การอภิปรายแบบซิมโพเซียมคืออะไร

ADVERTORIALS


การอภิปรายแบบซิมโพเซียมคืออะไร
การสัมมนา คือ การประชุมกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความสนใจประสบการณ์ในงานวิชาชีพเดียวกัน หรือ วัตถุประสงค์เดียวกัน เพื่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน หรือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

การจัดสัมมนาให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้จัดงานต้องสามารถกำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดสัมมนาให้ได้ว่าคืออะไร การเลือกรูปแบบการสัมมนาให้เหมาะสมจึงถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ผู้จัดงานสามารถตั้งเป้าหมายได้แม่นยำยิ่งขึ้น

การอภิปรายแบบซิมโพเซียมคืออะไร

รูปแบบการจัดงานสัมมนานั้นมี 6 รูปแบบ ดังนี้
1. การอภิปรายแบบคณะ (Panel Discussion) เป็นการสัมมนาเชิงอภิปรายเนื้อหา โดยจะมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ความรู้ในหัวข้อนั้น ๆ ประมาณ 3-8 คน โดยจะเป็นการอภิปรายในเชิงลึกให้ความคิดเห็น ข้อมูลเท็จจริง ความรู้ความเข้าใจ มุมมองและความรู้ที่แตกต่างลึกซึ้งแตกต่างกันไป ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมสัมมนาได้รับความรู้ ข้อคิดเห็นที่แตกต่าง ได้แนวความคิดหลากหลาย และมีหลายแง่มุมในเรื่องเดียวกัน

2. การสัมมนาในแบบซิมโพเซี่ยม (Symposium) เป็นการสัมมนาการประชุมเชิงวิชาการ บรรยากาศอภิปรายจะแบบเป็นทางการ มีวิทยากร 2-6 คน ซึ่งจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อนั้น ๆ ซึ่งผู้อภิปรายจะเตรียมความรู้ในส่วนของตนที่รับผิดชอบตอนใดตอนหนึ่งที่ตนได้รับมอบหมาย ซึ่งการบรรยายในการอภิปรายแบบนี้วิทยากรจะไม่ก้าวก่ายหรือซ้ำซ้อนกับหัวข้อของวิทยากรท่านอื่น โดยวิทยากรแต่ละท่านต้องเสนอแนวคิดที่ตรงประเด็นเป้าหมายให้มากที่สุด โดยแต่ละท่านจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมสัมมนาได้รับความรู้แบบแน่น ๆในเชิงลึกของหัวข้อนั้น ๆ

3. การสัมมนารูปแบบอภิปรายระดมความคิด (Brain Storming) เป็นรูปแบบการสัมมนาที่ต้องการการอภิปราย โดยผู้เข้าร่วมสัมนาสามารถออกความคิดเห็นร่วมกันได้ โดยจะจัดเป็นกิจกรรมกลุ่มที่มีผู้ร่วมอภิปราย 5-15 คน เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเกิดบทสรุปตามหัวข้อและเนื้อหาที่กำหนด โดยการดำเนินการอภิปรายจะมีผู้นำเป็นประธานกลุ่ม มีเลขานุการกลุ่มจดบันทึกการประชุมอยู่ด้วย ซึ่งงานประเภทนี้จะทำให้ผู้ร่วมงานได้มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระและเต็มที่ แถมยังสร้างการสื่อสารและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมงานอีกด้วย

4. การสัมมนาอภิปรายโดยการสวมบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นการกำหนดเหตุการณ์ โดยผู้จัดการสัมมนาให้ผู้เข้าสัมมนาได้สวมบทบาทต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นความรู้สึกได้ตามบทบาทสมมุติที่ตนเองเล่นอยู่นั้น เช่น วิธีการติดต่อธุรกิจทางโทรศัพท์ วิธีการเข้าร่วมสัมภาษณ์ทำงาน เป็นต้น ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้ใส่หัวใจและเรียนรู้เข้าใจในความรู้สึกความคิดเห็นของบทบาทที่สวมอยู่ เกิดเป็นประสบการณ์ใหม่และความคิดความเข้าใจใหม่ ๆ อย่างลึกซึ้ง

