ไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ สมัยใด

ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติลำดับที่ 55  เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2489  หลังจากที่สหประชาชาติ ได้ก่อตั้งเพียง 1 ปี  โดยนายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้นได้ชี้แจงเหตุผลส่วนหนึ่งไว้ดังนี้

1.เพื่อความมั่นคงของไทย เนื่องจากสหประชาชาติเป็นองค์การมีกำลังมากที่สุดที่สามารถธำรงสันติภาพและความมั่นคงและ ให้ความยุติธรรมสำหรับ ประเทศเล็กๆอย่างไทย

2.เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเก่าแก่ชาติหนึ่ง เนื่องจากการที่เข้าเป็นสมาชิกขององค์การโลก เป็นการยืนยันรับรองฐานะของไทยอีกครั้งหนึ่ง

3.เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ไทยประสงค์จะร่วมมือในการสร้างสันติภาพและความมั่นคงของโลกอย่างจริงจัง 

บทบาทของไทยในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่าง ๆ ของสหประชาชาติ

                              

ไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ สมัยใด

นับตั้งแต่ไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ประเทศไทยและผู้แทนของไทยได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ในสหประชาชาติอย่างสม่ำเสมอ อาทิ
1.ประธานสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 11 ปี 2499 โดยพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
2.สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประจำปี 2528-2529
3.สมาชิกคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ช่วงปี 2517-2519, 2523-2525, 2526-2528, 2532-2534, 2538-2540, 2547-2550
4.รองประธานสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 35 ปี 2523, สมัยที่ 43 ปี 2531, สมัยที่ 50 ปี 2538 และ สมัยที่ 54 ปี 2542
5.ประธานการประชุมเจรจาสหประชาชาติว่าด้วยยางธรรมชาติ ปี 2529-2530

6.ประธานคณะกรรมการพิเศษว่าด้วยการเมืองและปลดปล่อยอาณานิคม ปี 2534
7.ประธานคณะทำงานของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดว่าด้วยปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ปี 2536-2541
8.รองประธานคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการปรับปรุงและขยายคณะมนตรีความมั่นคงฯ ปี 2537-2541
9.ประธานคณะกรรมการบริหารของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติและกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ปี 2541-2542
10.ประธานร่วมคณะเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการเตรียมการสำหรับการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการให้ความสนับสนุน ด้าน การเงินสำหรับการพัฒนา ปี 2543

11.ประธานคณะกรรมการด้านกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (UNCITRAL) ปี 2547-2548

ประเทศไทยยังได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกสหประชาชาติให้ปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการและคณะ กรรมการต่าง ๆ ในกรอบสหประชาชาติอีกมากมาย อาทิ สมาชิกของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม  คณะกรรมการสถานภาพสตรี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการด้านกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการบัญชีและรายงาน การป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา  ยาเสพติด  การพัฒนาที่ยั่งยืน  โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ  และโครงการประสานงานความช่วยเหลือแห่งสหประชาชาติ

การเลือกตั้งล่าสุดที่ไทยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง ได้แก่

–   สมาชิกคณะกรรมการบริหารขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) วาระปี 2548-2552

–   สมาชิกคณะมนตรีองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) วาระปี 2549-2550

–    สมาชิกคณะมนตรีของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) วาระปี 2549-2553 โดยไทยได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรดังกล่าวเป็นจำนวน 7 ครั้งแล้ว

นอกจากนี้ ผู้แทนจากประเทศไทย คือ ดร. สายสุรี จุติกุล ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกในคณะกรรมการ ประจำอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี ได้แก่ คณะกรรมการประจำอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) วาระปี 2545-2548 และคณะกรรมการประจำอนุสัญญาว่าด้วยว่า ด้วยการขจัดการเลือกประติบัติ ต่อสตรี (CEDAW) วาระปี 2550-2553

ในด้านการบริหาร นายศุภชัย พานิชภักดิ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและ การพัฒนา (UNCTAD) เมื่อปี 2547

บทบาทด้านการส่งเสริมสันติภาพและรักษาความมั่นคงระหว่างประเทศ

ไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ สมัยใด

ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ซึ่งเกิดปัญหากัมพูชา ประเทศไทยได้มีบทบาทนำอย่างแข็งขันร่วมกับอาเซียนในการแก้ไขปัญหาในประเทศเพื่อนบ้านโดยดำเนินการผ่าน เวทีสหประชาชาติ  หลังจากนั้น ประเทศไทยได้มีบทบาทเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ได้แก่

1.ส่งทหารเข้าร่วมในกองกำลังรักษาสันติภาพฯ บริเวณชายแดนอิรัก-คูเวต (UNIKOM) ปีละ 7 นาย ระหว่างปี 2534-2546

2.ส่งทหาร  2 ผลัด ๆ ละ 50 นายเข้าร่วมกองกำลังรักษาความปลอดภัยในอิรัก (UNGCI)  ในปี 2535
3.ส่งทหารหนึ่งกองพันเข้าร่วมองค์กรบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา (UNTAC) ปี 2534-2535
4.ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าร่วมในปฏิบัติการรักษาสันติภาพในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา (UNMIBH) ปีละ 5 นาย ตั้งแต่ปี 2540 –2545
5.ส่งทหารเข้าร่วมปฏิบัติการของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก จำนวน 5 ครั้งระหว่างปี 2542-2549
6.ส่งนายทหารสังเกตการณ์ 5 นายเข้าร่วมในปฏิบัติการรักษาสันติภาพในเซียร์ราลีโอน (UNAMSIL) ปี 2543-2548

7.ส่งทหารช่าง 177 นาย จำนวน 3 ผลัดร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพในบุรุนดี (ONUB) ปี 2548-2549

8.ส่งทหาร 15 นายร่วมสังเกตการณ์การรักษาสันติภาพในซูดาน (UNMS) ปี 2549

นอกจากนี้ ไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจและพลเรือนร่วมสังเกตการณ์เลือกตั้งภายใต้การกำกับของสหประชาชาติ หลายครั้ง ได้แก่ นามิเบีย (2533) กัมพูชา (2536) แอฟริกาใต้ (2537) ฟิจิ (2544)

ไทยกับติมอร์เลสเต (ติมอร์ตะวันออก)

ไทยเข้าร่วม UN Mission in East Timor (UNAMET) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2542 ซึ่งเข้าไปทำหน้าที่ดูแลการลง ประชามติเพื่อกำหนดใจตนเองในติมอร์ตะวันออก ต่อมาเมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรง ไทยเข้า ร่วมกองกำลังนานาชาติ (International Force in East Timor : INTERFET) จัดตั้งโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงฯ มีข้อมติจัดตั้ง UN Transitional Administration in East Timor (UNTAET)  ไทยได้ ส่งกองกำลังประมาณ 700 คนเข้าร่วมในช่วงปี 2543-2545 และได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตตะวันออกและเมืองเบาเกา โดยมีสายงานบังคับบัญชา กองกำลังเกาหลีใต้และ ฟิลิปปินส์ด้วย  นอกจากนั้น ไทยยังได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจพลเรือน ไปปฏิบัติหน้าที่ใน UNTAET ประมาณ 50 คน และ ในเดือนสิงหาคม 2543 พลโทบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ได้รับแต่งตั้งจากสหประชาชาติให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลัง UNTAET

ต่อมาสหประชาชาติได้ขยายอาณัติปฏิบัติการในติมอร์เลสเตและได้จัดตั้ง UN Mission of Support in East Timor (UNMISET) ไทยก็ได้ ส่งกำลังเข้าร่วม ในช่วงปี 2545-2547 และพลโทวินัย ภัททิยกุล ได้รับเลือกเป็นผู้บัญชาการกองกำลังของ UNTAET/ UNMISET เป็นเวลา 1 ปี

ในปี 2549 สหประชาชาติได้จัดตั้ง UN Mission in Timor-Leste (UNMIT) ไทยก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน  31 นายเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพในติมอร์เลสเตอีกครั้งหนึ่ง

บทบาทและความร่วมมือระหว่างไทยและสหประชาชาติในด้านสังคม

ไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ สมัยใด

ประเทศไทยได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกของประชาคมระหว่างประเทศที่จะต้องให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ ผู้อพยพที่เข้ามาพักพิงใน ประเทศนานนับ ทศวรรษ ในช่วงวิกฤตการณ์อินโดจีน ไทยได้ให้ที่พักพิงแก่            ผู้หนีภัยชาวกัมพูชา ลาว และ เวียดนามตั้งแต่ปี 2518 จนสิ้นสุดการสู้รบ จำนวนล้านกว่าคน แม้ไทยจะได้รับผลกระทบด้านอื่น ๆ เช่น ปัญหาความมั่นคงทางชายแดนก็ตาม ในปัจจุบันไทยยังคงแบกรับภาระผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่าอีกกว่า 100,000 คนที่ยังพักพิงอยู่ในประเทศและรอการแก้ปัญหา

ในทางสังคม ประเทศไทยได้พัฒนามาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศให้สอดคล้องกับมาตร ฐานสากล เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนภายในประเทศ เช่น การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อรับพันธกรณีที่จะคุ้มครองสิทธิของประชาชนด้านต่าง ๆ เช่น สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งการให้ความคุ้มครองแก่กลุ่มที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิด เช่น เด็กและสตรี ตลอดจนการสนับสนุนให้กลไกเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศให้มีความเข้มแข็งโดยการเรียนรู้ ประสบการณ์ ปัญหา และความเชี่ยวชาญจากประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ ไทยเคยปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (CHR) เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศ

ไทยยังให้ความร่วมมือแก่สหประชาชาติในด้านการพัฒนาสังคมโดยเฉพาะปัญหาในระดับภูมิภาคมาโดยตลอด และให้ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมศักยภาพของบุคคลบางกลุ่มในสังคม เช่น ผู้พิการ และคนชรา ตลอดจนร่วมแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัฒน์ เช่น ภาวะความยากจน การค้ามนุษย์ ยาเสพติด การฟอกเงิน การระบาดของโรคเอดส์ และโรคติดต่ออื่น ๆ ในขณะเดียวกัน ไทยก็ได้รับความช่วยเหลือด้านความรู้ ประสบการณ์ และเงินทุนสำหรับแผนงานและโครงการต่าง ๆ ภายในประเทศ โดยผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และโครงการควบคุมยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ (UNDCP) เป็นต้น

บทบาทของไทยในฐานะเป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ

ไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ สมัยใด

ประเทศไทยนับเป็นศูนย์กลางของหน่วยงานสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก  โดยกรุงเทพมหานครได้เป็นที่ตั้งขององค์การในระดับภูมิภาคและสำนักงานที่สำคัญ ๆ ของสหประชาชาติหลายองค์การ เช่น คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)  สำนักงานส่วนภูมิภาคของโครงการ สิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ  สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก

การที่ประเทศไทยได้เป็นที่ตั้งของหน่วยงานสหประชาชาติหลายหน่วยงานเช่นนี้ ได้เปิดโอกาสให้ความร่วมมือ ระหว่างไทยกับสหประชาชาติในด้านต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้ให้ประโยชน์โดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมของไทยโดยเฉพาะต่อประชาชนในเขตภูมิภาคซึ่งยังมีฐานะยากจน

คนไทยได้รับยกย่องจากสหประชาชาติ

ไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ สมัยใด

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้จัดการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เพื่อเชิดชูเกียรติคุณของบุคคลหรือ เหตุการณ์ที่มีต่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์หรือสื่อสาร โดยได้ประกาศยกย่องพระนามและชื่อบุคคลสำคัญของประเทศไทย  ได้แก่ ฉลอง   สิริราชสมบัติครบ 50 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ฉลองวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 6 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมมหาชนก และสมเด็จพระ              ศรีนครินทราบรมราชชนนี วันประสูติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์   พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์   และวันเกิดของพระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)  ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี   พนมยงค์  และ กวีเอกสุนทรภู่

คนไทยยังได้รับรางวัลและได้รับการแต่งตั้งจากสหประชาชาติให้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ได้แก่
1.     นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตองค์การ UNICEF ประจำประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2539 และเมื่อปี 2547 ได้รับแต่งตั้งจากเลขาธิการสหประชาชาติให้เป็นประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิว่าด้วยภัยคุกคาม สิ่งท้าทายและ การเปลี่ยนแปลง เพื่อกำหนดแนวทางพื้นฐานในการปฏิรูปสหประชาชาติ
2.     นายมีชัย วีระไวทยะ อดีตผู้อำนวยการสมาคมพัฒนาชุมชนและประชากรแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัล ประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Award) ประจำปี 2540 และในปี 2543 นายมีชัยฯ ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตสันถวไมตรีของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ด้วย
3.     นางมุกดา อินทรสาร ครูจากจังหวัดพะเยา ได้รับรางวัลการต่อสู้กับความยากจน (The Race against Poverty Award) ประจำปี 2542 จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)

4.     น.ส. แคทลียา แมคอินทอช นักแสดง ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนพิเศษด้านเยาวชนขององค์การ UNICEF ประจำประเทศไทย ในปี 2543
5.     น.ส.ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก อดีตนางสาวไทยและนางงามจักรวาลประจำปี 2531 ได้รับเลือกให้เข้า ร่วมในโครงการรณรงค์ระหว่างประเทศ “Face to Face” ของ UNFPA ในปี 2543
6.     นางอมีนะ บีเดล และ ประธานสมาคมอาสาสมัครต่อต้านยาเสพติดจากประเทศไทย ได้รับมอบรางวัล United Nations Vienna Civil Society Award ประจำปี 2543 จากสำนักงานควบคุมยาเสพติดและการป้องกันอาชญากรรมแห่ง สหประชาชาติ (UN/ODCCP)

กรมองค์การระหว่างประเทศและคณะกรรมการประสานงานสหประชาชาติ

ไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ สมัยใด

กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับนโยบายของไทยในกรอบพหุภาคีและกรอบสหประชาชาติ โดยมีกองที่ รับผิดชอบงาน 4 กองประกอบด้วย กองการสังคม กองกิจการเพื่อการพัฒนา กองงานบริหารองค์การระหว่างประเทศ และกองสันติภาพ ความมั่นคงและการลดอาวุธ

นอกจากนี้ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานด้านสหประชาชาติ องค์การระหว่าง ประเทศอื่นๆ และองค์การต่างประเทศขึ้นตั้งแต่ปี 2525 ประกอบด้วยกรรมการจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน  เพื่อเป็นกลไกประสานประสานนโยบาย และกำหนดท่าทีของไทยสำหรับการประชุมในองค์การระหว่างประเทศ

สมาคมสหประชาชาติแห่งประเทศไทย

ไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ สมัยใด

สมาคมสหประชาชาติแห่งประเทศไทย (United Nations Association of Thailand – UNAT) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี 2496 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสหประชาชาติในหมู่สาธารณชน กิจกรรมของ สมาคมฯ ได้แก่ การจัดพิมพ์วารสารเผยแพร่ การจัดสัมมนา การจัดประกวดเรียงความ และจัดแข่งขันตอบคำถามเกี่ยวกับสหประชาติ เป็นต้น

ปัจจุบัน สมาคมฯ มีที่ตั้งอยู่ที่กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ นายกสมาคมคนปัจจุบัน คือ ดร. มนัสพาสน์ ชูโต อดีตเอกอัครราชทูต