โรงพยาบาลรัฐกับเอกชน แตก ต่างกันอย่างไร

ระบบโรงพยาบาลของรัฐ มีทั้งที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข สังกัดกรุงเทพ มหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยที่มีคณะแพทยศาสตร์ หรือสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล หมายถึงโรงพยาบาลที่มีเตียง หรือให้คนไข้นอนรักษาค้างคืน มีทั้งห้องรวมใหญ่ นับสิบเตียง แบ่งออกเป็นห้องผู้ป่วยชาย และผู้ป่วยหญิง กับผู้ป่วยเด็ก

Advertisment

เมื่อก่อนเรียกว่าห้องอนาถา ผู้ป่วยเรียกว่า “ผู้ป่วยอนาถา” คือไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าห้อง และค่าอื่นๆ อาจมีค่าใช้จ่ายบ้างไม่มากนัก ไม่ต้องมีญาติมาเฝ้า เพียงเปิดให้เยี่ยมเป็นเวลา จำกัดจำนวนการเยี่ยมครั้งละ 2 คน มากกว่านั้นจะรบกวนผู้ป่วยเตียงข้างเคียง

ส่วนห้องเดี่ยว คือห้องพิเศษ สำหรับคนไข้ที่ป่วยมีอาการไม่หนักนัก ต้องมีญาติเฝ้าไข้ตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ป่วยที่มีตำแหน่งหน้าที่ราชการระดับหนึ่ง เรียกว่าคนไข้พิเศษ

Advertisement

ภายหลัง เมื่อใดไม่ทราบ คำว่า “คนไข้อนาถา” เป็นคำที่ส่อถึงการดูถูกเหยียดหยาม จึงมีการปรับ เปลี่ยนเป็น “คนไข้สามัญ” แต่ “คนไข้พิเศษ” และห้องพิเศษ ไม่มีการปรับเปลี่ยนเรียกเป็นอย่างอื่น มีแต่เรียกยกย่องกันเองว่า “ห้อง V.I.P.” หากเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งโรงพยาบาลขนาดเล็กไม่มีห้องประเภทนี้ ซึ่งต้องใหญ่กว่าปกติ และมีแบ่งเป็นสัดส่วน ส่วนของคนไข้พัก กับส่วนรับแขกและญาติเฝ้าไข้พัก มีส่วนของการประกอบอาหารด้วย

สำหรับโรงพยาบาลเอกชน ไม่มีห้องสามัญ มีแต่ห้องพิเศษ ประเภทนอน 4 คน นอน 2 คน และนอนเดี่ยว กับพิเศษ V.I.P.

ปัจจุบันมีระบบประกันหลายรูปแบบ ตั้งแต่ประกันสังคม รวมทั้งประกันสุขภาพ ดังนั้น ผู้เอาประกันเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยจึงมักเข้าโรงพยาบาลเอกชน และอยู่ห้องพิเศษ (ธรรมดา) ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มส่วนหนึ่ง

Advertisement

รายละเอียดเรื่องการเข้าป่วยในโรงพยาบาล ข้าพเจ้า (ผู้เขียน) ไม่ค่อยสันทัด ด้วยเหตุเข้าทำงานขณะรัฐบาลมีระบบประกันสังคมไว้แล้ว จึงใช้การประกันสังคมเป็นผู้ดูแลค่ารักษา เว้นแต่เมื่อต้องเข้านอนโรงพยาบาล ซึ่งมักใช้ห้องพิเศษ ประกันสังคมจ่ายให้ส่วนหนึ่ง ไม่มากนัก ตัวผู้ป่วยต้องจ่ายเองค่อนข้างมากสักหน่อย หากอยู่เพียงสองสามคืนไม่เกินสัปดาห์ยังไม่สู้กระไร แต่หากเกินเลยเป็นเดือนก็จ่ายมาก ลำบากอยู่เหมือนกัน

เช่นการป่วยครั้งนี้ การเข้านอนโรงพยาบาลแทบว่าไม่จำเป็น หากเจ็บป่วยเป็นแผลผ่าตัดธรรมดา นอนโรงพยาบาลเพียงสองสามคืนออกไปทำแผลที่คลินิก หรือสถานพยาบาลในสำนักงานก็ได้

แต่เนื่องจากเป็นเบาหวาน และแผลอักเสบ หายยาก ต้องทำแผลทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ทั้งยังต้องเจาะเลือดปลายนิ้วดูปริมาณน้ำตาล กับต้องวัดความดันทุก 4-5 ชั่วโมง เว้นเวลานอน จึงไม่สะดวกนัก ต้องนอนที่โรงพยาบาลให้พยาบาลเจาะเลือดปลายนิ้วกับวัดความดัน

ที่สำคัญคือในระยะแรก การทำความสะอาดร่างกายไม่สู้สะดวก ต้องให้พยาบาลจัดการให้ช่วงสายวันละครั้ง แม้จะเคยให้พยาบาลชำระร่างกายด้วยการ “เช็ดทั่วตัว” กระนั้นยังเขินเหมือนกัน เพียงแต่ว่าทุกวันนี้อายุมาก ประกอบกับผ่าตัดต่อมลูกหมากออกไปแล้ว จึงไม่รู้สึกรู้สาทางกายสักเท่าใด อาจมีบ้างทางจิตใจ และ “ทำใจได้” เสียแล้ว แต่ใช้บริการพยาบาลเพียงสองสามวันเท่านั้น

จากนั้น ข้าพเจ้า (ผู้เขียน) สามารถใช้ “วอล์คเกอร์” พยุงตัวเองเข้าห้องน้ำได้ จึงปฏิบัติด้วยตัวเอง ซึ่งสะดวกกว่า จะใช้ช่วงเวลาไหนก็ได้ตามใจแป๊ะ

ข้อสังเกตของการ “แอดมิด” โรงพยาบาลรัฐ กับโรงพยาบาลเอกชน ห้องพิเศษเหมือนกัน แต่ของรัฐแพทย์มาดูอาการมีเพียงเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคนไข้โดยเฉพาะ เช่นเมื่อมีการผ่าตัด หมอทีมผ่าตัดจะมาเป็นผู้ดูแล วันละครั้ง ช่วงเช้า ซึ่งทุกวันนี้ การติดตามดูผลทั้งผลการเจาะเลือดและความดัน รวมถึงการถ่ายภาพแผลจากกล้องโทรศัพท์มือถือ พยาบาลจะรายงานทางระบบคอมพิวเตอร์ไปยังแพทย์ทุกคนอยู่แล้ว

บทความจาก นพ.ธีระ วรธนารัตน์ นำเสนอผลการวิจัยจากต่างประเทศว่า ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางนั้น ระบบบริการการแพทย์ภาคเอกชนดีกว่ารัฐบาลจริงหรือไม่ ? ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยก็ขัดแย้งกับความเชื่อนี้ เมื่อพบว่า การดูแลรักษาที่ รพ.เอกชนมีจำนวนการผิดมาตรฐานการรักษา และผลการรักษาที่แย่กว่ารัฐบาล แต่มีความตรงต่อเวลา และการต้อนรับขับสู้ที่ดีกว่า ซึ่ง นพ.ธีระ ได้ชี้ว่า จะเห็นว่าได้ว่า กากเกิดเจ็บป่วยไม่สบาย รพ.รัฐ ยังคงเป็นที่พึ่งได้เสมอ เพราะบุคลากรส่วนใหญ่ตั้งต้นด้วย "ใจ" และมีประสบการณ์ที่มากมาย แม้ทรัพยากรไม่ได้เลิศหรูฟู่ฟ่า ไม่ได้มีความสะดวกสบาย ไม่ได้มีคำหวานๆ แต่เชื่อเถิดว่า เค้าเหล่านั้นไม่ได้คิดเป็นอื่น นอกจากช่วยเหลือผู้คน

โรงพยาบาลรัฐกับเอกชน แตก ต่างกันอย่างไร

รพ.เอกชนดีกว่าภาครัฐจริงหรือไม่ ?

นพ.ธีระ วรธนารัตน์
“Comparative Performance of Private and Public Healthcare Systems in Low- and Middle-Income Countries : A Systematic Review” เป็นงานวิจัยที่ทำการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างเป็นระบบ หรือเราเรียกในภาษาวิจัยว่า "Systematic review" ดำเนินการโดย Sanjay Basu, Jason Andrews, Sandeep Kishore, Rajesh Panjabi, David Stuckler

ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการแพทย์ชื่อดังคือ Plos Medicine เมื่อ 19 มิถุนายน 2555

งานวิจัยนี้ต้องการตอบคำถามว่า ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางนั้น ระบบบริการทางการแพทย์ในภาคเอกชนดีกว่ารัฐบาลจริงหรือไม่ ?

คณะผู้วิจัยทำการประเมินข้อมูลตามปัจจัยหลักในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพขององค์การอนามัยโลก ได้แก่
การเข้าถึงบริการและการตอบสนองต่อปัญหา (accessibility and responsiveness); คุณภาพ (quality); ผลการรักษาพยาบาล (outcomes); การตรวจสอบได้ (accountability), ความโปร่งใส (transparency),การมีกฎระเบียบรองรับ (regulation); ความยุติธรรม (fairness and equity) และความคุ้มค่า(efficiency)

จากงานวิจัย 1,178 เรื่อง ได้ทำการกลั่นกรองคัดเลือกได้งานวิจัยที่เข้าข่ายในการนำมาวิเคราะห์ทั้งสิ้น 102 เรื่อง

ผลการวิจัยพบว่า การดูแลรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนมีจำนวนการผิดมาตรฐานการรักษา และผลการรักษาที่แย่กว่ารัฐบาล แต่มีความตรงต่อเวลา และการต้อนรับขับสู้ที่ดีกว่า

ในแง่ของประสิทธิภาพ หรือความคุ้มค่า (Efficiency) นั้นน่าสนใจ ผลการวิเคราะห์ พบว่าภาคเอกชนมีการดูแลรักษาที่คุ้มค่าน้อยกว่าภาครัฐ ทั้งนี้เพราะมีหลักฐานบ่งชี้ว่าน่าจะเกิดจากการส่งตรวจ และการรักษาต่างๆ ที่ไม่จำเป็น อันเป็นผลมาจากเรื่องรายได้ที่ได้จากการส่งตรวจหรือสั่งการรักษาที่ไม่จำเป็นเหล่านั้น

คณะผู้วิจัยสรุปผลการศึกษาไว้ว่า ผลที่ได้จากการทบทวนอย่างเป็นระบบนี้บอกได้ว่า หลักฐานที่มีอยู่ขัดแย้งกับความเชื่อของผู้คนว่า เอกชนจะดีกว่ารัฐบาล...

ดังนั้นจึงต้องขอบอกตรงๆ ว่า...เมื่อใดที่มี "เงิน" มาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักในการดูแลรักษาชีวิตคน เมื่อนั้น เราจะพบว่า ความตรงไปตรงมา ความเป็นธรรม มาตรฐานการดูแลรักษา ก็จะมีโอกาสเสื่อมถอยด้อยค่าลงไปตามลำดับ

หากเกิดเจ็บป่วยไม่สบาย โรงพยาบาลรัฐ ยังคงเป็นที่พึ่งได้เสมอ เพราะบุคลากรส่วนใหญ่ตั้งต้นด้วย "ใจ" และมีประสบการณ์ที่มากมาย แม้ทรัพยากรไม่ได้เลิศหรูฟู่ฟ่า ไม่ได้มีความสะดวกสบาย ไม่ได้มีคำหวานๆ แต่เชื่อเถิดว่า เค้าเหล่านั้นไม่ได้คิดเป็นอื่น นอกจากช่วยเหลือผู้คน..

แน่นอนว่า หากเราเข้าใจบุคลากรภาครัฐ เอื้ออาทรกันและกัน เข้าอกเข้าใจกัน คนทำงานก็จะมีกำลังใจ แม้จะท้อใจกับงานหนักเงินน้อยเป็นช่วงๆ แต่จะกลับคืนสู่สภาพที่กายใจแข็งแรงมาดูแลประชาชนได้ในที่สุด

ผู้เขียน : ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ สำนักงานวิจัยและพัฒนาเพื่อการแปรงานวิจัยสุขภาพสู่การปฏิบัติ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทำไมโรงพยาบาลเอกชนถึงดีกว่าโรงพยาบาลรัฐ

ทำไมเราต้องใช้โรงพยาบาลเอกชน ความรวดเร็วในการให้บริการ ยามเจ็บป่วยต้องการรักษาแบบเร่งด่วนก็ทำได้ทันที ความดูแลเอาใจใส่ของพยาบาล และแพทย์ เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย

ดูยังไงว่าเป็นโรงพยาบาลรัฐ

ตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โรงพยาบาลรัฐเป็นหน่วยงานระดับล่างของรัฐที่ต้องทำงานตามนโยบายจากส่วนกลาง ตามกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงพยาบาลถือเป็นหน่วยบริการที่มีหน้าที่ให้บริการดูแลรักษาสุขภาพประชาชน ตามหลักการบริหารจัดการชุมชน

โรงพยาบาลของรัฐมีอะไรบ้าง

โรงพยาบาลรัฐบาลในประเทศไทย.
รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ปกส.
รพ.ศิริราช ปกส.
รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์.
รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล คณะแพทยศาสตร์ ปกส.
รพ.เลิดสิน ปกส.
รพ.ราชวิถี ปกส.
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.นวมินทราธิราช ปกส.
รพ.จุฬาภรณ์.

โรงพยาบาลเอกชนหมายถึงอะไร

ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด (สถานพยาบาลเอกชน) หมายถึง คลินิกเอกชนที่ยื่นคำขอประกอบกิจการและดำเนินการสถานพยาบาล (ตั้งใหม่) ได้รับการตรวจเอกสารหลักฐาน และตรวจสอบมาตรฐานสถานพยาบาล เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และระยะเวลาของกระบวนการขออนุญาตเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในคู่มือประชาชน