กลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศ

ตรงข้ามกับการลงทุนในต่างประเทศที่มีบริษัทชื่อดังซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี เช่น แอปเปิล (Apple), ไมโครซอฟท์ (Microsoft), เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) จนไปถึงแบรนด์ที่เรารู้จักดีอย่างลอรีอัล (L'Oréal), ยูนิลีเวอร์ (Unilever) เป็นต้น

ถ้าหากเราดูผลตอบแทนในการลงทุนในต่างประเทศนับตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 ถึง 17 มิถุนายน 2564 แบบยังไม่รวมเงินปันผล เราจะพบว่า

- ผลตอบแทนดัชนี S&P 500 ของสหรัฐอเมริกา มีผลตอบแทน 230.67 เปอร์เซ็นต์
- ผลตอบแทนดัชนี NIFTY 50 ของอินเดีย มีผลตอบแทน 230.70 เปอร์เซ็นต์
- ผลตอบแทนดัชนี VNINDEX ของเวียดนาม: มีผลตอบแทน 278.96 เปอร์เซ็นต์

ขณะที่ผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพิ่มขึ้นมาแค่ 56.11% เท่านั้น ทำให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนได้ออกกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ขณะที่ตัวของบริษัทหลักทรัพย์ เราจะเห็นว่ามีโฆษณาถึงการลงทุนในต่างประเทศ และมีการแนะนำหุ้นต่างประเทศดีๆ มากมาย

ประเด็นนี้ ทำให้เราได้เห็นถึงความน่าสนใจของการลงทุนในต่างแดน อย่างไรก็ดี ก่อนที่เราจะลงทุนได้ต่างประเทศนั้น ต้องคิดถึงเรื่องเหล่านี้เสียก่อนครับ

1. ความเสี่ยงเรื่องการเมือง-นโยบายของประเทศที่เราไปลงทุน

แม้ว่าเราจะตัดสินใจในการไปลงทุนต่างประเทศ เนื่องจากมองว่าในต่างประเทศมีปัจจัยที่น่าสนใจกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2 ตลาดหุ้นสำคัญของโลกอย่าง สหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของ 2 มหาอำนาจนั้น เรื่องสำคัญคงหนีไม่พ้นประเด็นของ “สงครามทางการค้า” ที่ได้ลามไปถึงนโยบายของทั้ง 2 มหาอำนาจ ไปสู่ประเด็นอื่นๆ เช่น กรณีของบริษัทเทคโนโลยี และยังมีการตอบโต้ของทั้ง 2 ฝ่ายในช่วงที่ผ่านมานั้นได้สร้างความปั่นป่วนให้กับนักลงทุนไม่น้อย

ต่อมาเป็นกรณีที่สองชาติในเอเชียที่มีประเด็นความขัดแย้งมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ได้ปะทุอีกครั้งคือ ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ ซึ่งมีการตอบโต้กันจนถึงขั้นประชาชนเกาหลีใต้เองได้แบนสินค้าหลายชนิดจากประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลาหนึ่ง ตั้งแต่ แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดัง สินค้าอุปโภคบริโภค ไปจนถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าหากเราเป็นนักลงทุนที่ลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ก็ย่อมได้รับผลกระทบไม่น้อย เนื่องจากเกาหลีใต้ถือว่าเป็นตลาดสำคัญของบริษัทญี่ปุ่นเลยทีเดียวครับ

นอกจากนี้ยังมีประเด็นย่อยที่เกี่ยวข้องกันในเรื่องนี้ เช่น ความเสี่ยงที่นักลงทุนเองจะไม่สามารถนำเงินกลับประเทศได้ หรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจ-การเงินแบบเฉียบพลัน ยกตัวอย่างในกรณีของตุรกี ที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินเนื่องจากมีเงินทุนไหลออกนอกประเทศอย่างหนัก ไปจนถึงกรณีการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมือง ปัจจัยเหล่าอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนของเราได้ครับ

2. ความเสี่ยงของบริษัทของเราที่จะลงทุน

การลงทุนในต่างประเทศแล้วไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรงผ่านการซื้อหุ้น หรือการลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ ซึ่งจะนำเงินเราไปลงทุนอีกทอดหนึ่งนั้น ความเสี่ยงสำคัญอีกเรื่องคือบริษัทที่เราลงทุนอาจเกิดจากตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง รวมถึงความเสี่ยงที่บริษัทอาจล้มละลาย หรือการบริหารงานที่ผิดพลาด ปัจจัยเหล่านี้นั้นจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนของเราอย่างมากครับ

ผมขอยกตัวอย่างกรณีของอินเทล (Intel) ผู้ผลิตชิปชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ที่มีปัญหาเรื่องการจัดการและกลยุทธ์ของบริษัทที่ผิดพลาด จนทำให้ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทลดลง กระทั่งคู่ค้าคนสำคัญอย่าง Apple ต้องหันมาผลิตชิปเป็นของตัวเอง ผลลัพธ์ก็คือ ทำให้รายได้ของบริษัทต้องหายไปบางส่วนทันที ถึงแม้ว่าล่าสุดบริษัทจะเปลี่ยนผู้บริหารจนถึงเปลี่ยนกลยุทธ์ของบริษัทแล้ว แต่ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปีถึงจะเห็นว่ากลยุทธ์ของบริษัทนั้นจะออกดอกออกผลจริงๆ หรือไม่ แต่สิ่งที่ไม่ไปต่อไม่รอแล้วนั่นคือราคาหุ้นของอินเทล ซึ่งร่วงตอบรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว

ในปี 2564 เศรษฐกิจโลกรวมถึงเศรษฐกิจของประเทศไทยฟื้นตัวดีขึ้นจากปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 โดยคาดว่าเศรษฐกิจหลัก ๆ ในโลกจะฟื้นตัวได้ดีตามความพร้อมด้านสาธารณสุขและการกลับมามีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Reopening) ที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เช่น การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา (GDP) คาดว่าจะเติบโตได้ 6% ในปี 2564 และ 5.2% ในปี 2565 สำหรับประเทศไทยที่เริ่มทยอยกลับมามีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ก็คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ 1% ในปี 2564 และฟื้นตัวได้ดียิ่งขึ้นที่ 4.5% ในปี 2565 (ประเมินโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ : IMF)

อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกซึ่งมีมูลค่าและสัดส่วนสูงมากใน GDP ของประเทศ ได้มีการฟื้นตัวที่ดีมากตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยฟื้นตัวได้ 5% ในไตรมาสที่ 1, 36.2% ในไตรมาสที่ 2, และ 15.7% ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 นับเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ

สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยได้ขยายธุรกิจไปยังภูมิภาคต่าง ๆ และมีรายได้จากต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลการลงทุนทางตรงและรายได้จากต่างประเทศของบริษัทจดทะเบียน (รวบรวมข้อมูลจากการเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินประจำปีและแบบรายงาน 56-1) ในปี 2563 พบว่า 312 บริษัทจดทะเบียนได้เปิดเผยข้อมูลรายได้จากต่างประเทศโดยรวมสูงถึง 2.96 ล้านล้านบาท และสัดส่วนของรายได้จากต่างประเทศเปรียบเทียบกับรายได้รวมของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดในตลาดหุ้นไทย เพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 19% ในปี 2554 เป็นสัดส่วน 26% ในปี 2563 หรือคิดเป็นประมาณ 1 ใน 4 ของรายได้ทั้งหมด โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนรายได้ต่างประเทศสูง คือ กลุ่มเกษตรและอาหาร กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม และกลุ่มทรัพยากร

สร้างพอร์ตการลงทุนธีม Global Play

ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ขอเสนอการทดลองสร้างพอร์ตการลงทุนโดยใช้ฐานข้อมูลรายได้จากต่างประเทศที่รวบรวมมา เพื่อเป็นตัวอย่างและแนวทางในการวิเคราะห์และเลือกลงทุนที่เน้นการลงทุนในกลุ่มหุ้นที่มีรายได้จากต่างประเทศ ด้วยการทดลองสร้างพอร์ตการลงทุนออกเป็น 2 พอร์ตการลงทุนหลัก

  1. พอร์ตการลงทุนในบริษัทที่มีรายได้ต่างประเทศที่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ (Global Play – Large Cap)

การลงทุนในบริษัทที่มีรายได้ต่างประเทศที่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ ประกอบด้วยหุ้นที่มีมูลค่าหุ้นตามราคาตลาดมากกว่า 5,000 ล้านบาท มีรายได้จากต่างประเทศมากกว่า 2,000 ล้านบาท สัดส่วนรายได้จากต่างประเทศมากกว่า 25% และจะต้องมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ที่สามารถลงทุนได้อย่างคล่องตัว เช่น สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free-Float) ไม่น้อยกว่า 20% ของทุนชำระแล้วของบริษัท และอัตราส่วนหมุนเวียนหุ้นมากกว่า 5%

  1. พอร์ตการลงทุนในบริษัทที่มีรายได้ต่างประเทศที่เป็นหุ้นขนาดกลางและเล็ก (Global Play – Mid & Small Cap)

การลงทุนในบริษัทที่มีรายได้ต่างประเทศที่เป็นหุ้นขนาดกลางและเล็ก ประกอบด้วยหุ้นที่มีมูลค่าหุ้นตามราคาตลาดอยู่ในขนาดกลาง-เล็ก มีรายได้จากต่างประเทศมากกว่า 1,000 ล้านบาท สัดส่วนรายได้จากต่างประเทศมากกว่า 10% และจะต้องมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ที่สามารถลงทุนได้อย่างคล่องตัว เช่น สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free-Float) ไม่น้อยกว่า 20% ของทุนชำระแล้วของบริษัท และอัตราส่วนหมุนเวียนหุ้นมากกว่า 0.5%

ทั้ง 2 พอร์ตการลงทุนจะใช้วิธีการคำนวณแบบถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าหุ้นตามราคาตลาดและจำกัดน้ำหนักของหุ้นแต่ละตัวในพอร์ตการลงทุนไม่เกิน 5% ในทุกรอบที่มีการปรับสมดุลพอร์ต (Rebalancing) ซึ่งมีรอบระยะเวลาในการปรับทุกครึ่งปี และคัดเลือกหุ้นด้วยวิธีการวิเคราะห์จากบนลงล่าง (Top-Down Approach) โดยเป็นการคัดเลือกจากหมวดธุรกิจ (Sector) ที่มีมูลค่ารายได้จากต่างประเทศมากที่สุด 10 อันดับแรก และคัดเลือกหุ้นที่มีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศสูงที่สุด 2 - 3 อันดับแรกในแต่ละหมวดธุรกิจ