องค์ประกอบของความสามารถมีอะไรบ้าง

        ทักษะชีวิตเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งความรู้และทักษะของแต่ละบุคคลและเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตอย่างอิสระในวัยผู้ใหญ่ Brolin (1989, อ้างถึงใน มัณฑรา 

ธรรมบุศย์, 2553) ได้ แบ่งองค์ประกอบของทักษะชีวิตออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ  คือ 

        1. ทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน (Daily life skills) เป็นทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้ที่มีทักษะด้านนี้จะแสดงความสามารถออกมาให้ปรากฏจนเป็นนิสัยที่เห็นได้อย่าง ชัดเจน ได้แก่  

            1.1 ความสามารถในการบริหารจัดการระบบการเงิน (Managing personal finances) เช่น นับ และทอนเงินได้ถูกต้อง รู้จักออมทรัพย์และตรวจสอบบัญชีเงินฝากของตน รู้จักควบคุมงบประมาณ การใช้จ่ายให้คงที่ รู้วิธีบันทึกค่าใช้จ่าย ใช้จ่ายโดยใช้เงินสด และบัตรเครดิตด้วยความรับผิดชอบ สามารถคำนวณภาษีเงินได้ ไม่หลีกเลี่ยงการเสียภาษี ชำระเงินตามใบเรียกเก็บเงินตรงตามกำหนดเวลา  

            1.2 ความสามารถในการเลือกและจัดการงานบ้าน (Selecting and managing a household) เช่น รู้จักดูแลรักษาบ้านให้สะอาดน่าอยู่ ทำงานบ้านได้ รู้จักวางแผนและ เตรียมอาหารการกินของ ตนเอง  

            1.3 ความสามารถในการดูแลตนเอง (Caring for personal needs) เช่น รู้จัก เอาใจใส่สุขภาพ ของตนเอง มีจิตใจเบิกบาน แต่งกายได้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด มีความรู้เกี่ยวกับโรคภัย ไข้เจ็บและสามารถดูแลป้องกันตนเอง รู้จักออกกำลังกาย รู้หลักโภชนาการและการควบคุมน้ำหนัก

             1.4 การตระหนักถึงความปลอดภัย (Safety awareness) เช่น มีความรู้เกี่ยวกับ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความปลอดภัย มีความไวต่อการรับรู้เสียงหรือกลิ่นที่ ผิดแผกไปจากเดิม สามารถถอนตัวออกจากเหตุการณ์ที่คับขัน  

            1.5 ความสามารถในการจัดหา จัดเตรียม และการบริโภคอาหาร (Raising, preparing and consuming food) เช่น รู้จักเลือกซื้อและวางแผนรายการอาหาร รู้จักทำความ สะอาดบริเวณประกอบ อาหาร รู้วิธีเก็บถนอมอาหารและวิธีเตรียมอาหาร อ่านป้ายฉลาก และปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากได้ แสดงนิสัยการกินที่ดี วางแผนรับประทานอาหารแต่ละมื้อในสัดส่วนที่สมดุล 

            1.6 ความสามารถในการซื้อและถนอมเครื่องแต่งกาย (Buying and caring for clothing) เช่น รู้วิธีซักรีดเสื้อผ้าชนิดต่าง ๆ สามารถซ่อมแซมเสื้อผ้าและเก็บรักษาเสื้อผ้า ตลอดจนต่อรองราคาเสื้อผ้าได้  

            1.7 การแสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดี (Exhibiting responsible citizenship) เช่น แสดงความรับผิดชอบและมีความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน รายงานเรื่องอาชญากรรมได้ มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และการปกครองระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ และปฏิบัติตาม กฎหมายได้อย่างถูกต้อง  

            1.8 ความสามารถในการใช้เครื่องนันทนาการและการใช้เวลาว่าง (Using recreational facilities and engaging in leisure activities) เช่น รู้จักหาแหล่งพักผ่อนหย่อนใจเท่าที่มีอยู่ในชุมชน รู้จักเลือกและวางแผนทำกิจกรรมกับบุคคลและกลุ่ม ฯลฯ  

            1.9 ความสามารถในการอยู่ร่วมกับชุมชน (Getting around the community) เช่น สามารถแยกแยะบริเวณต่าง ๆ ในชุมชนและระบุสถานที่ตั้งของชุมชนได้ รู้กฎจราจร และวิธีรักษาความ ปลอดภัยในชุมชน เข้าใจและรู้จักใช้แผนที่ของชุมชน ฯลฯ

    2. ทักษะเฉพาะบุคคลและทักษะทางสังคม (Personal and social skills) เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานและการสร้างมิตรภาพ ได้แก่  

            2.1 ความสามารถในการรู้จักตนเอง (Self – awareness) เช่น สามารถบอกความต้องการด้าน ร่างกายและจิตใจของตนเอง ระบุความสนใจ ความสามารถ และลักษณะอารมณ์ของตนได้ รู้วิธีดูแลบำรุงรักษาสุขภาพ ฯลฯ

            2.2 การสร้างความมั่นใจในตนเอง ( Self-confidence) เช่น สามารถทำให้ผู้อื่นเห็นถึงคุณค่าของตน บอกได้ว่าผู้อื่นมีการรับรู้ในตนเองอย่างไร ยอมรับผู้อื่น กล่าวคำชมและวิจารณ์ผู้อื่นได้ ฯลฯ  

            2.3 การแสดงพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสังคม (Socially responsible behavior)  เช่น ยอมรับในสิทธิและทรัพย์สินของผู้อื่นตระหนักในอำนาจหน้าที่และรู้จักปฏิบัติตาม คำแนะนำต่าง ๆ แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมในที่สาธารณะมีมารยาททางสังคมและมารยาทในการรับประทานอาหาร ฯลฯ

            2.4 ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ (Good interpersonal) เช่น รู้จักฟังและ โต้ตอบผู้อื่นมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นและสามารถดำรงความสัมพันธ์นั้นให้ยืนยาว เป็นต้น  

            2.5 ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง (Independence) เช่น สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น สามารถท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ ในชุมชนได้ตามลำพัง รู้จักเปลี่ยนแปลงตารางการเดินทางเมื่อเผชิญกับปัญหา รู้วิธีเลือกคบหาเพื่อน ฯลฯ  

            2.6 ความสามารถในการแก้ไขปัญหา (Problem-solving) เช่น รู้จักขอความช่วยเหลือจาก ผู้อื่นในยามจำเป็นรู้จักพัฒนาและประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา สามารถหาทางแก้ปัญหาและวางแผนแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง  

            2.7 ความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น (Communicating with others) เช่น สามารถรับรู้และโต้ตอบกับผู้อื่นได้ทุกสถานการณ์ ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นด้วยความในยามจำเป็น รู้จักพัฒนาและประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหาสามารถหาทางแก้ปัญหาและวางแผนแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง  

    3. ทักษะการประกอบอาชีพ (Occupational skills) เป็นทักษะที่จ าเป็นต่อความสำเร็จในการประกอบอาชีพ ได้แก่  

            3.1 ความรอบรู้และความสามารถในการสำรวจทางเลือกอาชีพ (Knowing and exploring occupational choices) เช่น รู้วิธีสำรวจความเป็นไปได้ของอาชีพบอกผลตอบแทนที่เกิดจากการทำงานแต่ละอาชีพได้ สามารถจัดกลุ่มงานออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้  

            3.2 ความสามารถในการคัดเลือกและวางแผนทางเลือกอาชีพ (Selecting and planning occupational choices) เช่น บอกความถนัดในงานแต่ละประเภทได้ระบุความ ต้องการที่จำเป็นของงานแต่ละชนิดได้  

            3.3 การแสดงนิสัยและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการทำงาน (Exhibiting appropriate work habits and behavior) เช่น รู้จักปฏิบัติตามกฎ/ระเบียบของสำนักงานได้ เห็นความสสำคัญของการไป ทำงานและการตรงต่อเวลา ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ตั้งใจทำงาน และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

            3.4 ความสามารถในการแสวงหางาน / การรักษาความปลอดภัยและการรักษางาน (Seeking, securing, and maintaining employment) เช่น รู้วิธีหางาน วิธีสมัครงาน วิธีการตอบสัมภาษณ์ และ รู้จักปรับตัวหลังจากเข้าไปทำงานแล้ว

            3.5 ความสามารถในการดูแลสุขภาพ (Exhibiting sufficient physical and manual skill) เช่น มี ความแข็งแรง อดทน ทนทาน ร่างกายมีการทำงานประสานกันเป็นอย่างดี  

            3.6 ความสามารถในการประกอบอาชีพ (Obtaining specific occupational skills) เช่น รู้จักนำประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกงานในโรงเรียนหรือจากการทดลองปฏิบัติงานไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน   

            องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดองค์ประกอบของทักษะชีวิตไว้ 10 องค์ประกอบ หรือ 5 คู่ ตามพฤติกรรมการเรียนรู้ 3 ด้าน (ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ และ สุวรรณา 

เรืองกาญจนเศรษฐ์.2553 : 4-6) ดังนี้  

        1. ด้านพุทธิพิสัย ประกอบด้วย 

            - ทักษะด้านความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ (Critical Thinking)  

            - ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)  

        2. ด้านจิตพิสัย ประกอบด้วย 

            - ทักษะด้านความตระหนักรู้ในตน (Self-awareness)  

            - ทักษะด้านความเห็นใจผู้อื่น (Empathy)  

        3. ด้านทักษะพิสัย มี 3 คู่ ได้แก่ 

            - ทักษะด้านการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร (Interpersonal relationship and Communication skill)  

            - ทักษะการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา (Decision making and Problem solving)  

            - ทักษะการจัดการกับอารมณ์และการจัดการกับความเครียด (Coping with emotions and Coping with Stress)  

        ในประเทศไทยได้มีการปรับปรุงโดยจัดความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิเคราะห์วิจารณ์เป็นองค์ประกอบร่วม พร้อมทั้งเพิ่มด้านจิตพิสัยอีก 1 คู่ คือ  

            - ทักษะด้านความภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) คือ ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า 

            - ทักษะด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Social-responsibility) 

        ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่มีความรุนแรงของกระแสเจตคติและค่านิยมที่ผิด ๆ ตลอดจนการละเลยหรือขาดความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมดังปรากฏในแผนภาพ ต่อไปนี้ 

ภาพที่ 1.1 องค์ประกอบของทักษะชีวิต  ที่มา : ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ และ สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์. (2553 : 7)  

            ด้านพุทธพิสัย 

            1.ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) มีความสามารถในการคิดออกไปอย่างกว้างขวาง โดยไม่ยึดติดอยู่ในกรมช่วยให้บุคคลสามารถนำประสบการณ์ที่ผ่านมาใช้ในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม 

            2.ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ (Critical thinking) เป็นความสามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารและประเมินปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อเจตคติและพฤติกรรม เช่น ค่านิยม แรงกดดันจากกลุ่มเพื่อนอิทธิพลจากสื่อต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต  

            ด้านจิตพิสัย 

            3.ความตระหนักในตนเอง (Self-awareness) เป็นความสามารถในการค้นหาและเข้าใจในจุดดี จุดด้อยของตนเอง อะไรที่ตนเองปรารถนา และไม่พึงปรารถนา และเข้าใจในความแตกต่างจากบุคคลอื่น ๆ   

            4.ความเห็นใจผู้อื่น (Empathy) เป็นความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกและความเห็นใจบุคคลที่แตกต่างจากเรา ถึงแม้ว่าเราจะไม่คุ้นเคย ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจ และยอมรับความแตกต่างของบุคคลอื่น ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีทางสังคม เช่น ความแตกต่างทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม โดยเฉพาะบุคคลที่ต้องการได้รับการช่วยเหลือและดูแล เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้มีภาวะบกพร่องทาง จิตใจหรือบุคคลที่ไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคม 

            5.ความภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) มีความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าค้นพบและภูมิใจในความสามารถด้านต่างๆ ของตนโดยไม่มุ่งสนใจแต่เรื่องความโก้เก๋รูปร่าง หน้าตา เสน่ห์ หรือความสามารถทางเพศ 

            6.ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility) มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของ สังคมและมีส่วนร่วมรับผิดชอบในความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม

            ด้านทักษะพิสัย 

            7.ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (Interpersonal relationship skills) สามารถช่วยให้บุคคลมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และสามารถที่จะรักษาและดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข และรวมถึงการรักษาสัมพันธภาพที่ดีของสมาชิกใน ครอบครัวที่เป็นแหล่งสำคัญของแรงสนับสนุนทางสังคม 

            8.การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective communication) หมายถึง ความสามารถในการใช้คำพูดและภาษาท่าทาง เพื่อแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนอย่างเหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ โดยสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นความปรารถนา ความต้องการ การขอร้อง การเตือนและการขอความช่วยเหลือ 

            9.การตัดสินใจ (Decision making) เป็นสิ่งที่นำไปสู่การตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิต ซึ่งถ้าบุคคลมีการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพในการกระทำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยมีการประเมินทางเลือกและผลจากการตัดสินใจเลือกทางเลือกนั้น ๆ จะมีผลต่อสุขภาพอนามัยของบุคคลนั้น ๆ 

          10.การแก้ปัญหา (Problem solving) เมื่อบุคคลมีปัญหาต่าง ๆ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ทำให้เกิดภาวะความตึงเครียดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทักษะการแก้ปัญหาจะช่วยให้บุคคลสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตของเขาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 

          11.การจัดการกับอารมณ์ (Coping with emotions) เป็นการรู้จักและเข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ซึ่งจะทำให้สามารถตอบสนองและแสดงออกได้อย่างเหมาะสม เช่น อารมณ์รุนแรงต่าง ๆ หรือความเศร้าโศกที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพ

          12.การจัดการกับความเครียด (Coping with stress) เป็นความสามารถในการรู้ถึงสาเหตุของความเครียดและรู้ถึงหนทางในการควบคุมระดับความเครียดเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในวิถีชีวิต การเรียนรู้วิธีผ่อนคลายเมื่ออยู่ในภาวะความตึงเครียดได้อย่างเหมาะสมเพื่อที่จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ทางด้านสุขภาพ

            จากทักษะ 12 ประการ จะนำไปสู่ทักษะที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การประเมินและการจัดการกับความเสี่ยง (Risk assessment and management) การเจรจาต่อรอง (Negotiation) การยืนหยัดตั้งมั่น (Assertiveness) การเป็นผู้นำ (Leadership) และการต้านทานต่อแรงกดดันจากกลุ่มเพื่อน (Peer pressure resistance) 

แหล่งอ้างอิง http://reg2.crru.ac.th/reg_web/files/20150929114113_86d573542f98d2310c7d6b543452502a.pdf

องค์ประกอบสมรรถนะ คืออะไร

สมรรถนะ จะมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน ก็คือ ลักษณะของบุคคล (Personal Characteristics) พฤติกรรม (Behavior) และผลสัมฤทธิ์ (Perfor- mance) (แสดงดังภาพที่ 4) ภาพที่ 3 : ทฤษฎีภูเขาน้ำาแข็ง (Iceberg) สิ่งที่มองเห็นง่าย ทักษะ ความรู้ ความคิดของตนเอง ลักษณะนิสัย และ ทัศนคติ/แรงจูงใจ สิ่งที่ซ่อนเร้น ยากต่อการ บริหารและ จัดการ

สมรรถนะ มีด้านอะไรบ้าง

สมรรถนะหลัก มีด้าน ได้แก่ ๑. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ๒. การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ๓. ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ๔. การบริการเป็นเลิศ ๕. การทางานเป็นทีม

KSAO มีอะไรบ้าง

เก็บข้อมูลตามกรอบแนวคิด KSAOs ซึ่งประกอบด้วย ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) ความสามารถ (Abilities) และส่วน สุดท้ายคือ อื่น ๆ (Others) ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของสมรรถนะ (Competency) ทั้งสี่ด้านอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก โดยสมรรถนะ ด้านอื่น ๆ (Others) มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 4.03 (มาก) ในขณะที่สมรรถนะ

อะไรคือขีดความสามารถ

1.1 ขีดความสามารถ หมายถึง ระดับความสามารถของหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์การ เช่น ฝ่าย แผนกหรือของตัวองค์การเอง เกิดจากผลการทางานร่วมกันของบุคลากรทุกคนในหน่วยงานขององค์การหรือของ บุคลากรทุกคนในองค์การนั้น กล่าวคือหน่วยงานหรือองค์การที่มีขีดความสามารถสูงจะต้องสามารถบริหารการ ท างานของบุคลากรในหน่วยงานหรือองค์การ ให้ร่วมมือกัน ...