โครงการส่งเสริมอาชีพผู้ สูงอายุ 2564

ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญคือความเจ็บป่วยและความบกพร่องในการทำงานของร่างกายในทุก ๆ ด้าน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายจ่ายมหาศาลของประเทศ ดังนั้นเพื่อป้องกันและรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการป้องกันการเจ็บป่วย การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและการเตรียมความพร้อมของผู้สูงวัยเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีศักยภาพและมีสุขภาวะที่ดี การดูแลและการรองรับสังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่งเนื่องจาก ผ่านประสบการณ์มามาก ได้เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อนมีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญ ในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกายเป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ตำบลนาพู่ มีจำนวนผู้สูงอายุ ซึ่งอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,655 คน คิดเป็นร้อยละ 13.15 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งนับได้ว่าสังคมผู้สูงอายุในตำบลนาพู่ เริ่มมีจำนวนมากขึ้น ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับผู้สูงอายุเริ่มทวีคูณขึ้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่หากปล่อยไว้อาจเป็นปัญหาเรื้อรัง ส่งผลให้เป็นปัญหาในสังคมในอนาคตได้ เช่น ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ ความเครียด ขาดการพักผ่อนหย่อนใจ ส่งผลกระทบให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ขาดความสนใจในการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม และขาดให้ความเอาใจใส่ ในการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย และเป็นประโยชน์ต่อร่างกายสำหรับผู้สุงอายุ เพื่อให้มีภาวะโภชนาการที่ดีในการดำรงชีวิต ดังนั้น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลนาพู่ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับสังคมผู้สูงอายุตำบลนาพู่ ประจำปี 2564 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายตามหลักธรรมชาตินิยม ของผู้สูงอายุ ส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องของอาหารและโภชนาการให้เหมาะสมตามวัย กิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพด้วยการเต้นรำที่เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชน เพื่อยกระดับการต่อยอดทักษะความสามารถของผู้สูงอายุด้านการพูดในที่ประชุมชน และการประชาสัมพันธ์ข่าวสารของผู้สูงอายุ ให้พัฒนาผู้สูงอายุไปสู่เป้าหมาย และมีคุณภาพทางสังคม โดยไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

หลักการและเหตุผล
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้กำหนดกรอบวิสัยทัศน์โดยให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายไว้ดังนี้ 1.การหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง 2.การพัฒนาศักยภาพคนให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศและการสร้าง สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ 3.การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 4.การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5.การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ
รัฐบาลมีนโยบายในการสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเร่งสร้างสังคมที่มีคุณภาพ โดยการขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนการวางแผนการพัฒนาในด้านต่างๆ ในระยะยาว ครอบคลุมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างความมั่นคง มั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศจะต้องมีทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวที่ชัดเจน โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง เพื่อผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง และสอดรับกับการปฏิรูปประเทศที่มุ่งสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ในอนาคต
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคน สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม มีคุณภาพ มีคุณค่า สามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง และเป็นพลังในการพัฒนาสังคม โดยส่งเสริมการสร้างรายได้และการมีงานทำในผู้สูงอายุ ควบคู่กับการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อการประกอบอาชีพและการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริม สนับสนุนให้มีการนำความรู้และประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่เป็นคลังสมอง  ผู้มีความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมทั้ง ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งตนเอง โดยการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และความจำเป็นทางกายภาพให้เหมาะกับวัยในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งในด้านการจัดบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก ได้เป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความรู้ มีทักษะ มีการอนุรักษ์และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิมรวมถึงการได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย
ปัจจุบันกลุ่มผู้สูงอายุ ถือเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนของผู้ประสบภาวะยากลำบากสูงกว่าวัยอื่นทั้งหมด ความยากจนเป็นปัจจัยแรก ที่นำมาสู่ภาวะดังกล่าว เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงาน ไม่มีหลักประกันทั้งในรูปแบบ  เงินบำนาญ เงินออม และมีโอกาสจำกัดที่จะทำงานภาคแรงงานในระบบ  เนื่องจากมีการศึกษาน้อย การขาดความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การมีจำนวนบุตรที่จะเป็นผู้ให้การเกื้อหนุนด้านการเงินลดลงเป็นลำดับ ประกอบกับ ความเสื่อมของสภาพร่างกายตามวัยและโรคภัยที่มากขึ้น ก่อให้เกิดภาวการณ์พึ่งพาที่สูงขึ้นและมีความต้องการการดูแลระยะยาวจากสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญในการยกย่องให้การดูแล สุขภาพจิต สุขภาพกายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข การปฏิบัติต่อผู้สูงอายุถือเป็นภารกิจหนึ่ง ที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและควบคู่ไปกับกลุ่มอื่นๆ ในสังคม เช่น กลุ่มเด็ก/เยาวชน กลุ่มคนพิการและกลุ่มสตรี ซึ่งต้องบูรณาการร่วมกันตามบริบทของชุมชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตาสังต่อไป
องค์การบริหารส่วนตำบลตาสัง ได้เล็งเห็นความสำคัญและเพื่อเป็นการสนองนโยบายดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต ฝึกอบรมอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุประจำปีงบประมาณ ๒๕62 (หลักสูตรการทำเสื้อมัดย้อม และ ขนมกุยช่ายทอด) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมฝึกอบรมอาชีพให้กับผู้สูงอายุ โดยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมตามความสมัครใจ เป็นการเพิ่มโอกาสด้านอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุ ส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ผู้สูงอายุที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมและขบวนการรวมกลุ่มและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมฝึกอบรมอาชีพให้กับผู้สูงอายุ โดยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมตามความสมัครใจ เป็นการเพิ่มโอกาสด้านอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุ
๒. เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ
๓. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ผู้สูงอายุที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมและขบวนการรวมกลุ่มและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ข่าว ณ. วันที่ 27 มิ.ย. 2562 เวลา 14.57 น. โดย คุณ กิจจาธนณัฎฐ์ สนใจ

ผู้เข้าชม 3113 ท่าน