สถาบันศาสนา มีบทบาทสําคัญอย่างไรบ้าง

สถาบันศาสนา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของไทยมาแต่ครั้งโบราณกาล ซึ่งสถาบันพระพุทธศาสนานั้นเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสร้างความเป็นชาติไทยมาอย่างยืนยาว และต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น สถาบันพระพุทธศาสนามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือมนุษย์ในยามที่พวกเขาทุกข์ยากเดือดร้อนตามหลักคำสอนของศาสนาที่สอนให้ชาวพุทธรู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนมนุษย์ร่วมโลกด้วยกัน เป็นบทบาทที่สถาบันพระพุทธศาสนาช่วยแก้ไขปัญหาสังคมอีกทางหนึ่ง

อีกทั้งสถาบันพระพุทธศาสนามีบทบาทหลักในการกล่อมเกลาจิตใจ และลักษณะนิสัยของคนไทยให้มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักให้ แบ่งปัน มีน้ำใจ ให้อภัยซึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย  ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า สถาบันพระพุทธศาสนาเป็นสถาบันที่สร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่สังคมทางอ้อมผ่านการกล่อมเกลาให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง ดีงามตามธรรมนองคลองธรรมโดยตลอด แม้กระทั่งในปัจจุบัน ความสำคัญในประการดังกล่าวก็ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ จะเห็นได้จาก พระภิกษุสงฆ์กับวัดยังต้องรับภาระหน้าที่ให้ความช่วยเหลือภาคสังคมและภาคราชการไทยอยู่ตลอดในยามที่เกิดปัญหา ต้องการความช่วยเหลือ แม้กระทั่งเกิดวิกฤตในประเทศ สถาบันแห่งนี้ยังคงเป็นสถาบันหลักที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ อำนวยประโยชน์ เกื้อกูลประชาชนอย่างต่อเนื่อง

รวมถึงยังคงเป็นสถาบันที่มีส่วนสำคัญต่อการปกครองและการบริหารของไทยอยู่มาก กล่าวคือ การที่สถาบันศาสนามีบทบาทสำคัญในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน ความเป็นเอกภาพของประเทศจะเอื้อให้การบริหารและการปกครองประเทศเป็นไปโดยสะดวกยิ่งขึ้น เกิดความเป็นปึกแผ่นมั่นคงอย่างถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประชาชนแถบชนบทที่รับการบริการจากรัฐบาลได้ไม่ทั่วถึงนัก ไม่ได้รับการสอดส่องดูแลจากรัฐ ซึ่งมีจำนวนมากถึง ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ในพื้นที่ดังกล่าว ศาสนาจะเป็นดั่ง “จักรกล” สำคัญในการยึดโยงประชาชนทั่วทุกพื้นที่ของประเทศเข้าไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างมีประสิทธิผลสูง

นอกจากนี้ การที่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้เข้าไปผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมไทยจนแทบจะเป็นหนึ่งเดียวกันนั้น นับได้ว่าสถาบันพระพุทธศาสนาได้ก้าวล่วงเข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมากเข้าทุกที ดังจะเห็นว่า เหตุการณ์สำคัญ ๆ ในชีวิตประจำวันเกือบทั้งหมดของคนไทย มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น จะสังเกตได้ว่า หากพระพุทธศาสนาได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยแล้วนั้น ชาวพุทธมีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกัน จนกระทั่งเหมือนกัน ความเหมือนกันนี้ก่อให้เกิดความรู้สึกว่า เราเป็นพวกเป็นกลุ่มเดียวกัน เป็นเพื่อนกันเป็นพี่น้องกัน ย่อมส่งผลต่อความรู้สึกเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เป็นชาติเดียวกันอย่างแน่นอน

กล่าวถึงคุณค่าของสถาบันพระพุทธศาสนาในด้านการศึกษาอบรม ในสมัยก่อนสถาบันพระพุทธศาสนาเป็นสถาบันแห่งแรกที่ให้การศึกษาแก่คนไทย การศึกษาของไทยเริ่มต้นจากที่วัด โดยเฉพาะในด้านจริยศึกษา แม้ในปัจจุบันความสำคัญในด้านนี้ก็ยังมีให้เห็นอยู่ ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมทำนุบำรุงการศาสนา เพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจและเป็นสถาบันอบรมศีลธรรมอันดีงามให้แก่ประประชาชน ในที่นี้จะได้ชี้ให้เห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนาในด้านการศึกษาเบื้องต้น จริยศึกษา และคุณค่าของการบวชเรียน ทั้งนี้เพื่อจะได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีอยู่เหนือจิตใจของคนไทยโดยแจ้งชัดยิ่งขึ้น

สถาบันพระพุทธศาสนาปูพื้นฐานการศึกษาให้กับคนไทย นับแต่โบราณมาวัดเป็นสถาบันแห่งเดียวที่ให้การศึกษาแก่เยาวชนไทยโดยส่วนรวม การศึกษาจะกระทำกันในโรงเรียนวัด โดยมีพระภิกษุสงฆ์ผู้มีความรู้สูงกว่าชาวบ้านเป็นผู้จัดการศึกษาและเป็นครู เด็กผู้ชายจะถูกส่งไปเป็นศิษย์วัดหรือสามเณร เพื่อเรียนการอ่าน การเขียน และเรียนวิชาเลขคณิตอย่างง่าย ๆ รวมทั้งรับการอบรมทางศีลธรรม และหลักธรรมของศาสนา ทำให้เด็กผู้ชายส่วนมากอ่านออกเขียนได้ และมีความรู้ในด้านจริยธรรมของสังคม ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติของตนเองและของครอบครัว แสดงให้เห็นว่าเราต้องพึ่งพาอาศัยวัดในด้านนี้มาโดยตลอด ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างพระพุทธศาสนากับประชาชนชาวไทย แม้ในเรื่องของการศึกษา เราก็ต้องพึ่งพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามเราย่อมตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งนี้ยิ่งขึ้น เมื่อได้พิจารณาถึงความสำคัญของการศึกษาในด้านจริยธรรม

ความสำคัญของศาสนาในด้านการศึกษาจริยธรรม พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ให้การศึกษาในด้านจริยธรรม หรือศีลธรรมแก่เยาวชนไทยตามหลักพระพุทธศาสนา ควบคู่กับการสอนหนังสือมาโดยตลอด การส่งเด็กผู้ชายไปเป็นศิษย์วัด หรือเป็นสามเณร ซึ่งกระทำกันจนเป็นประเพณีมานาน ถือว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ได้รับความเลื่อมใสและกลายเป็นสมาชิกที่ได้รับการยกย่องจากชุมชนขึ้นมา การกระทำดังกล่าวนอกจากจะมีส่วนช่วยทำให้เด็กผู้ชายไทยเป็นจำนวนมากอ่านออกเขียนได้แล้ว ยังช่วยทำให้บุคคลเหล่านั้นได้มีโอกาสรับการอบรมสั่งสอนในด้านศีลธรรมและหลักธรรมทางศาสนาด้วย

คุณค่าของประเพณีการบวชเรียน ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่าสมัยก่อนคนไทยศึกษากันที่วัด นอกจากจะได้รับความรู้จากการศึกษาอบรมในเรื่องหลักธรรมทางศาสนาแล้ว จะเป็นการเตรียมตัวของตนเองสำหรับการอุปสมบทที่จะมีขึ้นในวันข้างหน้าอีกด้วย การศึกษาเกี่ยวกับหลักธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยนั้นถือกันว่าเป็นการศึกษาสำคัญที่สุดของชาติ การอุปสมบทย่อมมีส่วนช่วยทำให้กุลบุตรมีโอกาสได้รับการศึกษาสูงขึ้น เพราะมีวัดแห่งเดียวที่เป็นสถาบันการศึกษา สิ่งนี้นับเป็นมูลเหตุจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ชายไทยนิยมการอุปสมบท จนเป็นประเพณีทั่วไป เมื่อมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์จะต้องอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เพราะถือว่าการบวชนั้น นอกจากจะทำให้ได้บุญแล้ว ยังทำให้มีโอกาสได้ร่ำเรียน มีความรอบรู้ยิ่งขึ้น การบวชเรียนจึงเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงการบวชเรียนไว้ว่า  …ในสมัยกรุงศรีอยุธยา การที่บวชเรียนถือเป็นประเพณีว่าผู้ชายทุกคนควรจะต้องบวช เป็นเหตุให้มีพระภิกษุสงฆ์มากมายขึ้นหลายเท่า อีกประการหนึ่ง เมื่อประเพณีการบวชเรียนแพร่หลาย ย่อมมีผู้บวชแต่ชั่วคราว โดยมากถือเอาการศึกษาเป็นสำคัญของการบวช การเล่าเรียนจึงได้เจริญขึ้นตามวัด วัดจึงได้เป็นที่ศึกษาสถาน … การศึกษาในทางหลักธรรมจึงมีความก้าวหน้าเรื่อยมา
การบวชเรียนนั้นนอกจากจะช่วยทำให้พระภิกษุสงฆ์หรือผู้ผ่านการบวชเรียน ได้รับการกล่อมเกลาให้เป็นผู้ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงามจนเป็นที่ได้รับการเคารพนับถือของสังคมทั่วๆ ไปแล้ว ยังมีส่ วนช่วยทำให้บุคคลเหล่านั้น เป็นผู้มีสติปัญญา เฉลียวฉลาด มีความคิดสุขุมรอบคอบยิ่งขึ้น เมื่อสึกออกมาก็มักจะเป็นผู้ที่ครองชีวิตได้ดี มีเหตุผล และเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่บวชในขณะมีอายุเริ่มเข้าสู่วัยของการบรรลุนิติภาวะ ซึ่งเป็นระยะเริ่มเปลี่ยนจากวัยรุ่นมาสู่วัยผู้ใหญ่ทำอะไรก็มักจะมีความคิดรุนแรงและวู่วาม ถ้าผ่านการบวชเรียนมาแล้ว ก็จะไร้รับการขัดเกลานิสัย จิตใจ และมีหลักธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับควบคุมตัวเอง ในการดำเนินชีวิต
ด้วยเหตุนี้ประเพณีโบราณจึงถือการบวชเรียนของฝ่ายชายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการแต่งงานด้วย กล่าวคือผู้ชายจะต้องผ่านการบวชเรียนมาแล้ว ประเพณีการบวชเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการศึกษาหลักธรรมนี้ นับว่ามีความสำคัญทั้งในส่วนที่เป็นองค์พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ บรรดาข้าราชการ และประชาชน

ดังนี้ จึงเป็นที่แน่ชัดว่า สถาบันพระพุทธศาสนาที่มีวัด เป็นแหล่งศูนย์กลางของการเรียนรู้วิชาความรู้ต่างๆ ทั้งหลักธรรมคำสอน ศีลธรรมจรรยารวมถึงวิชาความรู้ศาสตร์แขนงต่างๆ นั้นประชาชนชาวไทยก็ได้รับอานิสงค์มาจากการที่วัดเป็นแหล่งสั่งสอน อาจกล่าวได้ว่า สถาบันพระพุทธศาสนาได้สร้างความมั่นคงให้กับชาติไทยอย่างมหาศาล โดยเป็นการสร้างความมั่นคงทางความคิด สติปัญญา และความดีให้กับคนในชาติ คนในชาติจะได้เป็นบุคคลที่ดี มีความรู้ มีความสามารถ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างชาติไทยอีกทางหนึ่งด้วย

กล่าวโดยสรุป สถาบันพระพุทธศาสนานั้น เป็นสถาบันหลักในการสร้างชาติไทยมาตั้งแต่อดีตกาลที่ต่อเนื่อง ยาวนาน ในหลายๆ แง่มุมด้วยกันดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

บทบาทและความสําคัญของสถาบันศาสนา มีอะไรบ้าง

สถาบันศาสนาทำหน้าที่เสมือนเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมทางสังคมเพื่อให้เกิดความประพฤติและพฤติกรรมอันถูกต้อง เพื่อนำไปสู่ความสงบสุข ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี เช่น คำสอนหรือกฎเกณฑ์ทางศาสนาที่สอนมิให้มีการประพฤติชั่ว หรือเบียดเบียนกันระหว่างสัตว์โลก

สถาบันศาสนามีความสําคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร

5.2 หน้าที่ของสถาบันศาสนา 1. เชื่อกันว่าศาสนาสามารถปกป้องภัยพิบัติต่างๆได้ และเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ 2. เป็นพื้นฐานสำคัญของอำนาจรัฐ เพราะมีบางที่ที่อำนาจรัฐขึ้นอยู่กับประมุขทางศาสนา 3. ก่อให้เกิดศีลธรรมทางสังคม และจริยธรรม ซึ่งเป็นเครื่องกำหนดแนวทางและนโยบายของสังคม

ข้อใดเป็นหน้าที่สำคัญของสถาบันศาสนาที่มีต่อสังคม

3. สถาบันศาสนา บทบาทสำคัญของสถาบันศาสนา คือ การสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับสังคม การสร้างเสริมและถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่สังคม การควบคุมสมาชิกให้ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม และสนองความต้องการทางจิตใจแก่สมาชิก

สัญลักษณ์สำคัญของสถาบันพระพุทธศาสนาคือสิ่งใด

ธรรมจักรนับว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาที่มีความส าคัญอย่างยิ่ง ต่อพุทธศาสนิกชนตั้งแต่อดีต เพราะธรรมจักรเป็นที่ยอมรับนับถือกันว่า เป็นสัญลักษณ์ ของพระพุทธศาสนา เป็นเครื่องหมายของการหมุนธรรม เผยแผ่ธรรม ประกาศเผยแผ่ธรรม ในทางพระพุทธศาสนา ในปัจจุบันนี้ตามวัดวาอารามต่างๆ ใช้ธงธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ ของศาสนา ตราประจ า ...