หนังสือรับรองผู้ประสบภัย ผู้ใหญ่บ้าน

องค์การบริหารส่วนตำบล ลำโพ ใช้คุ้กกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้

หนังสือรับรองผู้ประสบภัย ผู้ใหญ่บ้าน
หนังสือรับรองผู้ประสบภัย ผู้ใหญ่บ้าน


แบบคำขอหนังสือรับรองกรณีผู้ประสบภัย

ข่าว ณ. วันที่ 22 พ.ย. 2554 เวลา 10.58 น. โดย คุณ ธนาศักดิ์ คนทน

ผู้เข้าชม 18224 ท่าน

แผนผังเว็บไซต์Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10

1.เลือกปืนที่ คลังจ่ายปืน สน.อส.หรือดูในเพจ ข้อมูลปืนสวัสดิการ สน.อส.ก็ได้ โดยดูว่าปืนรุ่นที่ต้องการ เป็นปืนสวัสดิการ สน.อส. (ขอเอกสารป. 3 มาผิดโครงการ ซื้อปืนกลับไปไม่ได้ครับ)

2.ทำเรื่องขอหนังสือเข้าร่วมโครงการฯที่ สน.อส. โดยเอกสารที่้ต้องใช้คือ

-สำเนาบัตรข้าราชการ

-สำเนาทะเบียนบ้าน

-ค่าธรรมเนียม 100 สำหรับหนังสือร่วมโครงการ ปืนสวัสดิการสน.อส.

3.ขอหนังสือรับรองความประพฤติจากผู้บังคับบัญชา

4.ไปยืนเรื่องขอใบอนุญาตแบบ ป.๓ โดยระบุว่าซื้อจาก “สวัสดิการกรมการปกครอง สน.อส.” ที่อำเภอท้องที่ตามทะเบียนบ้าน เอกสารที่ใช้มี

-หนังสือเข้าร่วมโครงการ สน.อส.

-หนังสือรับรองความประพฤติฯ

-สำเนาบัตรข้าราชการ

-สำเนาทะเบียนบ้าน

หมายเหตุ 1 กรณีที่ไม่ได้มาทำเรื่องขอหนังสือเข้าร่วมโครงการด้วยตัวเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ แนบมาด้วย

5 เมื่อได้ ป.๓ แล้ว เดินทางมารับปืนที่ สน.อส.เอกสารที่ใช้

-ใบอนุญาตแบบ ป.๓

-สำเนาบัตรข้าราชการ 2 ชุด

-สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ชุด

-ยอดเงินตามราคาปืนที่ซื้อ (ดูราคาปืนคลิก ชำระด้วยการซื้อแคชเชียร์เช็คเท่านั้น)

แคชเชียร์เช็ค สั่งจ่าย “สน.อส.โครงการจัดหาอาวุธปืน ปค.ระยะที่ 3”

เเคชเชียร์เช็ค ซื้อได้ที่ธนาคาร ทุกธนาคาร แต่แนะนำให้มาซื้อแถวๆ หน้าอส. เผื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในกรณีใดๆ ก็ตาม จะแก้ไขได้ง่ายกว่า เพราะแคชเชียร์เช็คเปลี่ยนแปลงได้จาก ธ. สาขาที่ซื้อเท่านั้น

หมายเหตุ 2 สำหรับปืน สน.อส. ถ้าได้ป.3 แล้วไม่ต้องใช้เอกสารหนังสือร่วมโครงการอีกแล้ว 

หมายเหตุ 3 กรณีที่ไม่ได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง การรับปืนต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่อำเภอรับรอง พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจที่ชัดเจนแนบมาด้วยครับ

หมายเหตุ 4 การตรวจสอบของสน.อส. ถือเป็นสิทธิขาดในการพิจารณา ว่าเอกสารประกอบการรับปืนครบถ้วนสมบูรณ์ ชัดเจนเพียงพอหรือไม่

6.เมื่อรับปืน และตรวจสอบความถูกต้อง ของเลขปืน และเลขทะเบียนปืน แล้วให้นำปืนพร้อมเอกสารที่เซ็นสลักหลังจาก สน.อส.ไปตรวจที่ วังไชยา กรมการปกครอง(ขั้นตอนนี้ สามารถจ้างตัดโอนได้ เสีย 500บาท แล้วแต่สมัครใจ แต่แนะนำให้จ้าง)

7.เมื่อตรวจสอบความถูกต้องปืน และเอกสารทุกอย่างเรียบร้อย สามารถนำพาปืนกลับบ้านได้ รออีกประมาณสามเดือนจะมีเอกสารจากกรมการปกครองส่งไปแจ้งที่อยู่ตามทะเบียนบ้านให้นำปืนไปตรวจที่อำเภอเพื่อออก ป.๔ เป็นอันเสร็จขั้นตอนครับ

หนังสือรับรองผู้ประสบภัย ผู้ใหญ่บ้าน

ขั้นตอนการซื้อปืนสวัสดิการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)

1.มาเลือกปืนที่ คลังจ่ายปืน สน.อส.หรือดูในเพจ ข้อมูลปืนสวัสดิการ สน.อส.ก็ได้ โดยดูว่าปืนรุ่นที่ต้องการ เป็นปืนสวัสดิการ สตช. (ขอเอกสารป. 3 มาผิดโครงการ ซื้อปืนกลับไปไม่ได้ครับ)

2.ทำเรื่องขอหนังสือเข้าร่วมโครงการสตช. ที่ สน.อส. ผ่านบริษัทเอกภัทรเท่านั้น ซึ่งเอกสารที่้ต้องใช้คือ

– สำเนาบัตรข้าราชการ

– สำเนาทะเบียนบ้าน

– กรอกเอกสารใบจอง ระบุรุ่น และขนาดปืนที่ต้องการ (มีค่าใช้่จ่าย 100 บาท เพื่อจัดส่งเอกสารกลับให้ แต่ไม่มีการวางเงินจองค่าปืน)

หมายเหตุ 5  การพิจารณาออกหนังสือร่วมโครงการ และอนุญาตให้ซื้อปืนในโครงการสวัสดิการ สตช. เป็นสิทธิเด็ดขาด โดยกองพลาธิการและสรรพาวุธกรมตำรวจ สน.อส. ไม่มีสิทธิพิจารณาแต่อย่างใด 

หมายเหตุ 6 กรณีที่ไม่ได้มาทำเรื่องขอหนังสือเข้าร่วมโครงการด้วยตัวเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่อำเภอรับรอง พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ แนบมาด้วย

3.ขอหนังสือรับรองความประพฤติจากผู้บังคับบัญชา

4.ไปยืนเรื่องขอใบอนุญาตแบบ ป.๓ โดยระบุว่าซื้อจาก “สวัสดิการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)” ที่อำเภอท้องที่ตามทะเบียนบ้าน เอกสารที่ใช้มี

– หนังสือเข้าร่วมโครงการ สตช.

– หนังสือรับรองความประพฤติฯ

– สำเนาบัตรข้าราชการ

– สำเนาทะเบียนบ้าน

5 เมื่อได้ ป.๓ แล้ว เดินทางมารับปืนที่ สน.อส. โดยข้าราชการ และผู้มีสิทธิตามโครงการ ต้องทำเอกสารหนังสือรับรองคุณสมบัติ จาก สน.อส. มีค่าธรรมเนียม 300 บาท ยกเว้นข้าราชการตำรวจเท่านั้น ที่ไม่ต้องทำหนังสือรับรองคุณสมบัติ ส่วนเอกสารที่ใช้สำหรับการรับปืนได้แก่

-ใบอนุญาตแบบ ป.๓

– สำเนาบัตรข้าราชการ 2 ชุด

– สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ชุด

– หนังสือรับรองคุณสมบัติ (ถ้าเป็นข้าราชการตำรวจ หนังสือรับรองคุณสมบัติ ไม่ต้องใช้)

– ยอดเงินตามราคาปืนที่ซื้อ (มีแจ้งในเพจ, มีแจ้งในภาพ ชำระด้วยเงินสดเท่านั้น)

หมายเหตุ 7 กรณีที่ไม่ได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง การรับปืนต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่อำเภอรับรอง พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจที่ชัดเจน แนบมาด้วยครับ

หมายเหตุ 8 การตรวจสอบของสน.อส. ถือเป็นสิทธิขาดในการพิจารณา ว่าเอกสารประกอบการรับปืนครบถ้วนสมบูรณ์ ชัดเจนเพียงพอหรือไม่

หมายเหตุ 9 ปืน สตช. ข้าราชการตำรวจเท่านั้นที่ไม่ต้องใช้หนังสือรับรองคุณสมบัติในการรับปืน นอกนั้นต้องใช้หนังสือรับรองคุณสมบัติทุกกรณีในการรับปืน

6.เมื่อรับปืน และตรวจสอบความถูกต้อง ของเลขปืน และเลขทะเบียนปืน แล้วให้นำปืนพร้อมเอกสารที่เซ็นสลักหลังจาก สน.อส.ไปตรวจที่ วังไชยา กรมการปกครอง(ขั้นตอนนี้ สามารถจ้างตัดโอนได้ เสีย 500บาท แล้วแต่สมัครใจ แต่แนะนำให้จ้าง)

7.เมื่อตรวจสอบความถูกต้องปืน และเอกสารทุกอย่างเรียบร้อย สามารถนำพาปืนกลับบ้านได้ รออีกประมาณสามเดือนจะมีเอกสารจากกรมการปกครองส่งไปแจ้งที่อยู่ตามทะเบียนบ้านให้นำปืนไปตรวจที่อำเภอเพื่อออก ป.๔ เป็นอันเสร็จขั้นตอนครับ

หนังสือรับรองผู้ประสบภัย ผู้ใหญ่บ้าน

คำถามที่พบเจอบ่อย

ถาม : อาชีพใดบ้างที่มีสิทธิซื้อปืนสวัสดิการ สน. อส.

ตอบ : ผู้มีสิทธิสั่งซื้ออาวุธปืน ได้แก่ ข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล  สารวัตรกำนัน  สมาชิก อส. ผู้บริหาร/สมาชิกสภาและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  รวมทั้งข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงมหาดไทย และส่วนราชการที่กรมการปกครองอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว ได้แก่ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม และผู้พิพากษา สำนักงานอัยการสูงสุด  องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร สนง.ตรวจคนเข้าเมือง กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ สนง.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน  สนง.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ  ศาลรัฐธรรมนูญ  ศาลปกครอง  ผู้พิพากษา กองบัญชาการกองทัพไทย  กองทัพบก  กองทัพเรือ  กองทัพอากาศ สนง.ปลัดกระทรวงกลาโหม  สนง.ตำรวจแห่งชาติ  กระทรวงสาธารณสุข  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงคมนาคม  กรมทางหลวง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวัฒนธรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม  กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  สำนักเลขาธิการวุฒิสภา  กรมประชาสัมพันธ์  หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ   และหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตเข้าร่วมโครงการ

ถาม : แล้วอาชีพใดบ้างมีสิทธิซื้อปืน สตช.

ตอบ : ข้าราชการ, รัฐวิสาหกิจ, อบต., ทหารพรานอาสา, เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ, ,ลูกจ้างรัฐบาลที่ต่ออายุงานราย 4 ปี และรับเงินเดือนหลวง(ที่มีบัตรข้าราชการ), ได้รับสิทธิครับ

ถาม : ปืน สน.อส และปืน สตช. โอนได้มั้ย

ตอบ : ครบอายุ 5 ปีแล้ว โอนได้ครับ

ถาม : ทำไมซื้ออาวุธปืนสวัสดิการแล้ว ยังไม่ได้ใบสลักหลังตัดโอน ป.3

ตอบ: ข้อมูลจากการปฏิบัติงานของศูนย์บริการประชาชนที่ผ่านมาพบว่า การสลักหลังตัดโอนใบ ป.3 ของผู้ซื้ออาวุธปืนจากโครงการสวัสดิการต่างๆ จะเกิดปัญหาหลายประการ เช่น

1. ศูนย์บริการประชาชนไม่ได้รับเอกสารหลักฐาน (พบประมาณ 90 %)อันเนื่องจาก

1.1 ผู้ซื้ออาจมอบหมายให้ผู้อื่นนำเอกสารหลักฐานมายื่นที่ศูนย์บริการประชาชน แต่ผู้รับมอบหมายไม่ได้นำเอกสารหลักฐานมายื่นที่ศูนย์บริการประชาชนหรือนำมายื่นล่าช้า (พบประมาณ 85%)กรณีนี้พบได้บ่อยที่สุด โดยเมื่อผู้ซื้อได้ซื้ออาวุธปืนเสร็จแล้ว ได้มอบหมายให้บุคคลอื่นมายื่นเอกสารหลักฐานที่ศูนย์บริการประชาชนแทน แต่บุคคลผู้รับมอบหมายนั้นไม่นำเอกสารหลักฐานดังกล่าวมายื่นที่ศูนย์บริการประชาชนโดยเร็ว บางรายนำเอกสารมายื่นที่ศูนย์บริการประชาชนหลังจากที่ผู้ซื้อได้ซื้ออาวุธปืนแล้วหลายเดือน จนบางครั้งใบ ป.3 ขาดอายุ แต่ยิ่งไปกว่านั้นมีจำนวนมากที่ผู้รับมอบหมายทำเอกสารหลักฐานสูญหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี พ.ศ.2554 ซึ่งมีเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ และในช่วงปี พ.ศ.2556-2557 ในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง พบว่ามีเอกสารสูญหายเป็นจำนวนมาก

1.2 ผู้ซื้อได้ซื้ออาวุธปืนไปแล้ว แต่ไม่นำเอกสารมายื่นที่ศูนย์บริการประชาชน (พบประมาณ 5%)ส่วนใหญ่เนื่องจากผู้ซื้ออาวุธปืนเข้าใจว่า เมื่อเจ้าหน้าที่โครงการปืนสวัสดิการลงนามจ่ายอาวุธปืนแล้ว กระบวนการทางด้านเอกสารถือว่าแล้วเสร็จ จึงนำอาวุธปืนและเอกสารการจ่ายปืนกลับไปด้วย และไม่ได้ทำอะไรอีกเลย

2. ศูนย์บริการประชาชนดำเนินการเสร็จแล้ว และจัดส่งเอกสารการสลักหลังตัดโอนใบ ป.3 ไปให้อำเภอที่เป็นภูมิลำเนาของท่านแล้ว แต่เอกสารสูญหายที่ปลายทางหรือระหว่างทาง (พบประมาณ 10 %)

การจัดส่งเอกสารการสลักหลังตัดโอนใบ ป.3 ไปยังอำเภอต่าง ๆ จะจัดส่งทางจดหมายลงทะเบียน หรือจดหมายด่วนพิเศษ (EMS) ซึ่งจะสามารถตรวจสอบจากรหัสการส่งได้ภายใน 6 เดือน (เนื่องจากบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด จะเก็บข้อมูลให้ตรวจสอบทาง Internet เพียง 6 เดือน เท่านั้น) ซึ่งการตรวจสอบดังกล่าวจะทำให้ทราบว่า มีผู้ใดรับเอกสารไปแล้วเมื่อใด

ถาม : หากซื้ออาวุธปืนสวัสดิการแล้ว มายื่นสลักหลังตัดโอนด้วยตนเองใบ ป.3 ด้วยตนเอง จะยุ่งยากหรือไม่

ตอบ: ขั้นตอนไม่ยุ่งยากใด ๆ ปกติศูนย์บริการประชาชนจะดำเนินการพิจารณาเอกสารหลักฐานไม่เกิน 30 วัน  โดยการดำเนินการออกเอกสารสลักหลังตัดโอนจะมีการตรวจสอบความครบถ้วนและถูกต้องของเอกสาร เช่น  การลงนามรับรองในเอกสาร การระบุรายการจ่ายอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่โครงการปืนสวัสดิการ และการรับรองของเจ้าหน้าที่โครงการปืนสวัสดิการ เป็นต้น  ซึ่งหากเกิดเหตุที่ไม่ครบถ้วนใด ๆ ศูนย์บริการประชาชนจะแจ้งให้ท่านทราบก่อนทุกกรณี

ถาม: หากยังไม่ได้รับเอกสารการสลักหลังตัดโอนใบ ป.3 จะต้องดำเนินการอย่างไร

ตอบ: หากท่านที่ซื้ออาวุธปืนและได้ยื่นคำขอที่ศูนย์บริการประชาชนไปแล้ว 30 วัน ยังไม่ได้รับไปรษณียบัตรแจ้งว่าศูนย์บริการประชาชนได้พิจารณาคำขอของท่านแล้วเสร็จ หรือหากท่านประสบปัญหาไม่ได้รับเอกสารการสลักหลังตัดโอนใบ ป.3 เกินกว่า
30 วัน นับจากวันยื่นคำขอ ให้ท่านสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์บริการประชาชน (ฝ่ายบริการภูมิภาค) โทร 02-356-9687 ,
02-356-9514 โดยให้แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล เครื่องหมายทะเบียนปืน และเลขหมายประจำปืน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ หากตรวจสอบพบว่า

1. อยู่ระหว่างการดำเนินการของศูนย์บริการประชาชน จะเร่งดำเนินการสลักหลังตัดโอนให้แล้วเสร็จโดยเร็วตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคู่มือสำหรับประชาชน

2. ศูนย์บริการประชาชนดำเนินการเสร็จแล้ว และจัดส่งเอกสารการตัดโอนไปให้อำเภออันเป็นภูมิลำเนาของท่านแล้ว แต่เอกสารสูญหาย ให้ท่านแจ้งความที่สถานีตำรวจเพื่อให้บันทึกประจำวันว่าเอกสารการสลักหลังตัดโอนใบ ป.3 สูญหาย จากนั้นให้ไปยื่นคำขอที่อำเภออันเป็นภูมิลำเนาขอให้ทำหนังสือถึงศูนย์บริการประชาชนเพื่อขอคัดสำเนาหลักฐานการสลักหลังตัดโอน หรือท่านอาจมายื่นคำขอคัดสำเนาเอกสารการสลักหลังตัดโอนที่ศูนย์บริการประชาชนด้วยตนเองก็ได้ โดยใช้เอกสารประกอบคำขอ ดังนี้

2.1 สำเนาบันทึกประจำวันว่าเอกสารการสลักหลังตัดโอนใบ ป.3 สูญหาย

2.2 สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 1 ฉบับ

2.3 สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ

2.4 ข้อมูลอาวุธปืน อย่างน้อยต้องทราบเครื่องหมายทะเบียน และเลขหมายประจำปืน (ดูได้ที่ตัวอาวุธปืน)

3. ท่านยังไม่ได้นำเอกสารหลักฐานมายื่นที่ศูนย์บริการประชาชน ไม่ว่าจะด้วยเหตุท่านไม่ได้นำมายื่นเองหรือผู้รับมอบหมายไม่ได้นำมายื่นที่ศูนย์บริการประชาชน ก็ให้นำเอกสารหลักฐานและอาวุธปืนมายื่นที่ศูนย์บริการประชาชนเพื่อขอสลักหลังตัดโอนใบ ป.3 แต่หากเอกสารหลักฐานดังกล่าวสูญหาย ให้ท่านดำเนินการ ดังนี้

3.1 แจ้งความที่สถานีตำรวจเพื่อให้บันทึกประจำวันว่าเอกสารการสลักหลังตัดโอนใบ ป.3 สูญหาย

3.2 ขอคัดสำเนาต้นขั้วใบ ป.3 ที่อำเภอ และให้นายทะเบียนท้องที่ (นายอำเภอ) ลงนามรับรองเอกสาร จำนวน 2 ฉบับ หรือยื่นคำขอเพื่อออกใบ ป.3 ฉบับใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการขอคัดสำเนาขั้วใบ ป.3 หรือการออก ใบ ป.3 ใหม่ หรือการดำเนินการใด ๆ นอกจากที่กล่าวนี้ นายทะเบียนท้องที่อาจใช้ดุลยพินิจพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมาย

3.3 นำเอกสารต่อไปนี้ มายื่นที่ศูนย์บริการประชาชน เพื่อขอสลักหลังตัดโอน

(1) สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ  จำนวน 1 ฉบับ

(2) สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ

(3) สำเนาต้นขั้วใบ ป.3 ที่นายทะเบียนท้องที่ (นายอำเภอ) ลงนามรับรองเอกสาร จำนวน 2 ฉบับ หรือใบ ป.3 ฉบับใหม่  จำนวน 2 ตอน

(4) อาวุธปืน

(5) สำเนาใบ ป.3 เดิม ทั้งด้านหน้าและด้านหลังที่มีการบันทึกรายละเอียดการจ่ายปืน(ถ้ามี) และนำไปให้เจ้าหน้าที่โครงการปืนสวัสดิการลงนามรับรอง

(6) หากไม่มีเอกสารตาม (5) นำเอกสารหลักฐานตามข้อ (1) – (4) ไปให้เจ้าหน้าที่โครงการปืนสวัสดิการบันทึกรายละเอียดการจ่ายปืนก่อน