ภพ.09 กับ ภพ.20 ต่างกันอย่างไร

กรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ก.พ.20) ให้เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้ ณ สถานประกอบการในที่ที่เห็นได้ชัดเจนและเปิดเผย 

   

ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) คือใบทะเบียน เป็นกระดาษขนาดประมาณ A4 มีลักษณะเป็นลายน้ำสีชมพู โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนจะใส่กรอบและแขวนอยู่ตามผนังหรือวางตั้งไว้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสถานประกอบการแห่งนั้นเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีข้อมูล สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และวันทีให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นต้น 

  

เมื่อผู้ประกอบการประสงค์จะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) และกรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ให้ ซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฏหมายตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป  

  

กรณีหากมีสถาประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในแห่งเดียว หรือกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ และกรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ให้แก่สถานประกอบการทุกแห่ง เพื่อให้ผู้ประุกอบการจดทะเบียนดังกล่าวไปแสดงไว้ในที่ที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการนั้นๆเช่นกัน

  

ภพ.09 กับ ภพ.20 ต่างกันอย่างไร

  

การขอใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากเกิดกรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชำรุด เสียหายในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หรือสูญหายจากความประมาทเลินเล่อจากเหตุที่ท่านตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

            เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการที่ยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภ.พ.01) หรือ แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) ต่อหน่วยจดทะเบียนแล้ว แต่ยังไม่ได้รับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) และมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องใช้ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ในการประกอบธุรกรรมต่าง ๆ กรมสรรพากรจึงได้กำหนดให้หน่วยจดทะเบียนรับรองให้ใช้แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) เป็นเสมือนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง

เมื่อธุรกิจดำเนินการมาได้ระยะหนึ่ง แน่นอนว่าอาจมีเรื่องของการขยับขยายเปลี่ยนแปลงสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้สถานที่ที่เหมาะสมที่สุด แต่ก่อนจะย้ายสถานที่ตั้งหรือก่อนจะดำเนินการจดทะเบียนย้ายที่อยู่บริษัท เจ้าของหรือผู้เกี่ยวข้องต้องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับอะไรบ้าง มีขึ้นตอนและเอกสารอะไรต้องทำ ต้องใช้ และมีอะไรที่ควรระวัง เพื่อให้การย้ายที่อยู่ครั้งนี้เป็นไปอย่างถูกต้อง

เงื่อนไขสำหรับการย้ายที่อยู่บริษัทจดทะเบียน

การย้ายที่อยู่บริษัทนั้นมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องทำเรื่องเปลี่ยนแปลงที่อยู่กับหน่วยงานที่สำคัญหลักๆ 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร (กรณีเป็นบริษัทจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) และสำนักงานประกันสังคม (หากเป็นนายจ้าง)

1.  การเปลี่ยนที่อยู่บริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

สำหรับการเปลี่ยนที่อยู่บริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้านี้ มี 2 กรณี คือ ย้ายที่อยู่ในจังหวัดเดิม และ ย้ายที่อยู่ข้ามจังหวัด

1.1  ย้ายที่อยู่ในจังหวัดเดิม

สามารถทำการยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขที่อยู่บริษัทได้เลย โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการดำเนินการ ดังนี้

•  คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (บอจ.1)

•  แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด

•  รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือ มติพิเศษ (บอจ.4)

•  แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป

•  สัญญาเช่า หรือ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (หากบริษัทไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน)

•  สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน

•  สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)

•  หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ไม่ได้ยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง พร้อมผนึกอากรแสตมป์10 บาท)

1.2  ย้ายที่อยู่ข้ามจังหวัด

มีขั้นตอนสำคัญๆ ที่ต้องปฏิบัติดังนี้

•  แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 2 (สำนักงานของบริษัท) โดยจัดการประชุมผู้ถือหุ้นให้มีมติพิเศษ โดยออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบให้ทางผู้ถือหุ้นด้วยตนเอง และต้องพิมพ์โฆษณาลงหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราวก่อนวันประชุมอย่างน้อย 14 วัน

•  จัดการประชุมผู้ถือหุ้น ต้องลงมติด้วยเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้น

•  ยื่นคำขอจดทะเบียนรายการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 2 (สำนักงานของบริษัท) และจดทะเบียนรายการแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ โดยให้กรรมการที่มีอำนาจจดทะเบียนเป็นผู้ขอจดทะเบียน

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนย้ายที่อยู่บริษัทข้ามจังหวัด มีดังนี้

•  คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (บอจ.1)

•  แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด

•  รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือ มติพิเศษ (บอจ.4)

•  หนังสือบริคณห์สนธิ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ชำระค่าอากรแสตมป์ 50 บาท

•  แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป

•  สัญญาเช่า หรือ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (หากบริษัทไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน)

•  สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน

•  สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)

•  หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่ได้ยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท)

สถานที่จดทะเบียนย้ายที่อยู่บริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

•  กรุงเทพมหานคร – ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทั้ง 6 เขต

•  ต่างจังหวัด – สำนักงานพาณิชย์จังหวัด

•  ยื่นคำขอออนไลน์ ทาง ระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration)

2.  การเปลี่ยนที่อยู่บริษัทกับกรมสรรพากร (ภ.พ.09)

ในกรณีเป็นบริษัทจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จำเป็นต้องยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) ต่อกรมสรรพากร โดยต้องแจ้งภายใน 15 วันก่อนทำการย้าย

ขั้นตอนการย้ายที่อยู่กับกรมสรรพากร มีขั้นตอนดังนี้

1)  ยื่นคำขอแจ้งย้ายออกจากที่ตั้งเดิม

2)  ยื่นคำขอแจ้งย้ายเข้าที่ตั้งใหม่

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนย้ายที่อยู่กับกรมสรรพากร มีดังนี้

•  แบบคำขอแจ้งเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียน ภ.พ.09 จำนวน 3 ฉบับ

•  ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.20 (เดิม)

•  สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ (ใหม่)

•  สัญญาเช่า หรือ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (หากบริษัทไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน)

•  แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป พร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการแห่งใหม่

•  สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

•  สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ไม่เกิน 6 เดือน

•  หนังสือมอบอำนาจ (พร้อมติดอากร 10 บาท) และสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

สถานที่จดทะเบียนย้ายที่อยู่บริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ในที่ตั้งเดิม และ ที่ตั้งใหม่

3.  การเปลี่ยนที่อยู่บริษัทกับสำนักงานประกันสังคม

กรณีบริษัทได้ทำการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมไว้ จะต้องทำการแจ้งย้ายที่อยู่กับสำนักงานประกันสังคม ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงย้ายที่ตั้ง

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนย้ายที่อยู่กับสำนักงานประกันสังคม มีดังนี้

•  แบบแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง (สปส.6-15)

•  หนังสือรับรองบริษัท ฉบับที่อยู่ใหม่

•  แผนที่ตั้งใหม่

•  หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ไม่ได้ยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง)

 

สำเนาเอกสารที่ประกอบการจดทะเบียนย้ายที่อยู่ทุกฉบับ จำเป็นต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อย 1 คนลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจำตัวหรือหลักฐานของการเป็นผู้ขอจดทะเบียน ให้เจ้าตัวผู้เป็นเจ้าของบัตรหรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อย 1 คนในการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง

 

ในการเป็นเจ้าของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจดทะเบียนบริษัท หรือการย้ายที่อยู่บริษัท ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะมีพื้นฐานความรู้ไว้ แม้ในปัจจุบันจะมีอาชีพรับจ้างเปลี่ยนที่อยู่บริษัท แต่ถ้าหากเรารู้ขั้นตอนดำเนินการที่ถูกต้องนั้น จะช่วยให้ทำได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ หรืออาจจะช่วยให้รู้เท่าทันในทุกขั้นตอนหากจำเป็นต้องจ้างบริษัทที่รับจดทะเบียนย้ายที่อยู่

เอกสาร ภพ.09 คืออะไร

คำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลง ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภพ09 ใช้กี่ชุด

1. ยื่นแบบ ภ.พ.09 หรือ ภ.ธ.09 จำนวน 4 ฉบับ ( ห้ามถ่ายเอกสาร ) 2. สำเนาทะเบียนบ้าน ( ภ.พ.20,ภ.พ.21 หรือ ภ.ธ.20 ) ฉบับจริงคืนพร้อมเอกสารย้ายเข้า

ยื่น ภพ.09 ที่ไหน

สถานที่ยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ทั้งที่เดิม และ ที่ใหม่

ใช้อะไรแทน ภพ.20

เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ที่ชำรุด (ถ้ามี) พร้อมสำเนาหรือสำเนา ภ.พ.09 กรณีไม่มีใบเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบแจ้งความกรณีสูญหาย