การอนุรักษ์ศิลปะไทย มีอะไรบ้าง

ทำอการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
 ศิลปวัฒนธรรมไทย  แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์มาช้านาน   เป็นประเทศที่มีความเป็นอิสระทางความคิด บุคคลในประเทศมีความสงบสุข  รัก สามัคคี จึงเกิดมีศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เป็นระเบียบแบบแผน มีความเป็นมา มีคุณค่า วิธีการที่มีความสำคัญ ทุกคนแม้แต่ชาวต่างชาติเห็นแล้วรู้ทันทีว่า นี่คือ  “ประเทศไทย” 
 แนวทางการปลูกฝังให้ผู้เรียนหรือทุกคนได้มีจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ควรมีแนวทาง  ดังนี้
1. ศึกษาความเป็นมา  ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นจะต้องมีประวัติ ความเป็นมาโดยเฉพาะสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ด้วยความประณีตแล้วจะต้องมีความเป็นมา มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นศิลปที่งดงาม วัฒนธรรมที่ทุกคนยอมรับเห็นแล้วเกิดความภาคภูมิใจ เช่น ศิลปะด้านการขียนภาพ การสร้างบ้านทรงไทย  วัฒนธรรมการไหว้  การรับประทานอาหาร  เป็นต้น
2. ศึกษาคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมไทย ไม่ว่าจะเป็นศิลปหรือวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจนเป็นเอกลักษณ์ ต้องมีคุณค่าที่ชัดเจนหรือคุณค่าแฝงอยู่มากมาย เช่น วัฒนธรรมการไหว้  ประเพณีสงกรานต์  ศิลปะแต่ละสมัย
3. ศึกษาวิธีการ  ของศิลปะและวัฒนธรรมให้เข้าใจ ปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักการที่วางไว้  อย่าให้ผิดเพี้ยนจะเกิดความเสียหาย  เช่นการไหว้ที่ถูกต้อง แต่ละสถานการณ์ แต่ละบุคคลทำอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร  เป็นต้น
การที่จะอนุรักษ์วัฒนธรรมและความเป็นไทยนั้นต้องสร้างและจัดกิจกรรมที่จะฝึกให้ผู้เรียนได้ศึกษาความเป็นมาอย่างท่องแท้  รู้ถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยและศึกษาวิธีการให้เข้าใจ ปฏิบัติให้ถูกต้อง ผู้เรียนจะมีความภาคภูมิใจในศิลปะ วัฒนธรรม และความเป็นไทยอย่างมีจิตสำนึก บนพื้นฐานความภาคภูมิใจตลอดไป

ย่างไรให้เด็กไทยหันมาสนใจศิลปวัฒนธรรมไทย

ทำอการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

ศิลปวัฒนธรรมไทย แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์มาช้านาน เป็นประเทศที่มีความเป็นอิสระทางความคิด บุคคลในประเทศมีความสงบสุข รัก สามัคคี จึงเกิดมีศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เป็นระเบียบแบบแผน มีความเป็นมา มีคุณค่า วิธีการที่มีความสำคัญ ทุกคนแม้แต่ชาวต่างชาติเห็นแล้วรู้ทันทีว่า นี่คือ “ประเทศไทย”

แนวทางการปลูกฝังให้ผู้เรียนหรือทุกคนได้มีจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ควรมีแนวทาง ดังนี้

1. ศึกษาความเป็นมา ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นจะต้องมีประวัติ ความเป็นมาโดยเฉพาะสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ด้วยความประณีตแล้วจะต้องมีความเป็นมา มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นศิลปที่งดงาม วัฒนธรรมที่ทุกคนยอมรับเห็นแล้วเกิดความภาคภูมิใจ เช่น ศิลปะด้านการขียนภาพ การสร้างบ้านทรงไทย วัฒนธรรมการไหว้ การรับประทานอาหาร เป็นต้น

2. ศึกษาคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมไทย ไม่ว่าจะเป็นศิลปหรือวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจนเป็นเอกลักษณ์ ต้องมีคุณค่าที่ชัดเจนหรือคุณค่าแฝงอยู่มากมาย เช่น วัฒนธรรมการไหว้ ประเพณีสงกรานต์ ศิลปะแต่ละสมัย

3. ศึกษาวิธีการ ของศิลปะและวัฒนธรรมให้เข้าใจ ปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักการที่วางไว้ อย่าให้ผิดเพี้ยนจะเกิดความเสียหาย เช่นการไหว้ที่ถูกต้อง แต่ละสถานการณ์ แต่ละบุคคลทำอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร เป็นต้น

การที่จะอนุรักษ์วัฒนธรรมและความเป็นไทยนั้นต้องสร้างและจัดกิจกรรมที่จะฝึกให้ผู้เรียนได้ศึกษาความเป็นมาอย่างท่องแท้ รู้ถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยและศึกษาวิธีการให้เข้าใจ ปฏิบัติให้ถูกต้อง ผู้เรียนจะมีความภาคภูมิใจในศิลปะ วัฒนธรรม และความเป็นไทยอย่างมีจิตสำนึก บนพื้นฐานความภาคภูมิใจตลอดไป

การอนุรักษ์

7.1 ความเป็นมาในการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทย

      ปรากฏการณ์ท่เกิดขึ้นในสังคมไทยมีมากมายหลายเหตุการณ์ ที่คนทั่วไปมองว่าเป็นเรื่องปกติแต่สำหรับคนไทยที่มีความรักและหวงแหนในศิลปวัฒนธรรมไทยซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาของชาติแล้วนับว่าเป็นเรื่องไม่ปกติ เป็นเสมือนสัญญาณเตือนถึงอันตรายที่กหลังคุกคามสังคมไทยอยู่ เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นในยุคของการพัฒนาเทคโนโลยีก้าวหน้า ยุคหารสือสารไร้พรมแดน ท่ามกลางกระแสความนิยมนวัฒกรรมต่างชาติที่พัดโหมกระหน่ำรุนแรงเข้าสู่สังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมจากซีกโลกตะวันตก วัฒนธรรมจากประเทศญี่ปุ่น ประเทศเหาหลีใต้ ได้หลั่งไหลเข้ามาครอบงำและมีอิทธิพลต่อคนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน มีการเปลี่ยนแปรงพฤติกรรมการแสดงออก พฤติกรรมการบริโภค

7.2 ความหมายขแงศิลปวัฒนธรรม

      ศิลปะ เผ็นผลงานของมนุษย์ มีจุดมุ่งหมายในการสร้างสรรค์ แสดงออกถึงความงาม ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการด้านจิตใจ ให้มนุษย์เห็นคุณค่าขแงความงดงาม มีอารมณ์เพลิดเพลิน ค้นพบความสุขของชีวิต

วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์คอดสร้างขึ้น มีทั้งที่เป็นรูปธรรม นามธรรม แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ ความสามัคคี รวมถึงศิลปะอันดีของคนในชาติ

7.3 ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและศิลปวัฒนธรรม

 วัฒนธรรม

      1. วอถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและสภาพของสังคมนั้นๆ

      2. เป็นสิ่งที่ดีงาม งดงาม เจริญก้าวหน้า และมีคุณค่าต่อคนในสังคม

      3. เป็ยสิ่งที่สามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้ตลอดเวลาตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสภาพสังคม

 ศิลปวัฒนธรรม

      1. เป็นวัฒนธรรมเชิงศิลปะ (ศิลปะคือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม)

      2. เป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจากวัฒนธรรม เป็นภาพสะท้อนของวัฒนธรรม

      3. อาจมีรูปแบบมที่เป็นวัตถุหรือเป็นปรากฏการณ์ที่เหลือตกทอดสู่คนรุ่นหลังขณะที่วัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

      4. เป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม แสดงออกถึงวิธีการดำเนินชีวิตและความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมแต่ละสมัย

7.4 ประเภทของศิลปะไทย

   ศิลปะไทยซึ่งแบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ จิตรกรรมไทย ประติมากรรมไทย สถาปัตยกรรมไทย มีรายละเอียดดังนี้

จิตรกรรมไทย 

   จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทยที่แตกต่างจากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ลายไทยเป็นส่วนประกอบของภาำเขียนไทย ใช้ตกแต่งอาคารสิ่งของเครื่องใช้เครื่องประดับฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันโดยนำเอารุปร่างจากธรรมชาติมาประกอบ

เช่น ลายกนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้น แบ่งออกได้ 2 แบบคือ

        1. จิตรกรรมแบบประเพณีเป็นศิลปะที่มมีความประณีตสวยงาม แสดงความรู้สึก ชีวิต จิตใจ และความเป็นไทยที่มีความอ่อนโยน ละมุนละไม สร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต ส่วนใหญ่นิยมเขียนผระดับผนังพระอุโบสถ พระวิหารอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับประกอบพิธีทางศาสนา

        2. จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย เป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของโลกสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่งอย่างมีคุณค่าเช่นเดียวกัน

ประติมากรรมไทย

   ประติมากรรมไทย หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธีการปั่น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าดป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ สัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์ กระดูก ฯลฯ ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำและนูนสูงมักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั่น ลวดลายแกะสลักประด้บตามอาคารบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งประติมากรรมแบบลอยตัวด้วย

สถาปัตยกรรม

   สถาแตยกรรม หมายถึง ศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วอหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ มักเป็น สถูป เจดีย์ วิหาร โบสถ์ หรือพระราชวัง แบ่งได้ 2 ปนะเภทคือ 

        1. สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนัก วัง เป็นต้น บ้านเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน เรือนไม้ของไทยในแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะแตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะสำคัญร่วมกัน คือเป็นเรืแนไม้ชั้นเดัยว ใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่วเอียงลาดชัน ส่วนตำหนักและวังเป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือใช้เรียกที่ประทับชั้นรองของพระมหากษัตริย์ สำหรับพระราชวังเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระที่นั่ง เป็นอาคารที่มีท้องพระโรงซึ่งมีที่ประทับสำหรับออกว่าราชการหรือกิจการอื่น

        2. สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น วัด โบสถ์ วิหาร กุฏิ หอไตร หอระฆังและหอกลอง สถูป เจดีย์ เป็นต้น

7.5 ลักษณะของวัฒนธรรมไทย

      สังคมไทยเป็นสังคมพุทธ มีการนับถือกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก วัฒนธรรมไทยจึงมีรูปแบบเป็นของตนเอง เป็นเอกลักษณ์ของไทยมีลักษณะดังนี้

วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม

     วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม เรียกว่า วัตถุธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เครื่องแต่งกาย อาหาร บ้านเรือน เครื่องมือเครื่องใช้ สิ่งประดิษฐ์ทุกอย่าง รวมถึง วัตถุทางศิลปกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ได้แก่ วัด วิหาร เจดีย์ และพระพุทธรูป

วัฒนธรรมด้านศิลธรรม

    วัฒนธรรมด้านศิลธรรม เรียกว่า คติธรรม เป็นจารีตประเพณีซึ่งคนในสังคมยึดถือเป็นหลักในการดำเนินชีวิต

วัฒนธรรมด้านกฏหมาย

    วัฒนธรรมด้านกฏหมาย เรียกว่า เนติธรรม กฏหมายของไทยที่บัญญัติขึ้นก็อาศัยหลักการของพระพุทธศาสนาด้วย ทำให้มีความเป็นระเบียบวินัยและเคารพในสิทธิของผู้อื่น เช่น คำสอนเรื่องศิล 5 แต่การกระทำบางอย่างอาจไม่ได้บัญญัติเป็นกฏหมาย แต่ได้มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นขนมธรรมเนียมประเพณีของไทย

วัฒนธรรมด้านสังคม

    วัฒนธรรมด้านสังคม เรียกว่า สหธรรม เป็นการติดต่อสื่อสาร เกี่ยวข้องกันของคนในสังคมโดยกำหนดเป็นมารยาททางสังคม เช่นการ พูด การใช้ภาษาการรับประทานอาหาร การแสดงความเคารพ รวมถึงมีคุณธรรม

7.6 ความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมศิลปวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อคนไทยและสังคมไทยหลายประการ

        1. เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชนชาติและของเผ่าพันธุ์ท้องถิ่น

        2. เป็นเครื่องที่แสดงถึงเกียรติและความภาคภูมิใจของคนในท้องถิ่นและของคนในชาติทำให้เกิดความรัก หวงแหน เห็นคุณค่า

        3. เป็นเคร่องกล่อมเกลาจิตใจของมนุษย์ ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขในสังคม

        4. เป็นเครื่องช่วยก่อให้เกิดความสามัคคี เป็นอันเดียวกันของคนในชาติ เกิดเป็นความมั่นคงของชาติ

        5. เป็นเครื่องแสดงถึงบุคลิกลักษณะประจำชาติและดำรงความเป็นชาติไทย

        6. เป็นเครื่องที่แสดงถึงความเจริญและเชิดชูเกียรติของบุคคลและของชาติ

        7. เป็นหลักฐานที่มีประโยชน์ด้านการศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อการเผยแพร่ การสืบทอดและการนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต นำไปสู่การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

        8. เป็นเครื่องมือในการช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนานาชาติ ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้วัฒนธรรมของอีกฝ่าย แล้วนำมาปรดยุกต์ใช้ในสังคมไทยต่อไป

7.7 แนวทางการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม

    ศิลปวัฒนธรรมจัดเป็นองค์ประกอบสำคัญของชาติและประชาชนทุกคน ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมที่สืบทอดฟต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความเป็นไทย ก่อให้เกิดความรัก ความผูกพัน เป็นพลังสร้างสรรค์ หล่อหลอมคความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติบ้านเมือง และยังเป็นเครื่แงปสดงถึง เอกลักษณ์ เกียรติภูมิ ศักดิ์ศรี ความสง่างามของประเทศชาติ โดยรวมในระดับประเทศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยเรื่อง ศิลปวัฒนธรรม

7.8 การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม

    ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญและรัฐบาลประกาศถึงภาระหน้าที่ที่ต้องอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมนั้นต้องอาศัยความรวมมือกันของคนไทยทุกคน ทั้งระดับบุคคล สมาคม องค์กร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมีนโยบายและจัดกิจกรรม

     1. ศึกษา ค้นคว้า และการวอจัยวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้ทราบความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้

     2. ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่นๆอย่างเหมาะสม

     3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม ว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน การบริหารความรู้ วิชาการ และทุนทรัพย์ สำหรับจัด  กิจกรรมทางวัฒนธรรม

     4. ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในประเทศและระกว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน

     5. สร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่สริมสร้าง ฟื้นฟูและดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติและมีผลโดยตรงต่อความเป็นอยุ่ของทุกคน

     6. จัดทำระเบียบเครือข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์หลางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงาน เพื่อให้ผระชาชนเข้าใจและสามารถเลือกสรร ตัดสินใจ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการกำเนินชีวิต ทั้งนี้สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากขึ้นด้วย

7.9 การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย

การค้นคว้าวิจัย

    การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้ความรู้ความเป็นมาในอดีตและสภาพการณ์ในปัจจุบัน

การอนุรักษ์

    การอนุรักษ์ โดยการปลูกจอตสำนึกให้คนในท้องถิ่น ตระหนักถึงคุณค่า แก่นสาระ และความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนในท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะบต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภาคภูมิใจในชุมชนท้องถิ่น

การฟื้นฟู

    การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหายไปแล้วมาทำใฟ้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจรอยธรรม คุณธรรม และค่านิยม

การพัฒนา

    การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้ดหมาะสมกับยุคสมัย และเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหารตลาดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การถ่ายทอด

   การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมา เลือกสรร กลั่นกรอง ด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้านและถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ

ส่งเสริมกิจกรรม

   ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

การเผยแพร่ แลกเปลี่ยน

   การเผยแพร่ แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวางด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวางรวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น

   การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้านและผู้ดำเนินงาน ให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่มีการยกย่อง ประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่างๆ

7.10 บทบาทและหน้าที่ของกระมหากษัตริย์ในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

   พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย คือ การเป็นประมุขของรัฐ ซึ่งมีบทบาทเสมือนสัญลักษณ์ที่มีชีวิตของประเทศ บทบาทด้านการพัฒนาคุณภาพของประชาชน และบทบาทด้านการธำรงรักษาความเป็นไทยไว้สืบไป

   ศิลปวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญของคนในชาติโดยเฉพาะความเป็มนุษย์ที่มีจิตใจดีงาม มีความคิดทางสังคมที่เป็นระเบียบแบบแผน และมีความสามารถในเขิงช่างที่สร้างสรรค์ศิลปกรรมแขนงต่างๆ ส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นปัจจัยสำคัญที่ชี้นำ ทำนุบำรุง และปกป้องศิลปวัฒนธรรม อันเป็นเครื่องแสดงความเป็นชาติไว้สืบทอดต่อไปถึงคนรุ่นหลังด้วยเหตุนี้ บูรพกษัตริย์ของไทยในอดีตจึงทรงมีพระราชกรณียกิจทางศิลปวัฒนธรรมที่เป็นทิศทางเดียวกัน คือ การอนุรักษ์ของเก่าที่มีอยู่ การฟื้นฟูสิ่งที่กำลังจะสูญหาย และการสร้างสรรค์ของใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาจากรากฐานที่มั่นคง

7.11 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะ "อัครศิลปิน"

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีบทบาทด้านงานศิลปะในฐานะอัครศิลปินด้วยผลงานศิลปะอันทรงคุณค่ามาอย่างต่อเนื่องและหลากหลายสาขา ทั้งในด้านทัศนศิลป์ วรรณศิลป์และนฤมิตศิป์ ทรงศึกษา ค้นคว้า และสร้างสรรค์ผลงานด้วยพระองค์เองมาตั้งแต่ยังทรงเยาว์ และเริ่มมีผลงานศิลปกรรมฝีพระหัตถ์ เผยแพร่สู่สาธารณะชน ตั้งแต่พุทธศักราช 2489 ด้วยบทเพลงพระราชนิพนธ์และภาพถ่ายฝีพระหัตถ์จำนวนมาก ต่อมาได้ทรงงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ รวมกว่า 100 องค์ เรือใบฝีพระหัตถ์อีกหลายลำ และพระราชนิพนธ์อีกหลายเรื่อง นับแต่พุทธศักราช 2511 เป็นต้นมา

7.12 อัครภิรักษศิลปิน "ราชนี" ผู้ทรงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย

   นับตั้งแต่ทรงเป็น "คู่พระบารมี" สมเด็จพระนาเจ้าฯ พระบรมราชนีนาถ ทรงบไเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ ทรงตรากตรำพระวรกายเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยือนราษฎรในพื้นที่ทุรกันดาร ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อสนองพระราชดำริในโครงการพัฒนาต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศรวมทั้งได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของราษฎรอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด

เมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม 2519 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมชินีนาถ เพื่อช่วยเหลือราษฎรผู้ยากไร้ให้มีรายได้หลักและมีรายได้เสริมจากงานหัตถกรรม เมื่อเกิดภาวะน้ำท่วมหรือแห้งแล้ง ทำการเกษตรไม่ได้ผล มีการฟื้นชีวิตผ้าทอมือไทยที่กำลังจะญหายพร้อมกับพัฒนาฐานะแลดคุณภาพชีวิตราษฎรไทยทุกภมิภาคมาจวบจนปัจจุบัน

7.13 วันอุรักษ์มรดกไทย

    วัน "อนุรักษ์มรดกไทย" เทิดพระเกียรติฯ พระผ้เป็นประทีปแห้งศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย คือ วันที่ 2 เมษายนของทุกปี เผ็นวันคอบรอบหรือวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี พระผู้มีพระราชจริยวัตรที่งดงาม ทรงเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของพระราชบิดา พระผู้เป็นพลังของแผ่นดิน พระผู้ทรงเป็นที่รักและเทดทูนยิ่งของปวงพสกนิกรชาวไทย

วันอนุรักษ์มรดกไทย จึงสมควรเป็นวันที่พสกนิกรชาวไทย ที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ควรเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท มีส่วนรวมในการอนุรักษ์และป้องกัน รักษาวัฒนธรรมของชาติตลาดจนร่วมกันรักษาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้สืบทอดและปลูกฝังค่านิยมที่งดงามของไทยสร้างความภาคภูมิใจให้กับเด็กและเยาวชนคนรุ่นปัจจุบันให้หันมาใส่ใจและมีส่วนร่วมกันเป็นพลังในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้ยั่งยืนตลอดไป

7.14 ตัวอย่างวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมด้านภาษา

    ภาษาเป็นสิ่งแสดงถึงความยิ่งใหญ่ ความเป็นเอกลักษณ์และเอกราชของชาติไทย และคนไทยโชคดีที่มีภาษาไทยเป็นของตนเองมาตั้งแต่อดีต ภาษาเป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่ายิ่ง ใช้ในการสื่อสาร ความรู้สึกแสดงความรู้สึกนึกคิดสื่อให้เห็นความงดงามทางภาษา เช่น วรรณกรรม วรรณคดี ประเทศไทยมีภาษาที่ใช้สื่อสารเป็นทางการ คือ ภาษากลาง ส่วนในภูมิภาคอื่นๆ จะมีภาษาท้องถิ่นใช้เฉพาะตนเป็นภาษาพูดที่มีสำเนียงแตกต่างกัน เข่น ภาษาเหนือใช้ภาษาล้านนา (อู้กำเมือง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ภาษาอีสาน (เว้าอีสาน)ส่วนในภาคใต้ก็ใช้ภาษาใต้ (แหลงใต้) นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นทั่วทุกภูมิถาคของประเทศ

วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย

   วัฒนธรรมการแต่งกายของคนนไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย มีการรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามา ทำให้หารแต่งกายแบบอดีตเริ่มเลือนหายไป ปัจจุบันคนไทยที่อาศัยอยู่ในเมือง นิยมแต่งกายตามแบบชาวยุโรป ส่วนคนไทยที่อาศัยในชนบท ยังมีการแต่งกายในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค เช่น

ภาคเหนือ 

หญิง นิยมนุ่งซิ่นหรือผ้าถุง อาจทำจากผ้าทอมือ ฝ้ายหรือไหม 

ชาย สวมเสื้อม่อฮ่อม กางเกงขาสามส่วน

ภาคกลาง

หญิง นุ่งผ้าซิ่น ห่มสไบเฉียง เสื้อแขนยาวกระบอก ผมเกล้าเป็นมวย สวมเครื่องประดับ

ชาย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อราชปะเตน ไว้ผมทรงมหาดไทย

ภาคตะวันแแกเฉียงเหนือ

มีการทอผ้าหลายแบบ ทั้งผ้าทอพื้นเมือง ผ้าฝ้าย ผ้าลายขิด ผ้าไหมแพรวา ผ้ามัดหมี่ ผ้าไหมที่มีคุณภาพดี

หญิง นุ่งผ้าซิ่นหรือผ้าถุง

ชาย นิยมใช้ผ้าขาวม้าสำหรับพาดบ่าหรือพูกเอว โพกศีรษะ

ภาคใต้ แบ่งอแกเป็น 3 กลุ่มชน ได้แก่

กลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน มาลายู 

เรียกว่า ยะหยา การแต่งกาย ใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ เอว และปลายแขน นุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ

กลุ่มชาวไทยมุสลิม

หญิง มีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลินหรือผ้าลูกไม้ตัวยาวแบบมาลายู นุ่งซิ่นปาเต๊ะหรือซิ่นทอแบบมาลายู

ชาย ใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาวและมีผ้าโสร่งผืนสั้น เรียกว่าผ้าซองเก็ตพันรอบเอว ชุดลำลองบจะใส่โสร่งลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถักหรือเย็บด้วยผ้ากำมะหยี่

กลุ่มชาวไทยพุทธ

หญิง นิยมนุ่งผ้าซิ่นทอยกอันสวยงาม ใส่เสื้อคอกลมสีอ่อน แขนสามส่วน

ชาย นุ่งกางเกงชาวเล สวมเสื้อผ้าฝ้ายและมีผ้าขาวม้าพูกเอวหรือพาดบ่า

      สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงคิดค้นต้นแบบชุดสตรีประจำชาติไทย ชื่อ ชุดไทยำระราชนิยมทั้ง 8 แบบ ได้แก่ ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยศิวาลัย ชุดไทยอมรินทร์ ชุดไทยบรมพิมาน ชุดไทยจักรี ชุดไทยดุสิตและชุดไทยจักรพรรดิ ซึ่งสตรีไทยยึดใช้สำหรับประกอบพิธีต่างๆมาจนปัจจุบัน

มารยาทไทย : การไหว้

  การไหว้เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ บ่งบอกถึงความเป็นไทย ดังนั้นคนไทยจึงควรฝึกฝนปฏิบัติให้ถูกต้อง งดงาม

มารยาท หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผนอันเหมาะสมตามกาลเทศะ

วัฒนธรรมด้านอาหาร

  อาหารไทย แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยมาช้านาน มีข้าวเป็นอาหารหลักอาจเป็นข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ซึ่งไทยมีข้าวที่มีชื่อเสียงและคุณภาพดีที่สุดในโลก 

ข้อใดเป็นวิธีอนุรักษ์ผลงานศิลปะไทย

- การการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน เพื่อเป็นที่รวบรวมตัวอย่างศิลปกรรมที่มีคุณค่าเพื่อการศึกษาเปรียบเทียบ และเผยแพร่คุณค่าของศิลปกรรม - การจัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อน เป็นการสร้างความสำคัญทำให้ผู้คนในท้องถิ่นเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญที่จะอนุรักษ์โบราณสถาน

การอนุรักษ์ศิลปกรรมของชาติคือทำอย่างไร

Q : การอนุรักษ์ศิลปกรรมของชาติ คือ ทำอย่างไร 1. แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเมื่อพบโบราณวัตถุ 2. ไม่เก็บหรือนำสิ่งใด ๆ ออกจากโบราณสถาน 3. ศึกษาและหาความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของชาติ 4. ถูกทุกข้อ

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง

รักษา โดยให้ความสำคัญกับงานศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ดีงามอันเป็นมรดกของชาติให้คงอยู่ เช่น การบูรณะปฏิสังขรโบราณสถานและจิตรกรรมฝาผนัง เป็นต้น โดยให้ความร่วมมือและสนับสนุนภาครัฐเช่น กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร วัดวาอารามต่างๆ ต่อยอด