ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร

ความหมายของวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี

    วิทยาศาสตร์ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ (Science)  ว่าคือ  ความรู้ที่ได้จากการสังเกตและค้นคว้าจากการประจักษ์ทางธรรมชาติ และจัดเข้าเป็นระเบียบ หรือวิชาที่ค้นคว้าได้เป็นหลักฐานและได้เหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ

ประเภทของวิทยาศาสตร์    

  วิทยาศาสตตร์แบ่งออกเป็น 2 แขนงใหญ่ๆ คือ

 1.วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์(Pure Science) ได้แก่ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐานของวิทยาศาสตร์ทุกสาขา

2. วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) ได้แก่ วิทยาศาสตร์ทางด้านการแพทย์ ด้านเกษตร ด้านวิศวกรรม ฯลฯ ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมโดยมีวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เป็นพื้นฐาน

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientic Method)

  วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีแสวงหาความรู้ เป็นวิธีการแก้ปัญหาตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นระบบและขั้นตอนที่แน่นอน ดังนี้

  1. ตั้งปัญหา
  2. การสร้างสมมติฐาน
  3. ตรวจสอบสมมติฐานหรือขั้นทดลอง(ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล)
  4. วิเคราะห์ข้อมูล
  5. ลงข้อสรุป

1.การสังเกตและการตั้งปัญหา (Observation and problem)

   การสังเกต (Observation) วิธีการทางวิทยาศาสตร์มักเริ่มจากการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เมื่อได้ข้อสังเกตบางอย่างที่เราสนใจจะทำให้ได้สิ่งที่ตามมา คือ ปัญหา (Problem)

2.การตั้งสมมติฐาน (Formulation of Hypothesis)

     คือการคาดเดาคะเนคำตอบที่อาจเป็นไปได้หรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าบนฐานข้อมูลที่ได้จากการสังเกตปรากฏการณ์และศึกษาเอกสารต่างๆ โดยคำตอบของปัญหาซึ่งคิดไว้นี้อาจถูกต้อง แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับจนกว่าจะมีการทดลองเพื่อตรวจสอบอย่างรอบครอบเสียก่อนจึงจะทราบว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นควรตั้งสมมติฐานไว้หลายๆ ข้อและทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน ไปพร้อมๆ กัน

    การตั้งสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. เป็นสมมติฐานที่ดีมีลักษณะดังต่อไปนี้
  2. เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้
  3. เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง
  4. เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับปัญหา

3.การตรวจสอบสมมติฐานหรือขั้นรวบรวมข้อมูล(Gather Evidence)

         การตรวจสอบสมมติฐาน จะต้องยึดข้อกำหนดสมมติฐานไว้เป็นหลักเสมอ (เนื่องจากสมมติฐานที่ดีได้แนะลู่ทางการตรวจสอบ และออกแบบการตรวจสอบไว้แล้ว) ซึ่งการตรวจสอบสมมติฐานนี้ได้

        การสังเกตและการรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์ธรรมชาติ

       การทดลอง  เป็นกระบวนการปฏิบัติหรือหาคำตอบหรือตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยการทดลอง เพื่อทำการค้นคว้าหาข้อมูล และตรวจสอบว่าสมมติฐานข้อใดเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด  ประกอบด้วยกิจกรรม 3 กระบวนการคือ 

      การออกแบบการทดลอง คือ การวางแผนการทดลองก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริงโดยให้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้เสมอ และควบคุมปัจจัยหรือตัวแปร ต่างๆ ที่มีผลต่อการทดลอง แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ

  1. ตัวแปรอิสระหรือตัวแปร (Independent Variable)  คือปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดผลการทดลองหรือตัวแปรที่ต้องศึกษาทำการตรวจสอบดูว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้ผลเช่นกัน
  2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ผลที่เกิดจากการทดลอง ซึ่งต้องใช้วิธีการสังเกตหรือวัดผลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลไว้และจะเปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรอิสระ
  3. ตัวแปรที่ต้องควบคุม (Control Variable) คือ ปัจจัยอื่นๆ ที่นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่มีผลต่อการทดลอง และต้องควบคุมให้เหมือนกันทุกชุดการทดลองเพื่อป้องกันไม่ให้ผลการทดลองเกิดความคลาดเคลื่อน

                 3.1การปฏิบัติการทดลอง ในกิจกรรมนี้ลงมือปฏิบัติการทดลองจริงโดยจะดำเนินการไปตามขั้นตอนที่ได้ออกแบบไว้ และควรจะทำการทดลองซ้ำ ๆ หลายๆ ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าได้ผลเช่นนั้นจริง

                 3.2 การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกที่ได้จากการทดลองซึ่งข้อมูลที่ได้การรวบรวมไว้ใช้สำหรับยืนยันว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่  

4.การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) 

       เป็นขั้นที่นำข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกต  การค้นคว้า  การทดลองหรือการรวบรวมหรือข้อเท็จจริงมาทำการวิเคราะห์ผล  แล้วนำไปเปรียบเทียบกับสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ว่าสอดคล้องกับสมมติฐานข้อมูลข้อใด เช่น การหาค่าเฉลี่ยของความสูงของต้นหญ้า จาก 2 สัปดาห์

5.ขั้นสรุปผล (Conclusion of Result) 

