หลักคุณธรรม จริยธรรมที่นักเรียนปฏิบัติ

                   เด็กนักเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษานี้  สิ่งที่จะทำให้เขาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ และเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคมในอนาคตนั้น  ต้องมีการฉีดวัคซีนทางจิต เพื่อที่จะให้นักเรียนไม่หลงทางโลก   และหลงผิดไปตามยุคโลกาภิวัฒน์ที่ไร้พรมแดน ถ้าผู้จะปฏิรูปการศึกษาให้เต็มรูปแบบให้ครบทุกกระบวนการต้องไม่ให้นักเรียนเรียนขาดวัคซีนทางจิต ถ้ามิได้ฉีดเชื้อหรือภูมิต้านทานไว้ก่อน  ดังคำที่เขากล่าวไว้ว่า “ถ้าสติมาปัญญาจะเกิด ถ้าสติเตลิดจะเกิดปัญหา”  นักเรียนก็จะเห็นผิดเป็นชอบ   ซึ่งโดยธรรมชาติของมนุษย์ไม่มีดีมีเลว  นักเรียนดุจผ้าขาวที่บริสุทธิ์สะอาด แต่ถ้าผ้าขาวต้องเศร้าหมอง  ก็เพราะธุลีมาบดบัง    นักเรียนก็จะถูกความชั่ว คือ ตัวกิเลสมันจับใจ  การที่จะทำให้นักเรียนเป็นคนดีต้องทำลายความชั่ว (กิเลส) ให้หมดไป  สิ่งต่างๆ    ที่เป็นความชั่วก็จะค่อยละลายหายไปในที่สุด  นักเรียนก็เติบโตขึ้นเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพราะเขาเหล่านั้น ได้ฝึกฝน อบรม ทั้งทางร่ายกายและจิตใจ   ดังคำพระที่กล่าวไว้ว่า  “ทนฺโต  เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ”   ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว  ถือว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการกำหนดพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาที่ต้องการส่งเสริมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (ตัวบ่งชี้ สกอ.2.8 ระดับคามสำเร็จของการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่จัดให้กับนักศึกษา

ข้อมูลและแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. มีการกำหนดไว้ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ.2547 ดังนี้

-นักศึกษาต้องปฏิบัติตามระเบียบและรักษาวินัยโดยเคร่งครัด-นักศึกษาต้องรักษาความสามัคคีและประพฤติตนเป็นสุภาพชน-นักศึกษาต้องเชื่อฟังและเคารพผู้สอนรวมถึงปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำตักเตือนของเจ้าหน้าที่-นักศึกษาต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบและไม่ทุจริตการสอบ-นักศึกษาต้องแต่งกายสุภาพเหมาะสมแก่กาลเทศะ หรือแต่งเครื่องแบบนักศึกษา-นักศึกษาต้องไม่กระทำผิดต่อกฎหมาย ไม่ก่อเหตุวุ่นวายร้ายแรงหรือประพฤติมิชอบ
อันเป็นการเสื่อมเสียร้ายแรงแก่มหาวิทยาลัย-นักศึกษาต้องไม่เล่นการพนันหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในมหาวิทยาลัย-นักศึกษาต้องไม่ฉ้อโกง ลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสารเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ


2. มีการกำหนดกรอบคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2552 วันที่ 22 มิถุนายน 2552 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรม

2.1 มีธรรมประจำจิต

-มีความซื่อสัตย์และเป็นธรรม-มีวินัยและรู้จักกาลเทศะ-มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม-มีน้ำใจและเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม-รู้จักใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีความสุข-มีจริยธรรมวิชาชีพและในการประกอบอาชีพ


2.2 มีความเป็นธรรมศาสตร์

-เคารพสิทธิผู้อื่นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข-กล้าทำ กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้องดีงามและเรียกร้องเพื่อความเป็นธรรมของสังคม-ใช้สิทธิและเสรีภาพอย่างรับผิดชอบ-มีจิตอาสาและรับผิดชอบต่อสังคม-การมีหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตย

กรอบคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2552)

มีธรรมประจำจิต
•มีความซื่อสัตย์ และเป็นธรรม
•มีวินัย และรู้จักกาลเทศะ•มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม•มีน้ำใจ และเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
•รู้จักใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีความสุข•มีจริยธรรมวิชาชีพ และในการประกอบอาชีพ

มีความรู้
•มีความรู้ และทักษะในสาขาวิชาที่ศึกษา•มีความรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และรู้รอบเพื่อเชื่อมโยงกับสังคม•มีความรู้ และทักษะในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
มีความสามารถในการทำงาน
•การทำงานร่วมกับผู้อื่น
•ความสามารถในการจัดการ วิเคราะห์และแก้ปัญหา•สามารถบูรณาการความรู้เพื่อใช้ในการทำงาน•ความสามารถในการสื่อสาร•วุฒิภาวะทางอารมณ์ ความสามารถในการปรับตัวและมีความอดทน•ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์•ใฝ่รู้ ติดตามและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง•ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี•การคิดในเชิงบวก•ความเป็นผู้นำ

ความเป็นธรรมศาสตร์

•เคารพสิทธิของผู้อื่นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข•กล้าทำ กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้องดีงามและเรียกร้องเพื่อความเป็นธรรมของสังคม•การมีหน้าที่เป็นพลเพมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตย•ธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ


ข้อมูลจาก:
งานพัฒนาหลักสูตรและบริหารงานศึกษา
กองบริการการศึกษาฝ่ายวิชาการ (22 มิถุนายน 2552)

รองศาสตราจารย์ สุพัตรา สุภาพ ได้กล่าวถึงค่านิยมสังคมเมืองและค่านิยมสังคมชนบทของสังคมไทยไว้ค่อนข้างชัดเจน โดยแบ่งค่านิยมออกเป็นค่านิยมของคนในสังคมเมืองและสังคมชนบทซึ่งลักษณะค่านิยมทั้งสองลักษณะ จัดได้ว่าเป็นลักษณะของค่านิยมที่ทำให้เกิดมีอิทธิพลต่อค่านิยมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นชัดเจนในตาราง


หลักคุณธรรม จริยธรรมที่นักเรียนปฏิบัติ

2. Decency
     การส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรม และความภาคภูมิใจในความเป็นไทย โดยไม่ใช่เพียงแค่ให้เด็กรู้ว่า ความดีคืออะไร
ความชั่วคืออะไรเท่านั้น แต่ต้องนำความดีเข้าไปสู่วิถีชีวิต สามารถปฏิบัติจริงเป็นรูปธรรม รวมถึงค่านิยม ความเชื่อที่ถูกต้อง
ทิศทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง และมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ตามที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวณีย์
เรื่องการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อให้เด็กมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย นอกจากนี้ ผลการสำรวจของสภาการศึกษา ฯ
เกี่ยวกับความภูมิใจในความเป็นไทยของนักเรียนนักศึกษา พบว่า นักเรียน นักศึกษา มีความภูมิใจในความเป็นไทย ร้อยละ 38 เท่านั้น
จากการบันทึกเทบ เปิดตัวด้านนโยบาย 3D

การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม (Decency)
    คุณธรรมจริยธรรม คุณธรรม หลักของความดี ความงาม ความถูกต้อง และคุณภาพของบุคคลที่ควรยึดมั่นไว้เป็นหลักประจำใจในการประพฤติให้เป็นนิสัย
จริยธรรม คือ ธรรมะ สิ่งดีงามที่ควรประพฤติปฏิบัติ
คุณธรรม เน้นที่สภาพหรือคุณลักษณะที่แสดงออกว่าดีงาม ส่วนจริยธรรมเน้นที่การประพฤติที่ดีงามการ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม มีบุคคลิกที่เหมาะสม วางตนได้เหมาะสม เป็นตัวอย่างในด้านความประพฤติ มีเมตตา จริงใจ อบรมสั่งสอนกริยามรรยาท
ในฐานะที่เราเป็นลูกศิษย์
๑. ลุกต้อนรับแสดงความเคารพ
๒. เข้าไปหา
๓. ใฝ่ใจเรียน
๔. ปรนนิบัติ
๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ

นโยบายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ความดีงาม ความเป็นคนไทย (Decency)
    จะต้อง ให้เด็กรู้จักค่านิยมที่ถูกต้อง เห็นคุณค่าของความเป็นไทย ซึ่งต้องได้รับการปลูกฝังทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ โดยการนำองค์กรทางศาสนาเข้ามาร่วมมือกัน หากสถานศึกษาจัดกิจกรรมดังกล่าวอยู่แล้ว ก็ต้องเพิ่มให้เข้มข้นขึ้น

    การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักศึกษา สถานการณ์บ้านเมืองของประเทศไทยเราในปัจจุบันนี้ ดูน่าเป็นห่วง อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจ ปัญหาความเสื่อมถอยในด้าน คุณธรรม จริยธรรมของคน ทั้งในระดับนักการเมือง ข้าราชการ หรือ คนในแวดวงอาชีพอื่นๆ ภาพที่เห็นชัดเจนและเป็นข่าวอยู่ทุกวัน ก็คือ การทุจริตคอรัปชั่น การก่ออาชญากรรม การเสพและการค้ายาเสพติด ซึ่ง แพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนไทย ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึง อุดมศึกษา รวมถึงการแต่งกายล่อแหลม ที่เป็นมูลเหตุก่อให้เกิดอาชญากรรม ทาเพศ ของนักศึกษาหญิง การขายบริการทางเพศของนักศึกษา การที่นักศึกษาอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยา การทะเลาะวิวาทของนักศึกษาทั้งภายในสถาบันเดียวกันและต่างสถาบัน เหล่านี้เป็นต้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มของเยาวชนดังกล่าว ทุกคนต่างลงความเห็นตรงกันว่า เยาวชนไทยของเราขาดการปลูกฝังในด้าน คุณธรรม จริยธรรม อย่างยั่งยืน คือ อาจจะมีอยู่บ้างแต่เป็นแบบฉาบฉวย ไม่เกิดผลที่ถาวรในขณะที่สังคมไทยต้องการเห็นภาพการพัฒนาเยาวชนไทยไปสู่การ เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ มีสติ ปัญญา มีความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข มีรายงานผลการสำรวจของผู้ที่ถูกให้ออกจากงาน เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของตัวพนักงานเอง พบว่า 17 % ถูกให้ออกงานเพราะ ขาดทักษะความรู้และประสบการณ์ 83 % ถูกออกจากงานเพราะปัญหาเรื่อง ความประพฤติ และบุคลิกภาพ ในขณะเดียวกันมีผู้ไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน ในหน่วยงาน องค์กร สถาบันต่างๆ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนมากต้องการบัณทิต ที่มีคุณลักษณะดังนี้ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน เสียสละ และ มีความรับผิดชอบ ซึ่งปรากฏการณ์ในสังคม ดังกล่าวมานี้เป็นผลโดยตรง มาจากเรื่องของการปลูกฝัง ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม นั่นเอง

    จะปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักศึกษา จริยธรรม เป็น หลักความประพฤติ หรือ แนวทางในการปฏิบัติตน ที่ ควรแก่การยึดถือ ปฏิบัติ เพื่อสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข โดยมีคุณธรรม และ ศีลธรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จึงเปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพจิตใจ ที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของคน คุณธรรม เป็นสภาวะที่อยากให้เราทำอะไรที่เป็นคุณ ศีลธรรม เป็นสภาวะที่เราห้ามจิตใจของเราไม่ให้ทำในสิ่งผิด หรือบอกไม่ให้คนอื่นทำ ทั้งคุณธรรม และ ศีลธรรม จึงเป็นตัวกำหนดความประพฤติของเรา ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกที่ควร คือ เป็นตัวกำหนดจริยธรรม จริยธรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลมาจากศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรม ประเพณี และกฎหมาย

คุณธรรม จริยธรรม ที่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษา
    คุณธรรมอันดับแรกที่ควรปลูกฝัง คือ ความกตัญญู ซึ่งควรจะได้แสดงออกทั้ง ทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ ที่แสดงออกมาด้วยความดีงาม แต่สิ่งเหล่านี้ กำลังถูกทำลาย ด้วย ความ รีบเร่ง จากกระแสวัตถุนิยม และบริโภคนิยม ที่ไม่ได้คำนึงถึงวัฒนธรรมทางจิตใจ หากคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจไม่มั่นคง สิ่งที่แสดงออกมาจากพฤติกรรมของคน ก็ล้วนเป็นสิ่งจอมปลอมทั้งสิ้น การแสดงออกทางกาย วาจา ใจ ที่มีคุณธรรมเป็นที่ตั้งจึงมีส่วนสำคัญในการกล่อมเกลา จิตใจ ให้มีความอ่อนโยน สุภาพ นอบน้อม สุขุม รอบคอบ เช่น การกราบไหว้พระแบบเบญจางคประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูง สุด การวางมือ การยกมือขึ้น เพื่อให้สติอยู่กับมือ พนมมือที่น่าอกในท่าอัญชลี เป็นการสำรวมใจออกจากปัญหา ที่ว้าวุ่น การยกมือจรดบริเวณหว่างคิ้วในท่าวันทา เป็นการสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ มีความแน่วแน่มั่นคงใน จิตใจ การก้มกราบ ท่าอภิวาท เป็นการปล่อยใจให้ว่างลง สยบยอมทั้งกายและใจให้กับความดี เป็นการลดอัตตา ความยึดมั่น ถือมั่นในตัวเอง ซึ่งท่าทีเหล่านี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษาสภาพจิตใจให้ดีงาม
การปลูกฝังให้นักศึกษารู้จักพึ่งตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นคนดี มีวินัย คือ การปลูกฝังให้นักศึกษาได้มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง และ รู้จักคุณค่าของตัวเอง ไม่มีชนชาติใดในโลกที่มีความเจริญ งอกงาม มั่นคงอยู่ได้ เพราะการรอรับการช่วยเหลือ ของผู้อื่น โดยไม่พึ่งตนเอง

    ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน บนพื้นฐาน อุดมการณ์ชีวิต งาน
คือ ชีวิต ชีวิต คืองาน บันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุข เมื่อ ทำงาน
ของดีต้องมีแบบ แบบที่ดี ต้องมีระเบียบ ระเบียบที่ดี ต้องมีวินัย คนที่มีวินัย คือ...
    - เคารพตนเอง
    - เคารพผู้อื่น
    - เคารพเวลา
    - เคารพกติกา
    - เคารพสถานที่
บุญ คือ การละกิเลส
คน + ความดี (คน มี ความดี) = สุข, เจริญ
คน + บุญ (คน มี บุญ ) = สุข, เจริญ
คน มี ความดี = คน มี บุญ (สุข, เจริญ)
ความดี = บุญ

คุณธรรม 4 ประการ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
    1. การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตนเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
    2. การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติ อยู่ใน ความสัตย์ ความดี
    3. การอดทน อดกลั้น อดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์ สุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
    4. การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และ รู้จักเสียสละประโยชน์ ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ ส่วนใหญ่ของ บ้านเมือง

คุณธรรม 7 ประการ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ที่จะทำให้บุคคลมีความเจริญในชีวิต
    1. รู้จักเลือกหาแหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดี
    2. มีชีวิตและอยู่ร่วมสังคมเป็นระเบียบด้วยวินัย
    3. พร้อมด้วยแรงจูงใจ ใฝ่รู้ ใฝ่สร้างสรรค์
    4. มุ่งมั่นพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ
    5. ปรับทัศนคติและค่านิยมให้สมแนวเหตุผล
    6. มีสติกระตือรือร้นตื่นตัวทุกเวลา
    7. แก้ปัญหาและพึ่งพาตนเองได้ ด้วยความรู้คิด

ปณิธาน 10 ข้อ ของ พระพิพิธธรรมสุนทร ที่นำไปสู่ความสำเร็จ
    1. ยึดมั่นกตัญญู                             2. ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
    3. มีความเพียรสม่ำเสมอ              4. อย่าเผลอใจใฝ่ต่ำ
    5. เชื่อฟังคำผู้หลักผู้ใหญ่              6. รักไทยดำรงไทย
    7. ใส่ใจในโลกกว้าง                      8. ยึดแบบอย่างที่ดี
    9. รู้รักสามัคคีตลอดเวลา             10. ใช้ศาสนาเป็นเครื่องดำรงชีวิต

คุณธรรม เพื่อความสวัสดีของชีวิต ของ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี)
สิ่งที่เธอควรมี “สติปัญญา ” สิ่งที่เธอควรแสวงหา “กัลยาณมิตร”
สิ่งที่เธอควรคิด “ความดีงาม” สิ่งที่เธอควรพยายาม “การศึกษา”
สิ่งที่เธอควรเข้าหา “นักปราชญ์” สิ่งที่เธอควรฉลาด “การเข้าสังคม”
สิ่งที่เธอควรนิยม “ความซื่อสัตย์” สิ่งที่เธอควรตัด “อกุศลมูล”
สิ่งที่เธอควรเพิ่มพูน “บุญกุศล” สิ่งที่เธอควรอดทน “การดูหมิ่น”
สิ่งที่เธอควรยิน “พุทธธรรม” สิ่งที่เธอควรจดจำ “ผู้มีคุณ”
สิ่งที่เธอควรเทิดทูน “สถาบันกษัตริย์” สิ่งที่เธอควรขจัด “ความเห็นแก่ตัว”
สิ่งที่เธอควรเลิกเมามัว “การพนัน” สิ่งที่เธอควรสร้างสรรค์ “สัมมาชีพ”
สิ่งที่เธอควรเร่งรีบ “การแทนคุณบุพการี” สิ่งที่เธอควรปฏิบัติทันที
“ทำวันนี้ให้ดีที่สุด”

ในปัจจุบัน เอาไว้ว่า ครู - อาจารย์ จะต้องทำหน้าที่เป็นหลักสำคัญ ให้กับ นักศึกษา 2 อย่าง คือ
    1. ชี้นำชีวิตที่ดีงามแก่นักศึกษา
    2. ปลุกความเป็นนักศึกษาให้ตื่นขึ้น ให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
ดังนั้น ครู - อาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษา คงไม่อาจปฏิเสธภาระหน้าที่ สำคัญในด้าน การปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นักศึกษา นอกเหนือ จากงานด้านการเรียนการสอนเชิงวิชาการ

ตัวอย่างคุณธรรม จริยธรรม มีอะไรบ้าง

ประเภทของคุณธรรม คุณธรรมจริยธรรม คุณธรรมที่เป็นปัจจัยแรงผลักดัน ๑. ความมีวินัย ๒. ความอดทนอดกลั้น ๓. ความขยันหมั่นเพียร คุณธรรมที่เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยง ๔. ความซื่อสัตย์ซื่อตรง ๕. ความรับผิดชอบ

คุณธรรม 5 ประการ มี อะไร บ้าง

คุณธรรม 5 ประการ (เบญจธรรม (ข้อควรปฏิบัติ 5) (กามสังวร สำรวมในกาม, สัจจะ….
กามสังวร สำรวมในกาม.
สัจจะ พูดความจริง.
สัมมาอาชีวะ ประกอบสัมมาชีพ.
สติสัมปชัญญะ ระลึกได้และรู้ตัว.
เมตตากรุณา รัก ปรารถนาดีต่อผู้อื่น.

หลักจริยธรรม มีอะไรบ้าง

จริยธรรม (Ethics) ๑. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว ๒. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา ๓. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท ๔. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง

คุณธรรมจริยธรรมมีลักษณะอย่างไร

๑) ผู้ที่มีคุณธรรมและมีจริยธรรม หมายถึง ผู้ที่มีสติปัญญาดี มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเมตตา กรุณา คือ มีความรัก มีความสงสาร ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข มีหิริโอตตัปปะ มีความละอายต่อบาป มีความเกรงกลัวต่อบาป มีขันติโสรัจจะ มีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม ไม่คิดชั่ว ไม่พูดชั่ว ไม่ใช้กาย วาจา ไปท าให้ผู้อื่นเดือดร้อน เพราะกลัวว่าจะ ...