โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ด้านการเกษตร

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ด้านการเกษตร

  • หน้าแรก (current)
  • โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • การขยายผลโครงการ ฯ
  • การตรวจติดตามผลการดำเนินงาน
  • ความเคลื่อนไหว
  • ติดต่อเรา

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ด้านการเกษตร

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ด้านการเกษตร

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ด้านการเกษตร

จ๋อแชท

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ด้านการเกษตร

05.16

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ด้านการเกษตร

จ๋อแชท

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ด้านการเกษตร

สวัสดีครับ...วันนี้มีอะไรให้ช่วยครับ ถาม(จ๋อ)มาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้นะครับ

05.16

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ด้านการเกษตร

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ด้านการเกษตร

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ด้านการเกษตร

  • หน้าหลัก
  • โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    • การขยายผลโครงการ ฯ
      • การตรวจติดตามผลการดำเนินงาน
      • ความเคลื่อนไหว
        • ติดต่อเรา

          โครงการพัฒนาด้านการเกษตร

          ความเป็นมาโครงการ โครงการย่อย

          โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ด้านการเกษตร

          แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ คือ การที่ทรงเน้นในเรื่องของ การค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชต่าง ๆ ใหม่ ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ เช่น หม่อนไหม ยางพารา ฯลฯ ทั้งพืชเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน และพืชสมุนไพร ตลอดจนการศึกษาเกี่ยว กับแมลงศัตรูพืช ทั้งนี้รวมทั้งพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมเช่น โค กระบือ แพะ แกะ พันธุ์ปลา ฯลฯ และสัตว์ปีกทั้งหลายด้วย เพื่อแนะนำให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ ราคาถูก และใช้เทคโนโลยีที่ง่าย และไม่สลับซับซ้อนซึ่งเกษตรกรจะสามารถรับไปดำเนินการเองได้ และที่สำคัญ คือพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หรือเทคนิควิธีการดูแลต่าง ๆ นั้น จะต้อง เหมาะสมกับสภาพสังคมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น นั้นๆ ด้วย

          อย่างไรก็ตามมีพระราชประสงค์เป็นประการแรก คือ การทำให้เกษตร กร สามารถพึ่งตนเองได้โดยเฉพาะในด้านอาหาร ก่อน เป็นอันดับแรก เช่น ข้าว พืชผัก ผลไม้ ฯลฯ แนวทางที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การที่ทรงพยายาม เน้นมิให้ เกษตรกรพึ่งพาอยู่กับพืชเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว เพราะจะเกิดความเสียหายง่าย เนื่องจากความ แปรปรวนของตลาด และความไม่แน่ นอนของธรรมชาติทางออกก็คือเกษตรกรควรจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกเหนือไปจากภาคเกษตร เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรม ในครัวเรือนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งดำเนินงานสนับสนุนงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปัจจุบันสภาพของทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ำ ฯลฯ ให้อยู่ในสภาพที่จะมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากที่สุด

          จากแนวทางและเป้าหมายต่าง ๆ ดังกล่าว มีแนวพระราชดำริ ที่ ถือเป็นหลักเกณฑ์ หรือเทคนิควิธีการ ที่จะบรรลุถึง เป้าหมายนั้น หลายประการ ประการแรก ทรงเห็นว่าการพัฒนาการเกษตรที่ จะได้ผลจริงนั้น จะต้อง ลงมือทดลองค้นคว้า ต้องปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังพระราชดำรัส ว่า "... เกษตรกรรมนี้ หรือ ความเป็นอยู่ของเกษตรนั้น ขอให้ปฏิบัติ ไม่ ใช่ ถือตำราเป็นสำคัญอย่างเดียว.." 

          สำหรับการค้นคว้าทดลองนั้น ได้ทรงเน้นให้มีทั้งก่อนการผลิต และหลังจากผลิตแล้ว คือ พิจารณาดูตั้งแต่เรื่องความเหมาะสม ของพืช ความ เหมาะสมของดิน พืชอย่างใดจะเหมาะกับดินประเภทใด รวม ทั้งการค้นคว้า เกี่ยวกับความต้องการของตลาด คือ การปลูกพืชที่ตลาดต้องการ ผลิตออกมาแล้วมีที่ขาย ส่วนการค้นคว้า วิจัยหลังการผลิต คือการดูเรื่องความสอดคล้องของตลาด เรื่องคุณภาพของผลผลิตหรือทำอย่างไรจึงจะ ให้เกษตรกรได้มีความรู้เบื้องต้นในด้าน การบัญชีและธุรกิจ การเกษตรในลักษณะที่พอจะทำธุรกิจแบบพึ่งตนเองได้ สำหรับในเรื่องนี้ ทรงเห็นว่า การรวมกลุ่มกันของเกษตรกรเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนั้น ทรงให้ความสำคัญ กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในระยะยาว พระราชประสงค์ของพระองค์ ที่จะให้เกษตรกร ได้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีสภาพชีวิตที่มีความสุข ไม่เคร่งเครียดกับการเร่งรัดให้เกิดความเจริญโดยรวดเร็ว นอกเหนือ จากเรื่องที่ทรงเน้น ในเรื่องการผลิตอาหารให้เพียงพอแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนจากพระราชดำรัสที่ว่า "...ไม่จำเป็นต้องส่งเสริมผลผลิตให้ ได้ปริมาณสูงสุดแต่เพียงอย่างเดียว เพราะเป็นการสิ้นเปลืองค่าโสหุ้ย และทำลายคุณภาพดินแต่ควรศึกษาสภาวะตลาดการเกษตร ตลอดจนการควบคุมราคาผลิตผล ไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน..." 

          เทคนิควิธีการในการพัฒนาการเกษตรของพระองค์อีกประการหนึ่ง คือการที่ทรงใช้ประโยชน์ จากธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น การใช้ที่ดินที่ทิ้งไว้เปล่าๆ ให้เป็นประโยชน์ หรือการ มองหาประโยชน์จากธรรมชาติในสิ่งที่ผู้อื่นนึกไม่ถึง เช่น ครั้งหนึ่งทรงสนับสนุนให้มี การทำครั่งจากต้นจามจุรีที่ขึ้นอยู่ริมทางหลวงที่จะเสด็จฯ ไป พระราชวังไกลกังวล มีพระราชดำริว่า "..เกิดจากความคิดที่จะเอาต้นก้ามปูมาทำให้ประชาชนมีงานทำแล้วร่วม เป็นกลุ่ม..." การมุ่งใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ยังมีลักษณะสอดคล้องกับวิธีการ ที่สำคัญของพระองค์อีกประการหนึ่งคือ การประหยัด ทรงเน้น ความจำเป็นที่จะลด ค่าใช้จ่ายในการทำมาหากิน ของเกษตรกรลงให้เหลือน้อยที่สุด โดยอาศัยพึ่งพิง ธรรมชาติ เป็นปัจจัยสำคัญ วิธีการของพระองค์มีตั้งแต่การสนับสนุนให้เกษตรกร ใช้โคกระบือ ในการทำนามากกว่าให้ใช้เครื่องจักร ให้มีการปลูกพืชหมุนเวียน โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ย หรือกรณีที่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ย ก็ทรงสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยธรรมชาติแทนปุ๋ยเคมี ซึ่งมีราคาแพง และมีผลกระทบต่อสภาพ และคุณภาพของดิน ในระยะยาว นั่นคือทรงสนับสนุนให้ทำ "การเกษตร ยั่งยืน" นอกจากนั้นยังทรง แนะนำในเรื่องการผลิตก๊าซชีวภาพ อันจะมีผลดีทั้งในด้านเชื้อเพลิงและปุ๋ย รวมทั้งได้ทรงเน้นอยู่เสมอที่จะให้เกษตรกรมีรายได้เสริม หรือรายได้นอกการเกษตร จากการหาวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น เช่น ไผ่ ย่านลิเพา ปาหนัน ฯลฯ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจักสาน เพื่อเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ของตนเอง

          โครงการพัฒนาด้านการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น ประกอบด้วยงานหลายประเภท ซึ่งโดยทั่ว ๆ แล้วจะเป็นงานเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า ทดลอง วิจัยหาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ ดำเนินการอยู่ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และนำผลสำเร็จ จากการศึกษาทดลองไปถ่ายทอดสู่ประชาชน ด้วยการฝึกอบรมให้เกษตรกรมีความรู้ ในวิชาการเกษตรแผนใหม่ นอกจากนั้นยังประกอบด้วยโครงการเพื่อการส่งเสริมการเกษตร เช่น โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวและทำนาขั้นบันได อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส หรือโครงการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ จังหวัดพระนครศรี อยุธยา เป็นต้น

          โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในด้านการพัฒนาการเกษตรที่กระจายอยู่ทั่วประเทศนั้น ได้ส่งผลโดยตรงต่อความกินดีอยู่ดีของเกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจาก เป็นโครงการที่มุ่งแก้ปัญหาหลักด้านการพัฒนาการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ เกษตรกรได้มีโอกาสมากขึ้น ในการเข้าถึงแหล่งความรู้ในด้านเทคนิค และวิชาการ เกษตรสมัยใหม่ ซึ่งแต่เดิมเกษตรกรไม่เคยมีโอกาสเช่นนี้มาก่อน รวมทั้งยังได้มีโอกาสเรียนรู้ และเห็นตัวอย่างของความสำเร็จของการผลิตในพื้นที่ต่าง ๆ และสามารถนำไปปรับใช้ในการเพาะปลูกของตนเองอย่างได้ผล ความเจริญของเกษตรกร และภาคเกษตรกรรมนี้ มิใช่มีจุดหมายในตัวเองเท่านั้น หากแต่ยังมีความหมาย ต่อความเจริญของภาคเศรษฐกิจแขนงอื่น และของประเทศชาติโดยส่วนรวมด้วย


          โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ มีอะไรบ้าง

          ๑,๒๐๖ โครงการ / กิจกรรม เหนือ ๑,๘๓๘ โครงการ / กิจกรรม ... ประเภทของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

          โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริเน้นพัฒนาด้านใดเป็นสําคัญ

          รนําแนวพระราชดําริต่างๆ มาจัดทําเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อันมีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนา ประเทศอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการพัฒนาชนบท ตามแนวพระราชดําริที่เป็นต้นแบบของการนําแนวคิด และวิธีการพัฒนา ชนบทอย่างครบวงจร หรือที่เรียกว่า “บริการรวมที่จุดเดียว”(ONE STOP SERVICES)” เพื่อยกระดับชีวิต ความเป็นอยู่

          โครงการด้านการเกษตรเน้นในเรื่องใด

          แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ คือ การที่ทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชต่างๆ ใหม่ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ เช่น หม่อนไหม ยางพารา ฯลฯ ทั้งพืชเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน และพืชสมุนไพร ตลอดจนการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช ทั้งนี้รวมพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น โค กระบือ ...

          โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ มีกี่ลักษณะ

          ลักษณะโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
          ๑) โครงการตามพระราชประสงค์ ... .
          ๒) โครงการหลวง ... .
          ๓) โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ ... .
          ๔) โครงการตามพระราชดำริ.