ไอซี bios ประกอบส่วนการทำงานอะไร

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ BIOS

ไอซี bios ประกอบส่วนการทำงานอะไร

รู้จักกับ BIOS (Basic Input/Output System)
อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่เป็น ฮาร์ดแวร์ จะสามารถทำงานได้โดยต้องมี ซอฟท์แวร์ ประกอบด้วย สำหรับ BIOS (Basic Input/Out System) นี้จะเป็นที่เก็บ ซอฟท์แวร์ ขนาดเล็ก ๆ ไว้ในชิป ROM (เป็นแบบ EPROM : Erasable Programmable Read-Only Memory) เพื่อใช้สำหรับทำการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์จากแผ่น floppy disks (FDD) หรือจาก hard disks (HDD) โดยที่ BIOS จะทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการ POST (Power-On Self Test) ก่อนที่จะเรียกใช้ ซอฟท์แวร์ ที่เป็น Operating System เช่น DOS หรือ Windows จาก FDD หรือ HDD เพื่อทำการเริ่มต้นเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้ต่อไป นอกจากนี้ BIOS ยังเป็นตัวกำหนดค่าต่าง ๆ ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะควบคุมการทำงานของ Keyboard, ควบคุมการทำงานของ Serial Port, Parallel Port, Video Card, Sound Card, HDD Controller และอื่น ๆ ในบางครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ เมื่อมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาหาก BIOS ไม่สามารถรู้จักและใช้งานได้ จำเป็นต้องมีการแก้ไขโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่บรรจุใน BIOS ให้รู้จักกับอุปกรณ์ใหม่ ๆ นั้นด้วยที่เรียกกันว่า Flash BIOS นั่นเอง สำหรับปัจจุบันนี้ BIOS จะเก็บไว้ใน EPROM ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่ปกติจะใช้สำหรับอ่านได้อย่างเดียว (ส่วนใหญ่จะเป็นไอซีตัวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ อยู่บนเมนบอร์ด) โดยที่เราสามารถทำการ ลบข้อมูลและโปรแกรมข้อมูล ลงไปใหม่ได้โดยใช้ซอฟท์แวร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการ Flash BIOS นั้น ๆ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของ BIOS EPROM และเมนบอร์ดด้วยนะครับว่าสามารถ Flash ได้หรือเปล่าโดยวิธีการง่าย ๆ คือตรวจสอบจากเวปไซต์ของผู้ผลิดเมนบอร์ดนั้น ๆ (โดยส่วนใหญ่แล้ว เมนบอร์ดสำหรับ Pentium ขึ้นไปส่วนใหญ่จะทำการ Flash ได้แล้ว) โดยปกติแล้ว อุปกรณ์ต่าง ๆ จะมีการตั้งค่า Configuration ที่แตกต่างออกไปได้ ซึ่งค่าเหล่านี้จะถูก BIOS เก็บไว้ในส่วนของ CMOS RAM ประมาณ 64 Bytes ซึ่ง CMOS นี้จะต้องมีการจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาจาก แบตเตอรี่ เพื่อให้ค่าที่ตั้งไว้ไม่หาย ไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในส่วนของ CMOS นี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้พลังงานน้อยมาก ดังนั้นจึงสามารถใช้งาน ได้นานโดยไม่ต้องคอยเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อยๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้อง ทำการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ให้เหมาะสมเช่น ค่าความเร็วของการอ่านข้อมูลจาก Memory การตั้ง Enabled หรือ Disabled อุปกรณ์ต่าง ๆ, ความเร็วของ PCI BUS, ชนิดของ Floppy Disk หรือ Hard Disk ที่ใช้งาน, อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น SCSI และอื่น ๆ อีกมากมายที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS ที่มีใช้งานอยู่ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 บริษัทคือของ AMI BIOS (American Mega trends Inc) และ AWARD (ปัจจุบันรวมเข้ากับ Phoenix Technologies, Ltd. แล้ว) นอกจากนี้ก็จะมี BIOS ที่เป็นของแบนด์เนมต่าง ๆ เช่น COMPAQ หรือ IBM ซึ่งจะมีหน้าตาและวิธีการตั้งค่าแตกต่างออกไปด้วยสรุปว่า BIOS มีความสำคัญมากในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มี BIOS เราก็ไม่สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
รูปแบบการรายงานความผิดพลาด หากในขั้นตอน POST นั้นเกิดข้อผิดพลาดขึ้น BIOS จะรายงานความผิดพลาดนั้นให้ทราบทางจอภาพ หรือหากข้อผิดพลาด นั้นเกิดจากจอภาพหรือการ์ดแสดงผล BIOS จะรายงานความผิดพลาดนั้นโดยส่งเสียง beep สั้น-ยาวต่างกันออกไปตามลักษณะของปัญหานั้นๆ ตารางแสดงถึงรายงานข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ในกรณีที่ภาคการแสดงผลยังใช้งานได้ (ใช้ได้กับ BIOS ของ AMI และ Award)
ข้อความ
ความหมาย
8024 Gate - A20 Error
คอนโทรลเลอร์ 8042 สำหรับคีบอร์ดเสีย
Cache Memory Bad, Do not Enable Cache!
หน่วยความจำแคชเสีย โดยสามารถเปิด การใช้งานได้จาก SETUP
CMOS BATTERY HAS FAILED
แบตเตอรี่ที่จ่ายไฟเลี้ยง CMOS หมด
CMOS Battery State Low
แบตเตอรี่ที่จ่ายไฟเลี้ยง CMOS หมด
CMOS CHECKSUM ERROR
ข้อมูลที่เก็บไว้ใน CMOS ไม่ถูกต้อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากแบตเตอรี่ที่ใกล้จะหมด ทำให้ไฟจ่ายได้ไม่ สม่ำเสมอ
CMOS Checksum Failure
ข้อมูลที่เก็บไว้ใน CMOS ไม่ถูกต้อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากแบตเตอรี่ที่ใกล้จะหมด ทำให้ไฟจ่ายได้ไม่ สม่ำเสมอ
CMOS System Options Not Set
ข้อมูลที่เก็บไว้ใน CMOS ไม่ถูกต้อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ แล้วเกิดจากแบตเตอรี่ที่ใกล้จะหมด ทำให้ไฟจ่ายได้ไม่ สม่ำเสมอ
CMOS Memory Size Mismatch
BIOS พบว่าขนาดหน่วยความจำเปลี่ยนแปลงไป นับจากการเปิดเครื่องครั้งล่าสุด
CMOS Time and Date Not Set
RTC (Real Time Clock) เสีย
DISK BOOT FAILURE, INSERT SYSTEM DISK AND PRESS ENTER
BIOS ไม่พบดิสก์ที่กำหนดให้ใช้สำหรับบูต (boot) หรือ ดิสก์นั้นไม่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการใดๆไว้
Diskette Boot Failure
BIOS ไม่พบดิสก์ที่กำหนดให้ใช้สำหรับบูต (boot) หรือ ดิสก์นั้นไม่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการใดๆไว้
DISKETTE DRIVES OR TYPES MISMATCH ERROR-RUN SETUP
กำหนดชนิดของดิสก์ไดรฟ์ไว้ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ติดตั้งไดรฟ์ชนิด 1.2 MB ไว้แต่กำหนดจาก SETUP ไว้เป็นชนิด 1.44MB เป็นต้น
DISPLAY SEUTCH IS STE INCORRECTLY
กำหนดฃนิดของการ์ดแสดงผลและจอภาพไว้ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ติดตั้งการ์ดแสดงผลชนิด VGA ไว้แต่กำหนดไว้ใน SETUP (หรืดโดย jumper บนเมนบอร์ด) เป็นชนิด monochrome เป็นต้น
Display Switch Not Proper
กำหนดฃนิดของการ์ดแสดงผลและจอภาพไว้ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ติดตั้งการ์ดแสดงผลชนิด VGA ไว้แต่กำหนดไว้ใน SETUP (หรืดโดย jumper บนเมนบอร์ด) เป็นชนิด monochrome เป็นต้น
DISPLAY TYPE HAS CHANGED SINCE LAST BOOT
BIOS พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการ์ดแสดงผลนับจากการเปิดเครื่องครั้งล่าสุด

