คำ อธิบาย รายวิชา ทักษะ วิทยาศาสตร์

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

 

รหัสวิชา  ว ๒๑๑๐๑    วิทยาศาสตร์  ๑       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑  ภาคเรียนที่  ๑

เวลา  ๖๐  ชั่วโมง     จำนวน  ๑.๕  หน่วยกิต

สังเกต  อธิบาย  เปรียบเทียบ    ทดลอง  และอภิปราย  รูปร่าง  ลักษณะของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์  หน้าที่  และส่วนประกอบที่สำคัญ  ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ กระบวนการสารผ่านเซลล์  โดยการแพร่และ ออสโมซิส     ปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช  ผลที่ได้และความสำคัญจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม  กลุ่มเซลล์และโครงสร้างที่เกี่ยวกับ    ระบบลำเลียงน้ำและอาหาร  การสืบพันธุ์  การตอบสนองต่อแสง  น้ำ  การสัมผัส ผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการขยายพันธุ์  ปรับปรุงพันธุ์ของพืช  จำแนกสารเป็นกลุ่มโดยใช้เนื้อสาร  ขนาดอนุภาค  หรือสมบัติของสารเป็นเกณฑ์  ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนสถานะของสารโดยใช้แบบจำลองการจัดเรียงอนุภาคของสาร  สมบัติความเป็นกรด-เบสของสารละลาย  วิธีเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นเป็นร้อยละ การเปลี่ยนแปลงสมบัติ  มวล  และพลังงานของสาร ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ  การสืบค้นข้อมูล  และการอภิปราย  เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถสื่อสาร  สิ่งที่เรียนรู้  มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์  ในชีวิตประจำวันมีจิตวิทยาศาสตร์  จริยธรรม  คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

ตัวชี้วัด

ว ๑.๑       ม. ๑/๑, ม.๑/๒, ม. ๑/๓, ม.๑/๔, ม. ๑/๕, ม.๑/๖, ม.๑/๗, ม.๑/๘, ม.๑/๙, ม.๑/๑๐, ม.๑/๑๑, ม.๑/๑๒,  ม.๑/๑๓

ว ๓.๑      ม. ๑/๑, ม.๑/๒, ม. ๑/๓, ม.๑/๔

ว ๓.๒     ม. ๑/๑, ม.๑/๒, ม. ๑/๓

ว ๘.๑      ม. ๑/๑, ม.๑/๒, ม. ๑/๓, ม.๑/๔, ม. ๑/๕, ม.๑/๖, ม.๑/๗, ม.๑/๘, ม.๑/๙

รวมทั้งหมด    ๒๙  ตัวชี้วัด

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

 

รหัสวิชา  ว ๒๑๑๐๒   วิทยาศาสตร์  ๒       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑  ภาคเรียนที่  ๒

เวลา  ๖๐  ชั่วโมง             จำนวน  ๑.๕  หน่วยกิต

สืบค้นข้อมูล สังเกต  อธิบาย วิเคราะห์   และทดลอง  ปริมาณสเกลาร์ ปริมาณเวกเตอร์ ระยะทาง การกระจัด อัตราเร็วและความเร็ว ในการเคลื่อนที่ของวัตถุ  อุณหภูมิและการวัดอุณหภูมิ การถ่ายโอนความร้อน และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์  การดูดกลืน การคายความร้อน โดยการแผ่รังสี สมดุลความร้อนและผลของความร้อนต่อการขยายตัวของสาร องค์ประกอบและการแบ่งชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมผิวโลก ความสัมพันธ์ระหว่าง อุณหภูมิ  ความชื้นและความกดอากาศที่มีผลต่อปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ การเกิดปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ที่มีผลต่อมนุษย์ สืบค้น วิเคราะห์ และแปลความหมายข้อมูลจากการพยากรณ์อากาศผลของลมฟ้าอากาศต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม  ปัจจัยทางธรรมชาติ  และการกระทำของมนุษย์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก รูโหว่โอโซน และฝนกรด   ผลของภาวะโลกร้อน รูโหว่โอโซน และฝนกรด ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม  โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ    การสืบค้นข้อมูล  และการอภิปราย  เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถสื่อสาร  สิ่งที่เรียนรู้  มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์  ในชีวิตประจำวันมีจิตวิทยาศาสตร์  จริยธรรม  คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

ตัวชี้วัด

ว ๔.๑       ม. ๑/๑, ม.๑/๒

ว ๕.๑       ม. ๑/๑, ม.๑/๒, ม. ๑/๓, ม.๑/๔

ว ๖.๑        ม. ๑/๑, ม.๑/๒, ม. ๑/๓, ม.๑/๔, ม. ๑/๕, ม.๑/๖, ม.๑/๗

ว ๘.๑       ม. ๑/๑, ม.๑/๒, ม. ๑/๓, ม.๑/๔, ม. ๑/๕, ม.๑/๖, ม.๑/๗, ม.๑/๘, ม.๑/๙

รวมทั้งหมด    ๒๒   ตัวชี้วัด

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

 

รหัสวิชา  ว ๒๒๑๐๑   วิทยาศาสตร์  ๓       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  ภาคเรียนที่  ๑

เวลา  ๖๐  ชั่วโมง                 จำนวน  ๑.๕  หน่วยกิต

             ศึกษาวิเคราะห์ อธิบายโครงสร้างและการทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือด  ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ ของมนุษย์และสัตว์ รวมทั้งระบบประสาทของมนุษย์ อธิบายความ สัมพันธ์ของระบบต่างๆ ของมนุษย์และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ สังเกตและอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกและภายใน อธิบายหลักการและผลของการใช้เทคโนโลยี ชีวภาพในการขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ และเพิ่มผลผลิตของสัตว์และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ทดลอง วิเคราะห์ และอธิบายสารอาหารในอาหารมีปริมาณพลังงานและสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย อภิปรายผลของสารเสพติดต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และแนวทางในการป้องกันตนเองจากสารเสพติด สำรวจและอธิบายองค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ สืบค้นข้อมูลและเปรียบเทียบสมบัติของธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ ธาตุกึ่งโลหะและธาตุกัมมันตรังสีและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ทดลองและอธิบาย การหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง การตกผลึก การสกัด การกลั่น และโครมาโทกราฟี และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ทดลองและอธิบายการเปลี่ยนแปลงสมบัติ มวล และพลังงานเมื่อสารเกิดปฏิกิริยาเคมี รวมทั้งอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด ปฏิกิริยาเคมี ทดลอง อธิบายและเขียนสมการเคมีของปฏิกิริยาของสารต่าง ๆ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ สืบค้นข้อมูลและอภิปรายผลของสารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม สืบค้นข้อมูลและอธิบายการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง ปลอดภัย วิธีป้องกันและแก้ไขอันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมี โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา และจิตวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

ตัวชี้วัด

ว ๑.๑        ม. ๒/๑, ม.๒/๒, ม. ๒/๓, ม.๒/๔, ม. ๒/๕, ม.๒/๖

ว ๓.๑       ม. ๒/๑, ม.๒/๒, ม. ๒/๓

ว ๓.๒      ม. ๒/๑, ม.๒/๒, ม. ๒/๓, ม.๒/๔

ว ๘.๑       ม. ๒/๑, ม.๒/๒, ม. ๒/๓, ม.๒/๔, ม. ๒/๕, ม.๒/๖, ม.๒/๗, ม.๒/๘, ม.๒/๙

รวมทั้งหมด    ๒๒   ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

 

รหัสวิชา  ว ๒๒๑๐๒   วิทยาศาสตร์  ๔      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  ภาคเรียนที่  ๒

เวลา  ๖๐  ชั่วโมง                      จำนวน  ๑.๕  หน่วยกิต

ศึกษาวิเคราะห์ ทดลองและอธิบายการหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรง ในระนาบเดียวกันที่กระทำต่อวัตถุ อธิบายแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุที่หยุดนิ่งหรือวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว ทดลองและอธิบายการสะท้อนของแสง การหักเหของแสง และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ อธิบายผลของความสว่างที่มีต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิต อื่น ๆ ทดลองและอธิบายการดูดกลืนแสงสี การมองเห็นสีของวัตถุ และนำความรู้ ไปใช้ประโยชน์ สำรวจ ทดลองและอธิบายลักษณะของชั้นหน้าตัดดิน สมบัติของดิน และกระบวนการเกิดดินสำรวจ วิเคราะห์และอธิบายการใช้ประโยชน์และการปรับปรุงคุณภาพของดิน ทดลองเลียนแบบ เพื่ออธิบายกระบวนการเกิด และลักษณะองค์ประกอบของหิน ทดสอบ และสังเกตองค์ประกอบและสมบัติของหิน เพื่อจำแนกประเภทของหิน และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตรวจสอบและอธิบาย ลักษณะ ทางกายภาพของแร่ และการนำไปใช้ประโยชน์ สืบค้นและอธิบายกระบวนการเกิด ลักษณะและสมบัติของปิโตรเลียม ถ่านหิน หินนํ้ามัน และการนำไปใช้ประโยชน์ สำรวจและอธิบายลักษณะแหล่งนํ้าธรรมชาติ การใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์แหล่งนํ้าในท้องถิ่น ทดลอง และอธิบาย การเกิดแหล่งนํ้าบนดิน แหล่งนํ้าใต้ดิน ทดลองเลียนแบบและอธิบายกระบวนการผุพังอยู่กับที่ การกร่อน การพัดพา การทับถม การตกผลึกและผลของ กระบวนการดังกล่าว สืบค้น สร้างแบบจำลอง และ อธิบายโครงสร้างและองค์ประกอบของโลก ตั้งคำถาม ที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจได้อย่าง ครอบคลุ่ม และเชื่อถือได้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา และจิตวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถ ในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

ตัวชี้วัด

ว ๔.๑        ม. ๒/๑, ม.๒/๒

ว ๕.๑       ม. ๒/๑, ม.๒/๒, ม. ๒/๓

ว ๖.๑       ม. ๒/๑, ม.๒/๒, ม. ๒/๓, ม.๒/๔, ม. ๒/๕, ม.๒/๖, ม.๒/๗, ม.๒/๘, ม.๒/๙, ม.๒/๑๐

ว ๘.๑       ม. ๒/๑, ม.๒/๒, ม. ๒/๓, ม.๒/๔, ม. ๒/๕, ม.๒/๖, ม.๒/๗

รวมทั้งหมด    ๒๒   ตัวชี้วัด

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

 

รหัสวิชา  ว ๒๓๑๐๑   วิทยาศาสตร์  ๕       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓  ภาคเรียนที่  ๑

เวลา  ๖๐  ชั่วโมง                 จำนวน  ๑.๕  หน่วยกิต

          ศึกษา ทดลอง สำรวจ สังเกต วิเคราะห์ สังเคราะห์ และอธิบายเกี่ยวกับลักษณะของโครโมโซม สารพันธุกรรม กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โรคทางพันธุกรรมการแปรผันทางพันธุกรรม มิวเทชัน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเกิดความหลากหลายทางชีวภาพและผลของเทคโนโลยีชีวภาพต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมีชีวิตและสายใยอาหาร วัฏจักรนํ้า วัฎจักรคาร์บอน การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการสอนทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ ความคิด มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและตระหนักถึงคุณค่าของความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด

ว ๑.๒       ม. ๓/๑, ม.๓/๒, ม. ๓/๓, ม.๓/๔, ม. ๓/๕, ม.๓/๖

ว ๒.๑       ม. ๓/๑, ม.๓/๒, ม. ๓/๓, ม.๓/๔

ว ๒.๒      ม. ๓/๑, ม.๓/๒, ม. ๓/๓, ม.๓/๔, ม. ๓/๕, ม.๓/๖

ว ๘.๑       ม. ๓/๑, ม.๓/๒, ม. ๓/๓, ม.๓/๔, ม. ๓/๕, ม.๓/๖, ม.๓/๗, ม. ๓/๘, ม.๓/๙

รวมทั้งหมด    ๒๗   ตัวชี้วัด

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

 

รหัสวิชา  ว ๒๓๑๐๒   วิทยาศาสตร์  ๖        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓  ภาคเรียนที่  ๒

เวลา  ๖๐  ชั่วโมง                   จำนวน  ๑.๕  หน่วยกิต

ศึกษา ทดลอง สังเกต สืบค้น อภิปรายและอธิบายเกี่ยวกับความเร่ง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาระหว่างวัตถุ แรงพยุงของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุ แรงเสียดทาน โมเมนต์ของแรง การเคลื่อนที่ของวัตถุแนวตรงและแนวโค้ง พลังงานจลน์ พลังงานศักย์และกฎการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานไฟฟ้า ความต่างศักย์ กระแสไฟฟ้า ความต้านทาน การต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน วงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์อื่น ๆ องค์ประกอบของเอกภพ กาแล็กซี ระบบสุริยะ เทคโนโลยีอวกาศ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ ความคิด มีวามสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและตระหนัก ถึงคุณค่าของความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด

ว ๔.๑       ม. ๓/๑, ม.๓/๒, ม. ๓/๓

ว ๔.๒       ม. ๓/๑, ม.๓/๒, ม. ๓/๓, ม.๓/๔

ว ๕.๑      ม. ๓/๑, ม.๓/๒, ม. ๓/๓, ม.๓/๔, ม. ๓/๕

ว ๗.๑       ม. ๓/๑, ม.๓/๒, ม. ๓/๓, ม.๓/๔, ม. ๓/๕, ม.๓/๖, ม.๓/๗, ม. ๓/๘, ม.๓/๙

รวมทั้งหมด    ๒๔   ตัวชี้วัด

 

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

 

รหัสวิชา  ว ๒๑๒๐๑   วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม  ๑     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑  ภาคเรียนที่  ๑

เวลา  ๒๐  ชั่วโมง                 จำนวน  ๐.๕  หน่วยกิต

ศึกษาวิเคราะห์ ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่อง ที่สนใจ ได้อย่างครอบคลุ่ม และเชื่อถือได้ สร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้และวางแผนการสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ วิธีเลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัย โดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม รวบรวมข้อมูลจัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ.วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุป ทั้งที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับสมมติฐานและความผิดปกติของข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบสร้างแบบจำลอง หรือรูปแบบ ที่อธิบายผลหรือแสดงผลของการสำรวจตรวจสอบ สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ ในสถานการณ์ใหม่หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการและผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ บันทึกและอธิบายผลการสังเกตการสำรวจ ตรวจสอบ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบ เมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้นหรือโต้แย้งจากเดิม จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ และมีจิตวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความรู้ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

ผลการเรียนรู้

  1. มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์
  2. มีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์และอธิบายทักษะกระบวนการ
  3. มีทักษะการสังเกต การวัด การจัดจำแนกประเภท การหาความสัมพันธ์ของพื้นที่ การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลเบื้องต้น รวมทั้งการลงความเห็นจากข้อมูล
  4. ทำกิจกรรมที่นำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับ การตั้งสมมติฐาน ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม การทดลอง และสามารถการตีความหมายข้อมูลจากผลการทดลอง
  5. มีความเข้าใจเกี่ยวกับนิยามเชิงปฏิบัติการ
  6. ออกแบบการทดลองและมีทักษะการทดลอง
  7. ทำแฟ้มสะสมผลงาน

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

 

รหัสวิชา  ว ๒๑๒๐๒   วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม  ๒     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑  ภาคเรียนที่  ๒

เวลา  ๒๐  ชั่วโมง                จำนวน  ๐.๕  หน่วยกิต

การทำปฏิบัติการ การแพร่ ออสโมซีส การเก็บตัวอย่างพืช สัตว์ การตรวจสอบเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ การไตเตรตหาปริมาณวิตามินซีในนํ้าผลไม้ ปฏิบัติการทางฟิสิกส์ การพับเครื่องร่อน การผ่าตัดสัตว์ทดลองเพื่อศึกษาระบบอวัยวะ การตรวจสอบสารอาหาร การวัดค่าต่างๆด้วยเทคนิคทางเคมี และปฏิบัติการทางฟิสิกส์ และปฏิบัติการทางชีววิทยาอื่นๆ โดยใช้ทักษะการสังเกต การลงมือทำ และฝึกการจดบันทึกผลการทดลองอย่างเป็นระเบียบ

ผลการเรียนรู้

  1. มีความเข้าใจ และทักษะในการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
  2. มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
  3. มีทักษะในการใช้ ดูแลรักษา กล้องจุลทรรศน์ และคำนวณหากำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์
  4. ทำการทดลองวิทยาสาสตร์อย่างง่ายในเชิง เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์
  5. ทำงานเป็นกลุ่ม มีความริเริ่มสร้างสรรค์ในการแสดงความคิดเห็น
  6. จดบันทึกผลการทดลอง และเขียนรายงานการปฏิบัติการทดลองได้ถูกต้อง โดยยึดระบบเลขนัยสำคัญ
  7. ทำปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์อย่างอิสระเพื่อวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ

 

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

 

รหัสวิชา  ว ๒๒๒๐๑   วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม  ๓     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  ภาคเรียนที่  ๑

เวลา  ๒๐  ชั่วโมง                 จำนวน  ๐.๕  หน่วยกิต

การเรียนการสอนรายวิชา โครงงานวิทยาศาสตร์กับคุณภาพชีวิต ประกอบด้วยโครงงานประเภทต่างๆและกิจกรรมที่ให้นักเรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามความสนใจ ตั้งแต่เริ่มจนทำโครงงานสำเร็จการทำโครงงานเน้นให้นักเรียนฝึกคิด วิเคราะห์ปัญหาที่สนใจที่จะทำโครงงาน คิดออกแบบการทดลองได้และตัดสินใจเลือกวิธีการที่เหมาะสม มีการวางแผนการดำเนินงานเพื่อลงมือปฏิบัติทดลองได้อย่างเป็นขั้นตอนและมีระบบ บันทึกผล วิเคราะห์ผล สรุปผล และเขียนรายงาน ตลอดจนนำเสนอผลงานและแสดงผลงานของโครงงานวิทยาศาสตร์ การทำกิจกรรมจะช่วยพัฒนานักเรียนให้สามารถคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาผลการศึกษาค้นคว้าในระดับของนักเรียนจะขยายไปถึงขั้นนำไปใช้แก้ปัญหาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในท้องถิ่นส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนและชุมชนได้

ผลการเรียนรู้

  1. มีความรู้ความเข้าใจ และบอกความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ รวมทั้งจำแนกชนิดโครงงานประเภทต่างๆ
  2. ระบุขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  3. ระบุปัญหา ตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุมและ กำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ จากปัญหาและสถานการณ์ที่กำหนดให้
  4. ออกแบบขั้นตอนการดำเนินงาน และเขียนเค้าโครงโครงงานจากปัญหาและสถานการณ์ที่กำหนดให้
  5. บันทึกผลการดำเนินงาน แปรความหมายข้อมูล สรุป และวิจารณ์ผลจากข้อสรุป
  6. เขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
  7. นำเสนอและแสดงผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์

 

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

 

รหัสวิชา  ว ๒๒๒๐๒   วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม  ๔     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  ภาคเรียนที่  ๒

เวลา  ๒๐  ชั่วโมง                จำนวน  ๐.๕  หน่วยกิต

การเรียนการสอนรายวิชา โครงงานวิทยาศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยโครงงานประเภท สำรวจ ทดลอง และสิ่งประดิษฐ์ และกิจกรรมที่ให้นักเรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามความสนใจ ตั้งแต่เริ่มจนทำโครงงานสำเร็จ การทำโครงงานเน้นให้นักเรียนฝึกคิด วิเคราะห์ปัญหาที่สนใจที่จะทำโครงงาน คิดออกแบบการประดิษฐ์และทดลองประสิทธิภาพได้ และตัดสินใจเลือกวิธีการที่เหมาะสม มีการวางแผนการดำเนินงานเพื่อลงมือปฏิบัติทดลองได้อย่างเป็นขั้นตอนและมีระบบ บันทึกผล วิเคราะห์ผล สรุปผล และเขียนรายงาน ตลอดจนนำเสนอผลงานและแสดงผลงานของโครงงานวิทยาศาสตร์ การทำกิจกรรมจะช่วยพัฒนานักเรียนให้สามารถคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหา ผลการศึกษาค้นคว้าในระดับของนักเรียนจะขยายไปถึงขั้นนำไปใช้แก้ปัญหาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในท้องถิ่นส่งผลต่อการพัฒนาด้านต่างๆ ได้

ผลการเรียนรู้

  1. ระบุปัญหาจากชีวิตประจำวันเพื่อนำไปสู่การทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  2. สืบค้นข้อมูลประกอบการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และมีความน่าเชื่อถือ
  3. วิเคราะห์ปัญหา วางแผนการทดลอง จัดทำเค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
  4. ทำงานเป็นกลุ่มมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแสดงความคิดเห็น การออกแบบหรือดัดแลงการทดลอง ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  5. ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามความถนัดและสนใจกลุ่มละโครงงาน
  6. นำเสนอและจัดแสดงผลงานในรูปแบบการนำเสนอปากเปล่า หรือ นิทรรศการ

 

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

 

รหัสวิชา  ว ๒๓๒๐๑   วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม  ๕     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓  ภาคเรียนที่  ๑

เวลา  ๒๐  ชั่วโมง               จำนวน  ๐.๕  หน่วยกิต

การเรียนการสอนรายวิชา โครงงานวิทยาศาสตร์กับเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยโครงงานประเภทต่างๆและกิจกรรมที่ให้นักเรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามความสนใจ ตั้งแต่เริ่มจนทำโครงงานสำเร็จ การทำโครงงานเน้นให้นักเรียนฝึกคิด วิเคราะห์ปัญหาที่สนใจที่จะทำโครงงาน คิดออกแบบการทดลองได้ และตัดสินใจเลือกวิธีการที่เหมาะสม มีการวางแผนการดำเนินงานเพื่อลงมือปฏิบัติทดลองได้อย่างเป็นขั้นตอนและมีระบบ บันทึกผล วิเคราะห์ผล สรุปผล และเขียนรายงาน ตลอดจนนำเสนอผลงานและแสดงผลงานของโครงงานวิทยาศาสตร์ การทำกิจกรรมจะช่วยพัฒนานักเรียนให้สามารถคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหา ผลการศึกษาค้นคว้าในระดับของนักเรียนจะขยายไปถึงขั้นนำไปใช้แก้ปัญหาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในท้องถิ่นส่งผลต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมได้

ผลการเรียนรู้

  1. อธิบาย และบอกความหมายของสิ่งแวดล้อม
  2. บอกองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม ทั้งองค์ประกอบทางกายภาพ และชีวภาพ
  3. สำรวจ อภิปราย อธิบาย และวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบ ในระดับชุมชน ประเทศ และ โลก
  4. สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแนวทางในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่หัวข้อการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อม
  5. ทำโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อมกลุ่มละ หนึ่งโครงงาน พร้อมทั้งนำเสนอผลงาน และประยุกต์โครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อมนำไปใช้จริง

 

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

 

รหัสวิชา  ว ๒๓๒๐๒   วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม  ๖   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓  ภาคเรียนที่  ๒

เวลา  ๒๐  ชั่วโมง         จำนวน  ๐.๕  หน่วยกิต

ศึกษากระบวนการและการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดำรงอยู่อย่างเป็นสุข และมีประสิทธิภาพ โดยตระหนักถึงผลกระทบของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อมนุษย์ สภาพแวดล้อม สังคม การเมืองและวัฒนธรรม ศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความหมายของวิทยาศาตร์และเทคโนโลย เจตคติทางวิทยาศาตร์ คุณภาพชีวิต ความหมายของคุณภาพ แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้แก่ การแก้ปัญหาและแนวทางปฏิบัติให้เกิดความสมดุลระหว่างวัตถุและจิตใจ กลุ่มวิทยาศาสตร์ วีดีทัศน์เรื่องจะศึกษาชีววิทยบาได้อย่างไร “ประกอบหัวข้อการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาตร์”(Scientific Method) ระบุปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีการฝึกใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การสังเกตุ การวัด การจำแนก การคำนวณ การจัดกระทำเพื่อสื่อความหมายของข้อมูล การลงความคิดเห็น การพยากรณ์ สมมติฐาน ตัวแปร การทดลอง นิยามเชิงปฏิบัติการ การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป เป็นต้น วิธีการทางวิทยาศาสตร์ การแก้ปัญหาโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ความหมาย องค์ประกอบของการมีสุขภาพดี การส่งเสริมสุขภาพกาย การส่งเสริมสุขภาพจิต รูปแบบการออกกำลังกาย และวิทยาศาสตร์ทางการกีฬา การนันทนาการ การพักผ่อน การใช้พลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