ขั้นตอนการเตรียมนําเข้าข้อมูล input

             ไดรว์เขียนแผ่น DVD ปัจจุบันมักเขียนได้ทั้งแบบ +RW และ – RW เรียกกันว่าแบบ Dual format นอกจากนี้ยังมีไดรว์และแผ่นรุ่นใหม่ที่บันทึกข้อมูลได้มากถึงเกือบสองเท่าของแบบธรรมดา คือจุได้ 8.5 GB (เทียบเท่า DVD-9 ) โดยบันทึกข้อมูลสองชั้นซ้อนกันในด้านเดียว เรียกว่าแผ่นและไดรว์แบบ Double Layer ( บางทีก็เรียก Dual Layer)

ขั้นนี้จัดเป็นขั้นตอนที่ต้องจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมและสะดวก ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะนำไปประมวลผล ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ป้อนข้อมูลได้ (Input Devices) ซึ่งข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์จะนำเข้าผ่านตัวเชื่อมต่อ(connector) ซึ่งในทางคอมพิวเตอร์เรียกว่า พอร์ท(Port)   Port ของระบบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญๆ ได้แก่ Serial Port จะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้ครั้งละ 1บิต เรียงตามลำดับไปเรื่อยๆ อุปกรณ์ ที่ใช้ Serial Port ได้แก่ Mouse Parallel Port จะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้ครั้งละหลาย เรียงตามลำดับไปเรื่อยๆ อุปกรณ์ ที่ใช้ Parallel Port ได้แก่ Printer Tape USB Port (Universal Serial Bus Port) เป็น Port ชนิดใหม่ซึ่งสามารถใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ทั้ง Serial และ Parallel Port
        การประมวลผล (Processing)
        เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูลที่ถูกส่งมาทางอุปกรณ์นำเข้า (Input Devices) และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำไปทำการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการต่างๆ ได้แก่ อาจเป็นการคำนวณทั่วๆ ไป คือการบวก การลบ การคูณ และการหาร, การเปรียบเทียบ, การจัดกลุ่มข้อมูล, การรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในการประมวลผลก็คือตัว CPU ทุกครั้งที่ CPU ทำงานจะทำการรับคำสั่งจากหน่วยความจำเข้ามาแล้วทำการประมวลผลและเมื่อประมวลผลเสร็จแล้วจะส่งผลที่ได้กลับไปยังหน่วยความจำอีกครั้งหนึ่งเราเรียกว่า วัฏจักรของเครื่องหรือรอบของการทำงาน(Machine Cyecle)
        การนำเสนอข้อมูล(Output Data)
        เป็นขั้นตอนที่ได้หลังจากผ่านการประมวลผลแล้ว โดยจะมีการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้อื่นทราบ โดยข้อมูลที่นำออกจากระบบคอมพิวเตอร์จะถูกส่งข้อมูลผ่านตัวเชื่อมต่อ(connector) ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งรูปแบบของผลลัพธ์สามารถแสดงได้หลายรูปแบบ เช่น รายงาน, กราฟ, ตาราง เป็นต้น นอกจากนี้ การนำเสนอข้อมูลยังรวมไปถึงการเคลื่อนย้ายข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นตัวกลาง เช่น คู่สายโทรศัพท์ การส่งสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วมักนิยมแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลออกมาทางหน้าจอของคอมพิวเตอร์ (Display Screen) หรือ มอนิเตอร์(Monitor) หรือเราอาจนำเสนอข้อมูลออกมาทางกระดาษ (Hard Copy) โดยใช้เครื่องพิมพ์ (Printer)

 2.                        จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ

           รูปแบบของการจัดระเบียบของข้อมูล ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ลำดับจากหน่วยที่เล็กที่สุดไปยังหน่วยที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับต่อไปนี้

2.1 บิท (Bit : Binary Digit) คือ หน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Bit จะแทนด้วยตัวเลขหนึ่งตัว คือ 0 หรือ 1 อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกตัวเลข 0 หรือ 1 ว่าเป็น บิท 1 บิท

2.2 ไบท์ (Byte) คือ หน่วยของข้อมูลที่นำบิทหลายๆบิทมารวมกัน แทนตัวอักษรแต่ละตัว เช่น A, B, …, Z, 0, 1, 2, … ,9 และสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ เช่น $, &, +, -, *, / ฯลฯ โดยตัวอักษร 1 ตัวจะแทนด้วยบิท 7 บิท หรือ 8 บิท ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวจะเรียกว่า ไบท์ เช่น ตัว A เมื่อเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จะเก็บเป็น 1000001 ส่วนตัว B จะเก็บเป็น 1000010 เป็นต้น

2.3 เขตข้อมูล (Field) คือ หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักขระหลายๆตัวมารวมกัน เป็นคำที่มีความหมาย

2.4 ระเบียน (Record) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำเขตข้อมูลหลายๆ เขตข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน หรือค่าของข้อมูลในแต่ละเขตข้อมูล

2.5 แฟ้มข้อมูล (File) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำระเบียนหลายๆ ระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน

โดยปกติแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง (secondary storage) เช่น ฮาร์ดดิสก์ เนื่องจากมีความจุข้อมูลสูงและสามารถเก็บได้ถาวรแม้จะปิดเครื่องไป ซึ่งการจัดเก็บนี้จะต้องมีวิธีกำหนดโครงสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสมกับความต้องการ การเข้าถึงและค้นคืนข้อมูลจะอาศัยคีย์ฟิลด์ในการเรียกค้นด้วยเสมอ การจัดโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลอาจจะแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้

1. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Structure)
            เป็นโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลชนิดพื้นฐานที่สามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด เนื่องจากมีลักษณะการจัดเก็บข้อมูลแบบเรียงลำดับเรคคอร์ดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ การอ่านหรือค้นคืนข้อมูลจะข้ามลำดับไปอ่านตรงตำแหน่งใดๆที่ต้องการโดยตรงไม่ได้ เมื่อต้องการอ่านข้อมูลที่เรคคอร์ดใดๆโปรแกรมจะเริ่มอ่านตั้งแต่เรคคอร์ดแรกไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบเรคคอร์ดที่ต้องการ ก็จะเรียกค้นคืนเรคคอร์ดนั้นขึ้นมา
            การใช้ข้อมูลเรียงลำดับนี้จึงเหมาะสมกับงานประมวลผลที่มีการอ่านข้อมูลต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆตามลำดับและปริมาณครั้งละมากๆ

            แฟ้มข้อมูลแบบนี้ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรมขนาดใหญ่ก็จะจัดเก็บอยู่ในอุปกรณ์ประเภทเทปแม่เหล็ก (magnetic tape) ซึ่งมีการเข้าถึงแบบลำดับ (Sequential access) เวลาอ่านข้อมูลก็ต้องเป็นไปตามลำดับด้วย คล้ายกับการเก็บข้อมูลเพลงลงบนเทปคาสเซ็ต

2. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Direct/Random File Structure)
             เป็นลักษณะของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยตรง เมื่อต้องการอ่านค่าเรคคอร์ดใดๆสามารถทำการเลือกหรืออ่านค่านั้นได้ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วกว่า ปกติแล้วจะมีการจัดเก็บในสื่อที่มีลักษณะการเข้าถึงได้โดยตรงประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสเก็ตต์, ฮาร์ดดิสก์หรือ CD-ROM เป็นต้น

3. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดรรชนี (Index Sequential File Structure)
            เป็นลักษณะของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่อาศัยกระบวนการที่เรียกว่า ISAM (Index Sequential Access Method ) ซึ่งรวมเอาความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มและแบบเรียงตามลำดับเข้าไว้ด้วยกัน การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลวิธีนี้ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงกันตามลำดับไว้บนสื่อแบบสุ่ม เช่น ฮาร์ดดิสก์ และการเข้าถึงข้อมูลจะทำผ่านแฟ้มข้อมูลลำดับเชิงดรรชนี (Index Sequential File) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยชี้และค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ สามารถทำงานได้ยืดหยุ่นกว่าวิธีอื่นๆโดยเฉพาะกับกรณีที่ข้อมูลในการประมวลผลมีจำนวนมากๆ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับรูปแบบดรรชนีท้ายเล่ม ซึ่งทำให้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น


2.6 ฐานข้อมูล (Database) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน


3.    หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร

ขั้นตอนการนําเข้าข้อมูล มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างการนำเข้าข้อมูลที่กำหนดเอง.
สถานการณ์จำลอง.
ขั้นตอนที่ 1: ตัดสินใจว่าจะนำเข้าข้อมูลใด.
ขั้นตอนที่ 2: สร้างมิติข้อมูลหรือเมตริกที่กำหนดเองที่จำเป็น.
ขั้นตอนที่ 3: สร้างชุดข้อมูล.
ขั้นตอนที่ 4: สร้างไฟล์ CSV..
ขั้นตอนที่ 5: อัปโหลดข้อมูล.
ขั้นตอนที่ 6: ดูข้อมูลในรายงาน.
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง.

ข้อใดเป็นกระบวนการนําเข้าข้อมูล (Input)

การนำเข้าข้อมูล (Input data) เป็นกระบวนการบันทึกข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ การสร้างฐานข้อมูลที่ละเอียด ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ซึ่งจำเป็นต้องมีการประเมินคุณภาพข้อมูล ที่จะนำเข้าสู่ระบบในเรื่องแหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการสำรวจข้อมูลมาตราส่วนของแผนที่ ความถูกต้อง ความละเอียด ...

Output คือขั้นตอนใด

ขั้นตอนที่ 4 แสดงผลข้อมูล (output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ กล่าวคือ อยู่ในรูปแบบของข้อความ ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง โดยผ่านอุปกรณ์แสดงผลต่างๆ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

อุปกรณ์ใดที่ใช้ในการนําเข้าข้อมูล

หน่วยรับข้อมูล.
แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด (Keyboard) ... .
เมาส์ (Mouse) ... .
กล้องดิจิตอล (Digital Camera) ... .
สแกนเนอร์ (Scanner) ... .
เครื่องอ่านรหัสโอซีอาร์ (Optical Character Reader).