ปัญหาเยาวชนขาดคุณธรรมจริยธรรม

จริยธรรม (Ethics)พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ได้อธิบายความหมายของคำจริยธรรมว่า ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม


กลุ่มอาชีพต่างๆมักจะนำจริยธรรมหรือความประพฤติที่เหมาะสมมาประมวลเข้ากัน
เรียกว่า "จรรยาบรรณ" หรือ "ประมวลจริยธรรม" เพื่อให้บุคคลในกลุ่มอาชีพนั้นได้ปฏิบัติตาม เป็นการรักษาส่งเสริมเกียรติคุณในวิชาชีพ

คุณธรรมเป็นนามธรรมเป็นเรื่องของกุศลธรรมที่ควรปลูกฝังในจิตใจ ส่วนจริยธรรมเป็นรูปธรรมเป็นเรื่องของความประพฤติที่ดีงามที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้น

คุณธรรมและจริยธรรมเป็นของคู่กันมักใช้ร่วมกัน คุณธรรมเป็นปัจจัยให้เกิดจริยธรรม จริยธรรมเป็นผลของการมีคุณธรรม

ผู้ใดมีคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริต ผู้นั้นมีจริยธรรมไม่ลักทรัพย์ ไม่ทุจริต ไม่คดโกง
ผู้ใดมีคุณธรรมถือความถูกต้องยุติธรรมรักสงบรักสันติ ผู้นั้นมีจริยธรรมไม่เอาเปรียบไม่ก่อความวุ่ยวาย ไม่ทำให้บ้านเมืองไม่สงบ

ทางศาสนาถือว่าใจเป็นประธาน ใจเป็นใหญ่ จิตใจที่ฝึกอบรมดีแล้วมีความยึดมั่นในคุณธรรมจนเกิดขึ้นเป็นจิตสำนึกและมโนธรรม มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี รู้อะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ ย่อมทำให้เกิดความประพฤติที่ดีงามทั้งกายวาจาและใจ


ชื่อรายงานการวิจัย: การศึกษาแนวทางแก้ปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาระดับ อุดมศึกษา ในเขตจังหวัดสุรินทร์
ผู้วิจัย: นายประสงค์ ทองประ นายทวีศักดิ์ ทองทิพย์ นายบรรจง โสดาดี นายธนู ศรีทอง
ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา สาเหตุของการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา และแนวทางแก้ปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้แบบสอบถามเก็บ รวบรวมข้อมูลวิจัยจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 433 คน ซึ่งเป็นครู-อาจารย์ บุคลากรทางศึกษา และผู้ปกครอง ที่สังกัดสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 8 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Microsoft Excel และใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1. สภาพปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา จากข้อคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 20 ข้อ พบว่า นักศึกษาขาดคุณธรรมจริยธรรมทุกข้อ เรียงอันดับความสำคัญของสภาพปัญหาจากมากไปหาน้อยโดยใช้ค่าร้อยละ ดังนี้ ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ร้อยละ 81.30 เที่ยวกลางคืนหรือสถานเริงรมย์ ร้อยละ 81.06 การเสพสิ่งเสพติดให้โทษ ร้อยละ 78.75 เที่ยวเตร็ดเตร่ ร้อยละ 77.14 ประพฤติผิดทางกามารมณ์ในทำนองชู้สาว ร้อยละ 77.14 ขาดความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ร้อยละ 77.00 ไม่เคารพ กฎระเบียบวินัยของสังคม ร้อยละ 75.52 ขาดเหตุผล ร้อยละ 75.00 ขาดความขยันหมั่นเพียร ร้อยละ 74.83 ขาดความละอายต่อความชั่วไม่เกรงกลัวต่อบาป ร้อยละ 73.90 ขาดความเคารพนับถือผู้ใหญ่ ร้อยละ 73.44 ขาดความรับผิดชอบ ร้อยละ 73.28 ขาดความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 72.98 ขาดการใฝ่รู้ใฝ่เรียนเพื่อพัฒนาตนเอง ร้อยละ 70.67 ขาดความอดทน ร้อยละ 70.67 ก่อความรำคาญรบกวนผู้อื่น ร้อยละ 70.44 ขาดความสามัคคี ร้อยละ 69.75 มั่วสุมคบเพื่อนชั่ว ร้อยละ 69.05 เล่นการพนัน ร้อยละ 67.67 ขาดความกตัญญูรู้คุณ ร้อยละ 67.20 และขาดคุณธรรมจริยธรรมข้ออื่น ๆ อีก สรุปเรียงอันดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ดังนี้ พูดนินทาว่าร้ายผู้อื่น พูดโกหก มีจิตใจไม่หนักแน่น จิตใจรวนเร หูเบา ประมาทในการดำเนินชีวิต ขาดความรักความเมตตาต่อกัน ไม่รู้จักประมาณตนเอง ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ทำร้ายร่างกายผู้อื่น

