หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

Path ของหน้านี้

  • หน้าหลัก / 
  • รายวิชาทั้งหมด / 
  • สาขาวิชาช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ / 
  • ระดับ ปวส. 2 / 
  • การประมาณการระบบไฟฟ้า SEP2/2563

โครงสร้างหัวข้อ

  • รหัสวิชา 3104 -2202

    หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

    รหัสวิชา 3104 -2202

    การประมาณการระบบไฟฟ้า

    หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

    • กระดานข่าว กระดานเสวนา

    • รายละเอียดรายวิชา แหล่งข้อมูล

      1. หลักสูตรรายวิชา
      2. หน่วยการเรียนรู้
      3. เกณฑ์การวัดและประเมินผล

  • สัปดาห์ที่ 6 ขั้นตอนการประมาณราคาระบบไฟฟ้า

    สัปดาห์ที่ 6 ขั้นตอนการประมาณราคาระบบไฟฟ้า

    - การถอดแบบประมาณราคา

    • จุดประสงค์การเรียนรู้ แหล่งข้อมูล

    • แบบทดสอบก่อนเรียนสัปดาห์ 6

    • ใบความรู้ การถอดแบบประมาณราคา แหล่งข้อมูล

    • ใบงานที่ 6 แหล่งข้อมูล

    • แบบทดสอบหลังเรียนสัปดาห์ 6

  • สัปดาห์ที่ 7 ขั้นตอนการประมาณราคาระบบไฟฟ้า

    สัปดาห์ที่ 7 ขั้นตอนการประมาณราคาระบบไฟฟ้า

    การเสนอราคา

    • จุดประสงค์การเรียนรู้ แหล่งข้อมูล

    • แบบทดสอบก่อนเรียนสัปดาห์ 7

    • ใบความรู้ แหล่งข้อมูล

      การเสนอราคา


    • ใบงานที่ 7 แหล่งข้อมูล

    • แบบทดสอบหลังเรียนสัปดาห์ 7

  • สอบปลายภาค SEP2 สมทบ

    สอบปลายภาค SEP2 สมทบ

    ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 45 ข้อ 15 คะแนนให้นักเรียนทำทุกข้อ 

    • สอบปลายภาค แบบทดสอบ

1.การอ่านเเบบไฟฟ้าในงานติดตั้ง

สัญลักษณ์ของไฟฟ้ามีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับช่างไฟฟ้า เพราะในแบบวงจรไฟฟ้าและการเขียนวงจรไฟฟ้านั้น

จะใช้สัญลักษณ์แทนวัสดุ และอุปกรณ์ต่าง ๆ สัญลักษณ์และความหมายของไฟฟ้าที่สำคัญ มีดังนี้

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า


2.การสื่อสารการเขียนเเบบเพื่อติดตั้งในงานติดตั้งไฟฟ้า

แบบไฟฟ้าดูเหมือนจะมีความชัดเจนมากในงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าในงานติดตั้งเพราะทั้งผู้ทำ และผู้ออกแบบจะติดต่อกันผ่านทางแบบนี้ทั้งสิ้นจนงานสำเร็จ ในการเขียนแบบไฟฟ้าส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหน้าที่ของช่างเทคนิคที่มีความชำนาญในการเขียนโดยใช้วิธีการ และเครื่องมือต่าง ๆ งานเขียนแบบแล้วยังเชื่อมโยงไปถึงงานการออกแบบโดยงานการออกแบบทั้งหมดจะอยู่ในความรับผิดชอบของวิศวกรไฟฟ้า หรือผู้ที่ชำนาญงานทั้งสิ้น ผู้เขียนแบบไฟฟ้าต้องประสานงาน และทำความเข้าใจกับผู้ออกแบบเป็นอย่างดี เพื่อทำให้แบบที่ได้ออกมานั้นมีความสมบูรณ์มากที่สุด ดังนั้นผู้เขียนแบบจึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับ“หลักการเบื้องต้นในการออกแบบระบบไฟฟ้า” ไว้พอสังเขปดังนี้ 

การออกแบบไฟฟ้า หมายถึง การพัฒนาแบบ วิธีการเพื่อจ่ายกำลังไฟฟ้า สัญญาณไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ปลายทาง การออกแบบเป็นงานที่มีความกว้างมากต้องใช้ข้อมูลมากมายในการตัดสินใจเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมเพื่อให้ได้ระบบที่ดี ถูกต้อง และปลอดภัย 

1.1 งานของผู้ออกแบบระบบ และมาตรฐานทางไฟฟ้า 

1.1.1 งานของผู้ออกแบบระบบไฟฟ้า แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้คือ 

1. ระบบกำลัง (Power System) 

(1) ระบบจำหน่าย (Power Distribution System) 

(2) ระบบแสงสว่าง (Lighting System) 

(3) ระบบพลังงานสำรอง (Standby System) 

(4) ระบบป้องกัน (Protection System) 

(5) ระบบขนถ่าย (Vertical Transportation System) 

2. ระบบสื่อสาร และระบบควบคุม (Communication and Control System) 

(1) ระบบโทรศัพท์สื่อสาร (Telephone System) 

(2) ระบบเตือนภัย (Fire Alarm System) 

(3) ระบบเสาอากาศกลาง (Master Antenna TV System) 

(4) ระบบรักษาความปลอดภัย (Security System) 

(5) ระบบทีวีวงจรปิด (Closed Circuit TV System) 

(6) ระบบเสียง (Sound System) 

(7) ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ (Building Automation Control System) 

1.1.2 หน้าที่ของผู้ออกแบบระบบ ผู้ออกแบบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้กว้างขวาง และจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัยจำนวนมาก และมีหน้าที่ดังนี้ 

1. พัฒนาออกแบบระบบให้สามารถจ่ายได้อย่างเพียงพอ และปลอดภัย 

2. เป็นไปตามข้อกำหนด มาตรฐานต่าง ๆ 

3. สอดคล้องกับความต้องการ 

4. ประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัย 

5. เขียนกำหนดรายละเอียดครบถ้วน และถูกต้อง 

1.1.3 ระบบที่ดี (System Stability) ระบบที่ดีควรเป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ ดังนี้ 

1. มีความปลอดภัย (Safety) 

2. มีมูลค่าการเริ่มต้นลงทุนต่ำ (Minimum Initial Investment) 

3. มีการบำรุงรักษาที่ต่อเนื่องต่ำ (Minimum Service Continuity) 

4. มีความยืดหยุ่นต่อการขยายตัวในอนาคต (Maximum Flexibility and Expandability) 

5. มีประสิทธิภาพสูงสุด (Maximum Efficiency) 

6. มีมูลค่าการบำรุงรักษาต่ำ (Minimum Maintenance Cost) 

7. มีการส่งถ่ายกำลังได้ดี (Maximum Power Convey) 

1.1.4 มาตรฐาน (Standard) มาตรฐานเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการออกแบบ ระบบมาตรฐานต่าง ๆ จะเป็นตัวกำหนดพิกัดทางกล พิกัดทางไฟฟ้า และพิกัดอื่น ๆ ของอุปกรณ์ในระบบทั้งหมด และยังรวมถึงการเชื่อมต่อระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันอีกด้วย ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 

1. มาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า (Standard Equipment) มาตรฐานที่ใช้อ้างอิง ดังต่อไปนี้ 

(1) มาตรฐานสากล (International Standard) เช่น ISO, IEC, EN 

(2) มาตรฐานประจำชาติ (National Standard) เช่น ANSI, BS, DIN, VDE, JIS และ TIS 

2. มาตรฐานการติดตั้ง (Standard Installation) มาตรฐานการติดตั้งในประเทศไทย 

(1) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 

(2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 

(3) สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.) 

