ราชกิจจานุเบกษา ลงนามโดยใคร

โดยระเบียบดังกล่าว เป็นการกำหนดเงื่อนไข การทำหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีรักษาการ ระหว่าง ที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภาเพื่อให้เกิดความเสมอภาคและโอกาสทัดเทียมในการเลือกตั้ง โดยสาระสำคัญมี 6 ข้อ เป็นการกำหนดเงื่อนไขไม่ให้คณะรัฐมนตรีระหว่างรักษาการใช้ทรัพยากรของรัฐ หรือบุคลากรของรัฐ ที่มีผลต่อการเลือกตั้ง อาทิ ห้ามจัดประชุม ครม.สัญจร นอกสถานที่ ห้ามใช้งบประมาณของรัฐ ในการจัดประชุม อบรม บุคลากรของรัฐหรือเอกชน ห้ามสั่งการหรือมอบหมายให้มีการอนุมัติ เกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานรัฐ ห้ามสั่งการหรือมอบหมายให้มีการแจกจ่าย จัดสรรทรัพยากรของรัฐ โดยไม่มีเหตุอันควร

ห้ามใช้พัสดุหรือเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากหน่วยงานของรัฐ ห้ามใช้ทรัพยากรของรัฐ เช่นคลื่นความถี่ อุปกรณ์ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม และห้ามใช้งบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานรัฐ กรณีระเบียบไม่ได้กำหนดไว้หรือมีเหตุจำเป็น กกต.อาจกำหนดข้อยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามความในระเบียบได้

ทั้งนี้ ระเบียบดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่เคยมีใช้บังคับมาตั้งแต่ปี'51แต่เนื่องจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ'60 จึงได้มีการยกร่างระเบียบขึ้นใหม่ให้สอดคล้อง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าระนายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกกต.มีการลงนามตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค. 63 เหตุใดกลับพึ่งมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 15ส.ค.ที่ผ่านมา ท่ามกลางกระแสข่าวทางการเมืองว่ารัฐบาลอาจมีการยุบสภาเร็วๆนี้ เนื่องจากปัญหาเรื่องวาระการดำรงตำแหน่ง 8ปีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ขณะที่ในวันนี้ สำนักงานกกต.ก็ได้มีการจัดประชุมผู้อำนวยการการเลือกตั้งทั้ง 77 จังหวัด ที่อ.ปาก ช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งส.ส.ที่จะครบวาระในเดือนมี.ค.66

อย่างไรก็ตามมีรายงานจาก กกต. ว่า สำนักงานกกต.ได้มีการนำส่งระเบียบดังกล่าวส่งไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 63 หลังจากที่ประธานกกต.ลงนามแล้วไม่นาน แต่ทางสำนักนายกฯพึ่งนำระเบียบดังกล่าวประกาศฯในราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา ลงนามโดยใคร

ราชกิจจานุเบกษา ลงนามโดยใคร

 

ราชกิจจานุเบกษา ลงนามโดยใคร

Tagsกกต.กรรมการการเลือกตั้งราชกิจจานุเบกษาเลือกตั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เพื่อไทย' ปัดเขี่ยก้าวไกลร่วมรัฐบาลชี้เร็วเกินไปที่จะพูด

ปัดเขี่ยก้าวไกลร่วมรบ. บอกเร็วเกินไปพูดเรื่องจับมือพรรคใด ชี้ ‘พท.’ ทำงานหนัก.เป้าหมายแลนด์สไลด์

'แสวง บุญมี' ปลุกกกต.ทั่วประเทศ เข้าโหมดเตรียมพร้อมเลือกตั้ง

“แสวง” ส่งสัญญาณกระตุ้น กกต.ทั่วประเทศ เตรียมพร้อมเลือกตั้ง หลังกฎหมายลูก 2 ฉบับประกาศใช้ ไม่ว่าจะยุบสภาหรืออยู่ครบวาระ ต้องจัดการเลือกตั้งให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน

กูรูใหญ่เห็นเค้าลาง รัฐบาลผสม 3 พรรคการเมืองใหญ่!

