การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีอะไรบ้าง

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษจึงถูกนำมาใช้ปกครองและบริหารงานในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เพื่อยกระดับกรุงเทพฯ ให้พิเศษยิ่งกว่า อาทิ มีเอกภาพมากขึ้น มีความคล่องตัวด้านการจัดการและบริหารงานสูงขึ้น ยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาให้ครบรอบด้านและดียิ่งกว่า นอกจากนี้ยังสามารถปรับระบบเข้ากับความต้องการท้องถิ่นและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างรวดเร็วกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปอีกด้วย

Show
การก่อสร้างถนนเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเตรียมการเยอะ ซึ่งหากเกิดความผิดพลาดในบางขั้นตอน อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายในระยะยาวได้ ซึ่งขั้นตอนการก่อสร้างถนนที่ถูกต้องและมีการตรวจสอบอย่างรัดกุมจะส่งผลให้ถนนในหมู่บ้าน ชุมชน บริษัท ฯลฯ สามารถใช้การได้ดีอย่างยาวนานคุ้มค่าเงินที่ลงทุนไป โดยควรเริ่มจากตรงไหน ตามมาอ่านกันเลย

การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีอะไรบ้าง
Photo by George Pagan III on Unsplash

รู้จักถนนผิวจราจร 3 ประเภท

ก่อนที่เราจะไปถึงขั้นตอนการก่อสร้างถนน เราต้องรู้จักประเภทของถนนที่จะก่อสร้างเสียก่อน โดยหลัก ๆ มีสามประเภทแบ่งตามวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง ดังนี้

ถนนผิวจราจรลูกรัง

ถนนแบบที่มักพบในพื้นที่ชนบท โดยโครงสร้างของถนนชั้นแรกจะเป็นดินถม ก่อนปูด้วยลูกรังอัดแน่นเพื่อเป็นผิวถนน เป็นถนนแบบที่ใช้งบประมาณน้อยที่สุด ก่อสร้างได้ง่าย แต่ชำรุดได้ง่ายเช่นเดียวกัน มีฝุ่นคลุ้งตลอดเวลา ในหน้าฝนก็เป็นหลุมบ่อ และไม่สามารถรองรับปริมาณการจราจรได้มากนัก เจ้าของพื้นที่อาจเพิ่มความคงทนต่อสภาพอากาศได้ด้วยการโรยกรวดบนพื้นถนน

ถนนผิวจราจรคอนกรีต

ถนนที่พบได้มากในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยอาจเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือวัสดุอื่น เป็นถนนที่มีความคงทน ใช้งานได้งาน ก่อสร้างง่าย แต่ก็มีข้อเสียคือผิวการจราจรมักจะไม่เรียบเพราะมีรอยต่อหลายจุดเพื่อป้องกันรอยแตกบนพื้นถนน โดยหากต้องการให้ถนนรับน้ำหนักได้มาก ก็จะต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย

ถนนผิวจราจรลาดยางมะตอย (แอสฟัลต์)

ถนนที่พบได้มากในช่วงถนนรอยต่อระหว่างเมือง เนื่องจากมีปริมาณการจราจรที่หนาแน่น และเป็นการก่อสร้างถนนที่ใช้เวลาไม่นาน โดยนอกจากแอสฟัลต์แล้ว ยังนิยมลาดยางประเภทอื่น ๆ เช่นเคพซีล, ลาดยางสองชั้น ฯลฯ ซึ่งถนนจะมีผิวเรียบ ไม่มีรอยต่อเหมือนถนนผิวจราจรคอนกรีต มีความยืดหยุ่นสูง สามารถใช้งานได้นาน แต่หากต้องมีการปรับปรุงพื้นถนน จะต้องใช้เครื่องจักรกลมาดำเนินการเท่านั้น

ติดต่อสอบถามข้อมูล

เลือก VASKO มาดูแลให้ถนนของคุณเรียบลื่นไม่มีสะดุด ด้วยยางมะตอยคุณภาพและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ดำเนินงานลาดยางมะตอย ทำถนนโดยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์ และผลงานยาวนานกว่า 30 ปี ติดต่อเราได้โดยตรงที่ ได้ที่ ไลน์  @Vaskoccc  (มี @ ด้านหน้า) หรือโทร 089-7713945 ชาคร

