ข้อใดเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิที่สอดคล้องกับ ปร โต โฆ สะ เสียงจากผู้อื่น โอ เน็ต ปี 61

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปรโตโฆสะ (จาก ปรโต นิบาต (จากอื่น) (จาก ปร คุณนาม (อื่น) + -โต อัพยยปัจจัย) + โฆส) แปลว่า เสียงจากผู้อื่น หมายรวมถึงคำพูด, คำแนะนำ, คำชี้แจง, คำโฆษณา,กระแสข่าว ข้อเขียน,บทความจากบุคคลหรือแหล่งข่าวต่างๆ

ปรโตโฆสะ มี 2 ประเภท คือ ที่เป็นจริง มีเหตุผล เป็นประโยชน์ ประกอบด้วยความหวังดี และที่เป็นเท็จ ไม่มีเหตุผล ไม่เป็นประโยชน์ มุ่งทำลาย

ปรโตโฆสะ เป็นวิถีทางเบื้องต้นแห่งปัญญาและสัมมาทิฐิ แต่ต้องมีโยนิโสมนสิการคอยกำกับ จึงจะสามารถรู้แยกแยะและคัดสรรเฉพาะปรโตโฆสะฝ่ายดีได้ ปรโตโฆสะที่ปราศจากโยนิโสมนสิการจะนำให้เกิดความงมงาย หูเบา เชื่อง่าย ไร้เหตุผลและมิจฉาทิฐิได้ง่าย

อ้างอิง[แก้]

  • พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548

08/04/2020 · 1:35 am

:: O-net ศาสนา 62 ::

  1. วิธีการเลือกโหวตคะแนนโดยใช้เสียงข้างมากในปัจจุบัน สอดคล้องกับวิธีการตัดสินปัญหาที่มีความคิดเห็นเป็นสองฝ่าย ซึ่งพระพุทธจ้าทรงนำมาใช้ในการบริหารและธำรงรักษาพระพุทธศาสนาวิธีใด
    1. ธรรมาธิปไตย
    2. เยภุยยสิกา
    3. ตัสสปาปิยสิกา
    4. สัมมุขาวินัย
    5. อัตตาธิปไตย
  2. นายแดงปฏิบัติหน้าที่เป็นจิตอาสาเฉพาะกิจ สำหรับพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ ๘-๙ ๒๕๖๒ ณ ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ วปร.ประจำจังหวัด การปฏิบัติหน้าที่ของนายแดงมีลักษณะสอดคล้องกับการเผยแผ่พุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยาข้อใด
    1. พุทธัตถจริยา
    2. ญาตัตถจริยา
    3. โลกัตถจริยา
    4. สัทธาจริยา
    5. พุทธิจริยา
  3. นายแดงเป็นคนใจดี ชอบทำบุญอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีคนถามเขามักจะตอบว่า ที่ฉันต้องทำบุญและทำความดีอย่างสม่ำเสมอนี้ เพราะฉันไม่รู้ว่าความตายจะมาถึงตัวเมื่อไหร่ จะได้ไม่ต้องเสียใจภายหลัง วิธีคิดของนายดำสอดคล้องกับเหตุการณ์ใดในพุทธประวัติมากที่สุด
    1. การประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ
    2. การกล่าวอาสภิวาจาของเจ้าชายสิทธัตถะ
    3. การตรัสรูของเจ้าชายสิทธัตถะ
    4. การแสดงเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้า
    5. การเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
  4. ใครควรได้รับการพัฒนาด้วยกระบวนการศึกษาตามหลักสีลสิกขามากที่สุด
    1. แดงเป็นคนเจ้าอารมณ์ มักหงุดหงิดโกรธง่ายจนเพื่อนๆ ไม่อยากอยู่ใกล้
    2. ดำคิดว่าการดื่มสุราเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าสังคมกับเพื่อนฝูง
    3. ขาวมองว่าพ่อแม่ไม่มีพระคุณ เพราะพ่อแม่ทิ้งตนเองให้ปู่ย่าเลี้ยงดูจนเติบโต
    4. เขียวรู้สึกโกรธแค้นนายดำอย่างมากที่ล้อเลียนชื่อพ่อแม่ตนเอง
    5. ฟ้ามักพูดกับพ่อแม่ ครู และเพื่อนๆ ด้วยคำไม่สุภาพจนครูต้องตักเตือนบ่อยๆ
  5. ข้อใดจัดเป็นเหตุของน้ำแข็งตามหลักปฏิจจสมุปบาท
    1. น้ำ
    2. ตู้เย็น
    3. ไฟฟ้า
    4. ช่องแช่แข็งในตู้เย็น
    5. อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
  6. ศาสนาทุกศาสนาไม่ว่าจะเป็นศาสนาฝ่ายเทวนิยมหรืออเทวนิยม ต่างก็มีจุดเริ่มต้นของการยอมรับนับถือและการปฏิบัติตามหลักคำสอนในศาสนาของตนที่เหมือนกัน สิ่งนั้นคืออะไร
    1. ความเสมอภาค
    2. ความรัก
    3. ปัญญา
    4. ศรัทธา
    5. สมาธิ
  7. วันหนึ่ง ดำได้ชวนเพื่อนในกลุ่มสนทนาเกี่ยวกับศาสนาต่างๆ ว่า
    ดำ นี่พวกเรารุ้ไหม หัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ คำสอนใด
    แดง ความไม่ประมาท
    ขาว ใช่พุทธศาสนาถือว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดสามารถสรุปลงในความไม่ประมาทนี่แหละ ทุกคนพยักหน้าเห็นด้วย
    ดำ แล้วอะไรเป็นหัวใจสำคัญของบทบัญญัติในศาสนาคริสต์ค่ะ
    แดง บทบัญญัติ ๑๐ ประการไง
    ดำ บทบัญญัติเยอะไป มีบทบัญญัติที่เป็นบทสรุปของบทบัญญัติ ๑๐ ประการนี้ไหม ข้อที่สำคัญที่สุดข้อเดียวแบบพุทธศาสนามีไหม
    ขาว นั่นสิ น่าจะมีนะ แต่บทบัญญัติข้อนั้นคืออะไรล่ะ
    หากนักเรียนอยู่ในสถานการณ์ข้างต้น นักเรียนจะบอกเพื่อนๆ อย่างไร
    1. ความศรัทธา
    2. ความรัก
    3. ความยุติธรรม
    4. ความเสมอภาค
    5. ความสามัคคี
  8. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทั่วไปของการพัฒนาที่ยั่งยืนเชิงพุทธ
    1. คนสัมพันธ์กับคนอย่างมีความสุข
    2. คนสัมพันธ์กับสังคมอย่างมีความสุข
    3. คนสัมพันธ์กับธรรมที่แท้จริงอย่างรู้เท่าทัน
    4. คนสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยางนายผู้ใช้ประโยชน์
    5. คนสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีสติ
  9. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตอนหนึ่งว่า

    การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตนเองมีความเป็นอยูที่ก้าวหน้า มีความสุข พอมีพอกินเป็นชั้นหนึ่งและชั้นต่อไปก็คือ ให้มีเกียรติว่า ยืนได้ด้วยตนเอง

    จากพระราชดำรัสนี้หลักธรรมข้อใดมีความหมายมุ่งเน้นให้คนเราสามารถยืนได้ด้วยตนเองและเป็นที่พึ่งของตนเองได้

    1. อริยสัจ ๔
    2. มรรคมีองค์ ๘
    3. โลกุตรธรรม ๙
    4. นาถกรณธรรม ๑๐
    5. สันโดษ ๑๒
  10. ข้อใดปฏิบัติไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการละหมาดในวันศุกร์
    1. ต้องทำละหมาดให้ครบวันละ ๕ เวลา
    2. ต่างคนต่างทำละหมาดในสถานที่สะอาดโดยทั่วไป
    3. ต้องทำพิธีชำระร่างกายและทำจิตใจให้บริสุทธิ์ก่อนเสมอ
    4. ทำละหมาดหันหน้าไปทางทิศที่ตั้งของวิหารกาบะ ประเทศซาอุดิอารเบีย
    5. ต้องทำละหมาดพร้อมกันที่มัสยิด
  11. เมื่อนักเรียนถูกเพื่อนชักชวนให้เล่นพนัน หรือให้ยกพวกไปตีกับฝ่ายอื่น นักเรียนใช้สติพิจารณาด้วยตนเองว่า ขณะนี้เรากำลังเรียนหนังสือเพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ถ้าเราปล่อยตัวปล่อยใจไปตามคำชวนเท่านั้น อนาคตของเราจะเป็นเช่นไร ถ้าเราประสบภัยอันตรายใดๆ พ่อแม่ พี่น้อง ญาติๆ ครู อาจารย์และผู้หวังดีต่อเราจะรู้สึกอย่างไร เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้วจึงตัดสินใจไม่ไปตามคำชักชวน และตั้งใจศึกษาหาความรู้เพื่อให้บรรลุผลตามที่ตนเองและพ่อแม่หวังเอาไว้ โดยไม่หวั่นไหวไปตาอารมณ์ยั่วยุใดๆ การปรารภกับตนเองและคำนึงถึงความหวังดีของบุคคลใกล้ชิดที่มีต่อตนเช่นนี้ จัดเป็นการครองตนตามหลักอธิปไตยข้อใด
    1. อัตตาธิปไตย ความมีตนเป็นใหญ่
    2. โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่
    3. ประชาธิปไตย ความมีประชาชนเป็นใหญ่
    4. ธัมมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่
    5. อภิชนาธิปไตย ความมีอภิชนเป็นใหญ่
  12. นายแดงมุ่งมั่นทำงานขับรถขนส่งสินค้าด้วยความขยัน ไม่ย่อท้อ แม้จะเหนื่อยล้าเพียงใดก็ตาม จนถึงเวลาสิ้นเดือน เขาได้รับเงินเดือนจาทางบริษัทมาจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ใจหนึ่งก็อยากนำไปใช้จ่ายในครอบครัว อีกใจหนึ่งก็อยากนำไปลงทุน ทำการค้าในหมู่บ้าน และใจหนึ่งก็อยากเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น เขารู้สึกลังเล ไม่รู้ว่าจะต้องใช้ทรัพย์เหล่านั้นอย่างไร
    หากนักเรียนเป็นนายแดง จะตัดสินใจแบ่งทรัพย์นี้อย่างไรตามหลักโภควิภาค
    1. ๑๐,๐๐๐ บาท สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว ๕,๐๐๐ บาท ลงทุนทำการค้า ๕,๐๐๐ บาท เก็บไว้ใช้จ่ายยามจำเป็น
    2. ๕,๐๐๐ บาท สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว ๕,๐๐๐ บาท ลงทุนทำการค้า ๑๐,๐๐๐ บาท เก็บไว้ใช้จ่ายยามจำเป็น
    3. ๕,๐๐๐ บาท สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว ๑๐,๐๐๐ บาท ลงทุนทำการค้า ๕,๐๐๐ บาท เก็บไว้ใช้จ่ายยามจำเป็น
    4. ๑๐,๐๐๐ บาท สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว ๗,๐๐๐ บาท ลงทุนทำการค้า ๓,๐๐๐ บาท เก็บไว้ใช้จ่ายยามจำเป็น
    5. ๗,๐๐๐ บาท สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว ๑๐,๐๐๐ บาท ลงทุนทำการค้า ๓,๐๐๐ บาท เก็บไว้ใช้จ่ายยามจำเป็น
  13. ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกือบทุกฉบับจะมีบทบัญญัติให้สมาชิกสภาต้องปฏิญาณตนก่อนเข้ารับตำแหน่ง โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและสมาชิกวุฒิสภาได้แสดงปฏิธานและความตั้งใจที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน โดยรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญและไม่กระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งการปฏิญาณตนของสมาชิกรัฐสภาในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นอาจมีถ้อยคำและบทบัญญัติที่แตกต่างกันไปบ้างตามยุคสมัย
    ผู้เรียบเรียง วิจิตรา ประยูรวงศ์
    ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร จเร พันธุ์เปรื่อง
    ที่มา 2016 King Prajadddhipok’s Institute

    เจตนารมณ์ของการปฏิญาณตนนี้สอดคล้องกับคติธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันใด

    1. วันออกพรรษา
    2. วันเข้าพรรษา
    3. วันอัฏฐมีบูชา
    4. วันอาสาฬหบูชา
    5. วันมาฆบูชา
  14. นางสาวฟ้า ต้องการทำบุญตักบาตร จึงสอบถามเพื่อนๆ ว่าเธอควรทำอย่างไร นักเรียนคนใดแนะนำนางสาวฟ้าได้ถูกต้องที่สุด
    1. แดง ต้องไปทำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา เป็นต้นเท่านั้น วันอื่นๆ เขาไม่นิยมทำกันหรอก เวลาฉันไปทำบุญที่วัดเห็นชาวบ้านตักบาตรเยอะมาก
    2. ดำ ต้องไปทำในวันธัมมัสสวนะหรือวันพระสิ เพราะการทำบุญตักบาตรเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่จัดขึ้นเฉพาะในวันพระเท่านั้น เพื่อพุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสทำบุญ คำว่า วันพระ ก็คือ ทำบุญตักบาตรพระนั่นเอง
    3. ขาว ไปที่วันสะดวกสิ เธอสะดวกตอนไหน เวลาไหน วันไหนก็ไปตอนนั้นเวลานั้น การทำบุญตักบาตรชาวพุทธสามารถทำได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เชื่อฉัน
    4. เขียว เดือนหน้าก็วันเกิดเธอแล้ว จะรีบไปทำบุญตักบาตรทำไม ถ้าไม่ใช่วันสำคัญสำหรับเราเอง เช่น วันเกิด ชาวพุทธจะไม่นิยมทำบุญตักบาตรหรอกนะ เชื่อฉัน รออีกสักเดือนก็ได้ทำแล้ว
    5. เหลือง เดี๋ยวเช้าพรุ่งนี้เราพากันไปทำบุญตักบาตราที่วัด หน้าวัด หรือหน้าบ้านเราก็ได้ ถ้าพระไม่เดินบิณฑบาตผ่านหน้าบ้านเธอ เราสามารถทำบุญตักบาตรได้ทุกๆ เช้าของทุกวัน ก่อนพระฉันเช้า หรือฉันเพล
  15. วันหนึ่ง แดงได้เล่าปรารภกับเพื่อนๆว่า
    แดง อาทิตย์หน้าจะครบรอบวันตายของคุณย่าฉันแล้ว ทางบ้านกำลังเตรียมงานทำบุญอัฐิกันจนวุ่นเลยแหละ ตอนนี้นะ
    ขาว แล้วเธอรับทำหน้าที่อะไรล่ะ
    แดง ฉันรับหน้าที่ไปนิมนต์พระ นี่ยังหนักใจอยู่เลยว่าจะบอกนิมนต์ว่าอย่างไรดีระหว่างใช้คำว่าเจริญพระพุทธมนต์ กับ สวดพระพุทธมนต์
    เขียว ฉันคุ้นๆ นะ ดูเหมือนว่าเขาจะใช้ต่างกัน แต่จำไม่ได้แล้วว่า งานมงคลกับงานอวมงคล เขานิยมใช้คำไหน เพราะคำใกล้เคียงกันมาก สับสนนะ
    ฟ้า จะทำให้ยุ่งยากทำไม ก็บอกว่า สวดมนต์ ก็พอ
    หากนักเรียนเเป็นเพื่อนกับแดง นักเรียนจะแนะนำแดงอย่างไร
    1. ใช้คำว่า เจริญพระพุทธมนต์ เพราะการทำบุญอัฐิเป็นมงคล เนื่องจากคนตายไปนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งตายหรือมีศพอยู่ที่บ้าน
    2. ใช้คำว่า เจริญพระพุทธมนต์ เพราะการทำบุญอัฐิเป็นอวมงคล เนื่องจากเป็นการทำบุญที่ปรารภถึงการตายของคน
    3. ใช้คำว่า สวดมนต์ เพราะเป็นคำกลางๆ ที่นิยมใช้ทั้งในงานที่เป็นมงคลและงานอวมงคล ตลอดจนงานที่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะเป็นงานมงคลหรืออวมงคล เช่นเดียวกับการทำบุญอัฐิ
    4. ใช้คำว่า สวดพระพุทธมนต์ เพราะการทำบุญอัฐิเป็นงานบุญอวมงคล เนืองจากเป็นการทำบุญที่ปรารถถึงการตายของคน
    5. ใช้คำว่า สวดพระพุทธมนต์ เพราะการทำบุญอัฐิเป็นงานบุญมงคล เนื่องจากคนจายไปนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งตายหรือมีศพอยู่ที่บ้าน
  16. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับทาน ในพุทธศาสนากับ ซะกาต ในศาสนาอิสลาม
    1. ซะกาตให้กับใครก็ได้ สวนทางให้ทานกับคนที่มีสิทธิรับเท่านั้น
    2. ซะกาตให้เวลาใดก็ได้ ส่วนทานให้เมื่อครบรอบปี
    3. ทานเป็นการให้โดยสมัครใจ ส่วนซะกาตเป้นการให้ภาคบังคับตามหลักศาสนา
    4. ทานกำหนดอัตราการจ่ายตามจำนวนทรัพย์สินของผู้จ่าย ส่วนซะกาตไม่มีกำหนดอัตราการจ่ายใดๆ
    5. ผู้ให้ทานจะต้องเป็นคฤหัสถ์ ส่วนผู้ให้ซะกาตจะต้องเป็นอิหม่าม

ตอนที่ ๒ แบบปรนัย ตัวเลือก เลือก ๒ คำตอบที่ถูกต้องจำนวน ๑๐ ข้อ ข้อละ ๒ คะแนน รวม ๒๐ คะแนน ในแต่ละข้อคำถาม ตอบถูก ๑ คำตอบได้ ๑ คะแนน ตอบถูก ๒ คำตอบได้ ๒ คะแนน

  1. นายดำ ตั้งใจเรียน หมั่นอ่านหนังสือ และทบทวนเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเตรียมตัวที่จะสอบเข้าเรียนแพทย์ในระดับมหาวิทยาลัย จนเรียนแพทย์ได้ตามเป้าหมาย
    จากสถานการณ์นี้ การกระทำของดำสอดคล้องกับอริยสัจตามข้อใดบ้าง
    1. ทุกข์ ปัญหา
    2. สมุทัย สาเหตุของปัญหา
    3. นิโรธ ภาวะที่ปลอดปัญหา
    4. มรรค วิธีการ
    5. วิริย ะ ความเพียร
  2. คำกลอนที่ว่า

    ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่
    มีเพียงแต่ต้นทุนบุญกุศล
    ทรัพย์สมบัติทิ้งไว้ให้ปวงชน
    แม้ร่างตนเขาก็เอาไปเผาไฟ

    ข้อนี้ถามเรื่อง หลักธรรม/คติธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางศาสนาและเทศกาลสำคัญทางศาสนา คำกลอนข้างต้นแสดงถึงคติธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันใดวัน

    1. วิสาขบูชา
    2. วันอาสาฬหบูชา
    3. วันมาฆบูชา
    4. วันอัฏฐมีบูชา
    5. วันเข้าพรรษา

21/02/2020 · 1:39 am

:: O-Net 61 :

  1. ตามพุทธประวัติ เหตุการณ์ใดในคราวประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีศักยภาพในการพัฒนาตนให้ประเสริฐสูงสุดได้
    1. ทรงพระดำเนิน 7 ก้าว
    2. ประทับยืนพระยุคลบาทเสมอกัน
    3. ทรงเปล่งอาสภิวาจา
    4. มีดอกบัวรองรับพระยุคลบาท
    5. ทรงบ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร
  2. พิธีกรรมใดที่พระเยซูทรงได้รับมาจากนักบุญในศาสนายูดาห์
    1. ศีลล้างบาป
    2. ศีลกำลัง
    3. ศีลอภัยบาป
    4. ศีลมหาสนิท
    5. ศีลอนุกรม
  3. ในการมอบหมายงานที่ดีนั้น จะต้องมอบหมายให้ชัดลงไปว่า ทำอะไร เพื่ออะไร และทำอย่างไร ทั้งนี้
    เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถดำเนินการได้อย่างสะดวก และบรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ข้อความข้างต้นสอดคล้องกับสาระสำคัญในข้อใด
    1. ปฐมเทศนา
    2. ปัจฉิมโอวาท
    3. อนัตตลักขณสูตร
    4. โอวาทปาฏิโมกข์
    5. มัชฌิมาปฏิปทา
  4. ข้อใดเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิที่สอดคล้องกับ ปรโตโฆสะ (เสียงจากผู้อื่น)
    1. พ่อแม่ที่ติดสุรา
    2. ครูที่ตามใจนักเรียน
    3. เพื่อนที่ชวนไปเที่ยวกลางคืน
    4. พระภิกษุที่ผูกดวงให้
    5. ผู้นำชุมชนชักชวนให้บำเพ็ญประโยชน์
  5. ข้อใดกล่าวได้อย่างถูกต้องตามหลักอริยสัจ 4
    1. ปัญหาของชีวิตเป็นเหตุ
    2. วิธีแก้ปัญหาชีวิตเป็นเหตุ
    3. สาเหตุของปัญหาชีวิตเป็นผล
    4. สาเหตุและวิธีแก้ปัญหาชีวิตเป็นผล
    5. ความดับของปัญหาชีวิตเป็นทั้งเหตุและผล
    6. ในวันหนึ่ง แดง ได้เปิดประเด็นคุยกับเพื่อนๆ ว่า อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่สามารถแก้ปัญหาชีวิตได้ ถ้าหากมีการนำมาปฏฺบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องฉันเชื่อมั่นในหลักอริยสัจ 4 เพียงแต่การนำไปใช้จะต้องมีอะไรสักอย่างที่เป็นกุญแจหรือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการแก้ปัญหาได้อย่างประสบผลสำเร็จ
      ฟ้าจึงถามว่า “แล้วกุญแจหรือเงื่อนไขสำคัญที่ว่ามันคืออะไร”
      ดำให้ความเห็นว่า “นั่นนะสิ นี่แหละโจทย์สำคัญของอริยสัจ 4 ที่พวกเราจะต้องค้นหา”
      จากสถานการณ์นี้ กุญแจหรือเงื่อนไขสำคัญ คืออะไร
      1. ความประพฤติเรียบร้อย
      2. จิตใจที่ตั้งมั่นไม่เปลี่ยนแปลง
      3. ปัญญารอบรู้ตามความเป็นจริง
      4. ศรัทธาเชื่อมั่นไม่หวั่นไหว
      5. ความเมตตากรุณาต่อตนเองและสรรพสัตว์