วิทยาศาสตร์ต้องมีทักษะในการแสวงหาความรู้กี่ทักษะ

จากการไปงานประชุมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในโรงเรียนครั้งที่ 20 (วทร.20) ณ ม.ราชภัฏเชียงราย สสวท.จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยสืบ ซึ่งเกี่ยวกับการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ และ 13 ทักษะ

1. ทักษะกระบวนการพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้น (basic science process skill)

  1. การสังเกต (observation)
  2. การวัด (measurement)
  3. การคำนวณ (using numbers)
  4. การจำแนกประเภท (classification)
  5. การหาความสัมพันธุ์ระหว่างเวลาและสถานที่ (space and time)
  6. การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (organizing data and communication)
  7. การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (inferring)
  8. การพยากรณ์ (prediction)

2. ทักษะกระบวนการขั้นบูรณาการ หรือทักษะเชิงซ้อน (integrated science process skill)

  1. การตั้งสมมติฐาน (formulating hypothesis)
  2. การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (defining the operation)
  3. การกำหนดและควบคุมตัวแปร (identifying and controlling variables)
  4. การออกแบบและดำเนินการทดลอง (experimentation)
  5. การตีความหมายข้อมูล และการลงข้อสรุป (interpreting data and conclusion)

อ้างอิง:

  • วิทยาศาสตร์ช่วยสืบ (เอกสารประกอบกิจกรรมของสสวท. ระหว่างงานประชุมวทร. 20)
  • ภาพบรรยากาศงาน วทร. 20
  • สมาคมเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งอเมริกา (American Association for the Advancement of Science; AAAS)

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related

กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

           กระบวนการวิทยาศาสตร์  (Process  of  Science)  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนใช้ค้นคว้า

หาองค์ความรู้ (body  of  knowledge)   ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะสำคัญ

ประการหนึ่งของกระบวนการวิทยาศาสตร์ ที่ต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักเห็น

ความสำคัญ และมีความชำนาญเพื่อสามารถค้นหาความรู้ด้วยตนเองได้  การแสวงหาความรู้ ความเข้า

ใจธรรมชาติของมนุษย์นั้น จะเกิดจากการสังเกตธรรมชาติและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแล้วรวบรวม

ข้อมูลผ่านทางประสาทสัมผัส นำข้อมูลที่ได้ไปจัดจำแนกและคิดพิจารณาเหตุและผล เกิดเป็นความคิด

และความเชื่อ นำความคิดความเชื่อไปปฏิบัติก่อให้เกิดการสังเกต การรวบรวมข้อมูล และ การคิดเป็น

วัฏจักรอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ

           วิธีการคิดทางวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดลำดับขั้นตอนในการกระทำ

ต่อเนื่อง จนได้ความรู้ออกมาที่ระดับหนึ่ง จึงรวมเรียกวิธีการคิด และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ว่า

“กระบวนการทางวิทยาศาสตร์” จัดเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

           การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีพื้นฐานมาจากความคิดและความเชื่อทางปรัชญา

ความคิด ความเชื่อ และปัญหาทางปรัชญาต่าง ๆ ที่สืบทอดกันมายังไม่ได้รับการทดลอง ทดสอบ

แก้ปัญหา ยังไม่มีการยืนยันว่าเป็นข้อเท็จจริงตลอดทั้งความขัดแย้งระหว่างความคิดเก่ากับหลักฐานที่

พบใหม่ต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นแหล่งสร้างความสนใจ และสร้างปัญหาขึ้นในจิตใจของผู้ใฝ่หาข้อเท็จจริง

ในธรรมชาติ ผลงานของผู้สนใจเหล่านี้ได้ค่อย ๆ เปลี่ยนลักษณะความคิด ความเชื่อ ที่ลึกลับซับซ้อน

เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนทั้งหลาย มาเป็นระบบความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากความคิด ความเชื่อ และ

ปัญหาทางปรัชญาของคนรุ่นก่อน ๆ

           องค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ ทักษะ

กระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์  จะต้องมีและใช้ในแต่ละขั้นตอนของการแสวงหาความรู้ทางวิทยา

ศาสตร์  เช่น ขั้นตอนการสังเกต  การรวบรวมข้อมูลจะต้องมีทักษะในกระบวนการสังเกต การวัดและ

การเรียบเรียงรวบรวมข้อมูล เป็นต้น ลักษณะที่ถือว่าเป็นหัวใจของการแสวงหาความรู้ ทางวิทยา

ศาสตร์อีกประการหนึ่ง คือ นักวิทยาศาสตร์เชื่อถือในผลของการสังเกตและการทดลอง การสังเกต

หมายถึงการพิจารณาปรากฏการณ์ที่ศึกษาอย่างใกล้ชิด ละเอียดชัดเจน โดยการวัด และรวบรวมข้อมูล

ส่วนการทดลองนั้นควบคู่มากับการสังเกต เพราะการทดลองในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้เกิดปรากฏการณ์อันเป็นแนวทาง

เปิดเผยให้ทราบว่า อะไรเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงในปรากฏการณ์นั้น หรืออีกนัยหนึ่ง การ

ทดลองเป็นวิธีการถามปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติที่ค่อนข้างจะกะทัดรัดวิธีหนึ่ง

           จากลักษณะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ ว่าองค์ประกอบ

ที่เป็นชนวนของการแสวงหาความรู้ คือ ความอยากรู้อยากเห็น ความไม่เชื่อถือ ยึดมั่น และพอใจใน

ความรู้เดิม มีใจกว้างพร้อมที่จะยอมรับ แนวคิดใหม่จากผลการสังเกต การทดลอง และข้อมูลใหม่ๆ

เสมอ ความมีอิสรเสรีภาพทางความคิด การสนใจในเหตุการณ์  และการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ นั่นคือ

องค์ประกอบทาง “เจตคติทางวิทยาศาสตร์” เมื่อเริ่มต้นได้แล้วการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

ก็จะดำเนินต่อไป โดยการสร้างกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (การสังเกต  การวัด

การรวบรวมข้อมูล การจำแนกประเภท ฯลฯ) กระบวนการแสวงหาความรู้เป็นวิถีทางของการคิดที่

สากลสำหรับวิทยาศาสตร์จะแตกต่างกันก็เฉพาะการเริ่มต้นและขั้นตอนในรายละเอียดเท่านั้นและ

อยู่ในขอบเขตที่เรียกได้ว่าเป็น “วิธีการทางวิทยาศาสตร์” เช่นเดียวกัน

           กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยลำดับขั้นตอนการ

ดำเนินงานรวมทั้งความมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของผู้ศึกษาค้นคว้า จึงจะทำให้ประสบความสำเร็จ

           กระบวนการในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย

                1)  วิธีการทางวิทยาศาสตร์

                2)  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ต้องมีทักษะในการแสวงหาความรู้กี่ทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีกี่ข้อ

1. ทักษะกระบวนการขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะการสังเกต 2) ทักษะการวัด 3) ทักษะการ จาแนกประเภท 4) ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และ สเปสกับเวลา 5) ทักษะการคานวณหรือ ใช้ตัวเลข 6) ทักษะการจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล 7) ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล และ 8) ทักษะการ พยากรณ์

ทักษะขั้นบูรณาการ 5 ทักษะที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ประกอบด้วยทักษะใด

2. ทักษะขั้นสูงหรือทักษะขั้นผสม 5 ทักษะ ได้แก่ 2.1 ทักษะการตั้งสมมุติฐาน ( Formulating Hypthesis ) 2.2 ทักษะการควบคุมตัวแปร ( Controlling Variables ) 2.3 ทักษะการตีความและลงข้อสรุป ( Interpreting data ) 2.4 ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ( Defining Operationally )

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีกี่ทักษะ * 1 คะแนน

1.6.1 ทักษะกระบวนทางการวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดจากการคิดและ ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์จนเกิดความช านาญและความคล่องแคล่วในการใช้เพื่อแสวงหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ตลอดจนวิธีการเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย 13 ทักษะ แบ่งเป็นทักษะขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ และ ทักษะขั้นสูง 5 ทักษะ ดังนี้ 1.6.1.1 ทักษะ ...

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ใดที่ต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

1.ทักษะการสังเกต เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างใด อย่างหนึ่งหรือ ใช้หลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เพื่อค้นหาและบอกรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ที่สังเกต โดยที่ไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป