Operating system มีอะไรบ้าง

1.ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆว่าโอเอส(Operating System : OS)เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกส์ และแมคอินทอช เป็นต้น

 1)ดอส(Disk Operating Ststem : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใชงานไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีดปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้
 2)วินโวส์(Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
 3)ยูนิกส์(Unix)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกส์เป็นระบบปฏิบัติการที่เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้(multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆงานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆเครื่องพร้อมกัน
4)ลืนุกซ์(linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว(GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี(Free Ware)ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น อินเทล (PC Intel) ดิจิตอล (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUNSPARC) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น
5)แมคอินทอช(macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้เฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา

ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกตามการใช้งานสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ

        1.ประเภทใช้งานเดียว(Single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งระหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส เป็นต้น
        2.ประเภทใช้หลายงาน (Multi-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ขึ้นไปและ UNIX เป็นต้น
        3.ประเภทใช้งานหลายคน(Multi-user) ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์  จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows NT และ UNIX เป็นต้น

2.ตัวแปลภาษา

การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟแวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา  ซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษาBasic,Pascal,C และภาษาโลโก เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาก ได้แก่ Fortran . Cobol , และภาษาอาร์พีจี

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

MS-DOS ย่อมาจากคำว่า Microsoft disk operating system เป็นชื่อระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีที่บริษัทไมโครซอฟต์เป็นผู้ผลิตขึ้น และได้พัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เรื่อย ๆ จนปัจจุบันเป็นรุ่น (version) 6.21 แล้ว รุ่นใหม่นี้สามารถป้องกันไวรัสได้ถึงกว่า 8,000 ชนิด ไมโครคอมพิว เตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม และเครื่องเทียบเคียงไอบีเอ็ม (IBM compatibles) เกือบทั้งหมดใช้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS นี้ (ระบบปฏิบัติการของบริษัทไอบีเอ็มเอง มีชื่อเรียกว่า IBM DOS

Close X

Operating system มีอะไรบ้าง

Operating system มีอะไรบ้าง
Operating system มีอะไรบ้าง
Operating system มีอะไรบ้าง
Operating system มีอะไรบ้าง
Operating system มีอะไรบ้าง
SOLUTIONS CORNER
มารู้จัก Operating System หัวใจสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์
Operating system มีอะไรบ้าง
Operating system มีอะไรบ้าง

Operating Systemหรือ OSซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถอย่างที่เราเห็นได้ในทุกวันนี้

คอมพิวเตอร์จะมีสเปกฮาร์ดแวร์ที่แรงแค่ไหนก็ตาม ก็จะหมดความหมายลงทันทีหากไม่มีสิ่งที่เรียกว่า Operating System หรือระบบปฏิบัติการติดตั้งเพื่อควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์อยู่ภายใน ระบบทุกอย่างอุปกรณ์ทุกชิ้นภายในคอมพิวเตอร์จะถูกควบคุมสั่งการทำงานด้วยระบบ OSที่ติดตั้งอยู่ภายในนั่นเอง และ OSที่เราทุกคนรู้จักกันดีที่สุดก็คือ ระบบปฏิบัติการณ์ Windowsที่ปัจจุบันเดินทางมาถึง Windows10 กันแล้ว แต่คุณรู้ไหมว่า OSในโลกเรานี้ไม่ได้มีแค่ Windowsเท่านั้น ยังมีระบบปฏิบัติการอื่นที่เกิดขึ้นก่อน รวมถึงที่ใช้งานควบคู่กับ Windowsในปัจจุบันนี้ด้วย

Operating System มีให้เลือกใช้หลากหลาย

โดยมากแล้วถ้าในองค์กรทั่วไปและส่วนงานที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ระบบปฏิบัติการที่เรามักจะใช้กันก็คือ Windowsนั่นทำให้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับ OSนี้มากที่สุด แต่ในโลกของเรานี้ไม่ได้มีแค่ OSนี้เท่านั้น Operating Systemที่มีคนหลากหลายวงการนิยมใช้กันก็ยังมีอีกหลายหลาย ดังนี้
·      DOS ดอสจะเป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานของคอมพิวเตอร์ที่มีมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ยุคแรก ๆ เลย การใช้งาน OSนี้จะมีการป้อนคำสั่งเป็นตัวอักษร ซึ่งแม้ปัจจุบันระบบปฏิบัติการนี้ก็ยังคงมีใช้อยู่ ด้วยความที่จะต้องมีการป้อนคำสั่งการทำงานเป็นตัวอักษรนี่เอง จึงทำให้ผู้ที่จะใช้งานต้องมีพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์มาก่อนมาสมควร
·      Unix Operating Systemนี้ก็ถือว่ามีใช้กันมานานแล้วเหมือนกัน OSนี้เป็นระบบเปิด เกิดขึ้นเพราะต้องการให้ผู้ใช้งาน OSมีทางเลือกที่หลากหลาย โดยที่ระบบนี้เป็นระบบเปิดจึงมีนักพัฒนาทำการพัฒนาออกไปเพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลาย แต่โดยมากจะใช้สำหรับระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อการทำงานพร้อมกันหลาย ๆ เครื่องเสียมากกว่า
·      LinuxOS นี้เป็นการพัฒนาต่อยอดมากจาก Unixอีกที เสน่ห์ของระบบนี้ก็อยู่ที่การเป็นระบบปฏิบัติการฟรี สามารถพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงในการทำงานได้ง่าย ปัจจุบันก็เน้นใช้งานกับเรื่องของการทำระบบเครือข่ายและ Server
·      Macintosh Operating Systemจากทางฝั่งแอปเปิล สามารถทำงานได้ดีครอบคลุมไม่แพ้ Windowsเป็นอีกหนึ่ง OSที่องค์กรต่าง ๆ นำไปใช้งานภายในบริษัทด้วยเช่นกัน

หน้าที่จริง ๆ ของ Operating Systemคืออะไร

เราได้รู้จักกันไปแล้วว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย แล้วควรจะเลือกใช้อะไรดี ก่อนจะตัดสินใจก็ต้องมาดูหน้าที่ที่แท้จริงของ Operating Systemก่อนว่าสิ่งเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่ออะไร ซึ่งหน้าที่ของ OSหลัก ๆ มีอยู่ 4 อย่างนั่นคือ
1.          บริหารทรัพยากรต่าง ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์
2.          เป็นศูนย์กลางเชื่อมการสื่อสารระหว่าง ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์โปรแกรมอื่น ๆ
3.          ช่วยในกระบวนการถนอมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
4.          เป็นศูนย์กลางสำหรับการติดต่อสื่อสารและเชื่อมการทำงานระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้งานอย่างเราสามารถที่จะเข้าใจระบบคอมพิวเตอร์และสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้
เมื่อเรารู้แล้วว่าหน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์คืออะไร ทีนี้การจะเลือกใช้ OSไหนภายในคอมพิวเตอร์องค์กรก็ต้องพิจารณาจากหน้าที่หลักและความต้องการของคุณ ว่าลงตัวสอดคล้องกันหรือไม่ หลักง่าย ๆ ก็คือ ให้เลือกระบบปฏิบัติการที่คุณมีความรู้ คุ้นเคย และเข้าใจวิธีการทำงาน แม้ว่าอาจจะไม่สอดรับกับงานในบางส่วน แต่อย่างน้อย ๆ คุณก็สามารถดูแลจัดการในเบื้องต้นได้นั่นเอง
ในกรณีที่องค์กรของคุณมีผู้เชี่ยวชาญมีความรู้ในOperating Systemที่หลากหลายสามารถใช้งานได้หลาย OSคุณก็อาจตัดสินใจเลือกใช้ OSที่ฟรีก็ได้ บางครั้งอาจจะประหยัดต้นทุนธุรกิจมากกว่าและให้ผลลัพธ์ในการทำงานที่ตรงใจกว่าด้วย ส่วนนี้ก็ต้องอยู่ที่คุณพิจารณาแล้ว
ควิกเซิร์ฟ
สินค้า
งานระบบ
บริการ
กิจกรรม
ออนไลน์

โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) มีอะไรบ้าง

(OS- Operating System) เช่น MS-DOS, UNIX, OS/2, Windows, Linux, Ubuntu เป็นต้น หน้าที่ของ OS. ตัว OS ถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์หลัก คือ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะที่ผู้ใช้ ไม่ต้องทราบกลไกการทำ หรือฮาร์ดแวร์ของระบบ เราจึงแบ่งหน้าที่ของ OS ได้ดังนี้

ระบบปฏิบัติการ (Operating System) มีหน้าที่อะไร?

หน้าที่จริง ๆ ของ Operating Systemคืออะไร 1. บริหารทรัพยากรต่าง ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ 2. เป็นศูนย์กลางเชื่อมการสื่อสารระหว่าง ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์โปรแกรมอื่น ๆ 3. ช่วยในกระบวนการถนอมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์

Operating System หมายถึงข้อใด

โปรแกรมระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า OS (Operating System) เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้กับโปรแกรมต่าง ๆ

ประเภทของระบบปฏิบัติการมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่แบบ "งานเดี่ยว" (single-tasking) และแบบ "หลายงาน" (multi-tasking) ระบบแบบงานเดี่ยวเป็นระบบที่ยอมให้มีผู้ใช้เพียงหนึ่งคนเท่านั้นในการใช้่แต่ละครั้ง และเมื่อมีผู้ใช้หนึ่งคนก็จะสามารถใช้โปรแกรมได้เพียงหนึี่งโปรแกรมเท่านั้น