ข้อใดถูกต้องที่สุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ

ข้อใดถูกต้องที่สุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ

บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก

การเผยแผ่ศาสนาพุทธในสหราชอาณาจักร พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ประเทศอังกฤษ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2393 โดยนายสเปนเซอร์ อาร์คี ได้พิมพ์หนังสือศาสนจักรแห่งบูรพาทิศออกเผยแพร่ แต่ไม่มีผู้สนใจมากนัก จนกระทั่ง เซอร์เอดวินด์ อาโนลด์ ได้เขียนหนังสือ ประทีปแห่งเอเชียขึ้น และได้พิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ. 2422 ก็ได้รับความสนใจจากชาวอังกฤษอย่างกว้างขวาง ทำให้ชาวอังกฤษเริ่มหันมาเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น พ.ศ. 2424 ศาสตรจารย์ ที ดับเบิลยู ริส เดวิดส์ ได้จัดตั้ง สมาคมบาลีปกรณ์ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษออกเผยแพร่

ใน พ.ศ. 2450 มีการจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งเกรตบริเตนและไอร์แลนด์ขึ้นในกรุงลอนดอน พร้อมกับพิมพ์วารสาร พุทธศาสตร์ปริทัศน์ ออกเผยแพร่นอกจากนี้ได้มีการจัดตั้งวิหารทางพระพุทธศาสนาขึ้นหลายแห่งในประเทศอังกฤษ เช่น พุทธวิหารลอนดอน ของประเทศศรีลังกา วัดไทย ของมูลนิธิสงฆ์อังกฤษที่ถนนอัมสตรีท กรุงลอนดอน และวัดพุทธประทีปของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน เป็นต้น

พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษในปัจจุบัน[แก้]

ในปัจจุบัน มีชาวอังกฤษหันมานับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานในวารสารทางสายกลางของพุทธสมาคมลอนดอน ระบุว่า มีสมมาคมองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจัดตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษประมาณ 30 แห่ง เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในหมู่ชนชาวอังกฤษ จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษค่อยๆ เป็นปึกแผ่นมั่นคงและก้าวหน้าไปโดยลำดับ

นอกจากนี้ประเทศอังกฤษยังมีความสัมพันธ์กับชาวพุทธในประเทศไทยโดยประธานสังฆสมาคม แห่งประเทศอังกฤษ ได้ทำหนังสือผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงลอนดอนขอเชิญผู้แทนสงฆ์ไทยพร้อมด้วยอธิบดีกรมการศาสนา เดินทางไปประเทศอังกฤษเพื่อทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและจัดหลักสูตรการศึกษาธรรม ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2507 กรมการศาสนาจึงได้ส่งคณะธรรมทูตออกเดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และต่อมาได้มีการสร้างวัดไทย และตั้งมูลนิธิพุทธศาสนาขึ้น ณ กรุงลอนดอน วัดไทยวัดแรกคือ วัดพุทธปทีป มีพระสงฆ์ไทยอยู่จำพรรษา และประกอบศาสนกิจ มีชาวพุทธที่เป็นทั้งชาวไทย และชาติอื่นๆ ที่อยู่ในประเทศอังกฤษ มาประกอบกิจกรรมที่วัดไทยอยู่เสมอ เป็นจำนวนมาก ต่อมาก็มีวัดไทยตั้งขึ้นอีกหลายวัด เช่น วัดพุทธปทีป, วัดสังฆทาน, วัดป่าจิตตวิเวก, วัดป่าสันติธรรม, วัดพุทธวิหาร

รายชื่อวัดไทยในอังกฤษ[แก้]

แบ่งเป็นวัดมหานิกาย 4 วัดและวัดพุทธของชาวต่างชาติอีก 5 วัด

วัดมหานิกาย
  • วัดพุทธประทีป[1]
  • วัดสังฆทาน[2]
  • วัดพุทธวิหาร แอสตัน[3]
  • วัดศรีรัตนาราม แมนเชสเตอร์[4]
  • วัดพระสิงห์ ยูเค
วัดพุทธของชาวต่างชาติ
  • วัดพุทธวิหาร
  • วัดอมราวดี
  • วัดป่าจิตตวิเวก
  • วัดรัตนคีรี
  • วัดป่าสันติธรรม[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.bpp.iirt.net/
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-28. สืบค้นเมื่อ 2008-01-21.
  3. http://www.watthaiuk.com
  4. http://watthaiuk.tripod.com/
  5. http://www.foresthermitage.org.uk/

  • http://www.geocities.com/sakyaputto/mbuddhism1.htm Archived 2007-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • http://www.dhammathai.org/watthai/world/england.php

ข้อใดถูกต้องที่สุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ
บทความเกี่ยวกับศาสนาพุทธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล
ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา

ใบความรู้

เรื่อง  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศต่าง  ๆ ทั่วโลก

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปเอเชีย

                ทวีปเอเชียนับเป็นดินแดนแห่งแรกที่พระพุทธศาสนา ได้เผยแผ่เข้ามาในราวพุทธศตวรรษที่3ซึ่งพระพุทธศาสนาที่ได้เผยแผ่เข้ามานั้น แบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือ นิกายเถรวาท และนิกายอาจาริยวาท ต่อมาได้ผสมผสานกับวัฒนธรรมและความเชื่อดั้งเดิมของแต่ละท้องถิ่นของแต่ละ ประเทศ ทำให้เกิดการวิวัฒนาการเป็นพระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ หลายนิกาย เช่น นิกายเถรวาทเดิม นิกายตันตระ นิกายสุขาวดี เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศต่าง ๆในทวีปเอเชียจึงแตกต่างกันออกไป ดังนี้

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา

พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามายังลังกาทวีป(ศรีลังกา ปัจจุบัน) ในรัชกาลของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ( พ.ศ235-275)ผู้ครองเมืองอนุราธปุระ โดยการนำของพระมหินทเถระและคณะสมณทูต ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งชมพูทวีปได้ทรงส่งมาในคราวทำสังคยานาครั้งที่ 3 ซึ่งได้รับการต้อนรับจากพระมหากษัตริย์และประชาชนเป็นอย่างดี ได้มีการส่งสมณทูตไปสู่ราชสำนักของพระเจ้าอโศกมหาราช และได้ทูลขอกิ่งพระศรีมหาโพธิ์มาสู่ลังกาทวีปด้วย ต้นโพธิ์นี้ปัจจุบันเป็นต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากที่สุดในโลก พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะยังทรงสร้างมหาวิหารและถูปาราม อันเป็นเจดีย์องค์แรกของลังกาไว้ ณ เมืองอนุราธปุระด้วย       ในสมัยนั้นลังกาทวีปมีประชาชนอยู่ 2 เผ่า คือ เผ่าสิงหล และเผ่าทมิฬ ชนผ่าสิงหลทั่วไปนับถือพระพุทธศาสนา ส่วนชนเผ่าทมิฬไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนาเมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าเทวานัม ปิยติสสะแล้วลังกาทวีปก็ตกอยู่ในอำนาจของกษัตริย์ทมิฬ   พระพุทธศาสนาในลังกาบางครั้งก็เจริญรุ่งเรือง บางครั้งก็เสื่อมลงจนถึงสูญสิ้นสมณวงศ์สลับกันไปเช่นนี้ ขึ้นอยู่กับว่ากษัตริย์ของชนผ่าใดในระว่างสิงหลกับทมิฬขึ้นมามีอำนาจ

                ครั้นต่อมาเมื่อพระเจ้าวิชัยสิริสังฆโพธิ ทรงกอบกู้ราชบัลลังก์จากพวกทมิฬได้ และทรงจัดการทางฝ่ายราชอาณาจักรเรียบร้อยแล้วก็ได้หันมากอบกู้ฟื้นฟูพระพุทธ ศาสนา และส่งทูตไปขอพระภิกษุสงฆ์จากพม่ามาทำการบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรชาวลังกา ทำให้สมณวงศ์ในลังกาได้กลับมีขึ้นอีกครั้ง

                ในสมัยรัชกาลของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชปกครองสงฆ์ทั้งประเทศเป็นครั้งแรก และสร้างวัดวาอารมอีกมากมายจนลังกาได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธ ศาสนา แต่ภายหลังพวกทมิฬก็มารุกรานอีกและมีอำนาจเหนือชาวสิงหล ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลงอีกครั้ง

ระหว่างที่ลังกาอ่อนแอลงชนชาติโปรตุเกสและ ฮอลันดาก็ได้เข้ามาผลัดเปลี่ยนกันเข้ามามีอำนาจซึ่งชนทั้งสองพยามยาม ประดิษฐานคริสต์ศาสนาแต่ก็ไม่สำเร็จ ทั้งนี้เนื่องจากพระพุทธศาสนาได้ฝังรากลึกลงสู่จิตใจของชาวลังกามาเป็นเวลา ช้านาน

                ใน พ.ศ.2293 พระเจ้ากิตติสิริราชสีห์ ได้ส่งราชทูตไปขอพระสงฆ์จากประเทศไทยในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศแห่งกรุง ศรีอยุธยา พระเจ้าบรมโกศทรงส่งพระอุบาลีและพระอริยมุนี พร้อมด้วยคณะสงฆ์ 12 รูป เดินทางไปลังกา และได้ทำการบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวสิงหล พระสงฆ์ที่บรรพชาอุปสมบทใหม่หนี้เรียกว่า อุบาลีวงศ์หรือสยามวงศ์ หรือสยามนิกาย ซึ่งเป็นคณะสงฆ์ส่วนใหญ่ของลังกามาจนกระทั่งทุกวันนี้

                ในปี พ.ศ.2358 อังกฤษได้เข้ามายึดครองลังกา ทำให้วงศ์กษัตริย์ลังกาสูญสิ้นไป เป็นเวลากว่า 100 ปีที่ชาวลังกาได้ต่อสู้จนได้อิสรภาพจากอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2490 พระพุทธศาสนาจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้น และได้ส่งพระสงฆ์ออกไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรปและอเมริกาด้วย

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศจีน

                เท่าที่ปรากฏหลักฐาน พบว่าพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศจีนเมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยของพระจักรพรรดิมิ่งตี่ แห่งราชวงศ์ฮั่น โดยพระองค์ส่งสมณทูตไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย และเดินทางกลับประเทศจีนพร้อมด้วยพระภิกษุ 2 รูป คือ พระกาศยปมาตังคะและพระธรรมรักษ์ รวมทั้งคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย

                เมื่อพระเถระ 2 รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึงนครโลยาง พระจักรพรรดิมิ่งตี่ได้ทรงสั่งสร้างวัดให้เป็นที่อยู่ของพระเถระทั้ง 2 และตั้งชื่อว่า วัดแปะเบ้ยี่ ซึ่งแปลว่าเป็นไทยว่า วัดม้าขาว ซึ่งเป็นอนุสรณ์ให้ม้าตัวที่บรรทุกพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามากับพระเถระทั้ง 2 รูป

                ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ถึงแม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเป็นที่เลื่อมแต่ยังจำกัดอยู่ในวงแคบคือในหมู่ข้า ราชการและชนชั้นสูงแห่งราชสำนักเป็นส่วนใหญ่ เพราะชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงนับถือลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า จนกระทั่งโม่งจื้อนัก ปราชญ์ผู้มีความสามารถได้แสดงหลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้ชาวเมืองได้เห็นถึง ความจริงให้ชาวจีนเกิดศรัทธาเลื่อมใสมากกว่า ลัทธิศาสนาอื่น ๆ

                จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ.1161-1450) พระพุทธศาสนาก็เจริญสูงสุดและได้มีการส่งพระเถระเดินทางไปสืบพระพุทธใน อินเดียและอัญเชิญพระไตรปิฎก กลับมายังจีน และได้มีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็นภาษาจีนอีกมากมาย

พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมลงเมื่อพระเจ้าบู๊จง ขึ้น ปกครองประเทศ เพราะพระเจ้าบู๊จงนับถือลัทธิเต๋า ทรงสั่งทำลายวัด บังคับให้พระภิกษุลาสิกขา ทำลายพระพุทธรูป เผาคัมภีร์ จนถึง พ.ศ.1391 เมื่อพระเจ้าชวนจง ขึ้นครองราชย์ ทรงสั่งห้ามทำลายวัด และนำประมุขลัทธิเต๋ากับพวกไปประหารชีวิต พร้อมกันนั้นก็ได้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง  พระพุทธศาสนาในประเทศจีนมีความเจริญรุ่งเรืองสลับกับเสื่อมโทรมตามยุคสมัยของราชวงศ์ที่จะทรงนับถือลัทธิหรือศาสนาใด

                ใน พ.ศ.2455 ประเทศจีนได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐจีน รัฐบาลไม่สนับสนุนพระพุทธศาสนา แต่กลับสนับสนุนแนวความคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ จนใน พ.ศ.2465 พระสงฆ์ชาวจีนรูปหนึ่งชื่อว่า ไท้สู ได้ทำการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยการตั้งวิทยาลัยสงฆ์ ขึ้นที่ วูชัง เอ้หมึง เสฉวน และหลิ่งนาน และจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน ขึ้น ทำให้ประชาชนและรัฐบาลเข้าใจพระพุทธศาสนามากขึ้น

                พ.ศ.2492 สาธารณรัฐจีน ได้เปลี่ยนชื่อประเทศอีกครั้งหนึ่ง เป็น สาธารณรัฐประชาชนจีน ปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งมีคำสอนที่ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่าง มากรัฐบาลได้ยึดวัดเปนของราชการ ทำลายพระคัมภีร์ต่าง ๆ ทำให้พระพุทธศาสนาเกือบสูญสิ้นไปจากประเทศจีนเลยทีเดียว เมื่อประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อ ตุง ได้ถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ.2519 รัฐบาลชุดใหม่ของจีน คือ เติ้งเสี่ยวผิง คลายความเข้มงวดลงบ้าง และให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของประชาชนมากขึ้น สภาวการณ์ทางพระพุทธศาสนาจึงเริ่มกลับฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง รัฐบาลจีนให้การสนับสนุนจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีนและสภาการศึกษาพระ พุทธศาสนาแห่งประเทศจีนขึ้นในกรุงปักกิ่งด้วย ปัจจุบันชาวจีนนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการนับถือลัทธิขงจื้อและลัทธิ เต๋า

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลี

                พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ประเทศเกาหลีเมื่อ พ.ศ.915 โดยสมณทูตซุนเตา เดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้าเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรโกคุริโอ คือประเทศเกาหลีในปัจจุบัน

                พ.ศ.1935 พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมลงเมื่อราชวงศ์โซซอน ขึ้นมามีอำนาจ ราชวงศ์นี้เชิดชูลัทธิขงจื้อให้เป็นศาสนาประจำชาติ    พ.ศ.2453 ประเทศเกาหลีได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ราชวงศ์เกาหลีสิ้นสุดลง ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกาได้เข้ายึดเกาหลีจากญี่ปุ่น เกาหลีจึงถูกแบ่งเป็น 2 ประเทศ ทางตอนเหนืออยู่ภายใต้การคุ้มครองดูแลของสหภาพโซเวียต มีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ทางตอนใต้อยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐอเมริกา มีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐเกาหลี พระพุทธศาสนาในเกาหลีเหนือไม่สามารถที่จะรู้สถานการณ์ได้ เพราะเกาหลีเหนือปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ส่วนเกาหลีใต้ได้มีมีการฟื้นฟูขึ้น ได้ยกเลิกข้อบังคับสมัยที่ญี่ปุ่นยึดครองมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของเกาหลี คือ มหาวิทยาลัยดงกุก

                ในปี พ.ศ.2507 คณะสงฆ์เกาหลีใต้ได้จัดตั้งโครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับเกาหลีขึ้นเรียกว่า ศูนย์แปลพระไตรปิฎกเกาหลี ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยดงกุก ประชาชนในเกาหลีใต้นับถือพระพุทธศาสนานิกายเซนผสมกับความเชื่อในพระอมิตาภพุทธะ และ พระศรีอารยเมตไตรย หรือพระเมตตรัยโพธิสัตว์

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น

                พระพุทธศาสนาเข้าสู่ญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี โดย พระเจ้าเซมาโวแห่งเกาหลีส่งราชทูตไปยังราชสำนักพระจักรพรรดิกิมเมจิพร้อม ด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์ะพุทธธรรมและพระราชสาร์นแสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้พระจักรพรรดิกิม เมจิรับนับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น ซึ่งเจริญเป็นอย่างมาก หลังจากพระจักรพรรดิกิมเมจิสิ้นพระชนม์แล้ว จักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็มิได้ใส่พระทัยในพระพุทธศาสนา จนถึงสมัยของพระจักรพรรดินีซุยโกได้ทรงสถาปนาเจ้าชายโชโตกุ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เจ้าชายพระองค์นี้เองที่ได้ทรงวางรากฐานการปกครองประเทศญี่ปุ่นและสร้าง สรรค์วัฒนธรรมพร้อมทั้งทรงเชิดชูพระพุทธศาสนา และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.1137พระองค์ได้ประกาศพระราชโองการเชิดชูพระรัตนตรัย ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างมั่นคงในญี่ปุ่นจนได้ชื่อว่า ยุคโฮโก คือ ยุคที่สัทธรรมไพโรจน์ หลัง จากเจ้าชายโชโตกุ สิ้นพระชนม์ ประชาชนรวมใจกันสร้างพระพุทธรูปขนาดเท่าองค์เจ้าชายโชโตกุขึ้น 1 องค์ ประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดโฮริวจิ

                หลังจากนั้นพระพุทธศาสนาก็แบ่งเป็นหลายนิกาย จนถึงยุคเมอิจิพระ พุทธศาสนาก็เสื่อมลงอย่างหนักลัทธิชินโตขึ้นมาแทนที่ และศาสนาคริสต์ก็เริ่มเผยแผ่พร้อมกับวัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาใน ญี่ปุ่นทำให้การศึกษาเจริญขึ้น พระพุทธศาสนาถูกยกขึ้นมาในแง่ของวิชาการ

                ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่นนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไป กับศาสนาชินโต พระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็นหลายนิกาย แต่นิกายที่สำคัญมี 5 นิกาย คือ นิกายเทนได นิกายชินงอน นิกายโจโด (สุขาวดี) นิกายเซน (ธฺยาน หรือฌาน เป็นที่นิยมมากที่สุด) และนิกายนิจิเรน

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศทิเบต

                แต่เดิมชาวทิเบตนับถือลัทธิบอนโป ซึ่งเป็นลัทธิที่นับถือผีสางเทวดา ต่อมาพระเจ้าสรองสันคัมโป ทรงขึ้นครองราชย์ ได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเนปาลและเจ้าหญิงจีน ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา ทำให้พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ทิเบต และแพร่หลายในรัชสมัยของกษัตริย์ทิเบตพระองค์ที่ 5 กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มา แทบทุกพระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศานาทำให้พระพุทธศาสนาได้รับการ อุปถัมภ์บำรุงอย่างดี พุทธศตวรรษที่ 16 พระทีปังกรศรีชญาณ(พระอตีศะ)จาก มหาวิทยาชลัยวิกรมศิลา แคว้นพิหาร                 ประเทศอินเดีย ได้รับการอาราธนาเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทิเบตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ พระพุทธศาสนาประดิษฐานมั่นคง เป็นศาสนาประจำชาติทิเบตในเวลาต่อมา

                พระพุทธศาสนาในทิเบตมีหลายนิกาย นิกายเก่าที่นับถือพระปัทมสัมภวะนั้นต่อมาได้ชื่อว่า นิกายหมวกแดง ต่อมาพระตสองขะปะ ได้ปฎิรูปหลักคำสอนของนิกายหมวกแดงนี้แล้วตั้งนิกายใหม่ขึ้น ชื่อว่า นิกายเกลุกปะ หรือ นิกายหมวกเหลือง นิกายนี้ได้รับการยกย่องจากผู้ปกครองมองโกลว่าเป็นผู้นำทางจิตใจ และต่อมาถือว่าเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองด้วย

                ในรัชสมัยของพระเจ้าอัลตันข่าน พระองค์ได้พบประมุขสงฆ์องค์ที่ 3 ของนิกายเกลุกปะ ชื่อ สอดนัมยาโส พระองค์ เกิดความเชื่อว่าพระสอดนัมยาโสนี้เป็นอาจารย์ของพระองค์ในชาติก่อนจึงเรียก พระสอดนัมยาโสว่า ดะเล หรือ ดะไล (Dalai ) ตั้งแต่นั้นมาประมุขสงฆ์ของธิเบตจะพูกเรียกว่า ดะไลลามะ ดะไลลามะบางองค์ได้รับมอบอำนาจจากผู้นำมองโกลให้ปกครองประเทศธิเบตทั้งหมดทำ ให้พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรือง จนถึงองค์ที่ 7 (พ.ศ.2351-2401) ทิเบตเข้าสู่ยุคของการปิดประตูอยู่โดดเดี่ยวเนื่องจากได้รับความผันผวนและ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จีนแดงเข้าครอบครองในปี พ.ศ.2494