ไอซี bios ประกอบส่วนการทำงานอะไร

EISA Configuration Checksum Error PLEASE RUN EISA CONFIGURATION UTILITY
ค่าที่กำหนดไว้สำหรับอุปกรณ์ EISA ไม่ถูกต้อง หรือมีปัญหา
EISA Configuration is Not Complete PLASE RUN EISA CONFIGURATION UTILITY
ค่าที่กำหนดไว้สำหรับอุปกรณ์ EISA ไม่ถูกต้อง หรือมีปัญหา
ERROR ENCOUNTERED INTIALIZING HARD DRIVE
เริ่มการทำงานของฮาร์ดดิสก์ไม่ได้ อาจเกิดการตั้งค่าใน SETUP ไว้ไม่ถูกต้อง, สายเคเบิลหลุด-หลวม หรือฮาร์ดดิสก์นั้นเสียก็ได้
ERROR INTIALIZING HARD DTRIVE CONTROLLER
เริ่มการทำงานของคอนโทรลเลอร์สำหรับฮาร์ดดิสก์ไม่ได้ อาจเกิดจากการติดตั้งค่าใน SETUP ไว้ไม่ถูกต้อง, สายเคเบิลหลุดหลวม หรือคอนโทรลเลอร์นั้นเสียก็ได้
DMA Error000
คอนโทรลเลอร์ DMA (Direct Memory Access) เสีย
DMA #1 Error
เกิดข้อผิดพลาดขึ้นใน DMA channel 1
DMA #2 Error
เกิดข้อผิดพลาดขึ้นใน DMA channel 2
FDD Controller Failure
เริ่มการทำงานของคอนโทรลเลอร์สำหรับดิสก์ไดรฟ์ไม่ได้ อาจเกิดจากการติดตั้งค่าใน SETUP ไว้ไม่ถูกต้อง, สายเคเบิลหลุดหลวม หรือคอนโทรลเลอร์นั้นเสียก็ได้
FLOPPY DISK CNTRLR ERROR OR NO CNTRLR PRESENT
เริ่มการทำงานของคอนโทรลเลอร์สำหรับดิสก์ไดรฟ์ไม่ได้ อาจเกิดจากการติดตั้งค่าใน SETUP ไว้ไม่ถูกต้อง, สายเคเบิลหลุดหลวม หรือคอนโทรลเลอร์นั้นเสียก็ได้
HDD Controller Failure
เริ่มการทำงานของคอนโทรลเลอร์สำหรับดิสก์ไดรฟ์ไม่ได้ อาจเกิดจากการติดตั้งค่าใน SETUP ไว้ไม่ถูกต้อง, สายเคเบิลหลุดหลวม หรือคอนโทรลเลอร์นั้นเสียก็ได้
I/O Card Parity Error at xxx
Expansion card เสียหรือทำงานผิดพลาด ที่ตำแหน่ง xxx
Invalid EISA Configuration PLEASE RUN EISA CONFIGURATION UTILITY
ค่าที่กำหนดไว้สำหรับอุปกรณ์ EISA ไม่ถูกต้องหรือมีปัญหา
KB/Interface Error
หัวต่อคีบอร์ดเสีย หรือหลุดหลวม
Keyboard Error
ไม่ได้ติดตั้งคีบอร์ดไว้ หรือคีบอร์ดเสีย
KEYBOARD ERROR OR NO KEYBOARD PRESENT
ไม่ได้ติดตั้งคีบอร์ดไว้ หรือคีบอร์ดเสีย
Memory Address Error at xxx
พบหน่วยความจำเสียที่ตำแหน่ง xxx
Memory Parity Error at xxx
พบหน่วยความจำเสียที่ตำแหน่ง xxx
MEMORY SIZE HAD CHANGED SINCE LAST BOOT
BIOS พบว่าขนาดหน่วยความจำเปลี่ยนแปลงไปนับจากการเปิดเครื่องครั้งล่าสุด (เกิดขึ้นเฉพาะในระบบที่ใช้อุปกรณ์แบบ EISA เท่านั้น)
Memory Verity Error at xxx
พบหน่วยความจำเสียที่ตำแหน่ง xxx
Parity Error xxx
พบหน่วยความจำเสียที่ตำแหน่ง xxx
PRESS A KEY TO REBOOT
เกิดข้อผิดพลาดบางประการขึ้น ซึ่งระบบพยายามแก้ปัญหาด้วยการบูตเครื่องใหม่

PRESS F1 TO DISABLE NMI, F2 TO REBOOT
ตรวจพบ NMI (Non Maskable Interrupt) หากกดคีย์ F1 จะยกเลิก NMI แล้วทำงานต่อตามปกติ หากกดคีย์ F2 BIOS จะบูตเครื่องใหม่และใช้งาน NMI นั้น (หากทำได้)
RAM PARITY ERROR - CHECKING FOR SEGMENT XXX
พบหน่วยความจำเสียที่ตำแหน่ง xxx
Should be Empty But EISA Board found PLEASE RUN EISA CONFIGURATION UTILITY
เกิดขึ้นเมื่อเพิ่มอุปกรณ์ชนิด EISA ลงในระบบ
Should Have EISA Board But Not Found PLEASE RUN EISA CONFIGURATION UTILITY
เกิดขึ้นเมื่อถอดอุปกรณ์ชนิด EISA ออกจากระบบ
Slot Not Empty
เกิดขึ้นเมื่อเพิ่มอุปกรณ์ชนิด EISA ลงในระบบ
SYSTEM HALTED, (CTRL-ALT-DEL) TO REBOOT
เกิดข้อผิดพลาดบางประการขึ้น ซึ่งระบบพยายามแก้ปัญหาด้วยการบูตเครื่องใหม่
Wrong Board In Slot
เกิดขึ้นเมื้อเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ชนิด EISA หรือเปลี่ยนช่องเสียบ
สัญญาณเสียงแสดงความผิดพลาด ตาราง รหัสเสียง beep ของ AMI BIOS
เสียง beep (ครั้ง)
ความหมาย
1 สิ้นสุดกระบวนการ POST
2 เกิดข้อผิดพลาดใดๆขึ้นระหว่างขั้นตอน POST
3 BIOS ของการ์ดแสดงผลไม่ทำงาน หรือการ์ดแสดงผลเสีย
4 DAC (Digital to Analog Converter) ไม่ทำงาน, หน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลเสีย หรือไม่ได้ต่อจอภาพไว้
5 เริ่มต้นการทำงานภาคการแสดงผลส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไม่ได้
สัญญาณเสียงแสดงความผิดพลาดขึ้นกับ Main Board แต่ละรุ่น แต่สำหรับรหัสเสียงสัญญาณแสดงความผิดพลาดพื้นฐาน ได้แก่
จำนวนเสียงสัญญาณ
ตัวต้นเหตุของปัญหา
1 เสียงสั้น
Successful POST
2 เสียงสั้น
Initialization error, DMA, Floppy Disk Drive, Serial, Partial
1 เสียงยาว, 1 เสียงสั้น
Main Board
1 เสียงยาว, 2 เสียงสั้น
VGA or Video Memory
1 เสียงยาว, 3 เสียงสั้น
VGA card
ไม่มีเสียง
Power Supply, Main Board

