การฝึกละครสร้างสรรค์มีกี่ประการ

ละครสร้างสรรค์ โดย ครูตี๋ ภานุวัฒน์ ทิมเกลี้ยง รายวิชานาฏศิลป์ ศ32010 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ประวัติ ละครสร้างสรรค์

ประวัติละครสร้างสรรค์ แต่เดิมนั้นละครสร้างสรรค์เป็นการเล่นของเด็กๆไม่มีรูปแบบตายตัว เป็นการแสดงบทบาทสมมุติ จากสถานการณ์ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน เช่น เด็ก ๆ เล่นขายของ เล่นเป็นครู-นักเรียน ตำรวจจับผู้ร้าย เป็นต้น ในบางครั้งจะดูเหมือนเด็กจะเล่นในแบบซ้ำ ๆ โดยไม่มีการดำเนินเรื่องที่ชัดเจน

ละครสร้างสรรค์ (Creative Drama) เป็นรูปแบบการเล่นบทบาท สมมุติที่ได้ผ่านกระบวนการจัดเตรียมข้อมูลและวางแผนการเล่นให้ เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้ร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้ ร่วมกิจกรรมสามารถรับประโยชน์สูงสุดจากการเล่นโดยที่ยังรักษาไว้ ซึ่งธรรมชาติของ “การเล่น” เอาไว้เป็นอย่างดี กล่าวคือการเล่นละครสร้างสรรค์นั้นไม่เหมือนกับการแสดงละครเวที

ละครสร้างสรรค์ คืออะไร ?

คือ ละครที่ไม่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องจัดแสดงบนเวที เป็นการแสดงบทบาทสมมุติเลียนแบบ สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อความบันเทิงและพัฒนาจิตใจ

การเล่นขายของ

ละครสร้างสรรค์ อาจใช้ \"เรื่อง\" หรือ \"นิทาน\" เป็นจุดเริ่มต้นในการแสดง ซึ่งเรื่องที่ดีจะต้องมีโครงสร้างของเรื่องที่ดี คือมีการดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ ช่วยให้การแสดงมีทิศทางและมีความหมาย บางครั้งละครสร้างสรรค์ก็เริ่มจากแรงจูงใจอื่น เช่น ข้อเท็จจริง รูปภาพ วัสดุสิ่งของ บทเพลง ดนตรี บทกวี ปริศนา คำทาย เป็นต้น

องค์ประกอบ ของละครสร้างสรรค์

โครงเรื่องหรือเนื้อเรื่อง ตัวละคร ความขัดแย้ง สถานการณ์

โครงเรื่องหรือเนื้อเรื่อง จะต้องมีการวางโครงเรื่อง หรือเลือกเรื่องที่จะใช้แสดง เป็นเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน หรือเศร้า และมีการสอดแทรกข้อคิดต่างๆ

ตัวละคร ตัวละครในการแสดงจะต้องมีการกำหนดบุคคลิก ลักษณะของตัวละครให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเรื่อง และตัวละครอื่น ๆ ต้องเลือกบุคคลที่สามารถถ่ายทอด อารมณ์ และความรู้สึกของตัวละครตัวนั้นได้สมจริง

สถานการณ์ คือ เหตุการณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้น ทำให้ตัวละครต้อง พบเจอ ซึ่งเหตุการณ์จะต้องสัมพันธ์กัน มีคุณค่าในเนื้อเรื่อง เป็นสถานการณ์ที่ช่วยฝึกให้ผู้แสดงมีจิตนาการสร้างสรรค์ ในการแสดงได้

ความขัดแย้ง คือ สร้างปัญหาความขัดแย้งให้กับตัวละคร แบ่งเป็น 1. ความแค้นภายในจิตใจของตัวละครเอง 2. ความขัดแย้งของตัวละครและสิ่งรอบข้าง

กิจกรรมเพื่อใช้ฝึกเป็นพื้นฐาน ในการแสดง

กิจกรรมเพื่อใช้ฝึกเป็นพื้นฐานการแสดง การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเคลื่อนไหวตามจิตนาการ การใช้จังหวะเสียง การใช้บทบามสมมุติและภาษา

การพัฒนา ประสาทสัมผัส ทั้ง5 ได้แก่ การมองเห็น การได้กลิ่น การสัมผัส การได้ยิน รวมทั้งการลิ้มรส ประสาทสัมผัสทั้ง 5 นี้ มีความจำเป็น ต่อการพัฒนาด้านการแสดงเป็นอย่างยิ่ง นักแสดงสามารถฝึกทักษะได้ดังนี้

การมอง นักแสดงมองเห็นสิ่งต่าง ๆ แล้วสามารถแยกประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้

การฟัง นักแสดงแสดงฟัง เสียงต่าง ๆ แล้วสามารถบอกได้ว่าเป็น เสียงอะไร

การดมกลิ่น นักแสดงดมกลิ่นแล้ว สามารถบอกได้ว่าเป็นกลิ่นอะไร

การลิ้มรส นักแสดงลองปิดตาแล้ว ลิ้มรสอาหาร แล้วบอกว่าเป็นอะไร

การสัมผัส ให้นักแสดงหลับตาคลำสิ่งของต่าง ๆ แล้วบอกว่าของนั้นคืออะไร

การเคลื่อนไหว การแสดงไม่ใช่เพียงแค่อาศัยบทพูดเจรจาเพียงอย่าง ตามจินตนาการ เดียวที่จะใช้ในการสื่อสารความหมายหรือแสดงให้ เห็นอุปนิสัยใจคอ ยังมีการแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวเพื่อถ่ายทอดเรื่อง ราวต่าง ๆ ให้ผู้แสดงมีชีวิตชีวา ผู้แสดงจะจินตนาการโดยการใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือ เพื่อสื่อสารความหมายแทนคำพูด เช่น การฝึกละครใบ้

การใช้ จังหวะเสียง น้ำเสียงของผู้แสดงละครจะสื่อสารให้ผู้ชมเห็นถึงความรู้สึก นึกคิด อุปนิสัย จินตนการ และอารมณ์ของผู้แสดงแต่ละบทบาท รวมไปถึงคุณภาพของเสียงที่สอดคล้องกันกับจังหวะของการ เคลื่อนไหวไปตามบทบาทและจังหวะของการพูด

การใช้ บทบาทสมมุติ เมื่อผู้แสดงได้รับบทบาทใดแล้ว จะต้องพิจารณาบทบาทความรู้สึกนึกคิด ของตัวละครที่ได้รับ ว่าตัวละครนั้นมีบุคลิกท่าทาง อุปนิสัยอย่างไร จากนั้นผุ้แสดงละครจะต้องสำรวจให้เห็นถึงการกระทำที่เคยกระทำไป แล้วของตัวละครว่ามีอะไรบ้างที่ทำให้เกิดเรื่องราวต่าง ๆ ในเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตัวละครนั้น และมีอารมณ์ความรู็สึกอย่างไร ต่อเหตุการณ์นั้น รวมไปถึงต้องพิจารณาถึงยุคสมัยของเรื่องราวที่จะแสดง

ภาษา ผู้แสดงจะเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับตัวบทบาท เช่น ถ้าสวมบทบาทของตัวละครที่เป็นคนธรรมดา จะใช้ภาษา การแสดงที่เป็นภาษาธรรมดาที่ไม่เป็นทางการนัก หรือถ้าหากสวมบทบาทเป็นผู้ที่มีฐานันดรศักดิ์ ก็จำเป็น ต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการหรือราชาศัพท์ หรือการเลือกใช้ ภาษาตามยุคสมัย

ตัวอย่างการแสดง การใช้ภาษา และ บทบาทสมมุติ

การจัดการแสดงละคร BY ครูตี๋ ภานุวัฒน์ ทิมเกลี้ยง

โครงสร้าง * โครงเรื่อง ของละคร * การเริ่มเรื่อง * เหตุการณ์ปฐมบท * เหตุการณ์นำ * เหตุการณ์ตาม

โครงเรื่อง คือ การรวมเอาสถานการณ์และ เหตุการณ์ต่าง ๆ ในเรื่องที่มีความ สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ทั้งปัญหา จุดสนใจและสิ่งที่น่าตื่นเต้น การแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ไปจนถึงจุดจบของเรื่อง

การเริ่มเรื่อง เมื่อละครเริ่มแสดงจะต้องมีวิธีการนำเรื่องให้ผู้ชมทราบถึงเรื่องราวพอสังเขป เพื่อให้ผู้ชมดูละครด้วยความเข้าใจ และทราบว่าเป็นละครชนิดใด เกิดเหตุการณ์ใดขึ้น การเริ่มเรื่องจะประกอบไปด้วย ใคร ทำไม ที่ไหน เมื่อไหร่ ซึ่งการเริ่มเรื่องจะไม่ยาวนัก อาจมีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการเริ่มเรื่องเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจยิ่งขึ้น เช่น การพูดคุยกันทางโทรศัพท์ เล่า ตอนใดตอนหนึ่งของเรื่อง การแต่งตัว การจัดฉาก เป็นต้น

ปฐมบท หรือ เหตุการณ์เริ่มเรื่อง เหตุการณ์เริ่มเรื่องเป็นเหตุการณ์สำคัญเริ่มแรก ที่จะนำไปสู่เหตุการณ์อื่น ๆ ตลอดเรื่องว่าจะ เป็นอย่างไรต่อไป ถ้าหากมีการเริ่มเรื่องได้ดี ก็จะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้เป็น อย่างดี

เหตุการณ์นำ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อค่อย ๆ นำอารมณ์หรือเร้าอารมณ์ของผู้ชมให้ ตื่นเต้นจนไปถึงจุดสำคัญของเรื่อง

เหตุการณ์ตาม คือ เหตุการณ์หลังจากผ่านจุดสำคัญของเรื่อง ซึ่งทำให้ผู้ชมเกิดความตึงเครียดหรือตื่นเต้น นั้นได้ลดลง จนนำไปสู่เหตุการณ์ปกติ หรือไปสู่การปิดฉาก

โครงเรื่องที่ดีเป็นอย่างไร ?

โครงเรื่องที่ดีจะต้องพิจารณาได้ดังต่อไปนี้ เหตุการณ์ต่าง ๆ เด่นชัด สามารถสร้างความสนใจจากผู้ชมได้ดี ดำเนินเรื่องได้น่าสนใจ และมีความสัมพันธ์กัน เมื่อถึงตอนสำคัญของเรื่อง ไม่น่าเบื่อ ทำให้ผู้ชมเข้าใจถึงอารมณ์ การสร้างจุดจบของเรื่อง สร้างความน่าสนใจระหว่าง ของการแสดงได้ น่าสนใจและเหมาะสม ตัวละครกับเนื้อเรื่อง ได้อย่างเหมาะสม

บุคคล ที่มีหน้าที่สำคัญ ในการจัดการแสดง

7 หน้าที่บุคคลการจัดการแสดง 1. ผู้อำนวยการแสดง 2. ผู้กำกับการแสดง 3. ผู้กำกับเวที 4. ผู้เขียนบท 5. ผู้จัดการฝ่ายธุรการ 6. ฝ่ายเครื่องแต่งกายและแต่งหน้า 7. นักแสดง

ผู้อำนวยการแสดง คือ ผู้จัดการการแสดงหรือหัวหน้าคณะในการจัดการแสดง แต่ละครั้ง เป็นผู้กำหนดนโยบาย รูปแบบการแสดง เรื่องที่จะ นำมาแสดง การจัดสรรหน้าที่ของแต่ละฝ่ายดูแลงบประมาณ และเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่าง ๆ

ผู้กำกับการแสดง เป็นผู้ควบคุมการแสดงของผู้แสดงให้ สมบทบาทตามที่ได้กำหนดไว้ จัดการแสดงต่าง ๆ ของละครให้มี ความสมจริง

คุณ พจน์ อานนท์ ผู้กำกับการแสดงชื่อดัง คุณ อนุชา บุญวรรธนะ ผู้กำกับการแสดงชื่อดัง

ผู้กำกับเวที เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องการแสดงบนเวที มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยบนเวที เป็นผู้เดียวที่สั่ง ให้การแสดงเริ่มหรือหมด ติดต่อสั่งงานเกี่ยวกับ เสียงประกอบ ไฟ แสง ตลอดการเปิด - ปิด ฉากละคร

คุณ นานา เดกิ้น ผู้กำกับละครคนไทยกับผลงานละครตลกร้าย บนเวทีใหญ่ในกรุงลอนดอน

ผู้เขียนบท เป็นผู้ทำหน้าที่เขียนบทละคร สร้างโครงเรื่อง คำพูดและเหตุการณ์ ผู้เขียน บทละครนับเป็นหัวใจสำคัญของการละคร ละครจะสนุกได้หรือมีผลดีเพียงใด ส่วนหนึ่งนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้เขียนเป็นสำคัญ ผู้เขียนบทละครจะเป็นผู้กำหนด จุดมุ่งหมายให้ชัดเจน เป้าหมายหลักคืออะไร ต้องการสื่ออะไรให้กับผู้ชม เช่น แนวคิด คติสอนใจ เป็นต้น

การฝึกละครสร้างสรรค์มีกี่ประการมี อะไรบ้าง

การจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์มีองค์ประกอบ คือ 1) การใช้ประสบการณ์จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 2) การเคลื่อนไหวสร้างสรรค์ 3) การใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 4) การใช้ท่าใบ้ 5) การพูดด้นสด 6) การแสดงละครแบบพูดด้นสด

ขั้นตอนการทำละครมีทั้งสิ้นกี่ขั้นตอน

๘. การแสดงละคร เมื่อทำพิธีในช่วงเช้าเสร็จก็เริ่มการแสดงละคร ลำดับของการแสดงละครมี ๓ ขั้นตอน คือ การเปิดเรื่อง การดำเนินเรื่อง และการปิดเรื่อง.
บทประกาศพระคุณครูและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ... .
บทครูสอนและบทสอนรำ ... .
บทสรรเสริญคุณบิดามารดา.

ขั้นตอนในการฝึกแสดงละครเป็นเรื่องมีอะไรบ้าง

ซ้อมอ่านบท / ตีความ (reading) ซ้อมลงต าแหน่งการเคลื่อนที่ของตัวละคร (blocking) ซ้อมลงรายละเอียดปลีกย่อยของการกระท า (business) ซ้อมจ าบทให้แม่นย า (memory) ซ้อมความเข้าใจในตัวละคร หาแรงจูงใจและเหตุผลของทุกการกระท า

ละครสร้างสรรค์เน้นเรื่องใดเป็นหลัก

ละครสร้างสรรค์ หมายถึง ละครนอกรูปแบบ แสดงได้ทุกที่ไม่จำเป็นต้องมีคนดู จุดสำคัญของละคร เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้แสดง เน้นขั้นตอนการเรียนรู้เรื่องการละครมากกว่าผลผลิต กิจกรรมของละครสร้างสรรค์ ได้แก่ การใช้ประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหวร่างกายที่มีจังหวะ การสร้างเรื่องราว การแสดงละครและบทบาทสมมติเป็นคน สัตว์ สิ่งของ เมื่อ ...