1.1.5 หน่วยงานระบบ และมาตรฐานสากล ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว  ประเทศที่พัฒนาแล้วได้สร้างผลิตภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ออกจำหน่ายให้กับประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าในเรื่องนั้น ๆ ทำให้เกิดความยุ่งยากในการสื่อความหมายเรื่องรหัสสัญลักษณ์ การติดตั้งใช้งาน การอ่านคู่มือของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นอย่างมาก และที่สำคัญคือการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) ระหว่างกันเพื่อการศึกษา และพัฒนาเนื่องจากสาเหตุนี้ จึงมีประเทศที่พัฒนาแล้วได้รวมกันจัดตั้งหน่วยงานขึ้น เพื่อกำหนดระบบ และมาตรฐานของงานอาชีพสาขาต่าง ๆ ขึ้น หน่วยงานที่ทำหน้าที่นี้ คือ International Organization for Standardization ใช้ตัวย่อ ISO แปลเป็นภาษาไทยว่าองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน องค์การนี้จะทำหน้าที่บัญญัติศัพท์ ให้คำจำกัดความ กำหนดรูปแบบสัญลักษณ์กำหนดคุณสมบัติ คุณภาพของบริภัณฑ์ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ อีกมาก สำหรับงานด้านไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะมีหน่วยงานแยกออกไปเฉพาะ คือ International Electro technical Commission ใช้ตัวย่อ IEC แปลเป็นภาษาไทยว่าคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยเทคนิคไฟฟ้า สำหรับวิชาเขียนแบบไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์นั้น รูปภาพ สัญลักษณ์ (Graphic Symbol) ประเทศไทยจะยึดถือของ IEC ซึ่งขณะนี้หลายประเทศได้ปรับเปลี่ยนระบบมาใช้มาตรฐานของ IEC แล้ว เช่น อังกฤษ เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่จะใช้สัญลักษณ์สากลแทน ประเทศไทยโดยรัฐบาลได้ยอมรับ และใช้ IEC เป็นมาตรฐานของรูปภาพ และสัญลักษณ์เช่นกัน

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า


3.การอ่านแบบไฟฟ้าในงานติดตั้งไฟฟ้า

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานระบบไฟฟ้า

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

1. สายไฟฟ้า

การเลือกใช้สายไฟฟ้า

1.1 ใช้เฉพาะสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มีเครื่องหมาย มอก.11) เท่านั้น

1.2 สายไฟฟ้าชนิดที่ใช้เดินภายในอาคารห้ามนำไปใช้เดินนอกอาคาร เพราะแสงแดดจะทำให้ฉนวนแตกกรอบชำรุด สายไฟชนิดที่ใช้เดินนอกอาคารมักจะมีการเติมสารป้องกันแสงแดดไว้ในเปลือกหรือ ฉนวนของสาย สารป้องกันแสงแดดส่วนใหญ่ที่ใช้กันมากนั้นจะเป็นสีดำ แต่อาจจะเป็นสีอื่นก็ได้ การเดินร้อยในท่อก็มีส่วนช่วยป้องกันฉนวนของสายจากแสงแดดได้ในระดับหนึ่ง

  1.3 เลือกใช้ชนิดของสายไฟให้เหมาะสมกับสภาพการติดตั้งใช้งาน เช่น สายไฟชนิดอ่อนห้ามนำไปใช้เดินยึดติดกับผนังหรือลากผ่านบริเวณที่มีการกดทับ สาย เช่น ลอดผ่านบานพับประตูหน้าต่าง หรือตู้ เนื่องจากฉนวนของสายไม่สามารถรับแรงกดกระแทกจากอุปกรณ์จับยึดสายหรือบานพับ ได้ การเดินสายใต้ดินก็ต้องใช้ชนิดที่เป็นสายใต้ดิน (เช่น สายชนิด NYY) พร้อมทั้งมีการเดินร้อยในท่อเพื่อป้องกันสายใต้ดินไม่ให้เสียหาย เป็นต้น

   1.4 ขนาดของสายไฟฟ้า ต้องใช้สายตัวนำทองแดงและเลือกให้เหมาะสมกับขนาดแรงดันไฟฟ้า(1 เฟส หรือ 3 เฟส) ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน และสอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือสวิตช์อัตโนมัติ (เบรกเกอร์) ที่ใช้ สำหรับขนาดสายเมนและสายต่อหลักดินนั้นก็ต้องสอดคล้องกับขนาดของเมนสวิตช์และ ขนาดของเครื่องวัดฯ ด้วย ตามตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 ขนาดสายไฟฟ้าตามขนาดของเมนสวิตช์

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

1.5 ขนาดของสายต่อหลักดิน ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าที่กำหนดไว้ในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 2 ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดิน

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

หมายเหตุ การเลือกขนาดสายต่อหลักดิน โดยพิจารณาจากขนาดตัวนำประธาน (สายเมน) ของระบบไฟฟ้า

1.6 มาตรฐานสีของฉนวนไฟฟ้า

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

2. มิเตอร์ไฟฟ้า เป็นเครื่องวัดพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ในเดือนหนึ่ง ๆ โดยมีมอเตอร์ที่มาตรไฟฟ้าคอยหมุนตัวเลขบอกค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปเป็นกี่ กิโลวัตต์/ชั่วโมง หรือยูนิต หรือหน่วย

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

3.  เมนสวิตช์ เป็นอุปกรณ์ตัวหลักที่ใช้ตัดต่อวงจรไฟฟ้าของสายเมนเข้าอาคารกับสายภายในทั้ง หมด จึงเป็นอุปกรณ์สับ-เปลี่ยนวงจรไฟฟ้าตัวแรกถัดจากมิเตอร์วัดหน่วยไฟฟ้าเข้ามา ในบ้าน เมนสวิตช์อาจเป็นอุปกรณ์ตัดไฟหลักตัวเดียว หรือจะอยู่รวมกับอุปกรณ์อื่นๆในตู้แผงสวิตช์

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

4. สวิตช์ตัดไฟอัตโนมัติ (เซอร์กิตเบรคเกอร์) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้ตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้าได้ในขณะใช้งานปกติ และยังสามารถตัดกระแสไฟฟ้าเกินหรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจรโดยอัตโนมัติได้ด้วย ทั้งนี้การเลือกใช้เบรกเกอร์จะต้องเลือกขนาดพิกัดในการตัดกระแสลัดวงจร (IC) ของเบรกเกอร์ให้สูงกว่าขนาดกระแสลัดวงจรที่เกิดขึ้นในวงจรนั้นๆ

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

5. ฟิวส์ (Fuse) เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินชนิดหนึ่งทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินค่าที่กำหนด ซึ่งเมื่อฟิวส์ทำงานแล้วจะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ฟิวส์ที่ใช้เปลี่ยนต้องมีขนาดกระแสไม่เกินขนาดฟิวส์เดิม และต้องมีขนาดพิกัดการตัดกระแสลัดวงจร (IC) สูงกว่าขนาดกระแสลัดวงจรสูงสุดที่ไหลผ่านฟิวส์

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

6. เครื่องตัดไฟรั่วหรือเครื่องตัดวงจร เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินเป็นสวิตช์อัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรเมื่อมี กระแสไฟฟ้ารั่วได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้เครื่องตัดไฟรั่วมัก จะเป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อใช้ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด โดยเฉพาะจะใช้ได้ดีเมื่อใช้กับระบบไฟฟ้าที่มีสายดินอยู่แล้วและจะช่วย ป้องกันอัคคีภัยจากไฟฟ้ารั่วได้อีกด้วย เครื่องตัดไฟรั่วนี้จะต้องมีปุ่มสำหรับกดเพื่อทดสอบการทำงานอยู่เสมอ

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

7. หลักดิน (Ground Rod หรือ Grounding Electrode หรือ Earth Electrode) เป็นแท่งหรือแผ่นโลหะที่ฝังอยู่ในดิน เพื่อทำหน้าที่แพร่หรือกระจายประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าให้ไหลลงสู่ดินได้โดย สะดวก วัตถุที่จะนำมาใช้เป็นหลักดิน เช่น แท่งทองแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร (5/8 นิ้ว) ความยาวมาตรฐานต้องยาวไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร เป็นต้น

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

8.  ตุ้มหรือลูกถ้วย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รองรับสายไฟ ทำหน้าที่เป็นฉนวนและป้องกันมิให้กระแสไฟฟ้ารั่วลงดินหรือลัดวงจรลงดิน

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

9.  หลอดไฟฟ้า  (Lamp)  ทำหน้าที่ให้แสงสว่างสำหรับสถานที่ปฏิบัติงาน หรือที่อยู่อาศัย การติดตั้งระบบส่องสว่างควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ  ในการจัดแสง และสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งนั้นก็คือการเลือกประเภทและชนิดของหลอดไฟฟ้า  โดยปกติทั่วหลอดไฟฟ้าไปแบ่งออกได้เป็น 3  ประเภทคือ

9.1  หลอดไฟฟ้าชนิดมีไส้  (Filament  Lamp)  เป็นหลอดไฟฟ้าที่นิยมใช้ในรุ่นแรก ๆ หรือบางที่ก็เรียกว่าหลอดธรรมดา  องค์ประกอบของหลอดประกอบด้วย  หลอดแก้ว, ไส้หลอด, (ส่วนไส้หลอดทำจากทังสเตน) เส้นลวดที่ต่อเข้ากับขั้วหลอด,  ลวดยึดไส้หลอด,และก้านหลอดยึดไส้,  ปัจจุบันนิยมใช้ไม่มากนักเพราะให้กำลังส่องสว่างน้อยกว่าหลอดประเภทอื่น

ในกรณีกำลังวัตต์เท่ากัน  มีจำหน่วยในท้องตลาดมีหลายขนาด  เช่น  40วัตต์  60วัตต์  80วัตต์  100วัตต์ ฯลฯ  อายุการใช้งานประมาณ 1000 ชั่วโมง  หลอดประเภทนี้มีอยู่ 2 ลักษณะ คือชนิด แบบเขี้ยว และชนิดแบบเกลียว

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

    9.2   หลอดไฟฟ้าชนิดเรืองแสง (Fluorescent Lamp) หรือเรียกว่า หลอดฟลูออเรสเซนต์หลอดไฟฟ้าประเภทนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าหลอดไฟฟ้าธรรมดา ถึง 4 เท่า ให้แสงสว่างที่เย็นตามากกว่า รวมทั้งอุณหภูมิความร้อนที่เกิดขึ้นจากหลอดน้อยกว่า  ส่วนประกอบที่สำคัญของหลอดประกอบด้วย

  1)  ตัวหลอด

2)  ขั้วหลอด

  3)  ไส้หลอด

  4)  สารบรรจุภายในหลอด  เช่น อาร์กอน  และไอปรอท

หลอดไฟฟ้าชนิดฟลูออเรสเซนต์ที่จำหน่วยในท้องตลาด มีหลายลักษณะเช่น  หลอดฟลูออเรสเซนต์ ธรรมดา  หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบวงกลม (32 วัตต์)  แบบยาวตรง (18,36 วัตต์)  และหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบบคอมแพค (Compact)   หรือหลอดตะเกียบ

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

 9.3  หลอดไฟฟ้าชนิดอาศัยการอาร์ค  หรือหลอดไฟชนิดคายประจุ  หลอดประเภทนี้ใช้กระแสไฟฟ้ามากในการทำงานไม่นิยมใช้ในบ้านเรือนทั่วไป  ส่วนใหญ่จะใช้เฉพาะจุดหรือพื้นที่ต้องการแสงสว่างมาก ๆ  หลอดไฟฟ้าชนิดนี้มีหลายแบบ เช่น หลอดไอปรอท หลอดฮาโลเจน หลอดโซเดียม หรือหลอดแสงจันทร์

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า

แสงสีของหลอด  สีมีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของมนุษย์  แสงที่ส่องกระทบวัตถุสามารถทำให้สีของวัตถุเปลี่ยนได้  ถ้าเลือกสีได้ถูกต้องจะทำให้มองสีของวัตถุไม่ผิดเพี้ยน  และยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการทำงานได้ด้วย  หลอดฟลูออเรสเซนต์จึงมีแสงสีต่าง ๆ  หลายสีเพื่อให้เลือกใช้ตรงกับต้องการของงาน

แสงที่เรียกว่า เดย์ไลท์(DAY  LIGHT) เป็นแสงที่มีสีใกล้เคียงกับสีของแสงแดด  ทำให้การมองเห็นวัตถุที่ส่องด้วยแสงเดย์ไลท์เหมือนกับที่มองตอนกลางวัน  ในบางประเทศที่ไม่ค่อยมีแสงแดดจะนิยมใช้หลอดชนิดนี้เพื่อให้ความรู้สึกว่ามี แสงแดด

               หลอดวอร์มไวท์   (WARM  WHITE)  สี ของแสงจะออกไปทางแดงปนเหลืองให้ความรู้สึกอบอุ่น  ในประเทศหนาวนิยมใช้สีนี้ในบางสถานที่  เช่น  ห้องนั่งเล่น  เพื่อให้ความรู้สึกอบอุ่น  ช่วยให้ลดความรู้สึกหนาวได้บ้าง  วัตถุที่ส่องด้วยแสงสีนี้จะมีสีเพี้ยนไปบ้าง

หลอดคูลไวท์   (COOL  WHITE)  สีของแสงอยู่ระหว่างหลอดเดย์ไลท์กับหลอดวอร์มไวท์  ให้สีที่ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ  นิยมใช้งานทั่วไป  เหมาะที่จะใช้ในสถานที่ทำงานต่าง ๆ  และในห้างสรรพสินค้า

