ข้อใดที่ไม่ควรกระทำเมื่อใช้สื่อสังคมออนไลน์ ?

ข้อใดที่ไม่ควรกระทำเมื่อใช้สื่อสังคมออนไลน์ ?

ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ จึงขอหยิบยก 12 สิ่งที่วัยรุ่นไม่ควรทำบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ดังนี้

1. โพสต์กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย
จริงอยู่ที่วัยรุ่นถือเป็นวัยที่กำลังคึกคะนอง และอยากจะทดลองทำสิ่งใหม่ๆ แต่เมื่อใดที่โพสต์ภาพหรือกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย อย่างเช่น ถ่ายรูปทดลองเสพสารเสพติด เป็นต้น โดยถึงแม้ว่า จะตั้งค่าโพสต์ดังกล่าวไว้เป็นส่วนตัวแล้ว แต่ใครที่เป็นเพื่อนกับผู้ใช้ในเฟซบุ๊ก ก็สามารถเซฟภาพหรือดาวน์โหลดวิดีโอไปเผยแพร่ต่อได้ อาจนำมาซึ่งความเสียหายและผลกระทบในชีวิต อย่างการต้องถูกไล่ออกจากสถานศึกษา หรือถูกดำเนินการทางกฎหมาย

2. กลั่นแกล้ง
การข่มขู่กลั่นแกล้ง ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่มักพบได้ในโรงเรียน โดยเฉพาะวัยรุ่นที่อ่อนไหวกับความรู้สึกง่ายๆ ทั้งจากเพื่อนที่ตั้งสเตตัสกลั่นแกล้งผ่านทางเฟซบุ๊ก หรือโซเชียลมีเดียอื่นๆ และเมื่อโดนกลั่นแกล้งมากเข้า ช่องทางที่จะโต้ตอบกลับ หรือระบายความอัดอั้นที่เกิด คือ โซเชียลมีเดียเช่นกัน อย่างการตั้งสเตตัสบนเฟซบุ๊ก หรือเขียนบล็อก เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าและอาจนำมาสู่ความรุนแรง อย่างการฆ่าตัวตาย เป็นต้น

ข้อใดที่ไม่ควรกระทำเมื่อใช้สื่อสังคมออนไลน์ ?

3. โพสต์ว่าครู-อาจารย์
การโพสต์หรือตั้งสเตตัสในแง่ลบเกี่ยวกับครู-อาจารย์ จะนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการทำงาน หรือสมัครเข้าเรียนในอนาคต ทุกคนสามารถรับรู้ถึงความเห็นและทัศนคติของผู้ใช้ที่มีต่ผู้สอน รวมถึงอาจมองสถาบันในแง่ลบ

4. โพสต์สิ่งไม่เหมาะสมจากคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ตของโรงเรียน
โรงเรียนหลายแห่ง มักมีกฎห้ามโพสต์กิจกรรม หรือสเตตัสใดๆ ที่ไม่เหมาะสมจากคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ทั้งการดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่น เรื่องราวลามกอนาจาร เป็นต้น หากมีการตรวจสอบเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ทางเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจะตรวจสอบจากทาง IP address ซึ่งอาจส่งผลกระทบมายังสถาบันการศึกษาดังกล่าว

5. โพสต์ข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนบุคคล
การโพสต์ข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวอย่าง ข้อมูลในบัตรประชาชน บัตรประกันสังคม เป็นต้น อาจเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูล นำไปสู่การปลอมแปลงเอกสารและสวมรอยเป็นผู้ใช้แทน

ข้อใดที่ไม่ควรกระทำเมื่อใช้สื่อสังคมออนไลน์ ?

6. เจาะจงสถานที่เช็กอินมากเกินไป
การเช็กอินที่ระบุสถานที่แบบเจาะจงมากเกินไป ทั้งที่ผู้ปกครองอาจจะพอใจกับการกระทำแบบนี้ เพราะทำให้ทราบได้ตลอดว่าลูกของตนอยู่ที่ใด แต่อาจจะเป็นการเสี่ยงเกินไป เพราะอาจจะนำมาซึ่งความเสี่ยงของบุคคลแปลกหน้า ที่สามารถรับรู้เรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน ซึ่งทำให้เกิดอันตรายก็เป็นได้

7. การโกหกหรือขโมยความคิดผู้อื่น
การอัพเดตรูปภาพ ตั้งสเตตัสผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ ว่าได้ไปสถานที่นั้นๆ พบเจอคนดัง หรือก๊อบสเตตัส หรือบทความผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งการกระทำต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นเรื่องโกหกทั้งเพ อาจส่งผลให้ตอนไปสมัครเรียน หรือทำงาน ที่หากมีการตรวจสอบอาจส่งผลกระทบต่ออนาคตได้

8. การคุกคามและความรุนแรง
โพสต์เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง การคุกคามผู้อื่น แม้ในโลกออฟไลน์จะไม่ได้กระทำเช่นนั้นก็ตาม แต่เมื่อมีคนได้อ่านอาจนำไปสู่ความกลัวและความไม่ปลอดภัย และอาจถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจสอบเรื่องดังกล่าว

9. การโพสต์โดยไม่สนใจนโยบายของโรงเรียน
นโยบายหลายๆ โรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับศาสนา มักออกกฎสำหรับการใช้งานโซเชียลมีเดียของนักเรียน ที่ห้ามโพสต์เรื่องที่บิดเบือนไปจากหลักศาสนา หรือการโพสต์ที่อาจส่งผลกระทบต่อศาสนาและตัวสถาบันได้ ซึ่งหากพบเห็น อาจมีการลงโทษนักเรียนที่กระทำความผิด

ข้อใดที่ไม่ควรกระทำเมื่อใช้สื่อสังคมออนไลน์ ?

10. โปรไฟล์ที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพ
ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนที่กำลังหางานพาร์ทไทม์ทำ หรือนักศึกษาที่เรียนจบแล้ว กำลังมองหาอาชีพที่มั่นคง การแสดงข้อมูล ข้อความ สเตตัสต่างๆ รวมถึงรูปโปรไฟล์ ควรโพสต์ให้มีความเหมาะสม สื่อถึงความเป็นมืออาชีพ ไม่แสดงความไม่เหมาะสม เพราะผู้ว่าจ้างงานอาจจะเข้ามาตรวจสอบสอดส่องพฤติกรรมของผู้ใช้ และอาจตัดสินการรับเข้าทำงาน จากสิ่งที่พบเจอในโปรไฟล์บนโซเชียลมีเดียของผู้ใช้ก็เป็นได้

11. แม้จะตั้งค่าความเป็นส่วนตัวแต่ก็ใช่ว่าจะ 100%
แม้โซเชียลมีเเดียจะมีฟีเจอร์ ที่สามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งานได้ แต่ก็ใช่ว่าจะปกป้องความเป็นส่วนตัวในการโพสต์เรื่องราวต่างๆ ได้ 100% เพราะใครที่เป็นเพื่อนกับผู้ใช้ก็สามารถนำข้อมูลไปเผยแพร่ต่อได้ ทางที่ดีหากเป็นเรื่องที่ส่วนตัวจริงๆ ไม่ควรโพสต์

12. โพสต์ตามอารมณ์
การโพสต์ หรือทวีตระบายอารมณ์ตอนที่กำลังโกรธ เศร้า หรือเสียใจ อาจเป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบที่ทำให้เกิดผลเสียในภายหลัง เมื่อย้อนกลับมาอ่านตอนที่อารมณ์กลับมาดีแล้ว อาจทำให้คนรอบข้างมีทัศนคติไม่ดีเกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์ของผู้ใช้ก็เป็นได้

ที่มา : mashable

เป็นที่รู้กันดีว่าในยุคปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก และสื่อดังกล่าวก็เปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบ อย่างในกรณีที่มีการเผยแพร่เนื้อหาแสดงออกถึงความรุนแรง เช่น การทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น หรือการถ่ายทอดสดแสดงการฆ่าตัวตาย เป็นต้น ล้วนเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข

ในส่วนของปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์และปัญหาการฆ่าตัวตายมีความสัมพันธ์กันหรือไม่นั้น

แพทย์ระบุว่าการเผยแพร่ข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงรวมถึงการฆ่าตัวตาย ส่งผลโดยตรงในเรื่องของการเรียนรู้ในสังคม โดยเฉพาะอิทธิพลที่มีต่อเด็กและวัยรุ่นที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่มีทักษะการแก้ไขปัญหาที่ดีพอ อาจมีการเลียนแบบพฤติกรรมได้ เนื่องจากคิดว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในเรื่องของการฆ่าตัวตายก็ต้องมีปัจจัยหลายอย่างร่วมด้วย นอกเหนือจากเลียนแบบพฤติกรรมตามเนื้อหาที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ โดยปัญหาที่เกิดมากที่สุดมักเกิดกับวัยรุ่นโดยเฉพาะ เนื่องจากความสามารถของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการยับยั้งชั่งใจยังพัฒนาได้ไม่เท่ากับด้านของอารมณ์ ทำให้ขาดความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น

ในวัยรุ่นเองก็มีความเครียดที่ค่อนข้างหลากหลาย เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลายด้าน ทั้งในด้านสรีระที่เปลี่ยนไป หรือในด้านความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้นจากในวัยเด็ก รวมถึงเรื่องเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อเด็กวัยนี้ค่อนข้างมาก เริ่มมีความรัก หรือมีความสนใจบางอย่างเป็นพิเศษ ส่งผลให้เกิดความเครียดและการแสดงออกทางพฤติกรรมได้ และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ก็มีส่วนต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมค่อนข้างมาก

การดูแลเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์สำหรับเด็กวัยรุ่นคือ

ผู้ปกครองควรเฝ้าสังเกตอยู่ห่างๆ อาจใช้สื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเด็กแต่ไม่ควรแสดงตัวตนมากนัก เนื่องจากการแสดงตัวมากไปอาจทำให้เด็กถอยหนีซึ่งส่งผลต่อการควบคุมที่ยากขึ้น คอยสังเกตดูว่าเด็กมีความสนใจในด้านไหน กดไลค์เนื้อหาประเภทใด และคอยให้คำแนะนำตามความเหมาะสม รวมถึงผู้ปกครองควรกำหนดเงื่อนไขการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเด็ก เพื่อควบคุมปริมาณการใช้งานไม่ให้มากจนเกินไปและส่งผลเสียในที่สุด

ในเรื่องของการถ่ายทอดสดฆ่าตัวตายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงการเผยแพร่ข้อความที่เป็นสัญญาณในการฆ่าตัวตาย ที่ปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากผลสำรวจพบว่ามีการฆ่าตัวตายสำเร็จเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์หรือไม่ และพบว่าคนที่มีพฤติกรรมเผยแพร่เนื้อหาทำนองนี้ อาจเกิดจากแรงจูงใจบางอย่าง เช่น การได้รับคอมเมนต์ หรือการได้รับการกดไลค์ รวมถึงผู้เผยแพร่อาจมีอาการทางจิตเวชอย่างอื่นร่วมด้วย จึงส่งผลให้มีพฤติกรรมการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งภาวะที่น่าสนใจและควรทำความรู้จัก

เกี่ยวข้องกับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์และอาการทางจิตเวชเรียกว่า Facebook Depression Syndrome หรือภาวะซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ค ซึ่งจะมีลักษณะ ดังนี้

  1. มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เป็นสุขของเพื่อนๆ ใน Facebook
  2. ตกเป็นเหยื่อทางอารมณ์ของกิจกรรมชีวิตประจำวันของผู้อื่น
  3. มักเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของตนเองกับเพื่อนๆ อยู่เสมอ
  4. มักเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อเรียกร้องความสนใจ
  5. รู้สึกกระวนกระวายใจเมื่อไม่สามารถเช็คข้อความข่าวสาร หรือสถานะของตัวเองได้เหมือนที่ทำเป็นปกติ
  6. มักอัพเดทสถานะแบบดึงดูด หรือโพสต์บทความต่างๆ เช่น ข้อความขำขัน ข้อความแหลมคม

ทั้งนี้ทั้งนั้นอาการดังกล่าวเป็นเพียงสัญญาณของการเกิดภาวะซึมเศร้าจากเฟสบุ๊ค แต่ยังไม่ใช่ผลวินิจฉัยทางโรคจิตเวช และผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวอาจมีอาการป่วยทางจิตเวชอยู่แล้ว เช่น ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้วมาใช้งาน Facebook จึงมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงภาวะซึมเศร้า แต่อาจไม่ใช่อาการที่เกิดขึ้นจาก Facebook เสียทีเดียว

ในด้านของปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นยังมีความสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าด้วย รวมถึงอาการทางจิตเวชอื่นๆ เช่น วิตกกังวล ก้าวร้าวรุนแรง มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น แต่ยังไม่จัดว่าเป็นโรคเสียทีเดียว เพียงแต่ส่งผลให้มีบุคลิกในอีกรูปแบบหนึ่ง สืบเนื่องมาจากการเสพติดสื่อออนไลน์

การควบคุมปริมาณการฆ่าตัวตายที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์

คนในครอบครัวคือบทบาทที่สำคัญที่สุด โดยการสอดส่องดูแลพฤติกรรมของคนในครอบครัว สังเกตว่านิสัยใจคอเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร หรือมีอาการเก็บตัวหรือไม่ รวมถึงการเรียนถดถอยลงไหม ไปจนถึงพฤติกรรมการทานอาหาร การเข้านอน และที่สำคัญคือปริมาณการใช้สื่อออนไลน์ในปริมาณที่มากเกินไปหรือเปล่า

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อส่งผลด้านบวก

คือควรเลือกสื่อที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เหมาะสมกับการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย และใช้ในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป รวมถึงพยายามดูแลคนในครอบครัวไม่ให้ละเลยความรับผิดชอบในภาระหน้าที่ต่างๆ อย่างการเรียนหรือการทำงานบ้าน อันเนื่องมาจากการเสพติดสื่อออนไลน์

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Big Story ปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ของวัยรุ่นกับปัญหาสุขภาพจิต” ได้ที่นี่

YouTube: https://youtu.be/dhf5tCRVSKA

ฆ่าตัวตาย ติดโซเชียล ออนไลน์ สังคมออนไลน์ Facebook Depression Syndrome ภาวะซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ค สื่อสังคมออนไลน์