คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564

คำสั่งโรงเรียนวังทองพิทยาคม ที่241/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการการเสริมสร้างจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม โรงเรียนปลอดขยะ (ZERO Waste School) ประจำปีการศึกษา 2565

โพสเมื่อ : 30 พ.ย. 2565,13:35   อ่าน 63 ครั้ง

ไฟล์คำสั่งประกาศผลการประกวดอย่างเป็นทางการ ดาวน์โหลดตามลิงค์ลิงค์ด้านล่างครับ http://www.boyr.com/getfile.php?id=1418490&key=524113f36fbf4

Posted by โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School - DEQP on Monday, September 23, 2013

กระทรวงมหาดไทย พร้อมผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ร่วมลงนามกับสหประชาชาติ มุ่ง Change for Good เพื่อโลกที่ยั่งยืน03 เรื่องกระทรวงมหาดไทย พร้อมผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ร่วมลงนามกับสหประชาชาติ มุ่ง Change for Good เพื่อโลกที่ยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม

3 / 3

คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564

ก่อนหน้า ถัดไป

01 GCNT และ UN Thailand รวมพลังภาคเอกชน ปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศ ร้อยละ 30 ภายในปี 2030

ล่าสุด

คำกล่าวและสุนทรพจน์

10 ธันวาคม 2022

คำกล่าวของเลขาธิการสหประชาชาติเนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล (10 ธันวาคม 2565)

เรียนรู้เพิ่มเติม

เรื่อง

06 ธันวาคม 2022

เมื่อคนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาสร้างนโยบายสุขภาพ ณัฐณิชา มานะบริบูรณ์ นักเรียนแพทย์ผู้ฝันอยากเป็นนักขับเคลื่อน

เรียนรู้เพิ่มเติม

คำกล่าวและสุนทรพจน์

03 ธันวาคม 2022

คำกล่าวของเลขาธิการสหประชาชาติ เนื่องในวันคนพิการสากล (3 ธันวาคม 2565)

เรียนรู้เพิ่มเติม

ล่าสุด

คำกล่าวและสุนทรพจน์

10 ธันวาคม 2022

คำกล่าวของเลขาธิการสหประชาชาติเนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล (10 ธันวาคม 2565)

เรียนรู้เพิ่มเติม

เรื่อง

06 ธันวาคม 2022

เมื่อคนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาสร้างนโยบายสุขภาพ ณัฐณิชา มานะบริบูรณ์ นักเรียนแพทย์ผู้ฝันอยากเป็นนักขับเคลื่อน

เรียนรู้เพิ่มเติม

คำกล่าวและสุนทรพจน์

03 ธันวาคม 2022

คำกล่าวของเลขาธิการสหประชาชาติ เนื่องในวันคนพิการสากล (3 ธันวาคม 2565)

เรียนรู้เพิ่มเติม

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน ประเทศไทย

การทำงานของหน่วยงานทั้ง 21 แห่งของสหประชาชาติในประเทศไทยครอบคลุมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมดในฐานะประเทศผู้มีรายได้ปานกลางระดับสูงจากการประเมินโดยองค์การสหประชาชาติ ทีมสหประชาชาติประจำประเทศจะสนับสนุนกิจกรรมที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังต่อไปนี้ ข้อ 1.3 การขยายขอบเขตการคุ้มครองทางสังคม ข้อ 3.4 การแก้ปัญหาเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อ ข้อ 4.1 การช่วยให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษา โดยมุ่งเน้นไปที่เยาวชนอพยพ ข้อ 5.5 การสนับสนุนเพื่อให้สตรีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองมากขึ้น ข้อ 8.3 การสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมโดยเยาวชน ข้อ 10.2 การเปิดรับคนชายขอบ โดยเฉพาะชุมชน LGBTI ข้อ 10.7 การดูแลการโยกย้ายถิ่นฐาน ข้อ 13.2 ยุทธศาสตร์เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ข้อ 16.1 การสนับสนุนความสามัคคีในสังคมเพื่อยุติความรุนแรงในภาคใต้ของประเทศไทย ข้อ 16.9 การผลักดันและสนับสนุนการยุติปัญหาคนไร้สัญชาติ ข้อ 17.7 การเป็นพันธมิตรกับภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และข้อ 17.9 การแบ่งปันประสบการณ์ของประเทศไทยและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดผ่านการแลกเปลี่ยนใต้ – ใต้

คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564
คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564

เรียนรู้เพิ่มเติม

เรื่องเด่น เรื่อง ข่าวประชาสัมพันธ์

เรื่อง

23 มิถุนายน 2022

‘ขยะกองเท่าภูเขา เราแก้ไขได้’ ส่องแนวคิดเมืองอัจฉริยะ พิชิตขยะ 900 ตัน/วันของแหลมฉะบัง

แม้ประชากรและความเป็นเมืองจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว กระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 ปริมาณขยะพลาสติกที่มีมากอยู่แล้วก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น แต่เทศบาลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี กลับไม่มีขยะตกค้างเพราะระบบจัดการขยะมูลฝอยแบบ ‘เมืองอัจฉริยะพิชิตขยะ (Waste Wise Cities)’ ช่วยให้สามารถฝังกลบขยะได้มากถึง 910 ตันต่อวัน แหลมฉบังเป็น 1 ใน 6 พื้นที่นำร่องของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ร่วมกำหนดกลยุทธ์การจัดการขยะและทรัพยากรใหม่ ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของประเทศไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน โดยแนวคิดเมืองอัจฉริยะฯ มีเป้าหมายสำคัญคือลดปัญหาขยะพลาสติกรั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำซึ่งทุกปีจะมีมากถึง 8 ล้านตันทั่วโลก และเป็นหนึ่งในภัยคุกคามหลักของทะเลและมหาสมุทร ถ้ากองขยะหนักเท่ากับตึกเอ็มไพร์สเตท 10 อาคาร จะเป็นอย่างไร จังหวัดชลบุรีเป็นศูนย์กลางโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor - EEC) ที่เชื่อมพื้นที่ภาคตะวันออกของไทยให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจของเอเชีย การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเกิดขึ้นพร้อมกับการใช้ทรัพยากรมหาศาล แต่ปลายทางของขยะอุตสาหกรรมรวมทั้งขยะครัวเรือนที่มีมากอยู่แล้วเหล่านี้ไปจบลงที่ไหน คำตอบก็คือศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยที่มีทั้งแบบฝังกลบและแบบครบวงจรซึ่งที่จังหวัดชลบุรีมีทั้งหมด 4 แห่ง แต่ที่ใหญ่ที่สุดคือศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบฝังกลบเทศบาลแหลมฉบัง พื้นที่กว่า 238 ไร่ มีทั้งบ่อฝังกลบขยะและบ่อบำบัดน้ำเสียตามรายงานของเทศบาลแหลมฉบัง นอกจากนั้น รายงานเทศบาลนครแหลมฉบังฉบับเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ระบุว่าศูนย์กำจัดขยะฯ รับขยะทั้งจากในและนอกเทศบาล รวมแล้วเฉลี่ยต้องฝังกลบถึงวันละกว่า 910 ตัน ปริมาณขยะมูลฝอยดังกล่าวเพิ่มขึ้นมากกว่า 200 ตันต่อวันจากปริมาณที่เคยจัดเก็บเมื่อปี พ.ศ. 2563 จึ่งจำเป็นต้องฝังกลบให้ได้อย่างน้อยวันละ 650 ตัน รวมทั้งหมดแล้วศูนย์นี้ประกอบด้วยขยะกว่า 3 ล้านตัน เท่ากับน้ำหนักของตึกเอ็มไพร์สเตท (Empire State) ที่นิวยอร์กของสหรัฐฯ รวมกันถึง 10 อาคารเลยทีเดียว เผา ฝังกลบ บำบัด หรือการรีไซเคิล แบบไหนดีที่สุด ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเชื่อมโยงอยู่กับระบบนิเวศน์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะภาคตะวันออกของไทยที่มีพื้นที่ติดอ่าวไทยเป็นแนวยาว  การศึกษาการบริหารจัดการขยะจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาขยะล้นเมือง รวมทั้งการรั่วไหลของขยะพลาสติกลงสู่แหล่งน้ำซึ่งอาจส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์เป็นวงกว้างจนเกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์ จากการสำรวจของ UN-Habitat ขยะมูลฝอยกว่าร้อยละ 50 ที่ศูนย์กำจัดขยะแห่งนี้เป็นขยะชีวภาพอย่างเศษอาหาร แต่ในขณะเดียวกันก็พบขยะพลาสติกปริมาณมาก โดยเฉพาะขยะพลาสติกชนิดอ่อนที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 16 ประกอบด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกที่มาจากสถานที่ต่าง ๆ ทั่วเมือง แต่มีเพียงร้อยละ 8 ที่มาจากครัวเรือน การลงพื้นที่จริงที่ศูนย์กำจัดขยะฯ ทำให้เห็นว่ามีขยะหลากหลายชนิดที่ยากจะย่อยสลาย แม้จะถูกรถขุดและรถแทรกเตอร์ที่ทำงานอย่างขะมักเขม้นฝังกลบไปแล้วก็ตาม ทั้งกระเป๋าถือ กล่องพัสดุ อุปกรณ์ทานอาหารจากบริการเดลิเวอรี่ และขยะพลาสติกทั้งชนิดอ่อนและแข็งซึ่งโดยมากเป็นบรรจุภัณฑ์ของของกินของใช้อีกจำนวนมาก ในจำนวนขยะมหาศาลเหล่านี้ มีเพียงร้อยละ 26 เท่านั้นที่สามารถรีไซเคิลได้ ทำให้ศูนย์กำจัดขยะฯ จำเป็นต้องฝังกลบทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวลเพราะปริมาณขยะมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การศึกษาการบริหารจัดการขยะน่าจะเป็นทางออกเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับศูนย์จำกัดขยะที่มีอยู่แล้ว โครงการ SEA Circular จากการสนับสนุนของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Programme - UNEP)  และโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-Habitat)  ผลักดันการศึกษาการบริหารจัดการขยะที่ได้มาตรฐาน อิงหลักวิทยาศาสตร์ อย่างโครงการเมืองอัจฉริยะฯ ที่เน้นการประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชุนด้วยตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) ตัวบ่งชี้ที่ 11.6.1  มีการประยุกต์ใช้แล้วใน 6 เมืองเศรษฐกิจใหญ่ในภูมิภาคนี้ รวมทั้งจังหวัดชลบุรีของไทย การประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอย มี 7 ขั้นตอน ดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญจากองค์การสหประชาชาติ ตั้งแต่การศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอยที่มาจากครัวเรือนและแหล่งอื่น ไปจนถึงการคำนวณสัดส่วนขยะ เช่นขยะเศษอาหาร ขยะรีไซเคิล และขยะพลาสติกที่รั่วไหล  ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่จะได้ คือ ปริมาณ ประเภท แหล่งที่มาของขยะ ซึ่งจะช่วยภาครัฐและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการกำหนดนโยบายการจัดการขยะ อย่างที่จังหวัดชลบุรีกำลังทำอยู่เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยที่แหลมฉบังเป็นหนึ่งในศูนย์กำจัดขยะของไทยที่กำลังรับมือกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  เมื่อจังหวัดชลบุรีมีประชากรเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจโตขึ้น ปริมาณขยะก็จะมากขึ้น ปัญหามลพิษขยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเร่งด่วน ภารกิจหลักของทีมงานสหประชาชาติในไทยคือการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คนและรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้การเติบโตของเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน เป็นเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular Green Economy - BCG) ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับความมุ่งหมายของกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนวาระปี พ.ศ.  2565-2569 (UN Sustainable Development Cooperation Framework – UNSDCF) ที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับสหประชาชาติเมื่อต้นปีที่ผ่านมา นอกจากนั้น คุณกีต้า ซับบระวาล (Gita Sabharwal) ผู้แทนสหประชาชาติประจำประเทศไทยได้อธิบายว่า การบริหารจัดการขยะชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นวาระสำคัญ เพราะการจัดการขยะมูลฝอยไม่ใช่เรื่องเล็ก และเราไม่สามารถพึ่งพาที่ทิ้งขยะและศูนย์กำจัดขยะได้ตลอดไป การสนับสนุนการศึกษาการบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ “อย่าลืมว่า ขยะกองเท่าภูเขา เราแก้ไขได้”   เรื่อง  นงธัช อมรวิวัฒน์ เรียบเรียง  วัชรียา ยอดประทุม, พรรณิสา นิรัตติวงศกรณ์, ดร.ลักษณารีย์ มณีโชติ Tags: #FromTheField #BCGeconomy #PlasticPollution #ForPeopleForPlanet #OnlyOneEarth  

อ่านเพิ่มเติม

1 of 5

คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564

เรื่อง

15 ตุลาคม 2022

เรื่องกินเรื่องใหญ่ เมื่อโลกร้อนจะทำให้อาหารขาดแคลนและราคาแพงยิ่งกว่านี้ เราจึงต้องปฏิรูประบบผลิต บริโภค และกำจัดอาหาร!

ระบบอาหารเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนทุกคนในทุกประเทศ อย่างไรก็ตาม วันนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อระบบอาหาร (Food System) ในทุกด้าน ตั้งแต่การเพาะปลูกพืชพรรณและเลี้ยงปศุสัตว์ มาสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่าง ๆ ให้ผู้บริโภคอย่างเราได้ซื้อหามารับประทาน ไปจนถึงการจัดการของเสียที่เกิดขึ้น สิ่งที่โลกของเรากำลังเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศที่ผันผวน ฝนไม่ตกตามฤดูกาล อุณหภูมิเพิ่มสูง ดินเสื่อมสภาพ น้ำจืดขาดแคลน การระบาดของวัชพืช โรค และแมลงศัตรูพืช พืชหลายชนิดอ่อนแอลงหรือแม้กระทั่งปลูกแล้วไม่เติบโต ผู้คนจะเพาะปลูกและผลิตอาหารที่มีสารอาหารที่เพียงพอได้ยากลำบากขึ้นเรื่อย ๆ  ผลผลิตทางการเกษตรอาจลดลง ไม่ก็ล้มเหลวไปเลย ทำให้อาหารที่เก็บไว้เสียหายและขนส่งไม่ได้ และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมอาหารจะมีราคาแพงขึ้น ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อความมั่นคงด้านอาหาร เมื่อถึงจุดนั้นแล้ว ผู้ที่มีความเปราะบางที่ใช้ชีวิตท่ามกลางความหิวโหยก็จะยิ่งได้รับผลกระทบมากขึ้นไปอีก ทุกวันนี้ระบบอาหารของเราตกอยู่ในความเสี่ยงบนโลกที่ร้อนขึ้น 2 องศาเซลเซียส ผู้คนมากกว่า 189 ล้านคน จะต้องเข้านอนด้วยความหิวโหย แต่หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นถึง 4 องศาเซลเซียสแล้วล่ะก็ จำนวนผู้ที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.8 พันล้านคน วิกฤตอาหารโลก โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังจะมีประชากรมากถึง 8 พันล้านคน คำถามคือเราจะผลิตอาหารให้เพียงพอได้อย่างไรโดยไม่ทำร้ายโลกเราไปมากกว่านี้ และช่วยค้ำจุนสังคมกับสิ่งแวดล้อมไปด้วย แต่หากขาดความร่วมมือ สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นคือความไม่มั่นคงด้านอาหารและความหิวโหยในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน วันอาหารโลก (World Food Day) 16 ตุลาคมทุกปี จัดขึ้นส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือเพื่อการเข้าถึงอาหารและโภชนาการที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นวาระสำคัญของธีมในปีนี้ “เพียงพอสำหรับทุกคนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” นั่นหมายถึงการช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบางให้พร้อมมือกับวิกฤตสภาพอากาศด้วย ระบบอาหารที่ยั่งยืนสร้างได้แต่จะต้องพัฒนาทุก ๆ ส่วนของห่วงโซ่อาหารพร้อมกัน ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ การเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การแปรรูป ขนส่ง จัดจำหน่าย การบริโภคและจัดการของเสียที่เป็นขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก วัฏจักรของปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อระบบอาหาร ซึ่งในขณะเดียวกันระบบอาหารที่ไม่ยั่งยืนก็เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศด้วย ปัจจุบัน 2 ใน 3 ของก๊าซเรือนกระจกในระบบอาหารเกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ 50 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ผลิตเนื้อสัตว์มากกว่าเดิม 6 เท่าตัว ผืนป่ามากมายกลายเป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์และปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด ซึ่งเป็นอาหารหลักของสัตว์ ไม่เพียงป่าที่เดิมเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกทำลายไป แต่ปฏิกิริยาเคมีจากการใช้กรดไนตริกเพื่อจัดการมูลสัตว์ (ทุก ๆ วัน สัตว์แต่ละตัวปล่อยของเสียในปริมาณมาก) ยังทำให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีค่าศักยภาพในการทำให้โลกร้อนกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 265 เท่า ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีก๊าซเรือนกระจกอีกชนิดอย่างก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเคี้ยวเอื้องของวัวอีกด้วย ความจริงก็คืออุตสาหกรรมปศุสัตว์ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่ายานพาหนะทุกประเภทในโลกรวมกันเสียอีก อีกปัญหาใหญ่ในปัจจุบันคือ การสูญเสียอาหาร (Food Loss) ในขณะที่การผลิตอาหารปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากมาย แต่อาหารที่ผลิตขึ้นบางส่วนไม่มีผู้บริโภค บางส่วนกลายเป็นขยะอาหาร (Food Waste) ซึ่งสัดส่วนไม่น้อยถูกคัดออกไประหว่างทางแค่เพียงเพราะรูปลักษณ์ของมันไม่น่าถูกใจ ทั้งที่มีคุณค่าทางโภชนาการคล้ายกัน ส่วนปัญหาขยะอาหารมาจากการบริโภคอย่างไม่รู้คุณค่า ในแต่ละปีมีอาหารมากกว่า 900 ล้านตันที่ถูกทิ้งขว้าง กองขยะอาหารที่เน่าสลายนั้นสร้างแก๊สมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่รุนแรงกว่าก๊าซคาร์บอนถึง 20 เท่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานของระบบอาหาร อื่นๆ ก็มีมากไม่แพ้กัน เช่น ยานพาหนะบรรทุกขนส่งอาหารที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล ระบบขนส่งอาหารทางไกลที่ใช้การแช่แข็ง ไปจนถึงตู้แช่เย็นในซุปเปอร์มาร์เก็ต ธรรมชาติที่นำมาซึ่งผลิตผล แหล่งอาหารของเราเชื่อมโยงกับสภาพอากาศ เช่น พืชและสัตว์ต้องการน้ำ แสงแดด ดิน และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ดังนั้นเมื่อเกิดสภาพอากาศสุดขั้ว ความเสี่ยงที่จะเกิดความหิวโหยจากการขาดแคลนอาหารจึงเพิ่มขึ้น ความแปรปรวนของสภาพอากาศ เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์อาหารขั้นรุนแรง และเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition) ที่น่าตกใจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์การขาดแคลนอาหารมีแนวโน้มที่เลวร้ายลงเรื่อย ๆ ในพื้นที่ผู้คนทำเกษตรหาเลี้ยงชีพ รวมถึงในประเทศที่มีระบบเกษตรไวต่อปริมาณน้ำฝนและความแปรปรวนของอุณหภูมิ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ความถี่และความรุนแรงของสภาพอากาศสุดขั้ว ตลอดจนการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทำให้สถานการณ์ขาดแคลนอาหารยิ่งเลวร้ายลง จำนวนผู้หิวโหยทั่วโลกเพิ่มขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ โดยคนเหล่านั้นส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศที่เสี่ยงภัยและมีสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมอย่างมาก ปัญหานี้ไม่ได้กระทบเฉพาะอาหาร แต่น้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคก็เป็นอีกหนึ่งวิกฤติ เห็นได้จากทะเลทรายซาฮาราทางตอนใต้ที่กำลังแล้งหนัก อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้น้ำในทะเลสาบถึงร้อยละ 90หายไป หญิงแอฟริกันพื้นเมืองจึงต้องเพิ่มระยะทางในการเดินไปตักน้ำมาหุงหาอาหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้        ความเสื่อมโทรมที่เกิดจากมนุษย์ส่งผลกระทบต่อร้อยละ 34 ของพื้นที่เกษตรกรรม และในทศวรรษหน้า ผลผลิตทางการเกษตรของโลกจะลดลงถึงร้อยละ 30 จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะเดียวกันก็มีการคาดการณ์ว่าประชากรโลกจะมีจำนวนเกิน 9 พันล้านคนภายในปี 2050 ซึ่งนั่นหมายถึงการผลิตอาหารที่เพิ่มขึ้นต้องหล่อเลี้ยงทุกคนให้ได้         ภารกิจสร้างระบบอาหารยั่งยืน แม้โลกเราจะมีความก้าวหน้าไปมาก แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากเช่นกันที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ผู้คนนับล้านไม่สามารถซื้ออาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารและการขาดแคลนอาหาร ขณะที่คนยากจนทั่วโลกกว่าร้อยละ 80 ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทและพึ่งพาการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิต จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภัยพิบัติ รวมทั้งภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น การกีดกันจากสถานะทางเพศและชาติพันธุ์ยิ่งทำให้เข้าไม่ถึงความรู้ ความช่วยเหลือ เงินทุน และนวัตกรรมต่าง ๆ​ นี่เป็นสาเหตุที่องค์การสหประชาชาติเร่งช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบางสามารถรู้รับ ปรับตัว ฟื้นคืนจากวิกฤต และกลับมาดำรงชีวิตได้ เมื่อระบบการผลิตอาหารดีขึ้น โภชนาการดีขึ้น สภาพแวดล้อมดีขึ้น ชีวิตก็จะดีขึ้น และจะสามารถปฏิรูประบบอาหารเพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ฮีโร่เพื่อความอิ่มท้องของทุกคน การเพิ่มขึ้นของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนนับล้าน และภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ เช่น ภัยแล้งหรือน้ำท่วม ก็จะทำให้เกิดความหิวโหยและขาดแคลนอาหาร ยกตัวอย่างเหตุการณ์พายุเฮอริเคนเอตาพัดถล่มประเทศกัวเตมาลาในปีค.ศ. 2020 เขตเทศบาลซานกริสโตบัลได้รับผลกระทบหนักที่สุด ฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องทำให้ทั้งหมู่บ้านและฟาร์มจมอยู่ใต้น้ำ ถนนถูกตัดขาด บ้านเรือน ที่ดิน และเสบียงอาหารถูกทำลายไปจนหมด และนั่นเป็นช่วงที่โครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ (World Food Programme - WFP) เดินทางเข้าไปในพื้นที่ โดยใช้ทรัพยากรภายในระบุตำแหน่งอาหารและระดมทีมเพื่อเข้าถึงชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากพายุที่เปราะบางที่สุด โดย Miguel Barreto ผู้อำนวยการภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียนกล่าวว่า พายุเฮอริเคนเอตามาถึงในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุด ทำให้ชีวิตผู้คนหลายล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนอย่างยาวนานหลายปียิ่งย่ำแย่เมื่อประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมจาก COVID-19 ที่เกิดขึ้น WFP ถือเป็นหน่วยงานด้านมนุษยธรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งต่อสู้กับความหิวโหย ซึ่งภารกิจเกือบครึ่งหนึ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเน้นไปที่การช่วยเหลือผู้คนในการตอบสนอง ฟื้นฟู และเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ ปัจจุบัน WFP จัดหาและส่งมอบอาหารให้แก่ประชากรโลกเฉลี่ย 90 ล้านคนต่อปี โดย 58 ล้านคนในจำนวนนี้คือเด็กและเยาวชน สำหรับ World Food Day กำหนดขึ้นโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agricultural Organization - FAO) ประสานความร่วมมือกับ 150 ประเทศทั่วโลก สร้างความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งเร่งขจัดความหิวโหย ความอดอยาก และภาวะทุพโภชนา ให้หมดไป ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 2   เรื่อง   มิ่งขวัญ รัตนคช เรียบเรียง   รวีกานต์ อมรัชกุล Tags: #WorldFoodDay #EndHunger #FoodWaste #FoodSecurity #Conversation   ข้อมูลอ้างอิง 1 เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึง 2°C ผู้คนอีก 189 ล้านจะต้องเข้านอนอย่างหิวโหย https://www.wfp.org/campaign/climate-and-hunger?fbclid=IwAR0EE1XxnqYC9287OE18bt1tE6lhb9oEEbDTEPe6ShjL7GojAXUVc6iI_-Y 2 World Food Day https://www.fao.org/world-food-day/about/en 3 The state of food security and nutrition in the world 2021 สถานะของความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการของโลกในปี 2021 https://www.fao.org/3/cb4474en/online/cb4474en.html#chapter-1-introduction 4 14 Facts Linking Climate, Disasters & Hunger https://www.wfpusa.org/articles/14-facts-climate-disasters-hunger/ 5 How climate extreme are driving hunger https://www.wfpusa.org/articles/code-red-climate-warning-reality-for-many/ 6 This Is How Climate Change Causes Hunger in 6 Steps https://www.wfpusa.org/articles/this-is-how-climate-change-causes-hunger-in-6-steps/

อ่านเพิ่มเติม

1 of 5

คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564

เรื่อง

29 กรกฎาคม 2022

มนุษยชาติก้าวหน้ามาไกลและเรายังต้องไปต่อ เพื่อสร้างโลกอันเท่าเทียมที่กำลังจะเป็นบ้านของคน 8 พันล้าน

มนุษย์ใช้เวลาหลายแสนปีกว่าจะเพิ่มจำนวนประชากรขึ้นเป็น 1 พันล้านคน แต่เชื่อไหมว่า เพิ่งจะเมื่อราว ๆ 200 ปีที่ผ่านมานี่เอง ที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเกือบ 8 เท่า เมื่อปี 2011 โลกมีประชากรถึง 7 พันล้านคน มาจนถึงปีนี้ เราจะเดินทางมาถึงหมุดหมายใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 พฤศจิกายน โลกของเราจะมีประชากรเกิน 8 พันล้านชีวิต หมุดหมายนี้ได้รับทั้งความสนใจและการโต้แย้ง กล่าวคือในขณะที่บางคนทึ่งกับความก้าวหน้าทางสุขภาพที่ทำให้มนุษย์มีอายุยืนยาว ทำให้อัตราการเสียชีวิตของแม่และเด็กลดลงอย่างต่อเนื่อง เรามีนวัตกรรมที่ย่นย่อระยะทาง เชื่อมคนทั้งโลกเข้าหากัน ทำให้เราเข้าใจและโอบรับความเป็นมนุษย์อันหลากหลายของกันมากขึ้น รวมถึงการที่วัคซีนถูกพัฒนาสำเร็จในเวลาอันรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ แต่บางคนกลับสร้างความตระหนกด้วยข่าวลือเกินจริง แพร่ความเข้าใจผิดว่าโลกของเรา “มีคนมากเกินไป” เราต้องมองให้ไกลกว่าตัวเลขประชากร เพราะการขับเคลื่อนโลกสู่อนาคตที่ดี ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนมากหรือน้อย แต่อยู่ที่การเข้าถึงโอกาสและความเท่าเทียมของผู้คนต่างหาก ข้อมูลจากรายงานประชากรโลกปี 2022 บอกว่าเรา ความกังวลและความท้าทายที่เคยถูกพูดถึงเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความรุนแรงทางเพศ  การเลือกปฏิบัติ ยังคงมีอยู่หรือแย่ลง นอกจากนี้ยังมีวิกฤติที่เคยถูกละเลยและวันนี้ได้ปรากฏชัดแก่สายตาแล้ว อย่างข้อมูลน่าตกใจว่าครึ่งหนึ่งของการตั้งครรภ์ทุกวันนี้ เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ ทั้งหมดคือวาระเร่งด่วน ที่ทุกคนจำเป็นต้องหันมามอง และทุกวันนี้ ทีมงานสหประชาชาติใน ประเทศไทย นำโดย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund - UNFPA) กำลังสนับสนุนความพยายามระดับชาติที่จะบรรลุความยืดหยุ่นทางประชากร ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสู่การพัฒนาระยะยาว โดยใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มาพร้อมการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต บนพื้นฐานแนวคิดว่า “คนคือผู้ไขกุญแจสู่ทางออก ไม่ใช่ปัญหา”  เพื่อเฉลิมฉลองเดือนแห่ง “วันประชากรโลก” เราชวนคุณอ่านเรื่องราวความก้าวหน้าของมนุษย์ แม้จะก้าวหน้ามาไกลและเรายังต้องไปต่อ ปีนี้มนุษยชาติกำลังจะมีจำนวนเกิน 8 พันล้านคน ภารกิจของเราในการสร้างโลกและสังคมที่ให้คุณค่าในสิทธิ ทางเลือกและตัวตนของพลเมือง ซึ่งเราเป็นประจักษ์พยานครั้งแล้วครั้งเล่าว่า จะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและความสงบสุขที่ทุกคนปรารถนาและสมควรได้รับจริง ๆ เมื่อโครงสร้างประชากรโลกเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีทางการแพทย์นั้นน่าทึ่ง ระหว่างปี 2000 ถึง 2019 อายุขัยเฉลี่ยของคนทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 66.8 ปี เป็น 73.4 ปี ความก้าวหน้าทางสาธารณสุขยังทำให้ปัจจุบัน จำนวนคนอายุยืนยาวถึง 100 ปี มีมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามในขณะที่คนอายุยืนขึ้น อัตราการเกิดกลับน้อยลง ย้อนกลับไปช่วงปี 1970 ผู้หญิงหนึ่งคนจะมีลูกเฉลี่ย 4.5 คน แต่มาในปี 2015 ภาวะเจริญพันธุ์โดยรวมของโลกลดลง ผู้หญิงหนึ่งคนมีลูกน้อยกว่า 2.1 คนโดยเฉลี่ย สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไปเมื่อเข้ามาอาศัยในเขตชุมชนเมือง  โครงสร้างประชากรโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้สำคัญอย่างยิ่งทั้งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การจ้างงาน การกระจายรายได้ การคุ้มครองทางสังคม ตลอดจนการเข้าถึงบริการสาธารณสุข การศึกษา ที่อยู่อาศัย น้ำ อาหาร และพลังงาน ตลอดจนการเข้าถึงระบบอนามัยการเจริญพันธุ์ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนและเป็นหัวใจสำคัญของการมีสุขภาพดีสำหรับผู้หญิง รวมทั้งระบบบำนาญที่เพียงพอสำหรับผู้สูงอายุ และการคำนึงถึงกลุ่มชายขอบของสังคม สร้างความเสมอภาคทางเพศในสังคมสูงวัย เมื่อเราเข้าสู่ปี 2050 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประชากร 1 ใน 4 คน จะมีอายุมากกว่า 60 ปี ในกลุ่มประชากรสูงวัยเหล่านั้น ส่วนมากคือผู้หญิง และแม้สิทธิสตรีจะพัฒนามาไกล แต่ทุกวันนี้เรายังคงอยู่ในโลกของความไม่เท่าเทียมทางเพศที่กว้างใหญ่ และภายใต้บริบทของสังคมสูงอายุ ช่องว่างที่เกิดจากเพศสภาพนั้นจะยิ่งถ่างและซับซ้อนขึ้น  เพื่อให้ผู้หญิงก้าวสู่วัยชราได้อย่างมั่นคง พวกเธอต้องมีการพัฒนาตลอดช่วงวัย (A Life-Cycle Approach) ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ผู้หญิงควรเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ เรื่อยมาจนวันรุ่นและวัยผู้ใหญ่ พวกเธอควรเข้าถึงการวางแผนครอบครัวที่อยู่บนพื้นฐานสิทธิ เพื่อที่พวกเธอจะสามารถวางแผนชีวิตได้ตลอดทุกช่วงวัย สามารถตัดสินใจได้ว่าอยากมีลูกหรือไม่ มีกับใคร และจะมีตอนอายุเท่าไหร่ ตลอดจนสามารถคลอดลูกได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวไปจนแก่เฒ่าของพวกเธอเอง ผู้หญิงยังต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมถึงทักษะความรู้ที่เป็นรากฐานของชีวิต ทุกวันนี้โอกาสเติบโตในสายงานไอทีของผู้หญิงและผู้ชายยังห่างกันถึง 4 เท่า ทั้งยังมีช่องว่างในการใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างเพศที่สูงถึงร้อยละ 12.5 ทั่วโลก ดังนั้นเพื่อลดอุปสรรคในการเข้าสู่สายงานด้านเทคโนโลยี เด็กยุคใหม่ทุกคนควรได้รับโอกาสในการฝึกฝนทักษะที่จำเป็น อย่างการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหา (Science Technology Engineering and Mathematics Education หรือ STEM) นอกจากนี้ ในรายงานสถานะประชากรโลกล่าสุดที่เปิดตัวในปี 2022 SEEING THE UNSEEN ยังได้เปิดเผยอีกหนึ่งวิกฤติของผู้หญิง นั่นคือการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งมากกว่า 3 ใน 5 สิ้นสุดที่การทำแท้ง และการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยก็เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต และการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้หญิงหลายล้านคนต่อปี หลายปีที่ผ่านมาหลายภาคส่วนในประเทศไทยและ UNFPA ได้ร่วมกันผลักดันการเยียวยาวิกฤตินี้ ด้วยการมีกรอบกฎหมายและนโยบายตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ความสำเร็จในนโยบายนี้นำไปสู่บริการที่ครอบคลุมมากขึ้นในการจัดหายาคุมกำเนิดแบบสมัยใหม่ฟรี เช่น LAC ถุงยางอนามัย และยาคุมกำเนิดสำหรับวัยรุ่น นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายสำหรับการทำแท้งอย่างปลอดภัยสำหรับผู้หญิงและเด็กหญิงวัยรุ่นทุกคน เตรียมความพร้อมสู่สังคมที่คนเกิดน้อยลง คนเกิดน้อยลง คนสูงวัยมากขึ้น ส่งผลให้คนวัยทำงานลดจำนวนลงเรื่อยๆ อย่างในประเทศไทย มีการประมาณการว่า จากปัจจุบันที่มีประชากร 5 คนทำงานเลี้ยงผู้สูงอายุ 1 คน ภายในปี 2040 จะเหลือประชากรไม่ถึง 2 คน ทำงานเพื่อเลี้ยงผู้สูงอายุ 1 คน  ปัจจุบันจำนวนประเทศที่เผชิญกับการสูงวัยของประชากรมีมากขึ้นเรื่อยๆ และตอนนี้เกือบร้อยละ 60 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่มีภาวะเจริญพันธุ์ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยผู้หญิงแต่ละคนให้กำเนิดลูกน้อยกว่า 2.1 คนอย่างที่เกริ่นไปข้างต้น ส่วนแบ่งของประชากรโลกที่อายุ 60 ปีขึ้นไป คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.3 ในปัจจุบัน เป็นร้อยละ 22 ในปี 2050 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เราเห็นสถิติจำนวนประชากรที่สุดขั้วขนาดนี้  หนึ่งในหนทางที่จะเอาชนะความท้าทายนี้ คือการลงทุนเพื่อพัฒนาคนรุ่นต่อไป โดยสร้างหลักประกันการเรียนรู้ และความพร้อมที่จะเติบโตขึ้นเป็นพลังในการขับเคลื่อนศรษฐกิจและสังคม เด็กรุ่นใหม่ต้องได้รับการบ่มเพาะทักษะสำหรับโลกในศตวรรษที่ 21 ที่การเปลี่ยนแปลงและการโดนดิสรัปต์เกิดขึ้นได้ทุกนาที  ประเทศไทยมีเยาวชนอายุระหว่าง 10-24 ปี ราว 12 ล้านคน ที่กำลังจะกลายเป็นผู้นำสังคมในอนาคต อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ร้อยละ 15 ของเยาวชนอายุ 15-24 ปี ไม่ได้อยู่ทั้งในระบบการศึกษา การฝึกอบรมหรือการจ้างงานใดๆ เราต้องเพิ่มงบประมาณและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบอาชีวศึกษาด้วยเครื่องมือและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนขาดโอกาสเหล่านี้เข้าถึงการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับตลาดแรงงานในอนาคต  กุญแจคือความยืดหยุ่นทางประชากร เมื่อมองไปข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรโลก การเข้าสู่สังคมสูงอายุ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และอีกสารพัดวิกฤติมากมาย ทำให้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความท้าทายที่เด็กๆ รุ่นใหม่ต้องเผชิญนั้นซับซ้อนและยิ่งใหญ่กว่าที่คนรุ่นก่อนพบเจอมาก  อย่างไรก็ตาม “คนคือผู้ไขกุญแจสู่ทางออก ไม่ใช่ปัญหา” UNFPA จึงเริ่มโครงการความยืดหยุ่นทางประชากร ซึ่งมุ่งมั่นที่จะไม่นับเฉพาะแค่จำนวนคน แต่ให้น้ำหนักและความสำคัญกับโอกาสที่จะนำพาทุกคนไปสู่ความก้าวหน้า เพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยเข้าใจและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงทางประชากรได้ดีขึ้น สามารถบรรเทาผลกระทบด้านลบ ลดความเสี่ยงและตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต ภารกิจของ UNFPA คือการทำให้แน่ใจว่าประเทศต่างๆ มีทักษะ เครื่องมือ ที่จะช่วยให้รัฐบาลประเมินความต้องการของประชากรที่เปลี่ยนแปลง ตลอดจนใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงนั้น และมีการพัฒนานโยบายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการอ้างอิงจากข้อมูล หลักฐาน และสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างยุติธรรม นำไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ออกดอกผลแก่ทุกคน เช่น ขยายทางเลือกและโอกาสให้คนหนุ่มสาว ให้ผู้หญิงและผู้ชายผสานการทำงานเข้ากับการสร้างครอบครัว ปรับปรุงระบบดูแลและจัดการเด็กๆ เพื่อให้พ่อแม่รุ่นใหม่สามารถมีลูกได้ตามที่ปรารถนา เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในที่ทำงาน สร้างการมีส่วนร่วมของคนพลัดถิ่น สนับสนุนให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพดีและแอคทีฟอยู่เสมอ เดือนแห่งวันประชากรโลก ปีที่มนุษยชาติมีมากกว่า 8 พันล้านคนบนโลก ในโลกอุดมคติ คงหมายถึง 8 พันล้านโอกาสของการใช้ชีวิตอย่างสง่างาม ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ซึ่งสิทธิและทางเลือกของผู้คนจะเสริมพลังสู่สังคมที่สมบูรณ์แข็งแรงกว่าเดิม แต่ไม่ใช่ทุกคนจะได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกัน ทุกวันนี้คนจำนวนมากยังคงถูกเลือกปฏิบัติ ถูกล่วงละเมิด และถูกกระทำด้วยความรุนแรง เราจะไม่สามารถช่วยให้โลกดีขึ้นได้เลย หากยังเพิกเฉยต่อพวกเขา เรื่อง มิ่งขวัญ รัตนคช, ภาพ วศิน ปฐมหยก Tags: #RightsChoices4All #8BillionStrong #WorldPopulationDay #วันประชากรโลก

อ่านเพิ่มเติม

1 of 5

คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564

เรื่อง

12 มีนาคม 2022

10 วิธีแก้วิกฤตโลกร้อนด้วยตัวเรา

เพื่อรักษาสภาพภูมิอากาศให้ยังคงเอื้อต่อการดำรงชีวิต การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจะต้องลดลงเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แน่นอนว่าภาครัฐและภาคธุรกิจจะต้องดำเนินการอย่างชัดเจน รวดเร็ว และรอบด้าน แต่การเปลี่ยนผ่านสู่โลกคาร์บอนต่ำก็ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบเศรษฐกิจที่ซับซ้อน   ActNow เป็นโครงการรณรงค์ของสหประชาชาติว่าด้วยการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืนในระดับบุคคล เราทุกคน   สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน ดูแลโลกของเรา และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการทำกิจกรรมที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง   บันทึกสิ่งที่คุณทำเพื่อแก้ปัญหาสภาพอากาศ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระดับโลกผ่านแอปพลิเคชันนี้   พลังงานและการขนส่งคือหัวใจ     อาหารก็สำคัญ       เป็นกระบอกเสียง!   ㅤㅤ ㅤㅤ   ไฟฟ้าและความร้อนส่วนใหญ่ที่เราใช้ยังคงต้องอาศัยพลังงานจากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ เครื่องบินและรถยนต์ส่วนใหญ่ก็ยังใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล คุณสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้โดยใช้พลังงานที่บ้านให้น้อยลง เปลี่ยนไปใช้พลังงานลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ หลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยเที่ยวบินระยะไกล และขับรถให้น้อยลง   • ติดตามการประชุมระดับผู้นำด้านพลังงาน • ติดตามการประชุมแห่งสหประชาชาติด้านการคมนาคมที่ยั่งยืนระดับโลก (UN Global Sustainable Transport Conference)     ㅤㅤㅤ   การผลิต การแปรรูป การขนส่ง การบริโภค และการกำจัดอาหารล้วนนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจก คุณสามารถลดผลกระทบต่อสภาพอากาศได้ด้วยการซื้ออาหารในท้องถิ่นและตามฤดูกาล รับประทานอาหารจากพืชให้มากขึ้น ใช้วัตถุดิบอาหารที่คุณมีให้หมด และและทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารที่เหลือ   • ร่วมลดผลกระทบได้วันนี้ • อ่านเกี่ยวกับการประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก (UN Food Systems Summit)     ㅤㅤㅤ   การดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมจากทุกภาคส่วนของสังคมคือปัจจัยหลักในการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วสู่อนาคตที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศ จงเปล่งเสียงของคุณ เรียกร้องต่อผู้นำระดับโลก กระตุ้นให้ผู้คนในเมือง ในภูมิภาค และในมหาวิทยาลัยของคุณ ตลอดจนธุรกิจต่าง ๆ ลงมือดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้การปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์   • ร่วมขับเคลื่อนไปกับปฏิบัติการแข่งขันเพื่อคาร์บอนเป็นศูนย์ (Race to Zero) • ติดตามพันธมิตรลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Coalition)       ร่วมแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศด้วย 10 วิธีต่อไปนี้!   ร่วมคิด ร่วมทำ สู่ความยั่งยืนเพื่อโลกของเรา—วิถีชีวิตของเราส่งผลกระทบอย่างมากต่อโลก การตัดสินใจของเราจึงมีความสำคัญ ราว 2 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกมาจากภาคครัวเรือนหรือระดับบุคคล และภาคพลังงาน อาหาร และการขนส่งซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตของเราต่างก็มีส่วนปล่อยมลพิษประมาณร้อยละ 20 ด้วยเหตุนี้ เราทุกคนจึงสามารถสร้างความแตกต่างได้ ตั้งแต่ไฟฟ้าที่เราใช้ อาหารที่เรารับประทาน ไปจนถึงวิธีการที่เราเดินทาง ลองเริ่มต้นด้วย 10 วิธีดังต่อไปนี้ หรือดาวน์โหลดแอปเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมบันทึกการมีส่วนร่วมของคุณได้เลย   ประหยัดพลังงานที่บ้าน   การผลิตไฟฟ้าและความร้อนส่วนใหญ่ใช้พลังงานจากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ เราสามารถใช้พลังงานให้น้อยลงได้โดยการปรับระดับการทำความร้อนและความเย็นให้ต่ำลง เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED และเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน ซักผ้าด้วยน้ำเย็น หรือตากผ้าแทนการใช้เครื่องอบผ้า   เดิน ปั่นจักรยาน หรือใช้ระบบขนส่งสาธารณะ   ถนนทั่วโลกแน่นขนัดไปด้วยยานพาหนะซึ่งส่วนใหญ่ใช้น้ำมันดีเซลหรือเบนซินเป็นเชื้อเพลิง การเดินหรือขี่จักรยานแทนการขับรถจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพและความแข็งแรงอีกด้วย หากคุณต้องเดินทางไกล ลองเปลี่ยนมาโดยสารรถไฟหรือรถประจำทาง และติดรถไปกับผู้อื่นเมื่อทำได้   รับประทานผักให้มากขึ้น   แค่รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด พืชตระกูลถั่ว และเมล็ดพืชมากขึ้น และลดเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมให้น้อยลง คุณก็สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมาก โดยทั่วไปกระบวนการผลิตอาหารที่มาจากพืชจะสร้างก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า อีกทั้งยังใช้พลังงาน ที่ดิน และน้ำน้อยกว่า   เลือกวิธีเดินทาง   เครื่องบินใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมหาศาล และปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก การนั่งเครื่องบินให้น้อยลงจึงเป็นหนึ่งในวิธีที่เร็วที่สุดในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากทำได้ ให้คุณนัดพบกันในทางออนไลน์ ขึ้นรถไฟ หรือยกเลิกการเดินทางระยะไกลนั้นไปเลย   รับประทานอาหารให้หมด   ทุกครั้งที่คุณทิ้งอาหาร คุณกำลังทิ้งทรัพยากรและพลังงานที่ใช้ในการเพาะปลูก/เลี้ยง ผลิต บรรจุ และขนส่งอาหารนั้น ๆ และอาหารที่บูดเน่าอยู่ในบ่อขยะก็จะปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่รุนแรงมาก ดังนั้น รับประทานอาหารที่คุณซื้อมาให้หมดและส่วนที่เหลือให้หมักทำปุ๋ย   ลด ใช้ซ้ำ ซ่อมแซม และรีไซเคิล   อุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้า และสินค้าอื่น ๆ ที่เราซื้อล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ณ จุดใดจุดหนึ่งของการผลิต ตั้งแต่การหาวัตถุดิบ ไปจนถึงการผลิต และการขนส่งสินค้าสู่ตลาด คุณสามารถช่วยรักษาสภาพอากาศของเราด้วยการซื้อของให้น้อยลง ซื้อของมือสอง ซ่อมหากซ่อมได้ และรีไซเคิล   เปลี่ยนแหล่งพลังงานในบ้าน   สอบถามบริษัทสาธารณูปโภคของคุณว่าพลังงานที่คุณใช้ในบ้านนั้นผลิตมาจากน้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าซหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ ให้ลองเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น ลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ หรือติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อผลิตพลังงานให้บ้านของคุณ   เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า   หากคุณวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ ลองเลือกดูรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งตอนนี้มีหลายรุ่นและราคาถูกลง แม้ว่าไฟฟ้าที่ใช้จะยังผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ แต่รถยนต์ไฟฟ้าก็ช่วยลดมลพิษทางอากาศและปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้แก๊สหรือดีเซลอย่างมีนัยสำคัญ   เลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   ทุกการใช้จ่ายของเราส่งผลกระทบต่อโลกทั้งสิ้น คุณมีอำนาจว่าจะเลือกสนับสนุนสินค้าและบริการใดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้คุณซื้ออาหารตามฤดูกาลที่ผลิตในท้องถิ่น เลือกผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและของเสีย   เป็นกระบอกเสียง   เปล่งเสียงของคุณและชักชวนผู้อื่นให้ร่วมลงมือด้วยกัน นี่เป็นหนึ่งในวิธีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุดในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ชักชวนเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน เพื่อน และครอบครัวของคุณ บอกให้ธุรกิจต่าง ๆ รู้ว่าคุณต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่กล้าหาญและชัดเจน ตลอดจนเรียกร้องให้ผู้นำท้องถิ่นและระดับโลกดำเนินการในทันที     โดยท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิถีชีวิตคาร์บอนต่ำจากรายงานช่องว่างการปล่อยมลพิษของ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme) ปี 2020 ได้ที่นี่ ภาพ: Niccolo Canova  

อ่านเพิ่มเติม

1 of 5

คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564

เรื่อง

15 มกราคม 2022

ไทยกับสหประชาชาติกระชับความร่วมมือเพื่อเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน

กรุงเทพฯ - ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย ลงนามกระชับความร่วมมือกับประเทศไทย เพื่อเร่งขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) ของไทย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและโมเดลเศรษฐกิจ BCG ภายใต้กรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nations Sustainable Development Cooperation Framework - UNSDCF) ระหว่างรัฐบาลไทยกับสหประชาชาติ วาระปี ๒๕๖๕ – ๒๕๖๙ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๕ นายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับนางกีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติ (United Nations Resident Coordinator - UNRC) ประจำประเทศไทย พร้อมด้วยทีมงานสหประชาชาติ (United Nations Country Team - UNCT) ประจำประเทศไทย รวม ๒๑ หน่วยงาน ลงนามกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ ณ ห้องบัวแก้ว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้บริหารกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วม ในกระบวนการจัดทำกรอบความร่วมมือฯ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และทีมงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมหารือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้กรอบความร่วมมือฯ สามารถตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย ซึ่งมีประชาชนเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของแนวทางการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสนับสนุนการผลิกโฉมประเทศไทยสู่การเป็นสังคมแห่งเศรษฐกิจที่ครอบคลุม สีเขียว ยั่งยืน และคาร์บอนต่ำผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งตอบสนองต่อความท้าทายต่าง ๆ ในปัจจุบัน และรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในอนาคต โดยกรอบความร่วมมือฯ จะสนับสนุนการพัฒนาประเทศตามหมุดหมายของ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ ของไทย ​กรอบความร่วมมือฯ นับเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะช่วยเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างไทยกับสหประชาชาติที่มีความใกล้ชิดมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในโอกาสครบรอบ ๗๕ ปี การเป็นสมาชิกสหประชาชาติของไทย และในโอกาสที่ไทยดำรงตำแหน่งรองประธานคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council – ECOSOC) วาระเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๒๑ - กรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๒๒ และประธาน Coordination Segment ในกรอบ ECOSOC ในปีนี้

อ่านเพิ่มเติม

1 of 5

คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564

เรื่อง

06 ธันวาคม 2022

เมื่อคนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาสร้างนโยบายสุขภาพ ณัฐณิชา มานะบริบูรณ์ นักเรียนแพทย์ผู้ฝันอยากเป็นนักขับเคลื่อน

SDGs Youth Panel อะไรทำให้เด็กโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ที่กำลังจะเข้าเรียนคณะแพทย์ศาสตร์อย่าง เมจิ-ณัฐณิชา มานะบริบูรณ์ ลงแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิก ทั้งที่เพื่อนคนอื่น ๆ ในโรงเรียนต่างหมายมั่นที่จะเป็นผู้แทนประเทศ ไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการสาขาที่เราคุ้นหูกันอย่างคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา… คำตอบคือ “เพราะภูมิศาสตร์คือพื้นฐานของทุกอย่างบนโลกใบนี้” ประสบการณ์ระดับนานาชาติครั้งนั้นเปิดประตูให้เธอค้นพบว่า ตัวเองไม่ได้อยากเป็น ‘หมอ’ ที่แค่เยียวยาอาการป่วยไข้ของผู้คน แต่เธออยากเป็น ‘นักขับเคลื่อน’ ที่ทำงานด้านสังคมระดับประเทศและนานาชาติด้วย ดังนั้นเมื่อถึงเวลาเปิดเทอมแรกในฐานะนักเรียนแพทย์ เมจิก็เข้าร่วมสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติ หรือ IFMSA-Thailand ทันที IFMSA คือองค์กรของนักศึกษาแพทย์ที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลกเพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาสังคมในมิติต่าง ๆ อย่างในประเทศไทย IFMSA-Thailand ก็ประกอบไปด้วยนักศึกษาแพทย์จากทั่วประเทศกว่า 23 สถาบัน ในปีที่ผ่านมาเมจิเป็นรองประธานฝ่ายกิจการนอก ที่พยายามผลักดันให้เยาวชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการกำหนดนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับสุขภาพของประเทศไทย นอกจากนี้ เมจิยังเป็นนักศึกษาแพทย์ไทยคนแรกที่ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาอนามัยโลก หรือ World Health Assembly ในฐานะตัวแทนของ IFMSA ทำให้มุมมองของเธอที่มีต่อประเด็นสาธารณสุขกว้างขึ้น จากที่ขับเคลื่อนสุขภาพคนในประเทศมาสู่การผลักดันสุขภาพของผู้คนในบริบทโลก เพราะโรคภัยนั้นแพร่กระจายถึงกันได้หมดไม่จำกัดแค่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ชีวิตของเมจิเป็นเหมือนชิ้นจิ๊กซอว์ที่ต้องนำมาต่อกัน จึงจะเห็นความเชื่อมโยงของความแพชชั่นด้านต่าง ๆ ที่หลอมรวมเป็นตัวเธอภาพใหญ่ โดยจิ๊กซอว์ชีวิตชิ้นล่าสุดของเมจิคือการเข้าร่วมในทีมเยาวชนที่ปรึกษาของสหประชาชาติประเทศไทย SDGs Youth Panel เพื่อผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทยผ่านความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ “ภูมิศาสตร์คือพื้นฐานของทุกอย่างบนโลก เช่นเดียวกับสุขภาพที่เป็นพื้นฐานของความเป็นอยู่ที่ดี และเป็นรากฐานของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ” ถ้าคุณอยากรู้ว่าเมจิผสมผสานความสนใจด้านภูมิศาสตร์ในวัยมัธยม เข้ากับทักษะด้านสุขภาพในฐานะนักศึกษาแพทย์ ให้กลายเป็นแพชชั่นในการพัฒนาสังคมและระบบสาธารณสุขได้อย่างไร เราชวนคุณหาคำตอบผ่านเรื่องราวของเยาวชนนักขับเคลื่อนคนนี้ไปพร้อมกัน เด็กวิทย์ผู้หลงรักภูมิศาสตร์​ เมจิเล่าอย่างตื่นเต้นถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้เด็กสายวิทย์อย่างเธอหลงใหลในภูมิศาสตร์ว่า “ภูมิศาสตร์คือพื้นฐานของทุกอย่างบนโลกใบนี้ ตั้งแต่วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ไปจนถึงการใช้ชีวิตของผู้คน มันเป็นศาสตร์ที่ ว้าว มาก เราอยากให้เพื่อน ๆ ทุกคนได้รู้ว่ามันลึกซึ้งกว่าแค่ชื่อเทือกเขา เอาแค่การทอดไข่ ออมเล็ทแบบตะวันตกเป็นแบบหนึ่ง ในขณะที่บ้านเราก็มีไข่เจียวแบบไทย ๆ อาหารจานนี้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะทางกายภาพของภูมิภาคเอาไว้ พื้นที่นี้ร้อนหนาวแค่ไหน เพาะปลูกอะไรได้บ้าง ทั้งหมดหลอมรวมเป็นสังคมที่กลายเป็นประเทศ ๆ หนึ่ง” ในขณะที่เพื่อนรอบตัวทยอยเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกวิชาการสายวิทย์-คณิต เมจิไม่ลังเลที่จะสมัครเข้าเป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิก ซึ่งเธอบอกเราว่าประสบการณ์แข่งขันระดับนานาชาติในครั้งนั้น เปิดประตูให้เธอเห็นโลกกว้างในมุมมองที่เปลี่ยนไป “หลายคนเข้าใจว่าการแข่งขันจะฟาดฟันกันสุดฤทธิ์ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย สิ่งที่ผู้แทนแต่ละประเทศมีเหมือนกันคือความใคร่รู้และความขี้สงสัย ทุกคนเลยเดินเข้าหากันตลอดเวลา เพราะบางเรื่องอ่านในหนังสือมานาน เราอยากรู้ว่าวัฒนธรรมประเทศคุณเป็นแบบนี้จริงไหม ก็เข้าไปชวนคุยเลย ความรู้สึกตอนนั้นคือเหมือนได้ออกจากขวดน้ำไปสู่ท้องทะเลที่ใหญ่มาก ๆ เราค้นพบว่าตัวเองชอบความนานาชาติ อินกับความหลากหลายของสังคมและวัฒนธรรม” การแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกยังทำให้เมจิได้ทำความรู้จักสิ่งที่เรียกว่าสหประชาชาติจำลอง หรือ Model UN ซึ่งเยาวชนจะได้ฝึกการแสดงความคิดเห็นและเจรจาผ่านการสวมบทบาทเป็นผู้ร่วมประชุมสหประชาชาติ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำประเทศ นักการทูต หรือตัวแทนหน่วยงาน ที่สนุกคือใครได้รับบทบาทไหน ก็ต้องทำการรีเสิร์ชข้อมูลให้แน่นที่สุด เพื่อแสดงทัศนคติเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมนั้น ๆ ได้อย่างสมจริงที่สุดนั่นเอง “สมมติเราจำลองการหารือเรื่องสิทธิสตรี คนที่รับบทผู้นำแต่ละประเทศก็ต้องไปหาข้อมูลมาว่าประเทศนั้น ๆ มี การดำเนินการและนโยบายเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างไร ถ้าต้องพูดบนเวทีโลก จะต้องแสดงท่าทีไปในทิศทางไหน โอ้โฮ ประทับใจมาก พอกลับมาถึงเมืองไทย เราไม่รอช้าตั้งชมรม Model UN กับเพื่อนเลย ซึ่งก็น่าจะเป็นครั้งแรกที่มีสิ่งนี้เกิดขึ้นในโรงเรียนไทย ปกติจะมีแค่ในโรงเรียนนานาชาติ” เมื่อแพทย์เป็นนักขับเคลื่อนสังคม แม้เมจิจะสนใจภูมิศาสตร์ และมีโอกาสได้ทุนศึกษาต่อด้านนี้จากการเป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ แต่ท้ายที่สุด หลังจบชั้นมัธยมปลาย เธอก็เลือกเข้าเรียนคณะแพทย์ศาสตร์ ตามความฝันและความตั้งใจเดิมที่อยากจะเป็นแพทย์ อย่างไรก็ตาม ความรู้ทางภูมิศาสตร์ที่เปิดประตูให้เมจิเข้าใจโลกมากขึ้น ทำให้เธอไม่ได้อยากเป็นแค่ ‘หมอ’ อีกต่อไป แต่อยากทำงานเชิงสังคมด้วย “เราไม่อยากเข้าคณะแพทย์มาเพื่อเรียนหมออย่างเดียว ดังนั้นเราจึงเริ่มหาช่องทางทำงานด้านสังคมทันทีที่เปิดภาคเรียน และสิ่งแรกที่เจอก็คือสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักศึกษาแพทย์เพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาสังคมในมิติต่างๆ ตั้งแต่สาธารณสุขไปจนถึงสิทธิมนุษยชน” สมาพันธ์นี้เรียกกันสั้น ๆ ว่า IFMSA (International Federation of Medical Students’ Associations) ถือเป็นองค์กรของนักศึกษาแพทย์ที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งในปัจจุบันมีประเทศสมาชิกอยู่มากกว่า 100 ประเทศ และไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น เมจิอธิบายต่อว่า IFMSA-Thailand ประกอบไปด้วยเพื่อน ๆ นักศึกษาแพทย์จาก 23 สถาบันทั่วประเทศ “การได้เจอเพื่อน ๆ จากหลายสถาบัน ทำให้ค้นพบว่าเราไม่ใช่อินเรื่องนี้อยู่คนเดียว ยังมีนักศึกษาแพทย์รุ่นใหม่อีกมากมายที่สนใจการพัฒนาสังคมเหมือนกัน เราได้เห็นพลังของความหลากหลาย เมื่อมีเครือข่ายคนจากทั่วประเทศ การขับเคลื่อนบางอย่างทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิมมาก เพราะแต่ละสถาบันก็มีความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำมาแลกเปลี่ยนกันได้” เมจิอธิบายว่า IFMSA-Thailand เพิ่มโอกาสให้ได้ทำงานร่วมกับองค์กรขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพในไทย เช่นสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ องค์กรหลักที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของไทยมาตลอด โดยโปรเจกต์ที่เธอภูมิใจเป็นพิเศษคือการผลักดันให้เกิด Thailand Youth Policy Initiativeการแข่งขัน Hackathon ระดมความคิดและสร้างนโยบายสาธารณะจากมุมมองเยาวชน เพื่อส่งเสียงและนวัตกรรมไอเดียของคนรุ่นใหม่ไปสู่ภาครัฐ “จริง ๆ วัยรุ่นไทยมีไอเดียน่าสนใจเยอะมาก แต่ที่ผ่านมาเราขาดสะพานเชื่อมไอเดียเหล่านั้นไปยังผู้กำหนดนโยบายสำหรับใช้งานจริง Hackathon ปีแรกเป็นหัวข้อเกี่ยวกับการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ส่วนปีนี้เป็นหัวข้อสังคมผู้สูงวัย ซึ่งไอเดียของแต่ละทีมที่ส่งเข้ามาก็เจ๋ง ๆ ทั้งนั้น เราจึงหวังว่าภาครัฐรวมถึงผู้ใหญ่ในหน่วยงานต่าง ๆ จะเห็นความสามารถและความตั้งใจจริงของคนรุ่นใหม่ที่พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนประเทศ เมจิอธิบายอย่างกระตือรือร้นถึงนโยบาย Med for All ของทีมชนะเลิศปีนี้ ที่เสนอให้มีการหมุนเวียนเครื่องมือแพทย์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงอุปกรณ์รุ่นใหม่ทันสมัยได้ ไม่ถูกจำกัดอยู่แค่ในสถานพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพฯ ในขณะที่ทีมรองชนะเลิศเสนอแอปพลิเคชัน ‘มีดี’ เพื่อส่งเสริมนโยบายสร้างคุณค่าให้ผู้สูงอายุ เพราะอุปสรรคของผู้สูงวัยไม่ใช่แค่ความแก่ชราด้านร่างกาย แต่ยังมีด้านจิตใจที่พวกท่านอาจรู้สึกหมดคุณค่าในตัวเองซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตเรื้อรังได้ เมจิบอกว่าหมุดหมายที่ทีม IFMSA-Thailand จะพยายามเดินหน้าต่อไป คือการติดตามความคืบหน้าของไอเดียนโยบายต่าง ๆ จากการแข่งขัน Thailand Youth Policy Initiative ที่หน่วยงานภาครัฐรับปากว่าจะนำไปพิจารณาต่อ เพื่อให้แน่ใจว่าแนวคิดดี ๆ เหล่านั้นจะถูกนำไปประยุกต์ใช้จริงไม่มากก็น้อย ร่มคันใหญ่ที่ครอบคลุมโลกทั้งใบ “อย่างที่เล่าถึง Model UN ซึ่งเป็นการจำลองการประชุมสหประชาชาติ พอเข้ามาร่วม IFMSA-Thailandเราก็ยังจัดกิจกรรมนี้อยู่ แต่จำลองให้เป็นการประชุมขององค์กรอนามัยโลก (WHO) แทน เพื่อเน้นน้ำหนักไปที่เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ อย่างครั้งหนึ่งเรายกประเด็นเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ลี้ภัยขึ้นมาเป็นหัวข้อ” ในฐานะกระบวนกรที่ชื่นชอบกิจกรรมนี้ถึงขั้นตั้งชมรมสมัยมัธยมปลาย เมจิคิดเสมอว่าอยากไปเห็นการหารือของจริงที่มีตัวแทนจากหลากหลายประเทศมาเข้าร่วม ดังนั้น 2 ปีที่ผ่านมา เธอจึงสมัครเข้าเป็นเครือข่ายของ IFMSA ระดับนานาชาติ และเป็นนักศึกษาแพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้แทนไปเข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก หรือ World Health Assembly หนึ่งในวาระแห่งปีที่สำคัญที่สุดของคนในแวดวงสาธารณสุข “การได้เป็นส่วนเล็ก ๆ ของประชุมสมัชชาอนามัยโลกเปิดมุมมองของเราที่มีต่อสุขภาพโลกหรือ Global Health ซึ่งหมายถึงสุขภาพของผู้คนในบริบทโลก เพราะปัญหาสุขภาพทุกวันนี้เชื่อมโยงข้ามพรมแดนกันอย่างซับซ้อน เราจึงต้องมองปัญหานั้น ๆ ในมุมมองที่กว้างขึ้น ไม่จำกัดอยู่แค่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง” โดยปีแรกเมจิเป็นหนึ่งใน 50 ผู้แทนเยาวชนจากทั่วโลก และปีต่อมาได้รับเลือกให้เป็นที่ปรึกษาของคณะผู้แทนจากทวีปเอเชีย ซึ่งกว่าจะฝ่าด่านการสัมภาษณ์สุดโหดไปเป็น 1 ใน 7 ตัวจริงได้ ก็นับว่าหินไม่น้อย เมจิเล่าต่อว่าตลอดงานสองสัปดาห์ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เธอได้เจอกับฮีโร่ด้านสุภาพที่ชื่นชม ได้เห็นการขับเคลื่อนงานขององค์กรต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ยิ่งตอกย้ำให้มั่นใจว่าเธอชอบการทำงานขับเคลื่อนสาธารณสุขในมิตินานาชาติที่มองสุขภาพข้ามเขตแดนระหว่างประเทศ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประสบการณ์ต่างๆ ที่เธอเก็บเกี่ยว จะสามารถนำมาใช้พัฒนานโยบายต่าง ๆ ในประเทศไทยได้ เมื่อทุกนโยบาย ต้องห่วงใยสุขภาพ ภูมิศาสตร์คือพื้นฐานของทุกอย่างบนโลก เช่นเดียวกับสุขภาพที่เป็นพื้นฐานของความเป็นอยู่ที่ดีหรือWell-Being ทุกวันนี้นักขับเคลื่อนสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญกับแนวคิดทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ หรือ Health in All Policies ซึ่งเป็นกรอบการทำงานที่ส่งเสริมให้การพัฒนาสังคมทุกด้านวางเป้าหมายด้านสุขภาพเป็นหัวใจสำคัญ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืนไม่ได้เลย หากปัจจัยพื้นฐานอย่างสุขภาวะของผู้คนในประเทศยังไม่มั่นคง “แนวคิดนี้อาจยังไม่คุ้นหูคนทั่วไปนัก แต่ในประเทศไทย พี่ ๆ กระทรวงสาธารณสุขกำลังผลักดันเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง อย่างการจัดสมัชชากรุงเทพฯ เวทีพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมที่พยายามบูรณาการให้ภาคส่วนต่าง ๆ ตั้งโจทย์ในการสร้างเมืองสุขภาวะไม่เฉพาะกับผู้อยู่อาศัยในเมืองเท่านั้น แต่รวมถึงนักท่องเที่ยวและทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย” เมจิเคยเป็นอาสาสมัครจัดงาน TEDx ซึ่งประสบการณ์ครั้งนั้นทำให้เธอได้พบเจอและพูดคุยกับคนจากหลากหลายที่มาซึ่งสนใจปัญหาสังคมเหมือนกัน ส่งผลให้มุมมองของเธอต่อปัญหามิติอื่น ๆ ถูกขยายกว้างขึ้น นอกจากนี้มันยังช่วยต่อจิ๊กซอว์ความเข้าใจเรื่อง Health in All Policies ว่าทุกปัญหาล้วนโยงกลับมาสู่พื้นฐานด้านสุขภาพจริง ๆ “ปัญหาบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างเช่นข้าวโพด เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่คุกคามความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ในขณะเดียวกันทุกปีหลังฤดูเก็บเกี่ยว ซากข้าวโพดมหาศาลจะถูกเผาทิ้ง และนั่นคือสาเหตุของ PM2.5 ซึ่งเป็นปัญหาด้านสุขภาพ หรือถ้าจะมองในด้านความเท่าเทียม (Equality) และความเสมอภาค (Equity) ของคนในสังคม จริงๆ PM2.5 อาจไม่ได้กระทบสุขภาพคนรวยเท่าคนจน เพราะคนรวยสามารถซื้อเครื่องกรองอากาศหรืออุปกรณ์ราคาแพงๆ ได้ แต่กับคนยากจน แค่จะซื้อหน้ากากมาใส่ก็นับว่ายากลำบากแล้ว” ระบบดี เริ่มต้นที่การวางรากฐาน เมจิกำลังจะขึ้นชั้นปีที่ 6 ปีสุดท้ายซึ่งนับเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของเหล่านักศึกษาแพทย์ “เราทำงานกับ IFMSA Thailand มาตั้งแต่เข้าปีหนึ่ง จนวันนี้เพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันกำลังเตรียมส่งต่องานให้น้องรุ่นต่อไป แม้จะเป็นแค่องค์กรเยาวชน แต่พวกเราก็พยายามอย่างมากที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นอย่างราบรื่น เพื่อให้โปรเจกต์ต่าง ๆ สามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่สะดุด “ทำให้ย้อนกลับมาคิดว่า แล้วสังคมของเรามีการเตรียมความพร้อมให้เยาวชนหรือยังนะ เพราะในท้ายที่สุดเยาวชนวันนี้ก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่บริหารและพัฒนาประเทศในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ระบบที่มีประสิทธิภาพไม่ได้เกิดขึ้นในปีสองปี แต่เราเชื่อว่ามันต้องใช้เวลาวางรากฐานกันเป็นเจเนอเรชั่น คนรุ่นเราได้รับโอกาสเพื่อเตรียมพร้อมแค่ไหนที่จะก้าวไปสู่จุดนั้นในอนาคต” เมจิเล่าว่าการมีเพื่อนนักขับเคลื่อนจากทั่วโลก ทำให้เธอได้เห็นว่าบางประเทศนั้นรับฟังความคิดเห็นของเยาวชนอย่างเคารพและให้คุณค่าจริง ๆ ไม่เฉพาะแค่ในหน้าแถลงข่าว และเธอได้เห็นแล้วว่าความร่วมมือของคนรุ่นใหม่และผู้ใหญ่ในสังคมกำลังปรากฏชัดขึ้นทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นของบ้านเรา อย่างการเกิดขึ้นของเครือข่าย SDGs Youth Panel ที่เมจิและทีมเยาวชนที่ปรึกษาสหประชาชาติประเทศไทยหลายคนได้มารวมตัวกันเพื่อส่งความคิดเห็นเกี่ยวกับระโยบายด้านความยั่งยืนไปให้ผู้นำประเทศใช้พิจารณาจริง ๆ แม้ทุกวันนี้ เมจิจะต่อจิ๊กซอว์ชิ้นต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเห็นภาพชัดเจนแล้วว่าแพชชั่นของเธอคืออะไร แต่ภาพ ๆ นี้สามารถขยายออกไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่นเดียวกับการทำงานขับเคลื่อนให้เยาวชนยิ่งมีส่วนร่วมในการออกสิทธิ์ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมพลังบวกและความเชื่อมั่นที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศไปพร้อมกับคนทุกรุ่นในสังคม เรื่อง มิ่งขวัญ รัตนคช, เรียบเรียง รวีกานต์ อมรัชกุล, ภาพ นิรุตติ จารุไพศาลกิจ Tags: #SDGsYouthPanel #GlobalGoals #Youth2030

