ค่า ลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มี อะไร บ้าง

เตรียมพร้อมเข้าสู่ฤดูกาลยื่นภาษีบุคคลธรรมดาปี 2565 ที่ผู้มีเงินได้ทั้งหลายจะต้องดำเนินการยื่นเป็นประจำในทุก ๆ ปี หลายคนคงทราบกันแล้วว่ารายการลดหย่อนภาษี 2565 มีอะไรบ้าง แต่ก็อาจจะมีบางคนที่ยังไม่ทราบว่ารายการในการลดหย่อนภาษีปี 2565 ที่จะต้องนำไปยื่นใช้สิทธิในปี 2566 ที่จะถึงนี้ มีรายการอะไรบ้าง สามารถยื่นได้ผ่านช่องทางไหนบ้าง และหมดเขตเมื่อไหร่ น้องแคร์มีข้อมูลมาอัพเดต!

Show

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

ผู้ป่วยใน/ผู้ป่วยนอกโรคเฉพาะอุบัติเหตุส่วนบุคคล

ชื่อนามสกุล

หมายเลขโทรศัพท์

Δ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร?

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า ภาษี คือ สิ่งที่รัฐบาลกำหนดให้ทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่รัฐกำหนด จะต้องจ่ายเงินภาษีให้กับรัฐ สำหรับนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ต่อไป โดยหน่วยงานกระทรวงการคลังอย่างกรมสรรพากรจะทำหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีอากรจากประชาชน และนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

ส่วนเงินได้ ก็คือ เงินต่าง ๆ ที่เราได้รับทั้งจากการทำงาน อย่างเช่น เงินเดือน หรือจากการลงทุน อย่างเช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้น โดยจะสามารถแบ่งประเภทของเงินได้ของบุคคลเมื่อมีรายได้ ทั้งหมด 8 ประเภท มาตรา 40 (1) – 40 (8) ดังต่อไปนี้

  • ประเภทที่ 1 หรือ มาตรา 40 (1)

รายได้ที่มาจากการทำงาน การจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน, ค่าจ้าง, OT, โบนัส เป็นต้น

อัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้ คือ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

  • ประเภทที่ 2 หรือ มาตรา 40 (2)

รายได้ที่เกิดจากตำแหน่งงานหน้าที่ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า, ค่ารับจ้าง, ค่าธรรมเนียม เป็นต้น

อัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้ คือ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

  • ประเภทที่ 3  หรือ มาตรา 40 (3)

รายได้ที่ได้มาจากการค่าแห่งกู๊ดวิลล์ รายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ค่าแห่งลิขสิทธิ์ เป็นต้น

อัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้ (เฉพาะค่าลิขสิทธิ์) คือ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

  • ประเภทที่ 4  หรือ มาตรา 40 (4)

รายได้จากดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร อย่างเช่น ดอกเบี้ยธนาคาร, เงินปันผลจากการลงทุนในกองทุนรวม, กำไรจากการขายหุ้น เป็นต้น ไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้

  • ประเภทที่ 5 หรือ มาตรา 40 (5)

รายได้ที่มาจากการให้เช่าสินทรัพย์ เช่น ค่าเช่าต่าง ๆ อย่างบ้าน, รถ, ที่ดิน เป็นต้น

อัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้ คือ 15-30%, ทรัพย์สินอื่นหักค่าใช้จ่ายได้ 10%

  • ประเภทที่ 6 หรือ มาตรา 40 (6)

รายได้ที่เกิดจากการประกอบวิชาชีพอิสระ ได้แก่ แพทย์, ทนาย, ผู้ตรวจสอบบัญชี, วิศวกร, สถาปนิกและจิตกร

อัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้ คือ แพทย์ 60%, อาชีพอื่นที่เหลือ 30%

  • ประเภทที่ 7 หรือ มาตรา 40 (7)

รายได้ที่มาจากการรับเหมาพร้อมอุปกรณ์ เช่น รับเหมาก่อสร้าง

อัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้ คือ 70%

  • ประเภทที่ 8 หรือ มาตรา 40 (8)

รายได้จากการประกอบธุรกิจอื่น ๆ นอกเหนือจาก (1) – (7)

อัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้ คือ 60% อาชีพดารานักแสดงรายได้น้อยกว่า 300,000 บาท สามารถหักได้ 60% หากรายได้มากกว่า 300,000 บาท สามารถหักได้ 40% รวมไม่เกิน 600,000 บาท

ดังนั้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็คือ ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บจากบุคคลทั่วไปที่มีรายได้ ในประเภทต่าง ๆ 8 ประเภทข้างต้น และเป็นรายได้ที่ถึงเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนด ก็จะต้องยื่นภาษีบุคคลธรรมดาด้วยแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ในทุก ๆ ปี ตามประเภท ได้แก่

  1. ยื่นภาษีด้วยแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี ภ.ง.ด.90 : สำหรับผู้มีเงินได้ทั่วไปตั้งแต่ประเภทที่ 1 – 8 ที่ได้รับระหว่างปีภาษี
  2. ยื่นภาษีด้วยแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี ภ.ง.ด.91 : สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทที่ 1 เพียงอย่างเดียว
  3. ยื่นภาษีด้วยแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.93 : สำหรับใช้ยื่นก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
  4. ยื่นภาษีด้วยแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภ.ง.ด.94 : สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5 – 8 ที่ได้รับมาตั้งแต่เดือนม.ค. ถึงเดือนมิ.ย. และไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นร่วมหรือไม่ก็ตาม ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเดือนก.ค. ถึงเดือนก.ย.ของปีภาษีนั้น
  5. ยื่นภาษีด้วยแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.95 : สำหรับต่างด้าวผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน 
ค่า ลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มี อะไร บ้าง

รายการลดหย่อนภาษี 2565 มีอะไรบ้าง?

สำหรับรายการลดหย่อนภาษี 2565 จะมีการแบ่งกลุ่มประเภทของรายการลดหย่อนออกเป็นหมวด ซึ่งในแต่ละปีอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรายการลดหย่อนในบางหมวดไป เนื่องจากนโยบายรัฐบาลที่ไม่เหมือนกันในแต่ละปี โดยรายการลดหย่อนจะประกอบไปด้วยหมวดในการลดหย่อน ดังนี้

  1. หมวดลดหย่อนสำหรับตนเอง
  2. หมวดประกันและการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ
  3. หมวดมาตรการรัฐ กระตุ้นเศรษฐกิจ
  4. หมวดการบริจาค

1. หมวดลดหย่อนสำหรับตนเอง

ในหมวดแรกที่สามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีก็คือ ค่าลดหย่อนที่เกิดขึ้นจากตนเอง รวมไปถึงบุคคลในครอบครัว โดยมีรายการดังนี้

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว

รัฐจะให้ค่าลดหย่อนส่วนนี้เป็นพื้นฐานกับบุคคลผู้มีเงินได้ทุกคน ซึ่งสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนในส่วนนี้ เป็นอัตราเหมาต่อคน โดยจะมีค่าใช้จ่ายส่วนตัวต่อปีไม่น้อยกว่า 60,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส

สำหรับบุคคลผู้มีเงินได้ที่มีคู่สมรสทุกคน ในส่วนนี้รัฐก็จะให้สิทธิในการยื่นลดหย่อนเป็นอัตราเหมาขั้นต่ำอีก 60,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนบุตร

บุคคลผู้มีเงินได้ที่มีบุตร จะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีในส่วนนี้ได้ โดยหากมีบุตรคนแรก ก็จะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษี 2565 ได้ 30,000 บาท แต่หากมีบุตรตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไป (ที่เกิดหลังปีพ.ศ. 2561) จะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไข คือ

  1. บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์
  2. หากเป็นบุตรอายุระหว่าง 21 – 25 ปี จะต้องกำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส.ขึ้นไป
  3. บุตรจะต้องมีเงินได้ในปีไม่ถึง 30,000 บาท (ไม่รวมเงินปันผล)
  • ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร

สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการฝากครรภ์และการคลอดบุตร ไปใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีได้ เฉพาะส่วนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาทต่อครรภ์ไม่ใช่ต่อคน โดยมีเงื่อนไข คือ

  1. ต้องเป็นการจ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร กับสถานพยาบาลรัฐหรือเอกชน
  2. กรณีที่ท้องปีนี้ คลอดปีหน้า ให้ลดหย่อนตามปีที่ใช้ แต่รวมกันไม่เกิน 60,000 บาท
  3. หากสามีและภรรยามีสิทธิยื่นลดหย่อนทั้งคู่ ให้ถือว่าค่าคลอดเป็นของภรรยา ยกเว้นกรณีภรรยาไม่มีเงินได้ จึงจะสามารถถือเป็นค่าลดหย่อนของสามีได้
  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา

บุคคลผู้มีเงินได้ที่ดูแลบิดามารดาอยู่ หากบิดามารดาที่ดูแลอยู่นั้นอายุเกิน 60 ปี และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท จะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีในการดูแลบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท แต่ทั้งนี้ลูกจะสามารถใช้สิทธิได้เพียงคนเดียว หากมีลูกหลายคนสามารถสลับกันใช้สิทธิยื่นภาษีบุคคลธรรมดาคนละปีภาษีได้ แต่ไม่สามารถใช้สิทธิพร้อมกันได้

  • ค่าลดหย่อนบุคคลผู้พิการหรือทุพพลภาพ

ในส่วนนี้หากบุคคลผู้มีเงินได้กำลังเป็นผู้ดูแลคนพิการหรือบุคคลทุพพลภาพอยู่ จะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษี 2565 ได้คนละ 60,000 บาทต่อปี

2. หมวดประกันและการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ

ในหมวดนี้หากบุคคลผู้มีเงินได้คนไหนมีการวางแผนทำประกันบริหารความเสี่ยงด้วยตนเอง โดยการซื้อประกัน ก็จะสามารถได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีจากรัฐบาลได้ โดยประกันที่สามารถลดหย่อนได้มี ดังนี้

  • ประกันชีวิตทั่วไปและประกันสะสมทรัพย์

หากบุคคลผู้มีเงินได้มีการวางแผนบริหารความเสี่ยง โดยการซื้อประกันชีวิต หรือซื้อประกันสะสมทรัพย์ ก็จะสามารถใช้สิทธิในการยื่นลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงได้สูงสุด 100,000 บาท

  • ประกันสุขภาพตนเอง

หากซื้อประกันสุขภาพ ก็จะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุด 25,000 บาท แต่ทั้งนี้เมื่อนำไปรวมกับประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ที่มีอยู่ ก็จะต้องลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท

  • ประกันสุขภาพบิดามารดา

หากคุณซื้อประกันสุขภาพให้กับบิดามารดา เพื่อบริหารความเสี่ยงเมื่อบิดามารดาเกิดเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล คุณจะสามารถนำค่าเบี้ประกันสุขภาพของบิดามารดาที่คุณชำระ มาใช้ในสิทธิยื่นลดหย่อนภาษี 2565 ได้สูงสุด 15,000  บาท

  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ

นอกจากประกันชีวิตทั่วไปและประกันสะสมทรัพย์ ที่สามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีได้สูงแล้ว หากคุณมีการซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อวางแผนเกษียณอายุ คุณจะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อยื่นลดหย่อนรวมกับหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./สงเคราะห์ครูฯ, RMF, SSF, และกองทุนการออมแห่งชาติ) จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท

  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./สงเคราะห์ครูฯ

หากมีการลงทุนในส่วนนี้ จะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ, RMF, SSF, และกองทุนการออมแห่งชาติ

  • RMF หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

หากมีการลงทุนใน RMF จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./สงเคราะห์ครูฯ, SSF, และกองทุนการออมแห่งชาติ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

  1. ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี (สามารถผิดเงื่อนไขได้ 1 ปี เท่านั้น)
  2. ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไม่น้อยกว่า 5 ปี และอายุครบ 55 ปี จึงสามารถขายได้
  • SSF หรือ กองทุนรวมเพื่อการออม

การลงทุนในส่วนนี้ จะสามารถใช้สิทธิในการยื่นลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./สงเคราะห์ครูฯ, RMF, และกองทุนการออมแห่งชาติ โดยกำหนดเงื่อนไข คือ จะต้องถือครองหลังจากซื้อไม่น้อยกว่า 10 ปีเต็ม และสามารถซื้อได้ตั้งแต่ปี 2563 – 2567

  • กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช.

สามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนในส่วนนี้ได้ไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./สงเคราะห์ครูฯ, RMF, และ SSF

  • เงินสมทบประกันสังคม

ปี 2565 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนส่วนของประกันสังคมได้ที่ 6,300 บาท (จากปกติที่สามารถลดตามจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท) เนื่องจากในปี 2565 มีการปรับลดอัตราเงินสะสมประกันสังคมสูงสุดจาก 750 บาทต่อเดือน ตามรายการ ดังนี้

  1. เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565

มาตรา 33 เหลือ 1% ไม่เกิน 150 บาท

มาตรา 39 เหลือ 91 บาท

2. เดือนตุุลาคม – ธันวาคม 2565

มาตรา 33 เหลือ 3% ไม่เกิน 450 บาท

มาตรา 39 เหลือ 240 บาท

3. หมวดมาตรการรัฐ กระตุ้นเศรษฐกิจ

สำหรับสิทธิยื่นภาษีบุคคลธรรมดา เพื่อลดหย่อนภาษีในหมวดนี้ แต่ละปีอาจจะไม่เหมือนกัน โดยอาจจะการเปลี่ยนแปลงรายการไปตามมาตรการรัฐที่ออกมาเพื่อส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งหมวดมาตรการรัฐ กระตุ้นเศรษฐกิจที่สามารถนำมาใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีในปี 2566 ได้ มีดังนี้

  • ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย

หากเรามีการซื้อบ้านหรือคอนโดด้วยการผ่อนชำระ เราสามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคารไปใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท โดยจะสามารถลดได้เฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเท่านั้น ไม่รวมเงินต้น

  • โครงการช้อปดีมีคืน

ใครที่เข้าร่วมโครงการช้อปดีมีคืนของรัฐบาลที่มีตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 15 ก.พ. 2565 ที่ส่งเสริมให้เราใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบกิจการขายหนังสือและ E-Book และผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้า OTOP ในประเทศ จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และหากซื้อสินค้าหรือบริการแล้วได้รับส่วนลด ก็จะสามารถลดหย่อนได้ตามราคาที่จ่ายจริง หลังหักส่วนลด

  • เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม

ในส่วนเงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise หากบุคคลผู้มีเงินได้มีการลงทุนในหุ้นหรือธุรกิจ ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไปและเป็นผู้จ่ายเงินเพื่อจัดตั้งหรือเพื่อเพิ่มทุนของธุรกิจที่เป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลของไทย (ได้รับการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562) สามารถนำเงินที่ลงทุนนั้นไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ต่อปี

4. หมวดการบริจาค

หากผู้มีเงินได้ประสงค์ที่จะบริจาคเพื่อสังคม ก็สามารถที่จะใช้สิทธิลดหย่อนได้ โดยการบริจาคเพื่อสังคมที่สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้ ได้แก่

  • การบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา สังคมต่าง ๆ และโรงพยาบาลรัฐ

สามารถใช้สิทธิได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว

  • การบริจาคอื่น ๆ มูลนิธิและองค์กรสาธารณกุศล

การบริจาคประเภทนี้ก็อย่างเช่น การบริจาคให้วัด เป็นต้น สามารถขอหลักฐานการบริจาคเพื่อนำมายื่นลดหย่อนภาษีได้ 10%  ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว

  • การบริจาคพรรคการเมือง

คุณสามารถบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองที่คุณชื่นชอบได้ โดยที่เงินที่นำไปบริจาคนั้น สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ด้วย ซึ่งจะสามารถใช้สิทธิได้สูงสุด 10,000 บาท

ค่า ลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มี อะไร บ้าง

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างง่าย

สำหรับมนุษย์เงินเดือนมือใหม่ที่ยังไม่ทราบว่าเราจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ น้องแคร์มีวิธีคำนวณมาฝาก เบื้องต้นในการคำนวณฐานภาษีเพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี จะคำนวณโดยการนำจำนวนรายได้ทั้งหมดในปีนั้น ๆ นำมาหักด้วยอัตราค่าใช้จ่ายของรายได้แต่ละประเภท และหักส่วนรายการลดหย่อนภาษี จะได้เป็นเงินได้สุทธิ (เงินได้สุทธิ = รายได้ทั้งหมด – อัตราค่าใช้จ่ายของรายได้แต่ละประเภท – รายการลดหย่อนภาษี) เมื่อทราบเงินได้สุทธิแล้ว จะต้องนำไปคำนวณจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายตามขั้นอัตราภาษี ดังนี้

