ผู้วิจารณ์ควรยึดหลักการใดในการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์

การประเมินและวิจารณ์
งานทัศนศิลป์

การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์

การประเมินและวิจารณ์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศคกษา
สาระทัศนศิลป์ เพราะจะช่วยสะท้อนทัศนะ ความรู้สึก ความคิดเห็น
ที่ผู้ชมมีต่อผลงานที่ตนได้พบเห็นแต่การประเมินและการวิจารณ์ที่
มีประโยชน์ จะช่วยส่งเสริมความก้าวหน้ าให้แก่วงการศิลปะ จะต้อง
มีการสร้างเป็นเกณฑ์ที่ตรงตามหลักการ มีความถูกต้อง และเป็นที่
ยอมรับ ทั้งนี ข้อมูลที่เป็นผลจากการวิจารณ์ ผู้สร้างสรรค์ต้องเปิด
ใจให้กว้าง และเก็ยเอาสาระที่เป็นประโยชน์นำไปปรับปรุง แก้ไข
พัฒนาผลงานของตนให้มีความก้าวหน้ า นอกจากนี้ ผลงานทัศน
ศิลป์ที่สร้างสรรค์ขึ้นมานั้น ควรรวบรวมมาทำเป็นแฟ้ มสะสมผลงาน
เพื่ อจะได้เห็นพัฒนาการในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ ของตน
ได้ง่ายขึ้น

การประเมินและวิจารณ์
งานทัศนศิลป์

หลักการทั่วไปใน ความสำคัญในการ
การประเมินและ พัฒนาผลงานทัศน
วิจารณ์งานทัศนศิลป์
ศิลป์
การสร้างเกณฑ์การ
ประเมินและวิจารณ์ การจัดทำแฟ้ มสะสม
งานทัศนศิลป์
งานทัศนศิลป์

หลักการทั่วไปในการประเมิน
และวิจารณ์งานทัศนศิลป์

หลักการทั่วไปในการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์

ปั จจุบันแนวคิดและค่านิยมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
มาก ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรับเอาวิทยาการของโลกตะวันตกมาใช้
ส่งผลให้การศึกษาศิลปวิทยาการมีระเบียบมากขึ้น รวมทั้งวิธีการศึกษากลุ่ม
สาระการเรียนรู้ศิลปะในหัวข้อเกี่ยวกับการวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์ ได้รับ
การกำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้ นฐานในแต่ละระดับอย่างเป็ นรูป
ธรรมอีกด้วย

ในระดับชั้นที่ผ่านมา ผู้เรียนได้เรียนรู้มาแล้วว่าการวิจารณ์ หมายถึง
การแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามความรู้ ความเข้าใจจาก
ประสบการณ์ของผู้วิจารณ์ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อสิ่งที่พบเห็น
แม้ว่าจะเป็นการชื่นชม หรือกล่าวที่แนะผลงานนั้น ทั้งนี้ การวิจารณ์จะต้อง
มีเหตุมีผล เพื่อมุ่งหวังปรับปรุงผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์นั้นๆ ให้
สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยสุจริตใจและต้องมีความสุภาพ

ดังนั้น การที่จะพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการพูด การเขียน
คือการแสดงออกทางความคิดเกี่ยวกับการประเมินและการวิจารณ์งาน
ทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนควรจะต้องฝึกฝนสร้างความคุ้น
เคยกับการประเมินและการวิจารณ์ตั้งแต่ในชั้นเรียน ด้วยการลงมือปฏิบัติ
และสั่งสมประสบการณ์ตรงในการสร้างสรรค์ผลงาน ประเมินงาน บริการ
งานพร้อมๆ กันไป โดยมีหลักการที่พึงทำความเข้าใจ ดังนี้

1.วงจงการ 3.การประเมิน
ประเมินและ งานทัศนศิลป์

วิจารณ์

2.ภาษากับ 4.หลักใน
การวิจารณ์ การประเมิน
งานทัศนศิลป์

1. วงจรการประเมินและวิจารณ์

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินและ
วิจารณ์งานทัศนศิลป์จะต้องรับรู้ถึงองค์ประกอบ หรือ
วงจรที่เกี่ยวข้องกับการวิจารณ์ที่มีความสัมพันธ์กัน
อย่างต่อเนื่อง ดังนี้

- ศิลปิ น เป็นผู้ทำหน้ าที่สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
ขึ้นมาด้วยความตั้งใจ ตามความคิด จินตนาการ และ
ทักษะของตน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของใคร
รวมทั้งศิลปิ นจะต้องมีความสามารถพิเศษที่เรียกว่า
"พรสวรรค์" ในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนเอง
ออกมาเป็นภาษาทางทัศนศิลป์ ประการสำคัญ คือ
ศิลปินจะต้องเป็นผู้ที่มีโลกทัศน์ที่กว้างขวาง มีความ
เข้าใจในชีวิตมนุษย์และปรัชญาการดำรงชีวิตของ
มนุษย์

- ผลงาน คือ รูปแบบผลงานทัศนศิลป์ที่ศิลปินใช้เป็นส่วนหนึ่งภาษา
หรือสื่อกลางที่จะถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง
ออกมา ซึ่งภาษาทางทัศนศิลป์เป็นภาษาที่เกิดจากการมองเห็น หรือจากการ
สัมผัสด้วยตา

ทั้งนี้ ทัศนธาตุจะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่เห็นได้จากงานทัศนศิลป์
ซึ่งลักษณะของทัศนธาตุมีหลายแบบ แต่ละแบบก็จะสะท้อนให้เห็นถึงความ
หมายที่ถูกถ่ายทอดออกมา เช่น

เส้นตั้ง เส้นตรงแนวตั้งให้ความหมายเกี่ยวกับความมั่ง
คง แข็งแรง สูงเด่น สง่างาม น่าเกรงขาม

เส้นนอน เส้นระดับ เส้นตรงแนวนอน หรือเส้นระดับให้ความหมาย
เกี่ยวกับความราบเรียบ สงบ กว้างขวาง หยุด
นิ่ง การผักผอน

เส้นตรงเฉียง เส้นตรงแนวเฉียง ให้ความหมายเกี่ยวกับ
ความรู้สึกไม่ปลอดภัย การล้ม ไม่หยุดนิ่ง
ไม่แน่นอน

เส้นโค้งวงกลม เส้นโค้งวงกลม ให้ความหมายเกี่ยวกับความนุ่ม
เส้นหยัก นวล ความอ่อนโยน
สีแดง
เส้นหยัก ให้ความหมายเกี่ยวกับปัญหา
อุปสรรค ความขัดแย้ง น่ากลัว ตื่นเต้น มี
ความแปลกตา