หมายเหตุ : Main Board, Master Board, System Board มีความหมายอย่างเดียวกัน

ลักษณะและคำอธิบาย
1. โครงสร้างหลักๆ ของ BIOS นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่สองอย่างคือ
ตัวโปรแกรมของไบออส จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำแบบ ROM เพราะจำได้นานไม่มีลืมเหมือนกับ RAM ทำให้เราสามารถเรียกใช้ BIOS ได้ทันทีเมื่อเปิดเครื่อง แต่เราไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปใน ROM ได้
2. ส่วนตัวข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ CMOS RAM เป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเขียนไฟล์ทับได้ คล้ายกับ RAM แต่ต้องใช้ไฟเลี้ยง ถ้าไม่มีไฟ ระบบจะลืมข้อมูลทันที โดยไฟที่ว่านี้มาจากก้อนแบตเตอรี่เล็กติดอยู่บนเมนบอร์ด ถ้าแบตเตอรี่นี้หมด เครื่องก็จะมีปัญหา
หน้าที่และความสำคัญ
BIOS (Basic Input/Output System) คือ Chip ROM (EPROM : Erasable Programmable Read-Only Memory) Bios เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุม Hardware ในการ Boot คอมพิวเตอร์ โดยทุกครั้งเมื่อเราเปลี่ยนเครื่องอ่านข้อมูล ไม่ว่า Floppy Disk Drive , Hard Disk Drive และ Cd-Rom Drive โดยเฉพาะ Hard Disk เมื่อต่อเพิ่มหรือถอดออก จะต้องบอกให้ Bios รับรู้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ Boot เครื่อง เพื่อเข้าสู่โปรแกรม Windows หรือ OS ต่อไป
วิธีดูรุ่น biosStart --> Run พิมพ์ msinfo32.exe --> OK( ดูตรง BIOS Version/Date )
บางเครื่องเข้าไปที่Programs --> Accessories --> System Tools --> System Information

การเข้าโปรแกรม Bios
สำหรับวิธีการที่จะเข้าไปตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้นั้น จะขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละเครื่องด้วย โดยปกติเมื่อเราทำการเปิดสวิทช์ไฟของเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS ก็จะเริ่มทำงานโดยทำการทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนที่จะเรียกใช้งานระบบ DOS จากแผ่น Floppy Disk หรือ Hard Disk ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เราสามารถเข้าไปทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้โดยกด Key ต่าง ๆ เช่น DEL, ESC CTRL-ESC, CTRL-ALT-ESC ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละเครื่องจะตั้งไว้อย่างไร ส่วนใหญ่ จะมีข้อความบอกเช่น "Press DEL Key to Enter BIOS Setup" เป็นต้น
ปุ่ม Key ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับการ Setup BIOS ส่วนใหญ่จะเป็นแบบเดียวกัน โดยจะมีรูปแบบทั่วไปดังนี้
Up, Down, Left, Right ใช้สำหรับเลื่อนเมนูตามต้องการ
Page Up, Page Down ใช้สำหรับเพิ่ม ลบ หรือเปลี่ยนแปลงค่าตามต้องการ
ESC Key ใช้สำหรับย้อนกลับไปเมนูแรกก่อนหน้านั้น
Enter Key ใช้สำหรับเลือกที่เมนูตามต้องการ
F1, F2 ถึง F10 ใช้สำหรับการทำรายการตามที่ระบุในเมนู BIOS Setup
เมื่อเปิดเครื่องแล้ว ให้กดปุ่ม Delete ไปเรื่อยๆ จนเข้าโปรแกรม Bios โดยบางรุ่นจะใช้ Ctrl+Esc จะขึ้นหน้าจอ