คลิกเพื่อแอดไลน์

การสำรวจเส้นทาง ขั้นตอนแรกของการก่อสร้างถนน

ก่อนที่จะดำเนินการออกแบบถนนได้ เราก็ต้องสำรวจเส้นทางก่อนเพื่อสำรวจรายละเอียดต่าง ๆ และนำมาเปรียบเทียบหาความเหมาะสมของแต่ละเส้นทาง

การสำรวจแบบกว้าง

เป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาช่วยในการสำรวจ เช่นแผ่นที่ รูปถ่ายทางอากาศ การสำรวจภาคพื้นดิน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้เส้นทางที่ดีและสั้นที่สุด รวมไปถึงการสำรวจด้านภูมิประเทศ ที่จะต้องตรวจสอบความลาดชัน รวมไปถึงความหนาแน่นของจราจรบริเวณนั้น

การสำรวจขั้นต้น

เป็นการสำรวจอย่างละเอียดที่พื้นที่จริง ซึ่งช่างสำรวจจะมาประเมินค่าก่อสร้างเบื้องต้นให้

การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีอะไรบ้าง
Photo by Mika Baumeister on Unsplash

การออกแบบถนน ขั้นตอนสำคัญในการก่อสร้างถนน

เมื่อเราได้เลือกผิวจราจรและสำรวจเส้นทางเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการออกแบบถนน ซึ่งจะมีข้อกำหนดและข้อควรระวังต่าง ๆ ดังนี้

การออกแบบโครงสร้างถนน

ควรคำนึงถึงปริมาณจราจรที่จะมีในอนาคตและความแข็งแรงของพื้นดินเดิม ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกผิวจราจรแบบต่าง ๆ

การออกแบบทางโค้ง

สำหรับการออกแบบทางโค้งบนถนน ควรหลีกเลี่ยงทางโค้งแคบ ซึ่งนับเป็นโค้งอันตราย, ควรหลีกเลี่ยงทางตรงที่ยาวมาก ๆ แล้วตามมาด้วยโค้งแคบทันที, ควรหลีกเลี่ยงการสร้างถนนบนพื้นที่ที่มีความชันและโค้ง โดยทุกโค้งควรมีการยกขอบถนน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้ทาง

ความกว้างของผิวจราจร

มาตรฐานความกว้างของผิวจราจรคือ 6 เมตร โดยไหล่ทางกว้างข้างละ 1.50 เมตร แต่อาจมีการปรับให้แคบลงได้บางกรณี เช่นเมื่อมีปัญหาแนวเขตทางหรือเมื่ออยู่ในหมู่บ้าน เป็นต้น

การออกแบบไฟฟ้าแสงสว่าง

ออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐานไฟฟ้าสาธารณะ เช่น สำหรับถนนกว้างไม่เกิน 6 เมตร ให้ติดเสาไฟสองฝั่งถนนสลับกัน ส่วนถนนกว้าง 8 เมตรขึ้นไป ให้ติดตั้งเสาไฟสองฝั่งถนนตรงข้ามกัน เป็นต้น

การก่อสร้างสิ่งที่อยู่เหนือผิวจราจร

ควรมีความสูงขั้นต่ำที่ 5.0 เมตร เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับรถหรือพาหนะต่าง ๆ ที่มีความสูง

การออกแบบป้าย, สิ่งควบคุม, สิ่งอำนวยความสะดวกด้านจราจร ฯลฯ

ควรติดตั้งระบบควบคุมการจราจรและอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยต่อผู้ใช้ถนนให้เรียบร้อย โดยควรเป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันอุบัติภัยทางถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การออกแบบโครงสร้างทางเป็นกรณีพิเศษ

ในบางพื้นที่อาจต้องมีการออกแบบโครงสร้างทางเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของคันทางบนดินอ่อน หรือสำหรับถนนเลียบคลอง เลียบแม่น้ำที่ต้องออกแบบเพื่อป้องกันการกัดเซาะคันทาง เป็นต้น

