ข้อ ใดเป็น เครื่องชี้ ระดับ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

            การกระจายรายได้เป็นดัชนีตัวหนึ่งที่ใช้ในการวัดค่าความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ซึ่งข้อมูลนี้ไม่ได้สะท้อนผลลัพธ์ในแง่เดียวกันกับความยากจน ความไม่เท่าเทียมในเชิงเศรษฐกิจที่วัดโดยใช้การกระจายรายได้นั้นจะดูจากการแบ่งสันปันส่วนผลผลิตมวลรวมของประเทศโดยแบ่งประชาชนออกเป็นส่วนๆ แล้วดูว่าประชาชนส่วนที่ได้รับรายได้สูงสุดนั้นได้รับรายได้มากกว่าประชาชนส่วนที่ได้รับรายได้น้อยที่สุดเท่าไร แล้วคิดออกมาเป็นสัดส่วนที่บ่งชี้ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ วิธีที่นิยมใช้กันในการวัดการกระจายรายได้คือค่าสัมประสิทธิ์จีนี (Gini Coefficient) ซึ่งเป็นวิธีวัดการกระจายทางสถิติวิธีหนึ่ง ค่านี้จะบ่งชี้การกระจายรายได้โดยคิดออกมาเป็นอัตราส่วนการกระจายรายได้ระหว่าง 0 ถึง 1 โดย 0 จะหมายถึงประชากรทั้งหมดมีรายได้เท่าเทียมกันอย่างแท้จริง และ 1 หมายถึงการเหลื่อมล้ำสมบูรณ์แบบซึ่งมีบุคคลเพียงคนเดียวมีรายได้ทั้งหมดในขณะที่คนที่เหลือไม่มีรายได้เลย จากข้อมูลแล้วปัญหาการกระจายรายได้ของไทยนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา

            •    การวัดความอยู่ดีกินดี  เป็นการวัดโดยพิจารณาจากสถิติตัวเลขในด้านต่างๆ ทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นอัตราการกระจุกตัวของประชากร อัตราอายุขัยของประชากร อัตราส่วนผู้ไม่รู้หนังสือต่อจำนวนประชากร อัตราการเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัย การเพิ่มขึ้นของเครื่องรับส่งวิทยุโทรทัศน์ การใช้บริการไปรษณีย์ เป็นต้น

            ประเทศไทยของเราที่ประกอบด้วย 76 จังหวัด จะมีกิจกรรมการผลิตมากมาย ที่เป็นกิจการของไทยเราเองก็มาก ที่เป็นของต่างชาติก็โขอยู่   มูลค่าผลผลิตจากทั้งกิจการของไทยและกิจการต่างชาติ ทั้งหมดที่ทำอยู่ในราชอาณาจักรไทย รวมกันในแต่ละปีก็คือ GDP ของไทย   แต่ถ้าจะนับ GNP ของไทย เราก็ต้องนับเฉพาะมูลค่าการผลิตของกิจการไทย โดยนับมันทั้งโลกเลย คือ นับทั้งในประเทศไทย(เฉพาะมูลค่าผลผลิตของกิจการไทย) และนอกประเทศไทย(เช่น รายได้จากการขายบริการ(แรงงาน) ในต่างแดน เป็นต้น)    เดาได้มั้ยครับว่าของไทยเรานี่ GNP หรือ GDP ที่มันจะมากกว่ากัน ก็ GDP ซีครับ เอาของเรารวมกับของเขาในบ้านเรา มันต้องมากกว่า เอาของเรารวมกับของเรานอกบ้านเราอยู่แล้ว(เพราะที่เขามาทำในบ้านเราน่ะมันมากกว่าที่เราไปทำในบ้านพวกเขาอยู่มาก ๆ  เลย) ไอ้ความแตกต่างระหว่างที่เราไปทำในบ้านเขากับที่เขามาทำในบ้านเรานี่ เขาเรียกว่า รายได้สุทธิจากต่างประเทศ(net factor income payment from the rest of the world : F) ซึ่งผลการคำนวณตามข้อมูลจริง ค่านี้ของไทยเราติดลบ เพราะฉะนั้นเมื่อไปใส่ในความสัมพันธ์ระหว่าง GNP กับ GDP ที่ว่า GNP = GDP + F  (ขออนุญาตเป็นทางการสักเล็กน้อย)  ของไทยเรา ค่า GNP ก็เลยต่ำกว่า GDP ใคร ๆ เขาก็เลยชอบพูดถึงแต่ GDP ทำให้ GDP โตได้ยังไง  ถ้าไม่มีปัญญาทำให้กิจการไทยโตได้ ก็ส่งเสริมกิจการต่างชาติให้เข้ามาทำธุรกิจผลิตอะไรต่อมิอะไรในบ้านเราเยอะ ๆ ซีครับ แค่เนี๊ยะ GDP ก็โตวันโตคืน!!!..."