      การสรุปผล เป็นขั้นตอนที่นำเอาข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูล แล้วมาสรุป พิจารณาว่าผลสรุปนั้นเหมือนกับสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าเหมือนกับสมมติฐานที่ตั้งไว้  สมมติฐานจะกลายเป็นทฤษฎี (Theory) และทฤษฎีนั้นก็สามารถนำไปอธิบายข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Process Skill)

       ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนที่สำคัญในการส่งเสริมและเทคโนโลยี(สสวท.)ได้รวบรวมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ 13 ทักษะดังนี้

  1. ทักษะสังเกต (Observation) การสังเกตุ หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่  ตา  หู จมูก ลิ้น และผิวกายเข้าไปสัมผัสวัตถุหรือเหตุการณ์โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดสิ่งนั้นนั้น  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะหาข้อมูล ซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ โดยไม่ได้ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
  2. ทักษะการวัด (Measurement) การวัด หมายถึง การเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอน ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องโดยมีหน่วยกำกับเสมอ
  3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classification) การจำแนกประเภท หมายถึง การแบ่งพวกหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์โดยมรเกณฑ์ เกณฑ์ดังกล่าวอาจใช้ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
  4. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Space/Space Relationship and Space/Time Relationship) สเปสของวัตถุ  หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น  โดยทั่วไปแล้วสเปสของวัตถุมี 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง
  5. ทักษะการคำนวณ (Using Number) การคำนวน หมายถึง การนับจำนวนของวัตถุและการนับตัวเลขของจำนวนที่นับได้มาคิดคำนวณโดยการบวก ลบ คูณ หาร และ หาค่าเฉลี่ย
  6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายของข้อมูล (Organizing Data and Communication) การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จาก การสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดเสียใหม่โดยการหาความถี่ เรียงลำดับ จัดเเยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลนั้นดีขึ้น โดยอาจเสนอในรูปของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม วงจร กราฟ สมการ เขียนบรรยาย เป็นต้น
  7. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) การลงความคิดเห็นการลงข้อมูล หมายถึง การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้ หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย
  8.  ทักษะการพยากรณ์ (Prediction) การพยากรณ์ หมายถึง การสรุปคำตอบล่วงหน้าก่อนที่จะทดลอง โดยอาศัยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หลักการ กฏหรือทฤษฏีที่มีอยู่เเล้วในเรื่องนั้นๆ มาช่วยสรุป
  9. ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Formulation Hypothesis) การตั้งสมมติฐาน หมายถึงการคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ประสบการณ์เดิม เป็นพื้นฐาน
  10. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally)  การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ หมายถึง การกำหนดความหมายและขอบเขตของคำต่างๆ 
  11. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables) การกำหนดตัวแแปร หมายถึง การชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุมมนสมมติฐานหนึ่ง

                  ตัวแแปรตต้น คือ สิ่งที่เป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดผลต่างๆ หรือสิ่งที่ต้องการทดลองว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล

                  ตัวแปรตาม    คือ สิ่งที่เป็นผลต่อเนื่องจากตัวแปรต้น เมื่อตัวแปรต้นหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุเปลี่ยนไป

                 ตัวแปรควบคุม  คือ สิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ที่ทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน

12.ทักษะการทดลอง(Experimenting) การทดลอง หมายถึง กระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบ หรือทดสอบสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ในการทดลอง จะประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอน 

                 12.1 การออกแบบทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนลงมือทดลองจริงเพื่อกำหนด

                 – วิธีการทดลอง

                – อุปกรณ์และหรือสารเคมีที่จะต้องใช้ในการทดลอง

                12.2  การปฏิบติการทดลอง หมายถึง การลงมือปฏิบัติการทดลองจริงๆ

                 12.3  การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลองซึ่งอาจเป็นผลจากการสังเกต

13.ทักษะการตีความหมายข้อมูล และลงข้อสรุป (Interpreting Data and Conclusion)  การตีความหมายข้อมูล หมายถึง การแปลความหมายหรือ การแปลความหมายหรือการบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูล

             การตีความหลายข้อมูลในบ้านครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่นๆ ด้วย เช่น ทักษะ การสังเกต ทักษะการคำนวณ เป็นต้น

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitude)

เจตคติ หมายถึง สภาพทางจิตใจบุคคลแต่ละบุคคลที่เกิดจากประสบการณ์หรือ การเรียนรู้ และความพร้อมเพื่อจะแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ หรือสถานการณ์ต่างๆ ในทางใด ทางหนึ่ง เช่น ชอบ ไม่ชอบ สนับสนุน หรือต่อต้าน เป็นต้น

        เจตคติทางวิทยาศาสตร์นั้นแตกต่างจากเจตคติทั่วไป กล่าวคือ เจตคติทางวิทยาศาสตร์นั้น จะมีลักษณะสำคัญ ซึ่งสรุปได้ ดังนี้

  1. มีความละเอียด ถี่ถ้วน อุตสาหะ
  2. มีความอดทน
  3. มีเหตุผลไม่เชื่อสิ่งใดง่ายๆ โดยปราศจากข้อเท็จมาสนับสนุนอย่างเพียงพอ
  4. มีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดมั่นในความคิดเห็นของตนเพียงฝ่ายเดียว
  5. มีความกระตือรือร้นที่ค้นหาความรู้
  6. มีความซื่อสัตย์สุจริต
  7. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
  8. ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และความก้าวหน้าใหม่ๆ

