เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons Licence: CC) เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งพัฒนาโดย Hewlett Foundation study องค์กรไม่แสวงกำไรองค์กรหนึ่งที่เน้นงานด้านกฏหมาย

เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร

วัตถุประสงค์ของสัญญานี้เพื่อให้เจ้าของผลงานอันมีลิขสิทธิ์สามารถแสดงข้อความอันอำนวยความสะดวกให้สาธารณชนรู้ถึงสิทธิ์ในผลงาน และทราบว่าจะนำงานอันมีลิขสิทธ์ของตนไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตและไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยผู้ที่นำผลงานไปใช้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น อ้างอิงแหล่งที่มา ไม่ใช่เพื่อการค้า ไม่ดัดแปลงต้นฉบับ เป็นต้น รายละเอียดของแต่ละสัญญาอนุญาตนั้น ขึ้นอยู่กับรุ่นของสัญญา และประกอบไปด้วยตัวเลือกจากเงื่อนไข 4 เงื่อนไข โดยได้มีการจัดทำสัญลักษณ์เงื่อนไขเป็น 4 ประเภท ซึ่งเครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย (http://cc.in.th) ได้ถอดความและนำสัญลักษณ์ 4 เงื่อนไขนั้นมากำหนดสัญญาอนุญาต ทำได้โดยการระบุเงื่อนไงร่วมกันได้ใน 6 แบบ ดังนี้

  • Attribution CC – BY ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา
    เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร
  • Attribution CC – BY -SA ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มาและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตเดียวกัน
    เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร
  • Attribution CC – BY -ND ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง
    เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร
  • Attribution CC- BY -NC ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มาแต่ ห้ามใช้เพื่อการค้า
    เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร
  • Attribution CC- BY – NC – SA ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน
    เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร
  • Attribution CC- BY – NC -ND ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา โดยห้ามดัดแปลง ห้ามใช้เพื่อการค้า
    เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร

แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมเข้าได้ที่ http://creativecommons.org/about/downloads

Related content:

  1. ห้องสมุดทหารที่ Bundeswehr University Munich
  2. พระราชวังฟงแตนโบล
  3. ศาลาแก้วกู่
  4. สุเหร่า มูฮัมหมัด อาลี ปาชา (Mosque of Muhammad Ali Pasha)
  5. สาระความรู้สีย้อมไหมจากธรรมชาติ อพ.สธ. คลองไผ่
  6. ห้องสมุดสถาบันพระปกเกล้า
  7. หอภาพยนตร์
  8. แม่น้ำโดรู (Douro) แม่น้ำ 2 ประเทศ
  9. พิพิธภัณฑ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
  10. ศูนย์อนุรักษ์สัตว์ทะเล Scarborough
Better Related Posts Plugin

Number of View :244436

เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร

ประเด็น “ลิขสิทธิ์” เป็นประเด็นหนึ่งที่ได้รับการตอบรับสูงมากในสังคมไทย และสังคมโลก พร้อมกับการก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้เผยแพร่รวมทั้งสืบค้นเพื่อใช้งานเนื้อหา ภาพ สื่อต่างๆ ได้ง่าย ความเสี่ยงจาก “ลิขสิทธิ์” จึงเกิดได้เร็ว ความเชื่อที่ว่า “เราเคยใช้เนื้อหา ข้อความ ภาพใดๆ ได้” พูดลบล้างลงไป เพราะกรณีฟ้องร้องการละเมิดลิขสิทธิ์มีเพิ่มขึ้น

ดังนั้นการให้ความสำคัญกับ “ลิขสิทธิ์” จึงมีความจำเป็นมาก ทั้งในฐานะผู้ใช้งาน และผู้สร้างสรรค์ ผู้ใช้งานควรทราบว่าผลงานทุกชิ้นที่ถูกสร้างสรรค์กฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้อัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปทำเรื่องขอจดทะเบียนแต่อย่างใด (ไม่เหมือนประเด็นเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตร” ดังนั้นก่อนใช้งานข้อความ ภาพ สื่อใดๆ ควรตระหนักถึงประเด็นนี้ และเลือกใช้อย่างถูกต้อง คือ มีจดหมายขอใช้อย่างเป็นทางการ ใช้งานเมื่อได้รับการตอบรับอย่างเป็นทางการ มีการอ้างอิงที่มาที่ชัดเจน หรือใช้งานตามหลักการใช้งานที่เป็นธรรมอย่างเหมาะสม

ในส่วนผู้สร้างสรรค์ ก็ควรเก็บต้นฉบับผลงานตนเอง ลงข้อมูลการสร้างสรรค์ให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานของตน โดยผลงานดังกล่าวจะได้รับสัญญาอนุญาต “สงวนลิขสิทธิ์ : Copyright” ทันที

แต่ในปัจจุบันมีผู้สร้างสรรค์หลายราย มองว่าต้องการสร้างสรรค์ผลงานให้กับทุกคนในโลก จึงเกิดสัญญาอนุญาต “สมบัติสาธารณะ : Public Domain” ดังเช่น Clipart จากเว็บ http://openclipart.org/

อย่างไรก็ดี ความต้องการของผู้สร้างสรรค์ก็ยังไม่จบด้วยสองสัญญาอนุญาตดังกล่าว ผู้สร้างสรรค์บางรายต้องการสร้างสรรค์ให้ทุกคนในโลก แต่ไม่ต้องการให้นำไปปรับแต่ง ไม่ต้องการให้นำไปหากำไร จึงเกิดสัญญาอนุญาตรูปแบบใหม่ เรียกว่า Creative Commons ครีเอทีฟคอมมอนส์

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิอื่นๆไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลากรูปแบบ ซึ่งรวมถึง การยกให้เป็นสาธารณสมบัติหรือสัญญาอนุญาตแบบเปิดทั้งหลาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ ทั้งนี้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบ่งได้เป็น 6 ชนิดใหญ่ดังนี้

  • อ้างอิงแหล่งที่มา (CC-BY)
    เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร
  • อ้างอิงแหล่งที่มา ให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-SA)
    เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร
  • อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลง (CC-BY-ND)
    เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร
  • อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC)
    เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร
  • อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-NC-SA)
    เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร
  • อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลง (CC-BY-NC-ND)
    เราสามารถใช้งานสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ได้อย่างไร

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ พัฒนาขึ้นมาโดย ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงกำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต ก่อตั้งโดย ลอว์เรนซ์ เลสสิก

นอกจากนี้สัญญาครีเอฟทีฟคอมมอนส์ก็ถูกนำมาปรับใช้ในภาษาไทย โดยความร่วมมือของ สำนักกฎหมายธรรมนิติ สถาบัน ChangeFusion และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรองรับตามหลักเกณฑ์ครีเอทีฟคอมมอนส์ รุ่น 3.0 และปรับให้เข้ากับกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย จึงสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมายไทย ประกาศเปิดตัวเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นลำดับที่ 51 ของโลก