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง มีรายละเอียดดังนี้ นับถอยหลังการเลือกตั้ง

คำนึงถึงความมั่นคง! ส.ว. โหวตเลือก 'นายกฯ คนใหม่'

'พรเพชร' เชื่อ ส.ว. เลือก 'นายกฯ คนใหม่' ต้องคำนึงถึงความมั่นคงระบบรัฐสภา ดูพรรคการเมืองฟอร์มทีม ไม่มองวาระ 'บิ๊กตู่' เตือนสมาชิกออกตัวแรง ระวังถูกร้องให้พ้นตำแหน่ง

กระแสหรือจะสู้กระสุน! การเมืองไทยปี66แรง สู่ยุค ‘ธนาธิปไตย’

'บัญญัติ' ฟันฉับการเมืองไทยปี 66 แรง เข้าสู่ ‘ธนาธิปไตย’ ใช้เงินสารพัด ‘แจกกล้วย-เห็บ-งูเห่า-ดูด’ สูงมากเป็นพิเศษ แล้วถอนทุนคืน เกิดสงครามไอโอ ฟื้นวัฒนธรรม 'บ้านใหญ่'

'พีระพันธุ์' ปักธง 'โปลิตบูโร' นำทาง รทสช. ลั่นไม่ได้เป็นพรรคของใคร

"พีระพันธุ์” เผยหลังปีใหม่รทสช.ขับเคลื่อนชัดเจนขึ้น ย้ำไม่ได้ตั้งพรรคมาเพื่อรองรับใคร ยอมรับ บิ๊กตู่ เป็นบุคคลากรที่มีค่าทางการเมือง เหมาะสมทำงานให้ประเทศ เล็งบริหารแบบ โปลิตบูโร

ตอบ   ราชกิจจานุเบกษา เป็นหนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษา สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา ถือว่าเป็นประกาศของทางการที่มีบทบาท และอยู่ในความสนใจของผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก บ่อยครั้ง ประกาศสำคัญที่มีผลในทางกฎหมาย และเรื่องที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยก็จะถูกประกาศผ่านเอกสารฉบับนี้ อย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตลอดจนข้อกฎหมายสำคัญๆ แต่จริงๆ แล้วรายละเอียดของประกาศทางการยังมีอะไรให้ค้นหาอีกมาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สรุปเรื่องราวเกี่ยวกับราชกิจจานุเบกษาที่น่าสนใจ และใกล้ตัวเรา ดังนี้

ราชกิจจานุเบกษา เป็นหนังสือลงประกาศใช้กฎหมายและข่าวสำคัญต่างๆ ของชาติบ้านเมือง เริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพื่อประกาศข่าวสารป้องกันความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ตามพระราชปรารภ ที่ปรากฏตามประกาศเรื่องออกหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับแรก เมื่อ วันจันทร์ เดือนห้า ขึ้นค่ำ 1  ปีมะเมีย จุลศักราช 1219 หรือ ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 ความว่า

“ถ้าเหตุแลการในราชการแผ่นดินประการใดๆ เกิดขึ้น พระบาท สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แลเสนาบดีพร้อมกันบังคับไปอย่างไร บางทีก็จะเล่า ความนั้นใส่มาในราชกิจจานุเบกษานี้บ้าง เพื่อจะได้รู้ทั่วกัน มิให้เล่าลือผิดๆ ไปต่างๆ ขาดๆ เกินๆ เป็นเหตุให้เสียราชการและเสียพระเกียรติยศแผ่นดินได้”

ราชกิจจานุเบกษา ลงนามโดยใคร

หนังสือราชกิจจานุเบกษา นั้น เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า หนังสือเป็นที่เพ่งดู ราชกิจ เป็นรูปพระมหามงกุฎ แลฉัตรกระหนาบสองข้างดวงใหญ่ ตีในเส้นดำ กับตัวหนังสือนำหน้าเป็นตัวอักษรตัวใหญ่ว่า ราชกิจจานุเบกษา อยู่เบื้องบน ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ บางกอกรีคอเดอ ของหมอบลัดเลย์ เป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจนถึงปัจจุบัน

ถือเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด ซึ่งมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยมี สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์ และเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์

  • ราชกิจจานุเบกษามีกี่ประเภท

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประกาศเรื่องใน ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ได้กำหนดให้ราชกิจจานุเบกษาแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยประเภท ข และ ง ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อไปจากเดิม ดังนี้

1. ประเภท ก ฉบับกฤษฎีกา เป็นการประกาศเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระบรมราชโองการที่เป็นกฎ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่ง ของหน่วยงานหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เป็นอนุบัญญัติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด และเรื่องสำคัญที่ประชาชนทั่วไปควรได้รับทราบ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำพิพากษา ของศาลปกครองอันถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ

ราชกิจจานุเบกษา ลงนามโดยใคร

2. ประเภท ข ฉบับทะเบียนฐานันดร หมายกำหนดการ และข่าวในพระราชสำนัก เป็นการประกาศเกี่ยวกับสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ รายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญราชการ หรือยศ รายชื่อผู้ถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือถูกถอดยศ และรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราต่างประเทศ หมายกำหนดการพระราชพิธี ต่าง ๆ และข่าวในพระราชสำนัก

3. ประเภท ค ฉบับทะเบียนการค้า เป็นการประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด การเปลี่ยนแปลง และการเพิกถอนทางทะเบียน

4. ประเภท ง ฉบับประกาศและงานทั่วไป เป็นการประกาศเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุในประเภท ก ประเภท ข และประเภท ค

  • การบอกรับสมาชิกราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา มีการเปิดรับสมัครสมาชิก โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่เดือนกันยายนถึง 30 พฤศจิกายน ของทุกปี โดยแยกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ การสมัครเป็นสมาชิกบอกรับราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกานั้นจะต้องติดต่อที่กลุ่มงานราชกิจจุนเบกษา สำนักนิติธรรม สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขณะที่ การสมัครเป็นสมาชิกบอกรับหนังสือราชกิจจานุเบกษาประเภท ข ค และ งจะอยู่ในความรับผิดชอบของ กลุ่มงานพิมพ์บริการ สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา โดยมี หลักเกณฑ์คร่าวๆ ดังนี้

  • การบอกรับต้องบอกรับเต็มปี (มกราคม - ธันวาคม) หรือครึ่งปี (มกราคม - มิถุนายน หรือ กรกฎาคม - ธันวาคม) จะรับคาบปี หรือคาบครึ่งปีไม่ได้
  • การบอกรับหรือซื้อปลีกต้องชำระเงินล่วงหน้า
  • หนังสือราชกิจจานุเบกษาตอนใด ถ้าไม่ได้รับให้แจ้งขอภายใน กำหนด 2 เดือน เกินกำหนดจะไม่รับพิจารณา

โดยในปัจจุบัน เราสามารถเข้าไปสืบค้น ราชกิจจานุเบกษาได้ที่ เว็บไซต์ของราชกิจจานุเบกษา หรือ คลิกที่นี่ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง 

ราชกิจจานุเบกษา ลงนามโดยใคร

  • สาระสำคัญเกี่ยวกับราชกิจจานุเบกษา

นับตั้งแต่มีการออกประกาศราชกิจจานุเบกษามาตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบันนั้น เนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือเล่มดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การบอกข้อราชการและ ข่าวต่างๆ ประเภทหนึ่ง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ แจ้งความ ประกาศ พระราชบัญญัติ และกฎหมายต่างๆ โดยมีลักษณะสำคัญด้านประวัติศาสตร์ไทยในแง่ของการ เป็นบทบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งใน และนอกราชสำนัก การเมืองการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ไปจนถึงเรื่องของวิวัฒนการการทางภาษา และการพิมพ์

ยิ่งไปกว่านั้น ราชกิจจานุเบกษายังใช้เป็นหลักฐานในกระบวนการ ตุลาการ และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงกับหน่วยราชการ เพราะมีการพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับตำนานจดหมายเหตุและพงศาวดารของ ประเทศไทยในสมัยก่อนแล้ว ราชกิจจานุเบกษาก็จัดอยู่ในหนังสือประเภท เดียวกัน แต่ให้ข้อมูลที่ละเอียดและมีความถูกต้องแม่นยำมากกว่า