เหตุผลที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ คือข้อใด

องค์การสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2488 (ค.ศ. 1945) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การเคารพในหลักความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ การส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประชากรโลก ตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ

สำหรับประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติลำดับที่ 55 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 หลังจากที่สหประชาชาติก่อตั้งเพียง 1 ปี โดย ดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น ได้ชี้แจงเหตุผลไว้ดังนี้

  1. เพื่อความมั่นคงของไทย เนื่องจากสหประชาชาติเป็นองค์การมีกำลังมากที่สุดที่สามารถธำรงสันติภาพและความมั่นคง และให้ความยุติธรรมสำหรับประเทศเล็กๆ อย่างไทย
  1. เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเก่าแก่ชาติหนึ่ง เนื่องจากการที่เข้าเป็นสมาชิกขององค์การโลกเป็นการยืนยันรับรองฐานะของไทยอีกครั้งหนึ่ง
  1. ไทยหวังความช่วยเหลือจากสหประชาชาติในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
  1. เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ไทยประสงค์จะร่วมมือในการสร้างสันติภาพและความมั่นคงของโลกอย่างจริงจัง 

TAGS:  


เหตุผลที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ คือข้อใด

ประเทศไทยกับการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

ประเทศไทยกับการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

ประเทศไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่  16 ธันวาคม 2489 หลังจากที่ สหประชาชาติก่อตั้งได้ 1 ปี (ในสมัยรัชกาลที่ 9 ) นับเป็นลำดับที่ 55 ของประเทศสมาชิก ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศขณะนั้นคือ นายดิเรก ชัยนาม โดยมีเหตุผลในการเข้าเป็นสมาชิกอง๕การสหประชาชาติ คือ

  1. เพื่อความมั่นคงของประเทศไทย  เนื่องจากสหประชาชาติเป็นองค์การมีกำลังมากที่สุดสามารถธำรงสันติภาพและความมั่นคงและให้ความยุติธรรมสำหรับประเทศเล็กๆได้
  2. เพื่อแสดงให้ทั่วโลกรู้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีประวัติความเป็นชาติที่มั่นคงยาวนาน  ที่สามารถยืนยันและรับรองฐานะความเป็นชาติไทยได้
  3. เพื่อแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่า  ประเทศไทย  มีความประสงค์จะร่วมมือในการสร้างสันติภาพและความมั่นคงของโลกอย่างแท้จริง

ประเทศไทยมีบทบาทในองค์การสหประชาชาติ  ดังนี้

เหตุผลที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ คือข้อใด

  1. ประธานสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 11  ปี 2499 โดยพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์  ทรงได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
  2. สมาชิกไม่ถาวรของคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประจำปี 2528-2529
  3. สมาชิกคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ระหว่างปี 2517-2519,ปี2523-2528,ปี2532-2534,ปี2538-2540,ปี2547-2550
  4. รองประธานสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 35 ปี พ.ศ. 2523,สมัยที่ 43 ปี2531,สมัยที่ 50 ปี พ.ศ. 2538 และสมัยที่  54 ปี พ.ศ. 2542
  5. ประธานการประชุมเจรจาสหประชาชาติว่าด้วยยางธรรมชาติ ปี 2529-2530
  6. ประธานคณะกรรมการพิเศษว่าด้วยการเมืองและปลดปล่อยอาณานิคม ปี 2534
  7. ประธานคณะทำงานของกลุ่มประเทศไม่ฝึกใฝ่ฝ่ายใดว่าด้วยปฏิบัติการรักษาสันติภาพปี 2536-2541
  8. รองประธานคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการปรับปรุงและขยายคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ปี 2537-2541
  9. ประธานกรรมการบริหารของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติและกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ปี 2541-2542
  10. ประธานร่วมคณะเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการการเตรียมการสำหรับการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการให้ความสนับสนุนด้านการเงินสำหรับการพัฒนา ปี 2543
  11. ประธานคณะกรรมการด้านกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ( UNCITRAL ) ปี 2545-2548

นอกจากนั้น ไทยยังได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกสหประชาชาติ  ให้ปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการและคณะกรรมการต่างๆ ในกรอบสหประชาชาติอีกหลายคณะ  เช่น สมาชิกของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม  คณะกรรมการสถานภาพสตรี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน  คณะกรรมการด้านกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยบัญชีและรายงาน การป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ยาเสพติด การพัฒนาที่ยั่งยืนโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติและโครงการประสานงานความช่วยเหลือแห่งสหประชาชาติ เป็นต้น

ต่อมาเมื่อปี 2548-2552 ไทยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( UNESCO ) อยู่ในวาระคราวละ  5 ปี เลือกให้เป็นสมาชิกคณะมนตรีอง๕การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) วาระ 2 ปี( 2449-2550 ) และเป็นสมาชิกคณะมนตรีของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( ITU ) วาระ 5 ปี(2549-2553)

เหตุผลที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ คือข้อใด

ดร.สายสุรี จุติกุล ผู้แทนของประเทศไทย เคยได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกในคณะกรรมการประจำอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี  คือ  คณะกรรมการประจำอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) วาระปี 2545-2548 และคณะกรรมการประจำอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี (CEDAW) วาระปี 2550-2553 และนายศุภชัย  พานิชภักดิ์  ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา(UNCTAD) เมื่อปี 2547  อีกด้วย นับว่าไทยและผู้แทนของไทย  ได้ทำหน้าที่และมีบทบาทอย่างสำคัญในองค์การสหประชาชาติ

http://www.myfirstbrain.com/main_view.aspx?ID=91071

ทำไมไทยถึงเข้าร่วม UN

1. เพื่อความมั่นคงของไทย เนื่องจากสหประชาชาติเป็นองค์การมีกำลังมากที่สุดที่สามารถธำรงสันติภาพ และความมั่นคง และให้ความยุติธรรมสำหรับประเทศเล็ก ๆ อย่างไทย 2. เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเก่าแก่ชาติหนึ่ง เนื่องจากการที่เข้าเป็นสมาชิกขององค์การโลกเป็นการยืนยันรับรองฐานะของไทยอีกครั้งหนึ่ง

ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อใด

ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2489 (ค.ศ. 1946) นับเป็นลำดับที่ 55.

องค์การสหประชาชาติมีบทบาทต่อสังคมไทยอย่างไร

สหประชาชาติได้สนับสนุนรัฐบาลและประชาชนชาวไทยในการรับมือการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในขีดความสามารถและการให้บริการด้านสาธารณสุข อีกทั้งยังส่งเสริมพันธกิจแห่งการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังด้วยการสนับสนุนรัฐบาลให้เพิ่มเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ เงินอุดหนุนบุตร และเงินสงเคราะห์ผู้พิการ รวมถึงการติดตามและ ...

จุดมุ่งมายขององค์การสหประชาชาติคืออะไร

วัตถุประสงค์ เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งหลาย โดยเคารพหลักการแห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเอง