เฉลย ใบงานที่ 8.2 เงินเฟ้อ เงินฝืด

นโยบายการเงิน กรคลังกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ


เศรษฐศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม

                                                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6                                               เวลาเรียน  8  ชั่วโมง

  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

         ส 3.2      ม.6     อธิบายบทบาทของรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการเงิน การคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ                                

   สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

                รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยการใช้นโยบายการเงิน การคลัง ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รักษาดุลการค้าระหว่างประเทศ แทรกแซงราคา ควบคุมราคา และสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ

Ž   สาระการเรียนรู้

3.1  สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                  1) นโยบายการเงิน การคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

                   2)  บทบาทนโยบายการเงิน และการคลังของรัฐบาลในด้าน

                                -     การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

                                -      การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

                                -      การรักษาดุลการค้าระหว่างประเทศ

                                -      การแทรกแซงราคาและการควบคุมราคา

                   3)  รายรับและรายจ่ายของรัฐที่มีผลต่องบประมาณ หนี้สาธารณะ การพัฒนาทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน

                                -      นโยบายการเก็บภาษีประเภทต่างๆ และการใช้จ่ายของรัฐ

                                -      แนวทางการแก้ปัญหาการว่างงาน

                   4)  ความหมาย สาเหตุ และผลกระทบที่เกิดจากภาวะทางเศรษฐกิจ  เช่น เงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน

                   5)  ตัวชี้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น GDP , GNP   รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล

                   6) แนวทางการแก้ไขปัญหาของนโยบายการเงิน การคลัง

         3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                        -

   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

          4.1 ความสามารถในการคิด                                       

                        -   ทักษะการคิดวิเคราะห์

                        -    ทักษะการคิดสังเคราะห์        

           4.2 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต                                 

                        -    ทำงานกลุ่ม

   คุณลักษณะอันพึงประสงค์                                                                   

            1.  มีวินัย

            2.   ใฝ่เรียนรู้                                                                                   

            3.   มีความรับผิดชอบ

   ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

            บันทึกการวิเคราะห์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงิน การคลังของรัฐบาลปัจจุบัน   

   การวัดและการประเมินผล

    7.1  การประเมินก่อนเรียน

                   -     แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่  5 

           7.2  การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

                        1)        ใบงานที่ 1.1 เรื่อง  หน้าที่ของเงิน 

                        2)        ใบงานที่ 1.2 เรื่อง  ภาวะการเงิน

                        3)        ใบงานที่ 1.3 เรื่อง  ประเภทของสถาบันการเงิน 

                        4)        ใบงานที่ 2.1 เรื่อง  รู้ทันสถานการณ์เศรษฐกิจ

                        5)        ประเมินการนำเสนอผลงาน

                        6)        สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล

                        7)        สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

            7.3    การประเมินหลังเรียน

                        - แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่  5 

            7.4    การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

                        - ประเมินบันทึกการวิเคราะห์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงิน การคลังของรัฐบาลปัจจุบัน     

แบบประเมินบันทึกการวิเคราะห์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงิน การคลังของรัฐบาลปัจจุบัน      

รายการ

ประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ/ระดับคะแนน

ดีมาก (4)

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

1.การอธิบาย

ลักษณะสำคัญ

ของนโยบาย

การเงินและ

การคลังของ

รัฐบาล

อธิบายลักษณะ

สำคัญของ

นโยบายการเงิน

และการคลังของ

รัฐบาลจากข่าว

ได้ถูกต้องครบ

ถ้วนและชัดเจน

อธิบายลักษณะ

สำคัญของ

นโยบายการเงิน

และการคลังของ

รัฐบาลจากข่าว

ได้ถูกต้องครบ

ถ้วน

อธิบายลักษณะ

สำคัญของ

นโยบายการเงิน

และการคลังของ

รัฐบาลจากข่าว

ได้ถูกต้อง

เป็นส่วนใหญ่

อธิบายลักษณะ

สำคัญของ

นโยบายการเงิน

และการคลังของ

รัฐบาลจากข่าว

ได้ถูกต้อง

เพียงบางส่วน

2. การวิเคราะห์

บทบาทของ

รัฐบาลในการ

กำหนด

นโยบายการ

เงิน

และการคลังใน

การพัฒนา

เศรษฐกิจ

ของประเทศ

วิเคราะห์บทบาท

ของรัฐบาลใน

การกำหนด

นโยบายการเงิน

และการคลังใน

การพัฒนา  

ศรษฐกิจของ

ประเทศจากข่าว

ได้ถูกต้อง  

ครบทุกประเด็น

และเข้าใจง่าย

วิเคราะห์บทบาท

ของรัฐบาลใน

การกำหนด

นโยบายการเงิน

และการคลังใน

การพัฒนา

เศรษฐกิจของ

ประเทศจากข่าว

ได้ถูกต้อง

ครบทุกประเด็น

วิเคราะห์บทบาท

ของรัฐบายการ

เงินและการคลัง

ในการพัฒนา

เศรษฐกิจของ

ประเทศจากข่าว

ได้ถูกต้อง

เป็นส่วนใหญ่

วิเคราะห์บทบาท

ของรัฐบาลใน

การกำหนด

นโยบายการเงิน

และการคลังใน

การพัฒนา

เศรษฐกิจของ

ประเทศจากข่าว

ได้ถูกต้อง

เพียงบาง

ประเด็น

3.การวิเคราะห์

 ผลประโยชน์ที่

คาดว่าจะได้รับ

จากกากำหนด

นโยบายการ

เงินและการ

คลังใน

การพัฒนา

เศรษฐกิจ

ของประเทศ

วิเคราะห์ผล

ประโยชน์ที่คาด

ว่าจะได้รับจาก

การกำหนด

นโยบายการเงิน 

และการคลังใน

การพัฒนา

เศรษฐกิจของ

ประเทศจากข่าว

ได้ถูกต้องและ

บอกเหตุผล

ประกอบได้

เหมาะสม        

และน่าเชื่อถือ

วิเคราะห์ผล

ประโยชน์ที่คาด

ว่าจะได้รับจาก

การกำหนด

นโยบายการเงิน 

และการคลังใน

การพัฒนา

เศรษฐกิจของ

ประเทศจากข่าว

ได้ถูกต้อง

เป็นส่วนใหญ่

และบอกเหตุผล

ประกอบได้

เหมาะสมและน่า

เชื่อถือ

วิเคราะห์ผล

ประโยชน์ที่คาด

ว่าจะได้รับจาก

การกำหนด

นโยบายการเงิน 

และการคลังใน

การพัฒนา

เศรษฐกิจของ

ประเทศจากข่าว

ได้ถูกต้องเป็น

ส่วนใหญ่และ

เหตุผล

ประกอบได้

เหมาะสม

วิเคราะห์ผล

ประโยชน์ที่คาด

ว่าจะได้รับจาก

การกำหนด

นโยบายการเงิน 

และการคลังใน

การพัฒนา

เศรษฐกิจของ

ประเทศจากข่าว

ได้ถูกต้องเพียง

บางส่วนแต่บอก

เหตุผลประกอบ

ไม่ได้

รายการประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ/ระดับคะแนน

ดีมาก (4)

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

4.การบันทึก

การวิเคราะห์

ข่าว

บันทึกผลการ

วิเคราะห์ข่าวได้

ถูกต้องครบถ้วน 

เป็นลำดับขั้น

ตอน  และอ่าน

เข้าใจง่าย

บันทึกผลการ

วิเคราะห์ข่าวได้

ถูกต้องเกือบครบ

ถ้วนและเป็นไป

ตามลำดับขั้น

ตอน  

บันทึกผลการ

วิเคราะห์ข่าวได้

ถูกต้องเป็นส่วน

ใหญ่

แต่อ่านเข้าใจ

ยาก

บันทึกผลการ

วิเคราะห์ข่าวได้

ถูกต้องเพียงบาง

ส่วน แต่ไม่เป็น

ไปตามลำดับขั้น

ตอน  และอ่าน

เข้าใจยาก

   กิจกรรมการเรียนรู้

Ÿนักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

กิจกรรมที่ 1

นโยบายการเงินในการพัฒนาเศรษฐกิจ

วิธีสอนโดยการระดมสมอง

เวลา  3  ชั่วโมง

1. ให้นักเรียนร่วมกันบอกสกุลเงินของประเทศต่างๆ ตามที่ครูกำหนดให้ถูกต้อง

            2. ครูคอยกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม แล้วให้นักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบ  แล้วครูอธิบายเพิ่ม                เติมเกี่ยวกับสกุลเงิน 

3.  ให้นักเรียนระดมสมอง โดยครูกำหนดแนวคำถาม    ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมายและความสำคัญของเงิน แล้วบันทึกไว้เป็นความคิดรวบยอด

             4. ให้นักเรียนศึกษาและทำความเข้าใจเรื่อง นโยบายการเงินในการพัฒนาเศรษฐกิจ จากหนังสือเรียน

             5.  ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง หน้าที่ของเงิน   และช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 1.1

             6.  ครูมอบหมายให้นักเรียนศึกษาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด  จากแหล่งการเรียนรู้

                    ที่หลากหลาย

7.  นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด  แล้วให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง ภาวะการเงิน  และช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 1.2

8.  ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ 

            9. ครูสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับรายชื่อของสถาบันการเงินที่สำคัญของไทยว่ามีอะไรบ้าง  แล้วให้

                    นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่าง  และบอกความแตกต่างของสถาบันการเงินนั้นคร่าวๆ

            10.  ครูตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้นักเรียนฝึกการระดมสมอง  และเป็นการทบทวนความรู้

             11. ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบันการเงิน   แล้วให้ตัวแทนนักเรียนรวบรวม ใบงานส่งครูตรวจ

12.  ให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง นโยบายการเงิน  จากหนังสือเรียน 

13.  ให้นักเรียนเปรียบเทียบนโนบายการเงินแบบเข้มงวดกับนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย 

14.  ครูเล่าเหตุการณ์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540  ที่เป็นช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยให้นักเรียนฟัง 

15.  ให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินของไทย   และผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ดำเนินนโยบายการเงินดังกล่าว

16.  ครูนำข่าวเกี่ยวกับสถาบันการเงิน  มาให้นักเรียนอ่าน  แล้ววิเคราะห์ตามหัวข้อที่กำหนด            

17.  ครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่า การออกพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย  เป็นการดำเนินการผ่านตลาดการเงิน  ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องมือของนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยที่สามารถดำเนินการได้

18. ให้นักเรียนพิจารณาแผนผังช่องทางอัตราดอกเบี้ย  ที่ครูนำมาแสดงหน้าชั้นเรียน  แล้วให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์และอธิบายช่องทางอัตราดอกเบี้ย 

กิจกรรมที่ 2

นโยบายการคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจ

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative Learning)

เวลา  3  ชั่วโมง

1.             ครูนำนโยบายการคลังของรัฐบาลในแต่ละรัฐบาล มาให้นักเรียนอ่าน และเปรียบเทียบกัน

2.             ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ  จากนั้นให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมาจับสลากประเด็นความรู้ที่ครูกำหนด  (แต่ละประเด็นอาจศึกษาซ้ำกันหลายกลุ่ม)

3.             ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนการสืบค้นความรู้ร่วมกัน  และแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบอย่างเหมาะสม

4.             ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มที่ศึกษาประเด็นเดียวกันมารวมกลุ่มกัน  เพื่อร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็น

5.             ให้นักเรียนสรุปประเด็นความรู้จากการอภิปรายและแสดงความคิดเห็น 

6.             ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มที่ศึกษาประเด็นความรู้เดียวกันคัดเลือกตัวแทนออกมาสรุปประเด็นความรู้  ตามลำดับ 

7.             ให้แต่ละกลุ่มตั้งประเด็นคำถามที่เป็นข้อสงสัยของกลุ่ม กลุ่มละ 2 คำถาม  เพื่อถามตัวแทนกลุ่มที่ออกมาสรุปประเด็นความรู้นั้นๆ 

8.             ให้นักเรียนทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง รู้ทันสถานการณ์เศรษฐกิจ  แล้วส่งครูตรวจสอบความถูกต้อง

กิจกรรมที่ 3

บทบาทของรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการเงิน และการคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจ

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคกลุ่มเรียนล้อมวง (CL)

เวลา  2  ชั่วโมง

1. ให้นักเรียนรวมกลุ่มเดิม แต่ละกลุ่มทำกิจกรรมกลุ่มเรียนล้อมวง โดยสมาชิกของแต่ละกลุ่มนั่งล้อมวงกัน แล้วหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันอ่านเรื่อง บทบาทของรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการเงิน และการคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจ จากหนังสือเรียน  แล้วสรุปสาระสำคัญเพื่อนำเสนอความรู้ ต่อสมาชิกกลุ่ม  

2. ครูสังเกตการสรุปสาระสำคัญในการนำเสนอความรู้ต่อสมาชิกกลุ่ม  เมื่อสมาชิกกลุ่มสรุปสาระสำคัญเสร็จแล้ว  ให้ครูกำหนดประเด็นในการวิเคราะห์ และอภิปรายให้ครอบคลุมทุกประเด็น

3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ และอภิปรายประเด็นที่ครูกำหนด  แล้วสรุปผลร่วมกัน

4. ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลการวิเคราะห์ และอภิปราย

5.  ครูสรุปความรู้ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นและอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนทราบว่า ในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจของประเทศของเรามีความเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจของโลกมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการโลกาภิวัตน์และนโยบายการเปิดเสรีทางการค้าและการเงิน

6.  ให้นักเรียนหาข่าวคนละ 1 ข่าว ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงิน การคลังของรัฐบาลปัจจุบัน  แล้วนำมาวิเคราะห์ในประเด็นที่กำหนด  จากนั้นเขียนบันทึกลงในแบบบันทึกการวิเคราะห์ข่าว 

นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

 สื่อ/แหล่งเรียนรู้

9.1 สื่อการเรียนรู้

1)   หนังสือเรียน  เศรษฐศาสตร์ ม.4-ม.6

2)    ตัวอย่างข่าวเกี่ยวกับสถาบันการเงิน 

3)    แผนผังช่องทางอัตราดอกเบี้ย

4)    ตัวอย่างนโยบายการคลังของรัฐบาลในแต่ละสมัย

5)    เอกสารความรู้เพิ่มเติม

6)    สลาก

7)   ใบงานที่ 1.1 เรื่อง  หน้าที่ของเงิน 

                   8)   ใบงานที่ 1.2 เรื่อง  ภาวะการเงิน

                   9)    ใบงานที่ 1.3 เรื่อง  ประเภทของสถาบันการเงิน 

                 10)  ใบงานที่ 2.1 เรื่อง  รู้ทันสถานการณ์เศรษฐกิจ

9.2  แหล่งการเรียนรู้

1)   ห้องสมุด

2)   สื่อการเรียนรู้ต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์  นิตยสาร  โทรทัศน์  วิทยุ

3)    แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

  http://www.geocities.com/econpages

                     http://www.bot.or.th   

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1

เศรษฐศาสตร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5  นโยบายการเงิน  การคลัง

กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ                    

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6

เรื่อง  นโยบายการเงินในการพัฒนาเศรษฐกิจ 

เวลา  3  ชั่วโมง

  สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

         ระบบเศรษฐกิจจะใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า   ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจะมีผลต่อระดับรายได้ ผลผลิต และการจ้างงาน 

   ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

         2.1 ตัวชี้วัด   

                   ส 3.2      ม.4-6/1      อธิบายบทบาทของรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการเงิน การคลังในการพัฒนา

  เศรษฐกิจของประเทศ

          2.2    จุดประสงค์การเรียนรู้

                    1)   บอกหน้าที่  ประเภท และความสำคัญของเงินในระบบเศรษฐกิจได้

                     2)   อธิบายปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจได้

                     3)   บอกหน้าที่ และความแตกต่างของสถาบันการเงินได้

                     4)   วิเคราะห์การนำนโยบายการเงินมาใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาเศรษฐกิจได้

Ž   สาระการเรียนรู้

         3.1  สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                    1)   นโยบายการเงิน การคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

                     2)   บทบาทนโยบายการเงิน และการคลังของรัฐบาลในด้าน

                                -      การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

                                -      การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

                                -      การรักษาดุลการค้าระหว่างประเทศ

                                -      การแทรกแซงราคาและการควบคุมราคา

                      3)  ความหมาย สาเหตุ และผลกระทบที่เกิดจากภาวะทางเศรษฐกิจ  เช่น เงินเฟ้อ อัตราการ

                                ว่างงาน

            3.2   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                        -

   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

            4.1  ความสามารถในการคิด                                       

                        -      ทักษะการคิดวิเคราะห์

                        -      ทักษะการคิดสังเคราะห์        

            4.2   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต                                 

                        -      กระบวนการทำงานกลุ่ม

   คุณลักษณะอันพึงประสงค์                                                                   

            1.   มีวินัย

            2.  ใฝ่เรียนรู้                                                                                   

            3.  มีความรับผิดชอบ

‘   กิจกรรมการเรียนรู้   (วิธีสอนโดยการระดมสมอง )

                 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 


ชั่วโมงที่1 

            1.  ให้นักเรียนร่วมกันบอกสกุลเงินของประเทศต่างๆ ตามที่ครูกำหนดให้ถูกต้อง เช่น

-      ประเทศสหรัฐอเมริกา

-      ประเทศอังกฤษ

-      ประเทศเวียดนาม

-      ประเทศสิงคโปร์

-      ประเทศจีน

-      ประเทศญี่ปุ่น

-      ประเทศเกาหลีใต้

            2.  ครูคอยกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม แล้วให้นักเรียนร่วมกันตรวจสอบความ

                    ถูกต้องของคำตอบ

            3.   ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนทราบว่า  สกุลเงิน คือ หน่วยที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนในรูปแบบของเงิน สกุลเงินจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศหรือกลุ่มประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนเงิน หรือการ

                ซื้อของหรือบริการ ระหว่างประเทศที่ใช้สกุลเงินต่างกัน จะใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินเป็นเกณฑ์ใน

                การอ้างอิง ในหลายๆ ประเทศสกุลเงินสามารถมีชื่อเดียวกันได้ เช่น ดอลล่าร์สหรัฐ ดอลล่าร์ฮ่องกง และดอลล่าร์แคนาดา และในหลายประเทศใช้สกุลเงินเดียวกัน  เช่น  ในประเทศแถบยุโรปหลายประเทศใช้สกุลเงินยูโร และในบางประเทศใช้หน่วยเงินของประเทศอื่นเป็นเกณฑ์  เช่น ประเทศปานามา และ ประเทศเอลซาวาดอร์ ใช้สกุลเงิน ดอลล่าร์สหรัฐ    สกุลเงินทั่วไปจะมีหน่วยสกุลเงินย่อย โดยส่วนมากจะเป็นอัตราส่วน 1/100  ของสกุลเงินหลัก เช่น 100 สตางค์ = 1 บาท หรือ 100 เซนต์ = 1 ดอลล่าร์   แต่บางสกุลเงินจะไม่มีหน่วยย่อย เช่น สกุลเงินเยน เนื่องจากเงินเฟ้อ ทำให้สกุลเงินย่อยมีการเลิกใช้ไปในหลายประเทศ

        4.  ให้นักเรียนระดมสมอง โดยใช้แนวคำถาม ดังนี้

                            - เงินคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

           5.  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมายและความสำคัญของเงิน บันทึกไว้เป็นความคิดรวบยอด

                    (บันทึกสั้นเชิงวิเคราะห์)

            6.   ให้นักเรียนศึกษาและทำความเข้าใจ เรื่อง นโยบายการเงินในการพัฒนาเศรษฐกิจ จากหนังสือเรียน

            7.   ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง หน้าที่ของเงิน   เมื่อนักเรียนทำใบงานเสร็จแล้ว  ครูสุ่มเรียกนักเรียน

                     4  คน  ตอบคำถามในใบงานคนละ 1 ข้อ  หน้าชั้นเรียน

             8.  ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายประเด็นสำคัญ ซักถามเพิ่มเติมจนได้สาระสำคัญครบถ้วน

             9.  ครูมอบหมายให้นักเรียนศึกษาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด  จากแหล่งการเรียนรู้

                    ที่หลากหลาย

ชั่วโมงที่2

 1. ให้นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด  และผลกระทบที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ

 2.  นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด  แล้วให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง  ภาวะการเงิน  ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบในใบงานที่ 1.2

 3.  ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ  แล้วครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่า ธนาคารพาณิชย์มีบทบาทสำคัญที่ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น หรือลดลง โดยรัฐบาลมีหน้าที่ในการควบคุมปริมาณเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งหน่วยงานที่สำคัญที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้

             4.  ครูสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับรายชื่อของสถาบันการเงินที่สำคัญของไทยว่า มีอะไรบ้าง  แล้วให้

                    นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่าง  และบอกความแตกต่างของสถาบันการเงินนั้นคร่าวๆ

             5.  ครูตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้นักเรียนฝึกการระดมสมอง  และเป็นการทบทวนความรู้ที่ได้ศึกษามา

                    เช่น

                    -  สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจอย่างไร

                    -  สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร  มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจหรือไม่  อย่างไร

                    -  ธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์  มีความแตกต่างกันอย่างไร  และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ

                        ในประเทศอย่างไร

  6.  ให้นักเรียนร่วมกันสรุปประเด็นความรู้เกี่ยวกับสถาบันการเงิน  โดยครูช่วยอธิบาย หรือชี้แจงเพิ่มเติมในส่วนที่บกพร่อง

  7.   ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบันการเงิน  เมื่อทำใบงานเสร็จแล้วให้ตัวแทนนักเรียนเก็บรวบรวมส่งครูตรวจ

 ชั่วโมงที่3

1. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธนาคารกลาง  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินงานของธนาคารกลาง ในการควบคุมดูแลเรื่องการเงินของประเทศเพื่อให้ดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงิน

2.ให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง นโยบายการเงิน  จากหนังสือเรียน 

3.   ให้นักเรียนเปรียบเทียบนโยบายการเงินแบบเข้มงวด กับนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย 

4.   ครูสุ่มเรียกนักเรียน 3-4 คน เพื่อรายงานผลการเปรียบเทียบนโยบายการเงินแบบเข้มงวดกับนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย

5.  ครูประเมินความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นจากคำตอบของนักเรียน  แล้วช่วยอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่บกพร่อง

6.  ครูเล่าเหตุการณ์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540  ที่เป็นช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยให้นักเรียนฟัง  เพื่อเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับความจำเป็นในการประกาศลดค่าเงินบาท  และมีการปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากแบบคงที่มาเป็นแบบลอยตัว และไทยขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนเงินระหว่างประเทศ (International MonetaryFund : IMF)

7.  ให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินของไทย   และผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ดำเนินนโยบายการเงินดังกล่าว

8.  ครูนำข่าวเกี่ยวกับสถาบันการเงิน  มาให้นักเรียนอ่าน  แล้ววิเคราะห์ตามหัวข้อที่กำหนด

       9.   ครูตั้งประเด็นคำถามให้นักเรียนวิเคราะห์  ดังนี้

-    ข่าวเกี่ยวกับเรื่องอะไร

(การเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์แก่ประชาชน) 

-     สอดคล้องกับสถาบันการเงินใด

(ธนาคารแห่งประเทศไทย)

-   จากข่าวส่งผลดีต่อประเทศชาติอย่างไร

(การที่ประชาชนพากันซื้อพันธบัตรออมทรัพย์กันมากก็จะช่วยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นธนาคารของชาติระดมเงินออมมาก ซึ่งนอกจากจะทำให้ประชาชนอุ่นใจในการฝากเงินและได้ดอกเบี้ยตอบแทน  แล้วยังทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดการขยายตัวด้วย)   

10.  ครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่า การออกพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย  เป็นการดำเนินการผ่านตลาดการเงิน  ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องมือของนโยบายการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่สามารถดำเนินการได้

11.  ให้นักเรียนพิจารณาแผนผังช่องทางอัตราดอกเบี้ย  ที่ครูนำมาแสดงหน้าชั้นเรียน  แล้วให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์และอธิบายช่องทางอัตราดอกเบี้ย  โดยนำความรู้เกี่ยวกับกลไกการส่งผ่านของนโยบายการเงินมาช่วยในการวิเคราะห์

12.  ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถามข้อสงสัย  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถสืบค้นข้อมูลที่สนใจได้อย่างกว้างขวาง

’   การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.1

ใบงานที่ 1.1

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.2

ใบงานที่ 1.2

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.3

ใบงานที่ 1.3

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

“   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

8.1  สื่อการเรียนรู้

                  1) หนังสือเรียน เศรษฐศาสตร์ ม.4-ม.6

                        2)        ตัวอย่างข่าวเกี่ยวกับสถาบันการเงิน 

                        3)        แผนผังช่องทางอัตราดอกเบี้ย

                        4)        เอกสารความรู้เพิ่มเติม 

                        5)        ใบงานที่ 1.1 เรื่อง  หน้าที่ของเงิน 

                        6)        ใบงานที่ 1.2 เรื่อง  ภาวะการเงิน

                        7)        ใบงานที่ 1.3 เรื่อง  ประเภทของสถาบันการเงิน 

            8.2      แหล่งการเรียนรู้

                        1)        ห้องสมุด

                        2)        สื่อการเรียนรู้ต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์  นิตยสาร  โทรทัศน์  วิทยุ

                        3)        แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

                                http://www.geocities.com/econpages

                                http://www.bot.or.th

                                 http://www.mof.go.th

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2

เศรษฐศาสตร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5  นโยบายการเงิน  การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ                    

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

เรื่อง  นโยบายการคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจ            

เวลา  3  ชั่วโมง

   สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

         นโยบายการคลัง  เป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลใช้ควบคู่กับนโยบายการเงิน  เพื่อช่วยให้ประชาชนอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่ดี มีเสถียรภาพ 

   ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

         2.1   ตัวชี้วัด   

                   ส 3.2      ม.6/1      อธิบายบทบาทของรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการเงิน การคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

            2.2  จุดประสงค์การเรียนรู้

                        1)        บอกความสำคัญของนโยบายการคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจได้

                        2)        จำแนกประเภทของนโยบายการคลังได้

                        3)        บอกเครื่องมือสำคัญของนโยบายการคลังได้

                        4)        อธิบายโครงสร้างการคลังท้องถิ่นได้

                        5)        วิเคราะห์การนำนโยบายการคลังมาใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาเศรษฐกิจได้

Ž   สาระการเรียนรู้

         3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                        1)       นโยบายการเงิน การคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

                        2)        บทบาทนโยบายการเงิน และการคลังของรัฐบาลในด้าน

                                -      การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

                                -      การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

                                -      การรักษาดุลการค้าระหว่างประเทศ

                                -      การแทรกแซงราคาและการควบคุมราคา

                        3)        รายรับและรายจ่ายของรัฐที่มีผลต่องบประมาณ หนี้สาธารณะ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ

                                และคุณภาพชีวิตของประชาชน

                                -      นโยบายการเก็บภาษีประเภทต่างๆ และการใช้จ่ายของรัฐ

                                -      แนวทางในการแก้ปัญหาการว่างงาน

            3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                        -

   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

            4.1 ความสามารถในการคิด                                       

                        -      ทักษะการคิดวิเคราะห์

                        -      ทักษะการคิดสังเคราะห์                            

            4.2  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต                                 

                        -      กระบวนการทำงานกลุ่ม

   คุณลักษณะอันพึงประสงค์                                                                   

            1. มีวินัย

            2. ใฝ่เรียนรู้                                                                                   

            3. มีความรับผิดชอบ

   กิจกรรมการเรียนรู้   (วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative Learning))

1.  ครูนำนโยบายการคลังของรัฐบาลในแต่ละรัฐบาลมาให้นักเรียนอ่าน และเปรียบเทียบกัน

2. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเปรียบเทียบ  ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนทราบว่า รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจ  ซึ่งรัฐบาลจะต้องเข้ามาดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยรวม  

3. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ คนเก่งจะช่วยเหลือคนอ่อน ส่วน คนอ่อนจะต้องเรียนรู้จากคนเก่งหรือจากกลุ่ม  นักเรียนทุกคนเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน    มีการปรึกษาหารือกันภายในกลุ่ม  ผลสำเร็จของนักเรียนแต่ละคน คือ ผลสำเร็จของกลุ่ม

4.  ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมาจับสลากประเด็นความรู้ที่ครูกำหนด  (แต่ละประเด็นอาจศึกษาซ้ำกันหลายกลุ่ม)  ดังนี้

-   ประเภทของนโยบายการคลัง

-   เครื่องมือของนโยบายการคลัง

-   การคลังท้องถิ่น

5. ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนการสืบค้นความรู้ร่วมกัน  และแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบอย่างเหมาะสม

6. ครูให้คำแนะนำในการสืบค้นความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างหลากหลายเพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปผลภายในกลุ่ม

ชั่วโมงที่ 2-3

1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มที่ศึกษาประเด็นเดียวกันมารวมกลุ่มกัน  เพื่อร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็น

2.  ให้นักเรียนสรุปประเด็นความรู้จากการอภิปรายและแสดงความคิดเห็น 

3.  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มที่ศึกษาประเด็นความรู้เดียวกันคัดเลือกตัวแทนออกมาสรุปประเด็นความรู้  ตามลำดับ  ดังนี้

-   ประเภทของนโยบายการคลัง

-   เครื่องมือของนโยบายการคลัง

-   การคลังท้องถิ่น

4. ให้แต่ละกลุ่มตั้งประเด็นคำถามที่เป็นข้อสงสัยของกลุ่ม กลุ่มละ 2 คำถาม  เพื่อถามตัวแทนกลุ่มที่ออกมาสรุปประเด็นความรู้นั้นๆ  หากไม่สามารถตอบคำถามได้ครอบคลุมให้สมาชิกในกลุ่มนั้นๆ ช่วยกันหาคำตอบที่ถูกต้อง

5.  ครูสังเกตการใช้ประเด็นคำถาม  และการตอบคำถามของแต่ละกลุ่ม  หากมีข้อบกพร่องให้ครูอธิบายเพิ่มเติม  หรือตั้งประเด็นคำถามเพื่อเป็นการประเมินความรู้ความเข้าใจของนักเรียน  เช่น

-   นโยบายการคลังแบบขยายตัว  และแบบหดตัวมีความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจแบบใด 

      และมีข้อดีและข้อเสีย  แตกต่างกันอย่างไร

-   สำนักงบประมาณแผ่นดิน   มีหน้าที่สำคัญอย่างไร

-   รายได้จากรัฐพาณิชย์ที่สำคัญมีอะไรบ้าง  และส่งผลดีอย่างไร

-   รัฐบาลจะตั้งงบประมาณแบบขาดดุล ในสภาวะที่เศรษฐกิจมีลักษณะอย่างไร

-   การคลังท้องถิ่น มีบทบาทสำคัญอย่างไร

6. ให้นักเรียนทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง รู้ทันสถานการณ์เศรษฐกิจ  เมื่อทำใบงานเสร็จแล้วให้นักเรียนทบทวนและตรวจสอบคำตอบก่อนนำส่งครู

’   การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 2.1

ใบงานที่ 2.1

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ประเมินการนำเสนอผลงาน

แบบประเมินการนำเสนอผลงาน

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

“   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

1.1  สื่อการเรียนรู้

                        1) หนังสือเรียน เศรษฐศาสตร์ ม.4-ม.6

                        2) ตัวอย่างนโยบายการคลังของรัฐบาลในแต่ละสมัย

                        3)  สลาก

                        4)  เอกสารความรู้เพิ่มเติม

                        5)  ใบงานที่ 2.1 เรื่อง   รู้ทันสถานการณ์เศรษฐกิจ

            1.2 แหล่งการเรียนรู้

                        1)  ห้องสมุด

                        2)  สื่อการเรียนรู้ต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์  นิตยสาร  โทรทัศน์  วิทยุ

                        3)  แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

                                http://www.bot.or.th

                                http://www.mof.go.th

                                http://www.geocities.com/econpages