                ขณะนี้ดะไลลามะประมุขสงฆ์ของทิเบตองค์ปัจจุบัน เป็นองค์ที่ 14 ทรงพำนักลี้ภัยอยู่ในประเทศอินเดีย ตั้งแต่ทรงเดินทางหลบหนีออกจากทิเบต พ.ศ.2505เป็นต้นมา

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล

                พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศเนปาลทางประเทศ อินเดีย แต่เดิมนั้นประเทศเนปาลเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า คือ สวนลุมพินีวัน อยู่ในเขตประเทศเนปาลปัจจุบัน

                ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้พระราชทานพระราชธิดา พระนามว่า จารุมตี ให้แก่ขุนนางผู้ใหญ่ชาวเนปาล พระเจ้าอโศกมหาราชและเจ้าหญิงจารุมตีได้ทรงสร้างวัดและเจดีย์หลายแห่ง ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ที่นครกาฐมาณฑุในปัจจุบัน ในสมัยที่ชาวมุสลิมเข้ารุกรานแคว้นพิหารและเบงกอล ในประเทศอินเดีย พระภิกษุจากอินเดียต้องหลบหนีภัยเข้าไปอาศัยอยู่ในเนปาล ซึ่งพระภิกษุเหล่านั้นก็ได้นำคำภีร์อันมีค่ามากมายไปด้วย และมีการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีจนถึงทุกวันนี้ และเมื่อมหาวิทยาลัยลันทา(ในประเทศอินเดีย) ถูกทำลายซึ่งทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญไปจากอินเดียแล้ว ก็ส่งผลให้พระพุทธศาสนาในเนปาลพลอยเสื่อมลงด้วย คุณลักษณะพิเศษที่เป็นเครื่องประจำพระพุทธศาสนา เช่น ชีวิตพระสงฆ์ในวัดวาอาราม การต่อต้าน การถือวรรณะ การปลดเปลื้องความเชื่อไสยศาสตร์หายไป

                พระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล ในยุคแรกเป็นพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมหรือแบบเถรวาท ต่อมาเถรวาทเสื่อมสูญไป เนปาลได้กลายเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนามหายานนิกายตันตระซึ่งใช้คาถาอาคม และพิธีกรรมแบบไสยศาสตร์ นอกจากนี้ได้มีนิกายพุทธปรัชญาสำนักใหญ่ ๆ เกิดขึ้นอีก 4 นิกาย คือ สวาภาวิภะ ไอศวริกะ การมิกะ และยาตริกะ

                ปัจจุบันได้มีการฟื้นฟูการศึกษาพระพุทธศาสนาฝ่าย เถรวาทขึ้นในประเทศเนปาลโดยส่งพระภิกษุสงฆ์สามเณรไปศึกษาในประเทศที่นับถือ พระพุทธศาสนา เช่น ประเทศไทย พม่า ศรีลังกา โดยเฉพาะในประเทศไทยนั้นพระภิกษุสามเณรชาวเนปาล ซึ่งได้อุปสมบาทและบรรพชาแบบเถรวาทได้มาศึกษาปริยัติธรรมและศึกษาใน มหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง คือมหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในประเทศเนปาลเองมีสมาคมแห่งหนึ่งชื่อธรรโมทัย สภาได้อุปถัมภ์ให้พระภิกษุสงฆ์จากประเทศศรีลังกาและพระภิกษุสงฆ์ในประเทศ เนปาลที่ได้รับการอบรม มาจากประเทศศรีลังกา ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง พร้อมทั้งมีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็นภาษาท้องถิ่นพิมพ์ออกเผยแพร่เป็น จำนวนมากด้วย

ใบความรู้

เรื่อง  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศต่าง  ๆ ทั่วโลก 

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป

 การเผยแผ่และการนับถือศาสนาในทวีปยุโรป

          พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าไปในทวีปยุโรป  โดยผ่านทางประเทศกรีซก่อนในช่วงพุทธสตวรรษต้น ๆ  แต่ทว่ายังไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนักจนกระทั่งหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นมา  เมื่อชาวยุโรปได้ประเทศต่าง ๆ  ในทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า เขมร ลาว และบางส่วนของจีนเป็นอาณานิคมแล้ว ก็พบว่าชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา  ซึ่งมีหลักธรรมคำสั่งสอนอันลึกซึ้ง  มีเหตุมีผลถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ จึงบังเกิดความสนใจและเมื่อได้ทำการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ  เพิ่มเติม  ก็ประจักษ์ว่าหลักธรรมของพระพุทธศาสนาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างดียิ่ง

                 จึงมีการนำหลักธรรมดังกล่าวออกเผยแพร่ในหมู่ชาวยุโรปด้วยกัน เหตุผลที่ทำให้ชาวยุโรปเริ่มสนใจพระพุทธศาสนาก็เพราะประทับใจ  หลักการของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนให้บุคคลอย่าเชื่อถือคำสอนของพระองค์โดยทันที จนกว่าจะได้ใคร่ครวญพิจารณาหรือทดลองปฏิบัติดูก่อน เมื่อเห็นผลแล้วจึงค่อยเชื่อ นอกจากนี้ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาก็เน้นถึงความมีเมตตากรุณา ความรัก การไม่เบียดเบียนต่อกัน ส่งเสริมเสรีภาพ ภราดรภาพ และความเสมอภาค จึงส่งผลให้มีชาวยุโรปประกาศตนเป็นพุทธมามกะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเราสามารถแบ่งรายละเอียดเป็นประเทศๆ ได้ดังนี้

   
 การเผยแผ่ศาสนาในประเทศอังกฤษ

                การเผยแผ่ในประเทศอังกฤษเริ่มต้นขึ้นเมื่อ  พ.ศ. 2393  โดยนายสเปนเซอร์  อาร์ดี ตีพิมพ์หนังสือชื่อ ศาสนจักรแห่งบูรพาทิศ”  ออกเผยแผ่ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก จนกระทั่งเมื่อ เซอร์ เอ็ดวิน  อาร์ดนลด์เขียนหนังสือเรื่อง ประทีปแห่งเอเชียออกสู่สายตามหาชนใน พ.ศ.2422  นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  ชาวอังกฤษก็เริ่มตื่นตัวหันมาสนใจในพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อย ๆ  โยชาวอังกฤษได้ร่วมมือกับชาวพุทธในประเทศต่าง ๆ    ก่อตั้งสมาคมเพื่อดำเนินงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษขึ้นหลายสมาคมที่สำคัญได้แก่สมาคมบาลีปกรณ์  จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษ  พุทธสมาคมระหว่างชาติ (สาขาลอนดอน)  ของพม่า  ตีพิมพ์หนังสือชื่อ  พระพุทธศาสนาพุทธสมาคมแห่งเกรตบริเตนและไอร์แลนด์ออกวารสารชื่อ พุทธศาสตร์ปริทัศน์”  สมาคมมหาโพธิ์ (สาขาลอนดอน)  ของศรีลังกาออกวารสารชื่อ ชาวพุทธอังกฤษและ ธรรมจักรเป็นต้นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอังกฤษนี้ถึงแม้พุทธสมาคมต่าง ๆ  จะนับถืนิกายแตกต่างกัน  เช่น  นิกายเถรวาท นิกายมหายาน  นิกายเซน  นิกายสุขาวดี ฯลฯ  แต่ทุกสมาคมก็สมัครสมานสามัคคีกันดี  โดยมีการจัดกิจกรรมและประชุมกันบ่อยครั้ง ทั้งนี้เพื่อทำให้พระพุทธศาสนาสามารถเผยแผ่ออกไปได้อย่างกว้างขวาง  

อนึ่งได้มีการจัดตั้งวิหารทางพระพุทธศาสนาขึ้นหลายแห่งในประเทศอังกฤษ เป็นต้นว่าพุทธวิหารลอนดอนของประเทศศรีลังกา  วัดของมูลนิธิสงฆ์อังกฤษที่ถนน      แฮมสเตท และมีวัดของชาวพุทธศรีลังกา  ที่ตำบลซิลิค กรุงลอนดอน วัดทิเบตที่บิดดอล์ฟ ประเทศสกอตแลนด์  วัดไทยพุทธประทีปที่กรุงลอนดอนเกิดขึ้น  ต่อมาก็มีวัดอื่น ๆ  เช่น วัดป่าจิตตวิเวก เมืองแฮมไชร์ วัดป่าสันติธรรม เมืองวอริค วัดอมราวดี และวัดสังฆทาน เมืองเบอร์มิงแฮม

                พระภิกษุไทยได้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา  สอนวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ชาวพุทธในประเทศอังกฤษ  โดยเฉพาะป่า จิตตวิเวก  วัดอมราวดี และวัดป่าสันติธรรม ได้มีชาวอังกฤษมาบวชศึกษาปฏิบัติจากหลวงพ่อชา สุภัทโท พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีชื่อเสียง  แล้วกลับไปเผยแผ่ยังประเทศของตน งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงกระจายไปได้อย่างรวดเร็ว    นอกจากนี้พระเขมธัมโม  ได้เข้าไปสอนนักโทษตาม        ทัณฑสถานต่าง ๆ  โดยความร่วมมือของรัฐ  ผลักดันให้คุกเป็น สถานปฏิบัติธรรมของนักโทษ  และโครงการองคุลีมารเพื่อช่วย เหลือนักโทษ  โดยมิได้แบ่งว่านับถือศาสนาพุทธหรือศาสนาอื่น  ๆ

                กล่าวโดยสรุป  ปัจจุบันมีชาวอังกฤษประกาศตนเป็นพุทธมามกะมากขึ้นเรื่อย ๆ  และจากรายงานในวารสาร  ทางสายกลาง”   ของ   พุทธสมาคมลอนดอนระบุว่า มีสมาคมและองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจัดตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษแล้วประมาณ 32 แห่ง

 การเผยแผ่ศาสนาในประเทศเยอรมนี

                ชาวเยอรมันได้ยอมรับพระพุทธศาสนาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว แต่เป็นเพียงชนส่วนน้อยเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อลัทธินาซีเรืองอำนาจ พระพุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อมไปจากประเทศเยอรมนี

                หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2  เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 2  ประเทศ พระพุทธศาสนาค่อย ๆ  ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ในประเทศสาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมันตะวันตก) โดย ดร.คาร์ล ไซเกนสิตคเกอร์ และ ดร.ยอร์จ  กริมม์   ได้ร่วมมือตั้งพุทธสมาคมเยอรมันขึ้นที่เมืองไลป์ซิก  เมื่อ พ.ศ. 2464  เพื่อทำการเผยแผ่หลักธรรมและดำเนินกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา 

                การเผยแผ่พุทธศาสนาในประเทศเยอรมันตะวันตก ดำเนินการโดยเอกชนร่วมมือกับภิกษุสงฆ์จาก ญี่ปุ่น ไทย ศรีลังกา ไทย ทิเบต จัดพิมพ์วารสารแลจุลสารออกเผยแผ่ เช่นกลุ่มชาวพุทธเก่าตีพิมพ์วารสารชื่อ  ยานสมาคมพระธรรมทูตศรีลังกาและชาวพุทธในเมืองฮัมบูร์ก ออกวารสารพระพุทธศาสนาฉบับภาษาเยอรมัน นอกจากนี้ก็มีการจัดแสดงปาฐกถาอภิปราย และสนทนาธรรมที่กรุงเบอร์ลินตะวันตกประมาณ 5 – 10 ครั้งต่อเดือน รวมทั้งยังมีศาสตราจารย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องราวทางด้านพระพุทธศาสนานิกายสุขาวดีอยู่ในกรุงเบอร์ลินตะวันตก เมืองมิวนิกและฮัมบูร์ก เป็นประจำอีกด้วย

                เมื่อเยอรมนีตะวันตกได้รวมเข้ากับเยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศเดียว  ก็พอที่จะคาดการณได้ว่าคงจะมีชาวเยอรมันประกาศตนเป็นพุทธมามกะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองฮัมบูร์ก  เบอร์ลิน  สตุตการ์ต  มิวนิก  โคโลญ และ แฟรงค์เฟิร์ต  ส่วนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญ มักจะกระทำกันที่  ศาสนสภาแห่งกรุงเบอร์ลิน

                  ปัจจุบันนี้ที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีวัดไทย 3 วัด  คือ   วัดพุทธวิหาร  ที่เมืองเบอร์ลิน  วิตเตนัว วัดไทยมิวนิค ที่เมือง มิวนิค และวัด พุทธารามเบอร์ลิน  ซึ่งเป็นศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนี

การเผยแผ่ศาสนาในประเทศฝรั่งเศส

                การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศฝรั่งเศสเริ่มขึ้นเมื่อ  พ.ศ. 2471  โดยกลุ่มพุทธศาสนิกชนชาวฝรั่งเศส ซึ่งมี นางสาวคอนสแตนต์  ลอนสเบอรี เป็นผู้นำ ได้ร่วมกันจัดตั้งพุทธสมาคม ชื่อ เล ซามี ดู บุดดิสเมขึ้นที่กรุงปารีส พุทธสมาคมแห่งนี้นอกจากจะทำการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนิกายเถรวาทแล้ว ก็ยังได้จัดให้มีการแสดงธรรมอภิปรายเรื่องราวของธรรมะ ออกวารสารพระพุทธศาสนารายเดือน ฝึกอบรมการนั่งสมาธิและวิปัสสนาให้แก่ผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ยังได้นิมนต์พระสงฆ์จากประเทศไทย พม่า ลาว เดินทางไปแสดงพระธรรมเทศนาที่กรุงปารีส และนางสาวคอนสแตนต์ ก็ยังเป็นผู้ริเริ่มการแปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีเป็นภาษาฝรั่งเศสด้วย

                ปัจจุบันสถานะของพระพุทธศาสนาในฝรั่งเศสยังไม่รุ่งเรืองนัก  การเผยแผ่และการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาดำเนินการโดยพระภิกษุจากไทย ญี่ปุ่น ศรีลังกา  กลุ่มพุทธศาสนิกชน  จากประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ  และเมื่อถึงวันวิสาขบูชา ของทุก ๆ ปี ชาวพุทธในกรุงปารีสจะประกอบพิธีเวียนเทียนกัน ที่วิหารของพุทธสมาคม โยมีวัดไทยตั้งอยู่ 2 แห่ง

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต

                สหภาพโซเวียตจัดเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก  โดยมีดินแดนครอบคลุมถึง 2 ทวีป คือ  ยุโรปและเอเชีย  จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่สหภาพโซเวียตซึ่งในขณะนั้นเรียกว่า  รุสเซีย”  เมื่อครั้งที่พวกมองโกลภายใต้การนำของพระจักพรรดิเจงกิสข่าน  ยกทัพมารุกราน ยุโรปเมื่อ พ.ศ. 1766  และสามารถปกครองรุสเซีย อยู่เป็นเวลานานประมาณ 250 ปี แต่ทว่ามีชาวรุสเซียเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยอมรับพระพุทธศาสนา

                 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1  ได้มีผู้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในรุสเซียอีก เช่น มาดามเชอร์บาตรสกี และ มร. บี.เอ็น.  โตโปรอฟ  แปลหนังสือธรรมบทจากภาษาบาลีเป็นภาษารุสเซีย  นอกจากนี้ก็ยังมีการจัดตั้งพุทธสมาคมขึ้นในรุสเซียด้วย  มีชื่อว่า  บิบลิโอเธคา พุทธิคา”  แต่การเผยแผ่พุทธศาสนาก็ทำได้ในขอบเขตที่จำกัด เนื่องจากสหภาพโซเวียตมีระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์  จึงสั่งห้ามมิให้บุคคล  องค์การ  สมาคม  ทำการโฆษณาเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของศาสนาจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากทางการเสียก่อน การประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่ที่จัดทำขึ้นในสหภาพโซเวียต ก็คืองานเฉลิมฉลอง 25     พุทธศตวรรษ เมื่อ พ.ศ. 2500 ที่กรุงมอสโก

                ปัจจุบันเมื่อมีการแยกตัวเป็นรัฐเอกราชต่าง ๆ  ก็ทำให้ชาวพุทธกระจายกันออกไปแต่ละรัฐ เช่น สหพันธรัฐเซีย  สาธารณรัฐลิทัวเนีย  สาธารณรัฐคาซัคสถาน  เป็นต้น  ซึ่งโดยมากมักจะนับถือนิกายตันตระ  ส่วนวัดมีเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งโดยวัดส่วนใหญ่จะถูกดัดแปลงทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา  และบางแห่งก็ถูกดัดแปลงทำเป็นสถานที่ราชการ  วัดสำคัญ ๆ  ได้แก่ วัดไอโวกินสกีมหายานและวัดอีโวลกาในสหพันธ์รัสเซีย เป็นต้น

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์

                พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์โดยผ่านมาทางพ่อค้าชาวดัตช์และชาวพื้นเมืองจากประเทศอินโดนีเซียและศรีลังกา  ซึ่งเดินทางเข้ามาศึกษาเล่าเรียนอยู่ในกรุงอัมสเตอร์ดัม แต่ทว่าก็มีผู้นับถืออยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น

                หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ชาวพุทธในกรุงเฮก ได้ฟื้นฟูชมรมชาวพุทธขึ้นมาใหม่เมื่อ  พ.ศ. 2498  โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการพบปะสังสรรค์กันของพุทธศาสนิกชนในประเทศเนเธอร์แลนด์ ชมรมนี้จะเปิดประชุมทุกวันอังคาร สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ซึ่งในการประชุมทุกครั้งจะเริ่มต้นด้วยการบรรยายหลักธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วอ่านพระสูตรพร้อมกับอธิบายความหรือขยายความเพิ่มเติม และก่อนเปิดประชุมจะมีการฝึกสมาธิก่อน

                ปัจจุบันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์  ดำเนินงานโดยพระภิกษุสงฆ์จากประเทศไทย  ศรีลังกา  และญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่  และมีวัดไทยเกิดขึ้น เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ   วัดพุทธราม และวัดพุทธวิหารอัมสเตอร์ดัม โดยพระ   ธรรมทูตที่ผ่านการอบรมจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ไปอยู่ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา และเป็นที่คาดกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้คงจะมีชาวดัตช์หันมายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นมากเรื่อย

ใบความรู้

เรื่อง  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศต่าง  ๆ ทั่วโลก

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกาเหนือ

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกา

                พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่สหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 25 โดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เริ่มจัดพิมพ์หนังสือสำคัญๆ ของตะวันออก ซึ่งมีเรื่องราวของพระพุทธศาสนารวมอยู่ด้วย เช่น Buddhist Legends ของ อี. ดับบลิว. เบอร์ลิงเกม Buddhism in Translation ของ เอช. ซี. วอเรน ทำให้ชาวอเมริกันโดยเฉพาะปัญญาชนหันมาสนใจพระพุทธศาสนา นอกจากนี้หนังสือ ประทีปแหงเอเชีย ของ เซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ก็มีส่วนทำให้ชาวอเมริกันสนใจพระพุทธศาสนา เฉพาะหนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแผ่พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกามากกว่า 80 ครั้ง   บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในสหรัฐอเมริกาช่วงแรกๆ คือ พันเอก เฮนรี สตีล ออลคอตต์

                พันเอก เฮนรี สตีล ออลคอตต์ เป็นนักกฎหมายชาวอเมริกัน ได้เดินทางไปยังประเทศศรีลังกา เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2423 และได้ประกาศตนเป็นพุทธศาสนิกชนพร้อมทั้งได้ตั้งสมาคมพุทธเทวนิยมขึ้น เพื่อตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กชาวพุทธ เมื่อกลับถึงอเมริกาได้แต่งหนังสือชื่อ ปุจฉาวิสัชนาทางพระพุทธศาสนา (Buddhist Catechism) ขึ้นเผยแผ่และได้รับความสนใจจากชาวเมริกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ในคราวประชุมสภาพโลกของศาสนา ในเมืองชิคาโก เมื่อ พ.ศ. 2436 ท่านยังได้รับเชิญให้บรรยายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในที่ประชุม สุนทรพจน์ของท่าเป็นที่ซาบซึ้งใจแก่ผู้ฟังจำนวนมาก

                ในปี พ.ศ. 2442 ท่านโซกัว โซนาดะ พร้อมคณะได้นำพระพุทธศาสนาแบบมหายานนิกายต่างๆ ไปเผยแผ่ในเมืองซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ต่อมาในปี พ.ศ. 2448 ได้มีการสร้างวัดพระพุทธศาสนาขึ้น ณ เมืองแห่งนี้ แบะวัดนี้ก็ได้กลายเป็นที่ทำการใหญ่ของนิกายซินหรือสุขาวดีแห่งญี่ปุ่น   ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ทว่ามั่นคงศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาที่สำคัญๆ ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองซานฟรานซิสโก ลอสอแอนเจลิส และซีแอตเติล

                ในปี พ.ศ. 2497 ได้มีการจัดตั้งพุทธสมาคมขึ้นในวอชิงตัน ดี.ซี. มีชื่อว่า สหายพุทธศาสนา (Friend of Buddhism) สมาคมแห่งนี้ถือว่าเป็นสมาคมที่มีกำลังมากที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา

                ในปี พ.ศ. 2501 พระพิมลธรรม (อาจ อาสภมหาเถระ) ได้รับเชิญจากขบวนการ เอ็ม. อาร์. เอ ไปร่วมประขุมสุดยอดของขบวนการ ขณะที่ท่านพำนักอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี. ซี. ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในหมู่ชาวอเมริกันและชาวไทยในอเมริกาพอสมควร

                ในช่วงปี พ.ศ. 2502-2512 การเผยแพระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มีพระสงฆ์ได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมหรือปาฐกถาธรรมอยู่เสมอ

                จนกระทั่งปี พ.ศ. 2513 ได้มีกลุ่มคณะพุทธศาสนิกชนชาวไทยในสหรัฐอเมริการ่วมกันก่อตั้ง พุทธสมาคมไทย-อเมริกันขึ้น ณ นครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย และได้นิมนต์พระสงฆ์ไทยจำนวน 3 รูป มาจำพรรษาชั่วคราว หลังจากออกพรรษาแล้วได้ประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อสร้างวัดพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบไทยขึ้น

                ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 นายพูนศักดิ์ ซอโสตถิกุล ได้ทำพิธีถวายโฉนดที่ดินให้แก่คณะสงฆ์เพื่อใช้เป็นที่สร้างวัด และในวันที่ 19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ได้วางศิลาฤกษ์สร้าง วันไทยลอสแอนเจลิส เป็นวัดพระพุทธศาสนาแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา

                หลังจากที่ได้สร้างวัดไทยลอสแอนเจลิสขึ้นเป็นแห่งแรกแล้ว การดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง พระสงฆ์ไทยก็ได้รับการนิมนต์ให้ไปทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามรัฐต่างๆ มากขึ้น และมีการสร้างวัดไทยเพิ่มขึ้นในรัฐต่าง ๆ เช่น วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. วัดวชิรธรรมปทีป ในนิวยอร์ก วัดพุทธาราม ในเดนเวอร์ วัดพุทธาวาส ในฮิวส์ตัน เป็นต้น

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศแคนาดา

พระพุทธศาสนาในประเทศแคนาดาก็มีลักษณะเช่นเดียวกับพระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกา คือเริ่มเผยแผ่เข้าสู่แคนาดาโดยมีชาวเอเชียจากประเทศต่าง ๆ เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในแคนาดาซึ่งชาวเอเชียเหล่านี้ก็ได้นำเอาหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ต่อชาวพื้นเมืองด้วยโดยเฉพาะในปัจจุบันนี้มีชาวเกาหลี เวียดนาม เขมรและลาวจำนวนมากได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศแคนาดา     จึงทำให้มีการจัดตั้งพุทธสมาคมขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมทางด้านพระพุทธศาสนาด้วยเหตุนี้จึงทำให้จำนวนชาวพุทธเพิ่มมากขึ้น   

องค์กรที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศแคนาดา     ได้แก่   พุทธสมาคมแห่งออตตาวา       กลุ่มชาวพุทธแห่งโตรอนโต  คณะพระธรรมทูตแห่งอเมริกาเหนือ เป็นต้น
                ปัจจุบัน พระพุทธศาสนาในประเทศแคนาดาส่วนใหญ่ยังคงนับถือกันในกลุ่มคนเอเชียที่ไปตั้งถิ่นฐานในแคนาดา ชาวแคนาดาไม่ค่อยให้ความสนใจในพระพุทธศาสนามากนัก วัดทางพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่จึงเป็นวัดของนิกายสุขาวดีและนิกายเซนแบบญี่ปุ่น

ใบความรู้

เรื่อง  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศต่าง  ๆ ทั่วโลก

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกาใต้

                ประเทศบราซิล

                ชาวเอเชียจากประเทศจีน  เกาหลี  ญี่ปุ่น  เป็นบุคลกลุ่มแรกที่นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่เข้ามาในประเทศบราซิล  ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่  2  ชาวพุทธเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเมืองเซาเปาลู  และรีโอเดจาเนโร  ปัจจุบันมีการสร้างวัดทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานตามเมืองต่าง  ๆ  ทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของประเทศประมาน  30  แห่ง  รวมทั้งมีการจัดตั้งองค์การทางพระพุทธศาสนาขึ้นด้วย  เช่น  สมาคมสหายพระพุทธศาสนา  สหพันธ์พระพุทธศาสนาแห่งบราซิล  และชมรมชาวพุทธญี่ปุ่น  เป็นต้น  อย่างไรก็ตามการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศบราซิลก็ยังจำกัดอยู่แต่เฉพาะในกลุ่มเอเชียเท่านั้น  ส่วนชาวพื้นเมืองที่มีความศรัทธานับถือพระพุทธศาสนายังมีจำนวนน้อย

                ประเทศอื่นในทวีปอเมริกาใต้

                ประเทศอื่นในทวีปอเมริกาใต้มีการปฏิบัติธรรมและการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนากันอยู่บ้างในกรุงบัวโนสไอเรส  เมืองหลวงของประเทศอาเจนตินา  กรุงการากัส  เมืองหลวงของประเทศเวเนซุเอลา  และกรุงมอนเตวิเดโอ  เมืองหลวงของประเทศอุรุกวัย  เพราะมีชาวพุทธเชื้อชาติจีนและญี่ปุ่นอาศัยร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก  ๆ  กล่าวได้ว่า  การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง  ๆ  ของวีปอเมริกาใต้ยังอยู่ในขอบเขตจำกัด  และคงต้องใช้เวลาอีกนับเป็น  สิบ ๆ ปีถึงทำการเผยแผ่ไปได้ทั่ว

ใบความรู้

เรื่อง  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศต่าง  ๆ ทั่วโลก

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในออสเตรเลีย

                พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในทวีปออสเตรเลียตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยพระภิกษุชาวอังกฤษ ชื่อ ศาสนชะ (มร.อี.สตีเวนสัน) ท่านผู้นี้ได้อุปสมบทที่ประเทศพม่า ท่านได้เดินทางเข้าสู่ประเทศออสเตรเลีย และเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวออสเตรเลียโดยแนะนำแต่เพียงว่าพระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาจิตใจ
     หลังสงครามโ,กครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา พระพุทธศาสนาในประเทศออสเตรเลียก็มีการเคลื่นไหวอย่างคึกคัก ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ รัฐควีนสแลนด์ นิวเซาท์เวลส์ และวิกตอเรีย ได้จัดตั้งพุทธสมาคมขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแผ่หลักธรรมในพระพุทธศาสนา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พุทธสมาคมแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ก็ได้จัดพิมพ์วารสารเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาออกเผยแพร่ให้กับผู้สนใจและในปี ๒๔๙๘ ก็มีการจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งรัฐแทสเมเนียขึ้น

ในขณะเดียวกัน คือ ในปี ๒๔๙๗ - ๒๔๙๙ อันเป็นระยะเวลาที่ประเทศพม่ากำลังมีการสังคายนาครั้งที่ ๖ พระเถระชาวพม่าชื่อ อู ฐิติละ ได้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศออสเตรเลีย มีผู้สนใจฟังการบรรยายธรรมเป็นอัมมาก ท่านอูฐิติละได้จัดอบรมกรรมฐานแก่ชาวออสเตรลียด้วย มีผู้บริจาคเงินซื้อที่ดินจะสร้างวัด เพื่อให้มีวัดและพระสงฆ์อยู่ประจำ แต่ท่านอูฐิติละไม่ได้กลับไปออสเตรเลียอีก การสร้างวัดจึงไม่เป็นผลสำเร็จ

ในเวลาต่อมาพุทธสมาคมต่างๆ ทั่วประเทศออสเตรเลีย ได้ร่วมกันจัดตั้งสหพันธ์พระพุทธศาสนาแห่งออสเตรเลียขึ้นโดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงแคนเบอร์รา ทั้งนี้ก็เพื่อจะทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างมีระบบโดยสหพันธ์แห่งนี้จัดให้เป็นสถานที่จัดแสดงปาฐกถาธรรม สัมมนาทางวิชาการ อ๓ิปรายธรรม และใช้เป็นศูนย์รวมในการประกอบศาสนกิจตามประเพณีของพระพุทธศาสนาทำให้มีผู้หันมานับถือพระพุทธศาสนามากขึ้นเป็นลำดับ

สำหรับประเทศนิวซีแลนด์นั้น   การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็คล้ายคลึงกับของประเทศออสเตรเลีย            แต่พระพุทธศาสนาในประเทศนิวซีแลนด์ยังไม่รุ่งเรืองเป็นที่ยอมรับเหมือนในประเทศออสเตรเลีย    ส่วนใหญ่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะดำเนินการ โดยพระภิกษุสงฆ์ชาวญี่ปุ่น  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพุทธสมาคมแห่งเมืองฌอคแลนด์

พระพุทธศาสนาในทวีปออสเตรเลียในปัจจุบัน

พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาติอื่นๆ ได้เไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปออสเตรเลียมากขึ้น ชาวออสเตรเลียได้มาอุปสมบทในประเทศไทยและประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท มีการสร้างวัดไทยขึ้นทั้งในประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนา เช่น วัดธรรมรังสี  วัดรัตนประทีป  วัดป่าพุทธรังสี   วัดป่าสุญญตาราม บันดานูน   วัดธรรมธารา

ใบความรู้

เรื่อง  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศต่าง  ๆ ทั่วโลก

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแอฟริกา

ประเทศอียิปต์

                การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอียิปต์นั้น  ส่วนใหญ่จะเป็นไปในรูปแบบอย่างไม่เป็นทางการ กล่าวคือ เกิดจากการที่มีชาวพุทธโดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น เกาหลี ไทย ศรีลังกาอินเดียเดินทางเขาไปทำงาน ศึกษา ท่องเที่ยงในอียิปต์  แล้วบุคคลเหล่านี้ก็ค่อยๆ ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาให้กับชาวอียิปต์รุ่นใหม่  ซึ่งไม่ใคร่ยึดติดกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนมากนัก  ให้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาด้วย  แต่ก็ยังมีจำนวนไม่มากนักประมาณว่าไม่น่าจะเกิน 10,000 คนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงไคโร  และเมืองอะเล็กซานเดรีย นอกจากนั้นก็มีชาวพุทธที่ไปอาศัยอยู่ในอีกจำนวนหนึ่ง

                ในช่วงวันวิสาขบูชาชาวพุทธที่อียิปต์จะมารวมตัวกัน  ณ สถานทูตของประเทศตนหรือสมาคมที่ชาวพุทธเป็นเจ้าของ  เพื่อปฏิบัติศาสนกิจด้วยการเวียนเทียนกันเป็นกลุ่มเล็กๆ  และเชิญผู้ทรงภูมิมาแสดงธรรมเป็นเวลาสั้นๆ ปัจจุบันพระพุทธศาสนาในอียิปต์ยังเผยแผ่ได้น้อย  เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านวัฒนธรรม

ประเทศเคนยา

                พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศเคนยา  ผ่านมาทางชาวพุทธอินเดีย  และศรีลังกาที่เดินทางเข้าไปทำงานในไร่การเกษตรของชาวอังกฤษ  ซึ่งในช่วงแรกๆ ก็จำกัดขอบเขตที่ผู้นับถือเฉพาะชาวเอเชียเท่านั้น  ภายหลังชาวเคนยาซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนหนึ่งที่นับถือลัทธิภูตผีปีศาจ  ได้หันมายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาบ้าง แต่ยังคงเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยอาศัยอยู่ตามเมืองท่าทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศ

                ภายหลังจากการประชุมศาสนาและสันติภาพของโลก ที่นครไนโรบีเมื่อเดือนสิงหาคม  พ.ศ.2527 การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเคนยาเริ่มมีรูปแบบมากขึ้น เมื่อมีความพยายามที่จะก่อตั้งชมรมชาวพุทธในเคนยาขึ้นมาและมีการนิมนต์พระสงฆ์จากญี่ปุ่น จีน ไทยเพื่อให้เดินทางเข้ามาเผยแผ่หลักธรรมในประเทศนี้แต่ก็เป็นช่วงสั้นๆ  และไม่ประสบความสำเร็จคืบหน้ามากนัก เนื่องจากสถานภาพในประเทศเคนยาก็มีปัญหาทั้งในเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ  รวมทั้งชนพื้นเมืองบางกลุ่มมีความไม่เป็นมิตรนักสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาแตกต่างไปจากตน  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศนี้จึงค่อนข้างมีปัญหามาก ปัจจุบันในประเทศเคนยามีผู้นับถือพระพุทธศาสนาอยู่เพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเอเชีย โดยเฉพาะชาวอินเดียและศรีลังกา นอกจากนั้นก็มีชาวพื้นเมืองอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งจำนวนไม่มากนัก