2. สาเหตุของการขาดคุณธรรมจริยธรรม พบว่า เกิดจากสาเหตุหลายประการ สรุปได้เป็น 2 สาเหตุ คือ สาเหตุภายในและสาเหตุภายนอก สาเหตุภายใน คือ สาเหตุจากตัวนักศึกษา ได้แก่ ขาดความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม ขาดจิตสำนึกที่ดี มีความเห็นที่ผิด ชอบสนุกชอบสบาย เห็นแก่ได้ ขาดสติพิจารณาเหตุผล ขาดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต มีค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง มีจิตใจหยาบกระด้าง ชอบเที่ยว ไม่ยอมรับฟังคำแนะนำ ขาดความตระหนักในหน้าที่ อยากรู้อยากเห็นอยากทดลอง นิยมความรุนแรง ขาดความรู้เรื่องกฎระเบียบวินัยของสังคม มีนิสัยมักง่าย เห็นแก่ตัว ชอบอวดความยิ่งใหญ่ ไม่เห็นโทษของการเที่ยวกลางคืน มีนิสัยเกียจคร้าน ไม่เห็นโทษของการเที่ยวเตร็ดเตร่ ขาดการวางแผนชีวิตที่ดี ไม่เห็นความสำคัญของการให้ ถือตนเป็นใหญ่ ไม่เห็นโทษของความเกียจคร้าน สภาพจิตใจอ่อนแอ ขาดความรู้เรื่องกรรม ขาดความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เคารพนับถือผู้ใหญ่ ไม่เห็นโทษของการพนัน ไม่เห็นคุณของความขยัน สาเหตุภายนอก คือ สาเหตุจากภายนอกตัวนักศึกษา ได้แก่ ขาดการอบรมแนะนำที่ถูกต้อง ขาดแบบอย่างที่ดี ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว กระทำตามเพื่อน การเปลี่ยนแปลงทางระบบเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภาวะเศรษฐกิจบีบคั้น เลียนแบบพฤติกรรมทางสื่อมวลชนและสังคมที่ไม่ดี มีสถานเริงรมย์เปิดบริการมาก สภาพแวดล้อมยั่วยุและชักนำ เพื่อให้สังคมและเพื่อนยอมรับ ผู้ถือกฎ ระเบียบวินัยทางสังคมปฏิบัติหย่อนยาน ผู้ใหญ่ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ขาดการปลูกฝังในสิ่งที่ดีงาม ความด้อยในฐานะอาชีพและสังคม สถานศึกษาไม่เอื้อต่อการศึกษาเล่าเรียน

