ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ระดับ อะไรบ้าง

นักชีววิทยาได้คาดการณ์ว่าในโลกมีสิ่งมีชีวิตจำนวนหลายล้านชนิด เป็นสิ่งมีชีวิตในป่าเขตร้อนชื้น (Tropical rain forest) ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 7% ของพื้นแผ่นดินที่อยู่อาศัยของโลก และคาดว่าจะมีสิ่งมีชีวิตไม่ต่ำกว่า 5 ล้านชนิด แต่จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันบ่งบอกว่าสิ่งมีชีวิตเพียง 5 แสนชนิดเท่านั้นที่ได้รับการศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์ ในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในโลก เกิดความหลากหลายทางชีวภาพขึ้น  การเกิดขึ้นย่อมต้องมีขบวนการทางธรรมชาติบางอย่างในการก่อให้เกิดความสมดุล มีการสูญพันธุ์เกิดขึ้น ซึ่งการสูญพันธุ์ในช่วงระยะเวลา 600 ล้านปีที่ผ่านมา เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 1 ชนิดพันธุ์ เท่านั้น แต่ในปัจจุบันการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเกิดได้เร็วมาก โดยเฉพาะป่าเขตร้อนชื้นในประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งเกิดจากน้ำมือมนุษย์ นักวิชาการได้มีการประเมินว่าอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจะสูญพันธุ์ไม่น้อยกว่า 20-60% ในคริสศตวรรษที่ 20 หากอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตยังไม่ลดลง

จากการที่นักวิชาการประมาณการว่ามีสิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีประมาณ 5 ล้านชนิด ในจำนวนนี้มีอยู่ในประเทศไทย ประมาณร้อยละเจ็ด ประเทศไทยมีประชากรเพียงร้อยละหนึ่ง ของประชากรโลก ดังนั้น เมื่อเทียบสัดส่วนกับจำนวนประชากร ประเทศไทยจึงนับว่ามีความร่ำรวยอย่างมากในด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตในประเทศไทยหลากหลายได้มาก เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลายและแต่ละแหล่งล้วนมีปัจจัยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต นับตั้งแต่ภูมิประเทศแถบชายฝั่งทะเล ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบลอนคลื่น และภูเขาที่มีความสูงหลากหลายตั้งแต่เนินเขาจนถึงภูเขาที่สูงชันถึง 2,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประเทศไทยจึงเป็นแหล่งของป่าไม้นานาชนิด ได้แก่ ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าสนเขา

อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมหาศาล เนื่องจากหลายสาเหตุด้วยกัน อาทิ การเพิ่มของประชากรทำให้มีการบุกเบิกป่าเพิ่มขึ้น การให้สัมปทานป่าไม้ที่ขาดการควบคุมอย่างเพียงพอ การตัดถนนเข้าพื้นที่ป่า การเกษตรเชิงอุตสาหกรรม การแพร่ของเทคโนโลยีที่ใช้ทำลายป่าได้อย่างรวดเร็ว การครอบครองที่ดินเพื่อเก็งกำไร เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ซึ่งเคยมีมากถึงประมาณ 2.7 แสนตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 53 ของพื้นที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2504 เหลือเพียงประมาณ 1.3 แสนตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 26 ในปี พ.ศ. 2536 ข้อมูลนี้จากการศึกษาตามโครงการ VAP61 โดยคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2539) แสดงว่าพื้นที่ป่าไม้ลดลงเท่าตัวในช่วงเวลา 32 ปี และส่วนใหญ่ เกิดขึ้นกับป่าบนภูเขาและป่าชายเลน ยังผลให้พืชและสัตว์สูญพันธุ์ อาทิ เนื้อสมัน แรด กระซู่ กรูปรี และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้นี้อีกเป็นจำนวนมาก อาทิ ควายป่า ละอง ละมั่ง เนื้อทราย กวางผา เลียงผา สมเสร็จ เสือลายเมฆ เสือโคร่ง และช้างป่า รวมทั้งนก สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก สัตว์เลื้อยคลาน แมลง และ สัตว์น้ำอีกเป็นจำนวนมาก
การทำลายป่าก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แหล่งน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ เริ่มลดน้อยลง ผืนป่าที่เหลืออยู่ไม่สามารถซับน้ำฝนที่ตกหนัก เกิดปรากฏการณ์น้ำท่วมฉับพลัน ยังผลให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจ บ้านเรือน และความปลอดภัยของชีวิตคนและสัตว์เป็นอันมาก เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมที่ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เหตุการณ์พายุเกย์ถล่มจังหวัดชุมพร และเหตุการณ์น้ำท่วมในที่ต่างๆ เป็นต้น

ปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย จึงเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วนที่จะต้องช่วยกันแก้ไขด้วยการหยุดยั้งการสูญเสียระบบนิเวศป่าทุกประเภท การอนุรักษ์สิ่งที่เหลืออยู่ และการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่สภาพป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพดังเดิม เพราะความหลากหลายเหล่านั้น เป็นพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
สังคมไทยมีพื้นฐานมาจาก สังคมเกษตรกรรม และเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก วัฒนธรรมไทยหลายอย่างผูกพันกับการแสดงออกซึ่งความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณในการเพาะปลูก คนไทยแต่โบราณกาลจึงมีความอ่อนน้อมต่อธรรมชาติและผูกพันกับธรรมชาติอย่างแยกกันไม่ออก นับว่าคนไทยมีพื้นฐานเชิงวัฒนธรรมพร้อมมูลอยู่แล้ว
แม้ว่าการศึกษาสมัยใหม่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า แต่การใช้เทคโนโลยีและวิชาการอย่างไม่เข้าใจหลักการและความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ย่อมนำสังคมไปสู่หายนะในระยะยาว แม้ว่าในระยะสั้นจะดูเหมือนว่ามีความเจริญรุ่งเรืองก็ตาม

         การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 3 ระดับคือ 

1. ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic diversity)

2. ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ (Species diversity) 

3.ความหลากหลายทางระบบนิเวศ (Ecological diversity) 

ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ระดับ อะไรบ้าง

ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ระดับ อะไรบ้าง



คือ คำจำกัดความของการมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงอยู่ของพืช สัตว์ แบคทีเรีย เชื้อรา หรือมนุษย์ ต่างล้วนอาศัยอยู่ในถิ่นฐานเฉพาะของตนตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ดำเนินชีวิตอยู่ภายในระบบนิเวศที่มีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย จากการสะสม ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ตลอดจนถึงการวิวัฒนาการ เพื่อความอยู่รอดตลอดระยะเวลาหลายล้านปีที่ผ่านมา ทำให้การคงอยู่ของความแตกต่างในสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์และความหลากหลายภายในชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น กลายเป็นองค์ประกอบและพื้นฐานสำคัญของธรรมชาติและระบบนิเวศของโลก

ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ระดับ อะไรบ้าง

ความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถจำแนกออกเป็น 3 ระดับ คือ

ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity) หมายถึง ความแปรผันทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นภายในประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เป็นความแตกต่างของสารพันธุกรรมภายในสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษผ่านทางหน่วยพันธุกรรมหรือ “ยีน” (Gene) ซึ่งส่งผลให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ ลักษณะเด่น หรือความแตกต่างขึ้นภายในประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น การมีสีสันและลวดลายที่หลากหลายของหอยทาก “โกลฟว์ สเนล” (Grove Snail) รวมถึงการมีสีของเส้นผม สีของผิวหนัง และสีของนัยน์ตาแตกต่างกันออกไปในประชากรของมนุษย์ 

ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
แม้จะเป็นหอยทากชนิดเดียวกัน แต่มีสีสันที่แตกต่างกัน เนื่องจากมีพันธุกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

 

ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ (Species Diversity) หมายถึง ความแปรผันทางชนิดพันธุ์ (Species) ที่เกิดขึ้นในระดับกลุ่มของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ผ่านการสะสมและการวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน ซึ่งความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ถือเป็นผลจากกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) ที่ทำให้เกิดทั้งการสูญพันธุ์และการก่อกำเนิดของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปของโลก

ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ระดับ อะไรบ้าง

 

ความหลากหลายทางระบบนิเวศ (Ecological Diversity) หมายถึง การดำรงอยู่ของระบบนิเวศแต่ละประเภทบนโลก ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystems) และระบบนิเวศในน้ำ (Aquatic Ecosystems) เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ หรือ ชายหาดและแนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศเมือง (Urban Ecosystems) ที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งความหลากหลายทางระบบนิเวศนั้น เป็นผลจากความแตกต่างทางสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ของโลก อีกทั้ง ยังนับเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์และลักษณะเด่นของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งภายในระบบนิเวศแต่ละประเภท ล้วนมีสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันออกไปอาศัยอยู่

ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ระดับ อะไรบ้าง

ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ระดับ อะไรบ้าง

ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ระดับ อะไรบ้าง

โลก จึงประกอบขึ้นจากระบบนิเวศอันหลากหลายกระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ความหลากหลายทางพันธุกรรม ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์และความหลากหลายทางระบบนิเวศ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพที่ก่อให้เกิดสมดุลของโลก

ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและสถานการณ์ปัจจุบัน

ความหลากหลายทางชีวภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโลกในทุกยุคทุกสมัย ถึงแม้โลกจะเผชิญกับความแห้งแล้ง ความหนาวเย็น หรือโรคระบาด ความหลากหลายทางชีวภาพถือเป็นเครื่องการันตีความอยู่รอดของทุกชีวิต อีกทั้งยังเป็นรากฐานสำคัญของระบบนิเวศที่ให้กำเนิด “นิเวศบริการ” (Ecological Services) ซึ่งสร้างทรัพยากรและคุณประโยชน์มากมายต่อทุกชีวิต

แต่ในปัจจุบันนี้ ทุกๆ ปี มีสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ราว 10,000 ชนิดทั่วโลก ซึ่งถือเป็นอัตราที่รวดเร็วเกิดกว่าการสูญพันธุ์ในยุคก่อนที่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นหลายร้อยเท่า แม้ว่าการสูญพันธุ์จะเป็นหนึ่งในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ แต่การอัตราการสูญเสียที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่ามนุษย์ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของประชากรและการพัฒนาของสังคมเมืองที่นำไปสู่การทำลายถิ่นฐานที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ การรุกรานเพื่อแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงปลดปล่อยของเสียและมลพิษ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโลกครั้งยิ่งใหญ่

ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
ความหลากหลายทางชีวภาพมีกี่ระดับ อะไรบ้าง

นอกเหนือจากการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตบางชนิด การเสื่อมโทรมลงของระบบนิเวศเป็นผลกระทบที่ไม่อาจลีกเลี่ยงเช่นเดียวกัน ซึ่งหากสถานการณ์ในปัจจุบันยังคงดำเนินต่อไปโดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงใด ๆ สิ่งมีชีวิตกว่าร้อยละ 20 ชนิดทั่วโลกอาจจะสูญเสียพันธุ์ไปอย่างถาวรภายในอีก 30 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspot) ที่มีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Endangered Species) และมี “สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น” (Endemic Species) อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น

ถึงแม้พื้นที่ซึ่งมีความสำคัญทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพเหล่านี้ จะคิดเป็นเพียงร้อยละ 2.3 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด แต่กว่าร้อยละ 44 ของพืชพรรณในโลกล้วนดำรงอยู่ในพื้นที่เฉพาะเหล่านี้ ซึ่งในอีกความหมายหนึ่ง คือพืชเหล่านี้เป็นชนิดพันธุ์ที่ไม่สามารถพบเห็นได้ในพื้นที่อื่นๆ ของโลก เช่น สิ่งมีชีวิตบนเกาะนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของโลก โดยกว่าร้อยละ 90 ของชนิดพันธุ์แมลงและกว่าร้อยละ 80 ของชนิดพันธุ์พืชที่มีท่อลำเลียง (Vascular Plants) ล้วนเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่ไม่ปรากฏบนส่วนไหนของโลกใบนี้อีกแล้ว และการสูญเสียสิ่งมีชีวิตบนเกาะแห่งนี้ หมายถึงการสูญพันธุ์จากโลกไปอย่างถาวร

สืบค้นและเรียบเรียง

คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณภัทรดนัย


ข้อมูลอ้างอิง

National Geographic Society – https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/biodiversity/

National Geographic – https://www.nationalgeographic.com/environment/2019/05/ipbes-un-biodiversity-report-warns-one-million-species-at-risk/

องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพ มีกี่ระดับ

ความหลากหลายทางชีวภาพมี 3 ระดับ 1. ความหลากหลายทางพันธุกรรม ( Genetics Diversity ) 2. ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ ( Species Diversity ) 3. ความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ( Ecological Diversity )

ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสําคัญอย่างไรบ้าง

ความสำคัญของความหลากหลายชีวภาพทางการเกษตร ผลผลิตทางเกษตรเพิ่มขึ้น และสร้างคามมั่นคงทางด้านอาหาร สร้างความมีเสถียรภาพและความยั่งยืนให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและสภาพแวดล้อม การมีสายพันธุ์พืช สายพันธุ์สัตว์ ที่หลากหลายซึ่งช่วยป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชได้ มีส่วนช่วยในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ

ความหลากหลายทางชีวภาพหมายถึงอะไร มีกี่ประเภท

อนุกรมวิธานเเละความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) เเบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) เป็นความแปรผันทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน 2.ความหลากหลายทางชนิด (species diversity) เป็นความแปรผันที่เกิดขึ้นในระดับกลุ่มของสิ่งมีชีวิต

บริเวณใดที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด

1. เขตร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร หรือเขตร้อน (Tropical Zone) เป็นเขตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ เช่นป่าอะเมซอน ประเทศบราซิล เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์สูงมาก