               หลอดแบล๊คไลท์   (BLACK  LIGHT)  เป็น หลอดที่มีหลอดเป็นแก้วสีดำ  ให้แสงที่ตามองไม่เห็น  แต่เมื่อไปกระทบกับวัตถุสีขาวจะสะท้อนแสงนวลสวยงามนิยมใช้ตามร้านอาหาร  ภัตตาคาร  และสถานที่ที่มีการแสดงในเวลากลางคืนหลอดชนิดนี้จะแผ่รังสีไวโอเลตในปริมาณ สูงซึ่งเป็นอันตรายต่อสายตาและผิวหนัง  จึงไม่ควรใช้เป็นเวลานาน ๆ

        10.  สตาร์ทเตอร์   ทำหน้าที่คล้ายเป็นสวิทช์ อัตโนมัติ  เพื่อเปิดและปิดวงจรของหลอด ฟลูออเรสเซนต์  เมื่อเริ่มต้นทำงานสตาร์ทเตอร์ทำหน้าที่เปิดวงจรเพื่ออุ่นไส้หลอดให้พร้อม ที่จะทำงาน  เมื่อไส้หลอดทำงานเรียบร้อยแล้วสตาร์ทเตอร์ก็ปิดวงจร

11.  บัลลาส   ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะ สมกับหลอดซึ่งแรงดันไฟฟ้าในตอนเริ่มต้นจะสูงมาก  เพื่อจุดไส้หลอดให้ปลดปล่อยอิเลคตรอนออกมา  หลังจากหลอดทำงานแล้ว    บัลลาสจะเปลี่ยนหน้าที่โดยจะเป็นตัวจำกัดปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าหลอด

        12. เต้ารับ (Socket-outlet หรือ Receptacle)หรือปลั๊กตัวเมียคือขั้วรับสำหรับหัวเสียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ปกติเต้ารับจะติดตั้งอยู่กับที่ เช่น ติดอยู่กับผนังอาคาร เป็นต้น

        13.  เต้าเสียบ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยนำปลายของสายไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่กับเต้าเสียบ

ไปเสียบกับเต้ารับ ที่ต่ออยู่ในวงจรไฟฟ้าใดๆ ก็ได้ภายในบ้าน

        14. สวิตช์เปิด-ปิดธรรมดา (Toggle Switch)สวิตช์เปิด-ปิดในที่นี้ หมายถึงสวิตช์สำหรับเปิด-ปิดหลอดไฟหรือโคมไฟสำหรับแสงสว่างหรือเครื่องใช้ ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ที่มีการติดตั้งสวิตช์เอง
อุปกรณ์และวัสดุสำหรับงานเดินสายไฟฟ้า
        1.  เข็มขัดรัดสาย  หรือที่เรียกทั่วไปว่า  คลิป  (clip)  หรือ กิ๊ป  ผลิตจากอะลูมิเนียมขึ้นรูปเป็นแผงบางๆแต่มีความเหนียว มีหลายขนาด  เช่น เบอร์ ¾, 0, 1, 1 ½,  2,  2 ½, 3, 4, 5 และเบอร์ 6 ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด   ตั่งแต่ เบอร์ 3 ถึง เบอร์ 6  จะมีขนาดสองรู  ขนาดอื่นๆ จะมีรูเดียว

2.  ตะปู  ขนาด 3/8  นิ้ว, 5/16 นิ้ว  ใช้ตอกบนอาคารฉาบปูน  และขนาด ½  นิ้ว สำหรับตอกบนอาคารที่เป็นไม้
3.  พุก (fixer)  ใช้งานคู่กับสกรูเพื่อให้การจับยึดอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าต่าง ๆ มีความแข็งแรง พุก ที่ใช้งานทั่ว มี 3 แบบ คือ
3.1 พุกพลาสติก  ใช้กับงานติดตั้งขนาดเล็ก  เช่น  ติดตั้งแป้นไม้ แผงคัทเอ้าท์  จะใช้พุกขนาด  M7 (เอ็ม-เจ็ด)  กล่าวคือ  ต้องใช้อดอกสว่านขนาด 7 มิล และใช้สกรูขนาด 5-6 มม.  นอกจากนี้ยังมีขนาดอื่นๆ เช่น M8 จะโตกว่า M7

3.2 พุกตะกั่ว  ใช้กับงานขนาดกลาง  เนื่องจากทนแรงกดและน้ำหนักได้ดีกว่า เช่นการติดตั้งตู้โหลดเซนเตอร์

3.3 พุกเหล็ก  หรือที่เรียกว่า  โบลว์  (bolt) ใ ช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรงทุกประเภทเนื่องจากรับน้ำหนักได้ดี  แต่มีราคาแพง

4. สกรู  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ตะปูเกลียวปล่อย  มีสองชนิดคือ  ชนิดหัวแฉกและชนิดหัวแบน

5. แป้นไม้  ใช้สำหรับรองรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ มีหลายขนาด อาทิ เช่น 4 × 6 นิ้ว 8 × 10  นิ้ว เป็นต้น ปัจจุบันมีการผลิตแป้นพลาสติกออกมาใช้งานควบคู่กับแป้นไม้ ได้รับความนิยมใกล้เคียงกัน

6.  เทปพันสายไฟ   เป็นเทปพลาสติคหรือผู้ทำ หน้าที่เป็นฉนวนใช้พันสายไฟบริเวณจุดต่อของสายเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร  ซึ่งเทปที่ดีควรเป็นฉนวนที่ดี อ่อน  เหนียว และกาวของเทปมีความเหนียวคงทน  เมื่อพันสายไฟแล้วแนบกับสายได้ดี

        7.เคเบิ้ลไทร์(Cable Ties) เข็มขัดรัดสายไฟ, สายรัดไนล่อนเอนกประสงค์ สายรัดในล่อน เอนกประสงค์

        8. ตลับแยกสาย  มีลักษณะกลมมีฝาเกลียวปิด  หรือเป็นกล่องพลาสติคสี่เหลี่ยมจัตุรัส สามารถเจาะรูออกรอบ ๆ ได้  4 รู  ตลับแยกสายมีไว้สำหรับต่อสายภายในตลับ  เพื่อให้ดูเรียบร้อยสวยงาม ในการต่อแยกสายไปใช้หลายจุด  เช่น ปลั๊ก  สวิทช์  ดวงโคม ฯลฯ  แต่ในปัจจุบันตลับแยกสายไม่เป็นที่นิยมในการต่อจุดแยก  ส่วนใหญ่จะนิยมเชื่อมต่อวงจรภายในแผงสวิทช์หรือปลั๊กแทน

9.   แป้นไม้, แป้นพลาสติค    ทำด้วยไม้หรือพลา สติค  ทรงสี่เหลี่ยมมีหลายขนาด เช่น   8 นิ้ว x 10นิ้ว , 10นิ้ว x 12นิ้ว , 6 นิ้ว x 8 นิ้ว , ฯลฯ ใช้สำหรับติดตั้งหรือรองอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น สวิทช์  ปลั๊ก  เบรกเกอร์  คัทเอาท์  ฯลฯ  ในบางกรณีแป้นไม้ หรือ พลาสติคสามารถใช้แทนตลับแยกสาย

10.  บ๊อกสวิทช์,ปลั๊ก    สำหรับติดตั้งหน้ากาก สวิทช์และปลั๊ก  แยกได้เป็น  2  ลักษณะคือ  บ๊อกใช้สำหรับฝังในผนังปูน อาจทำด้วยเหล็กหรือพลาสติค และอีกประเภทหนึ่งคือ บ๊อกติดภายนอกผนังปูน  (บ๊อกลอย)  ส่วนใหญ่ทำด้วยพลาสติค

11.  หน้ากาก  สวิทช์-ปลั๊ก  สำหรับติดตั้งสวิทช์และปลั๊ก  ปัจจุบันเป็นที่นิยมเพราะติดตั้งได้ง่าย เรียบร้อยกว่าสวิทช์-ปลั๊ก รุ่นแรก ๆ แยกได้  3 ลักษณะ คือ  หน้ากาก 1 ช่อง,  หน้ากาก 2 ช่องและหน้ากาก 3 ช่อง  ใน 1 ช่องนั้น สามารถติดปลั๊กหรือสวิทช์ได้เพียง 1 ตัวเท่านั้น

12. ท่อสำหรับเดินสายไฟ   เป็นท่อ P.V.C  สำหรับใส่สายไฟเข้าไปภายใน  ปัจจุบันนิยมใช้ท่อเดินสายไฟภายในอาคารเพราะสะดวกในการติดตั้ง และสามารถซ่อมแซมระบบสายไฟได้ง่าย  มีหลายขนาด  ที่นิยมใช้ คือขนาด 20 มิลลิเมตร 25 มิลลิเมตร และ 30 มิลลิเมตร  ลักษณะของท่อ P.V.C  ที่ใช้สำหรับงานไฟฟ้ามี 2 สี   คือ ท่อสีขาว  สำหรับเดินสายไฟภายในอาคารทั่วไป  ท่อสีเหลือง เหมาะสำหรับเดินสายไฟฟ้าฝังดินหรือเดินสายไฟภายในโรงงาน

13.  อุปกรณ์สำหรับท่อเดินสายไฟ  อุปกรณ์ที่ กล่าวถึงในที่นี้เป็นอุปกรณ์ทั่วไป  สำหรับการติดตั้งระบบการเดินสายไฟฟ้าแบบปิด (ร้อยท่อ)  ทำหน้าที่ในการยึด-ต่อ อุปกรณ์และท่อเข้าด้วยกัน  เพื่อให้แข็งแรงและสวยงาม เช่น

13.1  ข้อต่อตรง  สำหรับต่อท่อเข้าด้วยกัน

13.2  คอนเนกเตอร์  สำหรับต่ออุปกรณ์และท่อเข้าด้วยกัน

13.3  ข้อต่ออ่อน  สำหรับต่อท่อที่เยื้องหรืออยู่คนละแนวกัน

13.4  ข้องอ  สำหรับต่อท่อที่หักเลี้ยวเป็นมุมฉาก

13.5  สามทาง  สำหรับต่อแยกท่อได้  3  ทาง

13.6  เข็มขัดรัดท่อ  สำหรับยึดท่อ

สรุป

ระบบไฟฟ้าเป็นระบบที่มีความสำคัญในบ้านทุกบ้าน การเลือกใช้ระบบไฟฟ้า การเดินสายไฟ ชนิดของสายไฟ และอุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน เป็นเรื่องที่ผู้ใช้ต้องมีความรู้พื้นฐาน เพื่อนำไปสู่การพิจารณาเลือกใช้ให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดเป็นการช่วย ประหยัดพลังงานและยังมีผลดีต่อส่วนรวมของประเทศในแง่ของการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในด้านการลดภาวะโลกร้อนได้

4.การเเยกหมวดหมู่อุปกรณ์ในงานติดตั้งไฟฟ้า

การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบไฟฟ้า

อุปกรณ์ป้องกันระบบไฟฟ้า  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาด  ของอุปกรณ์ไฟฟ้าและป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร

เครื่องมือและอุปกรณ์การเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน

โดยปกติแล้วการเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสายเรียกได้ว่าเป็นการเดินสายบนผิวอาคาร  ซึ่งใช้กับสายทั้งชนิดแกนเดียวและสายแบน  (สาย  VAF)  ทั้งแบบ  2  แกน  และ  3  แกนใช้เดินภายในอาคารทั่วไป  ถ้าต้องการเดินนอกอาคารจะยอมให้เฉพาะบริเวณใต้ชายคาหรือกันสาด

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินสายไฟฟ้า  ประกอบด้วย

1.  ค้อนเดินสาย  ใช้สำหรับตอกตะปู  หัวค้อนทำด้วยเหล็กชุบแข็ง  หนักประมาณ                      

100 – 250  กรัม  หน้าค้อนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ด้ามค้อนทำด้วยไม้  การจับค้อนควรจับบริเวณ ปลายด้ามค้อน  เพื่อช่วยให้มีแรงตอกมากขึ้น  นอกจากนี้ยังใช้กะระยะห่างของเข็มขัดรัดสายโดยใช้ระยะ  1  หัวค้อนหรือบวกเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยประมาณ  1 – 4  เซนติเมตรตามต้องการ

2.  ตลับเมตร  ใช้วัดระยะในการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า  มีความยาวหลายขนาดให้เลือกใช้  แต่โดยทั่วไปจะใช้ขนาดยาว  2  เมตร  เมื่อดึงแถบเทปออกมาจะมีปุ่มสำหรับล็อคเทปไว้เมื่อคลายปุ่มล็อค  เทปจะม้วนกลับโดยอัตโนมัติ  การใช้งานห้ามดึงเทปออกมายาวเกินกว่าขีดกำหนด  มิฉะนั้นเทปอาจหลุดออกจากตลับหรือไม่สามารถม้วนกลับได้

3.  สว่านไฟฟ้า  ควรเป็นแบบกระแทกที่เลือกปรับได้  ทั้งใช้เจาะรูวัสดุทั่วไป เช่น  โลหะ  ไม้  พลาสติด  และเจาะคอนกรีต  สว่านบางชนิดยังสามารถปรับความเร็วได้ด้วย

4.  บิดหล่า  ใช้เจาะรูไม้ก่อนที่จะขันสกรูเกลียวปล่อยเพื่อยึดอุปกรณ์ไฟฟ้าควรใช้บิดหล่าเจาะรูนำให้มีขนาดเล็กกว่าขนาดสกรู

5.  ไขควง  ที่ใช้ในงานไฟฟ้า  ด้ามจับต้องหุ้มด้วยฉนวนมิดชิด  มีทั้งไขควงปากแบน  และไขควงปากแฉก  นอกจากนี้ควรมีไขควงวัดไฟ  เพื่อใช้ตรวจสอบสายไฟว่ามีไฟหรือไม่และยังใช้ตรวจไฟรั่วของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ด้วย  การใช้ไขควงวัดไฟห้ามใช้กับแรงดันที่สูงกว่าค่าที่ระบุบนด้ามไขควง

6.  มีด  ใช้สำหรับปอกฉนวนของสายไฟ  การปอกสายไฟด้วยมีดควรปอกเฉียง ๆคล้ายการเหลาดินสอทำมุมไม่เกิน  60  องศา  เพื่อไม่ให้คมมีดบาดตัวนำจนขาด

7.  คีมรวมหรือคีมผสม  ใช้ในงานตัดสายไฟ  ตัดลวดเหล็ก  ตัดปลายตะปู  จับชิ้นงาน

คีมปากจิ้งจกหรือคีมปากยาว  ใช้ในงานหยิบจับสิ่งของขนาดเล็ก

9.  คีมตัด  ใช้ตัดสายไฟที่มีและไม่มีฉนวนหุ้ม  คีมตัดบางชนิดมีรูเล็ก ๆ  สำหรับปอกฉนวนของสายไฟ

10.  เหล็กนำศูนย์  ใช้ในการเดินสายบนคอนกรีต  โดยใช้เหล็กนำศูนย์ตอกคอนกรีต   ให้เป็นหลุมเล็ก ๆ  ก่อน  แล้วจึงตอกตะปูยึดเข็มขัดรัดสายลงไปจะช่วยให้การตอกตะปูทำได้ง่ายขึ้น  อาจใช้ตะปูตอกคอนกรีตเจียรปลายให้เล็กและแหลมแทนการใช้เหล็กนำศูนย์ได้

11.  เหล็กส่ง  ทำด้วยเหล็กสกัดปากตัดหรือเหล็กเส้นแบน  ยาวประมาณ  7 – 10  เซนติเมตร  ใช้ตอกเข็มขัดรัดสายกรณีเดินสายชิดมุมผนัง

12.  สกัด  ใช้เมื่อต้องการสกัดผนังคอนกรีตเพื่อฝังกล่องสวิทช์หรือปลั๊ก

13.  เลื่อย  อาจจำเป็นต้องใช้ในการตัดวัสดุ  มี  2  แบบ  คือ  เลื่อยลันดาสำหรับตัดไม้  และเลื่อยตัดเหล็ก

14.  มัลติมิเตอร์  ใช้ในการตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า  ตรวจสอบวงจรและตรวจสภาพ                   ของอุปกรณ์ไฟฟ้า

15.  บักเต้า  ใช้ในการตีแนวเส้นก่อนตอกตะปูยึดเข็มขัดรัดสาย  ช่วยให้ได้แนวสายที่ตรงสวยงาม  ภายในบักเต้าประกอบด้วยเส้นด้ายและสีฝุ่น  เมื่อดึงเส้นด้ายออกมาทาบกับผนังหรือเพดานและขึงให้ตึง  ณ  จุดที่ต้องการ  จากนั้นดึงด้ายขึ้นแล้วดีดกลับไปยังผนังก็จะเห็นแนวเส้นตามต้องการ

16.  เข็มขัดรัดสายและตะปู  ทำด้วยอลูมิเนียมบาง ๆ  มีรูตรงกลางสำหรับตอกตะปูยึดกับผนัง  ขนาดเข็มขัดรัดสายตามมาตรฐานจะระบุเป็นเบอร์  คือ  เบอร์  0 , 1 , 2 , 3 , 4 , 5  และ  6 เข็มขัดรัดสายเบอร์  0  จะมีขนาดเล็กที่สุด  และเบอร์  6  มีขนาดโตสุด  โดยเบอร์  3  ขึ้นไปจะมีรูสำหรับตอกตะปู  2  รู  ในการยึดเข็มขัดรัดสายจะใช้ตะปูขนาดเล็กยาว    นิ้ว  ตอกยึดกับผนัง ในท้องตลาดปัจจุบันอาจพบเข็มขัดรัดสายที่มีเบอร์ต่างไปจากที่กำหนด  แต่ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน

5.คุณสมบัติของอุปกรณ์ในงานติดตั้งไฟฟ้า

1. สายไฟฟ้า

การเลือกใช้สายไฟฟ้า

1.1 ใช้เฉพาะสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มีเครื่องหมาย มอก.11) เท่านั้น

1.2 สายไฟฟ้าชนิดที่ใช้เดินภายในอาคารห้ามนำไปใช้เดินนอกอาคาร เพราะแสงแดดจะทำให้ฉนวนแตกกรอบชำรุด สายไฟชนิดที่ใช้เดินนอกอาคารมักจะมีการเติมสารป้องกันแสงแดดไว้ในเปลือกหรือ ฉนวนของสาย สารป้องกันแสงแดดส่วนใหญ่ที่ใช้กันมากนั้นจะเป็นสีดำ แต่อาจจะเป็นสีอื่นก็ได้ การเดินร้อยในท่อก็มีส่วนช่วยป้องกันฉนวนของสายจากแสงแดดได้ในระดับหนึ่ง

1.3 เลือกใช้ชนิดของสายไฟให้เหมาะสมกับสภาพการติดตั้งใช้งาน เช่น สายไฟชนิดอ่อนห้ามนำไปใช้เดินยึดติดกับผนังหรือลากผ่านบริเวณที่มีการกดทับ สาย เช่น ลอดผ่านบานพับประตูหน้าต่าง หรือตู้ เนื่องจากฉนวนของสายไม่สามารถรับแรงกดกระแทกจากอุปกรณ์จับยึดสายหรือบานพับ ได้ การเดินสายใต้ดินก็ต้องใช้ชนิดที่เป็นสายใต้ดิน (เช่น สายชนิด NYY) พร้อมทั้งมีการเดินร้อยในท่อเพื่อป้องกันสายใต้ดินไม่ให้เสียหาย เป็นต้น

1.4 ขนาดของสายไฟฟ้า ต้องใช้สายตัวนำทองแดงและเลือกให้เหมาะสมกับขนาดแรงดันไฟฟ้า(1 เฟส หรือ 3 เฟส) ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน และสอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือสวิตช์อัตโนมัติ (เบรกเกอร์) ที่ใช้ สำหรับขนาดสายเมนและสายต่อหลักดินนั้นก็ต้องสอดคล้องกับขนาดของเมนสวิตช์และ ขนาดของเครื่องวัดฯ ด้วย ตามตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 ขนาดสายไฟฟ้าตามขนาดของเมนสวิตช์

1.5 ขนาดของสายต่อหลักดิน ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าที่กำหนดไว้ในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 2 ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดิน

หมายเหตุ การเลือกขนาดสายต่อหลักดิน โดยพิจารณาจากขนาดตัวนำประธาน (สายเมน) ของระบบไฟฟ้า

1.6 มาตรฐานสีของฉนวนไฟฟ้า

2. มิเตอร์ไฟฟ้า เป็นเครื่องวัดพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ในเดือนหนึ่ง ๆ โดยมีมอเตอร์ที่มาตรไฟฟ้าคอยหมุนตัวเลขบอกค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปเป็นกี่ กิโลวัตต์/ชั่วโมง หรือยูนิต หรือหน่วย

3.  เมนสวิตช์ เป็นอุปกรณ์ตัวหลักที่ใช้ตัดต่อวงจรไฟฟ้าของสายเมนเข้าอาคารกับสายภายในทั้ง หมด จึงเป็นอุปกรณ์สับ-เปลี่ยนวงจรไฟฟ้าตัวแรกถัดจากมิเตอร์วัดหน่วยไฟฟ้าเข้ามา ในบ้าน เมนสวิตช์อาจเป็นอุปกรณ์ตัดไฟหลักตัวเดียว หรือจะอยู่รวมกับอุปกรณ์อื่นๆในตู้แผงสวิตช์

4. สวิตช์ตัดไฟอัตโนมัติ (เซอร์กิตเบรคเกอร์) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้ตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้าได้ในขณะใช้งานปกติ และยังสามารถตัดกระแสไฟฟ้าเกินหรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจรโดยอัตโนมัติได้ด้วย ทั้งนี้การเลือกใช้เบรกเกอร์จะต้องเลือกขนาดพิกัดในการตัดกระแสลัดวงจร (IC) ของเบรกเกอร์ให้สูงกว่าขนาดกระแสลัดวงจรที่เกิดขึ้นในวงจรนั้นๆ

5. ฟิวส์ (Fuse) เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินชนิดหนึ่งทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินค่าที่กำหนด ซึ่งเมื่อฟิวส์ทำงานแล้วจะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ฟิวส์ที่ใช้เปลี่ยนต้องมีขนาดกระแสไม่เกินขนาดฟิวส์เดิม และต้องมีขนาดพิกัดการตัดกระแสลัดวงจร (IC) สูงกว่าขนาดกระแสลัดวงจรสูงสุดที่ไหลผ่านฟิวส์

6. เครื่องตัดไฟรั่วหรือเครื่องตัดวงจร เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินเป็นสวิตช์อัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรเมื่อมี กระแสไฟฟ้ารั่วได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้เครื่องตัดไฟรั่วมัก จะเป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อใช้ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด โดยเฉพาะจะใช้ได้ดีเมื่อใช้กับระบบไฟฟ้าที่มีสายดินอยู่แล้วและจะช่วย ป้องกันอัคคีภัยจากไฟฟ้ารั่วได้อีกด้วย เครื่องตัดไฟรั่วนี้จะต้องมีปุ่มสำหรับกดเพื่อทดสอบการทำงานอยู่เสมอ

7. หลักดิน (Ground Rod หรือ Grounding Electrode หรือ Earth Electrode) เป็นแท่งหรือแผ่นโลหะที่ฝังอยู่ในดิน เพื่อทำหน้าที่แพร่หรือกระจายประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าให้ไหลลงสู่ดินได้โดย สะดวก วัตถุที่จะนำมาใช้เป็นหลักดิน เช่น แท่งทองแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร (5/8 นิ้ว) ความยาวมาตรฐานต้องยาวไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร เป็นต้น

8.  ตุ้มหรือลูกถ้วย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รองรับสายไฟ ทำหน้าที่เป็นฉนวนและป้องกันมิให้กระแสไฟฟ้ารั่วลงดินหรือลัดวงจรลงดิน

9.  หลอดไฟฟ้า  (Lamp)  ทำหน้าที่ให้แสงสว่างสำหรับสถานที่ปฏิบัติงาน หรือที่อยู่อาศัย การติดตั้งระบบส่องสว่างควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ  ในการจัดแสง และสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งนั้นก็คือการเลือกประเภทและชนิดของหลอดไฟฟ้า  โดยปกติทั่วหลอดไฟฟ้าไปแบ่งออกได้เป็น 3  ประเภทคือ

9.1  หลอดไฟฟ้าชนิดมีไส้  (Filament  Lamp)  เป็นหลอดไฟฟ้าที่นิยมใช้ในรุ่นแรก ๆ หรือบางที่ก็เรียกว่าหลอดธรรมดา  องค์ประกอบของหลอดประกอบด้วย  หลอดแก้ว, ไส้หลอด, (ส่วนไส้หลอดทำจากทังสเตน) เส้นลวดที่ต่อเข้ากับขั้วหลอด,  ลวดยึดไส้หลอด,และก้านหลอดยึดไส้,  ปัจจุบันนิยมใช้ไม่มากนักเพราะให้กำลังส่องสว่างน้อยกว่าหลอดประเภทอื่น

ในกรณีกำลังวัตต์เท่ากัน  มีจำหน่วยในท้องตลาดมีหลายขนาด  เช่น  40วัตต์  60วัตต์  80วัตต์  100วัตต์ ฯลฯ  อายุการใช้งานประมาณ 1000 ชั่วโมง  หลอดประเภทนี้มีอยู่ 2 ลักษณะ คือชนิด แบบเขี้ยว และชนิดแบบเกลียว

9.2   หลอดไฟฟ้าชนิดเรืองแสง (Fluorescent Lamp) หรือเรียกว่า หลอดฟลูออเรสเซนต์หลอดไฟฟ้าประเภทนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าหลอดไฟฟ้าธรรมดา ถึง 4 เท่า ให้แสงสว่างที่เย็นตามากกว่า รวมทั้งอุณหภูมิความร้อนที่เกิดขึ้นจากหลอดน้อยกว่า  ส่วนประกอบที่สำคัญของหลอดประกอบด้วย

1)  ตัวหลอด

2)  ขั้วหลอด

3)  ไส้หลอด

4)  สารบรรจุภายในหลอด  เช่น อาร์กอน  และไอปรอท

หลอดไฟฟ้าชนิดฟลูออเรสเซนต์ที่จำหน่วยในท้องตลาด มีหลายลักษณะเช่น  หลอดฟลูออเรสเซนต์ ธรรมดา  หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบวงกลม (32 วัตต์)  แบบยาวตรง (18,36 วัตต์)  และหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบบคอมแพค (Compact)   หรือหลอดตะเกียบ

9.3  หลอดไฟฟ้าชนิดอาศัยการอาร์ค  หรือหลอดไฟชนิดคายประจุ  หลอดประเภทนี้ใช้กระแสไฟฟ้ามากในการทำงานไม่นิยมใช้ในบ้านเรือนทั่วไป  ส่วนใหญ่จะใช้เฉพาะจุดหรือพื้นที่ต้องการแสงสว่างมาก ๆ  หลอดไฟฟ้าชนิดนี้มีหลายแบบ เช่น หลอดไอปรอท หลอดฮาโลเจน หลอดโซเดียม หรือหลอดแสงจันทร์แสงสีของหลอด

6.การถอดราคาวัสดุ ในงานติดตั้งไฟฟ้า

การประมาณราคาค่าก่อสร้างตามขั้นตอนต่าง ๆ ในกระบวนการก่อสร้างอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ ดังนี้

1. การประมาณราคาขั้นต้น

- การประมาณราคาต่อหน่วยการใช้ การประมาณราคาโดยวิธีนี้ทำได้โดยการที่ทราบแบบอาคารที่จะใช้ในโครงการทั้ง หมด เป็นการคำนวณได้ผลค่อนข้างหยาบโดยมีความคลาดเคลื่อนของผลลัพธ์ 20-30% แต่ใช้เวลาน้อย ทั้งนี้ผู้ประมาณการจะใช้วิธีนับหน่วยการใช้ของอาคาร เช่น งานแฟลตอาจนับจำนวนห้องพัก งานโรงพยาบาลอาจนับจำนวนเตียงคนไข้ผู้ป่วยใน เป็นต้น แล้วคำนวณงบประมาณ 487,994 บาทต่อห้องพัก หรือ 4,879,947 บาทต่อหลัง (ตัวเลขประมาณปี พ.ศ. 2550)