การออกแบบถนนเพื่อการท่องเที่ยว

สำหรับถนนในแหล่งท่องเที่ยว อาจต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ตั้งแต่การออกแบบ เช่น ศาลา จุดพักชมวิว ที่จอดรถ ภูมิทัศน์สองข้างถนน ป้ายแนะนำสถานที่สำคัญต่างๆ

โดยเมื่อออกแบบถนนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนการประมาณราคา และการตกลงว่าจ้าง ซึ่งรูปแบบการจ้างจะเป็นแบบใด ขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้าง (ภาครัฐ/ภาคเอกชน)

การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีอะไรบ้าง
Photo by Gene Gallin on Unsplash

ขั้นตอนการก่อสร้างถนน

หลังจากตกลงว่าจ้างเป็นที่เรียบร้อย การก่อสร้างถนนก็จะเกิดขึ้นเป็นลำดับต่อมา โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เตรียมพื้นฐานทาง (Subgrade)

รากฐานของถนนที่จะทำให้ถนนแข็งแรง ทนทาน โดยจะมีการใช้เครื่องจักรขุดดินและถอนเอาวัสดุที่ไม่ต้องการออกจากดิน เช่น ขอนไม้ กองขยะ เพื่อให้เป็นคันทางตามรูปแบบของถนนที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งหากพื้นทางเป็นโคลนหรือมีน้ำมาก ก็จะทำให้การลาดยางผิวถนนออกมาไม่เรียบเนียน

2. รองพื้นทาง (Subbase)

เป็นชั้นที่จะก่อสร้างก็ต่อเมื่อชั้นพื้นฐานทางบริเวณนั้นอ่อนมาก จนต้องช่วยเพิ่มความแข็งแรง วัสดุที่ใช้จะเน้นวัสดุที่หาง่ายและราคาถูกเช่น ดินลูกรัง ทราย เป็นต้น ชั้นนี้จะทำให้ผิวทางมีความเรียบสม่ำเสมอและลดการแอ่นตัวของผิวทาง โดยการก่อสร้างก็ใช้วิธีลงวัสดุเป็นชั้น ๆ ก่อนบดอัดด้วยปริมาณความหนาแน่นที่ต้องการ

3. สร้างชั้นราก (Base)

ชั้นที่อยู่ใต้ผิวทางซึ่งเป็นชั้นที่ช่วยรับน้ำหนัก ดังนั้นต้องใช้วัสดุคุณภาพดี แข็งแรง เช่นกรวดอัดแน่น หินคลุกซีเมนต์ วัสดุเม็ด เป็นต้น นิยมสร้างเมื่อชั้นผิวทางเป็นแอสฟัลต์เนื่องจากเป็นผิวทางที่ยืดหยุ่นไปตามชั้นราก โดยใช้รถบดช่วยเพื่อให้วัสดุถูกบดอัดจนแน่น ก่อนจะคลุมผิวหน้าด้วยแอสฟัลต์เจือจางที่เรียกว่า Prime Coat

4. สร้างชั้นผิวทาง (Surface)

ชั้นที่รองรับการจราจรของรถประเภทต่าง ๆ โดยควรกันน้ำได้ดี มีความลาดเอียงตามเหมาะสมเพื่อป้องกันน้ำขัง ต้านทานการลื่นไถล และยึดเกาะกับชั้นล่างได้ดี สำหรับถนนในเขตเมืองจะนิยมลาดถนนด้วยแอสฟัลต์และคอนกรีตเป็นหลัก ซึ่งการลาดถนนทั้งสองประเภทก็มีข้อแตกต่างดังนี้

