จุดเด่นของ Smart Contract ประกอบด้วยอะไร

ในช่วงนี้หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “Smart Contract” กันอยู่บ่อยครั้ง แต่ยังไม่รู้ถึงความหมาย และบทบาทหน้าที่อย่างแท้จริง วันนี้ “Token X” บริษัทภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ซึ่งเราเป็นผู้ให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจโทเคนดิจิทัลแบบครบวงจร และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี Blockchain จะพาผู้อ่านทุกท่านมาร่วมเจาะลึกไปกับ Smart Contract หรือ ‘สัญญาอัจฉริยะ’ ที่เป็นชุดโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นด้วยข้อตกลงที่ถูกกำหนดขึ้นมาก่อนระหว่างคู่สัญญา เพื่อนำไปเขียนเป็นเงื่อนไขของโปรแกรม 

จุดเด่นของ Smart Contract คือมันจะถูกเขียนลงบน Blockchain และเมื่อมี Transaction ที่ตรงตามเงื่อนไข ตัวสัญญาก็จะทำ (Execute) สิ่งที่เขียนไว้ตาม Contract และถูกตรวจสอบความถูกต้องด้วย Blockchain ดังนั้น การนำ Smart Contract มาใช้ จึงได้รับผลดีจากคุณสมบัติของ Blockchain ด้วย ซึ่งก็ คือ ความโปร่งใส่ สามารถตรวจสอบได้ และเมื่อถูกนำมาใช้แล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือถูกทำลายได้

ปกติการทำธุรกรรมใด ๆ จะมีธนาคารเป็นตัวกลางในการจัดการและตรวจสอบการทำธุรกรรมต่างๆ แต่หากนำ Smart Contract มาใช้ ก็จะสามารถทำในสิ่งที่ธนาคารทำได้โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางเพราะเป็นระบบ Decentralized  

ด้วยความสามารถของ Smart Contract จึงสามารถทำในสิ่งที่เป็นรูทีน (Routine) ได้แบบอัตโนมัติ ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้มีหลายฝ่ายที่เริ่มก้าวเข้าสู่การทำ dApps (Decentralized Application) เพราะมีความมั่นคงและปลอดภัยทางด้านข้อมูล นั่นเอง

การใช้งาน Smart Contract กับวงการเกม

NFT Gaming ถูกพูดว่าเป็นอนาคตของ Crypto โดยในช่วงที่ผ่านมา มีหลายเกมที่พัฒนาขึ้นมาให้อยู่ในรูปแบบ dApps มีการนำ Smart Contract มาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเกม ซึ่งจากเดิม เกมจะเป็นไปในรูปแบบ Pay to Play ที่ผู้เล่นต้องเติมเงินให้กับเกมนั้นเพื่อซื้อ Item บางชนิด ซึ่งหากวันหนึ่งผู้เล่นเลิกเล่นเกมนั้นไป เงินที่เติมไปนั้นก็จะหมดมูลค่าทันที 

แต่ปัจจุบันนี้ในอุตสาหกรรมเกมได้มีแนวคิดแบบ Play to Earn (เกมที่เล่นแล้วได้เงิน) โดยผู้เล่นจะถือว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริงของ Item ในเกมนั้น ในรูปแบบของ NFT หากเลิกเล่นเกมนั้นไปก็สามารถขายต่อให้ผู้อื่นได้

การใช้งาน Smart Contract ในหน่วยงานรัฐ

ในบางประเทศได้มีการนำเอา Blockchain และ Smart Contract มาช่วยในการทำงานของภาครัฐ ช่วยให้สามารถ ลดปริมาณการใช้กระดาษ ลดกระบวนการตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ลดการทุจริตในการทำงาน เพราะประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐได้อย่างโปร่งใส เพราะอย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวไปในตอนต้น การติดตามการฉีดวัคซีนเป็นตัวอย่างหนึ่งของการนำ Smart Contract มาใช้ในวงการแพทย์ โดยการบันทึกข้อมูลการฉีดวัคซีนลงบน Blockchain จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบการฉีดวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งใน Smart Contract อาจจะมีการระบุเงื่อนไขต่างๆ เช่น การได้รับสิทธิประโยชน์ใดๆ ทางการแพทย์

การใช้งาน Smart Contract ร่วมกับ AI

นอกจากนี้หากนำเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ มาประยุกต์ใช้ จะทำให้ Smart Contract มีความรู้และสามารถตัดสินใจได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ ยิ่ง AI ได้รับข้อมูลมากเท่าไร การประมวลผลก็จะยิ่งมีความแม่นยำขึ้น 

โดย AI สามารถเรียนรู้การเจรจาครั้งก่อนหน้า และสามารถหาข้อตกลงที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ การนำ AI มาตรวจสอบ Smart Contract ที่เคยเขียนไปก่อนหน้านั้นจะสามารถทำให้ตัวแปรบางตัวที่ถูกมองข้าม นำมาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาใหม่

AI และ Blockchain หากนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน แต่ละเทคโนโลยีจะช่วยส่งเสริมการทำงานของกันและกัน  AI จำเป็นจะต้องมีข้อมูลในการเรียนรู้และประมวลผล โดยข้อมูลที่นำมาเรียนรู้นั้นจำเป็นจะต้องเป็นข้อมูลที่ปลอดภัย และเชื่อถือได้ 

ดังนั้นข้อมูลใน Blockchain จึงถือว่าเป็นฐานข้อมูลที่เหมาะสมในการที่ให้ AI นำไปใช้ และ AI เองก็สามารถช่วยให้ Smart Contract ฉลาดขึ้นได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น AI และ Blockchain ต่างก็ใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาค่อนข้างสูง แต่หากสามารถพัฒนา Smart Contract ให้มีความสามารถในการตอบสนองและตัดสินใจได้อย่างมนุษย์ ก็ยิ่งเพิ่มมูลค่าและมีการนำไปใช้มากขึ้น

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า Smart Contract สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม ปัจจุบันได้มีหลายบริษัททำ Application ในรูปแบบ dAapps มากขึ้น มีการออก Token เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ ทำให้ผู้คนค่อยๆคุ้นชินและรู้จักเทคโนโลยี Blockchain ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหาก Blockchain และ Smart Contract มีการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากเท่าไร การพูดถึง Blockchain และ Smart Contract ก็จะไม่ใช่เพียงแค่ศัพท์ของคนเฉพาะกลุ่ม แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ เข้าใจ สามารถปรับตัว และหาทางใช้ประโยชน์จากมันได้

สัญญาอัจฉริยะก็เหมือนกับสัญญาทั่วไปที่มีการกำหนดเงื่อนไขของข้อตกลง แต่มีข้อแตกต่างจากสัญญาแบบทั่วไปๆ ตรงที่ว่า เงื่อนไขของสัญญาอัจฉริยะจะดำเนินงานเป็นโค้ดที่ทำงานบนบล็อกเชน เช่น อีเธอร์เรียม ซึ่งสัญญาอัจฉริยะช่วยให้นักพัฒนาสร้างแอปต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์จากความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการเข้าถึงของบล็อกเชนได้ ขณะเดียวกันก็นำเสนอฟังก์ชันการทำงานแบบเพียร์ทูเพียร์ที่ซับซ้อน ซึ่งทำได้ทุกสิ่งตั้งแต่การดำเนินการสำหรับเงินกู้ การประกัน ตลอดจนโลจิสติกส์และเกม

สัญญาอัจฉริยะก็เหมือนกับสัญญาทั่วไปที่มีการระบุเงื่อนไขของข้อตกลงหรือข้อเสนอ และสิ่งที่ทำให้สัญญาอัจฉริยะนั้น “อัจฉริยะ” สมชื่อก็คือ เงื่อนไขของสัญญาอัจฉริยะจะดำเนินงานเป็นโค้ดที่ทำงานบนบล็อกเชน โดยไม่ได้อยู่ในเอกสารสำหรับทนายความ สัญญาอัจฉริยะเกิดจากการต่อยอดแนวคิดพื้นฐานของบิตคอยน์ในการส่งและรับเงินโดยไม่ต้องอาศัย “ตัวกลางที่น่าเชื่อถือ” เช่น ธนาคาร เพื่อให้ดำเนินธุรกรรมได้อย่างปลอดภัยและกระจายอำนาจในข้อเสนอหรือธุรกรรมได้แบบเสมือนจริง ไม่ว่าจะมีความซับซ้อนมากเพียงใดก็ตาม และเนื่องจากสัญญาอัจฉริยะทำงานบนบล็อกเชนอย่างอีเธอร์เรียม สัญญาอัจฉริยะจึงปลอดภัย เชื่อถือได้ และเข้าถึงได้แบบไร้พรมแดน

สัญญาอัจฉริยะสำคัญอย่างไร

สัญญาอัจฉริยะช่วยให้นักพัฒนาสร้างแอปและโทเค็นแบบกระจายอำนาจได้หลากหลาย โดยสัญญาอัจฉริยะถูกนำไปใช้ในแทบจะทุกสิ่ง ตั้งแต่เครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ ไปจนถึงประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์และเกม ซึ่งสัญญาได้รับการจัดเก็บไว้บนบล็อกเชน เช่นเดียวกันกับธุรกรรมเงินดิจิทัลอื่นๆ เมื่อเพิ่มแอปสัญญาอัจฉริยะเข้าไปในบล็อกเชนแล้ว แอปนั้นมักจะไม่สามารถย้อนกลับหรือเปลี่ยนแปลงได้ (แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางประการ)

แอปที่ขับเคลื่อนด้วยสัญญาอัจฉริยะมักถูกเรียกว่า “แอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ” หรือ “dapps” ซึ่งภายในแอปมีเทคโนโลยีการเงินแบบกระจายอำนาจ (หรือ DeFi) ที่มุ่งเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมด้านการธนาคาร โดยแอป DeFi ช่วยให้ผู้ถือครองเงินดิจิทัลสามารถทำธุรกรรมทางการเงินที่ซับซ้อน เช่น การออมเงิน การกู้ยืม หรือการทำประกันได้จากทุกมุมโลก โดยไม่ต้องมีธนาคารหรือสถาบันทางการเงินอื่นๆ มาเก็บค่าบริการ นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วยสัญญาอัจฉริยะอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันด้วย เช่น

  • Uniswap: แอปแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจที่ช่วยให้ผู้ใช้ซื้อขายเงินดิจิทัลบางประเภทผ่านสัญญาอัจฉริยะได้ โดยไม่ต้องมีหน่วยงานกลางมากำหนดอัตราแลกเปลี่ยน

  • Compound: แพลตฟอร์มที่ใช้สัญญาอัจฉริยะเพื่อช่วยให้นักลงทุนได้รับดอกเบี้ย และช่วยให้ผู้กู้ยืมรับเงินกู้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องมีธนาคารมาเป็นตัวกลาง 

  • USDC: สกุลเงินดิจิทัลที่ถูกตรึงมูลค่าไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐผ่านสัญญาอัจฉริยะ จึงทำให้ USDC หนึ่งเหรียญมีมูลค่าเท่ากับหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง USDC เป็นหนึ่งในเงินดิจิทัลหมวดหมู่ใหม่ล่าสุดที่รู้จักกันในชื่อ เหรียญที่มีมูลค่าคงที่

แล้วคุณจะใช้เครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วยสัญญาอัจฉริยะเหล่านี้ได้อย่างไร ลองนึกภาพว่าคุณกำลังถือครองอีเธอร์เรียมอยู่จำนวนหนึ่ง และคุณต้องการแลกเป็น USDC คุณอาจนำอีเธอร์เรียมบางส่วนไปไว้ใน Uniswap ซึ่งเมื่อดำเนินการผ่านสัญญาอัจฉริยะ ระบบจะสามารถค้นหาอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุด จากนั้นทำการแลกเปลี่ยน และส่ง USDC ให้คุณได้โดยอัตโนมัติ จากนั้นคุณอาจใช้ USDC บางส่วนลงทุนใน Compound เพื่อปล่อยกู้ให้แก่คนอื่นๆ และรับดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดโดยอัลกอริธึม ซึ่งทั้งหมดนี้ดำเนินการโดยไม่ต้องอาศัยธนาคารหรือสถาบันทางการเงินอื่นๆ เลย 

สำหรับการเงินแบบทั่วๆ ไป การแลกเปลี่ยนสกุลเงินนั้นมีราคาแพงและใช้เวลานาน และการปล่อยกู้สินทรัพย์สภาพคล่องให้แก่คนแปลกหน้าที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายหรือปลอดภัยสำหรับบุคคลทั่วไป แต่สัญญาอัจฉริยะทำให้ทั้งสองกรณีนี้ และกรณีอื่นๆ อีกมากมายเป็นไปได้

สัญญาอัจฉริยะทำงานอย่างไร

ปัจจุบันนี้ อีเธอร์เรียมเป็นแพลตฟอร์มสัญญาอัจฉริยะที่ได้รับความนิยมสูงสุด แต่บล็อกเชนเงินดิจิทัลอื่นๆ มากมาย (เช่น EOS, Neo, Tezos, Tron, Polkadot และ Algorand) ก็ใช้งานได้เช่นกัน โดยที่ทุกคนสามารถสร้างและใช้งานสัญญาอัจฉริยะบนบล็อกเชนได้ โค้ดของสัญญาอัจฉริยะจะมีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้แบบสาธารณะ ซึ่งหมายความว่าผู้ที่สนใจจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า สัญญาอัจฉริยะใช้ตรรกะใดเมื่อได้รับสินทรัพย์ดิจิทัล

  • สัญญาอัจฉริยะเขียนด้วยภาษาโปรแกรมที่หลากหลาย (ทั้ง Solidity, Web Assembly และ Michelson) ในเครือข่ายอีเธอร์เรียม โค้ดของสัญญาอัจฉริยะแต่ละสัญญาจะถูกจัดเก็บไว้บนบล็อกเชน ผู้ที่สนใจจึงสามารถตรวจสอบโค้ดและสถานะปัจจุบันของสัญญา เพื่อยืนยันฟังก์ชันการทำงานของสัญญาดังกล่าวได้ 

  • คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่าย (หรือ “โหนด”) จะจัดเก็บสำเนาของสัญญาอัจฉริยะที่มีอยู่ทั้งหมด รวมถึงสถานะปัจจุบันพร้อมกับข้อมูลบล็อกเชนและข้อมูลธุรกรรมในสัญญาด้วย 

  • เมื่อสัญญาอัจฉริยะได้รับเงินทุนจากผู้ใช้ โหนดทั้งหมดในเครือข่ายจะสั่งให้โค้ดของสัญญาทำงาน เพื่อให้เป็นไปตามฉันทามติเกี่ยวกับผลลัพธ์ และส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนมูลค่า ซึ่งการดำเนินการนี้ช่วยให้สัญญาอัจฉริยะทำงานได้อย่างปลอดภัยโดยไม่มีการควบคุมจากส่วนกลาง แม้ว่าผู้ใช้จะทำธุรกรรมทางการเงินที่ซับซ้อนกับหน่วยงานที่ไม่รู้จักก็ตาม

  • หากต้องการให้สัญญาอัจฉริยะดำเนินงานบนเครือข่ายอีเธอร์เรียม โดยทั่วไปแล้วคุณจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมที่เรียกกันว่า “แก๊ซ” (ที่เป็นชื่อนี้ก็เพราะว่า ค่าธรรมเนียมเหล่านี้เป็นเหมือนเชื้อเพลิงที่ช่วยให้บล็อกเชนทำงาน)

  • เมื่อนำไปใช้บนบล็อกเชนแล้ว สัญญาอัจฉริยะมักเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แม้แต่ผู้สร้างเองก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน (แต่กฎนี้ก็มีข้อยกเว้น) วิธีนี้ทำให้มั่นใจว่าสัญญาจะไม่ถูกเซ็นเซอร์หรือปิดการทำงาน