ทั้งนี้ผู้ประมาณการต้องมีข้อมูลในอดีตมากเพียงพอสำหรับใช้เป็นพื้นฐานในการประยุกต์ใช้ ทั้งนี้การนำข้อมูลมาใช้ต้องคำนึงถึง

- อัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีที่ผ่านมา

- จำนวนหรือขนาดของโครงการที่ต่างกัน เช่น งานสร้างบ้านพักนายพันจำนวน 1 หลังกับสร้างบ้านพักแบบเดียวกันจำนวน 3 หลัง

- ค่า FACTOR F (อำนวยการ, กำไร, ภาษี ฯลฯ) ที่เปลี่ยนไป

7.การประมาณการวัสดุในงานติดตั้งไฟฟ้า

การประมาณราคา (Cost Estimate) ความหมายของการประมาณราคาการประมาณราคา หมายถึง การคำนวณหาปริมาณวัสดุ ค่า แรงและค่าดำเนินการที่ราคาใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายจริงมากที่สุด ในการแยกรายการวัสดุ ค่าแรง ค่าใช้จ่ายเครื่องมือเครื่องจักร และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานโดยมีผลกับตัวแปรตามในด้านระยะเวลาของการทำงาน ดังนั้นการประมาณราคาจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริง แต่อาจใกล้เคียงกับราคาจริง ซึ่งไม่ควรจะผิดพลาดไปจากราคาที่แท้จริงเกินกว่า 10 %

การประมาณ หมายถึง การวิเคราะห์ การให้ความเห็น การพยากรณ์ หรือการคาดหมายล่วงหน้า ดังนั้นการประมาณต้นทุนจึงเป็นการวิเคราะห์ หรือการให้ความเห็นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในกระบวนการทำงานหรือกระบวนการผลิต ซึ่งอาจเป็นการทำผลิตภัณฑ์ การจัดทำโครงการ หรือการผลิตงานบริการ

การประมาณ (คำนาม) หมายถึง การประเมินค่าแบบให้ออกมาในรูปของค่าใช้จ่าย หรือให้เป็นจำนวนหรือเป็นมูลค่า

การประมาณ (กริยา) หมายถึงประเมินค่า กำหนดค่า หรือตีราคา

การประมาณราคา เป็นงานที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ผู้ประมาณราคาต้องมีความรู้ทางวิชาการ ความรู้ทางด้านการผลิต หรือการก่อสร้างเกี่ยวกับงานที่ทำการประมาณราคา ความรู้ทางด้านวัสดุ และมาตรฐานของวัสดุแต่ละประเภท ความรู้ทางด้านสถิติ ฯลฯ ในโครงการขนาดใหญ่ ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่บริเวณก่อสร้าง และบริเวณที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักร และแรงงาน กฎระเบียบและธรรมเนียมปฏิบัติที่ใช้ในบริเวณสถานที่ก่อสร้าง

ดังนั้นการประมาณการที่สมเหตุสมผลที่สุด ผู้ประมาณราคาจึงต้องมีระบบเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานและราคาที่ทันสมัย และทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่อาจบังเกิดขึ้น เพื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายรวมอยู่ในงาน

8.ค่าใช้จ่ายอื่นๆในงานติดตั้งไฟฟ้า

1.ค่าแรงติดตั้งตู้คอนโทรลใหญ่ (ชั้น ลอย) : 4,500 บาท

2.ค่าแรงติดตั้งตู้คอนโทรลตามชั้น (ชั้น2/3) : ชั้นละ 2,500 บาท 

3.ชุดราง wire way ร้อยสายไฟ 2x4" : 350 บาท/เมตร

4.ชุดหางปลาทองแดงจั๊มสายเมน : 850 บาท

5.สายเมนโทรศัพท์, TV, LAN : 900/จุด

6.ค่าตู้ อุปกรณ์ ตามใบเสร็จ

ค่าบริการอื่นๆ

1.ค่าเดินทาง  

2.ค่าอาหาร   

3.ค่าส่งของ   

4.ค่าสวัสดิการลูกจ้าง

5.ค่ารักษาพยาบาลเมื่อได้รับบาดเจ็บในหน้างาน

9.การคำนวณราคาในงานติดตั้งไฟฟ้า

-ไฟส่องสว่าง : 650/จุด (ทั้งหมดประมาณ 50 จุด)

-ปลั๊กกราวด์แบบคู่ : 800/จุด  (ทั้งหมดประมาณ 30 จุด)

-น้ำอุ่น : 1,800/จุด (1 จุด)

-ลูกลอยไฟฟ้า (ดาดฟ้า) : 1,550/จุด (1จุด)

-สายเมนปั๊มน้ำ : 950/จุด (1 จุด)

-แอร์ : 1,600/จุด (ร้อยท่อ 2 จุด / ตีกิ๊ป 2 จุด) 

** สวิตซ์ปลั๊ก Panasonic ฝังผนัง / สายไฟ Yazaki **

ราคา=ต้นทุนทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง+กำไร

ตัวอย่างเช่น

ต้นทุน=ค่าสายไฟ1,800+ค่าสวิตซ์ไฟ250+คัทเอาท์800+ฟิวส์80+กิ๊ปรัดสายไฟ70+หลอดไฟ960

=3,960

กำไรคือค่าเเรงช่าง=5,800

ราคา=3,960+5,800=9,760

10.การทำราคาในรูปเเบบรายการประมาณการ(BOQ)อาคารบ้านพักอาศัยโดยใช้โปรเเกรมตารางคำนวนในงานติดตั้งไฟฟ้า

โปรแกรมคำนวณราคาอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นโปรแกรมที่สามารถคำนวณราคารวม ในการเลือกซื้ออุปกรณ์ในการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในอาคาร หรือภายในห้องว่า มีราคารวมเป็นเท่าใด โดยจะสามารถเลือกจำนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิด ว่าต้องการชนิดละกี่ชิ้น แล้วคำนวณออกมาเป็นราคารวมต่อหนึ่งห้อง โดยจะสามารถอำนวยความสะดวกสบายให้กับ ช่างไฟฟ้าหรือผู้รับเหมาประมาณราคาในการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

BOQ คืออะไร?  (Bill of Quantities) คือบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและแรงงานที่จะใช้ในการก่อสร้าง โดยแยกวัสดุออกเป็นหน่วยของแต่ละประเภทพร้อมด้วยราคาค่าวัสดุและราคาค่าแรงงานตลอดจนการเผื่อเปอร์เซ็นเสียหายทั้งวัสดุและแรงงานเพื่อให้ได้ราคาที่ใกล้เคียงและน่าจะเป็นที่สุดสำหรับราคาการก่อสร้าง โดยทั่วไป บ้านพักอาศัย BOQ

หนังสือการประมาณการระบบไฟฟ้า