ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในเอเชีย ตะวันออก เฉียงใต้ มี อะไร บาง

ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในเอเชีย ตะวันออก เฉียงใต้ มี อะไร บาง


ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในเอเชีย ตะวันออก เฉียงใต้ มี อะไร บาง

แกะรอยปัจจัยลบกระทบการเติบโตของอาเซียน

ชาญชัย ชัยประสิทธิ์
หุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชี บริษัท PwC ประเทศไทย

    เป็นที่ทราบกันดีว่า “ไทย” เป็นหนึ่งในสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ “อาเซียน” ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคสำคัญของโลกที่มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง บวกกับการขยายตัวของชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อ อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยลบอีกมากที่อาจส่งผลต่อการเติบโตของอาเซียนทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ดังนั้น แต่ละประเทศสมาชิกจำเป็นที่จะต้องมีนโยบายและแนวทางการพัฒนาในด้านต่างๆ ที่ชัดเจนเพื่อรักษาสมรรถภาพในการเติบโตให้คงอยู่ หรือเพิ่มสูงขึ้น โดยผลการศึกษา “The Future of ASEAN: Time to Act” ของศูนย์วิจัยตลาดเติบโตสูงของ PwC ที่ผ่านมา ได้ระบุปัจจัยสำคัญที่อาเซียนต้องติดตามไว้ ดังนี้

ผลิตภาพแรงงานต่ำ (Weak labour productivity)
    แม้ว่าความสามารถในการผลิตของกลุ่มประเทศอาเซียนจะถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา แต่ตัวเลขชี้วัดความสามารถในการผลิตของภูมิภาคนี้ ยังห่างจากค่าเฉลี่ยโดยรวมของโลก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะความสามารถของบุคลากร ระบบโครงสร้างพื้นฐาน หรือแม้กระทั่ง การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
    สำหรับประเทศที่ถือได้ว่าเป็นผู้นำของอาเซียน อย่าง สิงคโปร์ และบรูไนดารุซซาลาม ซึ่งแม้จะมีความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และมีระบบสถาบันการเงินที่เข้มแข็ง แต่ประเทศเหล่านี้ก็กำลังเผชิญกับปัญหาจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ทั้งสองประเทศต้องหันมาเร่งแก้ปัญหาความสามารถในการผลิตลดลง ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้วยเช่นกัน
    เมื่อหันกลับมาพิจารณากลุ่มประเทศอาเซียนที่กำลังพัฒนา ซึ่งแม้จะเคยได้เปรียบจากการมีค่าแรงที่ถูก แต่ในความเป็นจริง หลายๆ ประเทศได้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ความได้เปรียบนั้นค่อยๆ หมดไป โดยรายงานชี้ว่า เวียดนาม ไทย และ อินโดนีเซีย เป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีการปรับค่าแรงสูงสุดในปี 2560 ที่ 7.2%, 5.6% และ 4.9% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 2.3% และเมื่อรวมกับปัจจัยการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ยิ่งเป็นแรงกดดันให้ประเทศเหล่านี้ต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต เพื่อบรรลุโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว 

การพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศ (External trade dependence)
    ความสำคัญของการค้าระหว่างประเทศของเศรษฐกิจอาเซียนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมาตั้งแต่ปี 2510 โดยอัตราส่วนของการค้าระหว่างประเทศต่อรายได้ประชาชาติ (Trade-to-GDP ratio) ที่ 43% ในปีนั้น ได้เติบโตพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 131% ในปี 2548 ก่อนที่จะปรับตัวลดลงเหลือ 87% ในปี 2559  อย่างไรก็ดี ทิศทางการค้าโลกที่ปรับตัวลดลงมาตั้งแต่ปี 2555 ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอาเซียนที่พึ่งพาการค้าเป็นหลัก ปัจจัยที่น่ากังวลมากกว่านั้น คือ การที่อาเซียนพึ่งพาการค้านอกอาเซียน (Extra-ASEAN trade) เป็นหลัก โดยมีสัดส่วนถึง 75% ของการส่งออกในปี 2559 โดยการส่งออกสินค้าส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังประเทศคู่ค้าหลักๆ เพียงไม่กี่ประเทศ เช่น จีน และสหรัฐอเมริกา สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อการพึ่งพาทางการค้าอย่างมากกับประเทศคู่ค้าเหล่านี้
    ทั้งนี้ จีน ถือได้ว่าเป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของอาเซียน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าไปยังจีนนั้น เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10% ต่อปี ระหว่างปี 2553-2557 และสูงถึง 15% ในปี 2558 แต่เมื่อเกิดสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงที่จีนกำลังปรับปรุงโครงสร้างของประเทศ นี่ส่งผลให้การค้ากับอาเซียนได้รับผลกระทบไปด้วย โดยทำให้การส่งออกโดยรวมลดลง จาก 6% ในปี 2558 เหลือ 5% ในปี 2559 
    ยิ่งไปกว่านั้น กระแสชาตินิยม และความต้องการเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกา อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจของอาเซียนไม่โตเท่าที่ควร นี่จึงเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ธุรกิจในอาเซียนและนักลงทุนต่างชาติจำเป็นต้องคำนึงถึง

ช่องว่างโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure gaps) 
    ประเด็นสุดท้ายที่อยากจะกล่าวถึง คือ ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานที่แตกต่างกันไปของประเทศสมาชิกอาเซียน โดย 8 ใน 10 ประเทศสมาชิก ถูกจัดว่าเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับกลางและรายได้น้อย (ตามคำนิยามของธนาคารโลก) หรือมีสัดส่วนรวมกันคิดเป็น 88% ของจีดีพีของทั้งภูมิภาคในปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคอื่นของโลก ที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานยังคงมีข้อจำกัดและส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวหรือเติบโตได้ไม่เต็มที่ 
    ช่องว่างโครงสร้างพื้นฐานยังส่งผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น พลังงาน สาธารณูปโภค ภาคสังคม (เช่น ที่อยู่อาศัย สุขภาพ และ การศึกษา) คมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ และการเชื่อมต่อกับระบบดิจิทัล ซึ่งนอกจากจะทำให้ความสามารถในการผลิตลดลงแล้ว ยังทำให้เกิดค่าใช่จ่ายในการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้น  ดังนั้นจึงส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม ทั้งนี้ ขอยกตัวอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่าง เยอรมนี ที่ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ในปี 2560 มีสัดส่วนเพียง 9% ของจีดีพีของประเทศ หรือ บราซิล ที่มีค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์คิดเป็น 12% ของจีดีพีของประเทศ แตกต่างกับประเทศกำลังพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด โดยค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ของเวียดนามมีสัดส่วนคิดเป็น 21% ของจีดีพี และอินโดนีเซียที่ 26%  

    นอกจากประเด็นดังกล่าวแล้ว ประเทศในกลุ่มอาเซียนบางประเทศ ยังเผชิญกับปัญหาคอร์รัปชัน และความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งอาจส่งผลต่อความน่าสนใจในการลงทุนจากต่างชาติ นอกจากนี้ ความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การแปลงไปสู่ดิจิทัลขององค์กร และรูปแบบทางธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ ไปจนถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญของภูมิภาคที่ต้องจัดการในระยะต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้แน่ใจได้ว่า อาเซียนจะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่แม้ว่าจะมาพร้อมกับ “โอกาส” และ “ความเสี่ยง” แต่ก็เติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว 
       สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน “The Future of ASEAN – Time to Act” สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ทาง www.pwc.com/th

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในเอเชีย ตะวันออก เฉียงใต้ มี อะไร บาง

Refresh


ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในเอเชีย ตะวันออก เฉียงใต้ มี อะไร บาง

เราใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากยิ่งขึ้น คุณสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้