  • ขั้นที่ 1 : เงินได้สุทธิ 1 – 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นการเก็บภาษี (แต่จะต้องยื่นภาษีทุกครั้ง แม้รายได้จะไม่ถึงขั้นเสียภาษีก็ตาม)
  • ขั้นที่ 2 : เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท จะต้องเสียภาษีอัตรา 5% ของช่วงเงินได้สุทธิของแต่ละขั้น หรือ 7,500 บาท
  • ขั้นที่ 3 : เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท จะต้องเสียภาษีอัตรา 10% ของช่วงเงินได้สุทธิของแต่ละขั้น หรือ 20,000 บาท
  • ขั้นที่ 4 : เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท จะต้องเสียภาษีอัตรา 15% ของช่วงเงินได้สุทธิของแต่ละขั้น หรือ 37,500 บาท
  • ขั้นที่ 5 : เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 บาท จะต้องเสียภาษีอัตรา 20% ของช่วงเงินได้สุทธิของแต่ละขั้น หรือ 50,000 บาท
  • ขั้นที่ 6 : เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท จะต้องเสียภาษีอัตรา 25% ของช่วงเงินได้สุทธิของแต่ละขั้น หรือ 250,000 บาท
  • ขั้นที่ 7 : เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท จะต้องเสียภาษีอัตรา 30% ของช่วงเงินได้สุทธิของแต่ละขั้น หรือ 900,000 บาท
  • ขั้นที่ 8 : เงินได้สุทธิ 5,000,001 บาท เป็นต้นไป จะต้องเสียภาษีอัตรา 35% โดยคำนวณตามจริง

นั่นหมายความว่าถ้าหากน้องแคร์ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนและนำรายได้ทั้งหมดในปีนั้น ๆ ที่น้องแคร์ได้รับ (รวมโบนัส) นำมาหักอัตราค่าใช้จ่ายของรายได้แต่ละประเภท และหักส่วนรายการลดหย่อนภาษีทั้งหมดแล้ว เหลือเงินได้สุทธิอยู่ 500,000 บาท แสดงว่าน้องแคร์จะต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลในปีนั้น ๆ ที่อัตราภาษี 10% ดังนั้นน้องแคร์ก็จะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงิน 27,500 บาท (อัตราภาษีขั้นที่1 7,500 บาท บวกกับ อัตราภาษีขั้นที่ 2 20,000 บาท) นั่นเอง

ค่า ลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มี อะไร บ้าง

ซื้อประกันลดหย่อนภาษี ทำให้เราจ่ายภาษีลดลงได้อย่างไร?

หลายคนยังคงสงสัยว่า การซื้อประกันลดหย่อนภาษี จะทำให้เราจ่ายภาษีลดลงได้อย่างไร? น้องแคร์ขออธิบายโดยสมมติว่าเรามีเงินได้สุทธิที่ 1,000,000 บาท ซึ่งจะต้องจ่ายภาษีในอัตราภาษีขั้นที่ 5 คือ 115,000 บาท ทีนี้หากเรามีการวางแผนลดหย่อนภาษีโดยการซื้อประกัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อประกันชีวิตทั่วไป ประกันสะสมทรัพย์ ประกันสุขภาพ หรือประกันบำนาญ เช่นเราซื้อประกันสะสมทรัพย์ ค่าเบี้ย 100,000 บาทต่อปี จะทำให้เราจ่ายภาษีลดลงเหลือเพียงแค่ 15,000 บาท เท่านั้น เพราะได้ลดหย่อนค่าประกันไป100,000 บาท ใช่หรือไม่? ซึ่งน้องแคร์ต้องบอกตรงนี้ว่าเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะจริง ๆ แล้วการซื้อประกันเพื่อการลดหย่อนภาษีนั้น จากตัวอย่างสมมติว่าซื้อที่ค่าเบี้ย 100,000 บาท ในส่วน100,000 บาทที่ซื้อประกันไป จะถูกนำมาคิดในส่วนของรายการลดหย่อนภาษีในหมวดประกัน โดยจะต้องนำไปหักลบจากเงินได้สุทธิ (เงินได้สุทธิ = รายได้ทั้งหมด – อัตราค่าใช้จ่ายของรายได้แต่ละประเภท – รายการลดหย่อนภาษี) ไม่ใช่การนำมาหักออกจากจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี

นั่นหมายความว่า หากคุณมีเงินได้สุทธิ 1,000,000 บาท และได้ซื้อประกันสะสมทรัพย์เพื่อลดหย่อนภาษี ที่ค่าเบี้ย 100,000 บาท แสดงว่าการซื้อประกันของคุณจะทำให้คุณมีเงินได้สุทธิลดลง เหลือ 900,000 บาท จากเดิมที่1,000,000 บาท ดังนั้นตัวเลขที่จะถูกนำไปคำนวณจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีก็คือ 900,000 บาท ไม่ใช่ 1,000,000 บาท เมื่อคำนวณจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีก็จะทำให้คุณสามารถจ่ายภาษีได้จำนวนน้อยลงจากเดิม หรือหากมีการซื้อประกันบำนาญร่วมด้วย ก็จะสามารถลดหย่อนภาษีได้เพิ่มอีก 200,000 บาท ซึ่งจะทำให้คุณมีเงินได้สุทธิลดลงเหลือ 700,000 บาท จาก 1,000,000 บาท ซึ่งก็จะทำให้ขั้นภาษีที่คุณต้องนำมาคำนวณลดลงจากขั้นที่ 5 (อัตราภาษี 20%) ลงมาที่ขั้นที่ 4 (อัตราภาษี 15%) แน่นอนว่าจะทำให้คุณจ่ายภาษีถูกลงกว่าเดิม นั้่นเอง

การยื่นภาษี 2565 หมดเขตเมื่อไหร่?

คำถามที่ว่ายื่นภาษี 2565 หมดเขตเมื่อไหร่ ดูเหมือนจะยังคงเป็นคำถามยอดฮิตที่มีการถามถึงในทุก ๆ ปีที่มีการกำหนดจ่ายภาษี โดยปกติวันหมดเขตการยื่นภาษี จะสามารถยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึงวันที่ 31 มี.ค.ของปีถัดไป (2566) และ หากเป็นการยื่นภาษีแบบออนไลน์จะสามารถยื่นได้ถึงวันที่ 8 เม.ย. 2566 ซึ่งหากใครที่ประสงค์จะยื่นภาษีแบบออนไลน์ สามารถยื่นภาษีออนไลน์ 2566 ได้ตามขั้นตอนนี้

  1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th เลือกเมนูยื่นภาษีออนไลน์
  2. คลิกเลือกเมนู ยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90/91 (หากใครที่ยังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน ต้องกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนให้เสร็จสมบูรณ์ก่อน)
  3. เข้าสู่ระบบด้วยเลขบัตรประชนชนและรหัสผ่าน
  4. เลือกสถานภาพผู้มีเงินได้ หากเป็นผู้มีเงินได้ที่มีคู่สมรส ให้ทำการกรอกข้อมูลให้ครบ
  5. เลือกรายการเงินได้พึงประเมิน จากที่มาของรายได้ และเลือกเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อน 
  6. นำข้อมูลจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือใบทวิ 50 จากบริษัทผู้ว่าจ้างมากรอกข้อมูล
  7. ใส่ข้อมูลรายการลดหย่อนภาษีที่คุณได้รับสิทธิตามเงื่อนไข 
  8. เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว เว็บไซต์จะทำการคำนวณและแสดงจำนวนภาษีที่คุณต้องจ่ายหรือส่วนต่างที่คุณต้องได้คืน 

กรณีที่ต้องการขอคืนภาษี กรมสรรพากรจะให้คุณปริ้นท์หรือเซฟไฟล์เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน และสามารถอัพโหลดเอกสารได้ที่เมนู นำส่งเอกสารขอคืนภาษี ได้ทันที หลังจากยื่นเสร็จ

และทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลสรุปรายการลดหย่อนภาษีทั้งหมดที่น้องแคร์นำมาอัพเดตให้ทุกคนได้เตรียมตัวก่อนที่จะต้องทำการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาจริง ๆ ในช่วงเดือนม.ค. – มี.ค. 2566 ที่จะถึงนี้และแน่นอนว่าการวางแผนลดหย่อนภาษีที่คุ้มค่าและมีประโยชน์กับคุณมากที่สุด คือการวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยการซื้อประกันทุกรูปแบบ เพราะนอกจากเรื่องผลประโยชน์ด้านภาษีที่คุณจะได้รับเป็นโบนัสแล้ว หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันใด ๆ ในชีวิตคุณ คุณก็จะสบายใจได้ว่าคุณได้มีประกันประเภทต่าง ๆ เป็นหลักประกันให้กับชีวิตของคุณและคนที่คุณรักเรียบร้อยแล้ว หากคุณกำลังสนใจวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยสินค้าประกัน อย่าลืม!แวะมาดูรายละเอียดแผนประกันกับเราที่แรบบิท แคร์ ตัวจริงเรื่องประกัน

  

ห้ามพลาด! ประกันรถชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 1,000.-/เดือน

เลือกยี่ห้อรถของคุณ

ค่า ลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มี อะไร บ้าง

Toyota

ค่า ลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มี อะไร บ้าง

Nissan

ค่า ลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มี อะไร บ้าง

Mitsubishi

ค่า ลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มี อะไร บ้าง

Mazda

ค่า ลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มี อะไร บ้าง

Isuzu

ค่า ลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มี อะไร บ้าง

Honda

ชื่อนามสกุล

หมายเลขโทรศัพท์

เจ้าหน้าที่ของแรบบิท แคร์ หรือ เอเชียไดเร็ค อินชัวรันส์ โบรคเกอร์* จะติดต่อกลับหาคุณภายใน 24 ชม.
หมายเหตุ *บริษัท เอเชียไดเร็ค อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด เป็นบริษัทในเครือของแรบบิท แคร์

Δ

  

ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี

ประกันบำนาญลดหย่อนภาษี

ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี

ประกันออมทรัพย์

ลดหย่อนภาษี

ค่า ลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มี อะไร บ้าง

บทความประกันชีวิต

ค่า ลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มี อะไร บ้าง

ประกันชีวิต

ดูแลแผลรอยสักอย่างไร ให้ปลอดภัย ไม่เป็นอันตราย!

หากย้อนกลับไปในอดีต รอยสักอาจเป็นหนึ่งในเรื่องของความเชื่อ บางคนเชื่อว่าการสักจะช่วยเสริมดวงชะตา หรือช่วยในเรื่องคาถาอาคมต่าง ๆ แต่ในปัจจุบัน

คะน้าใบเขียว

25/11/2022

ค่า ลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มี อะไร บ้าง

ประกันชีวิต

วิธีออมเงิน มนุษย์เงินเดือน! ออมเงินด้วยการซื้อประกัน ได้ทั้งเงินเก็บ ได้ทั้งความคุ้มครอง

วางแผนออมเงิน ซื้อประกันเงินออม

Watcharaporn Phinyo

23/11/2022

ค่า ลดหย่อน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา มี อะไร บ้าง

ประกันชีวิต

เช็กลิสต์! ปีชง 2566 ปีนักษัตรไหนบ้าง? ต้องรีบแก้ปีชง เสริมดวง

เตรียมนับถอยหลังเข้าสู่ปีพุทธศักราชใหม่ในอีกไม่กี่วัน อีกสิ่งหนึ่งที่สายมูไม่ควรพลาดเตรียมความพร้อมรับมือก็คือ “ปีชง”

ลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา มีอะไรบ้าง

รายการลดหย่อนภาษี ปี 2565 ฉบับคนโสดแบบเฉิดฉาย! ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร 60,000 บาท ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท ค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 คนละ 60,000 บาท

ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2564 มีอะไรบ้าง

สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 มีอะไรบ้าง?.
1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว และครอบครัว ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ... .
2. ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน ประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี ... .
3. ค่าลดหย่อนอหังสาริมทรัพย์ ... .
4. ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค ... .
5. ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ.

ลดหย่อนตัวเอง ได้กี่บาท

(1) กรณีบุคคลธรรมดา หรือผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี 1. ผู้มีเงินได้60,000 บาท 2. คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท 3. ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท