใช้                      71 – 85     ครั้งต่อนาที

สูงเกินไป                86 – 100   ครั้งต่อนาที

ผิดปกติ                  มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที

โรคความดันโลหิตสูงจะก่อให้เกิดปัญหากับ

โรคความดันโลหิตสูงมักถูกมองว่าเป็นฆาตกรเงียบ จากความร้ายกาจที่มักไม่แสดงอาการ คนส่วนใหญ่จึงสังเกตไม่เห็น จนกว่าจะมีอาการแทรกซ้อน และหากไม่ได้รับการรักษาก็จะก่อให้เกิดปัญหากับ

  • สมอง ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบ แตก ตัน ก่อให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต
  • หัวใจ ก่อให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน และ หัวใจขาดเลือด
  • ไต ทำให้ไตวายเรื้อรัง
  • ตา ทำให้เลือดออกที่จอตา และประสาทตาเสื่อม

รู้ทันฆาตกรเงียบ ด้วยการวัดความดันที่บ้าน

เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงอันตราย เราจึงควรรู้ค่าความดันโลหิตของเราให้ดี ที่สำคัญเราควรวัดความดันโลหิตที่บ้านเป็นประจำด้วย 2 สาเหตุหลัก คือ

  • บางคนเป็นโรคกลัวหมอ ดังนั้นการให้หมอหรือพยาบาลวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล อาจทำให้เครียดหรือกังวล ทำให้ค่าความดันโลหิตสูงกว่าความจริง
  • ความดันโลหิตของเราเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน ขึ้นกับกิจกรรมที่ทำ ความเครียด เวลาที่วัด เราจึงควรวัดความดันโลหิตที่บ้านในเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อจะได้รู้สภาวะความดันโลหิตเฉลี่ยที่ถูกต้องของเราในขณะพัก เมื่อวัดได้ว่าความดันโลหิตสูงขึ้น เราจะได้ทราบว่าเกิดจากเหตุปัจจัยอะไร

สัญญาณเตือนของโรคความดันโลหิตสูง

รีบพบแพทย์ หากมีอาการปวดหรือเวียนศรีษะ เจ็บหน้าอก เลือดออกที่จมูกบ่อยๆ รู้สึกเมื่อยล้า มีปัญหาการมองเห็น เพราะนี่เป็นสัญญาณเตือนของโรความดันโลหิตสูง

คุณเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

ความดันโลหิตสูงเป็น 1 ใน 5 โรคที่คนไทยเป็นกันมากที่สุดนอกจากโรคเบาหวาน หัวใจ มะเร็ง และอัมพาต โดยกว่า 30% ของคุณไทยที่อายุ 45 – 70 ปี ป่วยเป็นโรคนี้ ส่วนคนอายุมากกว่า 70 ปี ป่วยเป็นโรคนี้ถึงกว่า 50%

ดังนั้นมาดูกันดีกว่าว่าคุณเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

  • อยู่ในวัยกลางคน ความดันโลหิตสูงพบมากในคนอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป
  • มีน้ำหนักตัวมาก หัวใจจึงต้องทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายแรงขึ้น
  • เป็นโรคเบาหวาน คนเป็นเบาหวานมีโอกาสความดันโลหิตสูงกว่าคนไม่เป็นเบาหวาน
  • สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และดื่มกาแฟ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเพิ่มความดันโลหิต
  • เครียด คนในเมืองจึงมีโอกาสความดันโลหิตสูงมากกว่าคนในชนบท
  • รับประทานเค็ม เพราะเมื่อรับประทานเกลือโซเดียมมากๆร่างกายจะกระตุ้นให้อยากดื่มน้ำ เมื่อภายในร่างกายมีน้ำมากขึ้น ระบบหมุนเวียนโลหิตก็ยิ่งต้องทำงานหนักยิ่งขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงในที่สุด

วิธีป้องไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง

คุณสามารถดูแลตัวเองให้ห่างไกลความดันโลหิตสูงได้หลายวิธี ซึ่งดีกว่าการรักษาที่ปลายเหตุด้วยการกินยา

ลดน้ำหนักส่วนเกิน ควบคุมดัชนีมวลกาย(BMI) ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม

วิธีคำนวณ   BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม)/ส่วนสูง (เมตร)^2

เกณฑ์                           ดัชนีมวลกาย (BMI)

เหมาะสม                      18.5- 22.9

น้ำหนักมาก                  23.0 – 24.9

อ้วน                              มากกว่า 25.0

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินวันละ 10,000 ก้าว ซึ่งงานวิจัยหลายชิ้นทั่วโลกพบว่าสามารถ ช่วยลดค่าความดันโลหิต เลิกดื่มแอลกอออล์ และงดสูบบุหรี่

กินอาหารลดความดัน ลดเกลือโซเดียม (กินน้ำปลาไม่เกิน1/2 ช้อนโต๊ะ/มื้อ) หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด กินผักผลไม้สดและปลามากขึ้น กินเนื้อสัตว์น้อยลง โดยเฉพาะเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ที่มีหนังติดมัน และเนื้อปรุงแต่ง เช่น ไส้กรอก หมูแฮม เบคอน

 หายใจช้า+ฝึกสมาธิ เพราะการหายใจช้า คือ หายใจต่ำกว่า 10 ครั้งต่อนาทีเป็นเวลา 15 นาทีต่อวัน จะช่วยลดความดันได้ และการฝึกสมาธิยังช่วยให้เราหายใจช้าลงและช่

ความดันตัวบนสูงตัวล่างต่ำเกิดจากอะไร

ความดันตัวล่างต่ำตัวบนสูง หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยมีค่าความดันตัวล่าง หรือ DIA ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท และมีค่าความดันตัวบน หรือ SYS สูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งการที่ความดันตัวล่างต่ำ อาจเกิดจากการที่หัวใจคลายตัวมากเกินไป เป็นผลจากการมีโรคประจำตัว หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด

ค่าความดันตัวล่างต่ำ อันตรายไหม

ภาวะความดันโลหิตต่ำย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกาย ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงเลือดไปล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ ซึ่งง่ายต่อการเกิดลิ่มเลือดทำให้หลอดเลือดอุดตัน และภาวะความดันโลหิตต่ำ ยังอาจทำให้เกิดภาวะช็อกได้ หากมีอาการขั้นรุนแรง

ค่าความดันตัวล่างต่ำคืออะไร

ความดันต่ำ คือ ภาวะความดันโลหิตตัวบนต่ำกว่า 90 มม. ปรอทและความดันโลหิตตัวล่างต่ำกว่า 60 มม. ปรอท อาจต่ำเพียงแค่ตัวเดียวหรือทั้งสองตัวก็ได้ อาการของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำ ได้แก่ เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถเร็ว บางรายอาจมีอาการหายใจเร็ว เหนื่อย ชีพจรเต้นเบาและเร็วร่วมด้วย

ความดันตัวล่างต่ำต้องทำยังไง

หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน เน้นอาหารประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน การลุกหรือนั่งไม่ควรเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็วมากเกินไป ตรวจเช็คความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