การปรับแต่งค่าต่างๆของ Bios ก่อนอื่นนั้นต้องมาดูหน้าที่หลักๆ ของไบออสกันก่อนนะครับ ไบออสนั้นจะเป็นส่วนเกี่ยวกับการเก็บค่า Configuration ของ อุปกรณ์ Input / Output ทั้งหลาย โดยจะเรียกใช้ค่านั้นทุกครั้งที่ทำการเปิดเครื่อง โดยหลังๆ มานี้ไบออสได้มีการพัฒนาไปมาก เมนบอร์ดในบางยี่ห้อ มีการรวมใส่ส่วนของ Utilities ในการปรับค่าต่างๆ เช่น การโอเวอร์คล๊อกผ่านไบออส เป็นต้น Standard CMOS Setup สำหรับในส่วนนี้จะไม่ค่อยมีค่าอะไรให้ปรับกันเท่าไหร่ โดยส่วนที่สำคัญคือในส่วนการตั้งค่าของอุปกรณ์ที่เป็น IDE ทั้งหลาย โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นฮาร์ดดิสแหละครับ ตรงนี้ผมแนะนำให้ตั้งแบบ Manual ไม่ต้องเซ็ทเป็น Auto เพราะจะทำให้เวลาในการบูต นานขึ้นครับ อีกอย่างหนึ่งพวก drive CD ก็เซ็ทเป็น None ก็ได้ครับ จะช่วยให้ผ่านขั้นตอนการ Post เร็วขึ้นเยอะ ( ยกเว้นคนที่ต้องการบูตเครื่องด้วย CDROM ให้เซ็ทเป็น Auto นะครับ) Bios Features Setup Virus Warning ( ค่าที่ปรับได้ : Enable , Disable ) ค่านี้นั้นจะเป็นการเซ็ทเพื่อให้ไบออสทำการเตือนเมื่อมีโปรแกรมใดๆ พยายามที่จะเขียนข้อมูลลงไปที่ Boot Sectors ของฮาร์ดดิส ซึ่งอาจจะพอมีประโยชน์อยู่บ้าง แต่ผมไม่แนะนำให้ใช้ครับ ลำพังโปรแกรม Anti Virus ที่เราลงไว้ในเครื่อง ก็สามารถปกป้อง Boot Sectors ได้ดีกว่า การตั้งค่านี้เป็นไหนๆ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อมีการเตือนขึ้นมา ส่วนใหญ่เครื่องจะแฮ้งไป Recommended Setting : Disable CPU L2 Cache ECC Checking ( ค่าที่ปรับได้ : Enable , Disable ) ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับ ว่าเป็นการปรับในส่วนของ ECC ( Error Correction ) ของ L2 Cache ในตัว CPU ของเรา ในค่านี้นั้น ต้องเลือกเอาเองแล้วล่ะครับ ว่าจะเปิดหรือจะปิด เพราะว่าถ้าเปิดไว้นั้น จะช่วยให้เครื่องทำงานได้สเถียรมากขึ้น แต่ Performance นั้นอาจจะมีการดรอปลงไปนิดหน่อย ส่วนถ้าปิดไว้นั้น ความสเถียรก็จะลดลงล่ะครับ แต่ก็อาจจะช่วย ให้สามารถโอเวอร์คล๊อกในสปีดสูงขึ้นได้ Recommended Setting : Enable Quick Power On Self Test ( ค่าที่ปรับได้ : Enable , Disable ) ขั้นตอนการ POST หรือ Power On Self Test นั้น เป็นขั้นตอนตั้งแต่เราเปิดเครื่อง ผ่านการอ่านค่าต่างๆ ในไบออส มีการเช็คอุปกรณ์ต่างๆ เช่นหน่วยความจำ หรือ ฮาร์ดดิส ซึ่งตรงนี้นั้นถ้าเราปรับเป็น Quick Power On Self Test ขั้นตอนการ POST จะเร็วขึ้นมากครับ ซึ่งค่าตรงนี้เครื่องส่วนใหญ่จะ Enable มาอยู่แล้ว ก็เขียนมาให้ดูกันเฉยๆ ครับ Recommended Setting : Enable Boot Up Floppy Seek ( ค่าที่ปรับได้ : Enable , Disable ) ค่านี้ก็ไม่มีอะไรมากครับ เป็นการควบคุมให้ไบออส เช็คหรือไม่เช็ค Floppy Drive ของเรา แนะนำว่าให้ปิดไว้จะดีกว่านะครับ บูตเร็วขึ้นนิดหน่อย และเปิดไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร Recommended Setting : Disable Video Bios Shadow ( ค่าที่ปรับได้ : Enable , Disable ) หากทำการเปิดค่านี้ จะทำให้ไบออสของการ์ดจอถูก Copy เข้าไปไว้ที่แรมของเครื่อง ซึ่งหากมีการอ่านนั้นก็จะไปอ่านที่แรม ของเครื่องแทนที่จะเข้าไปอ่านในไบออสของการ์ดจอ ประโยชน์ของค่านี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอดีตไปซะแล้วล่ะครับ เพราะ VGA Card ใหม่ๆ ในปัจจุบันนั้น จะบรรจุไบออสมาในรูปแบบ Flash Memory ( EEPROM ) ซึ่งการอ่านจาก Flash Memory นั้น มีความเร็วสูงกว่าการอ่านจากแรม ดังนั้นค่านี้ควรจะ Disable ไว้ดีกว่าครับ ไม่เปลืองแรมระบบ ส่วนค่าของการ Shadow ค่าอื่นๆ ก็ควรจะ Disable เอาไว้เช่นกันครับ Recommended Setting : Disable

Chipset Features Setup SDRAM CAS Latency Time ( ค่าที่ปรับได้ : 2 , 3 , Auto ) ในบางเมนบอร์ดอาจจะเรียกค่านี้ว่า SDRAM Cycle Length ก็เป็นค่าเดียวกันนะครับ ค่านี้เป็นค่า Delay ในการทำงานของแรม ซึ่งยิ่งเซ็ทค่าน้อยก็ยิ่งดีครับ แนะนำให้เซ็ทไว้ที่ 2 จะได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่า 3 ประมาณ 10-15% ส่วนถ้าเซ็ทเป็น Auto นั้น ไบออสจะทำการอ่านค่าจากชิบ SPD บนตัวแรมว่าเหมาะกับการใช้ที่ CAS ใดให้เอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็น CAS3 แหละครับ ดังนั้นแนะนำว่าให้เซ็ทเองจะดีกว่า การเซ็ท CAS เป็น 2 นั้น แรมบางตัวอาจจะรับไม่ไหวนะครับ อาจจะเกิดการบูตไม่ขึ้น หรือเครื่องแฮ๊งเป็นระยะได้ Recommended Setting : 2 SDRAM Bank Interleave ( ค่าที่ปรับได้ : 2 ways , 4 ways , Disable ) ก่อนอื่นมาดูความหมาย และประโยชน์ของ Memory Bank Interleave กันก่อนนะครับ ค่า Interleave นี้จะไปแบ่งการทำงานของแรมออกเป็นบล๊อคๆ เช่นสมมุติว่าในการสั่งงานหรือมีข้อมูลเข้าไปที่แรมแต่ละครั้ง ผมจะเรียกแทนว่า word_0 , word_1 ,word_2, word_n ในกรณีที่เซ็ทแรมเป็น 4 Ways Bank Interleave นั้น ลำดับของข้อมูลจะถูกจัดเป็น Bank_0 : word_0, word_4,word_8..word_n+0 Bank_1 : word_1, word_5, word_9..word_n+1 Bank_2 : word_2, word_6, word_a..word_n+2 Bank_3 : word_3, word_7, word_b..word_n+3 จะเห็นนะครับ ว่าข้อมูลถูกหั่นเป็นส่วนๆ แล้วกระจายเข้าไปไว้ที่ Bank ต่างๆ ซึ่งประโยชน์ของการกระจายนี้คืออะไร มาดูกัน Bank แต่ละ Bank นั้นจะมี Control Line กันคนละชุด ซึ่งแยกกันสั่งงานและประมวลผล Bank ใคร Bank มัน เช่น ขณะที่ Bank0 มีการทำงานอยู่ แทนที่ Bank1 จะต้องรอ Bank0 ให้ทำงานเสร็จ Bank1 จะสามารถรับข้อมูลมารอแล้ว ก็ประมวลผลเอาไว้ก่อนได้เลย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับ Data Transfer เพราะในการประมวลผลนั้น อาจจะประมวลได้พร้อมๆ กันก็จริง แต่การโอนถ่ายข้อมูลออกมาจากแรมนั้น ยังต้องทำให้เสร็จๆ ไปทีละ Bank เหมือนเดิม
นั่นก็หมายถึงถ้าเราเซ็ทเป็น 4 Ways แล้ว แรมจะสามารถรับข้อมูลและประมวลผลไว้รอได้ถึง 4 Bank เมื่อ Bank แรกประมวลผลเสร็จ และส่งข้อมูลออกไป Bank ต่อไป ( ซึ่งมีข้อมูลที่ประมวลผลเอาไว้รอแล้ว ) จึงจะส่งตามกันไปเรื่อยๆ ซึ่งจะลดเวลาในการต้องรอประมวลผลได้ แล้วถ้าเราเซ็ทเป็น Disable ล่ะ แรมจะต้องรอกันเป็นทอดๆ คือเมื่อ Bank0 ประมวลผล และส่งข้อมูลเสร็จ แทนที่ Bank1 จะประมวลผลเอาไว้แล้ว เตรียมเพื่อจะส่งข้อมูลได้เลย แต่กลับต้องมารอ Bank1 ประมวลผลซะก่อน ( จะไม่มีการประมวลผลไว้ล่วงหน้า ) ซึ่งจะเห็นได้ว่าการรอกันเป็นทอดๆ นั้น เป็นการลดประสิทธิภาพของแรมลงอย่างเห็นได้ชัด Recommended Setting : 4 Ways

Fast R-W Turn Around ( ค่าที่ปรับได้ : Enable, Disable ) ค่านี้เป็น Option สำหรับการลดระยะเวลา Delay ระหว่างที่ CPU จะทำการสลับโหมดในการ Read และ Write ข้อมูล แนะว่าว่าเปิดไว้เป็น Enable ความเร็วจะเพิ่มมานิดหน่อย แต่แรมบางตัวอาจจะรับค่านี้ไม่ได้ ก็ลองปรับดูนะครับ Recommended Setting : Enable AGP Fast Write ( ค่าที่ปรับได้ : Enable, Disable ) Fast Write นั้นเป็นฟังค์ชั่นที่จะพบเห็นได้ใน VGA Card รุ่นใหม่ๆ เกือบทุกรุ่นนะครับ โดยหลักการของมันนั้น ผมก็ไม่ค่อย แน่ใจ ที่จำได้คร่าวๆ นั้น Fast Write จะทำให้ AGP สามารถติดต่อกับ CPU ได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านหน่วยความจำ หรือส่วนอื่นๆ ( ไม่แน่ใจนะครับ ) แนะนำว่าให้ปรับเป็น Enable จะเร็วขึ้นนิดหน่อยครับ Recommended Setting : Enable ยังมีอีกหลายค่านะครับ บางค่าผมเองก็ยังไม่รู้ความหมาย แต่ก็เคยได้ยินมาว่าควรจะปรับยังไง ก็เอามาให้ดูกันนะครับ ใครจะลองปรับตามก็ได้ตามสบายครับ

Standard CMos Setup
E Date กำหนดวันที่
ETime กำหนดเวลา
EPrimary Master กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ Boot Windows และลงโปรแกรม
EPrimary Slave กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูล
ESecondary Slave กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูล
ESecondary Master กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูล
EDrive A กำหนด Floppy Disk
Bios Feathers Setup
Boot Sequence กำหนดลำดับการ Boot เครื่อง ควรตั้งไว้ A: , C: เพื่อสามารถใช้การ Boot จากแผ่น Startup Disk ได้
IDE HDD Auto Detection
สำหรับค้นหาฮาร์ดดิสก์แบบอัตโนมัติ โดยจะค้นหา Primary Master , Primary Slave , Secondary Master , Secondary Slave ตามลำดับ โดยให้เราตอบ Y ในแต่ละขั้นตอนที่ต้องการ ถ้าในขั้นตอนนี้ไม่สามารถค้นหาฮาร์ดดิสก์ที่เราติดตั้งไว้ได้ ต้องตรวจสอบการต่อฮาร์ดดิสก์ให้ถูกต้องอีกครั้ง
Save & Setting Setup
แน่นอนเมื่อตั้งค่าต่างๆ ตามที่เราต้องการแล้ว ก็ต้อง Save ไว้ ให้ตอบ Y แล้ว Enter
Boot ใช้งานตามต้องการได้ต่อไป

การเซ็ต BIOS
BIOS (Basic Input/Output System) คือ Chip ROM (EPROM : Erasable Programmable Read-Only Memory) Bios เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมฮาร์ดแวร์ในการ Boot คอมพิวเตอร์ โดยทุกครั้งเมื่อเราเปลี่ยนเครื่องอ่านข้อมูล ไม่ว่า Floppy Disk Drive , Hard Disk Drive และ Cd-Rom Drive โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ เมื่อต่อเพิ่มหรือถอดออก จะต้องบอกให้ BIOS รับรู้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ Boot เครื่อง เพื่อเข้าสู่โปรแกรม Windows หรือ OS ต่อไป
BIOS (Basic Input/Output System), CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor)
ขั้นตอนการทำงานของ BIOS
1.เมื่อเปิดเครื่อง BIOS จะตรวจสอบอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้งาน เช่น คีย์บอร์ด , ดิสก์ไดรฟ์, จอภาพ, หน่วยความจำ ฯลฯ หากมีอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งทำงานไม่ถูกต้อง จะแจ้งข้อผิดพลาดให้ทราบทั้งในลักษณะข้อความ (หากจอภาพทำงานได้) และเสียง beep หากจอภาพทำงานไม่ได้
2.โหลดค่ากำหนดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นมาใช้งาน โดยค่าต่างๆ เหล่านี้จะถูกเก็บไว้ใน CMOS ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผ่าน SETUP
3.โหลดระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งไว้ในดิสก์ขึ้นมาทำงาน
4.เมื่อระบบปฏิบัติการเริ่มทำงาน นั่นคือคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการใช้งานแล้ว ส่วน BIOS จะทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ ต่อระบบปฏิบัติการอยู่เบื้องหลัง เช่น การอ่าน-เขียน ข้อมูลจากดิสก์, เปิดจอภาพเมื่อผู้ใช้ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ ฯลฯ
5.เมื่อต้องการปิดเครื่อง BIOS จะปิดการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดรวมถึงตัดกระแสไฟที่จ่ายให้ power supply ด้วย ค่ากำหนดต่างๆ ที่เก็บไว้ใน CMOS จะไม่หายไป เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ การทำงานจะวนรอบกลับไปยังขั้นตอนที่ 1 ทันที ดังจะเห็นได้ว่าการทำงานของ BIOS มีผลต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา หาก BIOS ได้รับการปรับตั้งไม่ถูกต้อง หรือปรับตั้งไว้ไม่ดี จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำงานได้ไม่ถูกต้อง, ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือแม้แต่ใช้งานไม่ได้เลยก็เป็นได้

POST ขั้นตอนสำคัญของการเริ่มต้นระบบ

เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS จะเข้าสู่ขั้นตอนที่เรียกว่า POST (Power-On Self Test) ซึ่งเป็นการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเอง สาเหตุที่ต้องตรวจสอบก่อนก็เพราะคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีอุปกรณ์ไม่เหมือนกัน อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เหล่านี้ได้โดยอิสระอีกด้วย ดังนั้นย่อมเป็นการดีที่จะมาตรวจสอบกันก่อนเริ่มต้นทำงาน ในกรณีที่เจอข้อผิดพลาดก็ยังสามารถรายงานให้ผู้ใช้ทราบ และแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

4 ขั้นตอนการทำงานของ POST

ใน BIOS ใดๆ แม้จะต่างยี่ห้อ ต่างบริษัทกัน โดยส่วนใหญ่จะมีขั้นตอน POST ที่คล้ายๆ กัน 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.แสดงข้อความเริ่มต้นของการ์ดแสดงผล ซึ่งปกติจะขึ้นอยู่กับชนิดของการ์ดแสดงผลที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์นั้นๆ โดยอาจแสดงชื่อบริษัท-โลโก้ของผู้ผลิต, ชื่อรุ่น, ขนาดของหน่วยความจำ ฯลฯ หรือในบางรุ่นอาจไม่แสดงข้อความใดๆ ในขั้นตอนนี้เลยก็ได้
2.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ BIOS รวมถึงหมายเลขอ้างอิงสำหรับผู้ผลิตเมนบอร์ดและข้อความอื่นๆ จากภาพที่ 2-2 เป็น BIOS ของ Award บนเมนบอร์ดซึ่งใช้ชิปเซ็ต Intel 430HX
3.ตรวจสอบและนับจำนวนหน่วยความจำ รวมทั้งเริ่มการทำงานของอุปกรณ์ประเภทดิสก์ไดรฟ์
4.เมื่อสิ้นสุดการทำงานของ POST แล้ว บนหน้าจอจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์พื้นฐานทั้งหมด จากนั้นจึงโหลดระบบปฏิบัติการจากดิสก์ที่กำหนด (ผ่านทาง SETUP ) มาทำงานต่อไป
ข้อแนะนำ
BIOS ที่มีใช้งานอยู่ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 บริษัทคือของ AMI BIOS (American Megatrends Inc) และ AWARD (ปัจจุบันรวมเข้ากับ Phoenix Technologies, Ltd. แล้ว) นอกจากนี้ก็จะมี BIOS ที่เป็นของแบนด์เนมต่าง ๆ เช่น COMPAQ หรือ IBM ซึ่งจะมีหน้าตาและวิธีการตั้งค่าแตกต่างออกไปด้วย
EWeb link บริษัท AMI BIOS
EWeb link บรัษัท Phoenix

ไอซี BIOS ประกอบส่วนการทํางานอะไร

BIOS (ไบออส) มาจากคำว่า Basic Input/Output System เป็นโปรแกรม ที่ถูกเก็บอยู่ภายใน CMOS ซึ่งเป็นหน่วยความจำแบบ ROM (Read Only Memory) ทำหน้าที่เก็บค่าต่าง ๆ ที่กำหนดการทำงานเริ่มต้นของระบบ เช่น ค่าวันและเวลาของระบบ, กำหนดรหัสผ่านเพื่อเข้าเครื่อง, กำหนดลำดับอุปกรณ์ในการบู๊ตระบบเป็นต้น ซึ่งค่าต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลโดยตรง ...

BIOS ของคอมพิวเตอร์เก็บไว้ส่วนใดของเครื่อง

BIOS คืออะไร BIOS ถูกตั้งโปรแกรมมาบนชิปหน่วยความจำที่ลบ ตั้งค่าโปรแกรมได้ และสามารถอ่านได้อย่างเดียว (EPROM) โดย BIOS ถูกจัดเก็บลงบนชิปหน่วยความจำนี้ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บรักษาไว้เมื่อปิดเครื่อง เมื่อเปิดพีซีอีกครั้ง BIOS จะเรียกชุดข้อมูลที่บันทึกไว้กลับมา

BIOS คืออะไร มีความสําคัญอย่างไร

BIOS ย่อมาจาก Basic I O Input Output System ไบออส คือโปรแกรมเล็กๆ ที่ถูกเก็บไว้ในชิป ROM ทำหน้าทีในการตรวจสอบและควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ด และมีส่วนสำคัญมากในการบู๊ตเครื่อง เพราะไบออสจะคอยตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งหมดหากอุปกรณ์ตัวไหนมีการทำงานผิดพลาด ไบออสก็จะรายงานหรือส่งสัญญาณเสียงให้เราได้ทราบทันที ไบออส จะทำงานหลังจากมี ...

ประเภทของ BIOS มีกี่ประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง

BIOS ที่ใช้งานกันทั่วไปแบ่งเป็น 3 แบบด้วยกันคือ 1. ไบออสของ Award เป็นไบออสที่นิยมใช้งานที่สุด เพราะมีการออกแบบมาให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจในการปรับแต่งต่าง ๆได้ง่ายขึ้น โดยทาง Award นั้นมุ่งเน้นในการผลิตไบออสให้กับเมนบอร์ดเพียงอย่างเดียว