ก่อนตัดสินใจลงทุน นักลงทุนอาจใช้วิธีรอดูข้อมูล รอดูสถานการณ์ก่อนว่าจะเกิดอะไรขึ้น แล้วค่อยตัดสินใจ ขณะที่อีกหลายคน อาจใช้วิธีมองภาพรวมทางเศรษฐกิจและคาดการณ์อนาคต ว่าจะส่งผลอย่างไร จากนั้นจะวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสในการลงทุนต่อไป 

การมองหรือคาดการณ์ไปในอนาคตนั้น ข้อมูลสำคัญที่ควรพิจารณา คือ ตัวบ่งชี้หรือสัญญาณทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะวิเคราะห์และพยากรณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในอนาคตได้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน โดยการวิเคราะห์แบบบนลงล่าง (Top Down Approach) คือ เริ่มจากการมองภาพรวมทางเศรษฐกิจลงมาสู่ภาพรวมอุตสาหกรรม และลงมาที่บริษัทหรือหุ้นรายตัว

ข้อ ใดเป็น เครื่องชี้ ระดับ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

โดยตัวบ่งชี้หรือสัญญาณทางเศรษฐกิจ (Economic Indicator) ที่สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนมีดังนี้

1. GDP Growth Rate

GDP (Gross Domestic Product) เป็นดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ที่บอกถึงการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศในแต่ละปีว่ามีการเติบโตเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด โดยหาก GDP เป็นบวก หมายความว่า เศรษฐกิจภาพรวมมีการเติบโตขึ้นจากปีก่อน ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี ขณะเดียวกัน หาก GDP เป็นบวก แต่เป็นบวกที่น้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แสดงว่า เศรษฐกิจมีการเติบโต แต่เติบโตในระดับที่ช้าลงเรื่อยๆ

ในทางกลับกัน หาก GDP ติดลบ หมายความว่า เศรษฐกิจโดยภาพรวมมีการหดตัวจากปีก่อน บ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นหยุดชะงัก หรือชะลอตัว

จะเห็นได้ว่า GDP คือ ค่าที่ใช้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงมีความสำคัญต่อนักลงทุนและการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน เพราะไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายเล็กหรือรายใหญ่ ย่อมอยากจะลงทุนในประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดี มีเสถียรภาพ และมีการเติบโตที่มากกว่า ดังนั้น GDP จึงเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ที่สำคัญ

2. อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)

ตัวเลขการว่างงาน ตัวเลขนี้ในภาพรวมยิ่งน้อยยิ่งดี เพราะแปลว่าคนมีงานทำ แต่ที่สำคัญกว่าตัวเลขที่มากหรือน้อย คือ แนวโน้มการว่างงานนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง เช่น อัตราการว่างงาน อยู่ที่ 1% หากเป็น 1% ไปเรื่อยๆ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามีแนวโน้มสูงขึ้น อาจเริ่มมีปัญหา

อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานที่ต่ำ ไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่จะบอกว่า เศรษฐกิจของประเทศนั้น กำลังขยายตัวไปในทิศทางที่น่าพอใจเสมอไป โดยตัวเลขอัตราการว่างงานที่ต่ำ อาจตีความในอีกมุมหนึ่งได้ว่า เพราะหาแรงงานได้ยากมากขึ้น เนื่องจากโครงสร้างประชากรของประเทศกำลังวิ่งเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก็เป็นได้

3. เงินเฟ้อ (Inflation Rate)

เงินเฟ้อเป็นตัวเลขที่บอกว่าโดยภาพรวมแล้ว สินค้าและบริการต่างๆ ราคาแพงขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ (%) เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ถ้าตัวเลขนี้เป็นบวกแสดงว่าสินค้ามีราคาแพงขึ้น และถ้าตัวเลขติดลบแสดงว่าสินค้ามีราคาลดลง

ตัวเลขเงินเฟ้อนี้ ถ้าจะให้ดีและถือว่าเป็นภาวะปกติ ไม่มีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจ ต้องเป็นเงินเฟ้อแบบอ่อนๆ ซึ่งข้าวของอาจแพงขึ้นได้นิดหน่อย แต่ก็ไม่เกิน 5% เพราะเงินเฟ้อแบบอ่อนจะทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติได้

นอกจากนี้ หากเงินเฟ้อขยับสูงขึ้น จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) ปรับลดลง เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับ จะนำไปใช้ซื้อของได้น้อยลง เช่น หากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 1.5% ต่อปี ขณะที่เงินเฟ้อหรือราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 1% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆ จะอยู่ที่ 0.5% ต่อปี

เงินเฟ้อจึงมีผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งผลตอบแทนที่อยู่ในรูปของดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ดังนั้น หากลงทุนควรลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหรือชนะเงินเฟ้อ เช่น หุ้น กองทุนรวม ทองคำ หรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

4. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index)

ทำโดยการสำรวจความเห็นของผู้บริโภคจากแบบสอบถาม ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างว่า มีความคิดเห็นอย่างไร ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น มุมมองต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างไร มองว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นหรือแย่ลง หรือมุมมองต่อการบริโภค จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นหรือไม่

จากนั้นจะนำผลสำรวจมาคำนวณดัชนี ดังนี้

ดัชนี = 50 หมายถึง ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจทรงตัวจากเดือนก่อน

ดัชนี > 50 หมายถึง ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าเดือนก่อน และมีแนวโน้มที่จะบริโภคมากขึ้น

ดัชนี < 50 หมายถึง ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นเชิงลบต่อเศรษฐกิจกว่าเดือนก่อน และมีแนวโน้มที่จะบริโภคน้อยลง

ข้อดีของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค คือ จะทันเหตุการณ์ ช่วยให้มองไปในอนาคตได้ เพราะถ้าตัวเลขออกมาไม่ดี ก็พอจะมองเห็นแนวโน้มของเศรษฐกิจในอนาคต อย่างน้อยๆ ภายในระยะเวลาอันใกล้ได้ ส่วนข้อเสีย คือ มุมมองความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว ดังนั้น ตัวเลขนี้จะสามารถบอกอนาคตได้ในระยะสั้นเท่านั้น

5. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Business Sentiment Index)

เป็นดัชนีที่ใช้ประเมินสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้ตัดสินใจดำเนินนโยบายทางการเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ ณ ช่วงเวลานั้น เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจของผู้ประกอบการ ว่ามีความเชื่อมั่นเป็นอย่างไร กำลังกังวลต่อภาวะธุรกิจอยู่หรือไม่

โดยสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการจากแบบสอบถาม ไปยังกลุ่มตัวอย่างธุรกิจขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ใน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การผลิต คำสั่งซื้อ การลงทุน ต้นทุนการผลิต ผลประกอบการ และการจ้างงาน 

ดัชนี = 50 หมายถึง ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจทรงตัวจากเดือนก่อน

ดัชนี > 50 หมายถึง ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจดีขึ้นกว่าเดือนก่อน

ดัชนี < 50 หมายถึง ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจแย่ลงกว่าเดือนก่อน

6. ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (Private Investment Index)

ดัชนีนี้ใช้ติดตามภาวะและประเมินแนวโน้มการลงทุนของภาคเอกชน ดังนั้น จึงเป็นดัชนีที่สะท้อนอุปสงค์ภายในประเทศ สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นจริง โดยมีองค์ประกอบ 5 รายการ ได้แก่ พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง ปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง (ปูนซีเมนต์ คอนกรีต กระเบื้อง) การนำเข้าสินค้าทุน ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักร/อุปกรณ์ในประเทศ และปริมาณจำหน่ายยานยนต์เพื่อการลงทุน สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะขยายตัวหรือหดตัวได้ดีในระดับหนึ่ง เพราะเวลาที่ผู้ผลิตขายของได้ เนื่องจากเห็นว่าผู้บริโภคมีการซื้อของ ขณะที่สินค้าคงเหลือก็เหลือน้อยลง ผู้ผลิตก็มีแนวโน้มที่จะสั่งของมาผลิตเพิ่มขึ้น มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น

ในทางกลับกัน หากผู้ผลิตขายของไม่ได้ ผู้บริโภคไม่ซื้อหรือซื้อน้อยลง สินค้าคงเหลือมีมากขึ้น ผู้ผลิตจำนวนมากก็จะชะลอการผลิต อาจสั่งเครื่องจักร สั่งสินค้าน้อยลง ก็เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะโตช้าลง

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจต้องการดูข้อมูลหรือดูตัวเลขของตัวบ่งชี้หรือสัญญาณทางเศรษฐกิจตามที่กล่าวข้างต้น สามารถดูได้ในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ยกเว้นตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ต้องดูในเว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์

อย่างไรก็ตาม การดูตัวบ่งชี้หรือสัญญาณทางเศรษฐกิจ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งยังมีมิติการมองภาพรวมทางเศรษฐกิจลงมาสู่ระดับอุตสาหกรรม และลงมาระดับบริษัทหรือหุ้นรายตัว สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจค้นหาหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน สามารถเรียนรู้เพิ่มเติม ผ่านคลิปความรู้ หัวข้อ “ค้นหาหุ้นดี ด้วยปัจจัยพื้นฐาน” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่

หมายเหตุ: บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน

ข้อใดเป็นเครื่องชี้ระดับพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ตัวบ่งชี้หรือสัญญาณทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ GDP Growth Rate, อัตราการว่างงาน, เงินเฟ้อ, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค, ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ และดัชนีการลงทุนภาคเอกชน

ความสําคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ มีอะไรบ้าง

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาเศรษฐกิจ คือ - เพื่อส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตและการลงทุนทำให้ผลผลิตของประเทศสูงขึ้น - เพื่อความมั่นคงของชาติทางด้านเศรษฐกิจสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง - เพื่อเสถียรภาพทางการเมืองเพราะประชาชนมีรายได้สูง - เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัว โดยเฉพาะทางด้านการค้าระหว่างประเทศ

เครื่องมือที่ใช้วัดระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศคืออะไร

GDP หรือ Gross Domestic Product หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ไม่ว่าผลผลิตนั้นจะเป็นผลผลิตที่ได้จากทรัพยากรภายในหรือภายนอกประเทศ และตัวเลข GDP นี้ยังสามารถใช้วัดมาตรฐานค่าครองชีพของประชากรในประเทศนั้นๆได้อีกด้วย ตัวเลข GDP ของประเทศไทยนั้นมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องมาตลอด ...

ข้อใดคือเครื่องชี้วัดระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศหรืออัตราการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุด

(1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) เป็นตัวชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะแสดงถึงความสามารถในการผลิตและการบริโภคของประเทศ โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเป็นมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ซึ่งผลิตขึ้นโดยใช้ทรัพยากรภายในประเทศในรอบระยะเวลา 1 ปี