4.1 คอนกรีต

สำหรับคอนกรีตจะต้องมีการแบ่งพื้นถนนเป็นช่วง ๆ  ทั้งนี้ก็เพื่อสำหรับการขยายและหดตัวตามสภาพอากาศ ป้องกันการแตกของพื้นถนนในอนาคต โดยขณะเทคอนกรีตให้ใช้กระดาษหนาหรือไม้วางขวางถนนนำหน้าคอนกรีตที่กำลังเทในแต่ละส่วน และห้ามหยุดเทเกิน 30 นาทีเป็นอันขาด หากหยุดเกินกว่านั้นต้องรื้อแล้วเททิ้งทันที หากมีเหล็กเสริมพื้นถนน เหล็กนั้นจะต้องสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียแรงยึดกับคอนกรีต หรือเป็นสนิมในอนาคต

4.2 แอสฟัลต์

ก่อนอื่นต้องเลือกชนิดของแอสฟัลต์ให้เหมาะกับถนนที่ต้องการ โดยหลังจากทำการพ่นแอสฟัลต์ครั้งแรกแล้ว ให้ทำการเก็บรายละเอียดของผิวถนนด้วยการเทแอสฟัลต์พร้อมทำการบดเพื่อเสริมความแข็งแรงของถนนอีกชั้น และปิดท้ายด้วยรถบดเพื่ออัดให้พื้นยางแน่น

5. ตีเส้นจราจร

เมื่อจบทุกขั้นตอนการก่อสร้างถนน ก็จะมาถึงการตีเส้นจราจรต่าง ๆ เพื่อให้รถสามารถวิ่งได้อย่างปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน รวมไปถึงทางม้าลายเพื่อความสะดวกของคนเดินถนน ที่กำหนดความกว้างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร ซึ่งการตีเส้นจราจรที่ได้มาตรฐานก็จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ทนทานต่อแรงกระแทก

ติดต่อสอบถามข้อมูล

เลือก VASKO มาดูแลให้ถนนของคุณเรียบลื่นไม่มีสะดุด ด้วยยางมะตอยคุณภาพและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ดำเนินงานลาดยางมะตอย ทำถนนโดยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์ และผลงานยาวนานกว่า 30 ปี ติดต่อเราได้โดยตรงที่ ได้ที่ ไลน์  @Vaskoccc  (มี @ ด้านหน้า) หรือโทร 089-7713945 ชาคร

คลิกเพื่อแอดไลน์

ควบคุมงานก่อสร้าง

เมื่อตกลงจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง ก็จะมีผู้ควบคุมงานก่อสร้าง หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญซึ่งมาร่วมดูแลขั้นตอนการก่อสร้างถนน โดยหากปล่อยปละละเลยในหน้าที่ ก็อาจส่งผลให้ถนนออกมาไม่มั่นคงแข็งแรงตามที่ควร ผู้ใช้ทางได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง ซึ่งผู้ควบคุมงานก่อสร้างมีหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้

จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ต่าง ๆ

จัดเตรียมและอ่านทำความเข้าใจแบบแปลน สัญญา เอกสารรายงานต่าง ๆ ให้เรียบร้อย นอกจากนี้ก็ยังต้องตรวจสอบอุปกรณ์ในการตรวจงานให้ใช้ได้ดีอยู่เสมอ

ติดตั้งป้ายเตือน

แจ้งให้ผู้รับจ้างทำและติดตั้งป้ายเตือนเขตพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ผ่านไปมา ทั้งคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ยานพาหนะ และผู้ปฏิบัติงาน

เร่งรัดการก่อสร้าง

หากผู้รับจ้างก่อสร้าง ทำงานล่าช้า ให้ผู้ควบคุมงานก่อสร้างส่งหนังสือเตือนเพื่อเร่งรัดการทำงานให้ได้ตามกำหนด

ตรวจรับงานก่อสร้างถนน

สัญญาการจ้างงานก่อสร้างจะแบ่งออกเป็นงวด ๆ ดังนั้นในการตรวจรับงานในแต่ละงวดก็จะมีการตรวจสอบตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งคณะกรรมการตรวจรับก็จะสอบถามกับทางผู้ควบคุมการก่อสร้างถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการก่อสร้าง

การตรวจบำรุงรักษาถนน

ถนนควรบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีเสมอ เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกสบายของผู้ใช้ทาง โดยถนนอาจเกิดความเสียหายได้ 2 ประเภท ดังนี้