สีแดง ให้ความหมายเกี่ยวกับความร้อนแรง
อันตราย ตื่นเต้น รุนแรง กล้าหาญ มีอำนาจ

สีเขียวแก่ สีเขียวแก่ ให้ความหมายเกี่ยวกับความอุดม
สมบูรณ์ ความเจริญงอกงาม

สีเขียวอ่อน สีเขียวอ่อน ให้ความหมายเกี่ยวกับความ
สดชื่น มีพลัง มีชีวิตชีวา ความศรัทธา สบาย

สีน้ำเงิน สีน้ำเงิน ให้ความหมายเกี่ยวกับความหนัก
สีขาว แน่น ความเข้มแข็ง ความสงบ ความสุขุม
เยือกเย็น

สีขาว ให้ความหมายเกี่ยวกับความบริสุทธิ์
ความใหม่ สะอาด การรับรู้ถึงคุณค่าของผล
งาน

- ผู้ชม คือ ส่วนของผู้ชมที่ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ แต่เป็น
ผู้รับรู้ภาษาที่ศิลปินใช้ในการสื่อความหมาย ผู้ชมเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะ
ทำให้การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์เกิดคุณค่า มีความหมาย มีความสมบูรณ์
ครบวงจร ผลงานทัศนศิลป์ใดถ้าขาดผู้ชมแล้ว ถือว่าไม่ครบองค์ประกอบของ
การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ ผู้ชมหมายรวมไปถึงนักวิจารณ์ศิลปะ
ด้วย เพราะจะต้องเป็นผู้ตัดสิน หรือวิพากษ์ วิจารณ์ แสดงถึงความชอบและไม่
ชอบของตนเอง โดยใช้วิธีการพูดวิจารณ์ การเขียนวิจารณ์ทางใดทางหนึ่ง
หรือ 2 มางพร้อมๆ กันไป

2. ภาษากับการวิจารณ์

การวิจารณ์งานทัศนศิลป์นั้น ผู้ชม คือนัก
วิชาการจะเป็ นผู้มีบทบาทสำคัญในการถอดรหัสและ
แปลความหมายเนื้อหาของผลงานซึ่งเป็น "ภาษา
ภาพ" ออกมาเป็น "ภาษาเขียน" หรือ "ภาษาพูด"
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานทัศนศิลป์ ที่มีความซับซ้อน
และมีการผสมผสานเทคนิควิธีการต่างๆ จนไม่
สามารถมองเห็นภาพและเรื่ องราวอย่างเป็ นจริงได้
ในการนี้นักวิจารณ์จำเป็ นต้องศึกษาและทำความ
เข้าใจภาษาภาพที่เกิดขึ้นจากการใช้ทัศนธาตุ ได้แก่
เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักอ่อน - แก่ พื้นที่ว่าง พื้น
ผิว และสี รวมทั้งไวยากรณ์ทางทัศนศิลป์ หรือ หลัก
การทัศนศิลป์ ได้แก่ เอกภาพ ความสมดุล จังหวะ
จุดสนใจ ความกลมกลืน ความขัดแย้ง และสัดส่วน
เพื่อแปลความ

ภาษาภาพ หรือภาษาทัศนศิลป์ที่มีลักษณะเฉพาะและมีเนื้อหาที่เน้ นใน
เรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกของศิลปินที่แฝงอยู่ การบรรยาย การพรรณนา และ
การวิเคราะห์ นักวิจารณ์จะต้องจับความหมายและคุณค่าที่แฝงอยู่ภายในผลงาน
และถ่ายทอดเป็นภาษาที่ผู้ชมรับรู้ทำความเข้าใจได้ง่าย นักวิจารณ์ทัศนศิลป์จะ
ต้องถ่ายทอดทัศนะของตนเองสู่ผู้อื่นวิธีการและภาษา ตามความถนัดและความ
สามารถ แต่พลังงานของภาษาในการสื่อความคิดศิลปะ อาจจะมีข้อจำกัดหลาย
อย่าง เช่น การพูดวิจารณ์ ผู้วิจารณ์มักใช้ภาษาที่ยากเกินไป ใช้ภาษาแสลง
ภาษาสูง มีศัพท์ทางทัศนศิลป์มาก เธอใช้ภาษาที่ไม่สอดคล้องกับภาษาภาพ
เป็นการพูดแบบเลื่อนลอยขาดจินตนาการที่เข้าถึงภาษาภาพนั้นจริงๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ ภาษาสำหรับการวิจารณ์ ควรได้รับการพัฒนาเพื่อสื่อความให้ได้
สมบูรณ์ โดยเฉพาะภาษาไทยอาจมีข้อจำกัดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออก
ของความคิดเห็นศิลปิน เช่น ผลงานรูปแบบนามธรรม (Abstract) ที่ไม่สามารถ
แสดงรูปลักษณ์ทางธรรมชาติอย่างตรงไปตรงมา แต่ใช้ทัศนธาตุล้วนๆ เป็นองค์
ประกอบของผลงาน การจะวิจารณ์ผลงานรูปแบบดังกล่าวให้ได้ผล จะต้องอ่าน
ภาษาจากทัศนธาตุเหล่านั้นให้ออก แล้วเลือกใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนในการ
อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ เป็นต้น

นอกจากนี้ นักวิจารณ์ต้องพัฒนาทักษะและความสามารถของตน
ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม มีความเป็นกลางและมีความเที่ยงธรรมต่อผล
งานศิลปะทุกรูปแบบและศิลปินทุกคน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้
สร้างสรรค์ผลงาน รู้จักวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์บนพื้นฐานของงานที่แตก
ต่างกัน ไม่สนใจเฉพาะในงานทัศนศิลป์สาขาที่ตนถนัดเท่านั้น แต่ให้ความ
สนใจวิทยาการแขนงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์ด้วย เช่น
ประวัติศาสตร์ศิลป์ สุนทรียศาสตร์ องค์ประกอบศิลป์ เป็นต้น เพื่อให้
สามารถรับรู้ถึงความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงระหว่างศาสตร์สาขาต่างๆ กับทัศน
ศิลป์ นักวิจารณ์ควรมีคุณสมบัติเป็นนักคิด นักค้นคว้าและสนใจในสิ่งใหม่ๆ
และรู้จักสายศึกษาหาความรู้อยู่เสมอๆ ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์
วิจารณ์ได้อย่างลุ่มลึกขึ้น ทั้งนี้ เพราะการวิจารณ์โดยกล่าวอ้างถึงความ
รู้สึกส่วนตัวแต่เพียงอย่างเดียว จะมีความเลื่อนลอยและไร้เหตุผล ไม่ช่วย
ให้เกิดความน่าสนใจ หรือเกิดความหมายในแง่มุมที่ต่างออกไปจากเดิม

3. การประเมินงานทัศนศิลป์

การประเมินในความหมายทางทัศนศิลป์
หมายถึง การประเมินคุณค่า หรือการตัดสินคุณค่า
ด้วยผู้ประเมินจะต้องมีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ใน
หลักการสังเกตและการให้เหตุผล ทั้งนี้ ถ้าผู้ประเมิน
ไม่ตัดสินคุณค่าของผลงานที่ตนประเมิน ถือว่าผู้
ประเมินยังทำหน้ าที่ไม่สมบูรณ์

การประเมินเป็ นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ
ศึกษาผลงานทัศนศิลป์ทางด้านเนื้อหา คุณค่าทาง
ด้านความคิดสร้างสรรค์ การสื่อความหมาย การ
แสดงออก วิธีการและเทคนิค การจัดองค์ประกอบ
และลายประณีตต่างๆ ด้วยการประเมินงานทัศนศิลป์
อาจทำเพื่อจุดมุ่งหมายหลายอย่าง เช่น ประเมินเพื่อ
ชื่นชม ประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลงาน หรือ
ประเมินเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวของผลงานนั้นๆ
เป็ นต้น

ด้วยเหตุที่ธรรมชาติในการประเมินจะมีความละเอียดอ่อนและสลับซับ
ซ้อน รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับศาสตร์หลายด้าน ผู้ประเมินผลงานจึงต้องมี
ความรอบคอบและใช้องค์ความรู้ทางด้านทัศนศิลป์ มาประกอบในการแสดง
ความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นด้านรูปทรง เนื้อหา และเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอด
ผ่านตัวผลงานเองก็ตาม ทั้งนี้ การให้ผู้ชม หรือนักวิจารณ์ได้ฝึกฝนวิธีการ
วิจารณ์ประเมินผลงานทัศนศิลป์อยู่เสมอๆ จะช่วยพัฒนาทักษะ
ประสบการณ์ได้ดีขึ้น รูปแบบการประเมินการพัฒนาเทคนิคการประเมินให้
ก้าวหน้ าขึ้นมาก โดยเฉพาะแนวทางการตัดสินคุณค่าของผลงานภายใต้
บริบทของสังคมวัฒนธรรม และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

ซึ่งการจะนำเทคโนโลยีและวิธีการประเมินคุณค่าแบบใดแบบ
หนึ่งมาใช้ ผู้ประเมินจะต้องเรียกใช้ให้เหมาะสม ดังนี้

- ประเมินเพื่อความชื่นชม เป็นการประเมินคุณค่าผลงาน
ทัศนศิลป์ โดยใช้ความรู้สึกส่วนตัว โดยมุ่งเน้ นการแสดงความคิดเห็น
ในเชิงคุณค่าให้ผู้อื่นรับรู้ หรือแลกเปลี่ยนทัศนะระหว่างกัน ไม่ได้หวัง
ให้เกิดผลต่อผลงานทัศนศิลป์ นั้นมากนัก

- การประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลงาน เป็นการ
ประเมินคุณค่าของผลงานทัศนศิลป์ โดยอาศัยเกณฑ์ หรือหลักการ
ประเมิน ควบคู่ไปกับการวิจารณ์และการแสดงความคิดเห็นอย่างมี
เหตุผล เช่น การวิจารณ์ทัศนศิลป์ในชั้นเรียนระหว่างครูผู้สอนและผู้
เรียน เป็นต้น การประเมินคุณค่าตามหัวข้อนี้ ผู้ประเมินคาดหวังให้
ได้ประโยชน์จากการประเมินในด้านต่างๆ ที่มีผลต่อการปรับปรุง
แก้ไข และพัฒนาผลงานทัศนศิลป์ให้เจริญก้าวหน้ าและสมบูรณ์มาก
ขึ้น

4. หลักในการประเมินงานทัศศิลป์

หลักในการประเมินผลงานทัศนศิลป์ จะ

มีอยู่หลายรูปแบบและหลายทฤษฎีด้วยกัน

สำหรับในระดับชั้นนี้ มีเป้ าหมายเพื่อสร้าง

ความเข้าใจ และรู้วิธีการประเมินที่ไม่ยุ่งยาก

ซับซ้อนนัก จึงขอยกตัวอย่างวิธีการประเมิน

เพื่อพัฒนาผลงานทัศนศิลป์แบบง่ายๆ ซึ่งเป็น

ประเด็นในการประเมินออกเป็น 3 ด้านด้วย

กัน คือ

1) ด้านคุณสมบัติ

2) ด้านความคิดเชิงตีความ "เพลิงพยัคฆา" ผลงานของ ถวัลย์ ดัชนี
3) ด้านการประเมินผล เทคนิคสีน้ำมันเป็ นตัวอย่างของการใช้สีแดง

เป็นหลัก ซึ่งจะให้ความรู้สึกถึงความร้อน
แรง และความมีอำนาจที่ถูกถ่ายทอดออกมา

จากผลงานชิ้นนี้

1) ด้านคุณสมบัติ จะใช้ข้อความบรรยายที่ให้ความสำคัญกับคุณ
สมบัติย่อยๆ ดังนี้

- การรับรู้ ได้แก่ ทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์ โดยอ้างอิงถึง
จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักอ่อน-แก่ พื้นที่ว่าง พื้นผิว สี เอกภาพ
ความสมดุล จังหวะ จุดสนใจ ความกลมกลืน ความขัดแย้ง และสัดส่วน

- เนื้อเรื่อง ได้แก่ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ภายในผลงาน
ทัศนศิลป์ ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นที่อยู่อาศัย อาคารบ้านเรือน ผู้คน รวมทั้ง
สิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงดาว ทุ่งหญ้า ชายทะเล เป็นต้น

- ความรู้สึกเชิงกายภาพ เช่น ความนุ่มนวล ความแน่นขนัด
ความสนุกสนาน เป็นต้น

- อารมณ์ความรู้สึก ตัวอย่างการใช้คำบรรยาย เช่น สีที่ดูแล้ว
ช่วยทำให้เกิดอารมณ์ที่เคร่งขรึม ภาพก้อนเมฆที่ดูนุ่มราวกับปุ๋ยนุ่น ทะเล
ที่อ้างว้างโดดเดี่ยว เป็นต้น

- อ้างอิงรูปแบบ กล่าวถึงรูปแบบที่ศิลปินใช้ เช่น
แบบนามธรรม แบบเหมือนจริง แบบไร้วัตถุนิยม แบบเป็นต้น

2) ด้านความคิดเชิงตีความ สามารถจะพิจารณา
ประเมินตามคุณสมบัติย่อยๆ ดังนี้

- การเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย โดยใช้การ
บรรยายที่ช่วยทำให้เกิดภาพพจน์ เช่น "เห็นกลุ่มเมฆปกคลุม
ทั่วไป ดูเลือนราง ให้ความรู้สึกว่ากำลังล่องลอยอยู่ในความฝัน
หรืออาจทำให้นึกถึงเรื่องราวที่กล่าวถึงดินแดนเทพนิยาย"

- วิเคราะห์ถึงความคิดและเจตนารมณ์ เป็นการ
วิเคราะห์ความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน เช่น สื่อ
ถึงชีวิตที่เงียบสงบในชนบท จะต้องสะท้อนปัญหาความ
แตกแยกของผู้คน เป็นต้น

3) ด้านการประเมินผล จะต้องสรุปการประเมิน โดยกำหนด
คุณสมบัติย่อย ดังนี้

- ระบุการตัดสินใจเลือก ใช่ข้อความที่แสดงความพึงพอใจ
หรือไม่พึงพอใจ เลยใช้ภาษาที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าชอบ หรือไม่ชอบ
ผลงานนั้น

- เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ให้ใช้ข้อความที่บ่งบอกได้ว่า ผู้
ประเมินมีทัศนะอย่างไรกับคุณสมบัติหรือคุณค่าที่พบเห็นในผลงานทัศน
ศิลป์นั้น ในเชิงที่เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย

- คุณค่าของผลงาน ให้กล่าวถึงคุณค่าของผลงานตามมุมมอง
ของตน เช่น ดีเยี่ยม กล้าคิด กล้าแสดงออก มีความแปลกใหม่ ให้เทคนิคที่
ล้ำสมัย เป็นต้น

ตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจวิธีการประเมินตามประเด็นข้างต้น จึงขอยกตัวอย่าง

การประเมินงานทัศนศิลป์มาให้เห็นเป็น ดังนี้

ชื่อภาพ The Starry Night (ค.ศ. 1889)

ชื่อศิลปิ น ฟินเซนต์ วิลเลียม ฟาน ก๊อกฮ์
(Vincent Willem Van Gogh)

ด้านคุณสมบัติ

การรับรู้ : มีการใช้ทัศนธาตุที่เป็นเส้นในลักษณะต่างๆ เช่น เส้นโค้ง เส้นคด
เส้นนอน เส้นเฉียง และใช้สีน้ำเงิน สีดำ สีเขียว สีฟ้ า สีเหลือง และสีขาว
เป็ นงานจิตรกรรมที่ใช้เทคนิคระบายสีอย่างฉับไว

เนื้อเรื่อง : มีการเขียนภาพหมู่บ้าน โบสถ์ ต้นไม้ ภูเขา ท้องฟ้ า กลุ่มเมฆ ดวงดาว
และดวงจันทร์

ความรู้สึกเชิงกายภาพ : ผลงานสะท้อนความหนักแน่น แข็งแรง
อารมณ์ความรู้สึก : เส้นและความแสดงออกมีความเคลื่อนไหว น่ากลัว อึดอัด ตื่นเต้น
อ้างอิงรูปแบบ : เป็นผลงานจิตรกรรมแนวเหมือนจริง

ด้านความหมายเชิงตีความ

การเปรียบเทียบ อุปมาอุปไมย : เป็นภาพกลางคืนที่ชวนให้ฝันถึงคชดินแดง
ในจินตนาการ

ความคิดและเจตคติ : ต้องการสื่อถึงความงามของทิวทัศน์ท้องฟ้ าในยามคำ่คืน

ด้านการประเมิน

การตัดสินใจเลือก : ชอบผลงานชิ้นนี้ที่ดูแล้วให้ความรู้สึกน่ากลัว ชวนคิดฝันให้
เกิดจินตนาการต่างๆ

เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย : เห็นด้วยกับคุณค่าที่นำเสนอผ่านทัศนธาตุและการ
แสดงออก

คุณค่าของผลงาน : สิลปินมีความกล้าตัดสินใจในความคิดสร้างสรรค์ของตน
เป็นผลงานมีความแปลกตา มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ใช้วิธีการ

เขียนภาพด้ววยเส้น สี เพื่อสื่อเรื่องราว

ตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจวิธีการประเมินตามประเด็นข้างต้น จึงขอยกตัวอย่าง
การประเมินงานทัศนศิลป์มาให้เห็นเป็น ดังนี้

ชื่อภาพ The Starry Night (ค.ศ. 1889)

ชื่อศิลปิ น ฟินเซนต์ วิลเลียม ฟาน ก๊อกฮ์
(Vincent Willem Van Gogh)

ด้านคุณสมบัติ

การรับรู้ : มีการใช้ทัศนธาตุที่เป็นเส้นในลักษณะต่างๆ เช่น เส้นโค้ง

เส้นคด เส้นนอน เส้นเฉียง และใช้สีน้ำเงิน สีดำ สีเขียว สีฟ้ า

สีเหลือง และสีขาวเป็นงานจิตรกรรมที่ใช้เทคนิคระบายสี

อย่างฉับไว

เนื้ อเรื่ อง : มีการเขียนภาพหมู่บ้าน โบสถ์ ต้นไม้ ภูเขา ท้องฟ้ า

กลุ่มเมฆ ดวงดาว และดวงจันทร์

ความรู้สึกเชิงกายภาพ : ผลงานสะท้อนความหนักแน่น แข็งแรง

อารมณ์ความรู้สึก : เส้นและความแสดงออกมีความเคลื่อนไหว น่ากลัว อึดอัด

ตื่นเต้น

อ้างอิงรูปแบบ : เป็นผลงานจิตรกรรมแนวเหมือนจริง

ด้านความหมายเชิงตีความ

การเปรียบเทียบ อุปมาอุปไมย : เป็ นภาพกลางคืนที่ชวนให้ฝั นถึงคชดินแดง
ในจินตนาการ
ความคิดและเจตคติ : ต้องการสื่อถึงความงามของทิวทัศน์ท้องฟ้ า
ในยามคำ่คืน

กล่าวโดยสรุป ภาพ The Starry Night หรือราตรีประดับ
ดาว เป็นภาพที่แสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวของรอยแปรงทิศทาง
กลมกลืนกับขอบท้องฟ้ า ตัดกับต้นสนระยะใกล้ มีแสงสะท้อนของ
หลังคาบ้านและโบสตถ์ ส่วนบรรยากาศบริเวณระยะไกลสุดของภาพ
แสดงให้เห็นดวงดาวที่มีแสงระยิบระยับ สีของภาพค่อนข้างรุนแรง
แต่ก็สดใส สะท้อนอารมณ์ของศิลปินในขณะนั้น เป็นภาพที่แสดง
ความขัดแย้งระหว่างความรู้สึกของตนเองและความเป็ นจริงในโลกที่
ฟินเซนต์ วิลเลียม ฟาน ก๊อกฮ์ต้องการ

การสร้างเกณฑ์การ
ประเมินและวิจารณ์งาน

ทัศนศิลป์

การสร้างเกณฑ์การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์

เกณฑ์ คือ หลักการที่กำหนดไว้ เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยในการ
ประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ให้มีความกระจ่างชัด และให้ผลงของการ
ประเมินและวิจารณ์เป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้ เพราะโดยธรรมชาติ การสร้างสรรค์
ผลงานทัศนศิลป์ในแต่ละประเภทจะมีอิทธิผลทางด้านความคิด การ
แสดงออก ตลอดจนเทคนิคและวิธีการ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรูปแบบเฉพาะตัวของ
ผู้สร้างสรรค์แต่ละคน ที่จะถ่ายทอดลงไปในผลงานทัศนศิลป์

ดังนั้น การจะสร้าวเกณฑ์การประเมินและวิจารณ์คุณค่าผลงานข้างต้น
ให้มีความสอดคล้อองกับลักษณะของผลงานแต่ละแบบ จึงเป็นเรื่องที่กระทำ
ได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากผู้ประเมินและผู้วิจารณ์จะใช้พื้นฐานความรู้ หรือ
ทัศนคติของตนเองมาเป็ นเกณฑ์การปะเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ ไม่ได้
ด้วยเหตุผลที่ว่าผลงานัศนศิลป์ประเภทต่างๆ มีรูปแบบ(Form)
เนื้อหา(Content) เทคนิควิธีการที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวทางด้านรูป
ธรรม(Realist) และนามธรรม(Abstract) ผสมผสานอยู่

ดังนั้น การที่จะประเมินและวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่าง
มีคุณภาพจำเป็ นต้องมีความรอบคอบและสร้างเกณฑ์ให้มีความเชื่ อม
โยงกัน ดังนี้

1. เกณฑ์การ 2.เกณฑ์
ประเมินผลงาน การวิจารณ์ผลงาน

ทัศนศิลป์ ทัศนศิลป์

1. เกณฑ์การประเมินผลงานทัศนศิลป์

เกณฑ์การประเมินผลงานทัศนศิลป์ ต้องมีการกำหนดหลักการและตัว
บ่งชี้ หรือดัชนีที่แสดงให้เห็นถึงจุดเด่น จุดด้อย ตลอดจนความมชีวิตชีวา
ของผลงาน ซึ่งเกณฑ์ที่อาจนำมาใช้พิจารณาคุณค่าของผลงานทัศนศิลป์จะ
ประกอบไปด้วย

1. มีการใช้เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเหมาะสม เช่น การ
ลงมือปฏิบัติด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือการใช้วัสดุที่แตกต่างกัน เป็นต้น
(มาก/ ปางกลาง/ น้ อย)

2. มีความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเหมาะสม เช่น การใช้สื่อ
วัสดุ หรือวิธีการใหม่ๆ ที่ได้มีการทดลอง หรือศึกษามาก่อน เป็นต้น
(มาก/ ปางกลาง/ น้ อย)

3. มีการจัดภาพตามหลักการทางศิลปะอย่างเหมาะสม เช่น การใช้เส้น
สี รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว พื้นที่ว่าง น้ำหนักอ่อน-แก่ จังหวะและจุดสนใจ
สัดส่วน เอกภาพ เป็นต้น (มาก/ ปางกลาง/ น้ อย)

4. มีการพัฒนาผลงานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้น หมายถึง
การปรับปรุงผลงานและความก้าวหน้ าในการทำงาน (มาก/ ปางกลาง/ น้ อย)

5. มีการนำหลักการทางศิลปะมาใช้ เพื่อถ่ายทอดอารมณืและความ
รู้สึกได้อย่างเหมาะสม เช่น การใช้เส่น สี แสง เรื่องราว การจัดองค์ประกอบ
การเน้ นให้เกิดความเด่น เป็นต้น (มาก/ ปางกลาง/ น้ อย)

6. มีความประณีตของผลงานที่กระทำอย่างเหมาะสม เช่น ความ
เรียบร้อยของผลงาน ภาพรวมของการนำเสนอผลงาน การใช้เทคนิคใน
การนำเสนอ เป็นต้น (มาก/ ปางกลาง/ น้ อย)

7. มีแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเหมาะสม คือ เรื่องราวที่นำ
เสนอในผลงานตรงกับจุดประสงค์ที่ต้องการถ่ายทอด (มาก/ ปางกลาง/
น้ อย)

การเรียนรู้หลักการประเมินงานทัศนศิลป์ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อ
ผลงานศิลปะ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการวิเคราะห์ วิจารณืผลงาน สามารถที่จะ
พูด อธิบาย โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ และตัดสินประเมินงานศิลปะได้อย่าง
ถูกต้องตามหลักการ

ในการถ่ายทอดทัศนะของผู้ประเมินงานทัศนศิลป์ ที่มีคุณภาพและจะ
ได้ัรับการยอมรับนั้น ผู้ประเมินจะต้องสามารถอธิบายได้ว่า ศิลปินประสงค์
จะสื่ออะไรออกมา เช่น

- การนำเสนอตามลัทธิเหมือนจริง (Imitationalism) ศิลปินจะมุ่งเน้ น
การนำเสนอความเป็นจริงให้ปรากฏในผลงานของตน ดังนั้น ลักษณะการ
ถ่ายทอดเนื้อหาส่วนใหญ่จึงใช้วิธีวาดภาพที่เน้ นความเหมือนจริง ทั้งสี แสง
เงา และรยะ

- การนำเสนอตามหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ (Composition)
ศิลปินจะมุ่งเน้ นการนำเสนอภาพตามหลักการทางศิลปะในผลงานของเขา
เช่น การัดว่างส่วนต่างๆ ในภาพให้มีความขัดแย้งกัน ทั้งเรื่องของสี แสง
การจัดวางแบบสลับตำแหน่ง โดยเน้ นถึงความเป็นเอกภาะ เป็นต้น

- การนำเสนอเกี่ยวกับอามรณ์และความรู้สึก (Emotional & Feeling)
ศิลปินจะมุ่งเน้ นการนำเสนอภาพ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดอารมณ์และความ
รู้สึกร่วมไปตามจุดประสงค์ของตน เช่น ความอ้าวว้าง ความลึกลับ ความน่า
สะพรึงกลัว

ทั้งนี้ กาประเมินถึงความเหมาสมที่กำหนดเกณฑ์ไว้ว่า มาก ปาง
กลาง หรือน้ อยน้ น การประเมินจะต้องมีการกำหนดตัวชี้วัด (Indicator) ที่
จะต้องอธิบายคุณค่าของผลงาน รูปแบบ เนื้อหา แลละเทคนิควิธีการ ให้ชี้
เฉพาะเจาะจงลงไป กล่าวคือ มาก ควรมีระดับความสมบูรณ์ ครบถ้วนใน
แต่ละด้านมากที่สุด ปางกลาง ควรมีระดับที่รองลงมา และ น้อย ควรมี
ระดับที่น้ อยที่สุด ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าว อาจกำหนดขึ้นโดยครูผู้สอนก็ได้

2. เกณฑ์การวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์

เกณฑ์ หรือหลักที่กำหนดไว้เพื่อใช้ประกอบการวิจารณ์และแสดงความ
คิดเห็นด้วยการพูดและการเขียนเกี่ยวกับผลงานทัศนศิลป์ ได้เข้ามาพร้อม
กับวิทยาการแผนใหม่จากตะวันตกเมื่อประมาณ 70 ปีที่ผ่านมา จนถึง
ปัจจุบันนี้ก็ยังถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย เนื่องจากยังไม่เป็นที่แพร่
หลายมากนัก โดยเฉพาะเกี่ยวกับหลักการและเกณฑ์ของการวิจารณ์ที่จะ
ต้องให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ในระดับนี้อาจใช้เกณฑ์การวิจารณ์ที่ไม่ยุ่ง
ยากมากนัก เช่น ใช้เกณฑ์การวิเคราะห์ยังมีจุดมุ่งหมาย (Objective
Critical Reason ) นำมาปรับใช้กับการวิจารณ์งานทัศนศิลป์โดยทั่วไป

โดยจะพิจารณาถึงประเด็นที่จะนำมาใช้ในการพิจารณาดังนี้
1. หลักของเอกภาพ ได้แก่ การบรรยายและตีความงานทัศนศิลป์

ในแง่มุมของผลงานว่าสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบหรือไม่ สอดคล้องกับรูปแบบ
หรือโครงสร้างของตัวผลงานเองหรือไม่ ในเกณฑ์นี้ สิ่งที่ต้องพิจารณา ได้แก่
ความสัมพันธ์และความครบถ้วนในผลงาน

2. รักของความลึกล้ำ ได้แก่ การบรรยาย และตีความผลงานทัศน

ศิลป์ทั้งในแง่ที่ว่า ผลงานนั้นสร้างขึ้นด้วยความมานะพยายามหรือไม่ ไม่ว่า

จะเป็นในแง่ความคิด เสื้อแยกการปฏิบัติ รวมทั้งประกอบขึ้นด้วย

จินตนาการหรือไม่ หรือมีในอะไรซ่อนอยู่ให้ผู้ชมได้ค้นหาบ้าง
3. หลักของความเข้มข้น ได้แก่ การบรรยายและตีความผลงาน

ทัศนศิลป์ในแง่ที่ว่า ผลงานนั้นเต็มไปด้วยพลัง มีความอ่อนหวาน อ่อนโยน
แข็งกร้าว เศร้าสะเทือนใจ มีชีวิตชีวา หรือสง่างามหรือไม่ รวมทั้งสามารถให้
เหตุผลได้ว่า เพราะเหตุใดจึงมีความคิดเห็นเช่นนั้น

ตัวอย่าง

ชื่อภาพ The Last Supper (ค.ศ. 1495 )
ศิลปิ น เลโอนาโด ดา วินชี (Leonado Da Vinci)

หลักการวิจารณื ผลงานทัศนศิลป์

1. หลักของเอกภาพ ภาพผลงาน The Last Supper มีการ
สร้างสรรค์ผลงานโดยกำหนดให้องค์ประกอบของภาพประธาน (พระเยซู)
อยู่ตรงกลางและบรรดาเหล่าพระสาวกขนาบทั้ง 2 ข้างได้อย่างเหมาะสม
ซึ่งช่วยให้ภาพประธานมีควาใดด่ดเด่น ทั้งตำแหน่งที่นั้นอยู่ตรงกลางภาพ
และส่วนของกรอบภาพสี่เหลี่ยมด้านหลัง เป็นการช่วยเน้ นภาพของพระเยซู
ให้ดูมีความสง่าและมีความหมายมากขึ้น

2. หลักของความลึกล้ำ ผลงานชิ้นนี้ เป็นผลงานที่มีเนื้อหาและ
ความหมายบางอย่างที่แฝงอยู่กับเรื่องราวและเนื้อหาภายในภาพ เช่น มี
สาวกคนหนึ่งในภาพนี้คิดจะลอบปลงพระชนม์พระเยซู (แต่ไม่ทราบว่าเป็น
ใคร) ซึ่งเขาได้เขียนภาพถ่ายทอดบุคลิกของสาวกที่ถูกซ่อนไว้ด้วยสีหน้ า
และกิริยาท่าทางอันชวนให้ผู้คิดค้นหา อีกทั้งภาพนี้มีการจัดเรื่องราวเป็น
แบบภาพขนาดใหญ่ ที่แฝงไปด้วยความหมายต่างๆ ผ่านวิธีการและเทคนิค
การเขียนภาพได้อย่างสมบูรณืแบบ สอดคล้องกับหลักการทางศิลปะ

3. หลักของความเข้มข้น ผลงานชิ้นนี้มีลกษณะของการจัดองค์
ประกอบศิลป์ที่มีความโดดเด่นมาก คือความสมดุล (Balance) ที่ช่วยให้
ภาพนี้ดูมีความสงบ ความน่าศรัทธาเลื่อมใส และสง่างาม ขณะเดียวกันก็มี
ความขัดแย้ง คือ มีความเคลื่อนไหวของเหล่าพระสาวก ส่งผลทำให้ภาพนี้มี
ชีวิตชีวา ความรู้สึกดังกล่าวเกิดขึ้นจาก วิธีการจีชัดวางภาพและการจัดกลุ่ม
ภาพรอบๆ ภาพประธาน(พระเยซู) เป็นการใช้รูปทรงที่ดูสงบนิ่ง และรูปทรง
ที่เคลื่อนไหวมาจัดอยู่กันในภาพได้อย่างลงตัว

ค ว า ม สำ คั ญ ใ น ก า ร พั ฒ น า
ผ ล ง า น ทั ศ น ศิ ล ป์

ความสำคัญในการพัฒนาผลงานทัศนศิลป์

การพัฒนาผลงานทัศนศิลป์ หมายถึง การปรับปรุงผลงาน วิธี
การทำงานให้มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ มีความก้าวหน้ าในการทำงานมาก
ไปกว่าเดิม การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ให้มีความก้าวหน้ าอย่างต่อ
เนื่องนั้น ถือว่ามีความสำคัญสำหรับผู้เรียนทุกคน เพราะช่วยทำให้ผลงาน
ของตนได้รับการปรับปรุงและมีการพัฒนาจนมีความแตกต่างไปจากผู้อื่น
ซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้ เป็นความไฝ่ฝันของผู้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์
ทุกๆ คน ส่วนการจะบรรลุผลได้ตามความคิดฝันไว้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับ
ความตั้งใจ ความใส่ใจ และความมานะของผู้ฝึกปฏิบัติแต่ละคนว่าจะมีมาก
น้ อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับการรู้จักแสวงหาแนวทางในการเรียนรู้และหา
วิธีหารใหม่ๆ มาสร้างสรรค์การทำงานให้มีความแปลกใหม่แตกต่างไปจาก
ที่เคยมีอยู่แต่เดิม

ดังนั้น การพัฒนาผลงานทัศนศิลป์จึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อ
วงการศิลปะ ดังนี้

1. มีความสำคัญที่ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ทาง
ด้านทัศนศิลป์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษากลุ่มสาระศิลปะ

2. มีความสำคัญในการพัฒนาตนเองให้เกิดการศึกษาเรียนรู้เกี่ยว
กับสิ่งใหม่ๆ โดยเน้ นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบ เนื้อหา และ
เทคนิควิธีการในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์

3. มีความสำคัญต่อการสร้างนิสัยในการทำงานที่ดี โดยไม่ยึดติดกับ
แบบอย่างที่ซ้ำซาก ซื้อตายตัวมากจนเกินไป

4. ความสำคัญในการรู้จักประเมินตน เพื่อให้เห็นถึงศักยภาพในการ
ทำงานอย่างรอบด้าน จนนำไปสู่การพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดความ
ก้าวหน้ าและสมบูรณ์มากยิ่งๆ ขึ้น

การศึกษาทางด้านทัศนศิลป์ เมื่อเรารู้จักประเมินผลงาน ไม่ว่าจะ
เป็นผลงานของตนเอง หรือผู้อื่นก็ตาม รวมทั้งเมื่อได้รับการวิจารณ์ผลงานที่
เราสร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งในผลงานทัศนศิลป์แต่ละชิ้นย่อมจะมีส่วนดีที่เราพึง
เก็บสะสมไว้และส่วนที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข หากเราเปิดใจให้กว้างยอมรับ
คำวิจารณ์ ฟังด้วยใจเป็นกลาง ก็จะได้รับสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลที่เรา
สามารถเก็บเกี่ยวนำไปใช้พัฒนาผลงานของเราให้มีความก้าวหน้ าได้อย่าง
ต่อเนื่อง ซึ่งก็ย่อมจะสัมฤทธิ์ผลอย่างดียิ่งในการศึกษาวิชาทัศนศิลป์

การจัดทำแฟ้มสะสม
งานทัศนศิลป์

การจัดทำแฟ้มสะสมงานทัศนศิลป์

การจัดทำแฟ้ มสะสมงาน หรือแฟ้ มผลงานทัศนศิลป์ (Portfolio)
มีจุดมุ่งหมายเพื่ อการจัดเก็บและรวบรวมประวัติและผลงานที่เป็ นกระดาษ
เช่น ภาพพิมพ์ ภาพวาดลายเส้น ภาพสีน้ำ เป็นต้น ให้เป็นระบบ หรือใน
กรณีที่พลาดมีขนาดใหญ่มาก หรือสร้างสรรค์ด้วยวัสดุอื่นนอกเหนือจาก
กระดาษ หรือมีรูปแบบที่ไม่สามารถจะนำมาจัดเก็บได้ ก็ถ่ายเป็นภาพไว้
แล้วนำไปจัดเก็บแทน เพื่อจะได้เป็นหลักฐานสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ใน
โอกาสต่างๆ เช่น เพื่อเก็บสะสมผลงานให้เป็นระบบ ศึกษาพัฒนาความ
ก้าวหน้ าในการทำงาน ศึกษาต่อ สมัครงาน ประกวดแข่งขัน หรือติดต่อ
ธุรกิจเชิงพาณิชย์ศิลป์

การจัดทำแฟ้ มสะสมผลงานทัศนศิลป์ จะมีรายละเอียดแตกต่าง
กันไปหลายรูปแบบ ในระดับชั้นนี้ ขอแนะนำการจัดทำแฟ้ มสะสมผลงานที่
ไม่มีความยุ่งยากมากนัก ซึ่งองค์ประกอบหลักๆ ในแฟ้ มสะสมผลงาน จะ
ครอบคลุมประเด็น ดังนี้

ส่วนที่ 1 เป็นส่วนหน้ า หรื่อส่วนนำ ภายในจะประกอบไปด้วยปก
คำนำ สารบัญ วัตถุประสงค์ ชีวประวัติผู้จัดทำ

1. ปก : ควรใช้กระดาษแข็ง ระบุชื่อผู้เรียน เลขประจำตัว ชื่อโรงเรียน
เขตพื้นที่การศึกษา อำเภอ จังหวัด โดยออกแบบตกแต่งให้
2. ใบปกรอง สวยงาม ถ้านำภาพประกอบเข้ามา เสริม ต้องสื่อออกมาให้เห็น
3. คำนำ ว่าเป็นแฟ้ มสะสมผลงานทัศนศิลป์
4. สารบัญ
: มีความเหมือนกับปกทุกประการ นิยมใช้กระดาวขาว หรือ
5. วัตถุประสงค์ กระดาษสีอ่อน
6. ชีวประวัติ
: อาจเขียนบอกลักษณะภาพรวมของแฟ้ มสะสมผลงานเล่มนี้
องค์ประกอบในเล่ม ขั้นตอนการดำเนินการ

: บอกหัวข้อใหญ่ของเรื่อง หรือลำดับหมวดหมู่ที่อยู่ในแฟ้ ม เช่น
ประวัติการศึกาษา ประวัติการทำงาน การงวัลและเกียรติประวัติ
ที่ได้รับ เป็นต้น

: บอกเหตุผลที่ทำแฟ้ มสะสมผลงานเล่มนี้ว่า ทำขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์
ใด
: บอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวของผู้เรียน เช่น ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น
กีฬา อาหารที่ชอบ คติปีะจำใจ ศิลปินด้านทัศนศิลป์ที่ชื่นชอบ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 เป็นส่วนบรรจุหลักฐาน เป็นที่แสดงชิ้นงาน หรือภาพถ่าย
ชิ้นงานที่ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการศึกษาวิชาทัศนศิลป์ มี
การสะท้อนความคิดเห็นต่อชิ้นงาน แนวคิดในการทำผลชิ้นงาน
วิธีปฏิบัติงาน รวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ปฏิบัติงาน

1. ระบุรายละเอียดของชิ้นงาน : เป็นการให้ข้อมูลอย่างละเอีนดของผลงาน เช่น

เป็นงานประเภทใด สร้างสรรค์ด้วยเทคนิคแบบใด

พร้อมบอกเนื้อหารายละเอียด คุณค่าทางศิลปะ

แนวคิดที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน เป็นต้น

2. กรณีที่ผลงานมีหลายชิ้น : ควรจัดเป็นกลุ่มเพื่อสะดวกในการศึกษา เช่น

กลุ่มภาพจิตรกรรมสีน้ำ กลุ่มภาพเทคนิคผสม เป็นต้น

3. วิธีการปฏิบัติงาน : อธิบายขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่ขั้นเตรียม ขั้นลงมือ

และขั้นสรุปผลงาน

ส่วนที่ 3 เป็นส่วนใส่แบบฟอร์มที่ใช้ประเมินผลงาน รวมทั้งเกณฑ์
การประเมินผลงาาน เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่า ผลงานที่ถูกนำมาเก็บ
ไว้นั้นได้รับผลการประเมินเป็นอย่างไร รวมทั้งอาจใส่หลักฐาน
การประเมินไว้ด้วยก็ได้ นอกจากนี้ ก็ควรมีบรรณานุกรมและ
ภาคผนวก (ถ้ามี)

1. เกณฑ์การประเมิน : เป็นเกณฑ์ที่ผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องใช้ประเมินผลงานในแฟ้ ม

ส่วนใหญ่มักจะบอกเป็ นระดับคะแนน

(ตัวอย่างระดับคะแนน เช่น 4 = ดีที่สุด, 3 = ดี, 2 = พอใช้, 1 = ปรับปรุง )

2. บรรณานุกรม : ระบุรายการหนังสือ เอกสาร หรือชื่อเว็บไซต์ (URL) ที่ใช้ใน

การสืบค้นข้อมูลเพื่อนำความรู้ หรือเทคนิควิธีการมาใช้

ปฏิบัติงานทัศนศิลป์ ชิ้นนั้น

3. ภาคผนวก : เป็นส่วนของข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี) เพื่ออธิบายข้อมูล

หรือความรู้เสริม ที่ผู้เรียนได้เคยอ้างถึงเมื่อปฏิบัติชิ้นงานที่

อยู่ในแฟ้ ม

ตัวอย่าง หน้ า "ประวัติผลงาน " ที่เก็บสะสมในแต่ละหน้ าของแฟ้ ม
สะสมผลงาน พร้อมรายละเอียดใต้ภาพ

ชื่อเจ้าของผลงาน ชื่อ ..................................... นามสกุล ......................................

อาจารย์ที่ปรึกษา .....................................................................................................

ชื่ อผลงาน .....................................................................................................

เนื้อหาสาระ ....................................................................................................

ขนาดผลงาน กว้าง...................................... ยาว .........................................

เทคนิคของผลงาน ....................................................................................................

(สีน้ำ สีโปสเตอร์ เทคนิคผสม วาดเส้น งานปั้นและสื่อผสม ภาพพิมพ์

การแกะสลักเทียนไข ฯลฯ )

คุณค่าทางศิลปะ .....................................................................................................

แนวคิด .....................................................................................................

วัน / เดือน / ปี พ.ศ. ที่สร้างสรรค์งาน ...................................................................

ผู้วิจารณ์ควรยึดหลักการใดในการประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์ *

นักวิจารณ์ต้องยึดหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ นักวิจารณ์ต้องมีความตระหนักและฝึกฝนการวิจารณ์ นักวิจารณ์ต้องมีวิธีการพูด การเขียนบรรยายให้เข้าใจง่าย นักวิจารณ์ต้องบรรยายตีความเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น

การวิจารณ์งานทัศนศิลป์ที่ดีควรคำนึงถึงเรื่องใด

1. ควรมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะทั้งศิลปะประจำชาติและศิลปะสากล 2. ควรมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะ 3. ควรมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ช่วยให้รู้แง่มุมของความงาม 4. ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง และไม่คล้อยตามคนอื่น

หลักเกณฑ์การประเมินและวิจารณ์งานทัศนศิลป์มีอะไรบ้าง

1) ดูการ์ดที่ติดงานใกล้ผลงาน (ถ้ามี).
2) ดูว่าเป็นศิลปะสาขาอะไร ทัศนศิลป์แขนงใด ลักษณะใด และประเภทอะไร.
3) ดูสิ่งที่ทำให้เกิดมิติในผลงานทัศนศิลป์.
4) ดูส่วนประกอบของความงาม จุด (ถ้ามี).
5) ดูเกี่ยวกับการจัดภาพมี 2 แบบ คือ.
5.1 แบบประจำชาติ 2 แบบ.
5.2 แบบสากล 2 แบบ.

ผู้วิจารณ์ควรยึดหลักเกณฑ์อย่างไรในการวิเคราะห์วิจารณ์

ผู้วิจารณ์ควรยึดถือหลักเกณฑ์ในการวิจารณ์หนังสือ ดังนี้ ๑) ใช้เกณฑ์การพิจารณาที่ต่างกัน ในการพิจารณาหนังสือแต่ละประเภทผู้วิจารณ์ต้องศึกษาลักษณะและแนวการแต่ง หนังสือแต่ละประเภทให้ทราบว่ามีลักษณะเฉพาะอย่างไรบ้าง การพิจารณาต้องสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะ กับประเภทนั้น ๆ จะน าไปใช้กับทุกเรื่องไม่ได้ ๒) ใช้หลักเหตุผล