จิตวิทยาศาสตร์ (Scientific mind)

         จิตวิทยาศาสตร์ หมายถึง ลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

        จิตวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ได้แก่ ความสนใจใฝ่รู้ ความมุ่งมั้น อดทน รอบคอบ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ประหยัด และการร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผูู้อื่น ความมีเหตุหล  การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์

เทคโนโลยี

เทคโนโลยี  คือ การประยุกต์นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์

          คำว่า  เทคโนโลยีทางเศษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่าเป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ

        ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์

              ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมากเทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า

            ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติโดยหลักสำคัญ คือความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ การพยายามอธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น

          เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขั้น โดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยี

ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ

  1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มมากขึ้น  ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
  2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านเกษตร  ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น

การใช้เทคโนโลยี

       การใช้เทคโนโลยีกระบวนการทางเทคโนโลยีสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับดำรงชีวิตและแก้ปัญหาของมนุษย์อย่างเป็นระบบโดยอาศัยทรัพยากรและความรู้ต่าง ๆ การทดสอบและประเมินผลชิ้นงานหรือวิธีการสร้างทำให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติตรงตามความต้องการมากขึ้นนอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีและสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์การเลือกใช้เทคโนโลยีควรเหมาะสมกับปริมาณการผลิตคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดซึ่งการใช้เทคโนโลยีอาจจัดเป็นการใช้เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเองหรือเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วโดยจะเน้นไปที่คุณธรรมจริยธรรมของการใช้เทคโนโลยี

การเลือกใช้เทคโนโลยี

       พื้นฐานของเทคโนโลยีแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศ  สร้างและพัฒนาขึ้นด้วยความและทักษะของตน  เพื่อการดำรงชีวิต  ซึ่งมีทั้งสร้างสรรค์  และขัดแย้ง  ดังนั้นการเลือกใช้เทคโนโลยีจึงต้องคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการ  ความปลอดภัย  ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น  ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  และประเมินอย่างมีวิจารณญาณ  โดยใช้เกณฑ์ทางสังคมประกอบด้วย

        การบริโภคผลิตภัณฑ์  จากเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น  ตามจำนวนประชากร  การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีของท้องถิ่นไม่อาจตอบสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ  จำเป็นต้องแสวงหาจากแหล่งอื่นหรือต่างประเทศ  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว  อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีแห่งหนึ่งอาจไม่เหมาะสมกับอีกแห่งก็ได้  จึงต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง

        เทคโนโลยีมีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์  เช่น  เทคโนโลยีการแพทย์ทำให้มนุษย์สามารถสร้างเด็กในหลอดแก้ว  หรือการโคลนนิ่ง (Cloning) ซึ่งส่งผลกระทบต่อศีลธรรมและสังคมของมนุษย์เป็นต้น

        ดังนั้น  จึงควรพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและประเมินเทคโนโลยีอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เกณฑ์ทางสังคมมาประกอบด้วย

การใช้วัสดุอุปกรณ์และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

        อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

        1. ตู้ดูดควัน

         เมื่อต้องทำงานกับสารเคมีที่เป็นอันตราย  เช่น  สารไวไฟ  สารพิษ  และสารกัดกร่อน  เป็นต้น  จะต้องทำในตู้ดูดควัน  ซึ่งได้ออกแบบให้ดูดการระเหยของสารเคมีต่าง ๆ ระหว่างทำการทดลองออกสู่ภายนอกห้อง  และอาคาร  ควรจัดตั้งอุปกรณ์  และชุดการทดลองให้ลึกเข้าไปในตู้ดูดควัน  ด้านหน้าประมาณ 6-10 นิ้ว  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดไอระเหยของตู้ดูดควัน  เมื่อจะเริ่มทำปฏิกิริยา  จะต้องดึงหน้าต่างกระจกของตู้ดูดควันมาให้อยู่ในระดับที่สามารถสอดมือผ่านเข้าไปทำงานได้สะดวกและห้ามยื่นศีรษะเข้าไปในตู้ดูดควัน  เช็ดทำความสะอาดพื้นและหน้าต่างกระจกจากสารเคมีกระเด็นเปื้อนและหลังจากใช้งานเสร็จทุกครั้ง  แล้วดึงหน้าต่างกระจกลงมาให้อยู่เหนือพื้นตู้ประมาณ 1-2 นิ้ว          2. อ่างล้างตาฉุกเฉิน

        เมื่อสารเคมีกระเด็นเข้าตา  ต้องรีบล้างตาทันทีภายใน 15 นาที  โดยใช้อ่างล้างตาฉุกเฉิน  ต้องใช้เปิดตาของผู้ประสบภัยให้กว้างและ  “ ผลัก ”  ที่อ่างล้างตาฉุกเฉิน  เพื่อปล่อยให้น้ำพุ่งเข้าตาอย่างเต็มที่เป็นเวลานาน  ประมาณ 15 นาที  จากนั้นจึงรีบพาไปพบแพทย์

        3. ที่ล้างตัวฉุกเฉิน

        เมื่อสารเคมีหกรดตามร่างกายเป็นบริเวณกว้าง  ให้รีบถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกและเช็ดหรือซับ  สารเคมีออกให้มากที่สุด  อย่างรวดเร็ว  แล้วชำระล้างสารเคมีออกจากร่างกาย  โดยใช้ที่ล้างตัวฉุกเฉิน  เปิดน้ำให้ไหลพุ่งออกมาโดยดันคันโยกขึ้น  และล้างตัวจากนั้นรีบพาไปพบแพทย์

        4. เครื่องดับเพลิง

        เครื่องดับเพลิง  เป็นอุปกรณ์สำหรับดับไฟที่เริ่มก่อตัวขึ้น  ซึ่งยังเป็นไฟไหม้ขนาดเล็ก  เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามต่อไป  ในถังดับเพลิงมีน้ำยาดับเพลิงเพียงพอสำหรับดับเพลิงในเวลาสั้น ๆ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการหรือผู้เกี่ยวข้อง  ควรได้รับการฝึกฝนการใช้เครื่องดับเพลิงเพื่อความสามารถในการดับเพลิงอย่างทันท่วงที

        5. สัญญาณเตือนภัย

        เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือพบเห็นอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ  ซึ่งเป็นอันตรายมากและไม่สามารถจัดการด้วยตัวเองได้  ต้องส่งสัญญาณเตือนโดยดึงสลักลง  หลังจากนั้นต้องรีบออกจากห้องปฏิบัติการและอาคารไปยังจุดรวมพล

        6. อุปกรณ์ปฐมพยาบาล

        ใช้สำหรับปฐมพยาบาลเมื่อได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย  เช่นของมีคมบาด  แผลถลอก  น้ำร้อนลวกและผิวหนังไหม้เกรียม  เป็นต้น  อุปกรณ์พยาบาลประกอบด้วย  น้ำยาเช็ดแผล  น้ำยาล้างแผล  น้ำยาฆ่าเชื้อ  พลาสเตอร์ยา  ผ้าพันแผล  เทปกาว  เจลทาผิวหนังไหม้เกรียมหรือน้ำร้อนลวก  ถุงมือแพทย์คีมคีบและกรรไกร

ข้อปฏิบัติทั่วไป

        1. ศึกษาแผนผังของห้องปฏิบัติการ  เพื่อให้รู้ตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์และสิ่งของต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ได้แก่ สัญญาณเตือนภัย  เครื่องดับเพลิง  ผ้าห่มคลุมเพลิง  ทราย  ฝักบัวฉุกเฉิน  อ่างล้างตาฉุกเฉิน  และชุดปฐมพยาบาล  รวมทั้งต้องวัตถุประสงค์และทำตามวิธีการใช้อุปกรณ์เหล่านี้

        2. ต้องรู้เส้นทางที่สั้นที่สุดที่สามารถออกสู่ภายนอกอาคารจากห้องปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็วและควรศึกษาหาทางออก  จากห้องปฏิบัติการอย่างน้อย 2 ทาง  เพื่อเตรียมไว้  ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน  ถ้าจำเป็นต้องอพยพผู้คนออกจากอาคารให้ปิด  และถอดปลักเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้อยู่  เดินลงทางบันได  ควบคุมสติระหว่างการอพยพ  ควรเดินเร็วแต่ห้ามวิ่ง

        3. ห้ามสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าเปิดด้านหน้าและเปิดส้น  ควรสวมรองเท้าส้นเตี้ยที่หุ้มเท้าโดยรอบเพื่อป้องกันสารเคมีไม่ให้ถูกเท้าโดยทันที

        4. แต่งกายให้เหมาะสม  อย่าสวมเสื้อที่รัดรูปหรือหลวมจนเกินไป  ไม่ควรสวมเครื่องประดับหรือผูกเน็คไท  ให้รวบและผูกผมยาวให้เรียบร้อย  เพื่อป้องกันการเกี่ยวหรือเหนี่ยวรั้งสิ่งของต่าง ๆ ขณะทำการทดลอง  ซึ่งจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย  อีกทั้งควรสวมกางเกงขายาว แต่ถ้ากางเกงขาสั้นหรือกระโปรง  จะต้องมีความยาวคลุมเข่า

        5. ให้นำเอาเฉพาะสิ่งของจำเป็นเข้ามาในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ หนังสือ  สมุดจดบันทึกหรือสมุดเขียนรายงาน  และเครื่องเขียน  กระเป๋าและสิ่งของอื่น ๆ ควรเก็บไว้ในลอกเกอร์  หรือบริเวณที่จัดไว้ให้สำหรับวางของในห้องปฏิบัติการ

        6. เมื่อเข้ามาในห้องปฏิบัติการต้องสำรวม  อย่าจับอุปกรณ์  เครื่องมือและสารเคมีใด ๆ จนกระทั่งให้เริ่มทำการทดลองได้

        7. อย่าหยอกล้อหรือวิ่งเล่นในห้องปฏิบัติการ เพราะอาจเกี่ยวหรือแกว่งถูกภาชนะบรรจุสารเคมีตกแตก หรืออาจวิ่งชนผู้อื่นที่กำลังบรรจุสารเคมี ทำให้หกรดตนเองหรือผู้อื่นหรือทำให้เกิดอุบัติเหตุอื่น ๆ ได้

        8. อย่ารับประทานอาหารและของคบเคี้ยวต่าง ๆ หรือเครื่องดื่มในห้องปฏิบัติการหรือห้ามใช้อุปกรณ์หรือเครื่องแก้วใส่อาหารและเครื่องดื่ม เพราะอาจมีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ทำให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายได้

        9. อย่าสูดดม และสัมผัสสารเคมีโดยตรง ถ้าบังเอิญสูญดมเข้าไปให้รีบออกจากห้องปฏิบัติการเพื่อหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์เข้าโดยเร็ว

        10. ห้ามทำการทดลองนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ และให้ทำตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในแต่ละการทดลองเท่านั้น  เพื่อป้องกันอันตรายหรือเกิดอุบัติเหตุจากปฏิกิริยารุนแรงที่คาดไม่ถึง

        11. ห้ามทำการทดลองโดยลำพังในห้องปฏิบัติการ  เพราะหากเกิดอุบัติเหตุอาจจะอยู่ในสภาพที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้  ถ้ามีความต้องการทดลองนอกเวลาที่กำหนดให้ขออนุญาตอาจารย์ผู้ควบคุมปฏิบัติการหรือหัวหน้าห้องปฏิบัติการ  เพื่อพิจารณาว่าสมควรหรือทำได้  จะได้รับคำแนะนำว่าต้องทำด้วยวิธีอย่างไรจึงจะปลอดภัยมากที่สุด

        12. ห้ามจุดตะเกียง  เทียนไข  หรือไม้ขีดไฟในห้องปฏิบัติการ 

        13. เมื่อพบเห็นอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้  แม้ว่าจะเป็นอุบัติเหตุขนาดเล็ก  ต้องรายงานให้ผู้ควบคุมหรือหัวหน้าห้องปฏิบัติการทราบทันทีเพื่อรีบแก้ไขอย่างรวดเร็ว

        14. ควรล้างมือทุกครั้งหลังจากทำการทดลองแต่ละขั้นตอนเสร็จ  และต้องล้างด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนออกจากห้องปฏิบัติการเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมี  ถึงแม้ว่าจะสวมถุงมือขณะทำการทดลองตลอดเวลา  เมื่อถอดถุงมือออกแล้ว  ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง

        15. ถ้าไม่เรียนรู้ข้อบังคับและแนวปฏิบัติความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการจะทำให้เกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บทั้งต่อตนเองและเพื่อนร่วมงานได้ง่าย

        ข้อปฏิบัติก่อนเริ่มทำการทดลอง

        1. อ่านและศึกษาการทดลองก่อนเข้าห้องปฏิบัติการ  เพื่อทราบวัตถุประสงค์และเหตุผลของการทำการทดลองทุกขั้นตอนก่อน  เพราะทำให้รู้ว่าต้องปฏิบัติอย่างไรควรทำสิ่งใดก่อนและหลัง  ควรเพิ่มความระมัดระวังในขั้นตอนใด  เป็นพิเศษ  ซึ่งเป็นการลดโอกาสการเกิดอันตรายระหว่างทำการทดลองนอกจากนี้  ยังช่วยให้ทำการทดลองเสร็จในเวลารวดเร็ว

        2. ศึกษาสมบัติทางกายภาพและอันตรายของสารเคมีทุกชนิดที่ใช้ในการทดลองซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลเหล่านี้ได้จากหลายแบบหนังสือคู่มือต่าง ๆ เช่น (Merck Index) และคู่มือของเคมีและฟิสิกส์ (Handbook of Chemistry and Physics) แต่จะได้ข้อมูลอย่างละเอียดสามารถหาได้จากเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสาร (Material Safety Data Sheet) หรือเรียกย่อว่า (MSDS) ซึ่งจัดทำโดย บริษัท ผู้ผลิตสารเคมีและองค์กรต่าง ๆ หลายองค์กรและสามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็วจากอินเทอร์เน็ต แต่เป็นภาษาอังกฤษปัจจุบันมีเอ็มเอสดีเอสที่จัดทำเป็นภาษาไทยซึ่งค้นหาและดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ www. chemtrack.org

        ข้อปฏิบัติระหว่างทำการทดลอง

        1. ต้องสวมแว่นตานิรภัยตลอดเวลาที่อยู่ในห้องปฏิบัติการ  เพื่อป้องกันสารเคมีหรือเศษแก้วแตกหรือสิ่งอื่นใดกระเด็นเข้าตา  ขณะทำงานอยู่ในห้องปฏิบัติการ  เมื่อมีไอหรือสารเคมีเข้าตา  ให้ถ่างตาให้กว้างและพลิกเปลือกตาด้านในออกขณะล้างตา  ทุกคนจึงต้องรู้ตำแหน่งที่ตั้งและวิธีใช้อ่างล้างตาฉุกเฉิน  ปกติแล้วต้องรีบล้างตา  หลังจากสารเคมีกระเด็นเข้าตาหากทำช้ากว่านี้  อาจทำให้สูญเสียตาได้

        2. ต้องสวมเสื้อคลุมปฏิบัติการตลอดเวลาที่อยู่ในห้องปฏิบัติการ  เพื่อป้องกันสารเคมีที่หกหรือกระเด็น  ไม่ให้สัมผัสกับร่างกาย  เมื่อสารเคมีสัมผัสกับผิวหน้า  หรือหกรดมือหรือแขนเพียงเล็กน้อยให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมากอย่างรวดเร็ว  อาจใช้น้ำจากก๊อกน้ำโดยปล่อยชะล้างเป็นเวลา  ไม่น้อยกว่า 15 นาที แต่ถ้าถูกขาหรือร่างกายเป็นบริเวณกว้างให้ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีออกอย่างรวดเร็วแล้วซับหรือเช็ดตามร่างกายออกให้มากที่สุด  แล้วจึงชำระล้างด้วยน้ำจากฝักบัวฉุกเฉิน  ซึ่งจะปล่อยน้ำปริมาณมาก ๆ ในเวลาสั้นเพื่อชะล้างสารเคมีออกหลังจากนั้นให้รายงานการบาดเจ็บ  หรืออุบัติเหตุให้อาจารย์ผู้ควบคุมปฏิบัติการหรือหัวหน้าห้องปฏิบัติการทราบทันที  เพื่อดำเนินการตามวิธีที่เหมาะสมต่อไป

        3. ควรสวมถุงมือยางเมื่อต้องทำงานกับสารกัดกร่อน  เป็นพิษ  หรือระคายเคืองเป็นเวลานาน  และล้างมือให้สะอาด  ทุกครั้งการทดลองเสร็จ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำงานกับ  กรด  เบส  อย่าให้ถูกผิวหนัง  เพราะจะทำให้ผิวหนังไหม้เกรียมได้ง่าย  ถ้าเป็นสารเป็นพิษสูง  ต้องทำการทดลองในตู้ดูดควัน  เพราะตู้ดูดควันจะดูดไอของสารและปล่อยออกนอกอาคารตลอดเวลา  ถ้าไม่มีตู้ดูดควันให้มีการถ่ายเทอากาศที่ดี  เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของไอของสารจนถึงขีดอันตราย

        4. ต้องตรวจสภาพของเครื่องแก้วทุกชิ้นก่อนนำไปใช้งานทุกครั้ง  โดยยกเครื่องแก้วขึ้นดูด้วยการส่องกับแสงสว่างและตรวจหารอยร้าว  รอยบิ่น  รอยแตก  หรือลักษณะผิดปกติอื่น ๆ ซึ่งมักเป็นสาเหตุ  ทำให้เครื่องแก้วแตกระหว่างทำการทดลอง  ถ้าตรวจพบลักษณะผิดปกติของเครื่องแก้วให้เปลี่ยนทันที  ไม่ควรนำไปใช้  ให้ทิ้งเศษแก้วแตกและหลอดแคพิแลรีที่ใช้แล้วและในภาชนะที่จัดไว้ห้ามทิ้งเศษแก้วเหลือลงในขยะปกติ  สำหรับเทอร์มอมิเตอร์ปรอทที่แตก  จะต้องระวังเป็นพิเศษเพราะปรอทเป็นพิษและระเหยได้ง่ายที่อุณหภูมิห้อง  ต้องรายงานให้ผู้ปฏิบัติการหรือหัวหน้าห้องปฏิบัติการทราบ  เพื่อกำจัดโดยทันที

        5. อ่านชื่อของสารเคมีที่ฉลากบนขวดให้แน่ใจว่าหยิบถูกต้องแล้ว  ก่อนใช้สารเคมีและก่อนผสมสารเคมีใด ๆ ต้องตรวจสอบอีกให้แน่ใจว่าหยิบสารเคมีมาถูกต้องห้ามใช้สารเคมีที่อยู่ในขวดหรือภาชนะอื่นที่ไม่มีฉลากบอกชื่อสารเคมี  ให้ถ่ายสารเคมีมาใช้เพียงปริมาณที่ต้องการ  ส่วนเกินที่เหลือต้องกำจัดทิ้ง  ตามคำแนะนำของผู้ควบคุมปฏิบัติการหรือหัวหน้าห้องปฏิบัติการ  ห้ามเทกลับคืนลงสารเพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งปนเปื้อนในขวดบรรจุสาร  ทุกครั้งที่ใช้  เอเจนต์เสร็จแล้วต้องเซ็ตรอบขวดภายนอกและปิดจุกหรือฝาให้เรียบร้อย

        6. ถ้าทำสารเคมีหกเลอะเล็กน้อย (น้อยกว่า 50 กรัมหรือ 50 มิลลิลิตร) บนพื้นห้องบนโต้ะปฏิบัติการจะต้องทำความสะอาดด้วยวิธีการที่ถูกต้อง  แต่ถ้าทำหกเลอะปริมาณมาก (มากกว่า 50 กรัมหรือ 50 มิลลิลิตร) ให้รายงานผู้ควบคุมปฏิบัติการหรือหัวหน้าปฏิบัติการทราบ

        7. เมื่อจะใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าควรตรวจสอบก่อนว่าสายไฟที่ต่อกับเครื่องมือไม่ชำรุด

        8. ในห้องปฏิบัติการต้องมีเครื่องดับเพลิงประจำห้อง  ที่นิยมใช้ได้แก่ ประเภทคาร์บอนไดออกไซต์เหลว  หรือผงเคมี  เช่นโซเดียมคาร์บอเนต  และแอมโมเนียมฟอสเฟตผู้ปฏิบัติงานควรทราบตำแหน่งที่ตั้งและวิธีใช้เครื่องดับเพลิง  ในกรณีที่เกิดเพลิงลุกไหม้ให้ปิตหรือคลุมภาชนะนั้นทันทีด้วยภาชนะหรืออุปกรณ์อื่นใดที่อยู่ใกล้หรือใช้ผ้าชุบน้ำปิดคลุมไฟทันที  เพื่อป้องกันไฟไม่ให้ไฟลุกติดเสื้อผ้า  ห้ามวิ่งเพราะจะทำให้ไฟลุกมากขึ้นให้นอนกลิ้งบนพื้นและคลุมด้วยผ้าห่มคลุมเพลิงหรือผ้าชุบน้ำ

        9. ทำงานในห้องปฏิบัติการด้วยความระมัดระวังอยู่เสมอ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องใช้ตัวทำละลายและสารอินทรีย์เคมีที่มีจุดวาบไฟต่ำ  เช่น  ไดเอทิลอีเทอร์  เพราะไอจะกระจายทั่วห้องได้อย่างรวดเร็ว  จึงมีโอกาสเกิดไฟไหม้ได้ง่าย  ไม่ควรนำตัวทำละลายง่ายมาทำให้ร้อนโดยตั้งเป็นฮอตเพลต (hot plate) หรือเตาไฟฟ้าโดยตรง  เพราะถ้าตัวทำละลายหกหรือเดือดล้นออกมาจากภาชนะจะลุกไหม้ได้ทันที

        ข้อปฏิบัติหลังทำการทดลองเสร็จ

        1. กำจัดของเสียที่เกิดขึ้นตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในการทดลอง  หลักเกณฑ์ทั่วไป  คือ  ของเสียที่เป็นสารละลายในน้ำ  หรือในตัวทำละลายที่รวมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ  และมีปริมาณเล็กน้อย (3-10 มิลลิลิตร) ไม่มีเกลือโลหะหนัก  สารประกอบไซยาไนด์เกลือไนเตรต  หรือสารอันตรายอื่น ๆ ที่เทลงในท่อน้ำทิ้งได้เลย  โดยต้องเปิดน้ำปริมาณมากเป็นเวลา 1-2 นาที  สารละลายกรดและสารละลายเบสที่มีความเข้มข้น 10% ต้องทำให้เป็นกลางก่อน  แล้วจึงเทลงท่อน้ำและเปิดน้ำตามปริมาณมากได้  ของเสียบางอย่างต้องบำบัดก่อนเทลงท่อน้ำทิ้งซึ่งต้องหาวิธีการไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่บางอย่างเทลงท่อนาทิ้งไม่ได้เลย  เช่น  ตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีแฮโลเจน  สารละลายหรือของผสมที่มีเกลือของหนักหรือสารพิษ  ให้เทในภาชนะที่จัดแยกไว้สำหรับเก็บของเสียแต่ละประเภทเพื่อรวบรวมและน้ำส่งไปกำจัดต่อ

        2. ต้องล้างเครื่องแก้วให้สะอาด  เพราะนอกจากจะเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการทดลองครั้งต่อไปแล้ว  ยังเป็นการลดโอกาส  อันตรายจากปฏิกิริยารุนแรง  ที่อาจเกิดจากสารเคมี  ที่อาจหลงเหลืออยู่ในเครื่องแก้วเหล่านั้น  และควรเก็บเครื่องแก้วที่ล้างสะอาดแล้วและอุปกรณ์ให้เรียบร้อย

        3. ต้องเช็ดโต๊ะปฏิบัติการให้สะอาดก่อนออกจากห้องปฏิบัติการ  เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสารเคมีใดตกค้างอยู่  อันอาจเป็นอันตรายที่อาจจะมาทำการทดลองต่อไป

        4. ตรวจดูว่าได้ถอดปลักไฟ  ปิดวาล์วน้ำ  และเก็บอุปกรณ์เครื่องมือทั้งหมดเข้าที่เรียบร้อย

เทคโนโลยีพื้นบ้าน

        เทคโนโลยีพื้นบ้าน  หมายถึง  ด้วยการนำเอาความรู้  เทคนิค  วิธีการต่าง ๆ มาคิดประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ  เครื่องใช้  หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สะดวก  ใช้ง่าย  ประหยัด  ง่ายต่อการบำรุงรักษาและจัดหาโดยใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น  เพื่อนำมาแก้ปัญหา  หรือพัฒนาวิธีการประกอบอาชีพ  และการดำรงชีวิตของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        เทคโนโลยีพื้นบ้านเป็นการนำเอา  ภูมิปัญญาชาวบ้าน  และเทคโนโลยีท้องถิ่นมาผสมผสานกันอย่างลงตัว  โดยภูมิปัญญาท้องถิ่น  หมายถึง  ความรู้ของชาวบ้านที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์และความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน  ซึ่งได้เรียนรู้มาจากพ่อแม่  ปู่ย่า  ตายาย  ญาติพี่น้อง  และผู้มีความรู้ในชุมชน  ความรู้เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตเป็นแนวทางหลักเกณฑ์  วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวความสัมพันธ์กับคนอื่น  ความสัมพันธ์กับผู้ล่วงลับไปแล้ว  กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ธรรมชาติ  และเทคโนโลยีท้องถิ่น  หมายถึง  การประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ หรือทำในสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น  และคนในท้องถิ่นยอมรับแล้วนำออกใช้  ภายใต้คุณสมบัติ 4 ประการคือขนาดเล็ก  เรียบง่าย  ประหยัด  ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และธรรมชาติ  โดยภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่นที่ปรากฏในวิถีชีวิตของชาวบ้านในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละชุมชน เช่น

เทคโนโลยีพื้นบ้านของชาวจังหวัดจันทบุรีอาจแยกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้

        1. ภูมิปัญญาชาวบ้านด้าน“ การทํามาหากิน 

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร

              “เทคโนโลยีพื้นบ้านแรงบันดาลใจจากสายยางรั่วของนายจรวยพงษ์ชีพจนเกิดระบบน้ำหยด

        1.1 การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ“ ระบบน้ำหยด” นายจรวย  พงษ์ชีพ  เกษตรสวนผลไม้ชาว     อ.ขลุง  จ.จันทบุรี  เป็นผู้มีความคิดริเริ่มหาวิธีแก้ขปัญหา  เงาะขี้ครอก  หรือเงาะไม่ติดผล  และผลงานชิ้นสำคัญของนายจรวย  พงษ์ชีพ  คือ  เป็นผู้ริเริ่ม  ระบบน้ำหยด  โดยได้แรงบันดาลใจจากสายยางรั่ว  งานคิดจึงเริ่มต้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่วนหนึ่งเป็นระบบให้น้ำจากระบบสปริงเกอร์  จนชาวจันทบุรีต่างเรียกนายจรวยว่านายดำน้ำหยด

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร

               หมวกกันฝนต้นยางพารา  ผลงาน  ของนายสำเริง  แสวงพรหมมณี

        1.2 หมวกกันฝนต้นยางพารา  เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2542 นายสำเริง  แสวงพรหมมณี  เกษตรกรสวนยางพารา  ได้แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับชาวสวนยางพาราออกสู่สายตาสาธารณชน  ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีชื่อว่า“ หมวกกันฝนต้นยางพารา “

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร

                                  ก๋วยเตี๋ยวเส้นจันทน์ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กคุณภาพดี

        1.3 ก๋วยเตี๋ยวเส้นจันทน์  เมื่อเอ่ยถึงก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กคุณภาพดี  หลายคนคงจะนึกถึงเส้นจันทน์ด้วยคุณสมบัติที่เหนียวนุ่ม  ไม่เปื่อยยุ่ยเหมือนก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กอื่น ๆ ทำให้เส้นจันทน์มีชื่อเสียงแพร่หลาย  กลายเป็นชื่อที่เรียกติดปากคนทั่วไป  จากชื่อเสียงที่ขึ้นชื่อลือชาของจันทน์  เส้นก๋วยเตี๋ยวจากจันทบุรีนี้เองจึงมีโรงงานจังหวัดอื่น ๆ แอบอ้างชื่อเลียนแบบว่าจันทน์บ้างเส้นจันทน์ที่ผลิตในจังหวัดจันทบุรีมีตราพญานาคเจ็ดเศียรตราพลอยแดงตรามังกรคู่ตรามงกุฏเป็นต้น

เทคโนโลยีพื้นบ้านการจับจักจั่นของชาวบ้านในแถบจังหวัดทางภาคอีสาน

           จักจั่นเป็นแมลงที่ชาวบ้านนิยมบริโภคมีวิธีการไล่ล่าซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

         1. ใช้ยางพันไม้แล้วติดที่ปีกของจักจั่นวิธีนี้ชาวบ้านเรียกว่า“ ติดจักจั่น” จะเริ่มจากนำยางที่เรียกว่า“ ดัง” ซึ่งได้จากต้นไม้มาผสมกับยางของต้นกุงคนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันชาวบ้านใช้ไม้ไผ่มาจุ่มลงแล้วพันยางตั้งให้ติดบริเวณปลายของไม้นำไปแตะที่ปีกจักจั่นที่เกาะอยู่ตามกิ่งไม้เมื่อปีกติดยางตั้งจักจั่นจะบินไม่ได้ชาวบ้านใช้มือดึงจักจั่นออกจากตั้งวิธีนี้ทำให้ปีกของจักจั่นฉีกขาดชาวบ้านนิยมหาจักจั่นด้วยวิธีนี้เพราะเห็นตัวจักจั่นได้ไม่ชัดเจนเท่าใดนักข้อควรระวังในการไล่ล่าด้วยวิธีนี้คือต้องระวังไม่ให้ยางตั้งติดเสื้อหรือผมของผู้ไล่ล่าเพราะยางยังไม่สามารถซักหรือล้างออกได้

         2. ใช้วิธีการเขย่าต้นไม้วิธีการนี้ชาวบ้านใช้เมื่อไล่ล่าจักจั่นตอนกลางคืนชาวบ้านสังเกตตัวจักจั่นจากต้นกุงเป็นหลักการหาจะไปพร้อมกับไฟฉายหรือโคมไฟแบตเตอรี่บางคนก็ยังใช้เทคโนโลยีพื้นบ้านคือใช้การ“ กระบอง “เมื่อพบก็เขย่าต้นกุงให้ตัวจักจั่นหล่นลงมา ชาวบ้านอธิบายว่า ตอนกลางคืนจักจั้นจะมองไม่เห็นและไม่สามารถบินได้ เมื่อตัวหล่นลงมาจึงใช้มือเปล่าตะครุบได้อย่างง่ายดาย นอกจากสังเกตจากต้นกุงแล้ว ชาวบ้านยังสังเกตจากต้นไม้อื่นๆ อีกโดยชาวบ้านไปยืนอยู่ใต้ต้นไม้ถ้าต้นใดมีจักจั่นก็จะมีละอองน้ำมาก ก็แสดงว่ามีจักจั่นอยู่มาก ก็ลงมือเขย่าต้นไม้ หรือใช้ไม้ตีตามกิ่งเพื่อให้ต้นตัวจักจั่นล่วงลงพื้น และเก็บด้วยมือเปล่า

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร