นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ชี้ว่าควรให้ความสำคัญกับประเด็นต่างๆ ในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจไว้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากสถานการณ์ในขณะนี้ยังตกอยู่ในการระบาดของ COVID-19 ระลอก 3 เราจึงอยากจะนำกลับมาย้ำเตือนและลองช่วยกันเช็คลิสต์กันดูว่า ทั้ง 9 ข้อที่สภาพัฒน์ฯ ได้วิเคราะห์ไว้ ขณะนี้มีความคืบหน้าประการใดบ้าง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ชี้ ควรให้ความสำคัญกับประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้

นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน

1. การควบคุมการแพร่ระบาดและการป้องกันการกลับมาระบาดรุนแรงภายในประเทศ โดยการดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และการจัดหาและบริหารจัดการวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วถึงและเพียงพอต่อการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่อย่างรวดเร็ว และจัดลำดับความสำคัญโดยคำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญและการรักษาความต่อเนื่องของการผลิตในพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ ควบคู่ไปกับการจัดลำดับความสำคัญตามหลักการทางสาธารณสุข
2. การรักษาบรรยากาศทางการเมืองภายในประเทศ
3. การดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัวโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งการฟื้นตัวยังมีข้อจำกัดจากมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศ รวมทั้งการพิจารณามาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มเติม
นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน
4. การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
5. การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเพื่อสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศ โดยการขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่ได้รับ ประโยชน์จากการระบาดของโรค การสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของสินค้าไทยควบคู่ ไปกับการดำเนินมาตรการป้องกันการระบาดของโรคในพื้นที่ฐานการผลิตสำคัญอย่างเข้มงวด การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าภายใต้กรอบความร่วมมือที่สำคัญ การให้ความสำคัญกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญๆ ที่อาจถูกหยิบยกเป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้า การลดต้นทุนการผลิตสินค้าที่สำคัญๆ เพื่อลดแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินบาท และการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน

นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน

6. การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญกับการเร่งรัดให้ ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2561 –2563 ให้เกิดการลงทุนจริง การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกสำหรับนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย การขับเคลื่อนการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการขับเคลื่อนมาตรการสร้าง ศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน

7. การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
8. การเตรียมมาตรการรองรับความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้ง และการดูแลรายได้เกษตรกร
9. การติดตามและเตรียมการรองรับความเสี่ยงจากความผันผวน ในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์สูงและอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)


 

Post Views: 1,663

  • TAGS
  • Covid-19
  • การบริหาร
  • นโยบาย
  • พัฒนาการเศรษฐกิจ
  • รัฐบาลไทย
  • สศช

Previous articleสาลิกาคาบข่าว Vol.112

Next articleเปิดไอเดีย! ชุดยังชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู้ภัยโควิด

นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน

Atthasit Mueanmart

อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์ เรียนและทำงานด้านสื่อสารมวลชนมาโดยตลอด หลังจากจบวารสารศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ม.ธรรมศาสตร์ ประสบการณ์ในการขีดๆ เขียนๆ ด้านธุรกิจ การตลาด และไลฟ์สไตล์ นานกว่า 17 ปี สนใจเรื่องแบรนด์ กลยุทธ์การตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค ตลอดจนเทรนด์ และข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก พอๆ กับแฟชั่น และเสพติดการท่องเที่ยวแบบ Solo Traveller

๑. ยึดถือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พรรคชาติไทยพัฒนาจะส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชน
ได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน พึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการส่งเสริม และพัฒนาในองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการต่อยอดให้การนำไปใช้
โดยมีหลักการ และเครื่องมือที่มีความชัดเจน ประสานสร้างความเข้าใจในหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่
นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเข้าใจ และแผนดำเนินการ สนับสนุน และส่งเสริมธุรกิจทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ไปใช้ เพื่อให้ธุรกิจนั้นมีเสถียรภาพ เป็นหลักประกันในเรื่องความมั่นคงของกิจการ

๒. รักษาเสถียรภาพการเงิน

พรรคชาติไทยพัฒนาเชื่อมั่นว่าในการดูแลรักษาเสถียรภาพทางการเงินอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน สร้างความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นทั้งภายใน
และต่างประเทศให้ความสำคัญต่อการใช้มาตรการทางการเงิน ทั้งในด้านเสถียรภาพของระดับราคา
และเสถียรภาพของฐานะการเงินของประเทศ ควบคู่กับการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในอัตราที่เหมาะสม และในทิศทางที่สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจสังคมของแต่ละท้องถิ่น

๓. รักษาวินัยการคลัง

พรรคชาติไทยพัฒนาตระหนักว่าการรักษาเสถียรภาพทางการคลัง และการพัฒนา
เพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น มีพันธกิจหลัก เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแก่ประชาชน โดยรวมของประเทศอย่างเท่าเทียมกัน จึงมุ่งมั่นให้ความสำคัญต่อการรักษาวินัยทางการคลัง เพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง เพื่อมุ่งสร้างโอกาส และความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในสังคม
โดยจะเน้นดำเนินมาตรการการคลัง เพื่อประชาชน เพื่อกระจายรายได้ กระจายโอกาส และกระจายอำนาจ
ในการบริหารจัดการทรัพยากร และการคลังไปสู่ท้องถิ่น และชุมชนอัน จะนำมาซึ่งความเข้มแข็ง
ให้แก่เศรษฐกิจชุมชน

๔. ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้

พรรคชาติไทยพัฒนาจะส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของประเทศ
เพื่อการสร้างงานสร้างรายได้ และความเป็นอยู่ดีกินดีของประชาชน โดยจะสนับสนุนให้มีการพัฒนา
แหล่งท่องเที่ยวใหม่ควบคู่ไปกับการรักษาแหล่งท่องเที่ยวเดิม โดยคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม
และการอนุรักษ์ธรรมชาติ ทั้งนี้ จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชน และให้มีความตระหนักรู้ถึงคุณค่า
และหวงแหนในทรัพยากรทางธรรมชาติ และประวัติศาสตร์ของชุมชน

นอกจากนี้ จะส่งเสริมให้มีการลงทุนด้านการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่
แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ เช่น พื้นที่จังหวัดกลุ่มอารยธรรมภาคเหนือ และพื้นที่จังหวัดเชื่อมโยง
ทางภาคใต้ตอนบนกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลาง และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก และภาคอีสาน
เป็นต้น ตลอดจนเร่งรัดให้มีการพัฒนามาตรฐานการบริการด้านการท่องเที่ยวของไทย และการเพิ่ม
ขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ โดยจะสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐ และเอกชนร่วมมือกัน
ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จะสนับสนุน และเร่งรัดการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ
ในด้านกฎระเบียบ เพื่อสร้างแรงจูงใจแก่นักลงทุนจากทั้งใน และต่างประเทศ ตลอดจนเร่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของไทย เพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจ การค้าเสรีในภูมิภาค โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน

๕. ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรม

พรรคชาติไทยพัฒนาให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ
โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมชุมชนด้วยการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม และลดต้นทุนการผลิตอำนวยความสะดวกทางการค้า ตลอดจนพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่
และขยายตลาดในอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานให้ตรงต่อตลาดแรงงานอุตสาหกรรม แก้ไขกฎระเบียบ และปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันของอุตสาหกรรมนั้น ๆ สร้างตราสัญลักษณ์ของไทย รวมทั้งปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้จูงใจทั้งนักลงทุนไทย
และต่างประเทศ

นอกจากนี้พรรคชาติไทยพัฒนาจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสร้างความเชื่อมโยง
ของอุตสาหกรรมในภูมิภาคอาเซียน โดยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาค เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งนี้ จะสร้างความเชื่อมั่น และสร้างภาพลักษณ์ด้วยการปรับปรุงคุณภาพ และมาตรฐานสินค้าให้ทัดเทียม
และล้ำหน้าในระดับสากลด้วยการกระตุ้นให้เอกชนลงทุนด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีรวม ทั้งมีการรับรองมาตรฐานที่สากลยอมรับ

๖. สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

พรรคชาติไทยพัฒนามุ่งมั่นสร้างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม
ให้มีความเป็นมืออาชีพพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมทั้งปรับปรุงมาตรฐาน
การปล่อยสินเชื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทั่วถึง
และเหมาะสม

ปรับปรุง และพัฒนาสินค้าให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ตลอดจนสร้างช่องทางการตลาดให้ผู้ซื้อ/คู่ค้าสามารถเข้าถึงสินค้าที่ผลิตจากผู้ผลิตผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อมได้มากขึ้น ด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆทั้งของภาครัฐ และภาคเอกชน

๗. บริหารจัดการการส่งออกแบบครบวงจร

พรรคชาติไทยพัฒนาจะพัฒนาระบบโลจิสติกส์ปรับปรุงระบบ และลดขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง
กับการส่งออกทั้งระบบ เพื่อให้การส่งออกเป็นไปด้วยความรวดเร็วตรงต่อเวลามีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำ
และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ส่งออก ด้วยการเชื่อมโยงระบบขนส่งให้มีความสอดคล้องกันทั้งระบบ
ลดขั้นตอนทางเอกสารโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้น เช่น ระบบการตรวจร่วมจุดเดียว
ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประสานความร่วมมือกับประเทศคู่ค้า เพื่อลดขั้นตอนทางเอกสาร และการตรวจสอบ
สินค้า รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ส่งออกผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานสอดคล้องกับกฎระเบียบมาตรฐานของประเทศ
คู่ค้าตลอดจนพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความสะดวกต่อการขนส่ง ช่วยปกป้องสินค้าระหว่างการขนส่ง
รวมทั้งช่วยรักษาให้สินค้ามีระยะเวลาคุณภาพดียาวนานขึ้น

นโยบายรัฐบาลปัจจุบัน มีอะไรบ้าง

นโยบายที่1 การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ นโยบายที่2 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ นโยบายที่3 การลดความเหลื่อมล้าของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ นโยบายที่4 การศึกษาและเรียนรู้การทะนุบารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นโยบายที่5 การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน นโยบายที่ ...

นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลคืออะไร

นโยบายทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยมีจุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจที่ได้ตั้งเอาไว้ นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ นโยบายทางการเงิน และนโยบายทางการคลัง การดำเนินบทบาทและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล มีเป้าหมายคือ เพื่อให้ประชาชนได้รับสวัสดิการมากที่สุด โดยที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ ...

นโยบายเศรษฐกิจไทย มีอะไรบ้าง

ยึดถือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พรรคชาติไทยพัฒนาจะส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชน ... .
รักษาเสถียรภาพการเงิน ... .
รักษาวินัยการคลัง ... .
ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้ ... .
ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรม ... .
สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ... .
บริหารจัดการการส่งออกแบบครบวงจร.

นโยบายรัฐบาล คืออะไร

หมายถึงแนวทางหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลหรือ หน่วยงานของรัฐตัดสินใจว่าจะทําหรือไม่ทํา ภายใต้อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดย กําหนดเป็นหลักการ แผนงานหรือโครงการ เพื่อก่อ ประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวม ซึ่งในนิยามนี้เป็น การผนวกแนวคิดของนักวิชาการที่กล่าวมาทั้งหมด เข้าด้วยกัน