ข้อใด ไม่ใช่ เงินทุนหมุนเวียน

ในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การบริหารจัดการเงินทุน เพื่อให้ธุรกิจนั้น ๆ สามารถดำเนินการต่อไปได้ด้วยดีอย่างมีสภาพคล่อง โดยปราศจากความเสี่ยงใด ๆ ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องรู้ข้อมูลพื้นฐานของธุรกิจตัวเองอย่างถ่องแท้เสียก่อน ทั้งในส่วนของงบประมาณในการลงทุน ขนาดของธุรกิจ สภาพคล่องของธุรกิจ กำไรและความเสี่ยง หรือที่เรียกกันว่าแผนธุรกิจนั่นเอง เพื่อจะได้บริหารจัดการเงินทุนได้ตามสภาพความเป็นจริง รวมถึงการมองภาพการเติบโตของธุรกิจในอนาคตด้วย

ทั้งนี้การประกอบธุรกิจโดยทั่วไปสามารถแบ่งเงินทุนได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ เงินทุนคงที่ (Fixed Capital) หมายถึง เงินทุนในการใช้จ่ายเกี่ยวกับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน

Show

อาคาร หรือโรงงาน และ เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) ที่ไว้ใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ ค่าการผลิต ค่าจ้างแรงงาน รวมถึงการส่งสินค้าไปยังผู้บริโภค

โดยในส่วนเงินทุนสองประเภทนี้หากไม่ได้กู้ยืมมาจากสถาบันการเงินที่ใด เป็นเงินทุนของผู้ประกอบการหรือหุ้นส่วนก็จะหมดกังวลในเรื่องดอกเบี้ย แต่ถ้ากู้ยืมเงินดังกล่าวมาจากธนาคารจะต้องมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอบและลดความเสี่ยงให้มากที่สุด

นั่นหมายถึงว่าจะต้องมีการคำนวณรายรับ-รายจ่ายให้ดีอย่างถี่ถ้วน

 

ต้องมีเงินสำรองไว้จำนวนหนึ่งเสมอ เผื่อไว้ในกรณีที่ธุรกิจมีปัญหา

สำหรับการวางแผนเงินทุน โดยเฉพาะในส่วนของเงินทุนหมุนเวียนนั้น กูรูทางด้านธุรกิจให้คำแนะนำตรงกันว่า จะต้องมีเงินสำรองไว้จำนวนหนึ่งเสมอ เผื่อไว้ในกรณีที่ธุรกิจมีปัญหา เพราะบางเรื่องบางกรณีไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ซึ่งอาจจะมีเหตุมาจากปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศ หากไม่มีเงินสำรองไว้อาจจะเกิดปัญหาทำให้ธุรกิจสะดุดหรือสุดท้ายต้องปิดกิจการ ส่วนเงินก้อนนี้ควรจะมีมากน้อยเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจนั้น ๆ ด้วย

กรณีเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ๆ ที่ลูกค้ายังไม่รู้จักสินค้าหรือบริการ ยิ่งจำเป็นต้องมี พูดง่าย ๆ คือ สายป่านต้องยาวในระดับหนึ่งเพื่อให้สินค้านั้นเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลามากน้อยแตกต่างกันไป

ตัวอย่างหนึ่งของความจำเป็นที่ต้องมีเงินสำรองไว้ อย่างเช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในบ้านเราช่วงนี้ ประกอบกับการส่งออกก็มีปัญหาเนื่องจากประเทศคู่ค้าไม่ว่าจะเป็นจีน สหรัฐหรือยุโรป สั่งซื้อสินค้าน้อยลง ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยจำเป็นต้องพยุงกิจการตัวเองไว้ด้วยการนำเงินเก่าที่สะสมมาไว้ใช้เป็นค่าจ้างแรงงาน เพราะในแต่ละวันขายสินค้าได้ไม่ดีเหมือนแต่ก่อน ผู้คนระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย อีกทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติลดจำนวนลง ทางออกของผู้ประกอบการในภาวะวิกฤตินี้คือ ต้องหาทางลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในทุกวิถีทางเท่าที่จะทำได้

อันที่จริงแล้วการบริหารจัดการเงินทุนไม่ใช่เรื่องยากหรือสลับซับซ้อนอะไร จุดเริ่มต้นอยู่ที่การวางแผนและมีเป้าหมายชัดเจน มีวินัยทางการเงินที่ดี พร้อมทำตามแผนอย่างเคร่งครัด ซึ่งถ้าบริหารจัดการเงินทุนดี ย่อมหมายถึงการมีเงินสะสมจากผลกำไรที่ได้ในธุรกิจนั้น ๆ และนั่นจะส่งผลให้ธุรกิจมีโอกาสขยายเติบโตได้อย่างแน่นอน

แหล่งเงินทุนภายใน คืออะไร เรื่องใกล้ตัวที่คนทำธุรกิจต้องรู้ !

แหล่งเงินทุนภายใน

คำว่า “แหล่งเงินทุน” เป็นสิ่งที่คนทำธุรกิจมักจจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เชื่อว่าส่วนมากแล้วผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็จะนิยมหาแหล่งเงินทุนก่อนที่จะมาทำธุรกิจกันมาบ้างแล้ว แหล่งเงินทุนนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แหล่งเงินทุนภายใน และแหล่งเงินทุนภายนอก ซึ่งแหล่งเงินทุนทั้ง 2 ประเภทนี้นั้นมีจุดประสงค์ที่เหมือนกัน แต่ก็จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ส่วนมากแล้วผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็วาดหวังเอาไว้ว่า แหล่งเงินทุนภายใน นี่แหละคือแหล่งเงินทุนในฝัน หากถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ในบทความนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ แต่ก่อนอื่นเราลองไปดูความหมายของแหล่งเงินทุนภายนอกเสียก่อน

แหล่งเงินทุนภายนอก เป็นแหล่งเงินทุนที่ได้มาจากบุคคลอื่น ไม่ได้มาจากทางบริษัทหรือผุ้ประกอบการเองโดยตรง ส่วนมากจะเป็นการกู้ยืมจากผู้ให้บริการสินเชื่อ หรือสถาบันการเงิน ธนาคารต่าง ๆ เสียมากกว่า ต่อไปเราจะไปดูความหมายของแหล่งเงินทุนภายในกันค่ะว่าคืออะไร

แหล่งเงินทุนภายใน

แหล่งเงินทุนภายใน ถือว่าเป็นแหล่งเงินทุนที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่นั้นวาดหวังที่อยากจะให้มีอย่างที่สุด แหล่งเงินทุนภายในนี้ทางผู้ประกอบการสามารถที่จะจัดหาเงินทุนมาได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ผ่านบุคคลภายนอก พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นเงินทุนที่มาจากตัวของกิจการเอง ไม่ได้ผ่านการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน หรือธนาคารเลยแม้แต่น้อย

ทำไมผู้ประกอบการถึงชอบแหล่งเงินทุนภายในมากกว่าแหล่งเงินทุนภายนอก

1.ส่วนมากแล้วแหล่งเงินทุนภายในนั้นจะไม่มีต้นทุนทางการเงิน ในกรณีที่มีต้นทุนทางการเงินนั้นก็จะต่ำมาก

2.การใช้แหล่งเงินทุนภายในนั้นไม่ต้องเสียเวลาเตรียมเอกสารประกอบต่าง ๆ

3.ผู้ประกอบการสามารถควบคุมแหล่งเงินทุนภายในได้ด้วยตัวเอง ไม่มีเงื่อนไขที่ยุ่งยากแบบแหล่งเงินทุนภายนอก

4.หากกิจการไหนมีแหล่งเงินทุนภายในที่เพียงพอกับกความต้องการใช้งาน นั่นหมายความว่ากิจการนั้น ๆ ดีเยี่ยม แหล่เงินทุนภายในถือว่าเป็นสิ่งที่ประเมินประสิทธิภาพของกิจการนั้น ๆ

แหล่งเงินทุนภายใน มีอะไรบ้าง

1.กำไรสะสมของกิจการ

กำไรสะสมของกิจการ ถือได้ว่าเป็นแหล่งเงินทุนภายในที่เอาไว้วัดประสิทธิภาพของกิจการนั้น ๆ เลยก็ว่าได้ ตามหลักธรรมชาติแล้วหากกิจการไหนมีผลกำไรที่ดี แน่นอนเลยว่าส่งผลดีตอ่ตัวของกิจการสุด ๆ ซึ่งผู้ประกอกบการสามารถนำกำไรสะสมของกิจการมาใช้ต่อยอดในกิจการได้อย่างสบาย ๆ

2.ทรัพย์สินของกิจการ

ผู้ประกอบการสามารถหาแหล่งเงินทุนภายในได้จากทรัพย์สินของกิจการแบบง่าย ๆ คือ การขายทรัพย์สินที่ไม่จำเป็นสำหรับกิจการออกไป เพื่อนำเงินที่ได้มาใช้ลงทุนต่อยอดภายในธุรกิจ

3.เงินส่วนตัวของผู้ประกอบการ

เงินของผู้ประกอบการนี่แหละค่ะ ที่ถือว่าเป็นแหล่งเงินทุนภายในอันดับแรก ๆ ที่ใคร ๆ ก็นิยมใช้กัน เพราสามารถช่วยลดขั้นตอนในการไปหาแหล่งเงินทุนภายนอกได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้.. ทางผู้ประกอบการเองก็ควรจำกัดวงเงินส่วนตัวที่จะนำมาใช้ภายในกิจการเสียด้วย ก่อนที่จะบานปลายไปกันใหญ่

โดยสรุปแล้ว แหล่งเงินทุนภายใน เป็นแหล่งเงินทุนที่กิจการส่วนใหญ่อยากกันแบบสุด ๆ เพราะหากกิจการไหนสามารถใช้เงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายในได้มาก นั่นหมายความว่ากิจการนั้น ๆ มีประสิทธิภาพ ไม่ต้องไปทำเรื่องจัดหาแหล่งเงินทุนจกาการกู้ยืมของสถาบันการเงิน หรือธนาคารอื่น ๆ ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก www.moneywecan.com


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที


  • ตอนที่ 1 : 3 เหตุผลที่ทำให้คุณขอสินเชื่อ SME ไม่ผ่าน
  • ตอนที่ 2 : หาแหล่งเงินทุน SME เพื่อมาทำธุรกิจจากที่ไหนดี ให้คุ้มค่าที่สุด
  • ตอนที่ 3 : ตราสารหนี้ระยะสั้น คืออะไร มีข้อดีอย่างไรบ้าง
  • ตอนที่ 4 : แหล่งเงินทุนภายใน คืออะไร เรื่องใกล้ตัวที่คนทำธุรกิจต้องรู้ !
  • ตอนที่ 5 : สินเชื่อออนไลน์ คืออะไร พร้อมขั้นตอนการยื่นขอสินเชื่อจาก Moneywecan แบบง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
  • ตอนที่ 6 : 3 ข้อดีของ สินเชื่อ SME ออนไลน์ ที่มีดีมากกว่าที่คุณคิด !
  • ตอนที่ 7 : มีเงิน 100,000 ลงทุนอะไรดี ให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ไม่เสียเงินฟรี
  • ตอนที่ 8 : ข้อดี-ข้อเสียชองธุรกิจค้าปลีก มีอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไร
  • ตอนที่ 9 : สรุปมาแล้ว Cash Flow คืออะไร ถ้าคิดจะลงทุนไม่รู้ไม่ได้จริง ๆ
  • ตอนที่ 10 : สรุปมาแล้ว สินทรัพย์หมุนเวียน 10 ชนิด นั้นมีอะไรบ้าง
  • ตอนที่ 11 : เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) มีกี่ประเภท มีขั้นตอนการทำเรื่องอย่างไรบ้าง
  • ตอนที่ 12 : การลดต้นทุนการผลิต คืออะไร มี่กี่ประเภท ?
  • ตอนที่ 13 : การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) คืออะไร ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
  • ตอนที่ 14 : เครื่องหมาย อย. คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
  • ตอนที่ 15 : P2P Lending คืออะไร มีรูปแบบการทำงานอย่างไรบ้าง
  • ตอนที่ 16 : 5 ข้อดีเมื่อขอสินเชื่อ SME แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
  • ตอนที่ 17 : แนะนำ ประกันออมทรัพย์ ที่ไหนดี ให้ผลตอบแทนดีงามโดนใจ ปี 2563
  • ตอนที่ 18 : อุปทานส่วนเกิน มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง สรุปมาแล้ว !!
  • ตอนที่ 19 : ข้อดี-ข้อเสียของการ Work form Home ทำงานที่บ้าน พร้อมแนะนำวิธีว่าควรทำอย่างไรให้ได้งานจริง ๆ
  • ตอนที่ 20 : แหล่งเงินทุน SME คืออะไร มีวิธีการจัดหาอย่างไรบ้าง ทำเรื่องขอที่ไหนดี
  • ตอนที่ 21 : การทำธุรกรรมทางการเงิน คืออะไร พร้อมสรุปข้อดีของการทำธุรกรรมผ่านทางออนไลน์
  • ตอนที่ 22 : 5 ข้อดีของ สินเชื่อ SME ที่เจ้าธุรกิจนั้นควรรู้ บอกเลยว่ามีประโยชน์มาก ๆ
  • ตอนที่ 23 : 7 วิธีการบริหารเวลา (Time Management) ที่คิดว่าน่าสนใจอย่างมาก ใคร ๆ ก็ทำตามได้
  • ตอนที่ 24 : ต้องการลงทุน แฟรนไชส์อเมซอน (Amazon) ราคาเท่าไหร่ มีขั้นตอนการทำเรื่องเปิดร้านอย่างไร
  • ตอนที่ 25 : การตั้งเป้าหมาย หมายถึงอะไร มีวิธีการตั้งอย่างไรบ้างแบบ SMART ที่สุด
  • ตอนที่ 26 : โอนเงินผิดบัญชีออมสิน มีขั้นตอนการขอเงินคืนอย่างไร ทำเรื่องคืนได้ไหม ?
  • ตอนที่ 27 : ทำตามได้จริง 5 วิธีสำหรับคนที่ อยากลาออกจากงานแต่ไม่กล้า ควรทำยังไงดี มีมาบอก
  • ตอนที่ 28 : ทวงเงินลูกค้าอย่างไรดี มีวิธีทวงเงินลูกค้าแบบที่ทำตามได้จริงมาแนะนำ
  • ตอนที่ 29 : แนะนำ 5 หุ้นน่าลงทุนระยะยาว ตัวไหนดี และน่าสนใจ อ่านได้ที่นี่
  • ตอนที่ 30 : การขอ สินเชื่อเพื่อการลงทุนขนาดเล็ก คืออะไร เหมาะกับใครบ้าง สรุปมาแล้วที่นี่ !
  • ตอนที่ 31 : ต้องการเงินด่วน เพื่อมาลงทุน จำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง ไม่อ่านน่ากลัวนะบอกเลย
  • ตอนที่ 32 : สมุดบัญชีธนาคารออมสินหาย ต้องทำอย่างไร ควรแจ้งความหรือไม่ คลิกอ่านได้ที่นี่
  • ตอนที่ 33 : ทำสมุดบัญชีธนาคาร ธกส. หาย ควรแจ้งความหรือไม่ มีวิธีการทำเรื่องขอใหม่อย่างไรบ้าง
  • ตอนที่ 34 : ธุรกิจ New Normal คืออะไร เป็นแบบไหน พร้อมยก 5 ตัวอย่างธุรกิจในยุคนี้
  • ตอนที่ 35 : ทำความรู้จัก ตลาดหุ้น คืออะไร มีลักษณะการทำงานเป็นแบบไหนบ้าง
  • ตอนที่ 36 : 10 วิธีการเตรียมความพร้อมกับการเริ่มต้นธุระกิจ สำหรับเจ้าของกิจการมือใหม่
  • ตอนที่ 37 : สอนมือใหม่ อยากเริ่มเล่นหุ้น ลองเทรดหุ้น ศึกษาหุ้น เริ่มแรกต้องทำยังไง ตามมาดูกัน
  • ตอนที่ 38 : ข้อดี-ข้อเสียของการเล่นหุ้น มีอะไรบ้าง จะคุ้มค่ากับการลงทุน หรือ จะเสี่ยงขาดทุนกันแน่
  • ตอนที่ 39 : Line Available คืออะไร มีความแตกต่างจาก Cash Balance อย่างไรบ้าง มาหาคำตอบกัน
  • ตอนที่ 40 : ค่า P/E Ratio คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง ที่นักลงทุนต้องรู้และคำนวณเป็น
  • ตอนที่ 41 : อยากเริ่มต้นทำธุรกิจ แต่ไม่มีพื้นฐานอะไรเลย ควรเริ่มต้นอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ เริ่มต้นจากศูนย์
  • ตอนที่ 42 : แนะนำ 10 อันดับ หุ้นสภาพคล่องสูง พื้นฐานดี น่าลงทุนในปี 2564 จะมีตัวไหนบ้างมาดูกัน