อ่านเพิ่มเติม

1 of 5

คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564

เรื่อง

16 พฤศจิกายน 2022

วงล้อวีลแชร์ ธันย์-ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ ผู้ใช้พลังบวกเชื่อมโยง อาชีพและโอกาสไปยังผู้พิการ ให้ก้าวต่อไปให้ไกลกว่าเดิม

SDGs Youth Panel ตลอดการสนทนากับ ธันย์-ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ เธอย้ำว่าตัวเองโชคดีหลายครั้ง แม้แต่อุบัติเหตุไม่คาดฝันเมื่อ 14 ปีก่อน ที่ทำให้เธอต้องสูญเสียขาทั้งสองข้างไปตลอดชีวิต ธันย์ก็มองว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่ตัวเองได้เรียนรู้อะไรมากมาย ซึ่งหล่อหลอมให้เธอเป็นเธออย่างทุกวันนี้ จากที่เดินได้อย่างคนทั่วไป ธันย์เรียนรู้การใช้ชีวิตกับวีลแชร์และขาเทียม อวัยวะใหม่ที่พาเธอเดินบนเส้นทางสายใหม่ การมองโลกผ่านเลนส์ Solution-Based ทำให้ธันย์เป็น ‘สาวน้อยคิดบวก’ อย่างที่ใครต่อใครเรียกกัน เธอไม่เพียงแบ่งปันเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจให้คนมาแล้วมากมาย แต่ยังเป็นนักรณรงค์ที่ทำงานขับเคลื่อนเรื่องคนพิการอย่างแข็งขันตลอดหลายปีที่ผ่านมา เธอเคยทำงานร่วมกับองค์กรนานาชาติอย่าง Leonard Cheshire เพื่อเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจ้างงานเยาวชนพิการอย่างเป็นธรรม และการสร้างสรรค์พื้นที่ซึ่งโอบรับคนทุกรูปแบบให้ทำงานได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน นอกจากนี้ ธันย์ยังเป็นหนึ่งในเครือข่ายผู้นำเยาวชน SDGs Youth Panel ที่กำลังร่วมกันระดมความคิดเห็นว่า การพัฒนาประเทศไทยควรเดินหน้าไปทางไหนในมุมมองคนรุ่นใหม่ และส่งต่อความคิดเห็นเหล่านั้นไปยังผู้นำรุ่นใหญ่ ธันย์บอกว่าความโชคดีที่สุดในความโชคร้ายที่สุดของเธอ คือการสูญเสียขาไปในยุคที่การรณรงค์เรื่องคนพิการในไทยเริ่มผลิบานขึ้น จากการหว่านเมล็ดโดยรุ่นพี่คนพิการในอดีต “เราโตมาในยุคที่ห้างสรรพสินค้ามีห้องน้ำและที่จอดรถสำหรับวีลแชร์ สถาปัตยกรรมใหม่ ๆ อยู่ในควบคุมของกฎหมายอาคารที่ระบุว่าต้องมีทางลาด ผู้คนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของแนวคิดการออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design) เพื่อให้พื้นที่เป็นมิตรกับผู้ใช้บริการทุกรูปแบบ ทั้งหมดนี้คือดอกผลจากการผลักดันอย่างเข้มข้นโดยพี่ ๆ รุ่นก่อน” อ่านถึงตรงนี้ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าธันย์เป็นสายเนิร์ดวิชาการ เพราะจริง ๆ แล้ว เธอใช้ชีวิตเต็มที่กับทุกด้าน บินรอบโลก ดำน้ำ วิ่งมาราธอน และนี่คือเรื่องของธันย์ กับการเดินทางเพื่อความเท่าเทียม เพราะเชื่อว่าชีวิตเราเป็นโอกาสมากกว่าอุปสรรค ชีวิตบทใหม่กับอวัยวะคู่ใหม่ ธันย์เริ่มเล่าถึงตัวเองในวัยเด็ก ว่าเธอเติบโตอย่างเรียบง่ายและอยู่ในเซฟโซนมาตลอดชีวิต จุดเปลี่ยนที่ใหญ่ที่สุดของเด็กหญิงวัย 14 จากจังหวัดตรังคนนี้ คือการตัดสินใจไปเรียนพิเศษช่วงปิดเทอมใหญ่ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งถ้าทุกอย่างไปได้ดี ครอบครัวก็มีแผนจะส่งธันย์เรียนมัธยมปลายต่อที่นั่นไปเลยในอนาคต "ตอนอยู่สิงคโปร์ เราได้เรียนรู้ที่จะดูแลตัวเอง ทั้งเรื่องการเรียนและการใช้ชีวิต ซึ่งก็ใช้เวลาสักพักกว่าเราจะรู้สึกคุ้นเคยกับสิ่งต่าง ๆ เรารู้ว่าจะเดินทางไปไหนมาไหนอย่างไร ใครมาสิงคโปร์ เราสามารถพาไปเที่ยวได้ ทุกอย่างราบรื่นมาก และอย่างที่รู้กันว่าสิงคโปร์ก็เป็นประเทศที่ปลอดภัย เราเลยไม่ได้คิดว่าวันหนึ่งจะเกิดอะไรขึ้น" "จนกระทั่งสัปดาห์สุดท้ายก่อนกลับเมืองไทย ระหว่างที่เรากำลังรอรถไฟ ตอนนั้นคนเบียดเสียดกันในจังหวะที่รถกำลังแล่นเข้าสู่ชานชาลา ด้วยความที่เราตัวเล็ก จึงถูกเบียดตกลงไปบริเวณราง ด้วยความฉุกละหุก รถหยุดไม่ทันและคนก็ลงไปช่วยไม่ทันเช่นกัน สุดท้ายอุบัติเหตุครั้งนั้นทำให้เราสูญเสียขาทั้งสองข้างไป" ธันย์พูดถึงเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นว่า “ในความโชคร้าย ก็ยังมีความโชคดี เพราะตอนนั้นเราสะพายเป้ที่ทั้งหนาและใหญ่ ทำให้แม้จะตกลงไปหลังกระแทกกับรางเหล็ก แต่ก็ไม่ได้รับบาดเจ็บในส่วนที่กระทบต่อระบบประสาท อุบัติเหตุทำให้เราสูญเสียอวัยวะอย่างเดียว ไม่ได้มีผลแทรกซ้อนด้านสุขภาพที่ต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง” ธันย์เล่าว่าการพักฟื้นอยู่ในห้องปลอดเชื้อนานหลายเดือน ทำให้เธอได้ตกตะกอนความคิดเกี่ยวกับชีวิตที่จะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาลนับจากนี้ แผนต่าง ๆ ที่เคยวาดฝันไว้ต้องพับเก็บไปก่อน สิ่งที่เร่งด่วนกว่าคือการเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตกับอวัยวะคู่ใหม่อย่างขาเทียมและวีลแชร์ “มันส่งผลกระทบกับทุกอย่างในชีวิต ตั้งแต่เรื่องเล็กใกล้ตัวอย่างการเข้าห้องน้ำ ก็ต้องมาหัดทำธุระต่าง ๆ ด้วยรูปแบบใหม่ทั้งหมด ไปจนถึงเรื่องใหญ่และแผนระยะยาวอย่างการเรียนหนังสือ ถ้าเดินไปเข้าชั้นเรียนอย่างเดิมไม่ได้แล้ว ต้องทำอย่างไรต่อ แม้แต่อาชีพในฝันที่เราอยากเป็น ด้วยข้อจำกัดใหม่ของชีวิต ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปโดยปริยาย” เครือข่ายที่เติบโตเหมือนต้นไม้ ธันย์เล่าพร้อมรอยยิ้มว่าเธอมักมองสิ่งต่าง ๆ ผ่านเลนส์ Solution-Based อธิบายให้เห็นภาพก็คือ แทนที่จะจดจ่ออยู่กับปัญหา เธอเลือกเอาวิธีแก้ปัญหาเป็นที่ตั้งนั่นเอง “แทนที่จะจดจ่ออยู่กับการตอกย้ำตัวเองว่านับจากนี้ฉันคงไปไหนไม่ได้อีกแล้ว เราเลือกที่จะมองว่า สถานที่ไหนบ้างที่เราจะเข็นวีลแชร์ไปได้ เมื่อได้จุดหมายแล้ว ขั้นต่อไปก็ลุยเลย” “คนจำนวนไม่น้อยมองว่าคนพิการนั้นไร้ศักยภาพ ทั้งที่จริงแล้วไม่ใช่อย่างสิ้นเชิง ความพิการแค่ทำให้ขาดโอกาสรวมถึงช่องทางที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ตามรูปแบบของคนทั่วไปเท่านั้น” ช่วงที่ธันย์เพิ่งหัดใช้วีลแชร์และยังไม่คล่องแคล่ว เธอคิดอยู่ตลอดว่าถ้าเข็นรถไปเจอบันได ก็ต้องออกปากขอความช่วยเหลือให้คนมาช่วยกันยกรถลงบันได จนกระทั่งเจอเพื่อนคนพิการที่ชำนาญการใช้วีลแชร์คนหนึ่ง “ไม่ต้องให้ใครช่วย ลองทางอื่นก่อน” เขาบอกแบบนั้น ธันย์จึงเข้าใจว่าจริง ๆ แล้วยังมีเส้นทางอื่นอีกที่ชาววีลแชร์จะสามารถเข็นรถได้โดยไม่ต้องผ่านบันได อาจจะต้องอ้อมไกล หรือใช้เวลานานกว่าสักหน่อย แต่ก็ถึงจุดหมายเหมือนกัน “ก่อนหน้านี้ เราไม่มีความรู้ความเข้าใจใด ๆ เกี่ยวกับคนพิการเลย เคยเป็นคนปกติที่รู้สึกเห็นใจและมองว่าพวกเขาน่าสงสาร ทำให้ตอนนี้ที่เราเป็นคนพิการเอง เราเข้าใจในมุมมองของคนทั่วไปนะ ว่าที่คิดแบบนั้นอาจเพราะไม่เคยได้ใกล้ชิดหรือคลุกคลีกับคนพิการมาก่อน การอยู่กับความพิการ ทำให้เราสนใจนวัตกรรมใหม่ ๆ เกี่ยวกับมนุษย์ ยิ่งศึกษามาก ก็ยิ่งเปิดโลกให้เราเห็นว่า ทุกวันนี้คนพิการสามารถทำอะไรได้มากมาย” เมื่ออาการเริ่มทรงตัว ธันย์ก็เริ่มไปศูนย์ฝึกที่รวมคนพิการทุกรูปแบบเข้าไว้ด้วยกัน และที่นั่น เธอได้ทำความรู้จักโลกอีกใบของคนพิการ “เราไม่ได้พุ่งตัวเข้าหาองค์กรเพื่อคนพิการทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ เพราะเราไม่รู้จักใคร องค์กรเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์มากหรือผ่านความพิการมายาวนานกว่าสิบปี และที่สำคัญคือเราไม่รู้ช่องทาง เนื่องจากเครือข่ายมักเป็นลักษณะที่บอกกันปากต่อปาก การเข้าร่วมผลักดันเรื่องคนพิการในมิติต่าง ๆ ของเราจึงเหมือนการปลูกต้นไม้ที่ค่อย ๆ เติบโตตามกาลเวลา” แม้ในชีวิตประจำวัน ธันย์จะเรียนหนังสือในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยร่วมกับคนทั่วไป แต่เธอก็เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยองค์กรเพื่อคนพิการเป็นประจำทุกปีไม่เคยขาด จากที่รู้จักพี่ ๆ น้อง ๆ คนพิการแค่กลุ่มเดียว ก็ขยายกลายเป็นเครือข่าย และต่อมา จากที่รู้จักเฉพาะเครือข่ายคนพิการชาวไทย ธันย์ก็เริ่มอยากรู้จักคนพิการชาติอื่น ๆ ด้วย เพราะสงสัยว่าชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิของคนพิการในประเทศอื่น ๆ เป็นอย่างไร แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ช่วงเข้ามหาวิทยาลัย ธันย์เห็นประกาศรับสมัครเยาวชนไปดูงานเกี่ยวกับคนพิการที่ประเทศเกาหลี เธอไม่รอช้ารีบสมัครเข้าร่วมทันที โดยความท้าทายของการไปต่างแดนครั้งนี้ไม่ได้อยู่ที่การเดินทางด้วยขาเทียมหรือวีลแชร์ แต่อยู่ที่การสื่อสารมากกว่า เพราะเยาวชนจากทั้ง 10 ประเทศ ต่างก็มาจากทวีปเอเชียที่มีภาษาท้องถิ่นของตัวเอง และพูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง แต่ถึงอย่างนั้นทุกคนก็พยายามสื่อสารกันอย่างสนุกสนานเต็มที่ ธันย์เล่าอย่างตื่นเต้นว่า “เป็นเวลาสองอาทิตย์ที่ล้ำค่าและเปิดโลกเกี่ยวกับคนพิการให้เรามาก เพราะได้เห็นสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายทั้งแต่ลิฟต์ ทางลาด ไปจนถึงห้องพักที่ออกแบบมาเพื่อคนพิการโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังได้ฟังประวัติการต่อสู้เพื่อสิทธิต่าง ๆ ของคนพิการเกาหลี ทำให้เราเห็นที่มาที่ไปว่ากว่าเขาจะมีสิ่งที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตขนาดนี้ ก็ผ่านกระบวนการต่าง ๆ มาไม่น้อยเหมือนกัน” ยิ่งโตขึ้น การเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิของธันย์ก็ยิ่งจริงจังขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเธอเข้าร่วมกับองค์กรสนับสนุนการใช้ชีวิตของคนพิการที่ก่อตั้งในสหราชอาณาจักรและปัจจุบันดำเนินการอยู่ทั่วโลกอย่างเลียวนาร์ด เชสเชียร์ (Leonard Cheshire) โดยประเด็นที่ได้รับการผลักดันมากในไทยคือเรื่องการจ้างงาน ธันย์เป็นหนึ่งในตัวแทนที่ร่วมนำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพเยาวชนพิการ รวมถึงข้อปรับปรุงที่บริษัทต่าง ๆ ในไทยควรนำไปพิจารณาปรับเปลี่ยน เพื่อให้เยาวชนพิการเข้าถึงการจ้างงานได้อย่างเป็นธรรม (Access to Decent Work) รวมถึงสามารถทำงานในสถานประกอบการนั้น ๆ ได้อย่างมีความสุข “แนวคิดเกี่ยวกับคนพิการของเราเริ่มชัดเจนขึ้นช่วงที่ได้ทำงานกับองค์กรนานาชาติ ได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับคนหลากหลาย ได้เห็นตัวอย่างการผลักดันที่ประเทศก็มีส่วนที่มุ่งเน้นแตกต่างกันไป ตั้งแต่เกาหลีที่ใส่ใจทุกรายละเอียดของการออกแบบพื้นที่เมือง จนถึงสหราชอาณาจักรที่ผลักดันเรื่องนี้มายาวนานจนไม่ต้องพูดถึงเรื่องทางกายภาพแล้ว แต่เน้นที่การจ้างงาน การพัฒนาต่อยอดให้คนพิการไปได้ไกลยิ่งขึ้น” นี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ธันย์เลือกเรียนต่อด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร รวมถึงเลือกทำงานวิจัยเกี่ยวกับการจ้างงานคนพิการในไทยเป็นวิทยานิพนธ์ “จากประสบการณ์ของเรา ปัญหาไม่ใช่เรื่องของการขาดโอกาส องค์กรมากมายมีนโยบายรับคนพิการเข้าเป็นพนักงาน มีเงินเดือนและสวัสดิการที่ดี แต่ทำไมคนพิการจึงทำงานอยู่ได้ไม่นานเสมอ นี่คือสิ่งที่เราสงสัยมาตลอดจนได้ทำวิจัยและค้นพบว่า จริง ๆ แล้ว เงินไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะทำให้คนพิการหรือใครก็ตาม ทำงานได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน” “ทั้งสภาพแวดล้อม การเดินทาง ไปจนถึงความเอื้ออำนวยของงานต่อบุคลิกภาพและกายภาพของเรา อย่างคนพิการที่นั่งวีลแชร์มักมีปัญหานั่งนานไม่ได้ แต่ทั้งบริษัทกลับเปิดรับคนพิการแค่ตำแหน่งเดียว และยังเป็นตำแหน่งงานที่ต้องนั่งอยู่กับที่ทั้งวันอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจหากสถิติการย้ายงานของคนพิการจะสูงกว่าปกติ” ท่องโลกด้วยขาเทียมและวีลแชร์ ธันย์อธิบายต่อว่า อีกปัญหาที่พบคือเรื่องเส้นทางอาชีพ (Career Path) “เพื่อนผู้พิการทางสายตาของเราคนหนึ่งเรียนจบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมาก อย่างไรก็ตาม มีกฏระบุไว้ว่าอัยการหรือผู้พิพากษาต้องมีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ นั่นหมายความว่าถ้าคุณเดินขากะเผลก หูไม่ค่อยได้ยิน หรือมีความบกพร่องอะไรบางอย่าง แม้จะเรียนจบนิติศาสตร์มาแล้ว ทำงานเก่งกาจแค่ไหน เส้นทางแห่งวิชาชีพอนุญาตให้คุณมาได้ไกลเท่านี้ ซึ่งนี่เป็นแค่หนึ่งในอีกหลาย ๆ อาชีพที่ยังมีข้อจำกัดบางอย่างปิดกั้นคนพิการอยู่” วิทยานิพนธ์ของธันย์จึงรวบรวมประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคนพิการ นำมาวิเคราะห์และพัฒนาเป็นโมเดลแก้ปัญหา ซึ่งเธอหมายมั่นว่าในอนาคตจะต่อยอดมันออกไป เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมในวงกว้าง เรื่องราวของธันย์ที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ รวมถึงที่เขียนบอกเล่าในเพจเฟซบุ๊ก ‘น้องธันย์ สาวน้อยคิดบวก’ ไม่เพียงเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนพิการมากมายเห็นคุณค่าในตัวเอง แต่ยังเพิ่มความรู้ให้คนทั่วไปเรื่องความสามารถของคนพิการ รวมถึงสิทธิที่สมาชิกทุกคนในสังคมพึงได้รับอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ ธันย์ยังเป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่าย SDGs Youth Panel ที่ประกอบไปด้วยเยาวชนนักขับเคลื่อนที่รวมตัวกันระดมความคิดเห็นส่งไปยังผู้นำประเทศ ว่าคนรุ่นใหม่อยากเห็นเมืองไทยเดินหน้าสู่ความยั่งยืนอย่างไร โดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ธันย์ตั้งใจผลักดันเป็นพิเศษคือข้อ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ และข้อ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ เพราะทั้งสองมิติคือรากฐานที่จะทำให้เยาวชนพิการสามารถใช้ชีวิตอย่างภาคภูมิใจ มีโอกาสได้เรียนในสิ่งที่ชอบ และทำงานในด้านที่ตัวเองรัก “คนพิการในเมืองไทยส่วนใหญ่เลือกเรียนจบแค่ชั้นมัธยมต้น เพราะถึงแม้ภาครัฐจะให้เรียนฟรีถึงปริญญาตรี แต่ปัญหาคือสนับสนุนเฉพาะค่าเรียน ไม่มีค่าหอพักหรือค่าเดินทางให้ คนที่ครอบครัวไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอ จึงไม่สามารถเรียนต่อชั้นสูง ๆ ได้ พอการศึกษาจำกัด มันก็เหมือนตัดโอกาสต่าง ๆ ในชีวิตคนพิการคนนั้นไปเลยทันที ทั้งเรื่องการหางานไปจนถึงการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในสังคม ยังไม่นับว่ามีความย้อนแย้งเรื่องเส้นทางอาชีพของคนพิการที่อธิบายไปข้างต้นอีก” ธันย์ย้ำทิ้งท้ายว่า “จะให้คนพิการมีความยั่งยืนในชีวิต ต้องเริ่มที่การศึกษา เมื่อคนพิการสามารถต่อยอดความรู้ความสามารถของตัวเองได้ ก็จะมีงานทำ ซึ่งไม่เพียงสร้างรายได้ แต่ยังบ่มเพาะความภาคภูมิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนมีเท่าเทียมกัน ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะมีอวัยวะครบถ้วนหรือไม่ก็ตาม” นับตั้งแต่วันที่สูญเสียขาทั้งสองข้าง สิบกว่าปีที่ผ่านมา ด้วยขาเทียมและวีลแชร์ ธันย์บอกว่ายังไม่เหนื่อยกับการเดินทางเลย ความฝันของเธอคือการได้ไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทั่วโลก คนพิการประเทศอื่น ๆ มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร องค์กรใดกำลังผลักดันเรื่องอะไรอยู่ และทุกวันนี้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ อะไรเกิดขึ้นอีกบ้าง และในท้ายที่สุดเธออยากนำสิ่งที่พบเห็นเหล่านั้นกลับมาสู่เมืองไทยของเรา เรื่อง มิ่งขวัญ รัตนคช, เรียบเรียง รวีกานต์ อมรัชกุล, ภาพ นิรุตติ จารุไพศาลกิจ Tags: #SDGsYouthPanel #GlobalGoals #Youth2030