5. การอภิปรายแบบถาม-ตอบ (Dialogue) เป็นการประชุมสัมมนาแบบกลุ่มประมาณ 8-15 คน จัดสถานที่สัมมนาให้เป็นโต๊ะกลมที่ทุกคนหันหน้าเข้าหากัน จะมีประธานการสัมมนาเป็นผู้เสนอหัวข้อ เนื้อหาและปัญหาให้รับฟังร่วมกัน จากนั้นเริ่มอภิปรายโดยคนที่อยู่ถัดจากประธานอภิปรายตามความคิดความต้องการของตนเองเกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าว แล้วเรียงกันไปทางขวามือพูดทีละคนจนครบทุกคน ซึ่งการจัดงานแบบนี้จะทำให้ผู้ร่วมงานแสดงความคิดเห็น แนวคิด การวิเคราะห์ได้อย่างเต็มที่

6. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เป็นวิธีการประชุมที่ต้องการให้สมาชิกได้รับความรู้ในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งการจัดสัมมนาประเภทนี้จะเน้นให้ผู้ร่วมงานนำเอาความรู้ไปใช้มากกว่าการฟัง เกิดประโยชน์และใช้ได้จริงในสายอาชีพ เช่น การสัมมนาเรื่องวิธีการใช้ระบบลงทะเบียนหรือเรียนรู้การสร้าง QR Code นอกจากจะฟังบรรยายแล้วจะผู้ร่วมงานต้องทำกิจกรรม Workshop เพื่อให้สามารถสร้างแบบฟอร์มการลงทะเบียนและสร้าง QR Code ได้ด้วยตนเอง เป็นต้น

ขอบคุณที่มาโดย Eventpass Insight
ขอบคุณภาพโดย ICSA จาก Pexels

การอภิปรายแบบซิมโพเซียม Symposium

การอภิปรายแบบนี้เหมาะกับการประชุมทางวิชาการ ซึ่งจะประกอบด้วยผู้เชียวชาญซึ่งอาจจะเป็นวิทยาการประมาณ 2-6 คน การอภิปรายแบบนี้จะมีลักษณะของความเป็นทางการค่อนข้างมาก ฉะนั้นผู้อภิปรายจึงต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้ามาอย่างดี ซึ่งผู้อภิปรายจะเตรียมความรู้ในส่วนส่วนของตนที่รับผิดชอบตอนใดตอนหนึ่งที่ตนได้รับมอบหมายซึ่งการบรรยายในการอภิปรายแบบนี้วิทยากรจะไม่ก้าวก่ายหรือซ้ำซ้อนกับหัวข้อของวิทยากรท่านอื่น โดยวิทยากรแต่ละท่านต้องเสนอแนวคิดที่ตรงประเด็นเป้าหมายให้มากที่สุด โดยแต่ละท่านจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที

วิธีการดำเนินการอภิปราย

1. พิธีกรเชิญประธานเปิดการอภิปราย จากนั้นแนะนำหัวข้อที่บรรยายและแนะนำพิธีกรภูมิหลังของวิทยากรแต่ละท่าน

2. เริ่มการบรรยายโดยพิธีกรหรือประธานจะเป็นผู้เชื่อมโยงการบรรยายของวิทยากรแต่ละท่านและสรุปบางตอนที่มีเนื้อหาประทับใจเป็นพิเศษและคอยประสานงานให้การบรรยายดำเนินไปตามหัวข้อ และวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หรือพิธีกรอาจจะหาเลขานุการมาเพื่อช่วยในการเตรียมการและประสานงานด้านต่าง ๆ เพื่อทำให้เกดความคล่องตัว

