เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ม.1 ppt

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

งานนำเสนอเรื่อง: "เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ และการแบ่งเขตเวลาของโลก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ และการแบ่งเขตเวลาของโลก
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ และการแบ่งเขตเวลาของโลก

2 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และ การแบ่งเขตเวลาของโลก
เครื่องมือสำคัญทางภูมิศาสตร์ การแบ่งเขตเวลาของโลก เทคโนโลยีและรูปแบบ ของข้อมูลภูมิศาสตร์

3 เครื่องมือสำคัญทางภูมิศาสตร์

4 ลูกโลก ลูกโลก เป็นหุ่นจำลองของโลก แสดงตำแหน่งและการกระจายตัวของพื้นที่ประเทศ ทวีป ทะเล และมหาสมุทรต่างๆ ได้ตรงตามที่ปรากฏที่ผิวโลก ใช้เพื่อศึกษา ทิศทางการหมุนและการโคจรของโลก ที่ตั้งของทวีปและประเทศต่างๆ ศึกษาเส้นเมริเดียน เส้นละติจูด เป็นต้น

5 แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย
แผนที่ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลเกี่ยวกับรูปลักษณะและที่ตั้งของ สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนผิวโลก ด้วยการเขียนย่อส่วนลงในวัสดุพื้นที่แบนราบหรือแผ่นกระดาษ และใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ ซึ่งแผนที่ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปมี 3 ชนิด ได้แก่ แผนที่แบบแบน แผนที่ภูมิประเทศ และแผนที่เฉพาะเรื่อง

6 เข็มทิศ เข็มทิศ เป็นเครื่องมือที่ให้ข้อมูลด้านทิศทาง มีหลักการทำงานโดยอาศัยแรงดึงดูดระหว่างแม่เหล็กขั้วโลกกับเข็มแม่เหล็กของเข็มทิศ ถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญต่อการเดินทางเพื่อไปยังสถานที่ต่างๆ

7 รูปถ่ายทางอากาศบริเวณอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
รูปถ่ายทางอากาศ เป็นรูปถ่ายที่ได้จากการนำกล้องไปติดตั้งกับอากาศยาน แล้วถ่ายรูปในแนวดิ่งหรือเฉียงกับผิวโลก ทำให้ได้รูปของพื้นผิวโลกตามจริงที่ปรากฏในเวลานั้น ซึ่งมักนำ รูปถ่ายทางอากาศมาใช้ทำแผนที่ โฉนดที่ดิน การก่อสร้างถนน การวางผังเมือง เป็นต้น รูปถ่ายทางอากาศบริเวณอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ

8 ภาพจากดาวเทียมแสดงภูมิลักษณ์ของประเทศไทย
ภาพจากดาวเทียม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยระบบกล้องหลายช่วงคลื่น โดยบันทึกข้อมูลเชิงตัวเลขของค่าการสะท้อนช่วงคลื่นแสง โดยข้อมูลที่บันทึกสามารถส่งกลับมายังสถานีรับบนโลก ได้ทันที จึงทำให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยที่สุด ซึ่งการใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียมจำเป็นต้องมีการแปลความของสิ่งที่ปรากฏบนภาพก่อน ภาพจากดาวเทียมแสดงภูมิลักษณ์ของประเทศไทย

9 เครื่องมืออื่นๆ แผนภูมิ แผนภาพ เว็บไซต์

10 เทคโนโลยีและรูปแบบของข้อมูลภูมิศาสตร์

11 ปัจจุบันมีการใช้ GPS มากขึ้นในการหาเส้นทาง เพื่อเดินทางไปยังจุดหมาย

12 รูปแบบการนำเสนอข้อมูลภูมิศาสตร์
บรรยาย แผนภูมิ แผนภาพ กราฟ

13 การแบ่งเขตเวลาของโลก

14 การเปรียบเทียบเวลาการรับประทานอาหารของคนแต่ละภูมิภาค
ความสำคัญของการแบ่งเวลา เนื่องจากโลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม ทำให้แต่ละพื้นที่เกิดกลางวัน-กลางคืนไม่ตรงกัน จึงจำเป็นต้อง มีการกำหนด “เวลาปานกลางกรีนิช” หรือ “เวลาสากล” เพื่อใช้กำหนดเวลามาตรฐานของแต่ละประเทศ ส่งผลให้สะดวกต่อการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างประเทศในทุกๆ ด้าน การเปรียบเทียบเวลาการรับประทานอาหารของคนแต่ละภูมิภาค

15 ภาพแสดงแนวความสว่างและความมืด
เส้นเมริเดียนกับการกำหนดเขตเวลา เส้นเมริเดียน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปขั้วโลกใต้ ซึ่งมีทั้งหมด 360 เส้น ห่างกันเส้นละ 1 องศา ซึ่งขณะโลกหมุนไปทุกๆ 1 ชั่วโมง จะทำให้แนวความสว่างกับความมืดเคลื่อนผ่านไป 15 องศาเมริเดียน ทำให้เกิดเป็นความสว่างและความมืดบนโลก ภาพแสดงแนวความสว่างและความมืด

16 แผนที่แสดงเขตภาคเวลาของโลก
การกำหนดเขตภาคเวลา การกำหนดเขตภาคเวลา จะกำหนดตามระยะห่างของเส้นช่วงละ 15 องศา โดยกำหนดตามเส้นเมริเดียน ทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก และกำหนด ให้เส้นเมริเดียนแรก (0 องศา) เป็นเวลาปานกลางกรีนิช ซึ่งทั่วโลกมีเขตภาคเวลา ทั้งหมด 24 เขต แผนที่แสดงเขตภาคเวลาของโลก

17 เวลามาตรฐาน  เวลามาตรฐานสากล คือ เวลาที่กำหนดขึ้นใช้ในเขตภาคเวลาต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งประเทศที่มีขนาดใหญ่จะครอบคลุมพื้นที่หลายเขตภาคเวลา เช่น รัสเซีย 11 เขต สหรัฐอเมริกา 5 เขต เป็นต้น  เวลามาตรฐานท้องถิ่น คือ เวลาของแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไปตามเขต ภาคเวลาของแต่ละดินแดนหรือประเทศต่างๆ ซึ่งมีเวลามาตรฐานของแต่ละเขตหรือท้องถิ่นอยู่แล้ว ประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ใช้เวลาที่เส้น เมริเดียน 105° ตะวันออกเป็นเส้นเมริเดียนกลางเขตภาคเวลา ทำให้ใช้เวลามาตรฐานเดียวกัน