อ่านเพิ่มเติม

1 of 5

คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564

เรื่อง

08 พฤศจิกายน 2022

อาหารรักษาโรคและโลกใบนี้ได้ นันทพร ตีระพงศ์ไพบูลย์ เชฟอาหารบำบัดและนักขับเคลื่อนการกินยั่งยืน

SDGs Youth Panel ใครเป็นสายกิน ขอให้ยกมือขึ้น! เครือข่ายผู้นำเยาวชน SDGs Youth Panel ที่เราจะพาคุณไปทำความรู้จักวันนี้ก็เป็นสายกินเหมือนกัน แต่การกินแบบของเธอนั้นไม่ธรรมดา เพราะมันเป็นการกินอย่างยั่งยืนที่ทำให้สังคม สิ่งแวดล้อม และโลกของเราดีขึ้น พลอย-นันทพร ตีระพงศ์ไพบูลย์ คือนักขับเคลื่อนเรื่องขยะอาหาร (Food Waste) และอาหารส่วนเกิน (Food Surplus) เพราะทุกวันนี้ 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตทั่วโลกถูกนำไปฝังกลบและสูญเปล่าอย่างน่าเสียดาย โดยไม่เคยมีใครได้กินมัน ทั้ง ๆ ที่กว่าจะมาเป็นอาหารแต่ละอย่าง โลกต้องสูญเสียทรัพยากรมหาศาล แถมยังมีก๊าซเรือนกระจกถูกปล่อยออกมาระหว่างการผลิตอีกด้วย พลอยทำงานที่มูลนิธิ SOS (Scholars of Sustenance) ซึ่งจะเข้าไปกอบกู้อาหารและวัตถุดิบส่วนเกินที่ยังมีคุณค่าแต่กำลังจะถูกทิ้งขว้างจากร้านค้าปลีก โรงแรม และอุตสาหกรรมอาหารต่าง ๆ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้ผู้ขาดแคลนรวมถึงผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ที่พวกเขาช่วยให้คนเดือดร้อนมากมายได้อิ่มท้องด้วยอาหารดีมีคุณภาพ ข่าวดีล่าสุดของพลอยและทีม SOS คือโครงการธนาคารอาหารออนไลน์ (Cloud Food Bank) ของพวกเขาได้รับการอนุมัติให้อยู่ในแผนสร้างธนาคารอาหารระดับชาติ (National Food Bank) ซึ่งจะรวบรวมและส่งต่ออาหารส่วนเกินจากทั่วประเทศไปสู่ปากท้องของประชาชนอย่างทั่วถึง สำหรับพลอย นี่คือก้าวสำคัญในเส้นทางการผลักดันระบบอาหารยั่งยืนของเธอ นอกจากการเป็นนักขับเคลื่อน พลอยยังเป็นเชฟอาหารบำบัดที่เน้นวัตถุดิบธรรมชาติหรือที่เรียกว่า Natural Chef เพราะเคยประสบกับโรคภัยและหายดีได้เป็นปลิดทิ้งจากการเปลี่ยนวิถีการกิน เธอจึงอยากให้ทุกคนได้ค้นพบความมหัศจรรย์ของอาหารเช่นเดียวกัน “อาหารเป็นยาที่สามารถรักษาโรคและโลกใบนี้ได้” เธอย้ำอย่างหนักแน่น อะไรทำให้เธอเชื่ออย่างนั้น เราชวนคุณอ่านเรื่องราวการเดินทางเพื่อผลักดันการกินยั่งยืนที่มีครบทุกรสชาติของพลอย นักขับเคลื่อนผู้เชื่อว่าเราทุกคนเป็นฮีโร่ช่วยโลกได้ในทุกมื้ออาหาร วิทยาศาสตร์ว่าด้วยการกิน เพราะเติบโตมาในบ้านคนจีนแต้จิ๋วผสมจีนกวางตุ้ง พลอยจึงไม่เพียงถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กว่าต้องกินข้าวให้หมดจาน แต่ยังเคยชินกับการกินอาหารที่เน้นชูรสชาติของวัตถุดิบ ไม่ได้ปรุงเยอะจัดจ้าน ซึ่งทั้งหมดนี้เธอเองก็เพิ่งมารู้ตอนโตว่า มันคือขั้นพื้นฐานของการกินอย่างยั่งยืน “อาผ่อพูดเสมอว่าผักผลไม้ที่เรารู้แหล่งที่มา รู้ว่าเขาปลูกอย่างปลอดภัย แม้จะแทบไม่ได้ปรุงอะไร มันก็อร่อยด้วยมันเองอยู่แล้ว” พลอยเล่าเสียงสดใส จนกระทั่งเข้ามหาวิทยาลัย พลอยเรียนและทำกิจกรรมอย่างหนักจนไม่ได้ดูแลสุขภาพ ส่งผลให้เป็นช็อกโกแลตซีสต์ อย่างไรก็ตาม ก่อนจะถึงขั้นรักษาด้วยการผ่าตัด คุณลุงของพลอยที่ทำงานในมูลนิธิสุขภาพไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานกับชุมชนมากมายเพื่อพัฒนาการรักษาโรคด้วยสมุนไพร บอกให้เธอลองกินขมิ้นชันเพื่อลดการอักเสบดู ช่วงนั้นพลอยจึงทั้งกินสมุนไพรและเปลี่ยนมากินมังสวิรัติด้วย เพราะคิดว่าต้องฟื้นสุขภาพจากที่กินนอนไม่เป็นเวลา “หลังจากนั้นไม่นาน ปรากฏว่าซีสต์ในรังไข่มันยุบไปเองโดยไม่ต้องผ่าตัดเลย โอ้โฮ เราทึ่งมากที่ได้เห็นผลลัพธ์จากการเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน อาหารมีผลต่อร่างกายคนเราขนาดนี้เลยหรือ และนั่นทำให้คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้เราสนใจเรื่องอาหารการกินอย่างจริงจัง” นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจอย่างพลอยจึงเริ่มลงเรียนวิชาเลือกด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร (Food Science) เธอหลงรักศาสตร์ใหม่ที่เพิ่งได้เรียนรู้นี้เต็มเปา การันตีด้วยคะแนนสอบที่ได้เกือบเต็มทุกครั้ง หลังเรียนจบ พลอยเข้าทำงานในตำแหน่งนักการตลาดที่ Whapow Thailand สตาร์ทอัพสัญชาติเยอรมัน ซึ่งกำลังพัฒนาของหวานจากสาหร่ายสไปรูลิน่า (Spirulina) ที่นอกจากจะอุดมไปด้วยโปรตีนแล้ว ยังสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนได้ แต่เมื่อเกือบ 8 ปีที่แล้ว ความเข้าใจของผู้คนเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกมหาศาลที่ปล่อยมาจากอุตสาหกรรมอาหารยังไม่แพร่หลายเท่าตอนนี้ การทำการตลาดให้คนเลือกกินขนมจากสาหร่ายแทนผักผลไม้ชนิดอื่นจึงเป็นงานที่ท้าทายสุด ๆ “เจ้านายคนแรกของเราเป็นชาวเยอรมันที่มีวิสัยทัศน์มาก เขาอยากช่วยเหลือเกษตรกรไทยรายย่อย และสาหร่ายสไปรูลิน่าก็สามารถปลูกได้ดีในสภาพอากาศอบอุ่นของบ้านเรา ดังนั้นถ้านำผลิตภัณฑ์ไปขายต่างประเทศได้ก็นับเป็นการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบ เราได้ลงพื้นที่ไปเรียนรู้อะไรเยอะแยะเลย โดยเฉพาะเรื่องระบบอาหารยั่งยืนที่ต้องเริ่มตั้งแต่คนต้นน้ำอย่างเกษตรกร” ความมหัศจรรย์ของวัตถุดิบ โรงเรียนบริหารธุรกิจสอนพลอยว่าต้องเป็น First Mover เท่านั้นถึงจะเจ๋ง แต่เมื่อได้มาทำงานจริง เธอค้นพบว่าการสร้างความเปลี่ยนแปลงทำคนเดียวไม่ได้ ทุกห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมจะต้องถูกขับเคลื่อนไปด้วยกัน “เราค่อย ๆ ต่อจิ๊กซอว์ความเข้าใจเรื่องระบบอาหารและระบบธุรกิจ รู้สึกเสมอว่าอยากเป็นคนที่ช่วยผลักดันความยั่งยืนให้เกิดขึ้น แต่ระบบอาหารก็เป็นห่วงโซ่ที่ใหญ่มาก ใหญ่จนตัวเราเองสับสนว่าควรจะทำงานส่วนไหน ต้นน้ำที่การเพาะปลูกและผลิตวัตถุดิบ กลางน้ำที่การบริโภคอาหาร หรือปลายน้ำที่การจัดการขยะ” พลอยเล่ายิ้ม ๆ ดังนั้นเพื่อศึกษาให้รู้อย่างลึกซึ้ง เธอจึงตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาโทที่ประเทศอังกฤษ ในสาขาการประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneurship) ซึ่งหมายถึงรูปแบบธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งเป้าแค่สร้างกำไรเข้ากระเป๋า แต่เน้นแก้ปัญหาสังคมไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่าปัญหาที่พลอยสนใจจะแก้ไขเป็นพิเศษ คือปัญหาเกี่ยวกับอาหารนั่นเอง นอกจากเรียนปริญญาโท พลอยยังแบ่งเวลาไปเข้าหลักสูตรการทำอาหารบำบัดโรค (Naturopathic Chef) ที่ความยากไม่ได้อยู่ที่การทำอาหารให้อร่อยเท่านั้น แต่ต้องรู้ลึกรู้จริงเรื่องโภชนาการ ไปจนถึงการทำงานระบบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ด้วย “ระบบอาหารดูดซึมอย่างไร ส่วนไหนย่อยก่อน ส่วนไหนย่อยทีหลัง ทางเลือกวัตถุดิบจากธรรมชาติมีอะไรบ้าง จะทำอย่างไรจึงจะดึงรสชาติและสัมผัสของวัตถุดิบออกมาให้ได้มากที่สุด” พลอยอธิบายอย่างกระตือรือร้น “เราทำวิทยานิพนธ์ที่รวบรวมตัวอย่างกิจการเพื่อสังคมที่พยายามแก้ปัญหาขยะอาหารหรืออาหารส่วนเกินทั่วยุโรป อย่าง Instock ร้านอาหารที่ประเทศเนเธอแลนด์ซึ่งต่อมาเราได้ไปทำงานเป็นเชฟที่นั่น เขาเป็นร้านแรก ๆ ของโลกที่กอบกู้วัตถุดิบส่วนเกินที่ขายไม่ได้จากซูเปอร์มาร์เก็ตมาแปลงเป็นอาหารจานหรูรสชาติเยี่ยม เพื่อสื่อสารกับลูกค้าว่าทุกวันนี้มีวัตถุดิบเหลือทิ้งมากมายทั่วโลก ความท้าทายคือวัตถุดิบส่วนเกินของแต่ละวันไม่เหมือนกันเลย ทำให้เชฟต้องมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อคิดประดิษฐ์อาหารจานใหม่ ๆ ทุกวัน” พลอยเล่าว่า การทำงานที่ร้าน Instock ทำให้เธอเห็นความมหัศจรรย์ของการประยุกต์วัตถุดิบ เพราะร้านต้องการให้เกิดขยะอาหารน้อยที่สุด ดังนั้นหากปรุงแล้วมีเศษอาหารเหลือ ก็ต้องมาหาวิถีพลิกแพลงพวกมันให้เป็นอาหารจานใหม่อีกครั้งอย่างการนำเศษขนมปังและมันฝรั่งไปทำเบียร์ ที่นี่ยังมีเวิร์คชอปสอนจัดการกับอาหารเหลือในบ้าน เช่น วิธีดองผัก แม้ไม่งามแต่เปี่ยมคุณภาพ พลอยบอกว่า แม้ที่ยุโรปจะมีทั้งคนที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและไม่สนใจเลย แต่สิ่งที่ต่างจากประเทศไทยคือเรื่องระบบการจัดการ เพราะที่นั่นมีกฎระเบียบที่เข้มงวด ทำให้แม้ไม่ได้สนใจ แต่ก็ต้องทำตามข้อบังคับของสังคม “อย่างเรื่องการแยกขยะที่ต้องทำให้ถูกต้องตามประเภท และจะมีรถเก็บขยะประเภทนั้น ๆ ขับมารับกันคนละวันไปเลยเพื่อกันความสับสน และตามย่านที่อยู่อาศัยก็จะมีบ้านหนอนไส้เดือนติดตั้งไว้ เพื่อให้คนในย่านนำเศษอาหารจากที่บ้านมาเทให้หนอนไส้เดือนกิน ทุกคนจึงสามารถคัดแยกและจัดการขยะได้อย่างง่ายดาย หลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ต่างแดนกว่าหนึ่งปี พลอยก็ตัดสินใจกลับมาขับเคลื่อนระบบอาหารที่เมืองไทยกับมูลนิธิ SOS (Scholars of Sustenance) ซึ่งมีภารกิจส่งต่ออาหารส่วนเกินไปยังชุมชนและผู้ต้องการความช่วยเหลือ อาหารบางอย่างถูกทิ้งเพราะหน้าตาไม่สวยงาม ทั้ง ๆ ที่รสชาติและคุณค่าทางโชนาการยังเต็มเปี่ยม และหาก SOS ไม่เข้ามาในกระบวนการนี้ พวกมันก็จะถูกนำไปฝังกลบและสูญเปล่าอย่างน่าเสียดาย “ตอนเพิ่งกลับมาถึงเมืองไทย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบอาหารของเราเป็นบริบทของยุโรป เราอยากเข้าใจปัญหาในบริบทของเมืองไทยให้มากขึ้น จึงสมัครไปทำงานกับมูลนิธิ SOS ซึ่งผลักดันเรื่องนี้มานานมาก ตอนนั้นคิดอย่างเดียวว่าอยากใช้ทักษะและความรู้ของเราทำให้ SOS ที่แข็งแรงอยู่แล้ว เติบโตขึ้น ๆ ไปอีก เพื่อจะได้แก้ปัญหาขยะอาหารได้มากขึ้น และก็ปรากฏว่ามันโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดเลย” พลอยเล่าพลางหัวเราะ พลอยอธิบายว่า ก่อนหน้านี้มูลนิธินำอาหารส่วนเกินมาจากโรงแรมต่าง ๆ จนเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 โรงแรมได้รับผลกระทบจนการจัดหาวัตถุดิบต่าง ๆ ลดลงไปมาก ขณะเดียวกันสังคมก็มีคนเดือดร้อนที่ต้องการอาหารเยอะขึ้น SOS จึงปรับกลยุทธ์ใหม่เปลี่ยนไปรับวัตถุดิบส่วนเกินที่ขายไม่ได้มาจากซูเปอร์มาเก็ตและร้านค้าปลีกแทน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ มูลนิธิจึงขยายไปขอความช่วยเหลือจากอุตสาหกรรมอาหารด้วย แก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี “ตอนนี้ มูลนิธิของเราดูแลการส่งต่ออาหารส่วนเกินแทบจะครบทุกรูปแบบ ทั้งอาหารสดจากร้านค้าปลีก อาหารปรุงสุกจากโรงแรม และอาหารแห้งที่เก็บได้นานอย่างพวกปลาหรือผลไม้กระป๋องจากอุตสาหกรรมอาหาร โควิด-19 ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำยิ่งถ่างกว้างขึ้น ตอนนี้เป้าหมายของเราจึงไม่ใช่แค่แก้ปัญหาขยะอาหาร แต่เป็นการเยียวยาปัญหาความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้คนที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงอาหารที่ดีและมีคุณภาพได้” พลอยเล่าถึงโครงการล่าสุดของ SOS อย่างธนาคารอาหารออนไลน์ที่ได้บรรจุอยู่ในแผนการสร้างธนาคารอาหารระดับชาติ เพื่อจัดการส่งต่ออาหารส่วนเกินที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคไปสู่ปากท้องของประชาชนที่ขาดแคลนทั่วประเทศ ซึ่งมีหมุดหมายใหญ่ในการผลักดันเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) ของไทยอีกที “ก่อนจะได้บรรจุอยู่ในแผนระดับชาติ SOS ขับเคลื่อนธนาคารอาหารออนไลน์อยู่แล้ว นี่เป็นแนวคิดใหม่ที่ยังไม่เคยเห็นประเทศไหนใช้กัน เพราะการทำธนาคารอาหารแบบปกติจะต้องมีโกดังใหญ่ ๆ เอาไว้เก็บอาหารไม่ให้เน่าเสีย ก่อนจะกระจายไปยังที่ต่าง ๆ แต่ด้วยความที่เราไม่มีพื้นที่ใหญ่โตขนาดนั้น เลยต้องใช้เทคโนโลยีมาจัดการแทน” พลอยยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่า หากวันนี้มีผู้ประกอบการติดต่อขอมอบอาหารกระป๋อง 20 ตัน ให้ SOS ไว้ใช้แจกจ่ายผู้ต้องการความช่วยเหลือ ผู้บริจาคไม่ต้องขนอาหารกระป๋องเหล่านั้นมาที่สำนักงานของ SOS แค่เข้าไปลงทะเบียน SOS จะเป็นตัวกลางในการจัดสรรการรับและการส่งต่ออาหารอย่างเป็นระบบ เพื่อเชื่อมผู้ที่ต้องการบริจาคอาหารและกลุ่มคนที่ขาดแคลนอาหารมาเจอกัน รักษาได้ทั้งโรคภัยและโลกของเรา “ช่วงที่อยู่ต่างประเทศ เราพยายามหาเครือข่ายเพื่อจะได้รู้เยอะขึ้นเกี่ยวกับการสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน เราออกไปทำงานอาสาสมัครเยอะมาก จนเพื่อนงงว่าเอาพลังมาจากไหนเยอะแยะ การได้เห็นธุรกิจเพื่อสังคมเบ่งบานอยู่ทั่วเมือง ทำให้เราเชื่อมั่นว่าความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ และเราอยากเห็นสิ่งนั้นเติบโตขึ้นในเมืองไทย” พลอยพูดขึ้น วันอาหารโลก (World Food Day) เมื่อเดือนที่ผ่านมา พลอยได้ร่วมงาน World Food Forum ที่จัดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations) เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการจัดการขยะอาหารให้เยาวชนหลากหลายชาติฟัง ในหัวข้อ ‘นวัตกรรมเยาวชนเพื่อการปฏิรูประบบเกษตร-อาหารในเอเชียและแปซิฟิก’ เธอมองว่าเยาวชนเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลังกายและพลังใจ ประกอบกับเป็นคนรุ่นที่เติบโตมากับเทคโนโลยี การพลิกแพลงนวัตกรรมใหม่ ๆ มาแก้ปัญหา จะยิ่งทำให้ผลลัพธ์เกิดขึ้นรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเธอหวังว่าในอนาคต เราจะได้เห็นโครงการของเด็ก ๆ รุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากผู้ใหญ่ในสังคมมากขึ้น พลอยเล่าอย่างตื่นเต้นว่า การเป็นหนึ่งในเครือข่าย SDGs Youth Panel ของทีมงานสหประชาชาติในประเทศไทย เปิดโอกาสให้เธอได้นำเสนอปัญหาเกี่ยวกับอาหารในมิติต่าง ๆ รวมถึงวิธีแก้ไขแบบคนรุ่นใหม่ และเธอสนับสนุนให้กรอบความร่วมมือระดับชาตินับจากนี้เกิดขึ้นพร้อมกับความคิดเห็นและเสียงของเยาวชน “คนถามเราบ่อยมากว่า ถ้าอยากช่วยให้งานของ SOS ไปได้ไกลขึ้น พวกเขาจะทำอะไรได้บ้าง ง่ายที่สุดเลยคือสั่งอาหารแต่พอดีและกินอาหารให้หมดจาน ระบบอาหารใหญ่โตและซับซ้อนก็จริง แต่ทุกส่วนก็เชื่อมโยงถึงกันหมด ดังนั้นรับผิดชอบการกินของตัวเองคือสิ่งที่ทำได้ง่ายและเป็นรูปธรรมที่สุด แต่ถ้าใครมีเวลาว่างและสนุกกับการได้ลงมือทำ แทบทุกมูลนิธิและองค์กรเปิดรับอาสาสมัครตลอดอยู่แล้ว คุณอาจทึ่งเมื่อได้ค้นพบว่าจริง ๆ แล้ว มีนักสร้างการเปลี่ยนแปลงมากมายกำลังทำงานอย่างหนัก เพื่อขับเคลื่อนสังคมของเราให้ดีขึ้นอยู่รอบตัว “จากวัยรุ่นคนหนึ่งที่ได้เห็นผลลัพธ์ของการกินรักษาโรคจนไม่ต้องผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์ วันนี้โครงการที่ทีมของเราเริ่มมาตั้งแต่ตั้งไข่ ได้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาประเทศ มันเหมือนเป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งเลย และวันนี้เราได้พิสูจน์แล้วว่าอาหารที่ดีไม่ได้แค่รักษาโรค แต่รักษาโลกใบนี้ได้ด้วย” เรื่อง มิ่งขวัญ รัตนคช, เรียบเรียง รวีกานต์ อมรัชกุล, ภาพ นิรุตติ จารุไพศาลกิจ Tags: #SDGsYouthPanel #GlobalGoals #Youth2030

อ่านเพิ่มเติม

1 of 5

คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564

เรื่อง

05 พฤศจิกายน 2022

GCNT และ UN Thailand รวมพลังภาคเอกชน ปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศ ร้อยละ 30 ภายในปี 2030

ดูภาพเพิ่มเติม 2 พฤศจิกายน 2565 — สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) ร่วมกับสหประชาชาติในประไทย (United Nations Thailand) จัดงานประชุมผู้นำความยั่งยืนประจำปี ‘GCNT Forum 2022 : Accelerating Business Solutions to Tackle  Climate & Biodiversity Challenges” การเร่งหาทางออกของภาคธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนและความท้าทายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 

โดยมีนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน พร้อมด้วยด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย เป็นสักขีพยานในการประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือของสมาชิก GCNT ในการเร่งมือเพิ่มมาตรการ เพื่อลดและชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ  เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการปกป้องคุ้มครองพื้นที่บนบกและทะเล ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของพื้นที่ภายในปี 2030 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ความมุ่งมั่นและการลงมือทำของไทย เพื่อลดสภาวะโลกร้อนและความเสียหายต่อธรรมชาติ” โดยเน้นย้ำว่าการลดภาวะโลกร้อน มิใช่เพื่อแก้ปัญหาภาวะวิกฤติธรรมชาติ แต่เพื่อให้ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีความยั่งยืน ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายนนี้ ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จึงกำหนดให้หลักการ “การพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ซึ่งคำนึงถึงการพัฒนาเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่กับการเยียวยารักษาธรรมชาติอย่างมีสมดุล” เป็นหัวใจของเอกสารผลลัพธ์ของเอเปค ที่เรียกว่า “เป้าหมายกรุงเทพว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว” ซึ่งจะเป็นประเด็นหลักของการปรึกษาหารือของผู้นำเขตเศรษฐกิจ ในครั้งนี้ โดยหวังว่า “เป้าหมายกรุงเทพฯ” จะสามารถบรรลุผลและนำไปสู่ความร่วมมือในภูมิภาคที่เป็นรูปธรรม และมีความต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อรับมือกับวิกฤตโลก ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งต้องอาศัยการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด การจัดการป่าไม้และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน การลดและบริหารจัดการของเสีย ไปจนถึงการส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมสอดรับกับความพยายามของไทยในการร่วมมือกับประชาคมโลกแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และบรรลุเป้าหมายของไทยเอง คือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)  ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ. 2065   นายกรัฐมนตรี ยังระบุว่าประเทศไทยมีศักยภาพและข้อได้เปรียบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จึงต้องใช้ประโยชน์จากจุดนี้ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรชีวภาพ การพัฒนาศักยภาพด้านเกษตรและอาหาร พลังงานและวัสดุสุขภาพและการแพทย์ และการท่องเที่ยว  โดยประเทศไทยเป็นภาคีสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ CBD และมีบทบาทแข็งขันในการร่วมกับรัฐภาคีอื่น ในการจัดทำกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกภายหลังปี ค.ศ. 2020 ซึ่งจะมีการรับรองในการประชุม CBD COP15  ในเดือนธันวาคมนี้

ในช่วงท้าย พลเอกประยุทธ์ ได้กล่าวย้ำว่า ขณะนี้ภาคเอกชนไทยมีความตื่นตัวและได้เริ่มปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางทรัพยากรและขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศสู่ความยั่งยืนแล้ว สิ่งสำคัญ คือ การขับเคลื่อนทั้งองคาพยพ เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจ SME ทุกขนาด มีขีดความสามารถในการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจด้วยเช่นกัน เพื่อให้ประเทศไทยมีโครงข่ายรากฐานที่เข้มแข็งจากความร่วมมือ ของทุกองค์กร ทุกภาคส่วน “การพัฒนาที่มุ่งเน้นการเติบโตและผลกำไรแต่เพียงอย่างเดียว โดยมองข้ามเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถนำไปสู่ความยั่งยืนได้และยังสร้างความเหลื่อมล้ำมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องปรับเปลี่ยน ทั้งแนวคิด วิถีชีวิต รูปแบบเศรษฐกิจและโมเดลธุรกิจ สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นและยั่งยืน เพราะการสร้างผลกำไรสามารถทำควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และสังคมได้ และจะต้องเป็นเช่นนั้น” พลเอกประยุทธ์ กล่าว ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์  นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย หรือ GCNT และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ได้กล่าวถึง ความมุ่งมั่นและความตั้งใจจริงของสมาชิก GCNT ว่าตามที่สมาชิกได้ประกาศเจตนารมณ์ตั้งแต่ปีที่แล้ว ที่จะสนับสนุนให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero โดยแสดงความมุ่งมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือสุทธิเป็นศูนย์ภายใน ปี ค.ศ. 2050 หรืออย่างช้าที่สุดไม่เกิน ค.ศ. 2070  ขณะนี้สมาชิกของสมาคมได้ร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจกไปแล้ว อย่างน้อยประมาณ 8 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ผ่านโครงการต่างๆ เปรียบเสมือนการลดจำนวนรถยนต์บนท้องถนนไปกว่าหนึ่งล้านหกแสนคัน  งาน GCNT Forum 2022 ปีนี้จัดขึ้นในช่วงเวลาก่อนที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค เพื่อสร้างความตระหนักรู้และแสดงความพร้อมของภาคเอกชนที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เกิดผลเป็นรูปธรรมตาม BCG Model และตามแนวคิด Open. Connect. Balance. “การเปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” ซึ่งเป็นหัวข้อหลักในการเป็นเจ้าภาพของไทย ปัจจัยความสำเร็จประการหนึ่งของแนวคิดเหล่านี้ มาจากความตระหนักรู้และความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โลกยังอยู่ในสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศที่ตึงเครียด และมีความเสี่ยงว่า วิกฤตสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจะถูกละเลย 

โดยภาคธุรกิจต้องร่วมกับภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ เตรียมรับมือกับผลกระทบในเรื่องนี้ให้ทันท่วงที ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสติ ความมุ่งมั่น ทุ่มเทกำลังปัญญาและทรัพยากร เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ควบคู่ไปกับการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่มีความคิดก้าวหน้า สร้างสรรค์ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และ SME โดยยังจำเป็นต้องอาศัยกลไกตลาดและกลไกทางการเงินที่มีประสิทธิผล พร้อมทั้งจัดทำรายงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและติดตามผลการดำเนินงาน  “การดำเนินธุรกิจโดยรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม  พร้อมการพัฒนาและส่งมอบคุณค่าแก่สังคม จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค  และยังเป็นโอกาสทางธุรกิจ ที่จะสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งหรือ Resilience ขององค์กรและของระบบเศรษฐกิจโดยรวมต่อไป” นายศุภชัย กล่าว ในขณะที่ นางกีต้า ซับบระวาล (Gita Sabharwal) ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจําประเทศไทย ได้เน้นย้ำ 3 ประเด็นสำคัญเพื่อรับมือกับวิกฤตโลกว่า 

ประเด็นแรก คือ บทบาทของผู้นำภาคเอกชน  โดยเฉพาะสมาชิก GCNT ที่เดินหน้าขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ การลงทุนในเทคโนโลยีที่สะอาดขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร เพิ่มการลงทุนอย่างรับผิดชอบ เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังเช่นการลงมือทำอย่างจริงจังและประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

ประเด็นที่สอง การปลดล็อกการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืนจากตลาดการเงินในประเทศ  

และประเด็นที่สาม ความร่วมมือกับเครือข่ายของสหประชาชาติ ที่พร้อมยืนหยัดสนับสนุนองค์ความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก อาทิ ความเชี่ยวชาญทางเทคนิคในตลาดคาร์บอนและพลังงาน เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่ดีที่สุด การจัดการของเสีย การก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เพื่อให้รัฐบาลและภาคธุรกิจสามารถนำความยั่งยืนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มทุน “โลกสามารถเรียนรู้ถึงบทบาทสำคัญของภาคเอกชนไทยในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs  และสมาชิก GCNT เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในเวทีโลกได้  เป็นตัวอย่างแห่งความหวังและความเป็นผู้นำอย่างเข้มแข็งของประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้จริง หากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดทำงานร่วมกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” นางกีต้า กล่าว ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่ากระทรวงฯ จะขับเคลื่อนการดำเนินงานใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ด้านการค้าและการลงทุน ด้านการพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิตทั้งในและต่างประเทศ ด้านการเพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก และสุดท้าย ผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อยกระดับจาก Voluntary เป็น Mandatory โดยเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตและกลไกการเงินที่จำเป็น การกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกรายสาขา และการถ่ายทอดเป้าหมาย  “ประเทศไทยมีศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนา ผมเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทย ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะนำพาประเทศไทย ก้าวสู่ Carbon Neutrality อย่างยั่งยืน เราต้องร่วมกันดูแลโลกใบนี้ไว้เพื่อลูกหลานเราต่อไป” นายวราวุธ กล่าว ไฮไลท์ของงาน GCNT Forum 2022 อยู่ที่การประกาศเจตนารมณ์ของสมาชิก GCNT ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปกป้องธรรมชาติ อย่างเป็นรูปธรรม วัดผล และขยายผลได้ โดยตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและนิเวศบริการในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จึงจะเร่งดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ร่วมมือกับผู่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ร่วมปกป้องฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ลดและชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการแก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions) เพื่อบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ  

โดยประกาศเจตนารมณ์ว่าจะมุ่งมั่น บริหารจัดการ กำหนดนโยบายและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนและเป็นธรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมีระบบในการประเมินและติดตามตรวจสอบคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งเสริมสร้างการมีส่วนรวมของชุมชน ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน และด้วยการสนับสนุนกลไกทางการเงิน การบริหารจัดการอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการปกป้องคุ้มครองพื้นที่บนบกและทะเลให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของพื้นที่ ภายในปี ค.ศ. 2030

ทั้งนี้ GCNT Forum 2022 จัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ และแพล็ตฟอร์มออนไลน์ ตามรูปแบบการประชุมอย่างยั่งยืน (Sustainable Event) โดยสอดคล้องกับแนวทางของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. โดยมีผู้นำความยั่งยืนจากทุกภาคส่วนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนกว่า 100 คน อาทิ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)   ดร. ภากร  ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผู้นำจากองค์กรธุรกิจชั้นนำ อาทิ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด  บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)  บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)  บริษัท เอ็น อาร์ อินสแตนท์โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)  บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน)    บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)  บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด  บริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  บริษัท ลอรีอัล ประเทศไทย จำกัด   บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน)   บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน)  บริษัท  ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน 

โดยภายในงานมีเสวนาถึง 5 เวที 5 หัวข้อ ได้แก่

1.ทางออกในการบรรเทาปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  

2.การสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจในการฟื้นฟูและบรรเทาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ รายกลุ่มย่อย ได้แก่ 
2.1 ภาคพลังงานและการขนส่ง 
2.2 เมืองอัจฉริยะ อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก และสินค้าอุปโภคบริโภค 
2.3 ทางเลือกการลงทุนและบทบาทของตลาดทุน  

3.การกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายความหลากหลายทางชีวภาพ –บทบาทของธุรกิจและผู้บริโภค 

4. การดำเนินการขั้นต่อไปเพื่อการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจในด้านสภาพอากาศและการปกป้องธรรมชาติ 

5. สรุปการหารือและการดำเนินการต่อไป

อ่านเพิ่มเติม

1 of 5

คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564

เรื่อง

31 ตุลาคม 2022

อมินตา เพิ่มพูนวิวัฒน์ นักสื่อสารด้าน Climate Change ผู้สร้างโปรเจกต์การเรียนรู้ที่ใช้วิธีแบบพี่สอนน้อง

SDGs Youth Panel จากเด็กที่ไม่กล้าพูดต่อหน้าผู้คน เอม-อมินตา เพิ่มพูนวิวัฒน์ กลายเป็นนักโต้วาทีและนักพูดที่อภิปรายเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างเฉียบคม ตรงประเด็น และมีหมัดฮุกกระตุกความรู้สึกผู้ฟังอย่างจับใจเสมอ โดยเฉพาะประเด็นด้านการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ “ภาวะโลกร้อน” การจะเป็นนักพูดที่จับใจผู้ฟังไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยการค้นคว้าข้อมูล รวมถึงทำความเข้าใจสังคมและโลกรอบตัวอย่างลึกซึ้ง และนั่นทำให้เอมค้นพบว่า ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมทุกวันนี้ ล้วนเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา เธอจึงชักชวนเพื่อนนักเรียนมัธยมจากทั่วประเทศมาร่วมกันพัฒนากิจกรรมเพื่อการเรียนรู้สำหรับน้อง ๆ ชั้นประถม โดยตั้งชื่อโปรเจกต์นี้ว่า Youth Mentorship Project หรือ YMP เพื่อสื่อถึงแนวคิดการสอนแบบพี่ชี้แนะน้อง หลายปีที่ผ่านมา YMP ตระเวนทำกิจกรรมในโรงเรียนต่างๆ โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับชุมชนที่มีความเปราะบาง ซึ่งเด็กๆ มักมีข้อจำกัดด้านการเรียนรู้มากกว่าปกติ และเพราะเป็นวัยรุ่นเหมือนกัน เอมและเพื่อน ๆ อาสาสมัครจึงเข้าใจดีว่าไม่ใช่ทุกคนจะสนุกกับการเรียนในห้องเรียน การเรียนรู้แบบ YMP จึงออกแบบมาให้ทั้งสนุก ได้สาระ เชื่อมโยงกับคนรุ่นใหม่ และสอดแทรกประเด็นเกี่ยวกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเข้าไปด้วย เอมมองว่า ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษานั้นสำคัญ แต่ที่เร่งด่วนไม่แพ้กันคือความรู้ความเข้าใจด้านภูมิอากาศ เพราะหลาย ๆ คนที่เธอและครอบครัวได้พบเจอก็ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างคนทำอาชีพเกษตรกรรม ถึงอย่างนั้น พวกเขายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะรับมือกับภัยพิบัติซึ่งจะเกิดขึ้นถี่และรุนแรงขึ้นในอนาคตได้อย่างไร ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน การพัฒนาการศึกษาด้านภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนคือเรื่องที่จำเป็นและเร่งด่วนอย่างมาก เอมเชื่อในพลังงานของการสื่อสาร เธอจึงใช้ทักษะที่มีสร้างการขับเคลื่อนมากมาย ไม่ใช่แค่โปรเจกต์พัฒนาการศึกษาที่เกริ่นมาข้างต้นเท่านั้น แต่เอมยังนำความเข้าใจปัญหาในบริบทของประเทศไทยไปแลกเปลี่ยนกับเยาวชนจากทั่วโลก ในการประชุม Youth4Climate รวมถึงเป็นตัวแทนเยาวชนเข้าร่วมการอภิปรายบนเวทีระดับประเทศอีกมากมาย อะไรทำให้วัยรุ่นคนหนึ่ง ลุกขึ้นมาทำอะไรมากมายกว่าแค่เรื่องของตัวเอง เราจะไปทำความรู้จักนักสร้างการเปลี่ยนแปลงคนนี้ผ่านบทสนทนากับเธอกัน วัยรุ่นผู้เชื่อในพลังของการสื่อสาร ตอนมัธยมศึกษาปีที่ 1 เอมถูกชักชวนเข้าชมรมวาทศิลป์ของโรงเรียน และจุดเริ่มต้นในครั้งนั้นเองที่จุดประกายให้เธอเดินบนเส้นทางแห่งการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลง “การจะกล่าวสุนทรพจน์หรืออภิปรายอะไรได้ดี เราต้องอ่านหนังสือ บทความวิชาการ และหาความรู้รอบตัวเยอะมาก ทำให้สามารถเชื่อมจุดได้ว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม มันสืบย้อนกลับมาที่ปัญหาด้านการศึกษาทั้งนั้นเลย” เอมเริ่มเล่า ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง เธอจึงไปทดลองเป็นครูอาสากับ Saturday School มูลนิธิด้านการศึกษาที่เปิดสอนวิชานอกห้องเรียนในวันเสาร์ “ครั้งแรกที่ไปเป็นครูอาสา ตอนนั้นเรากำลังจะขึ้นมัธยมปลาย จึงสามารถสอนน้อง ๆ ชั้นประถมได้ สิ่งที่แปลกใจที่สุดคือระดับความรู้ที่แตกต่างกันมากของน้อง ๆ แต่ละคน ทั้งที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน ไม่ใช่แค่ด้านวิชาการ แต่รวมถึงหลักความคิดในด้านต่างๆ ด้วย” สิ่งที่ได้พบเห็น ทำให้เอมเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้าง Youth Mentorship Project หรือ YMP โปรเจกต์พัฒนาการศึกษาของตัวเองขึ้นมา ในฐานะนักเรียนคนหนึ่งที่เชื่อในพลังของการศึกษา โดยเริ่มจากการชักชวนกลุ่มเพื่อนนักเรียนมัธยมมาร่วมกันพัฒนาบทเรียนสนุก ๆ และการเรียนรู้รูปแบบอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับวัยรุ่นมากขึ้น เพื่อนำไปทำกิจกรรมกับน้อง ๆ วัยประถม ด้วยวิธีแบบพี่สอนน้อง “จากช่วงแรกที่มีทีมอยู่ไม่กี่คน เป็นเพื่อน ๆ ที่สนใจเรื่องการศึกษาและมีความมุ่งมั่นที่จะสอนเหมือนกัน ต่อมาเราเปิดรับสมัครเพื่อน ๆ จากโรงเรียนอื่นด้วย โดยใช้โซเชียลมีเดียซึ่งเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในการสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ ทีม YMP จึงค่อย ๆ ขยับขยายขึ้น โดยมีสมาชิกครูอาสาที่เป็นเด็กมัธยมจากหลายโรงเรียน” เอมเล่าต่อว่าโรงเรียนที่ YMP เข้าไปทำกิจกรรมมักเป็นโรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงกับชุมชนที่มีความเปราะบางในด้านต่าง ๆ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มไร้สัญชาติ หรือกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เด็กๆ จากชุมชนเหล่านี้จึงมีข้อจำกัดด้านการเรียนรู้มากกว่าเด็ก ๆ จากชุมชนทั่วไป เพราะความรู้มีไว้เพื่อแบ่งปัน “เราอยากสร้างความรักในการเรียนรู้ให้น้อง ๆ เพราะไม่ใช่ทุกคนจะสนุกกับการเรียนในห้องเรียน เติมพลังบวกให้เขาอยากเรียนต่อ เพื่อพัฒนาความรู้ที่จะนำไปสู่การหางานทำและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียิ่ง ๆ ขึ้น ไม่ใช่จบมัธยมต้นแล้วแค่นั้น น้องบางคนไม่ชอบบางวิชา เราก็พยายามช่วยให้เขารู้สึกดีกับมันมากขึ้น น้อง ๆ จากหลายโรงเรียนที่ไม่ชอบวิชาภาษาอังกฤษสุด ๆ แต่พอได้ทำกิจกรรมกับ YMP เขาก็เริ่มเปลี่ยนความคิดและรู้สึกว่า เฮ้ย! ภาษาอังกฤษก็สนุกได้นี่นา” เอมอธิบายว่า YMP ไม่ได้ทำกิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้ด้านวิชาการอย่างเดียว แต่สอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และ 22 เข้าไปในกิจกรรมต่าง ๆ ด้วย เพราะมันคือทักษะที่เด็กรุ่นใหม่ต้องมีเพื่อการเติบโตและใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ไปจนถึงจริยธรรม มนุษยธรรมและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทั้งหมดคือมิติรอบด้านที่จะนำไปสู่โลกที่ยั่งยืนทั้งในด้านเทคโนโลยีและจิตใจ ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข “เราสอดแทรกสิ่งเหล่านี้ในแทบทุกกิจกรรม ไม่เว้นแม้แต่ตอนกินข้าว” เอมเล่าอย่างกระตือรือร้น “ครั้งนึงเราสั่งพิซซ่ามา ปรากฏว่าน้องบางคนรีบเข้ามารุมหยิบ เราต้องแสดงให้น้อง ๆ เห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องว่าใครตัวใหญ่กว่า แรงเยอะกว่าจะหยิบได้มากที่สุด แต่เป็นเรื่องของการจัดสรรให้ทุกคนได้รับอย่างเท่าเทียมกัน พิซซ่ามีเพียงพอสำหรับทุกคน แค่ต้องจัดการจัดสรรมัน ทุกอย่างกลายเป็นบทเรียนได้ทั้งนั้น ซึ่งต้องปลูกฝังกันตั้งแต่ยังเด็ก ยุ่งได้คลุกคลีกับน้อง ๆ ยิ่งเห็นว่าทุกสิ่งรอบตัวล้วนมีอิทธิพลชักจูงน้อง ๆ หมดเลย” นอกจากการตระเวนไปทำกิจกรรมที่โรงเรียนต่าง ๆ YMP ยังมีโปรเจกต์ที่ชวนนักเรียนทั่วประเทศมาระดมสมอง (Hackathon) คิดหานวัตกรรมที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เอมบอกอย่างหนักแน่นว่านวัตกรรมไม่ได้มีแค่เรื่องเทคโนโลยีเสมอไป แต่มันสามารถเป็นนวัตกรรมทางสังคมได้เช่นกัน “ตอนนี้เราได้ผู้ชนะจากการระดมสมองแล้ว และกำลังดำเนินการเพื่อนำแนวคิดนั้นไปใช้จริงที่โรงเรียนนำร่อง โดยจะเป็นการแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing) กันระหว่างโรงเรียนในตัวเมืองที่สอนเกี่ยวกับหุ่นยนต์ (Robotic) กับโรงเรียนในชนบทที่มีองค์ความรู้เก่าแก่เกี่ยวกับการเย็บปักถักร้อยของกลุ่มชาติพันธุ์ ถ้าสุดท้ายการทดลองที่สองโรงเรียนนำร่องประสบความสำเร็จ เรามองว่ามันสามารถขยายไปได้อีกหลาย ๆ โรงเรียนเลย เป็นโมเดลที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ซึ่ง YMP เองก็ใช้โมเดลแบ่งปันความรู้ระหว่างพี่กับน้อง” โลกที่ทุกสิ่งเชื่อมโยงถึงกัน นอกจากเรื่องการศึกษา การลงพื้นที่ไปแบ่งปันความรู้แบบพี่สอนน้องของเอม ทำให้เธอได้เห็นปัญหาอีกอย่างที่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ถึงกัน นั่นคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “เราเคยพบน้องคนหนึ่ง ที่ครอบครัวทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ภัยแล้งหรือน้ำท่วมที่รุนแรงและถี่ขึ้นจากภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่เพียงส่งผลต่อการเพาะปลูก แต่ยังกระทบลึกซึ้งไปถึงการศึกษา เพราะน้องไม่สามารถไปเรียนได้ตามปกติ และยิ่งไปกว่านั้น ถ้าครอบครัวหรือคนในหมู่บ้านของน้องไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ ต่อไปพวกเขาก็จะยิ่งรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยากขึ้นเรื่อย ๆ” “ในโรงเรียนทุกวันนี้ โลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมักถูกพูดถึงแค่ในวิชาวิทยาศาสตร์ โดยอธิบายแค่ที่มาว่ามันเกิดขึ้นจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกประเภทต่างๆ ซึ่งเรามองว่าข้อมูลเพียงเท่านี้ ไม่เพียงพออีกต่อไป เทียบกับการเรียนการสอนของหลาย ๆ ประเทศ ที่บรรจุความรู้เกี่ยวกับภูมิอากาศสอดแทรกเข้าไปในหลาย ๆ วิชา เพราะไม่ใช่แค่วิทยาศาสตร์ แต่ยังมีมิติของเศรษฐกิจและสังคมอีกหลายด้านที่ทุกคนต้องรู้” เอมอธิบายว่าการสอนของ YMP ก็ไม่ได้สอนแยกเป็นรายวิชาเช่นกัน แต่จะหยิบยกประเด็นบางอย่างขึ้นมาก่อน จากนั้นเชื่อมโยงความรู้ในหลากหลายวิชาไปสู่ประเด็นนั้น เพราะเรื่องราวต่าง ๆ ในโลกของเราเชื่อมโยงกันทั้งหมด ผลจากสิ่งหนึ่ง กระทบต่อเนื่องเป็นห่วงโซ่ไปยังสิ่งอื่น ๆ เสมอ การศึกษาเกี่ยวกับภูมิอากาศจึงต้องทำให้คนเห็นความเชื่อมโยงของผลกระทบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ดูไกลตัว จริง ๆ นั้นใกล้ตัวเราทุกคน มิตรภาพสร้างความเปลี่ยนแปลง เอมได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุม Youth4Climate ร่วมกับเยาวชนทั่วโลกถึง 2 ครั้ง นี่เป็นเวทีที่เยาวชนเกือบ 400 คน จาก 186 ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ได้มาเจอกันเพื่อร่วมระดมความคิดเกี่ยวกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม “เยาวชนแต่ละคนต่างมีมุมมองที่น่าสนใจ เพราะแต่ละประเทศก็มีบริบทที่แตกต่างกัน ความคิดเห็นที่ถูกแลกเปลี่ยนจึงเต็มไปด้วยความหลากหลายและครอบคลุม โดยความคิดเห็นทั้งหมดจะถูกสรุปเป็นข้อเสนอแนะและส่งต่อให้ผู้นำโลกนำไปพิจารณาเป็นนโยบายอีกที ระหว่างการประชุม เราได้ทำความรู้จักและสนิทกับเพื่อนสองคน คนหนึ่งมาจากประเทศออสเตรเลีย ส่วนอีกคนมาจากประเทศซูดาน เรียกได้ว่าคนละทวีปกันเลย ด้วยความที่เราทั้งสามคนอายุไล่เลี่ยกัน เลยคุยกันถูกคอและสนิทกันเร็วมาก” “เพื่อนชาวออสเตรเลียเล่าว่า ที่บ้านเกิดของเขามีปัญหาเรื่องโครงการเหมืองแร่ ที่หากเกิดขึ้นจริงจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรุนแรงมาก ผู้คนจึงลุกขึ้นมาประท้วงเรื่องนี้กัน ขณะที่เพื่อนชาวซูดานบอกว่า เขาไม่สามารถประท้วงอะไรแบบนี้ได้เลยในประเทศของตัวเอง การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ทำให้เราเห็นโลกในมุมมองที่กว้างขึ้น และแม้บริบทของสิ่งที่เราขับเคลื่อนจะแตกต่าง แต่มันก็มุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือการทำให้โลกดีขึ้น” นอกจากเพื่อนต่างทวีป เอมยังทำโปรเจกต์ร่วมกับเพื่อนๆ เยาวชนอาเซียน โดยสร้างสารดีเกี่ยวกับการตัดไม้ทำลายป่า ส่งให้มหาวิทยาลัยสิงคโปร์แห่งสังคมศาสตร์ (Singapore University of Social Science) “พวกเราเลือกประเด็นนี้ เพราะเป็นปัญหาที่ประเทศอาเซียนเผชิญร่วมกัน และเพราะเป็นช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย พวกเราเลยต้องทำงานกลุ่มกันแบบออนไลน์ ต่างคนต่างไปเก็บฟุตเทจกันเองในแต่ละประเทศ” เอมเล่าพร้อมรอยยิ้ม ในการทำสารคดีชิ้นนี้ เอมได้สัมภาษณ์คุณวีโจ้ วากีส (Vijo Varghese) ผู้ก่อตั้ง Our Land พื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าขนาด 26 ไร่ ในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเดิมเป็นที่รกร้างที่พื้นดินเสื่อมสภาพ ให้กลับกลายเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์จนกลายเป็นแหล่งหย่อนใจของช้างป่าที่แวะเวียนกันมาอยู่เสมอ การบุกรุกป่าและเปลี่ยนมันเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ไม่เพียงทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพของบริเวณนั้น ๆ สูญหายไป แต่ยังเป็นการลดจำนวนต้นไม้ที่จะช่วยดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศอีกด้วย ประสบการณ์มากมายที่เอมได้ทำร่วมกับเพื่อน ๆ ในอาเซียนและต่างทวีป ทำให้เธอค้นพบว่า นักสร้างการเปลี่ยนแปลงนั้นมีอยู่ทุกหนแห่งทั่วโลก โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ที่กระตือรือร้นจะสร้างสรรค์การพัฒนาให้โลกน่าอยู่ขึ้นในทุกวัน ทุกความเปลี่ยนแปลงที่เพื่อน ๆ ร่วมกันสร้างขึ้นในหลากหลายพื้นที่ ท้ายที่สุดแล้วเชื่อมโยงถึงกันเป็นโครงข่ายความยั่งยืนที่จะหยั่งรากลึกและเติบโตอย่างแข็งแรงไปสู่อนาคตของทุกคน ทุกคนคือผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง เอมเล่าอย่างติดตลกว่า ทุกครั้งที่เธอไปขึ้นเวทีอภิปราย หรือทำกิจกรรมขับเคลื่อนร่วมกับองค์กรระดับประเทศหรือระดับโลก เพื่อน ๆ มักจะแซวกันว่า ‘เอมไปกู้โลกอีกแล้ว’ “จริงๆ ทุกคนสามารถกู้โลกได้ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ทุกวันนี้เยาวชนและวัยรุ่นตื่นตัวเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาก ทุกคนรับรู้แล้วว่านี่คือวิกฤต ความท้าทายคือต้องเปลี่ยนการรับรู้ให้เป็นการลงมือทำ ลองคิดว่าเราจะใช้ทักษะของตัวเองสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง แค่ทุกคนทำสิ่งเล็ก ๆ ในบริบทของตัวเอง ผลลัพธ์เล็ก ๆ ก็จะรวมกันเป็นผลผลิตที่ใหญ่ขึ้น อย่างเราเอง การเข้าชมรมวาทศิลป์จุดประกายให้รู้ตัวว่าชอบการสื่อสาร เราเลยอยากใช้ทักษะนี้ให้เป็นประโยชน์ด้วยการสร้างการเรียนรู้ให้คนอื่น ๆ รวมถึงใช้เสียงของเราบอกเล่าเรื่องราวสำคัญออกไป” ในอนาคต เอมอยากเรียนต่อด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง (Environmental Science) เช่นเดียวกับการต่อยอด YMP ให้เติบโตต่อไปเรื่อย ๆ โดยเธอมองว่าเราต้องส่งเสริมให้มีการศึกษาเกี่ยวกับภูมิอากาศ (Climate Education) มากกว่านี้ ทั้งในและนอกชั้นเรียน เพื่อรับมือและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ในขณะเดียวกันก็เพื่อป้องกันปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกด้วย เอมทิ้งท้ายอย่างมุ่งมั่นว่า การได้เข้าร่วมเป็นเครือข่าย SDGs Youth Panel แห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยคืออีกหนึ่งก้าวสำคัญของเธอ เพราะทุกความคิดเห็นของผู้นำเยาวชนทุกคน จะถูกนำไปประกอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 4 เพื่อสร้างหลักประกันว่าทุกคนจะมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และเป้าหมายที่ 13 เพื่อปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนในการต่อสู่กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเอมผลักดันทั้งสองเป้าหมายอย่างแข็งขันมาตลอดหลายปีของการเดินทางและการทำงานที่ผ่านมา เรื่อง มิ่งขวัญ รัตนคช, เรียบเรียง รวีกานต์ อมรัชกุล, ภาพ นิรุตติ จารุไพศาลกิจ Tags: #SDGsYouthPanel #GlobalGoals #Youth2030

อ่านเพิ่มเติม

1 of 5

คำสั่งโรงเรียนปลอดขยะ zero waste school 2564

ดูทั้งหมด

ข่าวประชาสัมพันธ์

30 พฤศจิกายน 2022

บทสรุปงาน Sustainable Thailand 2022 จากความมุ่งมั่นสู่การลงมือทำ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคตลาดเงิน-ตลาดทุนไทย ร่วมอภิปรายคับคั่ง ผลักดันระบบการเงินยั่งยืน

งาน ‘Sustainable Thailand 2022’ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความสำเร็จ ความท้าทาย รวมถึงบทเรียนที่หลายหน่วยงานและองค์กรได้เรียนรู้ระหว่างการดำเนินงาน ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้เพื่อขยับขยายและเพิ่มขีดความสามารถของระบบการเงิน การธนาคารและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนในประเทศ และเพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของธนาคารและนักลงทุนตามที่ได้ร่วมลงนามเมื่อปีก่อน ในคำแถลงความมุ่งมั่นต่อการลงทุนอย่างรับผิดชอบ การดำเนินธุรกิจตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และข้อตกลงด้านสภาพอากาศปารีส (Paris Agreement on Climate Change) ของ 43 สถาบันการเงิน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตลอดจนธนาคารต่าง ๆ ภายใต้การนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่งาน Sustainable Thailand 2021 คุณกีต้า ซับบระวาล (Gita Sabharwal) ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงานทั้งในศูนย์ประชุมฯ ​และช่องทางออนไลน์พร้อมมุมมองว่าช่วงปีที่ผ่านมาการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวาระสำคัญในการหารือระหว่างสถาบันการเงิน ภาคการธนาคาร นักลงทุน และผู้บริหารสินทรัพย์ ซึ่งทุกภาคส่วนกำลังเตรียมพร้อมรองรับ โดยข้อมูลการวิเคราะห์ชี้ว่า โครงสร้างพื้นฐานสีเขียวของประเทศไทยจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หากเกณฑ์สำหรับการให้กู้ยืมและการลงทุนสีเขียวกำหนดไว้เพียงแค่ที่ 6.3% “โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ที่ยากลำบาก ภาครัฐใช้จ่ายอย่างจำกัด การจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมผ่านตลาดการเงินในประเทศจึงจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อเร่งการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” จากนั้น คุณรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวขอบคุณภาคส่วนต่าง ๆ ในตลาดเงินและตลาดทุนที่ร่วมขับเคลื่อนประเด็นด้านความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับ ก.ล.ต. ได้ออกหลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลประจำปีของบริษัทจดทะเบียน หรือแบบ 56-1 One Report โดยมีผลใช้บังคับเมื่อต้นปี 2565 ซึ่งให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน (ESG) รวมถึงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเคารพสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน “ก.ล.ต. กำหนดให้ประเด็นด้านความยั่งยืนเป็นหนึ่งในเรือธงยุทธศาสตร์ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี  และแผนพัฒนาตลาดทุนฉบับที่ 4 (ปี 2566-2570) และที่สำคัญคือสอดรับกับนโยบายเศรษฐกิจใหม่ (BCG  Economy) ซึ่งเชื่อมโยงกับธีมของการประชุม APEC ในปีนี้ ในส่วนของการสร้างสมดุลในการเติบโตของธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งเฉพาะเรื่องของผลกำไร ด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังทำงานร่วมกับสหประชาชาติ เช่น โครงการ SDGs Investor Map Thailand หรือ แผนที่การลงทุนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบนเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนในธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน นับตั้งแต่ข้อมูลโอกาสทางการตลาด ความเสี่ยง ผลตอบแทนจากการลงทุน ไปจนถึงผลประโยชน์ด้านความยั่งยืนที่อาจเกิดขึ้น” คุณรื่นวดีได้เน้นย้ำว่า การจัดหาเงินทุนเพื่อความยั่งยืนเป็นการดำเนินการร่วมกันของทุกฝ่าย ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันขับเคลื่อนวาระนี้ไปข้างหน้า ซึ่งการจัดงาน Sustainable Thailand 2022 ในวันนี้นับเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญของการผลักดันความร่วมมือไปสู่ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศโดยรวม ด้าน ดร.ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ได้แสดงความตระหนักของกบข. ต่อภารกิจของหน่วยงานว่า “เราไม่เพียงบริหารเงินออมเพื่อการเกษียณให้กับสมาชิกที่เป็นข้าราชการเท่านั้น แต่เรามองว่าการดำเนินการลงทุนของสำนักงานเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันความยั่งยืนให้เกิดขึ้น เราจึงประกาศเจตนารมณ์ในการเป็น Leader in ESG Investment & Initiatives หรือผู้นำการลงทุนในบริบทที่สอดคล้องกับหลักการ ESG และเป็นผู้ริเริ่มนวัตกรรม ESG ในประเทศไทย” กบข. เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ไปลงนามใน Principles for Responsible Investment (PRI) เครือข่ายได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติของนักลงทุนสถาบันทั่วโลก ที่เห็นความสำคัญและนำปัจจัยด้าน ESG มาใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุน นอกจากนี้ กบข. ดำเนินการความร่วมมือด้านการลงทุนอย่างรับผิดชอบ หรือ ESG Collaborative Engagement เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าการลงทุนให้เกิดความยั่งยืนนั้น เราไม่สามารถทำได้ตามลำพังได้ แต่ต้องอาศัยการขับเคลื่อนร่วมกัน” ดร. ศรีกัญญากล่าว ในช่วงเปิดงานมีการกล่าวปาฐกถาพิเศษโดย คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่เน้นย้ำว่า แม้ประเทศไทยจะได้ขับเคลื่อนเรื่องระบบการเงินเพื่อความยั่งยืนมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยังเป็นความท้าทายของมนุษชาติต่อไปอีกยาวนาน ดังนั้นการระดมทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจะยังเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องผลักดันกันต่อไป “มันเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงกระทรวงการคลังด้วยเช่นกัน ที่จะทำให้อุปสงค์และอุปทานของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนได้มาเจอกัน “ผมยินดีที่ปัจจุบันสถาบันการเงินของรัฐหลายแห่งได้ออกตราสารหนี้เพื่อสังคมและตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ที่มีการจัดพอร์ตส่วนหนึ่งไว้ลงทุนในธุรกิจสีเขียวโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตผมคิดว่าเราต้องคุยและดำเนินการกันมากขึ้นอีกเกี่ยวกับการพัฒนาตัวโครงการเพื่อความยั่งยืน” นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังระบุถึงการสร้างระบบนิเวศของการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่า “กระทรวงการคลังให้ความสำคัญกับการใช้สิ่งจูงใจทางด้านภาษี เช่น การลดอัตราอากรให้โครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างนโยบายส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเพื่อทดแทนยานยนต์เชื้อเพลิงฟอสซิส เครื่องมือทางภาษีเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยต่อเติมให้เกิดระบบนิเวศดังกล่าวขึ้น” ส่วนช่วงการเสวนามีผู้แทนระดับสูงจากภาครัฐและเอกชนร่วมแบ่งปันความรู้และข้อมูลเชิงลึกในหลายประเด็น ในการอภิปรายหัวข้อ ‘การเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ทางการเงินใหม่ของไทย’ โดยคุณรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อธิบายว่า “หลักการสำคัญที่ผมอยากตอกย้ำในวันนี้คือ การคำนึงถึงจังหวะเวลา ความเร็ว ที่เหมาะสมที่สุดกับบริบทของประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย เราต้องสร้างสมดุลระหว่างการเดินไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน และสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับภาคส่วนต่าง ๆ ระหว่างนี้ ดังนั้นการดำเนินการจะต้องไม่ช้าเกินไป แต่ก็ไม่ควรจะเร็วเกินกว่าที่ระบบเศรษฐกิจของเราจะปรับตัวได้ทัน และต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยและกลต. ได้ร่วมกันจัดตั้ง Thailand Taxonomy มาตรฐานกลางที่ช่วยกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสอดคล้องกับบริบทของไทย โดยเฉพาะการปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่านภายในกรอบเวลาที่เหมาะสม ต่อมาในการอภิปรายหัวข้อ “จุดประสงค์และแนวทางปฏิบัติ: บริการทางการเงินสามารถทำให้เกิดการระดมทุนเพื่อนำประเทศไทยไปสู่ Net Zero ได้อย่างไร” คุณจอร์โจ กัมบา (Giorgio Gamba) ผู้บริหารสูงสุด ธนาคาร HSBC ประเทศไทย ได้เผยว่า “ความท้าทายของการหาแหล่งทุนสีเขียวในปัจจุบัน คือการที่นักลงทุนเข้าใจถึงปัญหาการฟองเขียวหรือ Green Washing ดังนั้นเราต้องมีการวัดผลอย่างชัดเจนว่าโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ท้ายที่สุดแล้วสร้างผลลัพธ์เชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ทุกการสร้างเป้าหมายเกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรมจริง ๆ “สำหรับ HSBC ประเทศไทย หลายครั้งที่เราประจักษ์ว่าลูกค้าของเราไม่ได้ทำตามมาตรฐานนานาชาติที่เหมาะสม เราจึงโน้มน้าวและจูงใจให้เขาเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง ในฐานะธนาคาร เราต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ่งถึงห่วงโซ่อุปทานของลูกค้า และเรียนรู้ว่าธุรกิจของพวกเขาต้องทำงานอย่างไร จึงจะสามารถสร้างผลกำไรไปพร้อมกับสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้” ด้าน คุณนิกร นิกรพันธุ์ สมาชิกคณะทำงานการธนาคารเพื่อความยั่งยืน สมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า “ปัจจุบัน เราทุกคนเห็นภาพกันแล้วว่าบริษัทขนาดใหญ่ล้วนมีวิธีการและแนวทางดำเนินการเพื่อความยั่งยืนของตัวเอง ดังนั้นโจทย์ต่อมาคือธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ต้องทำอย่างไร SMEs จะเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันเรื่องนี้มากขึ้น สมาคมฯ มองว่า กุญแจคือสิ่งที่ส่งผลต่อยอดขายของผู้ประกอบการรายย่อย อย่างอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่นโยบายเข้มข้นเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้ทุกส่วนในห่วงโซ่อุปทานนี้ขยับตัวกันอย่างรวดเร็ว” ขณะที่การอภิปรายหัวข้อ ‘จุดประสงค์และแนวทางปฏิบัติ: ธุรกิจการเงินและนักลงทุนในสถาบันสามารถขับเคลื่อนวาระ ESG ในประเทศไทยได้อย่างไร’ ดร.ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ได้ถ่ายทอดมุมมองว่า ESG เปรียบเสมือนน้ำขึ้น กล่าวคือหากเกิดความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน น้ำหนุนนี้ก็จะยกระดับเรือทุกลำขึ้นมา แต่หากทุกคนนิ่งเฉย มันก็สามารถล่มเรือทุกลำได้ด้วยเช่นกัน “กบข. กำลังเดินหน้าศึกษาและทำความเข้าใจว่า สถาบันควรลงทุนกับธุรกิจแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุดต่อการขับเคลื่อนการเยียวยาปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก โดยเฉพาะเมื่อต้องคำนึงถึงการจัดอันดับองค์กรเพื่อสะท้อนเป้าหมายความยั่งยืนหรือ ESG Rating ซึ่งปัจจุบันการวัดผลยังมีหลากหลายเกณฑ์ด้วยกัน” ส่วน ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานสภาธุรกิจองค์กรตลาดทุนไทย ได้เล่าถึงการดำเนินการล่าสุดอย่าง Collective Action for Collective Impact “ที่ผ่านมา โครงการเพื่อสังคมหรือ CSR ของแต่ละบริษัทต่างก็มีเป้าหมายและการดำเนินการของตัวเอง ทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่หลอมรวมกันเป็นภาพใหญ่ที่ต่อเนื่อง ตอนนี้หลายหน่วยงานจึงมาร่วมมือกันสร้างโครงการ CSR ที่มีเป้าหมายใหญ่ร่วมกัน และผมมั่นใจว่านี่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน “ร้อยละ 80 ของขยะมหาสมุทรมาจากแม่น้ำทั้งหมด ดังนั้นเราจึงเชิญชวนบริษัทต่าง ๆ มาจัดการปัญหาขยะที่ปากแม่น้ำ โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบไปเลยว่าบริษัทใดดูแลแม่น้ำเจ้าพระยา บริษัทใดดูแลแม่น้ำบ่างปะกง ท่าจีน แม่กลอง ซึ่งต่อไปเราจะขยายไปสู่การดูแลลำคลองสายเล็กต่าง ๆ อย่างทั่วถึงด้วย” การอภิปรายหัวข้อ “การเงินและการลงทุนของภาคเอกชนสามารถเร่งการเติบโตสีเขียวในประเทศไทยได้อย่างไร” คุณอนุจ เมห์ตา (Anouj Mehta) ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชียประจำประเทศไทย (Asian Development Bank : ADB) ได้ให้แนวคิดว่า “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมากที่สุดในโลก ดังนั้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก และการจะทำให้ภูมิภาคนี้มีโครงการสีเขียวมากขึ้น เราต้องการเงินทุนถึง 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี อย่างไรก็ตาม ความท้าทายคือปัจจุบันยังไม่มีเงินทุนจากภาคเอกชนไหลเวียนเข้ามามากพอ ดังนั้นรัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่นจำเป็นต้องผลักดันโครงการต่าง ๆ ที่น่าสนใจต่อภาคเอกชน เพื่อดึงดูดเงินทุนเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี สาธารณูปโภค การเดินทางในเมือง การประปาไฟฟ้า” ในขณะที่ตัวแทนจากภาคเอกชน คุณณัฐวุฒิ อินทรโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย ได้แบ่งปันแนวคิดว่าปัจจุบัน ESG ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่มันคือทางรอดที่ทุกธุรกิจต้องทำ “เราได้พัฒนาฉลาก SCG Green Choice ขึ้น เพื่อให้ความมั่นใจกับผู้บริโภคว่าสินค้าชั้นนั้น ๆ มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงมีอายุการใช้งานที่ยืนยาว อย่างบ้านที่ก่อสร้างและใช้วัสดุของ SCG ตั้งแต่หลังคาจรดพื้นล้วนได้รับการรับรองฉลากนี้ “ในการประชุม COP27 ที่ผ่านมา เราได้ประกาศเป้าหมายในการพัฒนาปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำNet Zero Concrete and Cement Roadmap เป็นแห่งแรกของโลก โดยได้รับการรับรองจาก European Cement Research Academy ซึ่งความสำเร็จนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีความร่วมมือของสมาคมต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยในปีหน้า เราได้ตั้งเป้าหมายว่าจะลดปริมาณคาร์บอนหนึ่งล้านตันออกจากอุตสาหกรรมให้ได้ นอกจากนี้เรายังร่วมขับเคลื่อนสระบุรีแซนบ็อก ให้เป็นจังหวัดต้นแบบที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์อีกด้วย” และช่วงสุดท้ายของงาน คือเวทีอภิปรายหัวข้อ 'ก้าวต่อไป – วิธีส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างภาคเอกชนและตลาดการเงินในประเทศไทย เพื่อขยายการดำเนินงานด้านการเงินเพื่อความยั่งยืน ให้ธุรกิจสามารถรับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม’ คุณวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน แสดงวิสัยทัศน์ว่า “ธนาคารออมสินวางบทบาทตัวเองเป็นธนาคารเพื่อสังคม ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือชุมชนและผู้คน รวมถึงแก้ไขความยากจนและความเหลื่อมล้ำซึ่งเป็นปัญหาทางโครงสร้าง โดยกลยุทธ์ของเราคือ การนำผลกำไรจากรกิจเชิงพาณิชย์ ไปอุดหนุนธุรกิจเชิงสังคม” คุณวิทัยยกตัวอย่างโครงการที่ธนาคารออมสินได้ร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงและหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ ลงทุนในโครงการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตให้ประชาชนในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน โดยส่งเสริมให้ประชาชนเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพดมาเป็นกาแฟ ซึ่งไม่เพียงเป็นพืชรักษาป่าแต่ยังมีราคาที่สูงกว่าด้วย ด้าน คุณกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย กล่าวถ้อยแถลงว่า “วิสัยทัศน์ของกสิกรไทยคือการเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน ความท้าทายของเรื่องนี้คือเราจะแปลงวิสัยทัศน์ต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่สัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างไร นับจากวันนี้ไปจนถึงปี 2030 เราให้คำมั่นว่าจะลงทุนในสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 1-2 แสนล้านบาท นอกจากนี้เราได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็น Net Zero ในปี 2030 และตัวอย่างการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง สโคปที่ 1 และ 2 ของเรา คือการเปลี่ยนรถทำงานของธนาคารที่มีอยู่กว่า 2,000 คันทั่วประเทศเป็นยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด รวมถึงติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาธนาคารกว่า 200 สาขา” ขณะที่ คุณอุทัยวรรณ อนุชิตานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารความเป็นเลิศและการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ได้บอกเล่าถึงการดำเนินงานว่า “ในแต่ละวันมีผู้มาใช้บริการพื้นที่ของมากกว่า 1 ล้านคน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน พักผ่อน หรือการใช้บริการอื่น ๆ การที่เราเป็นศูนย์รวมการใช้ชีวิตของผู้คนนับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนมิติต่าง ๆ ไปสู่ผู้บริโภค ในการพัฒนาพื้นที่ เราเข้มงวดกับการตรวจสอบให้อสังหาริมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ตอบโจทย์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมด นอกจากนี้ หนึ่งในความท้าทายของการมีกิจกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายในพื้นที่ คือการบริหารจัดการของเสียและขยะ โดยเรามีเป้าหมายที่จะลดของเราไปยังหลุมฝังให้ได้ถึงร้อยละ 70” คุณจอมขวัญ คงสกุล ผู้ช่วยเลขาธิการสายระดมทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ วิทยากรคนสุดท้ายของงานในวันนี้ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “ในการขับเคลื่อนระบบการเงินเพื่อความยั่งยืน สิ่งที่วิทยากรทุกท่านต่างพูดตรงกันคือเรื่องของความร่วมมือ เราไม่สามารถดำเนินการเรื่องนี้เพียงลำพังได้ อย่างไรก็ดีสิ่งที่ กลต. สามารถทำได้ในวันนี้คือการสร้างความเข้มแข็งให้คณะผู้ขับเคลื่อนหลักหรือ Key Driver ซึ่งก็คือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้ามางาน Sustainable Thailand ในวันนี้ เพื่อขยายขีดความสามารถและทำให้ระบบนิเวศการเงิน การธนาคารและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทยเติบโตต่อไป”

อ่านเพิ่มเติม

1 of 5

ข่าวประชาสัมพันธ์

10 พฤศจิกายน 2022

งานเปิดโครงการ Partnership for Action on Green Economy ในประเทศไทย

สำหรับการจัดงานเปิดโครงการฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำโครงการ PAGE (ประเทศไทย) พร้อมทั้งเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการวางนโยบาย การปฏิบัติและการลงทุนเพื่อเศรษฐกิจสีเขียวในภาคส่วนต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นพันธมิตรความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสีเขียว อีกทั้งใช้งานเปิดตัวฯ ดังกล่าวเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และมุมมองของแต่ละภาคส่วน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่สนับสนุน ไม่ซ้ำซ้อน และแบ่งปันบทบาทหน้าที่และความร่วมมือในการปฏิบัติการให้เกิดเศรษฐกิจสีเขียวแบบบูรณาการ (Inclusive Green Economy; IGE) ได้อย่างชัดเจน ทั้งยังเป็นเวทีในการนำเสนอผลการดำเนินงานในของโครงการ PAGE (ประเทศไทย) ในระยะที่ผ่านมา ได้แก่ การศึกษา Stocktaking ด้านเศรษฐกิจสีเขียว การศึกษาประเมินความต้องการด้านการเสริมสร้างศักยภาพด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจสีเขียว (Green Recovery Learning Needs Assessment) และแผนงานการศึกษาประเมินการใช้งบประมาณโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจสีเขียว (Green Recovery Assessment) ภายใต้งบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิดวงเงิน 4 แสนล้านบาท เป็นต้น นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวระหว่างการร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ ว่ารัฐบาลไทยยินดีเป็นอย่างยิ่งในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Partnership for Action on Green Economy โดยรัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งด้ำนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ที่มีความมุ่งหวังในการปรับเปลี่ยนไทยไปสู่โฉมหน้าใหม่ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 โดย 1 ใน 5 เป้าหมายที่สำคัญคือ การสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศ ซึ่งมุ่งเน้นเรื่องการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสอดรับกับเศรษฐกิจสีเขียว นอกจากนั้นรัฐบาลไทยยังมีนโยบายการใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ควบคู่กับแผนพัฒนาฯ 13 โดยโมเดลฯ ดังกล่าว ทำหน้าที่บูรณาการการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน จากระดับชุมชนไปถึงโครงการลงทุนขนาดใหญ่ สร้างความสมดุลเป็นธรรมและมุ่งสู่เป้าหมายสูงสุดคือการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สำหรับการเปิดตัวโครงการ PAGE ในวันนี้ยังเป็นโอกาสอันดี ที่ผู้กำหนดนโยบายในภาคส่วนต่าง ๆ จะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความเห็นเพื่อร่วมกันผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวแบบบูรณาการในทุกมิติ รวมถึงการใช้เศรษฐกิจสีเขียวในกิจกรรมการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยในเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ดร. วิชญายุทธ บุญชิต ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ PAGE ในประเทศไทย และรองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวระหว่างช่วงการแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน ว่า สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลัก ซึ่งจะทำงานโดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่แสดงความจำนงค์เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย  และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการที่จะขับเคลื่อนการดำเนินการด้านเศรษฐกิจสีเขียวอย่างบูรณาการใน 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การลดการปล่อยคาร์บอนและมลพิษ (2) การส่งเสริมการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (3) การป้องกันการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ (4) การเพิ่มงานที่มีคุณค่า (5) การกระจายรายได้และความมั่งคั่งอย่างเป็นธรรม เพื่อที่จะนำพาประเทศไปสู่การการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งตอบโจทย์ความท้าทาย 3 ข้อที่มนุษยชาติเผชิญอยู่ในปัจจุบัน คือ ด้านความยากจนถาวร ด้านการกระจายความมั่งคั่งที่ไม่เสมอภาค และการก้าวข้ามขีดจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความเท่าเทียมและเสมอภาคทางสังคม เพื่อเป็นการขับเคลื่อนโครงการ PAGE ในประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ PAGE ขึ้น โดยในการดำเนินงานในปี 2565 คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ได้ให้ความเห็นชอบกรอบการดำเนินงานซึ่งประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ (1) กิจกรรมการศึกษาการจัดทำระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคบังคับ (ETS) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (2) กิจกรรมการพัฒนากลไกด้านการเงินสำหรับการจัดการขยะชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของประเทศ (3) กิจกรรมสร้างขีดความสามารถที่จำเป็นในด้านเศรษฐกิจสีเขียวผ่านการสร้างความรู้ พัฒนาและจัดการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องกลไก ETS โมเดลเศรษฐกิจ BCG ในภาคเกษตรและการสร้างงานสีเขียว และ (4) กิจกรรมการให้ความรู้และการสื่อสารเพื่อสร้างการตระหนักรู้ระดับชาติและระดับภูมิภาค งานเปิดตัวแนะนำโครงการ PAGE ประเทศไทยอย่างเป็นทางการในวันนี้เป็นโอกาสอันดีที่จะสื่อสารให้แก่ประชาชนและสังคมได้รับทราบว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังดำเนินการขับเคลื่อนเข้าสู่การพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจสีเขียวภายใต้โครงการความร่วมมือของ PAGE ซึ่งมีความสอดคล้องและเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบาย BCG   ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ PAGE ในประเทศไทย ใคร่ขอเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เข้ามีส่วนร่วมผลักดัน และขับเคลื่อนการดำเนินการด้านเศรษฐกิจสีเขียวอย่างบูรณาการด้วยกัน เพื่อให้ประเทศเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ด้วยความเท่าเทียมเสมอภาค และมีทรัพยากรคงอยู่เหลือไว้สำหรับคนรุ่นถัดไป     นางศุกร์สิริ แจ่มสุข รองผู้แทนประจำภูมิภาค องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักดำเนินโครงการ PAGE ในประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานสหประชาชาติพันธมิตรในโครงการอีก 4 หน่วยงานได้แก่ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และสถาบันการฝึกอบรมและการวิจัยแห่งสหประชาชาติ ร่วมสนับสนุนด้านเทคนิคจากความชำนาญและประสบการณ์ระหว่างประเทศ ทั้งด้านการพัฒนาสังคมคาร์บอนต่ำ การส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว แรงงานสีเขียว การเงินและการพัฒนาสีเขียว รวมถึงการฝึกอบรมและวิจัยร่วมกับหน่วยงานระหว่างประเทศต่างๆ ปัจจุบันโครงการมีสมาชิกทั้งสิ้น 22 ประเทศ ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ PAGE เป็นประเทศที่ 20 ในปี 2562 และเริ่มดำเนินการโครงการระยะเริ่มต้น (Inception phase) ในเดือนมีนาคม2563 ก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19  โดยมีระยะเวลาดำเนินระยะปฏิบัติการทั้งสิ้น 3 ปี ด้วยงบประมาณสนับสนุนประมาณหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐ  การดำเนินการระยะในระยะเริ่มต้นของโครงการได้สนับสนุน ได้แก่ การศึกษารวบรวมข้อมูลประเมินสถานะความพร้อมด้านเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศ (Green Economy Stocktaking) การประเมินการใช้งบฟื้นฟูเศรษฐกิจสีเขียวจากสถานการณ์โควิด (Green Recovery Assessment) และการประเมินความต้องการการเสริมสร้างศักยภาพด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจสีเขียว (Green Recovery Learning Needs Assessment) พันธมิตรในโครงการสหประชาชาติทั้ง 5 หน่วยงาน มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมดำเนินงานกับประเทศไทย ด้วยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่จะนำเศรษฐกิจสีเขียวมาสู่การปฏิบัติ สร้างสังคมคาร์บอนต่ำ วิเคราะห์และปรับปรุงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาด จูงใจให้เกิดการบริโภคที่คำนึงถึงสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การจัดงานเปิดโครงการฯ และแถลงข่าวในครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ Partnership for Action on Green Economy (PAGE)  ในประเทศไทยเพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวอย่างบูรณาการ โดยในงานฯ มีผู้บริหารหน่วยงานราชการ หน่วยงานท้องถิ่น ผู้บริหารหน่วยงานเอกชน สถาบันการศึกษา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการกำหนดนโยบาย สื่อมวลชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงานในรูปแบบ onsite มากกว่า 120 คนและ online มากกว่า 200 คน

อ่านเพิ่มเติม

1 of 5

ข่าวประชาสัมพันธ์

09 พฤศจิกายน 2022

คำประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือของสมาชิก GCNT ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ การปกป้องธรรมชาติ อย่างเป็นรูปธรรม วัดผล และขยายผลได้

สมาชิกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และนิเวศบริการในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จึงจะเร่งดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ร่วม ปกป้องฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ลดและชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการ แก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions) เพื่อบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากวิกฤตการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้สมาชิกฯ ขอประกาศเจตนารมณ์ว่า จะมุ่งมั่น บริหารจัดการ กำหนดนโยบายและใช้ประโยชน์จากความ หลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนและเป็นธรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมีระบบในการประเมินและติดตามตรวจสอบคุณค่า ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน และด้วยการ สนับสนุนกลไกทางการเงิน การบริหารจัดการอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนเป้าหมาย ของประเทศไทยในการปกป้องคุ้มครองพื้นที่บนบกและทะเลให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของพื้นที่ ภายในปี ค.ศ. 2030

อ่านเพิ่มเติม

1 of 5

ข่าวประชาสัมพันธ์

14 พฤศจิกายน 2022

เปิดตัวโครงการ WE RISE Together ในประเทศไทย และ ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัล Thailand Women’s Empowerment Principles Awards

กรงเทพฯ — ผู้นำองค์กรและองค์กรธุรกิจ 6 บริษัทได้รับรางวัล Thailand Women's Empowerment Principles (WEPs) Awards ประจำปี พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติบริษัทที่มีแนวปฏิบัติและโครงการที่ดีตามหลักการเสริมสร้างศักยภาพผู้หญิง หรือ Women’s Empowerment Principles (WEPs) และส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศในภาคธุรกิจ ผู้นำและบริษัทที่ชนะเลิศแต่ละสาขา ได้แก่ สาขาผู้นำองค์กรที่สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ: พลตรี พัชร รัตตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หาดทิพย์ จํากัด (มหาชน) สาขาสถานที่ทำงานที่มีความเท่าเทียมทางเพศ: บริษัท สยามแม็คโคร จํากัด (มหาชน) สาขาการตลาดที่คำนึงถึงมิติทางเพศ: ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จํากัด สาขาการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศผ่านกิจกรรมชุมชนและอุตสาหกรรม: บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน) สาขาความโปร่งใสและการรายงาน: บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) สาขาองค์กรขนาดกลางและขนาดย่อม: บริษัท คอนเนคติ้ง เฟาน์เดอร์ จำกัด งานประกาศผลรางวัลประจำปีนี้จัดขึ้น ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ในวันที่ 4 พฤศจิกายน รางวัลตัดสินโดยคณะกรรมการอิสระ 7 คน จากองค์กรจากหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น ผู้นำองค์กรเครือข่ายผู้ประกอบการสตรี หน่วยงานด้านการพัฒนาสังคม องค์กรภาคธุรกิจ และสถาบันการศึกษา และบริษัททั้ง 6 องค์กรที่ได้รับรางวัลชนะเลิศนี้ จะได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล WEPs Awards ในระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่จะประกาศผลรางวัลในวันที่ 23 พฤศจิกายนศกนี้อีกด้วย รางวัล WEPs ริเริ่มขึ้นภายใต้โครงการ WeEmpowerAsia ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ถึงแม้ว่าโครงการนี้จะสิ้นสุดลงแล้วในปีนี้ คุณซาร่า เรโซอากลิ อุปทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยเน้นย้ำถึงความสำคัญของรางวัลนี้ และความจำเป็นในการพัฒนาวัฒนธรรมธุรกิจที่ครอบคลุมทุก ๆ เพศมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิกเติบโตอย่างได้อย่างยั่งยืน คุณซาร่าห์ นิบส์ รักษาการผู้อำนวยการ องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) สำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กล่าวว่า “บริษัทที่ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศทั้งภายในและภายนอกองค์กรมีจำนวนเพิ่มขึ้นในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน บริษัทที่ลงนามสนับสนุน WEPs มีจำนวนมากกว่าหนึ่งร้อยองค์กรแล้ว เราอาจจะไม่ก้าวมาได้ไกลเพียงนี้หากปราศจากแรงสนับสนุนและความร่วมมือของพันธมิตรในประเทศไทย องค์กรพันธมิตรทั้งจากภาครัฐและภาคธุรกิจได้ร่วมกันสร้างความตระหนักรู้ ปฏิบัติตามหลักการเสริมสร้างศักยภาพผู้หญิง (WEPs) และร่วมกันจัดงานรางวัล WEPs Awards ในช่วงปีที่ผ่านมา” ทั้งนี้ หลักการเสริมสร้างศักยภาพผู้หญิง (WEPs) นี้ ประกอบด้วยหลักการ 7 ข้อที่เป็นแนวทางทางการพัฒนาธุรกิจ และส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศในระดับผู้นำ ในสถานที่ทำงาน ตลาด และชุมชน ในช่วงเวลาที่ผ่านมาพบว่าจำนวนองค์กรธุรกิจไทยที่เริ่มปรับตัวและคำนึงถึงความเสมอภาคทางเพศและครอบคลุมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สำหรับในปีนี้ มีบริษัทส่งใบสมัครเข้าร่วมประกวดเพื่อชิงรางวัลมากว่า 60 ใบ โดยมาจากภาคธุรกิจที่หลากหลายทั้งภาคเทคโนโลยีและการลงทุน กิจการที่เน้นผลเชิงบวกต่อสังคมและกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม ในปีนี้ UN Women จัดงานมอบรางวัลโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพสากล สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็คแห่งประเทศไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย เพื่อแสดงความขอบคุณผู้นำหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและศักยภาพของผู้หญิงในปีนี้ UN Women ได้มอบโล่เกียรติยศให้แก่คุณรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ส.ส.ว.) เพื่อเชิดชูผู้นำองค์กรภาครัฐที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความยั่งยืน และส่งเสริมหลักการเสริมสร้างศักยภาพสตรี ในงานนี้ ดร. แอนเจลา แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยได้ให้เกียรติเปิดตัวและแนะนำโครงการ WE RISE Together ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง UN Women และรัฐบาลออสเตรเลียเพื่อขยายโอกาสทางการตลาดที่เท่าเทียมให้แก่ผู้ประกอบการผู้หญิงผ่านการสร้างซัพพลายเออร์ที่หลากหลาย และส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงความเสมอภาคทางเพศในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม

1 of 5

ข่าวประชาสัมพันธ์

31 ตุลาคม 2022

สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติยินดีที่ประเทศไทยประกาศใช้ พรบ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย

กรุงเทพมหานคร (31 ตุลาคม 2565) – สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ OHCHR ยินดีที่ประเทศไทยประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 การประกาศใช้กฎหมายนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการปราบปรามการทรมาน การทารุณกรรม และการกระทำให้บุคคลสูญหายในประเทศไทย ซึ่งมีบทบัญญัติในการเอาผิดผู้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญา และมีเนื้อหาครอบคลุมหลักการที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิในการที่จะไม่ถูกทรมานเป็นสิทธิมนุษยชนที่ไม่อาจระงับชั่วคราวได้ (non-derogation) และหลักการไม่ส่งใครกลับไปเผชิญอันตราย (non-refoulement) ซึ่งป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ขับไล่ เนรเทศ หรือส่งบุคคลใดไปยังอีกประเทศหนึ่งที่เขาอาจเผชิญความเสี่ยงต่อการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (cruel, inhuman or degrading treatment) หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย ทั้งนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่การประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา “การประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 นี้นับเป็นก้าวสำคัญในการปฏิบัติตามคำมั่นของประเทศไทยเพื่อขจัดการกระทำทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหายให้หมดสิ้น และเป็นการให้ความยุติธรรมกับผู้เสียหายจากการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย” ซินเทีย เวลิโก้ ผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าว พระราชบัญญัตินี้จะทำให้ผู้เสียหายจากการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยบังคับหรือไม่สมัครใจและญาติ มีกรอบทางกฎหมายในการเรียกร้องการเยียวยาทางกฎหมาย รวมถึงการเอาผิดผู้กระทำผิดจากอาชญากรรมอันเลวร้ายนี้ ประเทศไทยมีกรณีการกระทำให้บุคคลสูญหายที่คณะกรรมการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยบังคับหรือไม่สมัครใจ (The United Nations Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances) บันทึกว่ายังไม่ได้รับความกระจ่างชัดทั้งสิ้น 76 กรณี ผู้แทนประจำภูมิภาคฯ เน้นย้ำว่า ยังมีบทบัญญัติในกฎหมายสามประการที่ควรได้รับการแก้ไขเพื่อให้พระราชบัญญัติฯ เป็นไปตามกฎหมายและหลักการระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน ได้แก่ การอภัยโทษในฐานความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ การรับฟังพยานหลักฐานที่ได้จากการทรมานในกระบวนการดำเนินคดีทางอาญา และการกำหนดอายุความของคดีการกระทำให้บุคคลสูญหาย “สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติขอชื่นชมประเทศไทยที่ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้ในการทบทวนสิทธิมนุษยชนครั้งล่าสุดตามกระบวนการ Universal Periodic Review หรือ UPR ทั้งนี้ หลังจากที่มีกรอบกฎหมายบังคับใช้ในประเทศแล้ว ประเทศไทยสามารถดำเนินการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) และ พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Optional Protocol to the Convention against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment) ในลำดับถัดไป” ซินเทีย เวลิโก้ กล่าว “สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคฯ พร้อมที่จะให้การสนับสนุนทางเทคนิคแก่รัฐบาลตามที่มีความจำเป็น” จบ หากต้องการข้อมูลหรือสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อ: วรรณภร สมุทรอัษฎงค์ (065 986 0810 / [email protected]) ประจำสำนักงานฯ ที่กรุงเทพมหานคร แท็กและแชร์ – Twitter: @OHCHRAsia, Facebook: @OHCHRAsia และ Instagram @ohchr_asia