  • ความเสียหายในด้านการใช้งาน (Function Failure) เช่น ผิวถนนขรุขระเป็นคลื่น ทำให้ไม่สามารถใช้ทางได้ไม่สะดวก ใช้ความเร็วได้ต่ำ
  • ความเสียหายด้านโครงสร้าง (Structure Failure) เช่น ผิวถนนเป็นหลุมบ่อ คันทางทรุด

งานบำรุงรักษาปกติ

การบำรุงรักษาประจำที่ทำตลอด เพื่อให้ถนนอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เช่นการซ่อมแซมรอยแตกและหลุมต่าง ๆ การปรับสภาพถนน เป็นต้น

งานบำรุงรักษาถนนตามกำหนดเวลา

การบำรุงรักษาถนนตามกำหนดเวลา ทั้งนี้เพื่อยืดอายุการใช้งานของถนนให้สามารถใช้งานได้ยาวนาน เช่นการบูรณะถนน ฉาบผิวแอสฟัลต์ เป็นต้น

งานบำรุงพิเศษ

การบำรุงรักษาถนนที่ชำรุดทรุดโทรมกว่างานซ่อมบำรุงปกติ เพื่อให้ถนนสามารถใช้งานได้ตามเดิม เช่นการซ่อมไหล่ทาง การปรับระดับผิวถนน เป็นต้น

งานบำรุงฉุกเฉิน

การบำรุงรักษาถนนที่ชำรุดเสียหายมาก เพื่อให้สามารถเปิดใช้งานได้ เช่นถนนที่เสียหายจากดินโคลนถล่ม น้ำท่วม เป็นต้น

สรุปเรื่องขั้นตอนการก่อสร้างถนน

การก่อสร้างถนนจำเป็นต้องพิถีพิถันตั้งแต่การวางแผน การเลือกวัสดุ ที่ควรวางแผนให้เหมาะสมกับปริมาณจราจร การขยายตัวของเมือง ความแข็งแรงของพื้นดินเดิม ฯลฯ  ซึ่งเมื่อออกแบบถนนเรียบร้อยก็เข้าสู่ขั้นตอนการสร้างถนน ที่จำเป็นต้องมีการควบคุมการก่อสร้างที่ดี เพื่อให้ถนนได้มาตรฐาน คงทน ใช้งานได้นานโดยไม่ต้องซ่อมบ่อย ๆ ซึ่งผู้ควบคุมการก่อสร้างที่ดีก็ควรตรวจสอบการทำงานสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของผู้รับเหมา หรือจะเป็นคุณภาพของวัสดุ โดยหลังจากถนนสร้างเสร็จก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยขาดการบำรุงรักษา เพราะอาจส่งผลถึงชีวิตของผู้ใช้ถนนเลยทีเดียว ผู้ดูแลต้องหมั่นบำรุงรักษาไม่ให้ขาด และซ่อมทันทีหากถนนชำรุดเฉียบพลัน

เขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษมีกี่รูปแบบ

ขณะนี้ประเทศไทยมีการปกครองสวนทองถิ่ นรูปแบบพิเศษอยูแลว 2 รูปแบบ คือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา และรูปแบบทั่ วไป 3 รูปแบบ คือ องคการบริหารสวนจังหวัด เทศบาล และองคก ารบริหารสว นตําบล

ลักษณะสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษมีลักษณะใดบ้าง

ลักษณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ได้แก่ (1) การมีโครงสร้างการบริหารที่แตกต่างจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อสอดรับกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นนั้น ๆ (2) การกำหนดที่มาของผู้บริหาร เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญที่จะเป็นผู้ผลักดันให้พื้นที่มีความเจริญ เช่น ผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง (3) การมีอำนาจหน้าที่ใน ...

การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปคือองค์กรใดบ้าง

การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วประเทศทุกจังหวัด มี 3 ประเภท ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยมีกี่รูปแบบ

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบพิเศษ คือ กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา และ (2) รูปแบบทั่วไป คือ องค์การบริหารส่วน จังหวัด(อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) โดยมีหัวหน้าฝ่ายบริหาร และสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด