โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข มีอะไรบ้าง

พระบาทโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านสาธารณสุข

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับงานสาธารณสุขเป็นอย่างยิ่งดังจะเห็นว่าโครงการที่พระราชทานให้กับประชาชนในระยะแรกๆ ล้วนแต่เป็นโครงการพัฒนาสุขภาพอนามัยให้แก่ประชาชน เมื่อประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงจะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีตามไปด้วย ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

“… การรักษาความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายเป็นปัจจัยของเศรษฐกิจที่ดี และสังคมที่มั่นคงเพราะร่างกายที่แข็งแรงนั้น โดยปกติจะอำนวยผลให้สุขภาพจิตใจสมบูรณ์ด้วย และเมื่อมีสุขภาพสมบูรณ์ดี พร้อมทั้งร่ายกายและจิตใจแล้ว ย่อมมีกำลังทำประโยชน์สร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองได้เต็มที่ ทั้งไม่เป็นภาระแก่สังคมด้วย คือเป็นแต่ผู้สร้างมิใช่ผู้ถ่วงความเจริญ…

ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพบว่าราษฎรเป็นจำนวนมากขาดการดูแลรักษาในด้านสุขภาพอนามัย โครงการหน่วยแพทย์พระราชทานจึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ต่อมาเมื่อมีการเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับแรมเพื่อเยี่ยมราษฎรในพื้นที่โครงการต่าง ๆ โครงการพระราชดำริด้านการแพทย์จึงได้ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งอาจแบ่งตามลักษณะงานได้เป็น ๒ ประการคือ

๑. การบำบัดรักษาโดยการตรวจจากคณะแพทย์พระราชทาน ซึ่งอาจแบ่งออกได้ดังนี้

๑.๑ แพทย์ประจำพระองค์ และคณะแพทย์ตามเสด็จ

๑.๒ หน่วยแพทย์หลวง กองแพทย์หลวง สำนักพระราชวัง และเจ้าหน้าที่

๑.๓ คณะแพทย์ตามพระราชประสงค์ เป็นแพทย์ที่อาสามาจากหลาย สาขาวิชา หลายหน่วยงาน

๑.๓.๑ คณะศัลยแพทย์อาสา จากราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

๑.๓.๒ คณะศัลยแพทย์อาสา จากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

๑.๓.๓ คณะศัลยแพทย์อาสา จากโรงพยาบาลศิริราช

๑.๓.๔ คณะแพทย์หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้

๑.๓.๕ หน่วยทันตแพทย์เคลื่อนที่จากกรมแพทย์ทหารบก

๑.๓.๖ คณะจักษุแพทย์

แพทย์พระราชทานดังกล่าว จะจัดชุดทำงานตามสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้

ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดที่พระราชนิเวศน์ตั้งอยู่ ได้แก่ โรงพยาบาลสกลนคร โรงพยาบาลนราธิวาส และโรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่ ตามเสด็จไปรักษาพยาบาลยังหมู่บ้านต่าง ๆ

๒. การอบรมหมอหมู่บ้านตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน

พระราชดำริให้คัดเลือกราษฎรอาสาสมัครตามหมู่บ้านต่าง ๆ มารับการอบรมหลักสูตร หมอหมู่บ้าน” โดยเริ่มต้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรที่ได้รับการอบรมเหล่านี้จะได้นำความรู้กลับไปช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นของตน

การอบรมเน้นในเรื่องการสาธารณสุขมูลฐาน เช่น การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเวชศาสตร์ป้องกันอย่างง่าย ๆ การโภชนาการ (โดยเฉพาะแม่และเด็ก) การติดต่อกับเข้าหน้าที่รักษาพยาบาลของรัฐคือ สถานีอนามัยจนถึงโรงพยาบาลอำเภอและจังหวัด เจ้าหน้าที่ที่มาให้การสนับสนุนในการอบรมหน่วยต่าง ๆ ทั้ง พลเรือน และทหาร ฝ่ายปกครองและฝ่ายการแพทย์ สถานที่ดำเนินการฝึกอบรมได้แก่ โรงพยาบาลประจำจังหวัดที่พระราชนิเวศน์ตั้งอยู่ซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลสกลนคร โรงพยาบาลนราธิวาส และโรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่

งานทั้ง ๒ ลักษณะข้างต้นมีพื้นที่ครอบคลุมในภาคเหนือตอนบน ประมาณ ๑๐ จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๘ จังหวัด คือ สกลนคร นครพนม อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร มหาสาคาม กาฬสินธุ์ เลย และในภาคใต้ ๔ จังหวัดคือ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา

โครงการแพทย์พระราชทาน ซึ่งประกอบด้วย การบำบัดรักษาจากคณะแพทย์พระราชทานและอบรมหมอหมู่บ้าน เป็นการช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมีอุปสรรคที่ระบบปกติยากจะดูแลได้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎรส่วนใหญ่มีฐานะจากจน และขาดความรู้ในการดูแลรักษาตนเอง

การมีคณะแพทย์พระราชทานออกไปบำบัดรักษาผู้ป่วยจะทำให้ราษฎรมีโอกาสได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องเสียทุนทรัพย์ใด ๆ และสำหรับการอบรมหมอหมู่บ้านนั้นจะช่วยให้ราษฎรมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและรู้จักวิธีติดต่อกับหน่วยราชการในกรณีที่เกินขีดความสามารถที่จะดูแลรักษาตนเองได้ อันเป็นการช่วยแก้ปัญหาในระยะยาว ซึ่งอาจกล่าวสรุปได้ว่าโครงการหน่วยแพทย์พระราชทานสามารถแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ดังนี้

๑. ทางด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นผลที่ได้รับโดยตรง จะช่วยแก้ปัญหาการเจ็บป่วย หรือทุพพลภาพได้ปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนมาก ราษฎรทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในการบำบัดรักษาจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน จะเป็นชาวชนบทที่ยากจนที่มีอาชีพเป็นการเกษตรกร ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจากจำนวนตัวเลขที่ปรากฏในแต่ละปีจะมีราษฎรที่เจ็บป่วยจากทุกภาคที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณรับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ทั้งที่เป็นคนไข้ในโรงพยาบาล และผู้ที่มาขอรับการตรวจ ตลอดจนจากการที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตามเสด็จ ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ มีจำนวนมากมายนับหมื่นนับแสนคน

๒. ทางด้านเศรษฐกิจ การที่ราษฎรเจ็บป่วยจะเป็นปัญหาในการประกอบอาชีพของราษฎร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่จะต้องใช้กำลังกายในการทำงาน ดังนั้น เมื่อได้รับการบำบัดรักษาให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดีแล้ว ราษฎรเหล่านั้นจะมีร่างกายที่สามารถต่อสู่กับงานหลักในการประกอบอาชีพได้ ยังผลให้เศรษฐกิจส่วนรวมของสังคมดีขึ้นอย่างแน่นอนพระมหากรุณาธิคุณทางด้านการแพทย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ได้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าพระองค์ทรงไม่ทอดทิ้งประชาชนและทรงนำพาประชาชนไปสู่ความมีสุขภาพที่ดีและอยู่ดีกินดีได้ในที่สุด

“…ฉันต้องการให้หมอช่วยไปดูแล บำบัดทุกข์ให้แก่เด็กนักเรียนและประชาชนที่อยู่ในท้องที่กันดารห่างไกลหมอ และจะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดตามความจำเป็นโดยให้จัดหน่วยเคลื่อนที่ไปบนรถยนต์และตระเวนไปตามถนนหนทาง ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลชนบท…

cr. http://www.chaoprayanews.com/2009/02/04/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9E-5/

โครงการพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ มีอะไรบ้าง

โครงการหลวงพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขา ... .
ปลานิลจิตรลดา ... .
โคนมพระราชทาน ... .
กุ้งก้ามแดงพระราชทาน ... .
พันธุ์ข้าวพระราชทาน ... .
โรงเรียนพระดาบส ... .
ศูนย์ฝึกหัตถกรรมทอผ้าบ้านเขาเต่า ... .
ศูนย์ฝึกอาชีพพระราชทาน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.

โครงการพระราชดําริด้านสาธารณสุขอื่นๆ มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุข เช่น ๒.๑ โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์ ๒.๒ โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม ๒.๓ การควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ๒.๔ การปรับปรุงภาวะโภชนาการและสุขภาพเด็ก ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช ...

โครงการสาธารณสุขคืออะไร

โครงการดังกล่าว ประกอบด้วยการบำบัดรักษาจากคณะแพทย์พระราชทาน และอบรมหมอหมู่บ้าน เป็นการช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุข ภาพอนามัยของราษฎร ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมีอุปสรรคที่ ระบบปกติยากจะดูแลได้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราษฎรส่วนใหญ่ มีฐานะยากจน และขาดความรู้ในการดูแลรักษาตนเอง การมีคณะแพทย์ พระราชทานออกไปบำบัดรักษา ผู้ป่วยจะ ...

โครงการพระราชดําริด้านสาธารณสุข 2565 มีโครงการอะไรบ้าง

โครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข 5 พ.ค 65.
โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม.
การควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
การพัฒนาระบบสุขาภิบาลในโรงเรียนและชุมชน ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.