3. การจัดที่นั่งสำหรับผู้บรรยาย ควรจัดให้สูงกว่าผู้ฟังเพื่อให้ผู้ฟังมองเห็นผู้บรรยายอย่างชัดเจน

credit: http://gotoknow.org/blog/nart-ap/138596

การอภิปรายแบบซิมโพเซียม Symposium

        การอภิปรายแบบนี้เหมาะกับการประชุมทางวิชาการ ซึ่งจะประกอบด้วยผู้เชียวชาญซึ่งอาจจะเป็นวิทยาการประมาณ 2-6 คน การอภิปรายแบบนี้จะมีลักษณะของความเป็นทางการค่อนข้างมาก ฉะนั้นผู้อภิปรายจึงต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้ามาอย่างดี ซึ่งผู้อภิปรายจะเตรียมความรู้ในส่วนส่วนของตนที่รับผิดชอบตอนใดตอนหนึ่งที่ตนได้รับมอบหมายซึ่งการบรรยายในการอภิปรายแบบนี้วิทยากรจะไม่ก้าวก่ายหรือซ้ำซ้อนกับหัวข้อของวิทยากรท่านอื่น โดยวิทยากรแต่ละท่านต้องเสนอแนวคิดที่ตรงประเด็นเป้าหมายให้มากที่สุด โดยแต่ละท่านจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที

      วิธีการดำเนินการอภิปราย

1. พิธีกรเชิญประธานเปิดการอภิปราย จากนั้นแนะนำหัวข้อที่บรรยายและแนะนำพิธีกรภูมิหลังของวิทยากรแต่ละท่าน

2. เริ่มการบรรยายโดยพิธีกรหรือประธานจะเป็นผู้เชื่อมโยงการบรรยายของวิทยากรแต่ละท่านและสรุปบางตอนที่มีเนื้อหาประทับใจเป็นพิเศษและคอยประสานงานให้การบรรยายดำเนินไปตามหัวข้อ และวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หรือพิธีกรอาจจะหาเลขานุการมาเพื่อช่วยในการเตรียมการและประสานงานด้านต่าง ๆ เพื่อทำให้เกดความคล่องตัว

3. การจัดที่นั่งสำหรับผู้บรรยาย  ควรจัดให้สูงกว่าผู้ฟังเพื่อให้ผู้ฟังมองเห็นผู้บรรยายอย่างชัดเจน

หมายเลขบันทึก: 138596เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2007 00:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:



ความเห็น (13)

  • เข้าใจแล้วค่ะ  การอภิปรายแบบ symposium  ผู้อภิปรายต้องเตรียมตัวสูงมาก ต้องมี coordinater ด้วยใช่ไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

อ่านชื่อเรื่องครั้งแรกแล้วนึกไม่ออกว่าเป็นการอภิปราย แบบไหนก็เลยพยายามหยิบหนังสือหลายๆเล่มมาอ่านดู พอจะสรุปได้ว่า การประชุมแบบนี้อาจจะเรียกว่า "การประชุมทางวิชาการหรือวิชาชีพ" หรือ "การประชุมเอกสารัตถ์" หรือ "การประชุมนานาทัศน์"  

ซึ่งหมายถึงการประชุมทางวิชาการที่เน้นเนื้อหาเพียง เรื่องเดียว เพื่อรวบรวมให้ได้ความเห็นที่หลากหลาย โดยที่ผู้เข้าประชุมทุกคนมีส่วนร่วมในการให้ความเห็น ผมอ่านที่คุณ nart เขียนแล้วเห็นภาพดีนะครับ น่าจะนำไปใช้ปฏิบัติได้เลย

  • สวัสดีค่ะคุณสิริพร และคุณชายหนุ่ม ขอบคุณสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมค่ะ
  • ใช่เลยคะผู้บรรยายต้องมี coondinater ค่ะ

ขอบคุณมากครับที่ให้ความรู้...แต่ผมขอตัวอย่าง...ที่เป็นโครงการหรือมีการจัดขึ้นมาจริงๆได้ไหมครับ เผื่อจะได้ไปใช้ประกอบการรายงานหรือการสอนต่อไป ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

การอภิปรายแบบนี้เหมาะกับการประชุมทางวิชาการ ซึ่งจะประกอบด้วยผู้เชียวชาญซึ่งอาจจะเป็นวิทยาการประมาณ 2-6 คน การอภิปรายแบบนี้จะมีลักษณะของความเป็นทางการค่อนข้างมาก ฉะนั้นผู้อภิปรายจึงต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้ามาอย่างดี ซึ่งผู้อภิปรายจะเตรียมความรู้ในส่วนส่วนของตนที่รับผิดชอบตอนใดตอนหนึ่งที่ตนได้รับมอบหมายซึ่งการบรรยายในการอภิปรายแบบนี้วิทยากรจะไม่ก้าวก่ายหรือซ้ำซ้อนกับหัวข้อของวิทยากรท่านอื่น โดยวิทยากรแต่ละท่านต้องเสนอแนวคิดที่ตรงประเด็นเป้าหมายให้มากที่สุด โดยแต่ละท่านจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที

วิธีการดำเนินการอภิปราย

1. พิธีกรเชิญประธานเปิดการอภิปราย จากนั้นแนะนำหัวข้อที่บรรยายและแนะนำพิธีกรภูมิหลังของวิทยากรแต่ละท่าน

2. เริ่มการบรรยายโดยพิธีกรหรือประธานจะเป็นผู้เชื่อมโยงการบรรยายของวิทยากรแต่ละท่านและสรุปบางตอนที่มีเนื้อหาประทับใจเป็นพิเศษและคอยประสานงานให้การบรรยายดำเนินไปตามหัวข้อ และวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หรือพิธีกรอาจจะหาเลขานุการมาเพื่อช่วยในการเตรียมการและประสานงานด้านต่าง ๆ เพื่อทำให้เกดความคล่องตัว

3. การจัดที่นั่งสำหรับผู้บรรยาย ควรจัดให้สูงกว่าผู้ฟังเพื่อให้ผู้ฟังมองเห็นผู้บรรยายอย่างชัดเจน

หมวดหมู่: การบริหารจัดการ การจัดการความรู้

คำสำคัญ: การอภิปรายแบบซิมโพเซียม symposium

สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ

สร้าง: จ. 15 ต.ค. 2550 @ 00:26 แก้ไข: พ. 17 ต.ค. 2550 @ 14:57 ขนาด: 3082 ไบต์

อยากได้ข้อมูล ข้อดีเเละข้อเสียของการอภิปรายเเบบsymposium อ่าค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์

ผมอยากทราบรายละเอียดของผู้ที่ทำการศึกษาเรื่องการอภิปรายรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงนะครับ

ทั้งของคนไทย และต่างชาติ ไม่ทราบว่าอาจารย์พอจะมีบ้างไหมครับ

ถือโอกาสขอบคุณมานะที่นี้เลยนะครับ

nickoro

กำลังเรียนเรื่องนี้อยู่อยากรู้รูปแบบการอภิปรายในที่ชุมชน ซึ่งเป็นหัวข้อหนึ่งในเรื่องการสัมมนาหาในเว็บต่างๆแล้วไม่พบ

สวัสดีค่ะ

อยากทราบข้อมูล ปาฐกณา (ปาฐกถา ) หรือซิมโพเซียมและปุจฉาค่ะ

ดีมากเลยแต่อยากให้มี่ครบทุกรูปแบบของการสัมมนา

การประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เป็นการประชุมเพื่อปฏิบัติภารกิจร่วมกันในระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งสมาชิกจะมีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และลงมือปฏิบัติหรือทำภารกิจใดภารกิจหนึ่งร่วมกันไปด้วย เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมปฏิบัติการจึงต้องมีผลลัพธ์หรือผลงานจากการปฏิบัติงานร่วมกัน หรือมีการนำผลงานจากการประชุมเชิงปฏิบัติการไปปรับปรุงหรือพัฒนาให้แล้วเสร็จภายหลังจากการประชุมเสร็จสิ้นไปแล้ว เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำข้อสอบมาตรฐาน การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำร่างแผนพัฒนา ฯ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า คำหรือศัพท์แต่ละคำดังกล่าวข้างต้น ต่างมีที่มา รายละเอียด และเป้าหมายที่แตกต่างกันไป หลายครั้งที่ผ่านมา มักมีการนำไปใช้อย่างผิด ๆ โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ทำให้ผู้ที่ไม่รู้และไม่ได้ศึกษาอย่างถ่องแท้เกิดความเข้าใจผิด และมีการนำไปใช้อย่างผิด ๆ ต่อไปอีก ตัวอย่างเช่น การมีแผนที่จะจัด โครงการอบรมผู้บริหาร แต่ผู้จัดเห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้บริหาร ไม่น่าจะถุกจัดให้เข้ารับการอบรมเหมือนกับเจ้าหน้าที่หรือผู้ปกิบัติงานทั่ว ๆ ไป จึงเรียกชื่อเสียใหม่เป็น โครงการสัมมนาผู้บริหาร ทั้งที่ในการดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นเพียงการดำเนินการฝึกอบรมตามปกติ ต่อมา เมื่อผู้บริหารดังกล่าวได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมในการสัมมนาในต่างประเทศ จึงไม่ทราบความแตกต่างของการฝึกอบรมกับการสัมมนา และไม่มีการจัดเตรียมเอกสารที่ใช้ประกอบการเข้าร่วมสัมมนาแต่อย่างใด หรือกรณีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมักได้ยินได้ฟังจากผู้บริหารว่า จะจัดเวอร์คชอปเรื่องนั้นเรื่องนี้ ทั้งที่ในทางปฏิบัติ เป็นการให้นโยบาย ระบุมาตรการ หรือแนวทางการดำเนินงานแก่ผู้เกี่ยวข้อง ก่อนเปิดโอกาสให้มีการซักถาม หรืออาจมีหรือไม่มีการจัดอภิปรายกลุ่มในระหว่างผู้เข้าร่วมในการประชุม โดยไม่มีการลงมือปฏิบัติและไม่มีผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการแต่อย่างใด เป็นต้น นอกจากนี้ การสัมมนาเสริมของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต ชุดวิชาการบริหารภาครัฐ ซึ่งมีการกำหนดให้นักศึกษาแต่ละคน ศึกษา ค้นคว้า ทำความเข้าใจ และจัดทำเอกสารประกอบการเข้าร่วมสัมมนากลุ่ม ตามประเด็นหรือหัวข้อการสัมมนาที่มีการกำหนดเป็นคราว ๆ ไป นั้น มีนักศึกษาจำนวนหนึ่งที่ไม่ทราบว่า อาจารย์ให้ทำอะไร ? และจะทำอย่างไร ? เพราะรายงานทางวิชาการก็ไม่ใช่ ให้เขียนบทความตามประเด็นหรือเรื่องก็ยิ่งไม่ใช่ สะท้อนให้เห็นว่า นักศึกษาจำนวนมาก ยังไม่ทราบและไม่เข้าใจว่า การสัมมนาคืออะไร คำ และศัพท์ต่าง ๆ มีจำนวนมาก หลาย ๆ คำเป็นคำใหม่ เช่น สมรรถนะ มุ่งผลสัมฤทธิ์ ยุทธศาสตร์ กระบวนทัศน์ บริบท เป็นต้น คำ และศัพท์ต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีที่มา รายละเอียด และลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป ในสภาพการณ์ที่มีผู้นำ ผู้บริหารระดับสูง หรือนักวิชาการจำนวนมาก นิยมพูดถึงหรือใช้คำต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และมีหลายกรณีที่ใช้ผิด หรือไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการพูดอย่างแท้จริง ซึ่งอาจเกิดจากความรู้หรือไม่รู้ ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ผู้บริหาร นักวิชาการ โดยเฉพาะนักศึกษาในแวดวงวิชาการที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องศึกษา ทำความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่จะนำไปใช้ มิฉะนั้น จะกลายเป็นการสร้างความเข้าใจและการใช้คำที่ผิด ๆ ก่อให้เกิดความบิดเบือน สับสน ซึ่งนอกจากต้องถูกตำหนิ หรือเหยียดหยามว่า ใช้ผิด ๆ หรือ ไม่มีความรู้ ทำนองเดียวกับที่มีการตำหนิติเตียนเยาวชนรุ่นใหม่ที่ใช้ภาษาไทยผิด ๆ หรือใช้ภาษาแปลก ๆ ในแวดวงของ เด็กแนว แล้ว ยังเป็นปัญหาในการศึกษา การทำงานหรืองานตามที่อาจารย์มอบหมายในการศึกษาระดับมหาบัณฑิตด้วย โดย ผศ.มานิต ศุทธสกุ

การสัมมนา (seminar) เป็นการประชุมอภิปรายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งต่างจากการประชุม อภิปรายกลุ่มหรือการประชุมอภิปรายทั่ว ๆ ไป ตรงที่ผู้เข้าร่วมในการประชุมอภิปรายเป็นผู้เกี่ยวข้องที่มีความรู้ ประสบการณ์ หรือความเชี่ยวชาญในเรื่อง ประเด็น หรือปัญหาที่อภิปรายหรือเข้าร่วมในการสัมมนา ไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะเข้าร่วมในการสัมมนานั้น เช่น การสัมมนา ก.พ. อาเซียน เป็นการประชุมร่วมกันของเลขาธิการ ก.พ. และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ ก.พ. ของประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียน ซึ่งผู้แทนของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมในการสัมมนาจะมานำเสนอพัฒนาการหรือเรื่องใหม่ ๆ รวมทั้งผลงานในการดำเนินงานบริหารบุคคลขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลของแต่ละประเทศ ก่อนที่จะมีการอภิปรายร่วมกันในประเด็นเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค ทิศทาง แผนงาน หรือแนวทางการดำเนินงานในทางปฏิบัติ เป็นต้น ดังนั้น ผู้เข้าร่วมในการสัมมนาแต่ละคน ในฐานะที่เป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ หรือความเชี่ยวชาญในเรื่อง ประเด็น หรือปัญหาด้านนั้น ๆ จึงถูกกำหนดให้ต้องมีเอกสารประกอบการสัมมนาของตนในการเข้าร่วมสัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในระหว่างผู้เข้าร่วมสัมมนาด้วยกัน

ขอโทษนะค่ะ รบกวนถามเรื่องข้อดี ข้อเสีย

การอภิปรายแบบคณะPanel Discussion

การอภิปรายแบบซิมโพเซียม Symposium การอภิปรายแบบระดมสมอง Brain Storming การอภิปรายแบบฟอรัม Forumการอภิปรายแบบโต๊ะกลม Round Table

ต้องการเข้าไปทำรายงานนะค่ะ

ขอคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบนะค่ะ

การอภิปรายทั่วไป (Forum) เป็นอย่างไร *

การอภิปรายทั่วไป เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนที่เป็นสมาชิกของที่ประชุมที่สนใจปัญหาเดียวกันแสดงความคิดเห็นได้ มี 2 ลักษณะ คือ 1. ทำในหมู่สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมเท่านั้น แต่เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้ 2. การอภิปรายทั่วไปมักเริ่มต้นให้มีวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายที่กำหนดบุคคลไว้แล้ว พูดอภิปรายเสนอความคิดจนครบทุกคนก่อน ...

รูปแบบของการสัมมนา คืออะไร

การสัมมนา หมายถึง การประชุมตามหัวข้อที่กําหนดไว้ เพื่อมุ่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาใดปัญหานึ่ง โดยเฉพาะ โดยที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะนําการอภิปรายอย่างเสรี อีกนัยหนึ่ง การสัมมนา เป็นรูปแบบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่มุ่งให้นักศึกษาได้แลกเปลั่ยนความรู้ ความคิดอย่าง กว้างขวาง

วิธีการจัดสัมมานามีอะไรบ้าง

7 เทคนิคการจัดประชุมสัมมนาให้มีประสิทธิภาพ.
1. กำหนดจุดประสงค์งานและวางแผนชัดเจน ... .
2. ศึกษากลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด ... .
3. เลือกสถานที่ที่เหมาะสม ... .
4. มองหาวิทยากรที่เหมาะสมกับหัวข้อที่จัดตั้งขึ้น ... .
5. ละเอียด รอบคอบ พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง ... .
6. มีการสรุปใจความของการประชุมสัมมนา.

การอภิปรายเป็นคณะมีลักษณะอย่างไร

เทคนิคการสัมมนาแบบคณะเป็นการอภิปรายหัวข้อตามที่ได้กำหนดไว้ จากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนประมาณ 3-8 คน โดยผู้อภิปรายแต่ละคน เสนอข้อมูล ความรู้ ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นของตนเองแก่ผู้ฟัง การอภิปรายแบบคณะ มึวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้เข้าสัมมนา ได้รับความรู้ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อให้ผู้เข้ารับการสัมมนาได้รับความรู้และ ...