3. แนวทางแก้ปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา พบว่า แนวทางแก้ปัญหาสรุปได้เป็น 2 แนวทาง คือ การแก้ปัญหาโดยตัวนักศึกษาเอง และการแก้ปัญหาโดยบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก การแก้ปัญหาโดยตัวนักศึกษาเอง ได้แก่ นักศึกษาจะต้องที่จิตสำนึกที่ดี สนใจใฝ่เรียนรู้และน้อมนำหลักคุณธรรมจริยธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต จะต้องไม่ประมาท พร้อมที่จะรับฟังเหตุผล ปรับตัวให้เหมาะสมกับการเป็นนักศึกษา และปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ส่วนการแก้ปัญหาโดยบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก ได้แก่ ครอบครัว ครู- อาจารย์ บุคลกรทางการศึกษา พระสงฆ์ และผู้ใหญ่ในสังคมจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ให้ความรักความอบอุ่น ให้คำปรึกษาแนะนำในสิ่งที่ถูกต้อง ให้การช่วยเหลือแก้ปัญหาต่าง ๆ โรงเรียนและสถานศึกษาจะต้องปรับปรุงหลักสูตรโดยบรรจุเนื้อหาวิชาด้านคุณธรรมจริยธรรมให้มากขึ้น นิมนต์พระภิกษุมาช่วยสอนช่วยอบรมให้ความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ด้านการบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมเข้ากับเนื้อหาวิชาหลัก และจะต้องนำพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลรายวิชาด้วย โรงเรียนอาจจัดเรียนนอกสถานที่โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โรงเรียนและวัดควรร่วมกันจัดโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง สื่อมวลชนต้องนำเสนอข้อมูลหรือเผยแพร่ข่าวสารด้านคุณธรรมจริยธรรมให้เหมาะสมกับเยาวชน สุดท้ายรัฐจะต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมอย่างจริงจัง โดยกำหนดเป็นนโยบายหลักของชาติและจัดสรรงบประมาณสนับสนุนแก่หน่วยงานต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ปัญหาทางจริยธรรม มีอะไรบ้าง

ปัญหาทางจริยธรรม คือ สถานการณ์ของบุคคลในการเลือก การกระทำระหว่างสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ถูกต้อง สิ่งที่ผิดศีลธรรมหรือมีจริยธรรม สำหรับในภาคธุรกิจตัวอย่างปัญหา จริยธรรมที่มักพบคือความขัดแย้ง ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผล ประโยชน์ขององค์กรหรือที่เรียกว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน

ถ้าขาดคุณธรรมจะเป็นอย่างไร

ธรรมะเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิต การขาดธรรมะอาจทำให้ประสบกับความล้มเหลว และทำให้ ชีวิตอับปางได้ ทั้งโทษที่เกิด กับตนเอง สังคมและประเทศชาติ ตัวอย่างที่เห็นได้อย่าง ชัดเจนในปัจจุบัน เช่น การที่คนในชาติขาดคุณธรรม จริยธรรมในการ ดำเนินชีวิต ไม่รู้จักพอ ไม่เห็นแก่ความเดือดร้อนของสังคมและ ประเทศชาติ ทำให้เกิดการลักลอบเสพ ...

คนที่ขาดคุณธรรมมีอะไรบ้าง

ตัวอย่างผู้ที่ขาดคุณธรรม หมายถึง ผู้ที่มีสติ ปัญญาน้อย ขาดความเมตตา กรุณา ไม่มีความรัก ไม่มีความสงสารต่อผู้ใด ขาดหิริโอตตัปปะ ไม่มี ความละอายต่อบาป ไม่มีความเกรงกลัวต่อบาป ไม่เชื่อคาสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ไม่เชื่อว่าทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว ไม่เชื่อว่ามีชาติ ก่อน มีชาติหน้า ไม่ได้ศึกษาและ ...

ลักษณะของผู้ที่ขาดคุณธรรมและจริยธรรมเป็นอย่างไร

2) ผู้ที่ขาดคุณธรรมและขาดจริยธรรม หมายถึง ผู้ที่มีสติ ปัญญาน้อย ไม่เชื่อฟังค าสอนของพระผู้มี พระภาคเจ้า จิตอยู่ใต้อ านาจของกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบง าจิตใจ จึงไม่มีคุณธรรม ประจ าใจ เป็นเหตุให้ขาดความเมตตา กรุณา ไม่มีความรัก ไม่มีความสงสาร ขาดหิริโอตตัปปะ ไม่มีความละอาย ต่อบาป ไม่เกรงกลัวต่อบาป ไม่มีขันติ ...